-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 06/11/2009 6:40 pm    ชื่อกระทู้: ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจาก http://agribizcmu.multiply.com/links/item/7/7

ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย

Link: http://www.afet.or.th/thai/

ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (Agricultural Futures Exchange of Thailand : AFET)

ความ พยายามในการจัดตั้งตลาดล่วงหน้าในประเทศไทยนั้นนับได้ว่าใช้เวลานานเป็น อย่างยิ่ง ความคิดในการตั้งตลาดล่วงหน้าในประเทศไทยมีขึ้นมานานแล้ว เนื่องจากเห็นแบบอย่างของตลาดล่วงหน้าในต่างประเทศ ซึ่งในประเทศเหล่านั้นใช้ตลาดล่วงหน้าในการป้องกันความเสี่ยง และเป็นการค้นพบราคาในอนาคตซึ่งแยกจากตลาดที่ดำเนินการซื้อขายปรกติ ย้อนไปเมื่อปีพ.ศ.2522 รัฐบาลต้องการปกป้องผู้มีรายได้น้อยที่จะถูกคดโกงจากธุรกิจแชร์ หรือการลงทุนในธุรกิจซื้อขายล่วงหน้าหรือที่รู้จักกันในนาม "คอมมอดิตี้" และได้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ขึ้นมาเพื่อป้องกันประชาชนถูกฉ้อโกง แต่ปรากฏว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และร่างดังกล่าวยังไม่ได้ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภา

จนกระทั่งล่วงเลย มาถึงปีพ.ศ.2526 กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ทำการศึกษาปรับปรุงระบบตลาดสินค้าเกษตรและเห็นชอบให้ มีการจัดตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า และต่อมาในปีพ.ศ. 2529 กรมการค้าภายในได้นำมาศึกษาต่อ เนื่องจากตลาดข้าวโพดในประเทศทำการซื้อขายล่วงหน้ามีปัญหาการไม่ปฏิบัติตาม สัญญา และเห็นชอบให้มีการจัดตั้งตลาดล่วงหน้าขึ้นเช่นเดียวกัน และในปีพ.ศ.2531 มีความพยายามจากภาคเอกชนในการตั้งบริษัท บางกอกคอมมอดิตี้ เอ็กซ์เช้นท์ จำกัดเพื่อประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้า แต่รัฐบาลไม่เห็นชอบให้จัดตั้ง เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายควบคุมการธุรกิจซื้อขายล่วงหน้าโดยตรง และรัฐบาลเห็นว่าควรแยกกฎหมายควบคุมการซื้อขายสินค้าล่วงหน้าจากธุรกิจแชร์

ปีพ.ศ. 2532 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร้องขอให้กระทรวงพาณิชย์จัดทำโครงสร้างตลาดซื้อขาย ล่วงหน้ายางพารา จนกระทั่งปีพ.ศ.2534 กระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายให้กรมการค้าภายในยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับกิจการซื้อ ขายสินค้าล่วงหน้า คือยกร่างพระราชบัญญัติขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2535 และได้มีการปรับปรุงร่างหลายครั้งหลายรัฐบาล จนกระทั่งสุดท้ายผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาและได้นำขึ้นทูลเกล้าเพื่อลงพระ ปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2542

ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า แห่งประเทศไทย (AFET) จึงเป็นองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วง หน้าปีพ.ศ. 2542 และเป็นตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเพียงตลาดเดียว มีฐานะเป็นนิติบุคคลอิสระ โดยภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ทำหน้าที่ในการเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าภายใต้กฎ ระเบียบที่ชัดเจน และสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า และเพื่อให้การจัดตั้งตลาดที่มีการซื้อขายล่วงหน้าบรรลุวัตถุประสงค์คณะ รัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2544 ให้นำเงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจำนวน 600 ล้านบาทเพื่อใช้ในการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตร ล่วงหน้า (ก.ส.ล.) และตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย

คณะ กรรมการของ AFET ชุดแรกได้รับการแต่งตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2544 โดยมีนายชนะ รุ่งแสง เป็นประธานกรรมการฯ และมีนายชาลทอง ปัทมพงศ์ เป็นกรรมการและผู้จัดการ ปัจจุบันคณะกรรมการ AFET มีนายสนิท วรปัญญา เป็นประธานกรรมการและมีนางนภาภรณ์ คุรุพสุธาชัย เป็นกรรมการและผู้จัดการ

ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ได้เริ่มเปิดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าด้วย เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2547
Tags: special
Prev: Master of AgEcon CMU's Site
Next: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานในเครือ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 06/11/2009 6:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจากhttp://www.ftawatch.org/cgi-bin/content/news/show.pl?1544

ข้อสังเกตบางประการ เกี่ยวกับตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

ราคา สินค้าเกษตร และสินค้าโภคภัณฑ์ในปีนี้มีราคาสูง และสร้างรายได้ให้กับบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่ความผันผวนของสินค้าเกษตรนั้นมักจะเกิดขึ้นเป็นประจำ โครงสร้างของภาคเกษตรกรรมก็เหมือนโครงสร้างของธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งหลาย ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร ผู้ประกอบการ ผู้ส่งออก นักลงทุน ผู้บริโภคมีอำนาจในการต่อรองไม่เท่ากัน ผลประโยชน์จึงได้รับการจัดสรรไม่เป็นธรรม สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดความเป็นธรรม คือ ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น

ปัจจัย สำคัญที่ทำให้เกิดความผันผวนในสินค้าเกษตรมีหลายประการ สภาพแปรปรวนของอากาศ ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก ตลอดจนปริมาณพืชผลที่ออกสู่ตลาดมีลักษณะไม่สอดคล้องกับปริมาณความต้องการใน แต่ละช่วง อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ คือ ระบบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเกษตร เมื่อข้อมูลไม่สมบูรณ์ก็ทำให้การคาดการณ์ราคาผิดผลาด เกษตรกรส่วนใหญ่วางแผนการผลิตโดยอาศัยข้อมูลราคาในอดีต โดยเกษตรกรจะแห่ตามกันในการผลิตสินค้าเกษตรที่มีราคาดีในขณะนั้น ทำให้ผลผลิตออกมาล้นตลาด ส่งผลให้ราคาตกต่ำและทำให้หันไปปลูกพืชอื่นแทน ทำให้ราคากลับมาสูงอีกเนื่องจากมีผลผลิตตอบสนองความต้องการลดลง ราคาสินค้าเกษตรจึงขึ้นๆ ลงๆ ไม่มีเสถียรภาพและมีความผันผวนสูง

การวางแผนการเพาะปลูก การผลิต และการส่งออก ควรวางแผนอยู่บนข้อมูลของราคาในอนาคต ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ.2542 โดยมีวัตถุประสงค์ คือ การเป็นกลไกและเครื่องมือสำหรับเกษตรกร ผู้ผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตร และบุคคลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในการบริหารความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรให้ดีขึ้น ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า เป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้ข้อมูลเรื่องราคา กลายเป็นข้อมูลสาธารณะ การคาดหมายเรื่องราคา เปลี่ยนแปลงไปตามข้อมูลใหม่ ตามสภาวะอุปสงค์และอุปทานที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ต้องระวังเช่นเดียวกันว่า ข้อมูลที่ได้รับนั้นถูกต้องเชื่อถือได้ และไม่ได้เป็นอุปสงค์หรืออุปทานเทียมที่ถูกขับเคลื่อนโดยพฤติกรรมเก็งกำไร กระบวนการในการแสวงหาข้อมูลให้ได้ราคาที่เหมาะสม เราอาจเรียกว่าเป็น Price Discovery ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตร

ผู้ที่ทำธุรกรรมซื้อหรือขายในตลาดล่วงหน้า อาจจะเป็นเกษตรกร เป็นผู้ประกอบการแปรรูปสินค้าเกษตร ผู้ส่งออก ผู้สั่งซื้อวัตถุดิบ ผู้บริโภคขนาดใหญ่ บุคคลเหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็นสองพวกใหญ่อยู่ที่เป้าประสงค์ว่า ใช้ธุรกรรมและเครื่องมือเพื่อเป้าหมายใด หากเป็นเพียงผู้ที่ใช้เครื่องมือในการปรับสถานะของตัวเองไม่ให้ได้รับผล กระทบจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือลดความผันผวน ลดผลกระทบให้น้อยที่สุด เราก็เรียกว่า ผู้ประกันความเสี่ยง (Hedger) หากเป็นผู้หวังที่จะแสวงหากำไรจากการเคลื่อนไหวขึ้นลงของราคาในตลาดล่วงหน้า เป็นด้านหลัก ถือว่าเป็นนักเก็งกำไร (Speculator) นักเก็งกำไรต้องรับความเสี่ยงเอาเอง หากมีพฤติกรรมเก็งกำไรมาก หรือมีนักเก็งกำไรมากเกินไป ก็อาจทำให้ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างเสถียรภาพราคา กลายเป็นตัวทำให้ไม่เกิดเสถียรภาพเสียเอง

อย่างไรก็ตาม นักเก็งกำไรเองหรือพฤติกรรมเก็งกำไรเองมีความจำเป็นต่อการพัฒนาตลาดและทำให้ เกิดสภาพคล่องในการซื้อขาย เพียงแต่ว่าเราต้องควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

ในการดำเนินการ จึงต้องมีกลไก มีเครื่องมือที่จะป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ ความจริงเกษตรกรหรือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเกษตร เขามีวิธีป้องกันความเสี่ยงมานานแล้ว แต่มันไม่เป็นระบบหรือไม่เป็นทางการ บางท่านก็ไปใช้บริการตลาดซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ หรือบางท่านก็มีการทำสัญญาระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย เพื่อระบุปริมาณ ราคาที่จะส่งมอบในอนาคต หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ตกเขียว ซึ่งตลาดซื้อขายล่วงหน้าอย่างเป็นทางการก็เรียกว่า สัญญาข้อตกลงซื้อขายล่วงหน้าที่เป็น Forward Contract

ในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ก็จะมีสัญญาซื้อขายอีกประเภทหนึ่ง จะเป็นสัญญาซื้อขายที่กำหนดแบบมาตรฐาน (Specification) เป็นสัญญมาตรฐาน (Standardized Contract) ซึ่งเราเรียกว่า Future Contract โดย Future Contract จะมีตลาดกลางในการซื้อขายและมีสภาพคล่องสูงกว่า Forward Contract มีสำนักหักบัญชี (Clearing House)

การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาจจะเกิดการไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือบิดพลิ้วขึ้นได้ จึงต้องสร้างกลไกในการป้องกัน เรียกเงินประกันขั้นต้นจากนักลงทุน หรือ Margin Requirement

ผู้ซื้อหรือผู้ขาย การที่ราคาสินค้าเกษตรล่วงหน้ามีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงอาจมีผลทำให้เงินประกันของนักลงทุนหรือผู้ซื้อผู้ขายตราสาร ล่วงหน้า มีค่าต่ำกว่าที่กำหนดเอาไว้ จึงต้องมีกลไกกำหนดอัตราเงินประกันรักษาสภาพ หรือ Maintenance Margin หากเงินประกันของลูกค้าวางไว้ต่ำกว่าเงินประกันรักษาสภาพ นายหน้าซื้อขายสัญญาล่วงหน้าก็จะเรียกเงินประกันเพิ่ม หรือ Margin Call หากผู้ซื้อขายสัญญาไม่สามารถชำระเงินได้ตามคำขอ นายหน้าต้องล้างฐานะของสัญญาและนำเงินประกันเหลือไปชดเชยภาวะการขาดทุนที่ เกิดขึ้น

กติกาเหล่านี้ต้องดำเนินงานโดยเคร่งครัด และ โปร่งใส เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่อเสถียรภาพของระบบ มีคนจำนวนไม่น้อยยังสงสัยในความเป็นมืออาชีพของคนไทยด้วยกัน จึงมีความไม่เชื่อมั่นอยู่ ครับ

มีการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิด ขึ้นจากธุรกรรมในตลาดล่วงหน้า โดยการกำหนดเรื่องการปรับปรุงสถานะของเงินประกันรายวัน (Daily Settlement) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากการผิดสัญญา ในทุกๆ สิ้นวันของการซื้อขาย ขนาดของเงินประกันที่นักลงทุนนำมาวางจะถูกปรับในแต่ละวัน

นอกจาก นี้ก็มีกระบวนการในการทำให้นักลงทุน ผู้ซื้อ ผู้ขาย สามารถออกจากตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าได้โดยไม่ต้องผูกพันจนถึงวันส่งมอบ หรือ การล้างฐานะของสัญญานั่นเอง ครับ

นักลงทุนสามารถปฏิบัติตาม ข้อผูกพันในสัญญาได้สองลักษณะ หนึ่ง ถือสัญญาจนหมดอายุ ส่งมอบหรือรับมอบสินค้าและชำระตามข้อกำหนดในสัญญา หรือ สอง หักล้างสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ค้างอยู่

นักลงทุนที่มีสถานะซื้อ ล่วงหน้า (Long Position) จะได้รับประโยชน์จากการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นของราคาล่วงหน้า หลังจากที่ตนเองเข้าซื้อล่วงหน้าแล้ว ในทางตรงกันข้าม ใครที่ขายล่วงหน้า (Short Position) เอาไว้ ราคาเพิ่มขึ้นทำให้ผู้ขายล่วงหน้าต้องซื้อคืนในราคาที่สูงกว่าเดิม ผู้ขายล่วงหน้าจึงขาดทุนจากราคาเพิ่มขึ้น และ กำไรจากการลดลงของราคา

ผล กระทบของการเคลื่อนไหวของราคาที่มีต่อสถานะของนักลงทุน โดยเฉพาะต่อเกษตรกรเป็นเรื่องสำคัญ ต้องสร้างความเข้าใจกันให้ดี เพราะเขาเหล่านี้ด้อยทั้งโอกาสในการเข้าถึงข้อมูล ความรู้และฐานะทางเศรษฐกิจ ครับ

ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ <anusorntamajai>
... พลวัตเศรษฐกิจ

โดย กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 7 พ.ค. 47
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©