-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - วันนี้ที่ ไร่กล้อมแกล้ม 6 ก.ค.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

วันนี้ที่ ไร่กล้อมแกล้ม 6 ก.ค.

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
iieszz
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 15

ตอบตอบ: 06/07/2011 10:29 pm    ชื่อกระทู้: วันนี้ที่ ไร่กล้อมแกล้ม 6 ก.ค. ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปุ๋ยทางใบแม่เอ๊ยยยย.....ทำใช้....ทำขาย....ทำแจก....










3 สูตร ปุ๋ยทางใบ ปรุงเมื่อตามวันที่ข้างถัง ถึงวันนี้ ตามวันที่ในปฏิทิน = หมดแล้ว
ในเร็ววันนี้ คงต้องปรุงอีก ......

อย่าลืม ! ปุ๋ยไม่ใช่ของวิเศษ ต้นไม้ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักโฆษณา ไม่รู้จักชื่อ
เจ้าของ ต้นไม้ต้นพืชรู้จักอย่างเดียว คือ เนื้อในปุ๋ยตัวนั้น คือ อะไร เท่านั้น

ระวัง ! ปุ๋ยดีแค่ไหน ใช้ไม่เป็น ใช้ไม่ถูกวิธี ใช้ไม่เหมาะสม ก็ไม่ได้ผล


***********************************************************************





บ้านเขาช่อง ถามว่า ช่องอะไร คำตอบคือ "ช่องลม" ไงล่ะ

ทุกครั้งที่พายุฝน (ลมก่อนฝน) ธรรมดาๆ มาทีไร ไร่กล้อมแกล้ม (กลัดกลุ้ม) เป็นได้รับลมมากกว่าส่วนอื่นๆที่
อยู่เคียงกันเสมอ ในรอบ 5 ปีของอายุไร่กล้อมแกล้มเจอทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และทุกครั้งที่เจอต้อง
มีไม้ใหญ่ต้นใดต้นหนึ่ง หรือสองต้นสังเวยแรงลม แบบล้มลงนอนราบกับพื้น หรือไม่ก็ถอนรากถอนโคน ยกต้น
ขึ้นจากพื้นเลยก็มี

จำนวน 60 ต้น เคยล้มไปแล้ว 2-3 ต้น เมื่อ 2 ปีก่อน ฟื้นไม่ขึ้นแล้วก็ไม่ได้ปลูกซ่อม มาปีนี้ พ.ศ.นี้ วันนี้ล้ม
อีก 10 ต้น ประมาณนี้ถือว่าสูญเสียไม่ใช่น้อย ถ้าต้นที่ล้มฟื้นไม่ขึ้นอีกก็ว่าจะไม่ปลูกซ่อม แต่จะปรับแผนการปลูก
เป็นแบบ "ระยะปกติต้นเตี้ย" แทน





ลำไยสีชมพู อายุต้นขึ้นปีที่ 5 ปลูกแบบระยะชิดปกติ 4 x 4 ม. การเจริญเติบโตเร็วมาก แสดงว่าถูกโฉลกกันดี
กับดินปราบเซียนของไร่กล้อมแกล้ม เพียงอายุต้น 2 ปี ต้นสูงเกือบ 5 ม. ความกว้างทรงพุ่มเริ่มชนกัน จำเป็น
ต้องตัดแต่งกิ่งปรับขนาดทรงพุ่ม โดยลดความสูงและความกว้างลงมาที่ 2 ม. จากนั้นราว 1 ปี ถึงปีครึ่งขนาดทรง
พุ่มทั้งสูงและกว้างทุกต้นก็กลับมาเท่าเดิมอีกอย่างที่เห็นนี้


แผนการในอนาคต (2-3-4 ปี) ตัดออก ต้นเว้นต้น ก็จะได้ระยะห่าง 8 x 8 ม. แล้วจับสูตรลำไยระยะชิดของ
อ.พาวินฯ ม.แม่โจ้ฯ โดย
- โน้มกิ่งประธานลงระนาบกับพื้น
- ตัดปลายกิ่ง
- เรียกกิ่งกระโดง
- เลือกเก็บไว้กิ่งกระโดงที่เหมาะสมต่อการออกดอก และตัดทิ้งกิ่งกระโดง
- บำรุงตาม 8 ขั้นตอนไม้ผล

ธรรมชาติลำไย ออกดอกติดผลจากปลายกิ่งนอกทรงพุ่ม ชี้ขึ้น 45 องศา ถึง 90 องศา สังเกตุที่กิ่งกระโดงเหนือ
ทรงพุ่ม 90 องศา ออกดอกติดผลดีกว่ากิ่งด้านข้างทรงพุ่ม ส่วนกิ่งด้านล่างของทรงพุ่มออกดอกติดผลน้อยมากหรือ
ไม่ออกเลย กับกิ่งในทรงพุ่มก็ไม่ออกดอกติดผลเหมือนกัน






บางต้นเคยให้ผลผลิตรุ่นแรกเมื่อเอายุต้นขึ้นปีที่ 3 มาปีที่แล้ว อายุต้นขึ้นปีที่ 4 ไม่มีต้นไหนให้ผลผลิตเลย
ตรวจสนอบแล้วพบว่า ต้นมีอาการขาด "ธาตุเสริม" อย่างรุนแรง คำถามก็คือ ธาตุเสริม "ตัวไหน" ล่ะที่ขาด
สังเกตุที่ใบแล้วพบว่ามีสี "เขียวอมเทา" ดังนั้น คำตอบที่แท้จริงน่าจะอยู่ที่ห้อง LAB โดยวิเคราะห์ "ดิน
และใบ" เท่านั้น งานนี้แม้ลุงคิมจะมีสมัครพรรคพวกที่พร้อมอำนวยความสดวกให้ได้ แต่ก็ยังเหมือนไกลเกิน
เอื้อมแล้วสำมะหาอะไรกับเกษตรกรตาดำๆ ยายสี ตาสา จะพึงได้รับ





รู้ทั้งรู้แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ นึกถึงงานวิจัยของ รศ.ดร.สุมิตรา ภูวโรดมภ์ แห่ง สจล. เรื่อง "ความสำคัญของ
ธาตุสังกะสีต่อต้นไม้ผล" ขึ้นมาทันที ว่าแล้วสั่งการให้ "สังกะสี อะมิโน คีเลต" เพียวๆ สลับอาทิตย์กับ
"ไบโออิ" หวังอาศัยแม็กเนเซียม ตามหลักวิชาการ

ระยะเวลาเพียงเดือนเดียว หลังให้ธาตุอาหาร 2 ตัว ห่างกันตัวละ 1 อาทิตย์ รวม 4 อาทิตย์ หรือตัวละ 2 ครั้ง
เท่านั้น ควบคู่กับให้ "ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10" เพียง 1 ครั้ง ผลออกมาทันตาเห็น

ทุกต้นแตกใบอ่อนชุดใหม่ ขนาดใบใหญ่ เนื้อใบหนา เส้นใบนูนชัด หูใบอวบอ้วน สีเขียวเข้ม แวววาวเป็นเงางาม
พร้อมกันนั้น ใบแก่เก่าโคนกิ่งที่เคยมีสีเขียวอมเทา ลักษณะสีเทาหายไปกลายเป็นเขียวเข้ม .... มาถูกทางแล้ว





การแก้ไขต่อต้นที่ล้ม คือ ตัดกิ่งประธานทั้งต้นให้เหลือความสูงจากพิ้นดินประมาณระดับเอว กิ่งประธานบางกิ่ง
ให้มีก้านใบ 1-2 ก้าน เหลือไว้สำหรับหายใจ (ภาษาชาวสวน) จากนั้นยกต้นตั้งขึ้นปกติ มีไม้แข็งแรงค้ำยัน แล้ว
บำรุงทางใบด้วยสูตร "เรียกใบอ่อน" (ไบโออิ + 46-0-0 G) อาทิตย์ละครั้ง ตอนกลางวัน กับให้ทางรากด้วย
"ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10" เดือนละครั้ง ให้ตอนค่ำ

งานนี้ รอด/ไม่รอด = 50/50 ต้องยอมรับและทัมใจ ในลำไยไม่มีตัวเลขและไม่มีสูตรสำเร็จ.....บอกแล้วไง
ที่นี่ โตเลี้ยง-ตายตัด

การป้องกันต่อต้นที่ไม่ล้ม คือ ลดความสูงต้นและความกว้างทรงพุ่ม โดยตัดกิ่งประธาน ณ ความสูงระดับหัว
คนตัด กับตัดกิ่งประธานที่แผ่ออกข้างให้ห่างจากต้นข้างเคียง 1.5-2 ม. เหลือก้านใบที่กิ่งประธาน 1-2 ก้าน/
1 กิ่งประธาน แล้วเริ่มลงมือบำรุงด้วยสูตร "8 ขั้นตอนไม้ผล" เพื่อเอาผลผลิตต่อไป

สังเกตุลำไยภาคเหนือ อายุต้น 10-20-50 ปี สูงขนาดสันจั่วบ้าน 2 ชั้น ทรงพุ่มกว้าง 10-15 ม. ต้องค้ำกิ่ง
ค้ำต้นด้วยไม้จริง (เสาเรือน) หน้า 4-6 กันเลย ก็เนื่องมาจากระบบรากที่ไม่แข็งแรงขนาดยึดตัวเองได้เหมือนไม้
อื่นนั่นเอง





ต้นไม้ "พูดด้วยใบ-บอกด้วยราก" คนกับต้นไม้เหมือน "อั้ยบ้า กับ อั้ยใบ" ต้นไม้กับคนสื่อสารกันด้วย "ใจ"

ชัดเจนว่า ลำไยกิ่งตอน-กิ่งทาบ ไม่มีรากแก้ว มีแต่รากฝอย รากฝอยอยู่ที่ผิวดินเป็นส่วนใหญ่

ข้อดีรากฝอย .......... หาอาหารเก่ง ตอบสนองดีต่อสารบังคับให้ออกนอกฤดู
ข้อเสียของรากฝอย ....ไม่มีพลังยึดลำต้น ไม่ทนทานต่อน้ำท่วมขังค้างนาน

ข้อดีของรากแก้ว........ ยึดลำต้นดี ทานทานต่อน้ำขังค้างนานดี
ข้อเสียของรารกแก้ว.... ตอบสนองไม่ดีต่อสารบังคับให้ออกนอกฤดู





สีชมพู วันนี้กลายเป็น "สู้ครู" ไปซะได้ หลังจากบำรุงต้นด้วย "สังกะสี อะมิโน คีเลต สลับกับ ไบโออิ + ยูเรีย
จี" ตรวจสอบลักษณะใบจนคิดว่าได้ที่ดีแล้วก็เริ่มบำรุงด้วยสูตร "สะสมตาดอก" ทั้งทางใบทางราก ประมาณ 1
เดือน จึงงดน้ำปรับ ซี/เอ็น เรโช. งดน้ำราว 2 อาทิตย์ เห็นใบเริ่มมีอาการสลดตั้งแต่เช้าถึงเย็น 3-5 วันติดต่อกัน
จึงตัดสินใจเปิดตาดอกด้วย "13-0-46" ชนิดเข้มข้นกว่าปกติ 20-25%

หลังเปิดตาดอกรอบแรกได้ 2-3 วัน เกิดฝนตก ตกหนัก ตกทุกวันเว้นวัน เว้น 2-3 วัน สีชมพูแทงใบอ่อนออก
มาทันที เปิดตาดอกเป็นแตกยอด เปิดตาดอกเป็นแตกยอด แตกยอด แตกยอดลูกเดียว ไม่ใช่ต้นเดียว แต่ทุกต้น

งานใหม่เข้าต้อง "กดใบอ่อนสู้ฝน" ด้วยสูตร "สะสมตาดอก สลับกับ 0-21-74" ระหว่างนี้ก็ให้นึกทบทวนถึงประ
สบการณ์ตรง เมื่อครั้งกดใบอ่อนสู้ฝนที่บ้านหนองสมณะ ป่าซาง กับที่ บ้านธิ ลำพูน ที่นั่นกดใบอ่อนสู้ฝนได้ชะงัด
กระทั่งหมดฝน 1 เดือน จึงเปิดตาดอก กลายเป็นลำไยออกก่อนฤดู 1 เดือน ได้


ข้อแตกต่างระหว่างลำไยลำพูน กับลำไยไร่กล้อมแกล้ม พอสรุปได้....
- ลำไยไร่กล้อมแกล้มไม่ได้ราดสารบังคับ
- ลำไยไร่กล้อมแกล้ม ระดับน้ำไต้ดินตื้น
- ลำไยไร่กล้อมแกล้ม ปริมาณสังกะสี. แคลเซียม โบรอน. สะสมในดินไม่พอ


********************************************************************



ขาวนิยม ดีกรีแชมป์ประเทศไทย....

โดยเจ้าของลิขสิทธิสายพันธุ์ อ.นิด-อ.นรินทร์ น้อยรักษา (089) 695-5871, (089) 695-5871 ส่งประกวด
เองในงานเกษตรแห่งชาติ เกษตรกลางบางเขน และเกษตรกำแพงแสน ชนะเลิศมาแล้ว 4 ครั้ง 4 ปีซ้อน ทั้งนี้
ไม่นับรวมที่ สมช. ที่ซื้อต้นพันธุ์ไปปลูกแล้วส่งเข้าประกวด ชนะเลิศในหลากหลายสนาม อีกนับครั้งไม่ถ้วน

เกิดจาก เขียวเสวย + น้ำดอกไม้ จึงเป็นได้ทั้ง กินดิบ-กินห่าม-กินสุก

เดิมเจ้าของตั้งชื่อว่า "น้ำดอกไม้มัน" ความที่มีคำว่า "น้ำดอกไม้" อยู่ในชื่อด้วยจึงจดทะเบียนลิขสิทธิ์สายพันธุ์
ไม่ได้ จำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นเพื่อเป็นเกียรติแด่คุณพ่อ "น้อย ขาวนิยม" ประมาณนี้ วันนี้ต้นแม่ดั้งเดิม
อายุ 100 (-) ปี ยังอยู่ที่นครชัยศรี





มะม่วงตระกูลยักษ์ ขนาดผล 1.2 - 2.2 กก. สายพันธุ์เบา ตอบสนองต่อสารพาโคลบิวทาโซล ในกรณีบังคับให้
ออกนอกฤดูเป็นรุ่นเดียวกันทั้งต้น หรือทั้งสวนดีมาก บำรุงด้วยสูตร UN ก็ตอบสนองดี เพียงแต่ออกไม่พร้อมกันเป็น
รุ่นเท่านั้น.....บำรุง "ถึงๆ" ธาตุรอง/ธาตุเสริม จะให้รสชาดดีมาก





ที่สวนน้อยรักษา จัดงานวันชิมมะม่วงขาวนิยมทุกปี ราคาขายหน้าสวนวันงาน 120-180 บาท/กก. .....

ใครๆก็ว่า มะม่วงผลใหญ่ขนาด 1 (+) กก. ขึ้นไป ส่งออกญี่ปุ่นไม่ได้ ญี่ปุ่นชอบแต่มะม่วงรสเปรี้ยว หรือหวานอม
เปรี้ยวเท่านั้น วันนี้ (3 ปีที่แล้ว) มะม่วงขาวนิยมได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่า "ไม่จริง" เพราะคนญี่ปุ่นแท้ๆ เข้ามาที่สวน
ดูกับตา ชิมกับปาก บอกว่า "....คนญี่ปุ่นก็ชอบมะม่วงผลขนาดใหญ่ ยิ่งใหญ่ยิ่งดี ชอบมะม่วงรสหวาน ยิ่งหวานยิ่ง
ดี....คนที่บอกว่า ญี่ปุ่นชอบมะม่วงผลเล็ก ชอบมะม่วงรสเปรี้ยว คนนั้นโกหก หรือไม่ก็รู้ไม่จริง ที่มาวันนี้จะออร์เดอร์
ขาวนิยม เอาทุกไซส์ ยิ่งใหญ่ยิ่งดี จะส่งไปญี่ปุ่น...." ว่าแล้วญี่ปุ่นรับหมด ทุกไซส์ ขอให้ใหญ่ๆ ก็แล้วกัน





มะม่วงก่อนส่งออกไปญี่ปุ่น ตามระเบียบต้องผ่านการฉายรังสีเพื่อกำจัดไข่แมลงวันทองก่อน ปรากฏว่า "ถาด"
ใส่ผลมะม่วงเข้าเครื่องฉายมีขนาดเล็กกว่าผลของขาวนิยม จึงฉายรังสีไม่ได้ ทำให้สงสัยๆ ระดับ สนง.ปรมณูเพือ
สันติ ใยจึงไร้ซึ่งเทคโนโลยี แม้แต่ถาดใส่ผลไม้เข้าเครื่องฉายรังสียังไม่มี ฉนี้แล้ว จะไปสร้างโรงไฟฟ้าประมณู
ได้ไฉน





เมื่อครั้งไปทำสกู๊ปพิเศษ เรื่อง มะม่วงขาวนิยม ได้ถ่ายรูปผลมะม่วงเปรียบกับใบหน้าของ "หนูใบตอง" ลูกสาวคนโต
อ.นิด-อ.นรินทร์ โชว์ว่า ผลมะม่วงใหญ่ใบหน้าเด็ก 7-8 ขวบ ขึ้นปกวารสารเกษตรใหม่ ปกวารสารรูปนี้ อ.นิด-
อ.นรินทร์ ยังเก็บไว้เป็นที่ระลึกให้กับลูกสาว แต่ของลุงคิม บรรณาธิการวารสารแท้ๆ ไม่มีเหลิอเก็บแม้แต่ฉบับเดียว

ก็มีนะ ในงานเกษตรบางงาน หลายงาน เอารูปปกวารสารรูปนี้ไปโชว์เพื่อขายกิ่งพันธุ์ขาวนิยม สร้างความร่ำรวยให้
แก่คนขายมาแล้วนักต่อนัก แถมมั่วนิ่มสมอ้างว่า นี่รูปลูกสาวตัวเองซะอีก เจ็บไหมล่ะ

อ.นิด ไปเจอเข้าต้องต่อว่ากันหน่อย....
1) มะม่วงพันธุ์นี้มีเจ้าของลิขสิทธิ์สายพันธุ์ คนอื่นเอามาขายโดยไม่ได้รับอนุญาติ ผิดกฏหมาย....
2) รูปในปกวารสารนั่น ลูกสาวฉัน ไม่ใช่ลูกสาวคุณ....
3) กิ่งพันธุ์ต้นนี้ปลอม คุณหลอกคนซื้อแบบนี้ เสียหายถึงเจ้าของกิ่งพันธุ์แท้ด้วยนะ....





เสียงขานรับจากคนกิน ซื้อที่ชมรมสีสันชีวิตไทย สาขาศาลายา พูดเป็นเสียงเดียวก้นว่า "ขาวนิยม อร่อยที่สุด" ใน
บรรดามะม่วงตระกูลยักษ์ทุกสายพันธุ์ที่ไร่กล้อมแกล้มมี






ขาวนิยมระยะชิดปกติ 4 x 4 ม. วันนี้อายุต้นขึ้นไปที่ 5 ให้ผลผลิตมาตั้งแต่ปีแรกที่ปลูก แม้ต้นจะยังเล็กก็เอาผล
ผลิตเลย เพื่อเป็นการกดต้นไว้ไม่ให้โตเร็ว

ตั้งแต่เริ่มปลูกมา การตัดแต่งกิ่งครั้งนี้เป็นครั้งแรก เพราะในทรุงพุ่มเริ่มแน่นทึบด้วย กิ่งกระโดง กิ่งน้ำค้าง กิ่งหาง
หนู กิ่งคด กิ่งงอ กิ่งไขว่ กิ่งชี้ลง กิ่งชี้เข้าใน กับกิ่งนอกทรงพุ่มเริ่มระรานต้นข้างเคียง

วางแผนไว้ว่า เลี้ยงระยะ 4 x 4 ม.แบบนี้ต่อไปอีกซัก 4-5 ปี กระทั่งต้นโตเต็มที่จนควบคุมทรงพุ่มไม่ได้ หรือ
ขนาดทรงพุ่มมีผลเสียต่อการออกดอกติดผลแล้ว นั่นแหละ จึงสมควรตัดออก "ต้นเว้นต้น" นั่นหมายความว่า
ตั้งแต่เริ่มปลูกถึงตัดออกต้นเว้นต้น ได้ผลผลิตมาแล้ว 7-10 ปี

บางคนบอก เคยเห็นขาวนิยมแปลงนี้มาตั้งแต่แรก ถึงวันนี้ต้นก็ไม่โต ในขณะที่ของเขาเองสูง 5-6 ม. ทรงพุ่ม
กว้าง 3-4 ม.แล้ว ..... ลุงคิมจึงตอบว่า การดูต้นไม้ว่า โตหรือไม่โตให้ดูที่ลำต้นส่วน "คอดิน" ถ้าคอดินใหญ่
เท่าน่องผู้ใหญ่ บางต้นใหญ่เท่าโคนขา อย่างนี้จะเรียกว่า "ไม่โต" ได้ไง แต่ถ้าถามว่า "ทำไมต้นไม่สูง ทำไม
ทรงพุ่มไม่กว้าง" อันนี้ก็ต้องว่ากันไปอีกเรื่องหนึ่ง .... มะม่วงต้นสูงมากๆ สูงกว่าหลังคาบ้าน ผลผลิตที่ออก
มา "เสียมากกว่าได้" ห่อผลไม่ได้ ขึ้นไปเก็บก็ยาก วันๆได้แต่แหงนคอมอง เหมือนมองดาวพระศุกร์บนท้องฟ้า

แผนการในอนาคต (ฤดูกาลผลิตปีนี้ หรือปีหน้า) จะบังคับให้ออกนอกฤดูด้วยสารพาโคลบิวทาโซล โดยการ
แบ่งเป็นโซนๆ เพื่อป้องกันผลผลิตล้นตลาดหน้าร้านส่วนตัว



***********************************************************************








ทับทิม .... ชอบดินลูกรังสีแดง หรือดินดำร่วน มีอินทรีย์วัตถุมากๆ แต่ดินปราบเซียนที่ไร่กล้อมแกล้มเป็นดิน
ทรายเหนียวจัด ในเนื้อดินไร้ซึ่งอินทรีย์วัตถุโดยสิ้นเชิง น้ำไต้ดินตื้นซะอีกแน่ะ

อายุต้นวันนี้ขึ้นปีที่ 3 ลักษณะอาการที่ ลำต้นประธาน-กิ่งประธาน-กิ่งแขนง-ก้านใบ-และใบ มีขนาดเล็กกว่าปกติ
ตามอายุ บ่งบอกว่า สภาพดินและน้ำดินไม่เหมาะสม ถึงกระนั้นต้นก็ยังอยู่ได้ แม้ต้นไม่โตแต่ออกดอกติดผลมาตั้ง
แต่อายุปลูกปีแรก แล้วก็ออกมาเรื่อยๆแบบไม่มีรุ่น ไม่มีฤดกาล นี่เป็นผลมาจาก "ปุ๋ยทางใบ สูตร UN" ที่
ให้แบบอาบจากยอดลงถึงพื้นดินโคนต้น กับ "ระเบิดเถิดเทิง" ทางราก โดยแท้

จากการสังเกตุแต่ละต้น ทำไมลมพัดเพียงเบาๆ ลำต้นก็เอนเอียงท่าทางยังกะจะล้มซะให้ได้ จึงตรวจสอบระบบราก
แล้วพบว่า รากไม่ยอมหยั่งลงไต้ดินลึก คงชอนไชหากินเฉพาะที่ผิวดิน ณ ความลึกไม่เกิน 1 ฝ่ามือเท่านั้น และนี่
คือสิ่งบอกเหตุ ชี้ให้เห็นว่า ใต้ดินลึกนอกจากไม่มีสารอาหารแล้ว ยังมีน้ำไต้ดินที่เป็นอ้นตรายต่อราก กับทั้งที่ผิวดิน
มีสารอาหาร จุลินทรีย์ อากาศ และความชื้นที่เหทมาะสมอีกด้วย


********************************************************************







กับดักแมลงวันทอง ดีไซน์ใหม่ กับดักอันนี้อายุใช้งานประมาณ 10 วัน ได้จำนวนแมลงวันทองมากกว่ากับดักแบบ
กระป๋องที่วางขายตามท้องตลาดหลายเท่า เพียงแต่เปลี่ยนกลิ่นล่อวันละ 1 ครั้ง ช่วงเช้า 7 โมงเท่านั้น

บ่งบอกถึงความชุกชุมของแมลงวันทองที่ยังบไมลดปริมาณ แม้จะระดมดักจับมาแล้วตลอดทั้งเดือน

ด้วยมาตรการเก็บผลไม้บนต้นและพื้นดินที่เป็นแหล่งวางไข่ของแมลงวันทองจนหมดสิ้นทั้งสวนแล้ว ปริมาณความ
ชุกชุมก็ยังไม่ลด

วันนี้ในไร่กล้อมแกล้มยังมีผรั่งแป้นสีทอง กับฝรั่งสาลี่ทอง ที่ยังหลงเหลือเป็นเหยื่ออันโอชะให้แมลงวันทองตัวแม่
เข้าวางไข่ได้ จึงต้องใช้ทั้งมาตรการ "กับดัก" กับ "ห่อผล" ควบคู่กัน กับทั้งต้องหมั่นตรวจตราสภาพของถุงห่อที่ผล
ฝรั่งบ่อยๆด้วย ช่วงนี้ฝนตกชุก น้ำฝนคือตัวการสำคัญที่ทำให้สภาพของถุงห่อหลุดลุ่ย หรือเปื่อยฉีกขาดได้





*******************************************************************








แก้วมังกร .... ผลผลิตในฤดูกาล รุ่นแรกเริ่มตั้งแต่เข้าพรรษา แล้วออกต่อไปเรื่อยๆราว 3 รุ่น ประมาณตุลาคม
นั่นหมายความว่า ดอกและผลบนต้นทุกรุ่นต้องเผชิญกับฝนตลอดทั้งปีการให้ผลผลิต กับทั้งระยะผลตั้งแต่
ออกดอก ถึง เก็บเกี่ยว ประมาณ 2 เดือน ก็ต้องเจอฝนตลอดอายุผลอีกด้วย





ผลแก้วมังกรที่เจอฝนจะทำให้ รสจืดหรือเปรี้ยว แนวทางแก้ไข คือ การบำรุงผลตั้งแต่เริ่มติด ควรให้ธาตุรอง.
ธาตุเสริม. แคลเซียม โบรอน. ทุก 5 วัน กระทั่งก่อนเก็บเกี่ยว 1 อาทิตย์ ควรให้สูตร "เร่งหวาน" แบบ "เร่งหวาน
สู้ฝน" 2-3 รอบ หรือทุกวันเว้นวัน บำรุงแบบนี้จะได้ รสหวานชัดเจน หรือหวานอมเปรี้ยว หรือรสจัดจ้าน แน่นอน





ระยะผลแก้วมังกรตั้งแต่ผสมเกสรติด ถึง เก็บเกี่ยว ประมาณ 5 อาทิตย์ เมื่อผลเริ่มแก่จัดสีเปลือกจะเป็นสีแดง ....
การเปลี่ยนสีเปลือกของแก้วมังกรมี 2 จังหวะ เริ่มแดงครั้งแรกเรียกว่า แดง-1 ถ้ายังไม่เก็บ เปลือกจะกลับเป็น
แดงอมสีเขียว จากนั้นไม่กี่วันก็จะกลับเป็นสีแดงจัดหรือแดงล้วนอีกครั้ง เรียกว่า แดง-2 คราวนี้แก่จัดแน่ เก็บ
ได้เลย รับรองไม่ผิดหวัง

สีผลสวยสมศักดิ์ศรีมังกรฮ่องเต้ เพราะผลจากการห่อผลนั่นเอง เพราะแก้วมังกรช่วงผลเล็ก เสี่ยงต่อเพลี้ยไฟเป็น
อย่างมาก ผลไหนถูกเพลี้ยไฟเข้าหาซะแล้ว ผิวที่เปลือกจะมีตำหนิไปถึงเก็บเกี่ยว และช่วงผลใหญ่ ถึงใกล้เก็บ
เกี่ยวต้องเสียงกับ "ผลแตก" ซะอีก เพราะน้ำจากฝนเป็นเหตุ เพราะฉนั้นต้องถึงๆแคลเซียม โบรอน.ซักหน่อย
ก็จะช่วยได้

ผลไหนเปลือกบาง แกะด้วยมือจะเห็นเนื้อเป็นเกร็ดวุ้น นั่นแหละอร่อย....

เปลือกแก้วมังกร แกะเกร็ดมังกรออก หั่นเป็นชิ้นๆ ขนาดพองาม ชุบแป้งโกกิ แล้วทอด นั่นแหละ อาหารฮ่องเต้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©