-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 09/09/2009 3:19 pm    ชื่อกระทู้: พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.tja.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=64:what-is-missing-in-the-act-of-the-national-farmers-federation&catid=32:rachdmenin-talk&Itemid=25

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม 2009 เวลา 10:33 น. admin2
อีเมล พิมพ์ PDF

ราชดำเนินเสวนา ครั้งที่ 3/2552สมาคม นักข่าวนักหนังสือพิมพ์
แห่งประเทศไทย จัดราชดำเนินเสวนา ครั้งที่ 3/2552 หัวข้อ
สิทธิเกษตรกร สิ่งที่หายไปใน พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2552

โดยมีวิทยากรที่มาร่วมเสวนา ได้แก่ นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กส.) ,
นางกิมอัง พงษ์นารายณ์ ผู้ประสานงานสภาเครือข่ายองค์กรประชาชน ,
นายเอกชัย อิสระทะ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ,
อ.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ,
อ.ไพสิฐ พาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ
ครูสน รูปสูง ปราชญ์ชุมนุมสหพันธ์สหกรณ์ภาคอีสาน


ปัญหาของเกษตรกรในพื้นที่ จ.ชัยนาท รวมกับเครือข่ายอีก 15 จัง
หวัดภาคกลาง มีปัญหาเดียวกันหมดคือ ปัญหาเรื่องหนี้สิน จาก
เดิมที่กู้เงินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) หรือสหกรณ์
ต่างๆ เริ่มจากหนี้สินเล็กน้อย คนละไม่กี่หมื่นบาท แต่เมื่อเราทำ
การเกษตร ยิ่งทำมากขึ้นเรื่อยๆ หนี้สินก็เริ่มทวีคูณ จากเคยกู้ 7 หมื่น
บาท ก็กลายเป็น 7 แสนบาท บางคนมีหนี้สินเป็นล้านบาท

ใน ชุมชนของเกษตรกรเอง เมื่อมีหนี้สินมากขึ้น ลูกหลานชาวนา
ก็ไม่อยากทำการเกษตร ยิ่งทำยิ่งหมดที่ทำมาหากินไปเรื่อยๆ วันนี้
ลูกหลานชาวนา ไปเป็นกรรมกร ไปเป็นลูกจ้างในโรงงาน คนที่ไปทำ
งานจะอยู่ในช่วงอายุ 20-40 ปี เมื่อมีลูกก็จะเอามาให้ตายายเลี้ยง
วันนี้สภาพของตายายที่ทำนาด้วย เลี้ยงหลานด้วย อีกทั้งโรคที่เกิด
จากการทำเกษตรอยู่กับสารเคมี ไม่มีประกันใดๆทั้งสิ้น ลูกหลานที่
มาอยู่กับตายาย ก็จะติดยาติดเหล้า เป็นเด็กเกเรส่วนใหญ่ เพราะตา
ยายไม่สามารถดูแลได้

ตา ยายเองแก่เฒ่ามา ไปรักษาพยาบาลใช้บัตรทองก็จริง แต่การเดิน
ทางไปรักษา ลูกหลานที่จะมาดูแลตายายก็ไม่มี เกษตรกรยังไม่มีหลัก
ประกันตรงนี้เลย

นางกิมอัง กล่าวอีกว่า ปัญหาด้านผลผลิตมีราคาตกต่ำ หรือในหน่วย
งานที่บอกว่ามีเกษตรกรเข้าไปเป็นตัวแทน ส่วนใหญ่เกษตรกรกับกรรม
การจะไม่รู้จักกัน อยู่คนละทิศ ซึ่งเขาก็ไม่รู้ว่าเรามีปัญหาอะไร เพราะ
ฉะนั้นเวลาแก้ปัญหา เกษตรกรก็ดิ้นรนแก้ปัญหากันไป ส่วนคนที่ไปนำ
เสนอปัญหากับหน่วยงานก็ไม่รู้จริงๆว่าปัญหาของเกษตรกรคืออะไร

วันนี้ พวกเราขึ้นศาล โดนฟ้อง ยึดทรัพย์ ไล่ที่ บางคนหลุดมือไปแล้ว
ไม่มีที่ทำกินก็ต้องไปเป็นลูกจ้างในนา เป็นกรรมกรในเมืองหรือเป็นคนไร้
บ้านในเมือง นี่คือปัญหาของเกษตรกรตอนนี้ ในส่วนของ พ.ร.บ.สภา
เกษตรกรฯ ถ้ามันเป็นกฎหมาย เกษตรกรก็ควรจะได้รับรู้ข้อมูลเยอะกว่า
นี้ ได้รับรู้สิทธิของตัวเองเยอะกว่านี้ ไม่ใช่ว่าเราไม่เห็นด้วยกับสภา
เกษตรกรฯ เรารู้ว่าเกษตรกรมีที่ยืนตรงนี้สำคัญ แต่ว่าในภารกิจของสภาฯ
ถ้าเป็นผู้เสนอแนะนโยบายเกษตรให้กับรัฐบาล มันคือความเป็นความ
ตายของเกษตรกรเหมือนๆกัน ถ้าคนที่ไปนำเสนอตรงนั้นไม่ได้เป็นคน
ที่รู้ถึงปัญหาจริงๆ หรือไม่ได้มาจากเกษตรกรจริงๆ มันจะเกิดผลเสีย
ถ้าเป็นคนที่รู้ปัญหาแล้วเข้าไปนำเสนอก็จะเกิดผลดีกับเกษตรกร แต่วัน
นี้เรายังไม่แน่ใจว่าคนที่เข้าไปรู้ปัญหาจริงไหม และการรับรู้ของเกษตรกร
ในพื้นที่กับ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ความตื่นตัวชาวบ้านยังไม่ค่อยรู้ ส่วนใหญ่จะ
ไม่รู้ ขอให้มีการเปิดเวทีให้เกษตรกรได้รับรู้ปัญหา ได้นำเสนอ ได้มี
ความคิดเห็น ได้มีส่วนร่วมตาม พ.ร.บ.ได้จริงๆ

เอกชัย อิสระทะ

เราเห็นด้วยกับการมี พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ แต่ทำอย่างไร
ที่จะแก้ปัญหาพี่น้องได้จริง สิ่งที่ชัดเจนในขณะนี้คือที่ดินหลุดจาก
มือพี่น้องเกษตรกร มีปัญหาหนี้สิน โดยระบบของกลุ่มทุนกำลังเข้า
มาคุกคามพี่น้องเกษตรกรมากขึ้น

ประเด็นที่ชัดเจนคือสิทธิเกษตรกรต้องยกขึ้นมาพูดคุย ถ้าจะต้องมี
กฎหมายสักฉบับเป็นสภาเกษตรกรฯ แล้วไม่สามารถสะท้อนปัญหา
เหล่านี้ไปแก้ปัญหาได้ โจทย์ที่ต้องตั้งคำถามคือเราจะมีอีกสภา
ไปทำไม

โดย รวมที่เราอยากให้มีที่ยืนให้กับพี่น้องเกษตรกรพูดคุยแก้
ปัญหา ในทางกลับกันการออกแบบของกฎหมายฉบับร่างที่ออก
มาสะท้อนการแก้ไขปัญหานั้นได้ หรือไม่ เพราะเมล็ดพันธุ์ไม่ได้
อยู่ในมือเกษตรกร ที่ดินหลุดมือเกือบหมดแล้วอยู่ในธนาคาร
แล้วจะแก้ไขปัญหาอย่างไร แล้วที่เรากำลังออกแบบกฎหมาย
มันแก้ปัญหานี้ได้หรือเปล่า

ถึงแม้ว่ากฎหมายพยายามเขียนตามเจตนารมย์รัฐธรรมนูญ แต่
ที่พบก็คือยังอยู่ในกรอบโครงสร้างของการเมืองระบบตัวแทน
เรากำลังมีเกษตรกรที่เป็นตัวแทนแต่ละอำเภอแต่ละจังหวัด
แล้วขึ้นมาสู่ระดับชาติ แล้วไม่ได้แก้ไขปัญหาอะไร ผมฟันธง
ตรงๆ ไปดูกลไกการทำงานหลักเราพึ่งระบบราชการได้ไหม
สังคมมีคำตอบอยู่ในมือ กลไกที่จะไปทำงานจริงเราพบว่า
องค์กรที่เป็นราชการแบบที่ 3 คือราชการที่เป็นอิสระจากรัฐ
เช่น สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) องค์กรแบบนี้ทำงาน
ได้บ้าง แม้จะมีข้อจำกัดแต่ก็ถือว่าขับเคลื่อนได้บ้าง

พอ เราดูการเขียนกฎหมาย ถ้าดูกลไกที่มา ที่เราออกแบบ
การออกแบบอย่างนี้จะทำให้เราเข้าล็อคไปสู่การเมืองระบบตัว
แทน ต้องมี ส.ส.ของเกษตรกร แต่ละจังหวัดเข้ามาแล้วแก้
ปัญหาอะไรไม่ได้อีกหรือเปล่า มาดูกลไกทำงานแล้ว ยังติด
อยู่ในกรอบระบบราชการ บทเรียนการต่อสู้ที่ผ่านมาทำให้รู้ว่า
ระบบราชการแก้ปัญหาได้ไหม ไม่ได้ ผมคิดว่าคำตอบ
นี้ชัดเจน เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะสะท้อนสิทธิเกษตรกรเข้าสู่ปัจจัย
การผลิตและเข้าถึง ทรัพยากร การออกแบบกฎหมายเป็นแบบ
นี้ เราเลยไม่มั่นใจ กฎหมายที่กำลังจะออกแบบใหม่ต้อง
สามารถแก้ปัญหานี้ได้

ถ้าออกกฎหมายมาแล้วแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ ไม่ต้องมีก็ได้
แต่ด้วยความเคารพเราอยากเห็นกฎหมายฉบับนี้ออกมา แล้ว
แก้ไขปัญหาเกษตรกรได้

อ.ไพสิฐ พาณิชย์กุล

วงจรการผลิตที่สร้งหนี้สินขึ้นมา วงจรการผลิตนี้ทำให้การตัด
ขาดระหว่างคนรุ่นปัจจุบันกับคนรุ่นอนาคตที่จะทำ เกษตรกรรม
หลุดไปจากวงจร โดยกลไกการพัฒนาที่ผ่านมา เป็นหัวใจใหญ่
ที่กฎหมายต้องไปตอบโจทย์ตรงนี้ให้ได้

เรื่องของการขาดระบบสวัสดิการที่จะเข้าไปดูแลเกษตรกร ยิ่งทำ
ยิ่งจน ยิ่งทำยิ่งเจ็บ ยิ่งล้มหายตายจากบนเกษตรอุตสาหกรรม
เป็นโจทย์หนึ่งที่ถามถึงสิทธิของเกษตรกรว่าต้องแก้ตรงนี้อย่าง
ไร ปัญหาทั้งหมดนี้เป็นการถามหาในกฎหมายที่กำลังร่างกันอยู่
กฎหมายที่จะสร้างขึ้นมาจะแก้ไขปัญหาตรงนี้อย่างไร ในแง่ของ
โครงสร้างกฎหมายควรจะเป็นอย่างไร

ผมอยากจะเริ่มจากสภาเกษตรกรฯ ของประเทศไต้หวัน มีเป้า
หมายอยู่ 3 ข้อ คือ

1.ทำอย่างไรที่จะทำให้สภาฯนี้เป็นเครื่องมือเสริมศักยภาพใน
การผลิต ตามเทคโนโลยีใหม่ๆ ตามเกษตรทางเลือกอย่างไร

2.ทำอย่างไรให้เกษตรกรเข้ามาตกลง ว่าการผลิตล้นตลาด
ทำให้ไม่มีมูลค่าในการผลิต คือการทำอย่างไรที่จะใช้
ทรัพยากรให้คุ้มค่า

3.ทำอย่างไรให้กลุ่มเกษตรกรระดมทุน แล้วให้ทุนดังกล่าว
มาช่วยเหลือเกษตรกรกลุ่มอื่นๆ สามารถเชื่อมขยายให้กลุ่ม
ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดย่อมในพื้นที่สามารถมาใช้บริการ
ตรงนี้ได้ เป็นภาพที่เกิดขึ้นในสภาเกษตรกรฯไต้หวัน

จากตัวอย่างโมเดลแบบนี้ ถ้าหากว่าเราต้องการจะแก้ปัญหา
เกษตรกรของบ้านเรา จินตนาการกฎหมายที่เรากำลังจะสร้าง
ขึ้นมาให้ไปหสู่การพูดจาต่างๆ ต้องมีอะไรบ้าง

ตอนนี้มีแนวทางแก้ปัญหาเหล่านี้ อย่างน้อย 2 แนวทาง

1. การพูดถึงการสร้างองค์กร ซึ่งในการสร้างองค์กรก็มีพัฒนา
การมาตลอด เช่นการแก้ปัญหาเกษตรกรหวังพึ่งระบบราชการ
ซึ่งระบบราชการไม่สามารถแก้ปัญหาเกษตรกรตรงนี้ได้ แนว
ทางตอนนี้ไม่สามารถสร้างระบบประกันราคา ถ้านักการเมือง
เข้ามาก็เสนอแนวทางการปลดหนี้ ตรงนี้ทำให้เกษตรกรไม่
สามารถพึ่งตนเองได้ คิดว่าสร้างหนี้ไปแล้วหวังให้รัฐบาล
ปลดหนี้ รูปแบบการแก้ปัญหาอย่างนี้ทำให้เกิดม็อบ การปิด
ถนน

มีความพยายามที่จะคิดตั้งกลุ่มภายใต้กฎหมายสหกรณ์ ปัญหา
คือกลุ่มเหล่านี้เป็นกลุ่มที่สะท้อนปัญหาเกษตรกรอย่างแท้จริง
หรือไม่ หรือเป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นฐานคะแนน หรือเป็น
หน่วยของสถาบันการเงินทางการเกษตรหรือไม่

หรือการเสนอให้มีการจัดตั้งกองทุนขึ้นมา แล้วมีกฎหมาย ภาย
ใต้กฎหมายดังกล่าวทำให้เกิดการแตกกันของกลุ่มเกษตรกร
การแย่งกันเข้าไปสู่ตำแหน่งที่สามารถตัดสินใจของทุน ที่เรา
เห็นมา ผมว่าเป็นบทเรียนที่สำคัญและเป็นบทเรียนที่น่าสนใจ
มากๆว่า หากจะตั้งกองทุนหรือตั้งองค์กรขึ้นมา ทำอย่างไรจะ
ไม่ให้ถูกแทรกแซงโดยกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ แล้วมีตัวแทน
ของเกษตรกรเข้าไปอย่างแท้จริง

อีกแนวทางหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ คือการตั้งต้นพูด
ถึงสิทธิเกษตรกรก่อนที่จะพูดถึงองค์กรอย่างเดียว แล้วองค์
กรนั้นไม่ได้ไปสู่เป้าหมายในการแก้ไขปัญหาที่ชัด

ผมคิดว่าสภาเกษตรกรของไต้หวันให้ความสำคัญกับเกษตรกร
เป็นหลัก แล้วเกษตรกรที่เข้มแข็งจะมีการรวมกลุ่มสร้างองค์กร
ขึ้นมาได้ เราเห็นแล้วว่าการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรโดยขึ้น
อยู่กับกระทรวงเกษตรฯ มันทำให้ระบบเกษตรของเราอ่อนแอ
อย่างไร เป็นความแตกต่างอย่างชัดเจนจากภาพที่มาจาก
กฎหมายดังกล่าว

อ.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

แนวคิดว่าด้วยสิทธิเกษตรกร ประกอบด้วยหลักการสำคัญ 4 ประ
การ คือ

1.การถือครองปัจจัยการผลิตอย่างมั่นคง การผลิตทางการเกษตร
จำเป็นต้องมีปัจจัยการผลิตต่างๆเข้ามาเป็นฐานเพื่อทำการ ผลิต
อาทิ ที่ดิน เมล็ดพันธ์ ปุ๋ย ตัวอ่อน อาหาร หรือทรัพยากรต่างๆที่
เข้ามาเกื้อหนุน ให้มีการเพาะปลูกหรือปศุสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิผล

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างหลักประกันที่มั่นคงให้กับเกษตรกรว่า
ปัจจัยการผลิตทั้งหลายจะไม่ถูกพรากเอาไปจากเกษตรกร ไม่
ว่าจะเป็นการไร้ที่ทำกิน การเข้าไม่ถึงเมล็ดพันธุ์ ตัวอ่อน อาหาร
หรือปุ๋ยที่มีราคาแพง เกินกว่าเกษตจรกรจะเข้าถึง

2.การเข้าถึงทรัพยากรสาธารณะอย่างพอเพียง คือทรัพยากรธรรม
ชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากปัจจัยในการผลิตทางการเกษตร
ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ อากาศ และ
ความหลากหลายทางชีวภาพ

ทรัพยากรสาธารณะเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่สำคัญ
ให้แก่ เกษตรกรผู้ด้อยโอกาสในการพัฒนา อันเนื่องมาจากการ
ขาดอำนาจทางเศรษฐกิจและขาดอำนาจในการมีส่วนร่วมทาง
การ เมือง

3.การประกันความมั่นคงในผลตอบแทนที่ควรได้รับ
แบ่งเป็น 2 ปัจจัย คือ

1.การประกันให้เกษตรกรมีปัจจัยการดำรงชีพโดยตรง ผ่านการ
สร้างความมั่นคงในปัจจัย 4 ผ่านกระบวนการประกันความมั่นคง
ในการครอบครองผลผลิตที่ตนเองผลิตได้ ไม่จำเป็นต้องขาย
ออกไปเพื่อแลกเงินทั้งหมด และ

2. การประกันให้เกษตรกรมีปัจจัยการดำรงชีพทางอ้อม ผ่าน
การประกันรายได้จากการซื้อขายแลกเปลี่ยนผลผลิตที่เกษตรกร
สร้างขึ้น ด้วยมาตรการแทรกแซงของภาครัฐในรูปแบบต่างๆ ไม่
ว่าจะเป็นนโยบายรักษาความมั่นคงด้านรายได้ผ่านวิธีการประกัน
ราคาสินค้า การกำหนดปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรล่วงหน้า
การรับซื้อจำนำสินค้าในราคาที่เหมาะสม เป็นต้น

4.การรักษาวิถีการผลิตที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของตน ไม่ว่า
จะเป็นภูมิปัญญาทางการผลิต การเก็บรักษาพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์
หรือแม้กระทั่งความสัมพันธ์ของผู้คนในชุมชน และสร้างภูมิคุ้ม
กันต่อผลกระทบอันไม่พึงประสงค์ด้วย นโยบายหรือโครงการ
ใดที่รัฐหรือเอกชนริเริ่มอันอาจส่งผลกระทบต่อชุมชน จึงต้อง
เปิดโอกาสให้ประชาชนและชุมชนเข้าร่วมตัดสินใจ

ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์

จริงๆแล้วในรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดว่าต้องเป็นกฎหมาย หรือ
ต้องเป็น พ.ร.บ. ผมอาจจะตั้งเป็นคณะกรรมการสภาเกษตรกร
ขึ้นมาก็ได้ เพื่อปฏิบัติให้ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ เพื่อที่จะได้
ไม่ต้องถูกฝ่ายค้านอภิปราย หรือจะเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐ
มนตรีก็ได้ เป็นอะไรก็ได้ แต่เมื่อได้คุยกันแล้วก็ขอให้เป็น
กฎหมายสูงสุดเลย ในระดับพระราชบัญญัติ เทียบเคียงกับสภา
อุตสาหกรรม และสภาหอการค้า หรือสภาอื่นๆที่เป็นวิชาชีพ
ไหนจะทำแล้วก็ขอทำให้ดีเลย ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ
ขณะนั้น (นายสมศักดิ์ ปริศนานัทกุล) ก็ตอบตกลง และมอบ
หมายให้ผมเป็นประธานกรรมการยกร่าง

ที่มีคนไปยื่นต่อประธานรัฐสภาว่ากฎหมายฉบับนี้ว่าทำผิดเจตนา
รมย์ของรัฐ ธรรมนูญ ผมขออนุญาตอ่านรัฐธรรมนูญ มาตรา 84
วงเล็บ 8 คุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรในส่วน
ของผลผลิตและการตลาด ส่งเสริมให้สินค้าการเกษตรได้รับผล
ประโยชน์สูงสุด รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรในรูป
ของสภาเกษตรกร รวมทั้งวางแผนการเกษตรของตนเอง รัฐ
ธรรมนูญระบุชัดเจน

ผมอยากเห็นการเขียนกฎหมายสักฉบับหนึ่ง ที่เขียนแล้ววันรุ่ง
ขึ้นเกษตรกรหายจนหมด ในวันรุ่งขึ้นให้ยกเลิกกระทรวงเกษตรฯ
หมด แล้วให้เกษตรกรเป็นผู้กำหนดการเกษตรของตนอง มัน
เป็นโลกในอุดมคติที่อยากเห็นมาก แต่หลายคนที่คุยกันแล้ว
ในเวทีเกษตรกรที่มากกว่าหมื่นคน โดยกฎหมายฉบับนี้ผมขอ
อภิปรายอย่างกว้างๆ มีเจตนารมย์ 2 อย่าง

อย่างแรกคือ เป็นเวทีให้เกษตรกร เพื่อพัฒนาตนเอง เพื่อการรวม
กลุ่ม เพื่อสร้างความสมานฉันท์ในหมู่เกษตรกรด้วยตนเอง เรา
เชื่อมั่นว่าเกษตรกรในประเทศนี้ขาดโอกาสในการพัฒนาตนเอง
ทุกคนอยากเห็นเกษตรกรมีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ พี่เลี้ยง
ทั้งหลายทำหน้าที่เป็นเพียงพี่เลี้ยง สุดท้ายเกษตรกรสามารถ
ลุกขึ้นมาต่อสู้ เพื่อแย่งชิงทรัพยากรด้วยตนเอง แต่ว่าก้าว
แรกที่อยากเห็นคือการเปิดเวทีให้เกษตรกรได้มีโอกาสร่วมกัน
พิจารณา อย่างน้อยสักหนึ่งเวทีที่เกษตรกรไม่ต้องทะเลาะกัน
เรื่องผลประโยชน์กลุ่มของ ตนเอง ไม่ต้องทะเลาะกันเรื่องของ
องค์กรตนเอง เป็นเวทีสาธารณะที่มาคุยเรื่องนโยบายอย่างเดียว
ซึ่งเกษตรกรทุกคนสามารถร่วมได้ เพราะฉะนั้นเราจึงไม่อยาก
เห็นกฎหมายฉบับนี้ลงในรายละเอียดมากนัก ถ้าลงในรายละเอียด
มากเกินไป แต่ละองค์กรก็จะมีความสนใจในเรื่องของตนเองโดย
เฉพาะ จึงอยากจะเห็นในเวทีของสภาแห่งนี้ทำเรื่องนโยบาย
เรื่องการรวมกลุ่ม พูดคุยเรื่องนโยบายสาธารณะด้วยตนเอง

ผมเชื่อมั่นว่าสุดท้ายถ้าเกษตรกรรวมตัวกันเข้มแข็งแล้ว สิ่งที่จะ
ตามมาที่ทุกคนจะเห็นก็คือ สามารถต่อรองกับทุกภาคส่วนได้
มากขึ้น ผมไม่เชื่อว่าการเขียนกฎหมายให้สวยสดงดงามแล้ว
ทุกคนจะไปปฏิบัติตามนั้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือองค์กรของเกษตรกร
ต้องเข้มแข็ง เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและเป็นเอกภาพ ขอเรียนว่า
ฝ่ายการเมืองต้องการจัดการทรัพยากรให้เป็นธรรมทุกภาคส่วน
แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วไม่เป็นไปตามนั้น ส่วนไหนที่มีอำนาจต่อ
รองสูงกว่า แน่นอนว่าย่อมแย่งชิงทรัพยากรได้มากกว่า ยิ่ง
เกษตรกรแตกกันเป็นก๊กเป็นเหล่า ต่างคนต่างทำในสิ่งที่ตัวเอง
สนใจ ทะเลาะกันเอง ย่อมไม่มีอำนาจต่อรองแย่งชิงทรัพยากร
มาให้กลุ่มของตนเอง

ผมเชื่อมั่นว่าครั้งนี้เป็นคราวแรกที่เราอยากเห็นเกษตรกรมีเวที
ของตัวเอง ที่ช่วยกันสร้างสรรค์ที่ดี สร้างอำนาจต่อรอง ที่เป็น
ห่วงว่ากฎหมายฉบับนี้จะเอื้อให้กับธุรกิจการเกษตร ในบทนิยาม
มาตรา 3 ที่ให้ความหมายของเกษตรกรรม ไม่ได้ระบุถึงธุรกิจการ
เกษตร ขอเรียนว่าส่วนนี้ได้เขียนป้องกันไว้แล้ว

เราพยายามปฏิบัติทุกอย่างป้องกันในสิ่งที่ทุกคนห่วงใย เราก็ไม่
เชื่อว่ากฎหมายที่เราเขียนมันจะสมบูรณ์ จึงได้บอกให้ทุกท่าน
มาช่วยกันรับฟัง เพื่อที่จะได้มีอะไรไปต่อเติมให้ดีขึ้น ต้องเข้าใจ
ตรงกันว่า เราไม่อยากจะสร้างสังคมอุดมคติไว้ในกฎหมาย แต่
อยากจะสร้างข้อเท็จจริงให้เกษตรกรเอาไปปฏิบัติ

ครูสน รูปสูง

สภาเกษตรกรเป็นความใฝ่ฝันของพี่น้องเกษตรกรอยากได้ เรา
ได้ต่อสู้เรื่องนี้มายาวนาน วันนี้พวกเราเชื่อว่าถ้าเกษตรกรมีสภา
เป็นของตัวเอง จะเป็นที่รวมแห่งพลังและสติปัญญา ในการต่อ
รองทุกด้าน

ประการที่สองคือ เป็นสภาที่นำเอาปัญหาของเกษตรกรทั้ง
หมดขึ้นไปสู่ระดับนโยบาย คือ คณะรัฐมนตรี ซึ่งมีมติออกมา
แล้วสามารถกำหนดชะตาของเกษตรกรได้

ประการที่สาม เราอยากเห็นสภานี้กำหนชะตากรรมของตัวเอง
ชีวิตของเกษตรกร รัฐมนตรีอย่ายุ่งได้ไหม นักการเมืองอย่ายุ่ง
มากได้ไหม ให้ข้าพเจ้าได้กำหนเชะตากรรมของข้าพเจ้าเอง

การต่อสู้ให้ได้มาซึ่งสภานี้ ดึงกันไปมา พวกเราภาคเกษตรกร
ก็กลัวธุรกิจรายใหญ่หรือเอกชนรายใหญ่ดึงไป พยายามต่อสู้
ยาวมาก รัฐธรรมนูญ ปี 2550 กำหนดให้สหกรณ์ต้องอิสระ ผม
รู้สึกดีใจกัยรัฐธรรมนูญฉบับนี้รัฐต้องจัดตั้งสภาเกษตรกร

สิ่งที่ผมบอกว่าต่อไปนี้เกษตรกรต้องกำหนดชะตากรรมตัวเอง
มันอยู่ในแผนแม่บท ต้องเขียนแผนพัฒนาการเกษตรด้วยตัวเอง
ทีนี้มาตรา 30 บอกว่า ในการเขียนแผนแม่บทของสภาต้องมี
สาระสำคัญอย่างน้อย ถึงวันนี้มีประเด็นหนึ่งคือ มันไม่หลุดพ้น
จากกระทรวงเกษตรฯ ตรงนี้ต้องแก้ ถ้าไม่แก้ก็ไม่ต้องมีกฎ
หมายฉบับนี้หรอก ให้กระทรวงเกษตรฯทำเหมือนเดิม

ไปดูที่มาตรา 31 สภาเกษตรกรแห่งชาติ ทำแผนแม่บทแล้ว
ให้กระทรวงเกษตรฯ วิเคราะห์กลั่นกรอง มันก็เหมือนเดิม จะ
มีสภาเกษตรกรฯ ไปทำไม ผมถามว่าทำไมมันกลับมาเหมือน
เดิมอีก หลังจากที่แก้แล้วว่าให้กระทรวงเกษตรฯเสนอ แต่
สุดท้ายคณะกรรมการกฤษฎีกา ดึงกลับ

กฤษฎีกา คือใคร คือผู้เป็นใหญ่ในการเขียนกฎหมายในแผ่น
ดินนี้ ผมเขียนกฎหมายสภาเกษตรกรออกมาเป็นงูจงอาง
แต่ผ่านกฤษฎีกาออกมากลายเป็นงูไม่มีพิษ ถ้าไม่เอาก็ต้อง
แก้ เพราะแผนแม่บทถือว่าต้องศักดิ์สิทธิ์ เกษตรกรจะต้อง
กำหนดสิ่งที่ต้องการอยู่ในนี้หมด ถ้าท่ามาแก้ได้ ผมก็ไม่รู้
ว่าจะตั้งสภานี้ขึ้นมาทำไม

เดิมกฎหมายฉบับนี้ให้มีสำนักงานเป็นของตัวเอง แต่พอ
อ่านฉบับนี้แล้วปรากฎว่ากระทรวงเกษตรฯก็เป็นของสำนัก
งานนี้เหมือนเดิม แล้วจะตั้งทำไม ตรงนี้เราก็แก้ได้ เขาก็
จะดึงกลับไปอย่างนี้ ถ้าสำนักงานไม่ใช่ของตัวเองจะตั้ง
ไปทำไม ถูกครอบในระบบราชการเหมือนเดิม

ทั้งนี้ ครูสน ยืนยันว่า กฎหมายสภาเกษตรกรฉบับนี้จำเป็น
ต้องมี แต่ต้องแก้ในสิ่งที่เป็นความต้องการของเกษตรกร
ให้ไปอยู่ในกฎหมาย ไม่เช่นนั้น เมื่อกฎหมายฉบับนี้ออก
มาแล้วตกอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกระทรวงเกษตรฯ
หรือระบบราชการ กฎหมายฉบับนี้ก็จะไม่สามารถแก้ปัญหา
ของเกษตรกรได้ในที่สุด


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 06/11/2009 8:03 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 09/09/2009 3:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรื่องนี้....ยังคงต้องถกเถียงกันอีกนาน

สุดท้าย...ก็คงตกอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกระทรวงเกษตรฯ หรือระบบราชการ แน่นอนไม่สามารถแก้ปัญหาของเกษตรกรได้ในที่สุด

เราคงพึ่งใครไม่ได้...นอกจากตัวเอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 06/11/2009 1:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สภาเกษตรกรแห่งชาติ..บทเริ่มต้นความหวังของเกษตรกรไทย??

ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ… เป็นอีกหนึ่งร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการพิจารณายกร่างขึ้นมาหลายยุคหลายสมัยของรัฐบาล โดยใช้ระยะเวลายาวนานกว่า 30 ปี... ที่ผ่านมาทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว และได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และล่าสุด นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง “ความหวังของคนไทยต่อสภาเกษตรกร” เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ที่ผ่าน ณ อาคารรัฐสภา 2 ที่จัดโดยคณะอนุกรรมาธิการศึกษาและติดตามพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการเกษตรและสหกรณ์ และคณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภาว่า ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ได้ผ่านขั้นกฤษฎีกาแล้ว และกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป
ร่าง พ.ร.บ.นี้ มุ่งเน้นการรวมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคง และรองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในประเทศและเศรษฐกิจโลก ผ่านออกมาในรูปแบบของ “สภาเกษตรกรแห่งชาติ” เพื่อเป็นตัวแทนจากภาคการเกษตร ที่สะท้อนถึงปัญหาด้านการเกษตรกรรม รวมถึงจะเป็นตัวแทนเพื่อเสนอนโยบายและข้อเสนอแนะต่างๆ ให้ภาครัฐรับทราบโดยตรง ตัวแทนภาคการเกษตรอย่าง นายวิรัตน์ เอี่ยมเอื้อยุทธ ประธานคณะทำงานการเกษตร อาหารและสหกรณ์ มองว่า ปัจจุบันปัญหาหลักๆ ทางการเกษตร คือ ปัญหาผลผลิตล้นตลาด เช่น ปาล์มน้ำมันล้นตลาด เนื่องจากรัฐฯ มีการส่งเสริมด้านการปลูก จึงมองว่าสภาเกษตรกรฯ จะเป็นตัวกลางในการเข้าพูดคุยต่อรัฐ ถึงทิศทางทางการเกษตรที่ชัดเจนขึ้น ขณะที่มีการสะท้อนผ่านเวทีเสวนาโดยนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาการยางพาราแห่งประเทศไทยว่า รัฐบาลเห็นความสำคัญด้านการเกษตร แต่ไม่เห็นความสำคัญของเกษตรกร สภาเกษตรกรฯ จึงเป็นความหวังของเกษตรกรเพื่อรักษาผลประโยชน์ต่อไป
จากการสัมมนาดังกล่าว สะท้อนได้ว่าเกษตรกรต่างตั้งความหวังถึงสภาใหม่ อันจะเป็นกระบอกเสียงที่แนะแนวทางและความชัดเจนต่อรัฐบาลได้โดยตรง เพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดทางด้านการเกษตร หากแต่ก็ยังมีข้อเรียกร้องและความเห็นบางประการในการเสวนาดังกล่าว คือ
ประการแรก เมื่อร่างพ.ร.บ.ผ่านขั้นกฤษฏีกา ได้มีการปรับแก้ในบางมาตรา เช่น ได้ตัดทิ้งมาตราที่ 9 และ 20 (หมวด 3) อันว่าด้วยเรื่องการจัดตั้งคณะกรรมการเข้ามาดูแลจัดสรรงบประมาณ เนื่องจากมองว่า ในเบื้องต้น หากสภาเกษตรกรฯ จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการเข้ามาดูแลจัดสรรงบประมาณเองจะยุ่งยากหรือติดขัด จึงมอบหมายให้ทางกระทรวงเกษตรฯ เข้ามาดูแลในระยะแรกของการของบประมาณแทน จึงเป็นประเด็นที่ถูกมองว่าจะเป็นการให้อำนาจแก่ภาครัฐเข้ามาดูแลสภาเกษตรกรฯ มากเกินไปหรือไม่?? โดย ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มองว่าการให้น้ำหนักมาก อาจมีผลในแง่ความก้าวหน้าของสภาเกษตรกรฯ ที่จะเป็นไปโดยยากลำบาก นอกจากนี้มองว่าสภาตัวแทนควรทำออกมาในรูปแบบสมัชชา ให้คนที่อยากเสนอความคิดก็สามารถเข้ามาเสนอ โดยไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งหรือเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อเป็นการรับฟังความเห็นจากเกษตรกรโดยแท้จริง ทั้งนี้ ในการสัมมนามีการชี้แจงว่า การพึ่งพางบประมาณเป็นสิ่งที่ทำในช่วงแรก และเมื่อสภาเกษตรยืนได้ด้วยตนเองก็ให้จะจัดสรรงบประมาณด้วยตนเองต่อไป
ประการที่สอง ในการสัมมนาตัวแทนภาคเกษตรกรส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ผู้ดูแลสภาเกษตรกรฯ ควรเป็นนายกรัฐมนตรี มากกว่าที่จะเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีความชัดเจนและมีอำนาจโดยตรงในการสั่งการ ซึ่งมีการมองว่าหากเป็นรัฐมนตรีจำเป็นต้องผ่านอำนาจหลายขั้นตอน และอาจมีปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นทำให้การดำเนินงานต่างๆ เป็นไปโดยล่าช้า หากแต่ทั้งหมดนี้ ทุกฝ่ายต่างก็ยังตั้งความหวังต่อสภาเกษตรกรฯ ที่จะเป็นเสมือนตัวแทน และเป็นพลังของเกษตรกรเพื่อใช้ในการต่อรองทั้งกับนายทุน และเสนอข้อเรียกร้องต่อภาครัฐได้โดยตรง

ศ.ระพี สาคริก ที่ปรึกษากิติมศักดิ์ประจำคณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้ให้ข้อเสนอแนะทิ้งท้ายว่า ภาคการเกษตรเป็นฐานที่มีความสำคัญที่สุดของประเทศ และรัฐบาลเองต้องให้ความใส่ใจเพราะหากไม่ใส่ใจก็จะเกิดปัญหา อย่างเช่น ชนกลุ่มน้อยในเมืองไทยที่มีหลายกลุ่ม หากมองข้ามก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เสมือนอย่างสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งในการปฎิบัติงานต่างๆ อาจต้องอาศัยรัฐ แต่ในการทำงานคนที่ทำจำเป็นต้องมีใจที่เข้ามาทำงานด้วย อ.ระพีกล่าวทิ้งท้ายว่า “เกษตรไม่ใช่อาชีพแต่เกษตรคือวัฒนธรรม.. ชาวไร่ชาวนาทิ้งที่ดินเข้าเมืองก็เหมือนที่ท่านพุทธทาสกล่าวว่าหัวโตขาลีบ… พ.ร.บ.นี้ก็สำคัญแต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ คือจิตวิญญาณของเราเอง นี่คือจุดสำคัญ”

ทั้งหมดนี้เป็นข้อเสนอแนะและข้อเรียกร้องบางประการ เพื่อการปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรฯ ก่อนที่จะมีการนำมาใช้จริงต่อไป สิ่งที่เห็นประการหนึ่งคือ ความมุ่งหวังของเกษตรกรไทยในการที่จะมีตัวแทนจากภาคส่วนของตน ที่จะสามารถแจงข้อเสนอสู่รัฐบาลได้โดยตรง ทั้งนี้เพราะสถาบันเกษตรไทย เป็นสถาบันหลักและสถาบันใหญ่ที่มีมานาน การพัฒนาสถาบันทางการเกษตร จึงเป็นสิ่งสำคัญและจะมองข้ามไม่ได้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 09/11/2009 2:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

http://www.komchadluek.net/detail/20090317/5784/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A1.%E0
วันที่ 17 มีนาคม 2552
ครม.เห็นชอบร่างพรบ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ

คมชัดลึก :การประชุมครม.วันนี้ ครม.มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. ............. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นการดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่บัญญัติให้มี กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสภาเกษตรกร เพื่อคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร และส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรในรูปของสภาเกษตรกรภายใน 1 ปี นับแต่วันที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภาและเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่จะเริ่ม ดำเนินการในปีแรก โดยมีสาระสำคัญดังนี้

1. กำหนดให้จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งสภาเกษตรกรจังหวัดเสนอชื่อสมาชิกจังหวัดละหนึ่งคน และสมาชิกซึ่งเลือกจากตัวแทนองค์กรเกษตรกรด้านพืช ด้านสัตว์ ด้านประมง และด้านเกษตรอื่น ๆ รวม 16 คน กระจายสัดส่วนตามกลุ่มอาชีพ และสมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคัดเลือกจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านเกษตรกรรม รวม 7 คน ซึ่งต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านพืช ด้านสัตว์ และด้านประมง อย่างน้อยด้านละหนึ่งคน (ร่างมาตรา 7)

2. กำหนดอำนาจหน้าที่ของสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและองค์กรเกษตร ส่งเสริมและพัฒนาการทำเกษตร ให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร จัดทำแผนแม่บทเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และสนับสนุนวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านพันธุกรรมพืชและสัตว์ท้องถิ่น เป็นต้น (ร่างมาตรา Cool

3. กำหนดให้มีสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “สกช.” ทำหน้าที่เป็นเลขานุการและรับผิดชอบงานด้านธุรการของสภาเกษตรกรแห่งชาติ (ร่างมาตรา 20)

4. กำหนดให้มีสภาเกษตรกรจังหวัด ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งเป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกรที่ได้รับการสรรหาตามหลักเกณฑ์ที่สภาเกษตรกรแห่งชาติกำหนด จำนวน 16 คน และสมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเกษตรกรรม จำนวน 5 คน โดยอย่างน้อยต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านพืช ด้านสัตว์ และด้านประมง อย่างน้อยด้านละหนึ่งคน (ร่างมาตรา 27)

5. กำหนดอำนาจหน้าที่ของสภาเกษตรกรจังหวัด ให้พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรในระดับ จังหวัด ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มขององค์กรเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และยุวเกษตรกรในจังหวัด จัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับจังหวัดเสนอต่อสภาเกษตรกรแห่งชาติ และรับเรื่องราวร้องทุกข์เกี่ยวกับราคาและผลผลิตทางเกษตรกรรม (ร่างมาตรา 29)

6. กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดขึ้น เรียกโดยย่อว่า “สกจ.” ทำหน้าที่เป็นเลขานุการและรับผิดชอบงานด้านธุรการของสภาเกษตรกรจังหวัด (ร่างมาตรา 36)

7. กำหนดให้สภาเกษตรกรแห่งชาติจัด ทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม โดยมีกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน และเมื่อจัดทำแผนแม่บทแล้วให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาโดยไม่แก้ไข เปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับแผนแม่บทดัง กล่าว ให้สภาเกษตรกรแห่งชาติ ติดตาม และตรวจสอบการปฏิบัติงานตามแผนแม่บท (ร่างมาตรา 40 และร่างมาตรา 42)

8. กำหนดบทเฉพาะกาล ในวาระเริ่มแรกให้สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ทำหน้าที่สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดไปพลางก่อนให้คณะกรรมการดำเนินการ สรรหาสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดภายใน 30 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการเสนอชื่อสมาชิกตามมาตรา 44 (ร่างมาตรา 43 และร่างมาตรา 45)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 09/11/2009 2:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

http://news.mcot.net/politic/inside.php?value=bmlkPTExNDU0MSZudHlwZT10ZXh0

สภาฯ รับหลักการวาระ 1 ร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ

รัฐสภา 9 ก.ย. 2552 -การประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ รวมถึงพิจารณาร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ ที่ ส.ส.เสนออีก 6 ฉบับไปพร้อมกัน โดยนายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว กำหนดให้มีการจัดตั้งองค์กรการเกษตรและสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อจัดทำแผนแม่บทพัฒนาการเกษตรตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 84 บัญญัติ

ด้าน นายภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคชาติไทยพัฒนา หนึ่งในคณะที่เสนอร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ อภิปรายว่า กฎหมายฉบับนี้ได้เสนอให้มีการตั้งหน่วยงานอิสระไม่ขึ้นตรงต่อรัฐบาล ซึ่งถ้าเป็นร่าง พ.ร.บ.ของรัฐบาลจะให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ มาดูแล ดังนั้น จึงเสนอให้ตั้งสำนักงานเลขาธิการสภาเกษตรแห่งชาติ โดยตั้งเป็นนิติบุคคล และดำเนินการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามนโยบายและเพื่อความเป็นอิสระ และอยากเห็นการทำงานที่ขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กันระหว่างสภาเกษตรกรแห่งชาติ สำนักเลขาธิการสภาเกษตรแห่งชาติ และสภาเกษตรจังหวัด เกษตรกร รวมถึงรัฐบาลด้วย

ด้านนายสถาพร มณีรัตน์ ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ขอให้การตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติตาม พ.ร.บ.นี้ เป็นองค์กรที่มีมีอำนาจเทียบเท่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ง ชาติ (ป.ป.ช.) หรืออัยการสูงสุด โดยสภาเกษตรกรควรเป็นอิสระสามารถสั่งการให้รัฐบาลประกันราคาพืชผลทางการ เกษตรได้ แต่ไม่ให้สภาเกษตรกรตกเป็นเครื่องมือของพ่อค้าหรือนักการเมือง

นาย ประเสริฐ จันทร์รวงทอง ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หวังว่าการตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ จะทำให้สภาเกษตรกรไม่ใช่เสือกระดาษ แต่มีอำนาจที่แท้จริง ทั้งนี้ ตามร่างของรัฐบาลอำนาจสุดท้ายขอบสภาเกษตรกรอยู่ที่ ครม. ดั้งนั้น หาก ครม.ไม่ยอมให้ดำเนินการตามที่สภาเกษตรกรมีมติคงดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ไม่ได้ จึงควรให้อำนาจกับสภาเกษตรกรฯ อย่างเต็มที่

ภายหลังการ อภิปรายอย่างกว้างขวางกว่า 4 ชั่วโมง ที่ประชุมลงมติรับหลักการวาระที่ 1 ด้วยคะแนนเอกฉันท์ 304 เสียง และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จำนวน 36 คน แปรญัตติภายใน 7 วัน โดยใช้ร่างของรัฐบาลเป็นหลัก.-สำนักข่าวไทย

อัพเดตเมื่อ 2009-09-09 19:55:33








Lastest : 09-09-2552 | 19:55
View All...
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 09/11/2009 2:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ล่าสุด

http://news.mcot.net/politic/inside.php?value=bmlkPTEyNDM4NCZudHlwZT10ZXh0

นายกฯ เรียกร้องทุกฝ่ายสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ

รัฐสภา 8 พ.ย. 2552- นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในระหว่างร่วมสัมมนาเรื่อง “การรับฟังความคิดเห็นของเกษตรกรเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ” ที่จัดโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยย้ำว่า กฎหมายฉบับนี้ถือเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายค้าน รัฐบาล และทุกภาคส่วนจะต้องช่วยกันสนับสนุน เพื่อให้มีองค์กรที่จะผลักดันความต้องการของเกษตรกร และเชื่อมโยงกับฝ่ายนโยบาย แต่อยากให้ข้อคิดในเรื่องที่มาของสมาชิกสภาเกษตรกรว่า ควรเป็นตัวแทนของเกษตรกรที่แท้จริง และเห็นว่าคงไม่มีกระบวนการอะไรดีกว่าการเลือกตั้ง แต่ต้องดูแลให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างโปร่งใส

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะเดียวกัน ควรจะมีสมาชิกสภาในลักษณะผู้รู้ เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้ข้อคิดเห็นในนโยบายของรัฐบาล ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ถ้ามาจากการเลือกตั้ง ควรกำหนดคุณสมบัติบางอย่างให้สะท้อนถึงผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรืออาจจะมีลักษณะกึ่งสรรหาก็ได้ แต่ที่สำคัญขอให้ได้ตัวแทนที่แท้จริง มีความรู้ประสบการณ์การทำงานให้เกษตรกรและสามารถเชื่อมโยงกับรัฐบาลได้

สำหรับ สถานะของตัวองค์กรนั้น นายกรัฐมนตรี ให้ข้อสังเกตว่า อยากให้ใช้แนวทางสายกลาง อย่าสุดโต่ง คือ เห็นว่าไม่ควรจะเป็นแบบข้าราชการ เพราะการเป็นราชการ แม้จะมีข้อดีในเรื่องระเบียบแบบแผน แต่มีปัญหาว่า พอเป็นแบบราชการแล้ว สำนักงานมักจะใหญ่โตขึ้นเรื่อย ๆ แทนที่จะเอาทรัพยากรไปทุ่มเทให้กับเกษตรกร แต่ถ้าจะไม่มีสำนักงานถือเป็นอิสระก็ดี แต่จะขาดการเชื่อมโยงกับรัฐบาล ดังนั้น ขอให้ยืดหยุ่นจะดีกว่า.- สำนักข่าวไทย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©