-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - จับตาเปิดเขตค้าเสรีอาเซียนอนาคตข้าวไทย...ได้หรือเสีย ?
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

จับตาเปิดเขตค้าเสรีอาเซียนอนาคตข้าวไทย...ได้หรือเสีย ?

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 01/10/2009 9:47 pm    ชื่อกระทู้: จับตาเปิดเขตค้าเสรีอาเซียนอนาคตข้าวไทย...ได้หรือเสีย ? ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

http://www.transportnews.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=262:2009-06-25-03-56-16&catid=34:trade&Itemid=105

จับตาเปิดเขตค้าเสรีอาเซียนอนาคตข้าวไทย...ได้หรือเสีย ?


จากพันธกรณีอาฟต้า หรือที่เรียกกันว่า ภายใต้กรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน ที่ไทยเราได้จรดปากกาลงนามกับคู่เจรจาเหล่าพันธมิตรประเทศเพื่อนบ้าน และมีผลบังคับใช้กับสินค้าเกษตรบางรายการไปแล้วแต่สาระสำคัญ คือ เรื่องของข้าว ซึ่งเป็นที่กล่าวขานถึงปัญหาต่างๆ นานา ที่คาดว่าจะตามมาอีกเป็นพรวน ภายหลังมีผลเริ่มบังคับใช้ 1 ม.ค. 53 อันจะส่งผลให้ภาษีเป็น 0% ทันที แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อไทยเราอย่างแน่นอน หากภาครัฐยังคงไร้
ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ เฉกเช่นวันนี้ อะไรจะเกิดขึ้นกับอนาคตข้าวไทย

ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาภาครัฐได้มองหามาตรการด้านต่างๆ ที่จะเข้ามารองรับถึงปัญหาดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่ทว่ายังไม่เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนอะไรนักและล่าสุด กรมการค้าต่างประเทศ ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้เป็นผู้กำกับดูแลเพื่อหาทางออก ได้ระดมมันสมองผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการค้าข้าว ไม่ว่าจะเป็นชาวนา โรงสี ผู้ส่งออก ตลอดจนโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบ จัดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นกรณีการเปิดตลาดข้าวภายใต้พันธกรณีอาฟต้า ทั้งในส่วนของภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ และภาคกลางจังหวัดชัยนาท เมื่อเร็วๆ นี้ แต่ยังไม่มีผลสรุปอะไรที่ชัดเจน เนื่องจากต้องทำประชาพิจารณ์ไปทั่วประเทศก่อนนำเสนอคณะกรรมการนโยบายข้าว ถึงแนวทางว่าควรเป็นเช่นใด

สำหรับสินค้าข้าวนั้น ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่ประเทศไทยจะต้องลดภาษีเหลือร้อยละ 0 นั้น รวมทั้งยกเลิกมาตรการโควตาภาษีภายในวันที่ 1 มกราคม 2553 หากไทยไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีดังกล่าว ประเทศสมาชิกอื่นๆ สามารถยื่นฟ้องไทยได้ และหากว่าไทยแพ้คดีอาจถูกตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีสินค้าส่งออกแต่ทว่าถ้าไทยทำ ตามสัญญาโดยไม่มีมาตรการรองรับที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ จะส่งผลกระทบต่อหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นชาวนา ผู้ค้าข้าวรวมทั้งผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ

ตามพันธกรณีที่ผูกมัดไทยอยู่ในขณะนี้ ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนประเทศสมาชิกมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพันธกรณี ซึ่งเกี่ยวข้องกับการลดอัตราภาษีศุลกากรสินค้าทุกประเทศ รวมทั้งยกเลิกมาตรการจำกัดปริมาณและมาตรการที่มิใช่ภาษีต่างๆ ภายในระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ และที่ผ่านมา ในกลุ่มสินค้าเกษตร ไทยมีสินค้าจำนวน 23 รายการ ที่จะต้องยกเลิกภาษีและยกเลิกมาตรการโควตาภาษี ซึ่งปัจจุบันกระทรวงการคลังได้ออกประกาศลดภาษีสินค้าทั้ง 23 รายการแล้ว รวมทั้งออกประกาศยกเลิกโควตาในบางรายการไปแล้ว

ในส่วนประเด็นเรื่องของข้าว ซึ่งจะเป็นประเด็นอันใหญ่หลวงสำหรับไทยที่ต้องให้ขบคิดกันอย่างรอบคอบ เพราะจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ แม้ว่าจะเป็นไปตามพันธกรณีก็ตาม แต่ไทยเราต้องหามาตรการมารองรับทุกๆ ด้านที่จะส่งผลกระทบอย่างแรงต่อไทย และจะต้องเป็นไปอย่างเข้มข้นทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคุณภาพ มาตรฐาน ความปลอดภัยด้านของสุขอนามัย ตลอดจนปัญหาหลักๆ เรื่องของการสวมสิทธิข้าวจากต่างด้าวที่เป็นที่กล่าวถึงกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในด้านการส่งออก หรือจากโครงการต่างๆ ของรัฐ ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่องทางในการกระทำทุจริต

ดังนั้น เรื่องของการกำหนดคุณสมบัติของผู้นำเข้า จึงมีคำถามว่าภาครัฐจะใช้มาตรฐานอะไรมาเป็นตัวชี้นำ ตลอดจนความชัดเจนของวัตถุประสงค์การนำเข้า ว่าจะนำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าอื่นๆ ประเภทใด นอกจากนี้ สิ่งสำคัญก็คือด่านนำเข้าจะควบคุมได้ดีมากน้อยแค่ไหน และมีความชัดเจนเพียงพอหรือไม่ขั้นตอนการติดตามผลจะเริ่มจากด่านยันถึงปลาย ทางแหล่งต้นตอที่อ้างถึง ว่าเป็นไปตามคำร้องขอมาหรือไม่

ตามความเป็นจริงแล้ว การลดภาษีข้าวดังกล่าว จากข้อมูลกูรูผู้รู้ฟันธงมาว่าไม่ต้องเป็นห่วงถึงเรื่องดังกล่าวนักและอย่า ได้วิตกกังวลไปเลยว่าอาจมีข้าวด้อยคุณภาพจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาสวมสิทธิ ข้าวไทย เพราะมีแน่ๆ ไม่ต้องกลัว หายห่วงได้แน่งานนี้ ตัวอย่างมันฟ้องจากที่ผ่านมามีให้เห็นอยู่แล้ว ทั้งๆ ที่ยังมิได้เปิดเสรีอะไรเลย เพียงแค่รัฐอ้าปากประกาศรับจำนำข้าวนาปี นาปรัง หรือแม้แต่สินค้าเกษตรบางรายการเท่านั้น ขบวนการค้าชายแดน ทั้งมด ทั้งปลวก ต่างวิ่งพล่านคึกคักขึ้นมาทันทีทันใด ไฉนเลยงานนี้จะพลาด

“งานนี้รัฐบาลจำต้องเร่งหามาตรการดูแลที่มีศักยภาพ และมีประสิทธิภาพจริงๆ เข้ามาบริหารจัดการให้ได้สูงสุด เพื่อมิให้อุตสาหกรรมข้าวไทยเรามีผลกระทบและเสียภาพลักษณ์ที่ดีต่อสายตาผู้ บริโภค ก่อนสายเกินแก้ และอย่าได้ไปใส่ใจกับคำครหาที่ว่าไทยเรากีดกันทางการค้า หากว่าเรามีมาตรการต่างๆ ออกมารองรับกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเรา เพราะว่าที่ไหนๆ ประเทศไหนๆ ทั่วโลกที่ว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ก็กระทำกันทั้งนั้นเรื่องของการกีดกันทางการค้า อยู่ที่ว่าจะแก้ต่างอย่างไรเท่านั้นเอง เหตุและผลเป็นสำคัญ” เป็นข้อเสนอแนะจากกูรู

ด้านหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบ และหาคำตอบ โดย น.ส.ชุติมา บุญยประภัศร อธิบดีกรมการค้าระหว่างประเทศ ได้กล่าวถึงประเด็นที่ทำท่าจะเป็นปัญหา ว่า ในกรณีที่ประเทศไทยจะเปิดตลาดนำเข้าข้าวภายใต้พันธกรณีเขตการค้าเสรีอาเซียน นั้น หลายฝ่ายมองว่าอาจจะมีปัญหาตามมา คือ เรื่องของข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านจะทะลักเข้าไทยจนก่อให้เกิดหรือมีแนวโน้ม จะทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อการผลิตภายในประเทศ ตามที่ได้คาดการณ์กันมานั้นปัญหาดังกล่าว รัฐบาลสามารถใช้มาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น โดยมีกระบวนการไต่สวนเพื่อเรียกเก็บภาษีอากรนำเข้า หรือจำกัดปริมาณการนำเข้าข้าวได้ ซึ่งเป็นไปตามการดำเนินการตามกรอบกติกา WTO

ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศไทยได้ประโยชน์มากที่สุดจากการเปิดตลาดข้าว และให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดกระทรวงพาณิชย์ ได้หารือร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อกำหนดมาตรการรองรับในการบริหารจัดการข้าวนำเข้าและแนวทางการปฏิบัติงาน ต่างๆ เช่น การรักษาคุณภาพมาตรฐานข้าวไทย การป้องกันการนำเข้าข้าวมาสวมสิทธิ การคุ้มครองสุขอนามัยของผู้บริโภคข้าวไทย การป้องกันการระบาดของโรคและศัตรูข้าว รวมทั้งการป้องกันการนำเข้าข้าวจีเอ็มโอ อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังได้กำหนดประเด็นของการบริหารจัดการข้าวนำเข้า โดยกำหนดผู้นำเข้าข้าว และขั้นตอนในการกำกับดูแลการนำเข้าข้าว ตลอดจนการตรวจสอบในด้านต่างๆ อีกด้วย

อย่างไรก็ดี เพื่อให้การบริหารจัดการข้าวมีความสมบูรณ์และโปร่งใสจำต้องอาศัยความร่วมมือ จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าข้าว โดยที่ผ่านมา ได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียได้แสดงความคิด และเสนอแนะข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อมาตรการรองรับ โดยการจัดเวทีสาธารณะทั้งที่เชียงใหม่ และชัยนาท ส่วนที่จะจัดขึ้นอีกในเร็วๆ นี้คือ สงขลา สุรินทร์ อุดรธานี และกรุงเทพฯ ต่อไป เพื่อประมวลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี ก่อนกำหนดเป็นนโยบายการบริหารจัดการข้าวนำเข้าต่อไป ว่าจะเลือกเดินทางไหน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Pum_NWF_Rayong
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/07/2009
ตอบ: 177

ตอบตอบ: 02/10/2009 11:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข่าวที่สหรัฐพัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่นี้ก็น่าห่วงไม่แพ้กันค่ะ

ปุ้มระยอง



ที่มา http://www.webindexthai.com/news/?p=2824

ตั้งชื่อข้าวแจสแมนแข่งจัสมิน สหรัฐฯพัฒนาพันธุ์ใหม่ตีเสมอ หอมมะลิไทย

September 28th, 2009
ขณะที่นายกสมาคมผู้ส่งออกไม่ห่วง เชื่อชื่อเสียงต้องสั่งสม แต่ยอมรับต้องจับตาใกล้ชิดยันไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดข้าวหอมมะลิไทยในสหรัฐฯ…..

สหรัฐฯประกาศพันธุ์ข้าวใหม่ LA2125 คุยคุณภาพทัดเทียมหอมมะลิไทย ตั้งชื่อออกเสียงคล้ายข้าวหอมมะลิไทย “จัสมิน” ว่า “แจสแมน” ชาวนามะกันพร้อมปลูกเพื่อการค้า อาจกระเทือนตลาดข้าวไทย ขณะที่นายกสมาคมผู้ส่งออกไม่ห่วง เชื่อชื่อเสียงต้องสั่งสม แต่ยอมรับต้องจับตาใกล้ชิด

นางสมรรัตน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้า ณ นครชิคาโก สหรัฐฯ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ศูนย์วิจัยและค้นคว้าเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยหลุยเซียนา รัฐหลุยเซียนา สหรัฐฯได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าได้ค้นคว้าและพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ LA2125 มีคุณภาพทัดเทียมกับข้าวหอมมะลิไทยและตั้งชื่อคล้ายกันว่า JAZZMAN (แจสแมน) เพื่อแข่งขันกับข้าวหอมไทย ซึ่งใช้ชื่อ JASMINE (จัสมิน) โดยในฤดูผลิตปี 52/53 ได้นำเมล็ดพันธุ์ไปให้ชาวนาปลูกเพื่อการค้าแล้ว

สำหรับข้าว JAZZMAN ศูนย์วิจัยฯได้เริ่มการทดลองผสมพันธุ์ตั้งแต่ปี 2509 โดยนำข้าวกลิ่นหอมของจีนสายพันธุ์ 96a-8 มาผสมกับข้าวเมล็ดยาวของรัฐอาร์คันซอใช้เวลาหลายสิบปีจึงเป็นผลสำเร็จและอ้างว่ามีคุณภาพความหอมและนิ่มทัดเทียมกับข้าวหอมมะลิไทย ที่สำคัญให้ผลผลิตโดยเฉลี่ยประมาณไร่ละ 1,265 กิโลกรัม ขณะที่ข้าวไทยมีผลผลิตประมาณไร่ละ 400 กิโลกรัม โดยชาวนาในหลุยเซียนาจะหันมาปลูกข้าวนี้มากขึ้นและช่วยทดแทนการนำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทยได้

อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์คริสโตเฟอร์ ดาเรน ประจำสถาบันวิจัยข้าว มหาวิทยาลัยอาร์คันซอ ให้ข้อคิดเห็นว่า ข้าวดังกล่าวเป็นข้าวหอมพันธุ์ดีที่สุดของสหรัฐฯ แต่ยังไม่สามารถเทียบเท่ากับข้าวหอมมะลิไทยได้ เพราะข้าวหอมมะลิไทยมีคุณสมบัติพิเศษเป็นของตัวเองและเป็นธรรมชาติ ซึ่งข้าวพันธุ์อื่นๆไม่สามารถพัฒนาได้ทัดเทียมหรือแข่งขันได้ จึงเชื่อมั่นว่าข้าวหอมมะลิไทยมีคุณภาพดีที่สุดในโลก

“อย่างไรก็ตาม หากชาวนาสหรัฐฯปลูกข้าวชนิดนี้มากขึ้น จะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดข้าวหอมมะลิไทยในสหรัฐฯได้และทำให้สหรัฐฯนำเข้าข้าวหอมมะลิไทยลดลงในอนาคต ส่งผลให้ราคาข้าวหอมมะลิไทยตกต่ำลงได้ ผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิไทยจึงควรเตรียมกลยุทธ์ป้องกันและต่อสู้กับข้าว JAZZMAN”

นางสมรรัตน์กล่าวว่า กลยุทธ์ที่ผู้ส่งออกควรจะนำมาใช้ ได้แก่ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลผู้บริโภคทราบถึงข้อดีเด่น ทั้งในด้านคุณภาพและความหอมของข้าวหอมมะลิไทย และยังต้องทำการค้าแบบสากล ด้วยการเข้าไปซื้อกิจการโรงสีหรือกิจการจำหน่ายข้าวในสหรัฐฯ เพื่อประโยชน์ในการขยายตลาดในระยะยาว ซึ่งช่วงนี้ถือเป็นโอกาสเหมาะสม เพราะเศรษฐกิจถดถอย สามารถซื้อกิจการได้ในราคาไม่แพงมาก

ด้านนายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่น่าห่วงว่าข้าวดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อตลาดข้าวหอมมะลิไทยในสหรัฐฯ ที่มีปริมาณส่งออกเฉลี่ยปีละ 400,000 ตัน เพราะในความเป็นจริง กว่าข้าวแต่ละชนิดจะเป็นที่ยอมรับจากตลาด ต้องใช้เวลาหลายปีและต้องยอมรับว่าข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้าพรีเมียมที่ตลาดยอมรับมานานและมีคุณค่าทางตลาด แต่ต้องจับตาว่าข้าวดังกล่าวมีลักษณะทางกายภาพเหมือนหรือต่างจากข้าวหอมมะลิของไทยอย่างไร หากใกล้เคียงกันอาจต้องระวังว่าจะมีการนำมาผสมกับข้าวหอมมะลิไทยก่อนวางจำหน่าย แต่หากไม่เหมือนกันก็ถือว่าเป็นคนละตลาด

“ต้องยอมรับว่าเรายังไม่รู้ว่าข้าวชนิดใหม่นี้มีลักษณะทางกายภาพและคุณภาพ หลังการหุงต้มเป็นอย่างไร แต่เบื้องต้นไม่น่าห่วง เพราะตลาดข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้าพรีเมียมที่มีจุดยืนในตลาดชัดเจน ขณะที่สินค้าใหม่ๆ หรือข้าวชนิดใหม่กว่าจะได้รับการยอมรับจากตลาดจะใช้เวลานาน เช่น ข้าวปทุมธานี เป็นต้น”.

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
28 กันยายน 2552, 05:45 น.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 02/10/2009 1:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจาก http://www.fwdder.com/topic/180596

JAZZMAN RICE



ตัวอย่างของการบูรณาการแห่งการศึกษาและพัฒนาที่สมบรูณ์แบบ
“ทฤษฎีบูรณาการ เป็นทฤษฎีที่พยายามบูรณาการองค์ความรู้ต่างๆเข้ามาอย่างรอบด้าน แต่ไม่ใช่การนำองค์ความรู้ต่างๆมากองรวมกัน หรือทึกทักเหมารวมเอาไว้ด้วยกันอย่างไม่สามารถแยกแยะอะไรได้” จาก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ผมเป็นคนหนึ่งที่คอยติดตามข่าวของการศึกษาพัฒนาข้าวสายพันธ์ใหม่ของทาง อเมริกามาได้สักพักด้วยในใจที่เรายังถูมิใขว่าเราคนไทยมีข้าวหอมมะลิไทยจาก แหล่งผลิต ทุ่งกุลา ที่เป็นข้าวสายพันธ์ดีที่สุดในโลกก็ว่าได้ ล่าสุดเมื่อคืนที่ผ่านมาได้ดูข้าวการเปิดตัวเป็นทางการของ JAZZMAN RICE ข้าวหอมสายพันธ์ LA2125ที่ถูกพัฒนาสายพันธ์มาจากข้าวจีน สายพันธุ์ (96a-Cool มาผสมกับข้าวเม็ดยาวของรัฐอาร์คันซอส์ ศูนย์วิจัยและค้นคว้าเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยLouisianaStateUniversity มลรัฐหลุยส์เซียน่า นำโดย Dr. Xueyan Sha ใช้เวลา 12 ปี ในการศึกษาวิจัยและพัฒนา

ในปี 2009 (ปีนี้) อเมริการนำเข้าข้าวหอมมะลิเกรดดีพิเศษจากไทย สูงถึง 6 แสนตัน มีประมาณการอัตตราการนำเข้าในอีก 8 ปีข้างหน้าจะมีประมาณสูงถึง 1.5 ล้านตัน

LouisianaStateUniversity จึงทำการพัฒนาข้าวสายพันธุ์ใหม่ JAZZMAN RICE

ทีมงานนักวิจัย




ชาวนา


ลูกหลานชาวนาไทยชาวจำเขาไว้ Mr. Jimmy Hope ชาวนาในเมือง Fenton รัฐหลุยส์เซียน่า เป็นรายแรกที่นำข้าวพันธ์ LA2125 ศูนย์วิจัยฯ มาทดลองปลูก ในปี 2551 และได้ผลผลิตโดยเฉลี่ยประมาณ 6,954 ปอนด์ต่อเอเคอร์ หรือประมาณ 1,265 กิโลกรัมต่อไร่

ชาวจีนที่ร่วมก่อตั้งงานนักวิจัย



การสาธิตการใช้ข้าว JazzMan Rice ทำอาหารโดย Chef Geoffrey



ที่ขาดไม่ได้คือทีมงานการตลาด ที่ทำหน้าที่ส่งข้าวถุง JazzMan Rice สู่ผู้บริโภค




พอมาถึงตรงนี้หากคุณยอมสละเวลาดูรูปข้างบนที่ผมพยายามเรียบเรียง(ด้วยเวลาที่มีน้อยนิด) ท่านเห็นอะไรที่ผมยกเรื่องนี้ขึ้นไม่ไม่ใช่ว่าไม่รักข้าวไทย แต่สิ่งหนึ่งที่ได้ดูได้เห็นจากการติดตามเรื่องนี้คือ การศึกษาวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม

การบูรณาการแห่งการศึกษาและพัฒนาที่สมบรูณ์แบบจากปัญหาข้าวหอมมะลิของไทยครองตลาดข้าวในโลกโดยเฉพาะในอเมริการเอง

ในปีนี้มีการนำเข้าสูงถึง 6 แสนตัน มีผลทำให้เกษตรกรชาวนาท้องถิ่นของอเมริกา ของรัฐอาร์คันซอส์ รัฐหลุยส์เซียน่า ซึ่งเป็นเหมือนอู่ข้าวอู่น้ำของ อเมริกาได้รับผลกระทบ ประมาณการอัตราการนำเข้าในอีก 8 ปีข้างหน้าจะมีประมาณสูงถึง 1.5 ล้านตัน

ด้วยเหตุนี้ในปี 1998 ศูนย์วิจัยและค้นคว้าเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยLouisianaStateUniversity จึงได้ทำการค้นคว้าวิจัยพัฒนาข้าวสายพันธุ์ใหม่

หากได้ติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิดจะเป็นถึงการร่วมมือกันระหว่าง เกษตรกร องค์กรภาครัฐ สถาบันการศึกษา จนถึงภาคเอกชน

เกษตรกรทำการทดลองปลูกจริง องค์กรภาครัฐให้นโยบายทำเป็นวาระมีนโยบายชัดเจนส่งเสริมการพัฒนาทสถาบันการศึกษาทำการศึกษาวิจัยค้นคว้าแบบเอาจริงเอาจังจนเป็นผลสำเร็จภาคเอกชน ให้ความร่วมมือเข้ามาช่วยทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ทำการตลาดให้ผลิดภัณท์ออกมาโดยสมบูiณ์

"คนไทยไฟไหม้ฟาง" เราไม่ได้เก่งน้อยกว่าต่างชาติ แต่เราขาดการสบับสนุนงานวิจัย นักวิทยาศาสตร์ตกงานnนักเรียนได้เหรียญโอลิมปิกวิทยาศาสตร์มามากมาย สุดท้ายไม่เลือกเดินสายนักวิทยาศาสตร์เพราะไม่มีงานทำ งบวิจัยไม่ต่อเนื่องภาคการเมืองไม่เห็นความสำคัญ ไม่ให้โอกาส ไม่อดทนรอ

เมื่อไรจะได้เห็นผลงานของคนไทยออกมาเป็นอย่างนี้สักที หรืออีก 3-4 ปีข้างหน้าเราต้องซื้อข้าว Jazzman Rice กินเพราะราคาถูกกว่า

ข้าวหอมมะลิของไทย อนาคตชาวนาไทยจะเป็นอย่างไร คาดว่าในปี 2011 Jazzman Rice จะส่งออกมาแข่งกับข้าวหอมมะลิไทย

ไหนข้าวเราจะต้องแข่งกับข้าวเวียดนาม ข้าวจีน...ช่วยกันนะครับคนไทย เพื่อชาวนาไทยผู้ยิ่งใหญ่ของเรา
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 02/10/2009 1:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Pum_NWF_Rayong บันทึก:
ข่าวที่สหรัฐพัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่นี้ก็น่าห่วงไม่แพ้กันค่ะ

ปุ้มระยอง

ที่มา http://www.webindexthai.com/news/?p=2824

นางสมรรัตน์กล่าวว่า กลยุทธ์ที่ผู้ส่งออกควรจะนำมาใช้ ได้แก่ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลผู้บริโภคทราบถึงข้อดีเด่น ทั้งในด้านคุณภาพและความหอมของข้าวหอมมะลิไทย และยังต้องทำการค้าแบบสากล ด้วยการเข้าไปซื้อกิจการโรงสีหรือกิจการจำหน่ายข้าวในสหรัฐฯ เพื่อประโยชน์ในการขยายตลาดในระยะยาว ซึ่งช่วงนี้ถือเป็นโอกาสเหมาะสม เพราะเศรษฐกิจถดถอย สามารถซื้อกิจการได้ในราคาไม่แพงมาก


"เราต้องใช้เงินมากขนาดไหน ถึงจะเข้าไป Take Over กิจการการทำธุรกิจข้าวในสหรัฐฯ แล้วใครจะยอมเสียเปรียบขายให้ง่ายๆ นอกจากการ Take Over แบบไม่เป็นมิตร"


Pum_NWF_Rayong บันทึก:
ข่าวที่สหรัฐพัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่นี้ก็น่าห่วงไม่แพ้กันค่ะ

ปุ้มระยอง


สำหรับข้าว JAZZMAN ศูนย์วิจัยฯได้เริ่มการทดลองผสมพันธุ์ตั้งแต่ปี 2509 โดยนำข้าวกลิ่นหอมของจีนสายพันธุ์ 96a-8 มาผสมกับข้าวเมล็ดยาวของรัฐอาร์คันซอใช้เวลาหลายสิบปีจึงเป็นผลสำเร็จและอ้างว่ามีคุณภาพความหอมและนิ่มทัดเทียมกับข้าวหอมมะลิไทย ที่สำคัญให้ผลผลิตโดยเฉลี่ยประมาณไร่ละ 1,265 กิโลกรัม ขณะที่ข้าวไทยมีผลผลิตประมาณไร่ละ 400 กิโลกรัม โดยชาวนาในหลุยเซียนาจะหันมาปลูกข้าวนี้มากขึ้นและช่วยทดแทนการนำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทยได้


"ดูเหมือนว่าเราจะรู้ปัญหาและอุปสรรค เพราะฉะนั้นเราน่าจะลองศึกษาว่า เขาทำอย่างไรจึงได้ผลผลิตต่อไร่สูงมาก"

Pum_NWF_Rayong บันทึก:
ข่าวที่สหรัฐพัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่นี้ก็น่าห่วงไม่แพ้กันค่ะ

ปุ้มระยอง

ที่มา http://www.webindexthai.com/news/?p=2824

ด้านนายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่น่าห่วงว่าข้าวดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อตลาดข้าวหอมมะลิไทยในสหรัฐฯ ที่มีปริมาณส่งออกเฉลี่ยปีละ 400,000 ตัน เพราะในความเป็นจริง กว่าข้าวแต่ละชนิดจะเป็นที่ยอมรับจากตลาด ต้องใช้เวลาหลายปีและต้องยอมรับว่าข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้าพรีเมียมที่ตลาดยอมรับมานานและมีคุณค่าทางตลาด แต่ต้องจับตาว่าข้าวดังกล่าวมีลักษณะทางกายภาพเหมือนหรือต่างจากข้าวหอมมะลิของไทยอย่างไร หากใกล้เคียงกันอาจต้องระวังว่าจะมีการนำมาผสมกับข้าวหอมมะลิไทยก่อนวางจำหน่าย แต่หากไม่เหมือนกันก็ถือว่าเป็นคนละตลาด

“ต้องยอมรับว่าเรายังไม่รู้ว่าข้าวชนิดใหม่นี้มีลักษณะทางกายภาพและคุณภาพ หลังการหุงต้มเป็นอย่างไร แต่เบื้องต้นไม่น่าห่วง เพราะตลาดข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้าพรีเมียมที่มีจุดยืนในตลาดชัดเจน ขณะที่สินค้าใหม่ๆ หรือข้าวชนิดใหม่กว่าจะได้รับการยอมรับจากตลาดจะใช้เวลานาน เช่น ข้าวปทุมธานี เป็นต้น”.


"ข้าวไทย กำลังถูกรุมเร้าด้วยปัญหารอบด้าน ถ้าวันนี้เรายังไม่คิดที่จะจริงจังกับการแก้ปัญหา
อนาคตข้าวไทย น่าเป็นห่วงจริงๆ "


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 02/10/2009 1:59 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Pitipol
เว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์


เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009
ตอบ: 332
ที่อยู่: 114/2 ม.11 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง

ตอบตอบ: 02/10/2009 1:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวหอมมะลิไทย เป็นข้าวที่ได้รับการพัฒนาเป็นร้อยเป็นพันปี หาใช่ได้จากนักวิจัยไม่ แต่เป็นการคัดสรรทางพันธุกรรมจากธรรมชาติ จนได้ข้าวที่ดีที่สุดของโลก นับเป็นข้าวสร้างชาติจะว่าได้ เรามาช่วยกันส่งเสริม เพื่อให้ข้าวไทย เป็นอันดับ 1 ตลอดไป
_________________
เกษตรกรฝึกหัด
โอ ระยองครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ MSN
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 02/10/2009 2:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ติดตามข่าวงานวิจัยข้าวระหว่างประเทศที่ สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (IRRI)

http://beta.irri.org/index.php/Home/Welcome/Frontpage.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©