-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เกษตรสัญจร 8 กระเหรี่ยงปลูกกระเทียมที่ปาย - ตอน ให้กินน้ำก่อนให้กินยา
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เกษตรสัญจร 8 กระเหรี่ยงปลูกกระเทียมที่ปาย - ตอน ให้กินน้ำก่อนให้กินยา
ไปที่หน้า 1, 2, 3  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 14/03/2013 11:45 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 8 กระเหรี่ยงปลูกกระเทียมที่ปาย - ตอน ให้กินน้ำก่อ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ....เพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เชื่อหรือไม่เชื่อ ตามใจ....
แล้วคอยดูต่อไป คง....(เอื้อน)...เห็นนนน....
...... (เพลงที่ลุงคิมชอบร้องออกอากาศบ่อย ๆ ....ครับผม....เคยได้ยิน แต่ไม่ทราบว่ามาจากเพลงอะไร )

ไปดูกระเหรี่ยง (จากสะเมิง) ปลูกกระเทียมที่ปาย


ตอนที่ 1....บทนำ หรืออารัมภบท



เคยมีคนบอกว่า ผมเยิ่นเย้อ ให้เข้าเรื่องเลย ....

โอ้โฮ จะเอาอย่างนั้นเลยเหรอน้า ....ผมไม่ใช่นักวิชาการ และไม่ค่อยชอบวิชาการ เพราะมันทำตามที่เค้าแนะนำไม่ได้ และชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า "เกษตรสัญจร" ความหมายคือ เป็นการพาเที่ยวเชิงเกษตรแบบเล่าให้ฟังด้วยรูปและตัวอักษรน่ะครับ

เวลาที่คุณเดินเข้าไร่เข้านา กระโดดทีเดียวถึงที่สวนที่นาโดยไม่เดินผ่านสองข้างทางโดยไม่ดูอะไรเลยหรือครับ ....

ถ้าไม่ชอบน้ำ ชอบเนื้อ ๆ หรือแบบแห้ง ๆ ก็ไม่ต้องอ่าน ผ่านไปดูรูปเลย แต่จะขาดเนื้อหาอันเป็นสาระนะครับ อยากให้คุณได้เห็น(เพื่อจะได้อาย) ว่า เกษตรกรชาวดอย เค้าจะไม่ปลูกพืชอย่างเดียวในแปลงพืชหลักหรอกครับ เช่นว่า ในแปลงที่เค้าปลูกกระเทียม นอกจากปลูกกระเทียมแล้ว เค้าปลูกอะไรแซมไว้ในแปลงกระเทียม เพื่อขายเป็นผลพลอยได้บ้าง มีแยะอย่างเลย และพืชที่ปลูกแซมนี่ ทั้งกินเอง แลก แจก ขาย บางครั้งได้เงินพอเป็นค่าปุ๋ยกระเทียมเลยแหละ .....ติดตามดูเอาเอง เผื่อจะมีแนวคิดว่าควรทำหรือไม่ควรทำตาม

จากการที่ผมเอา รถตีนตะขาบ ไปปั่นดินที่บ้านยัยเฉิ่ม รอบคันนามีแต่ หญ้าๆ ๆๆ และหญ้า หาปู่ไม่เจอเอาเสียเลย ปีนี้ดีหน่อยที่ ตัด และเผาออกบ้าง แต่ยังไม่หมดดีเพราะเดินรอบแปลงนาไม่ได้ กลัวนางพญานาครัดเอาไปอยู่เมืองบาดาล

ผมถามว่า ...ทำไมเอ็งไม่ปลูก ตะไคร้ ไว้รอบๆ คันนาล่ะวะ อย่างน้อยก็ดีกว่าให้หญ้าขึ้นรก เมื่อตะไคร้ขึ้นคลุม หญ้าก็จะขึ้นน้อยลง คะไคร้รอบคันนาของเอ็งนี้ (22 ไร่) ขุดขายครั้งหนึ่ง ได้เงินเป็นหมื่นนะเว๊ย ....

....จริงหรือทิด แล้วหนูจะไปขายใครที่ไหน จะปลูกได้ยังไง น้ำก็ไม่มี...

....ไอ้บ้า.... ตะไคร้เป็นพืชต้องการน้ำน้อย ปลูกทิ่ม ๆ เอาไว้ พอมันแตกกอ มันหาน้ำกินเอง พอใบตะไคร้คลุมดิน หญ้าก็จะหายไป ใบตะไคร้แห้งกลายเป็นปุ๋ย แล้ว...พี่สาวเอ็งขายของตลาดนัด ถามแม่ค้าด้วยกัน ไม่เห็นยากเลย ได้ทั้งต้น ได้ทั้งใบ ....

...ใบเอาไปทำอะไรได้...

..ต้มน้ำอาบให้ผัวดมมั๊ง กลิ่นตะไคร้ SEXY ดีนะเอ็ง...

..บ้้า ..นอกจากตะไคร้แล้วปลูกอะไรได้อีก.....

...ตะครั่น ตะครอ ตะคริวกิน มั๊ง...โห เอ็งนิเอ็ง ...

เชื่อหรือไม่เชื่อ ตามใจ.... แล้วคอยดูต่อไป คง..(เอื้อน)...เห็นนนน....

ผมแย๊บ ๆ เกริ่นเรื่องไว้ท้าย เกษตรสัญจรภาค 3 ว่าจะนำเสนอเรื่องกะเหรี่ยงปลูกกระเทียมที่ปาย มาตั้งแต่เดือน ธันวาคม 55 ถึงวันนี้ก็ครบ 3 เดือนพอดี....มันติดภารกิจ และมีธุรกรรม ที่ทำให้จำต้องไม่ได้นำเสนอซักที ....มาตอนนี้งานกาช่วย งานกาชาดก็ทุเลาเบาลงแล้ว คงจะได้ฤกษ์ซะที...และลุงคิมก็ เปิดไฟเขียว อนุญาต....Go Ahead ไว้แล้ว

......ปลูกกระเทียมที่ปาย น่าสนนะครับ รายได้ไม่แพ้ปลูกข้าว (ดีกว่าด้วยซ้ำในเนื้อที่เท่ากัน) เหนื่อยน้อยกว่าด้วย เนื้อที่ 1 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 2 ถึง 2.5 ตัน สูงสุดบำรุงดินดี ๆ อาจได้ถึงไร่ละ 3 ตัน....ราคากระเทียมสดปีนี้ หลังจากที่เจรจาต่อรองกัน (กับเฒ่าแก่ เยาวราช) จาก กก.ละ 12 บาท สุดท้ายก็จบลงที่ กก.ละ 15 บาท เพื่อนกะเหรี่ยงยิ้มหุบไม่ลง แก้มแทบปริ
…....พอใจมั๊ยครับลุงรัตน์ ....

...ได้ถึง 15 บาท เกินพอ ตอนที่เค้าบอก 13 บาท ผมก็ว่าจะเอาแล้ว แต่พ่อไม่ยอมเอา (ผมเรียกลุงรัตน์ว่าลุง ลุงรัตน์เรียกผมว่าพ่อ กะเหรี่ยงเค้าลำดับญาติกันแบบไหนวะเนี่ย)

....เพื่อนกะเหรี่ยงปลูก 7 ไร่ ได้กระเทียม 18 ตัน (ปลูกข้าวบนดอยคงได้ไม่ถึงหรอกนะครับ) เฉลี่ย ไร่ละ 2.57 ตัน..เก็บเอาไว้ทำพันธุ์ปีหน้า 3 ตัน เหลือ 15 ตัน คูณด้วย กก.ละ 15 บาท ก็เป็นเงิน 225,000 บาท จ่ายกันสด ๆ ไม่ต้องรอราคาประกัน...เย้... หักค่าปุ๋ย ค่าแรงงาน ค่า....ฯลฯ แล้วเหลือซัก 150,000 ได้มั๊ง ...ปลูกกระเทียมบนดอย 120 วัน หลับ ๆ ตื่น ๆ ได้ แสนห้า เท่ากับวันละ 1,250 บาท อีก 245 วัน ทำอย่างอื่น พอกินแล้ว ..

..มิน่า คนบนดอยขับ ปิ๊คอัพ Four Wheel ป้ายแดงกันแทบทุกบ้าน ปีสองปีเปลี่ยนคันใหม่ บางคันยังไม่ทันเปลี่ยนป้ายแดงเป็นดำ ขายทิ้ง ซื้อใหม่ และขอโทษ ห้ามไปซื้อรถมือสองต่อจากคนบนดอยนะครับ เพราะผ่านการลุยมาแล้วทุกรูปแบบแทบทุกคัน เดี๋ยวก็จะได้เห็น (ตอนบรรทุกกระเทียม)

....และคนบนดอยส่วนใหญ่ ซื้อรถด้วยระบบ เงินสด ๆ ครับ เพราะเค้ากู้เงิน ธกส.ไม่ได้ กู้เงินแบงค์อื่นก็ไม่ได้ เลยต้องซื้อด้วยเงินสด....แต่ตอนนี้ กสิกรไทยไปเปิดสาขาที่ปาย ....จะเอาอะไร เอาเท่าไหร่ บอก K-Bank มาเลยเพื่อน ....จะซื้อรถ ไม่ต้องหอบเงินสดเป็นล้านไปหรอก เอาเงินมาเข้าฝากที่นี่ เดี๋ยว K-Bank จัดให้ ไปกับเจ้าหน้าที่ธนาคาร เอากระดาษไปแผ่นเดียว (แคชเชียร์เช็ค) รับรถมาได้เลย แถมน้ำมันเต็มถัง ฟรี ของแถมอีกเพียบ....

อยากจะบอกว่า กรณีที่คุณแต่งตัว ใส่สูท ผูกไท้ เข้าไปซื้อรถ ระหว่างที่ เซลล์ คุยอยุ่กับคุณ ถ้าชุดชาวดอยหิ้วถุงเดินเข้าศูนย์ (มาเป็นฝูง) เซลล์ จะบอกคุณอย่างสุภาพว่า พี่กรุณาคอยซักครู่ ... แล้วก็รีบกุลีกุจอไปต้อนรับกลุ่มจากดอย พร้อมกับน้ำท่าอาหารว่าง เพียบ...

ชาวดอยเดินดู แล้วก็ชี้....เอาคันนี้...

...คันนี้มีคนจองแล้วครับ...

...เอาคันนี้....พร้อมกับเทเงินสด ๆ ออกจากถุง..

...นับเอาเอง จะเอาคันนี้ เดี๋ยวนี้....

ถ้าผมเป็นเซลล์ ผมก็ต้องเอาไว้ก่อนละนะ ...รถเงินสดราคาเป็นล้าน ค่าคอมฯ เท่าไหร่ ได้เหนาะ ๆ...ส่วนคนใส่สูทผูกไท้ ....เงินผ่อนแน่ ๆ (เอ็ง) รอไปก่อน....
...สำหรับรถคันที่ถูกจอง เมื่อเจ้าของมาถาม

...พี่ครับ รถคันนั้นตรวจสอบแล้วมันมีตำหนิแล้วเสียงมันดังแปลก ๆ เลยส่งไปตรวจสอบ ผมว่าพี่เลือกคันใหม่ดีกว่านะครับ หรือว่าพี่จะเอาคันนั้นจริง ๆ ผมจะเร่งช่างให้ตรวจสอบให้เร็ว ๆ .... ร้อยทั้งร้อย ไม่ว่าคุณหรือผม ถ้าซื้อรถป้ายแดงแล้วมีเสียงแปลก ๆ เลือกเอาคันใหม่ไม่ดีกว่าหรือ…การตอแหล๋เพื่อสร้างสรรค์ตามประสาเซลล์ คงไม่เป็นไรนะครับ

….เคยเป็นเซลล์มาก่อนหรือไร ถึงได้รู้ดี....

...มั๊ง....

......กระเทียมปายกินอร่อยครับ กลิ่นฉุน หอม แดร๊กคูล่ากลัวก็แล้วกัน... แต่ขอ บอก ใครไปเที่ยวปาย แล้วซื้อกระเทียมที่ปาย มากิน คงได้กระเทียมจากเชียงใหม่หรือจากเมืองงาว (จ.ลำปาง) ในราคากระเทียมปายละครับ เพราะกระเทียมของปาย ถอนเสร็จ ขนขึ้นรถส่งเข้าโกดังที่แม่ริม แล้วส่งต่อเข้ากรุงเทพฯ จะมีเหลือก็ที่เค้าเก็บเอาไว้ทำพันธุ์ กับเก็บไว้กินเอง และเอาไว้เป็นของฝากญาติสนิทมิตรสหายบ้าง ไม่มากนัก คนละปุ๊ก สองปุ๊ก (ปุ๊ก = พวง)

[size=18]เข้าเรื่องกันซะที......






1. ถ้าจะเข้าปายทางเชียงใหม่ การเดินทาง 178 โค้ง ...อ่านจาก เกษตรสัญจร ภาค 2 นะครับ….

เมื่อคุณมาถึงสะพานประวัติศาสตร์...(ญี่ปุ่นสร้างเอาไว้เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง....เป็นจุดที่ใคร ๆ มาเที่ยวชอบถ่ายรูปเป็นที่ระลึก.. วิวสวยครับ) มาถึงตรงนี้ ก็อีก 10 กิโลจะถึง อ.ปาย แล้วครับ





2. สะพานประวัติศาสตร์อีกมุมมองหนึ่ง (คนละฝั่ง) เค้าให้เดินชมอย่างดียว ห้ามรถผ่านครับ จะมีสะพานคอนกรีตสร้างคู่กันอยู๋อีกข้างหนึ่ง ขาเข้าปายอยู่ทางซ้าย ขาออกอยู่ทางขวา ...[/size]




3. คลิปบอร์ด หรือ บอร์ดโฆษณาสารพัด ถ้าไม่ได้จองที่พักเอาไว้ อยากหาที่พักต้องมาที่บอร์ดนี้ อยู่สี่แยก ถนนคนเดิน อยู่ตรงไหน ไปถึงแล้วถามคนแถวนั้น เพราะเป็นถนนที่คนไปเที่ยวปายต้องออกมาเดิน





4. อากาศที่ปาย เวลา 06.30 น. เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2555 ประมาณ 8 องศา
ซี. (วันที่ผมว่าจะนำเสนอเรื่องนี้น่ะครับ) แต่ ณ วันนี้ (14 มีค.56) ตามรายงานบอกว่า อากาศที่ปาย ตอนเช้าก็ประมาณ 17–18 องศา กลางวันร้อน บางวันมีลูกเห็บ กลางคืนเย็น





5. สะพานข้ามแม่น้ำปาย หลังน้ำหลาก ใช้เฉพาะกิจ ช่วงหน้าแล้ง ..(สิบล้อข้ามได้ครับ) จุดนี้เรียกว่า ท่าทรายขาว ตรงบริเวณบ้านทุ่งโป่ง อ.ปาย ที่มองเห็นเขียว ๆ
ข้างหน้าปู๊นนน นั่นไร่กระเทียมทั้งนั้นแหละครับ (ปัจจุบัน น้องน้ำป่าพัดพังไปแล้วครับ)

กระเทียมนี้เค้าปลูกกันบริเวณริมแม่น้ำปายครับ เค้าเรียกว่า บริเวณ น้ำไหล ทรายมูล เพราะฤดูน้ำหลาก น้ำท่วมถึง หลังน้ำลดก็จะได้ปุ๋ยจากตะกอนขี้เลนขี้ตม ที่มากับน้ำ(ขุ่นคลั่ก)....และพอหน้าน้ำหลาก สะพานอันนี้ก็จะหายวับไปกับกระแสน้ำอันเชี่ยวกราก ...ต้องทำกันใหม่ทุกปี ว่างั้นนะ .

....จากขี้เลน ขี้ตม ซึ่งมีธาตุอาหารครบสูตร 14 ธาตุตามที่กระเทียมต้องการ จึงทำ
ให้กระเทียม ปาย เป็นกระเทียมที่มีคุณภาพดี ซึ่งคนปัญญานิ่มอย่างผม คงไม่อาจ
บอกได้ว่า ในธาตุอาหาร 14 ธาตุนั้น มันมีอะไรมากน้อยแค่ไหนที่ทำให้กระเทียมชอบ

....เพื่อนกะเหรี่ยงบอกว่า ปลูกกระเทียมที่ปาย แทบจะไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีเลย นอกจากจะใช้สารที่ทำให้กระเทียมหัวใหญ่ขึ้นซึ่งเท่าที่ผมดูจากข้างกล่อง ซึ่งเค้าพิมพ์ไว้ว่า ธาตุอาหารสำเร็จรูปสำหรับพืชหัว และมีพิมพ์ไว้อีกว่า ประมาณธาตุอาหารรอง แคลเซี่ยม(CaO) 10.5 % ...มีแค่นี้เองครับ .(500 ซีซี. ราคา 450 บาท ฮ่วย)..ปีหน้าผมจะเอา ระเบิด.. แคลเซี่ยม-โบร่อน ไบโออิ กับ ยูเรก้า ไปให้ทดลองใช้ ส่วนไทเป คงไม่ต้อง เพราะถ้าฉีดแล้ว กระเทียมออกดอก มีหวัง กูตั๊ย ๆ ๆ ....แต่ฉีดอย่างอื่น (ถั่วเหลืองกับข้าว) ได้นี่หว่า เนาะ ...





6. ข้ามสะพานผ่านไร่กระเทียมลึกเข้าไปหลังดงไม้ข้างหน้าโน่น มีแปลงข้าว ตาม
ข่าวบอกว่า เป็นแปลงข้าวหอมนิลอีกแปลงหนึ่งของคนสวยเทพธิดาปาย (บริเวณนี้
น้ำท่วมไม่ถึง) .... แสดงว่า ข้าวสายพันธุ์เมล็ดสีดำ (ข้าวก่ำ ข้าวลืมผัว ข้าวหอมนิล ข้าวสุโขทัย 1, 2 ข้าวอะไรอีกล่ะ -ข้าวลุงคิม-เพราะลุงคิมก็ดำเหมือนกัน อิอิ ) ชอบอากาศเย็น และไม่ชอบน้ำมาก จึงปลูกบริเวณพื้นราบบนดอยได้งามขนาดนี้ แบบนี้ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ก็น่าจะปลูกบนดอยได้ (มั๊ยครับลุง)....คำตอบ คือ ...มึงก็ลองทำดูซี่...มันสะใจมั๊ยน้องงงงง....





7. รวงข้าวหอมนิล... แบบนี้หนึ่งรวงไม่น่าจะต่ำกว่า 100 เมล็ด .

...จากกระเทียม มาเรื่องข้าวซะแล้ว ....เกษตรสัญจรก็แบบนี้แหละครับ ...อยากให้ดูครับว่า ชาวเขา ชาวดอย ทำได้อย่างไร แล้วคุณล่ะครับ ทำได้ป่ะ ... สำหรับผมไม่ได้คุย...ทำนาสูตรลุงคิม 2 รุ่น 100 ถัง สบายมาก (ตอนนี้แปลงนาคนข้างบ้านกำลังจะเกี่ยว ในวันสองวันนี้ เป็นข้าว กข47 คาดกันว่า น่าจะได้ 120 ถังต่อไร่ ...จากที่เคยได้แค่ 100 ถัง พอเปลี่ยนมาใช้รถตีนตะขาบปั่นดิน ทำเทือก ได้ 120 ถังมา 3 รุ่นแล้ว มีหนังฉายแก้บน ฉลองแม่โพสพทุกปี...)




8. ก่อนจบการอารัมภบท ดูรูป กระเทียมปาย (แห้ง) อีกครั้ง ...เค้าให้ผมมา สองปุ๊ก ....คนละหนุบ คนละหนับ มึงนิด กูหน่อย หมดไปแล้วพร้อมกระเทียมโทนดองน้ำผึ้งข้ามปีสูตรไทใหญ่อีก สองขวด ครับ ยังเหลือที่ไม่โทนดองอีกครึ่งขวด





9. กระเทียมดองน้ำผึ้งข้ามปี สูตรไทใหญ่จากปาย ครึ่งขวดสุดท้าย (14 มี.ค. 56) ....ปีหน้าว่ากันใหม่




To be continue....ยังมีต่อจ้า...


..


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 14/02/2017 12:50 am, แก้ไขทั้งหมด 16 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 15/03/2013 7:34 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 8 ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ....เพื่อนสมาชิกทุกท่าน

ตอนที่ 2...การปลูกกระเทียม เค้าใช้คำว่า ปลูก หรือ ดำ
ไม่ได้ถามมา แต่ลักษณาการ เหมือนกันละนะ เพราะไม่ว่าจะปลูก หรือ จะดำ ก็เป็น
การกระทำโดยเอา กิ่ง ต้น หัว เหง้า เมล็ด จิ้มลงไปในดิน




1. วันที่ 31 ตุลา 55 เป็นวันฤกษ์ดี ที่หลังจากเตรียมแปลงดีแล้ว ลุงรัตน์ กะเหรี่ยง
จากสะเมิง และทีมงาน ก็นำหัวกระเทียม จิ้มลงไปในดิน




2. คนนี้แหละครับ ป้าคำคนขยัน สาวไต (เมื่อก่อนนี้นะ) หรือสาวไทใหญ่ ที่ลุงรัตน์
กะเหรี่ยงจากสะเมิง พนักงานขับรถแลนด์โรเว่อร์ ของ ออป. จากสะเมิง มาเจอสาว
ไตที่เหมืองแร่ ฟลูออไรด์ (อยู่เลยปายขึ้นไปทางบ้านวัดจันทร์ ประมาณ 20 กิโล) ถึง
ขนาดว่า ทิ้งรถแลนด์ฯพร้อมกุญแจรถ หนีตามสาวไตคนนี้ ทำงานอยู่ที่เหมืองแร่พัก
นึง (เก็บเงิน) แล้วก็มาตั้งรกราก (ซื้อที่) อยู่ที่ปาย เมื่อประมาณ 30 ปีมาแล้ว มั๊ง ...
นิยายรักกลางดงดิบ Vergin จริง ๆ .....ป้าคำทำกับข้าวสูตร ไทใหญ่ อร่อยมาก ๆ
โดยเฉพาะ ยำใบมะขามอ่อนกับปลาแม่น้ำปายย่าง (ปลาอะไรไม่รู้จักครับ ออก
สำเนียงเป็นภาษาไทใหญ่ คล้ายปลาสวาย แต่เนื้อกินอร่อยกว่าปลาสวายหลายขุม
เพราะปลาต้องว่ายทวนน้ำตลอดเวลา)

รูปนี้ ป้าคำกำลังเตรียมหัวพันธุ์กระเทียมเพื่อเอาลงปลูกในแปลง.




3. หลังเก็บเกี่ยว เค้าจะเก็บกระเทียมสด ๆ ไว้ประมาณ 3 ตัน (ต่อเนื้อที่ 7 ไร่ ) มัด
เป็นปุ๊ก-พวง แล้วเอาขึ้นแขวนในร่ม (ข้ามปี) ทำโรงเรือนโล่ง โปร่ง สูงประมาณบ้าน
สองชั้น เพื่อให้อากาศถ่ายเท ...การเก็บหัวกระเทียมทำพันธุ์ ต้องเก็บโดยกรรมวิธีนี้
หัวจะไม่ฝ่อ และตากระเทียมจะไม่ตายนึ่ง... ห้ามตากแดดโดยเด๊ดขาด (อ่านว่า เด๊ด
ขาด) นี่คือเหตุผลที่เมื่อเราซื้อกระเทียมมากินแล้วเอาปลูก มันจะไม่ค่อยงอกเพราะ
พ่อค้าซื้อกระเทียมสด ก็จะนำไปตากแดดเพื่อให้แห้งโดยเร็วเพื่อนำออกขาย (ตาก
พอหมาด ๆ แบบตัวอย่างที่ผมฝากมาให้ลุงคิมดูนั่นแหละครับ อันนั้น แก่ประมาณ 80
%) แล้วการตากแดดทำให้ตากระเทียม ตายนึ่ง หัวกระเทียม ฝ่อ ....ถึงบางอ้อเลย
แหละ มิน่า ซื้อกระเทียมมากินทีไร เก็บไว้นาน ๆ หัวมันจะ ฝ่อ หมด เพาะก็ไม่ค่อยจะ
งอก แบบนี้นี่เอง




4. การจะปลูกกระเทียม ต้องแกะกลีบออกจากหัว ถ้าทำกระเทียมสดให้หัวใหญ่ ๆ
ได้ กลีบก็จะมาก ปลูกแล้วจะได้เนื้อ เพราะไม่ว่าจะกลีบเล็กหรือใหญ่ ปลูกแล้ว
Same Same แตกกลีบเหมือนกันหมด ...กระเทียมต้องใช้คำว่า แตกกลีบ ไม่ใช่
แตกกอ เพราะกระเทียม มีต้นเดียว หัวเดียวแต่มีหลายกลีบ

ยกเว้น กระเทียมโทน มีหัวเดียว กระเทียมลีบ กลีบเดียว กระเทียมดทน....ทีนนี้จาก
กระเทียมสด 3 ตัน เมื่อแห้งแล้วเหลือกี่ตันครับ

ป้าคำบอกว่า ...บ่เคยจั้ง (ชั่ง) เจ้า แกะเป็นกลีบแล้วใจ๊ก๊อก (ใช้ลิตร) ตวงเอา ...

....แล้ว กระเทียมโทนล่ะ มันเกิดจากอะไรครับ.....

…อ๋อ เป็นจะอี้ เจ้า...1, 2, 3, .... อุบไว้ก่อนนะ ไว้ถึงตอนที่ควรจะเป็น กระเทียม
โทน ซะก่อนค่อยว่ากันใหม่ อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องของธรรมชาติครับ แต่ถ้าจะทำให้
โทน ...ขนาดว่า นักวิชาการเอาหัวกระเทียมโทนมาเพาะเนื้อเยื่อ ปลูกออกมาแล้ว
มันยังมีโทนออกมาไม่กี่หัวเอง ...แต่ทำด้วย ธรรมชาติทำได้ครับ .....

ลืมบอกไปว่า ลุงรัตน์ พ่อเป็นกะเหรี่ยง แม่เป็นคนเมืองเชียงใหม่ พูดภาษาชาวเขาได้
หลายภาษาส่วนมากจะพูด คำเมือง....ส่วนป้าคำ แม่เป็นไทใหญ่ พ่อเป็นคนเมือง
จึงพูดภาษา คนเมือง พูดไทใหญ่ได้นิดหน่อย มิน่า กะเหรี่ยงสะเมิง กับสาวไต จึงพูด
กันรู้เรื่อง เพราะใช้คำเมือง....

แล้วทำไมผม พูด ฟัง คำเมืองรู้เรื่อง....พ่อผมถูกส่งไปทำงานอยู่เชียงใหม่ สิบปี อยู่
ลำปางอีก ห้าปี แม่ผมก็ต้องตามไปอยู่กับพ่อ แล้วผมกับทิดบัติเป็นลูก ก็ต้องติดตาม
แม่ไปด้วยตั้งแต่ยังเด็ก ...คนทำสวน อ้ายบุญตา พูดไทยได้แต่ไม่ยอมพูด ใช้คำเมือง
พูดกับผม ทุกวี่ทุกวัน เป็นปี ๆ เท่ากับเป็นการสอนให้พูด ฟังคำเมือง ดังนั้น พูด ฟัง
ไม่เป็นก็ต้องเป็นละนะ ….

ผมรู้จักลุงรัตน์ ป้าคำ ได้ยังไง .....บ้านลุงรัตน์ อยู่เวียงเหนือ อ.ปาย ตรงข้ามกับบ้าน
ที่ผมพัก จึงรู้จัก สนิทกันมาตั้งแต่ปี 2546 ...และลูกชายลุงรัตน์ เป็น พ่อหลวงบ้าน
(ผู้ใหญ่บ้าน) ที่เวียงเหนือ ผมจึงฝากลูกสาวกับสองลุงป้านี้ไว้ นอกจากนี้ ลุงรัตน์ ดัน
ไปเป็น เสี่ยว (เพื่อนซี้) กับส่างลอง และแม่ของเจ้าโชเล่ กับชาชา เข้าอีก ...ขนาด
พูด คิง ฮา (มึง กู) กันได้นี่ไม่ธรรมดาแล้ว....




5. การปลูกกระเทียม คนปลูกจะวางกลีบกระเทียมห่างกันประมาณ 1 คืบมือ เรียง
เป็นแถวแบบดำนา แปลงปลูกก็ทำเป็นล๊อก ๆ ยกคันแบบทำนา เพื่อเวลาให้น้ำ
กระเทียมก็จะปล่อยน้ำให้เข้าในแปลงแบบทำนา

ผมไม่ได้ไปปลูกกับเขา รู้ได้ยังไง....น้องท่านเอย โบราณว่า ปากเป็นเอก เลขเป็น
โท หนังสือเป็นตรี ชั่วดีเป็นตรา
... ผมก็ใช้ปากถามซีครับ...อยู่นครปฐม พอได้รับ
รูปจากปาย ก็โทรกลับไปที่ลุงรัตน์ ถาม ๆๆๆ และถาม ก็จะได้ข้อมูลที่ผมต้องการรู้ ไม่
เห็นยากเล๊ย

คนที่มารับจ้างปลูก หลายชนเผ่าครับ มีทั้ง ไทใหญ่ กะเหรี่ยง ลีซอ มูเซอ ยูนนาน
และมีพี่สาวกับพี่เขยป้าคำมาช่วยด้วย ….แล้วเค้าคุยกันรู้เรื่องหรือ ...รู้เรื่องครับ ใช้
คำเมืองเป็นภาษากลาง ถ้าเป็นเด็กรุ่นใหม่ จะใช้ภาษาไทยเป็นส่วนใหญ่




6. การเตรียมดิน ลุงคิมย้ำนัก ย้ำหนาว่า ดินต้องมาก่อน ๆ ...กะเหรี่ยงปาย ไม่เคยฟัง
รายการลุงคิม แต่การเตรียมแปลงปลูก ดีหรือไม่ดี ไม่ทราบ แต่ดูรอยเท้าคนปลูกที่ย่ำ
ลงในแปลงปลูกดูก็รู้...ดินร่วนซุย ลึกเกือบถึงตาตุ่ม.....ก่อนปลูกกระเทียม ดินตรงนี้
ปลูกปอเทือง ปลูกถั่วเหลือง ดังนั้น ต้นปอเทืองหมัก....ต้นและเปลือกถั่วเหลือง
หมัก พร้อมกับ ขี้วัวหมัก + ดิน จากน้ำไหล ทรายมูล คงไม่ต้องบอกว่าดินดีหรือไม่ดี




7. ป้าคำต้องคอยกำกับ.... สูปลูกอย่าให้หื้อนักเน้อ ...ครับปลูกข้าวดินดี ดำห่าง
เพื่อให้ข้าวแตกกอ แต่ปลูกกระเทียม ถ้าดินดีต้องปลูกอย่าห่างเกิน 1 คืบมือ ...ไผ
(ใคร) ปลูกห่าง ปีหน้าบ่ต้องมาเน้อ....






8. ต่างคนต่างก้มหน้าก้มตาปลูกวันละ 8 ชั่วโมงกว่า ไม่มีขาด มีแต่เกิน ได้ค่าแรง
ตามจำนวนที่ตกลง พร้อมรับบริการน้ำท่าอาหารหวานคาว สองมื้อ

..ทิวเขาที่เห็นลิบ ๆ ข้างหน้า เป็น อ.ปางมะผ้า ครับ อยู่สูงจากปายขึ้นไปอีก 45 กม.
ครับ พวกนักซิ่งกวนประสาททั้งหลายน่าจะมาจัดแข่งรถที่เส้นทางนี้... จะได้ตกเหว
ตาย ๆ กันซะมั่ง




9.


10.


11.


12.


13.

9.–13. แต่ละแปลงที่ปลูกเสร็จ ก็จะใช้ ฟาง คลุมหน้าดินเพื่อให้ดินมีความชื้น ฟาง
ที่ปาย เป็นสิ่งมีค่าของชาวเขาชาวดอยครับ ผมไม่เคยเห็นมีใครเผาฟางกันนะครับ...
ที่เผากันส่วนมากเป็นต้นไมยราพยักษ์ มันมีหนาม ตัดแล้วทิ้งให้แห้ง รวมกองแล้ว
เผา ....ไมยราพยักษ์ ปราบยากครับ ไม่ยักมีใครโฆษณาว่า เป็นยาโป๊วเนาะ จะได้เอา
มากินซะให้หมด.....




ยังมีต่อนะ.






.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 15/03/2013 8:01 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 8 ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ....เพื่อนสมาชิกทุกท่าน

ตอนที่ 3...เวลาผ่านไป 1 เดือน

เรามาดูรูปต่อกันเลยครับ


1. เช้าวันนี้ ท้องฟ้าแลดู ทึม ๆ คล้ายฝนจะตก




2. กระเทียมโตเร็วครับ หลังจากปลูกแล้ว เวลาผ่านไป 1 เดือน ต้นกระเทียมเจริญ
เติบโตสูงประมาณ 1 ฟุต.....อีก 3 เดือนก็จะเก็บผลผลิตได้แล้ว




3. เตรียมการให้น้ำกระเทียมหลังจากการปลูกผ่านไปแล้ว 1 เดือน ...ปลูกกระเทียม
สบายมั๊ยล่ะครับ ปลูกพืชอย่างอื่น ถ้าปลูกแล้ว 1 เดือนถึงจะให้น้ำ ก็มีหวังตาย แต่
กระเทียมเค้าจะให้น้ำหลังจากปลูกแล้ว 1 เดือน เค้าจะเริ่มให้น้ำ โดยจะขุดให้เป็นร่อง
คล้ายคลองส่งน้ำชลประทาน




4.... เตรียมวางท่อส่งน้ำจากต้นแปลง ไปจนสุดแปลง ท่อนี้ไม่ทากาวติดตายนะครับ
ทำให้ถอดออกได้ เพื่อจะถอดเมื่อให้น้ำแปลงสุดท้ายเต็มแปลงแล้ว ก็ถอดออกเป็น
ระยะ ๆ ไล่มาเรื่อย ๆ




5. ต่อท่อเสร็จแล้ว




6. ปลายสุดท่อที่น้ำจะไหลออก เอาถุงตาข่ายสรวมเอาไว้ กันสิ่งแปลกปลอมที่ปนมา
กับน้ำ เพราะบางครั้งผลพลอยได้คือ ปลาตัวขนาดเกือบเท่าหัวแม่มือ ที่หลุดลอดผ่าน
หัวกะโหลกดูดน้ำขนาดท่อ 3 นิ้วเข้ามา บางครั้งเป็นปลาเอี่ยน(ปลาไหล) หรือ งูตัว
เล็ก ๆ จากแม่น้ำปาย




7. จากนั้นก็วางท่อส่งน้ำผ่านตูบ(กระต๊อบ)สารพัดประโยชน์หลังนี้ไปยังเครื่องสูบน้ำ
ตั้งเครื่องไว้ที่ริมแม่น้ำปาย




8. รูปชุดนี้ ถ่ายเมื่อ 29 พย.55 ลูกสาวเค้าไม่ได้ส่งรูปเครื่องสูบน้ำมาให้ดู จนเมื่อวัน
ที่ 8 กพ.56 ใกล้กระเทียมจะถอน ผมเลยจำเป็นต้องขึ้นไปปาย เพื่อเจรจาต่อรอง
เรื่องราคาค่ากระเทียมกัน ...จาก กก.ละ 12 บาทก็กลายเป็น กก.ละ 15 บาทตามที่
เล่าให้ฟังมาแล้ว .....ผมก็เลยไปถ่ายรูปเครื่องสูบน้ำที่จะดูดน้ำจากแม่น้ำปายขึ้น
มารดกระเทียม....จะเห็นว่า ต้องใช้ถึงสองเครื่อง...ร่วมด้วยช่วยกัน เป็นเครื่องเบ็นซิ
น 7.5 แรงเครื่องหนึ่ง กับเครื่องดีเซล 15 แรงอีกเครื่องหนึ่ง .....ปั๊มหอยโข่งที่ใช้
กับท่อ 3 นิ้ว เป็นปั๊มที่มีสองใบพัด เพื่อเพิ่มแรงดูดและแรงอัด....ทำไมต้องใช้ปั๊ม
สองใบหัด ดูรูปที่ 9 ครับ




9. แม่น้ำปายช่วงน้ำหลาก น้ำจะสูงล้นตลิ่งที่เห็นนี้ แต่มาถึงเดือนกุมภาพันธุ์ ใกล้จะ
เข้าหน้าแล้ง ระดับน้ำจะลดต่ำลงเหลือเท่าที่เห็น การดูดน้ำทั่วไปโดยเฉพาะ ของ
ราชการ จะเป็นท่อต่อตรง 90 องศาจากปั๊มไปที่ท่อดูดน้ำ แต่ในรูปนี้ กะเหรี่ยงตั้งท่อ
ดูดเอียงประมาณ 45 องศา .....ทำไมไม่ตั้งท่อดูด 90 องศา ....ผมไม่ใช่นัก
วิชาการ แต่ตอบได้ว่า การตั้งท่อดูดเอียง 45 องศาเพื่อลดแรงเสียทาน และลดแรง
ดูด (กำลัง) ของปั๊ม..และเป็นการเพิ่มแรงดันของน้ำให้มากขึ้น การส่งน้ำตามท่อไป
ในที่ไกลจากปั๊มมาก จะกินแรงเครื่องยนต์ อาจต้องมีการใช้ แอแว ช่วย ตามหลักของ
พลังงานศักย์ กับพลังงาน จลล์ และการใช้ท่องอ 90 องศา เปรียบเหมือนเราปีนขึ้นที่
สูงแบบตรง ๆ แต่ถ้าขึ้นเอียง 45 องศาเหมือนเราเดินขึ้นบันได การขึ้นแบบไหน จะ
ต้องออกแรงมากกว่ากันล่ะครับ ......

แล้วทำไมราชการเค้าใช้ท่องอ 90 องศาล่ะ ...ก็ปั๊มที่ทำงานหนัก มันก็พังเร็ว งบฯ
ค่าซ่อมครับ หรือถ้าซ่อมไม่ได้เครื่องพัง ก็ตั้งงบฯ ซื้อเครื่องใหม่ เหมือนตอนที่น้ำ
ท่วม เครื่องมีแต่พังใช้งานไม่ได้นั่นแหละ.

หลักการต่อท่อดูดน้ำเอียง 45 องศา ผมแนะนำให้ ยัยเฉิ่ม ทำวิธีนี้กับระบบสปริง
เกลอร์ ....ผมขี้เกียจ สีซอยาว ก็บอกสั้น ๆ ว่า เพื่อลดกำลังดูดของปั๊ม แล้วก็บอกให้
ใส่ แอแว ไว้ด้วย....วันที่ไปเห็น เออ ต่อท่อดูดเอียง 45 องศา แต่ (คนทำ) ดันติด
แอแว ไว้หน้าปั๊ม ฮ่วย ใครสอนก็ไม่รู้ ... แต่บังเอิญว่า น้ำปลายท่อแรงก็เลยบอกไม่
ต้องย้าย เอาไว้กรอกน้ำใส่ปั๊ม....การใช้ระบบสปริงเกลอร์ ต้องศึกษาหน่อยนะน้อง
นะ สงสัยอะไร ทำจากของจริงนั่นเลย ....






10. เตรียมส่งน้ำผ่านท่อเข้าแปลงกระเทียม....




11. มองจากมุมสูง(บนหอถังประปาส่งน้ำ) จะเห็นพื้นที่ที่เกษตรกร (กะเหรี่ยง
มูเซอ ยูนนาน ไทใหญ่) ที่อาศัยอยู่ที่ปาย ปางมะผ้า และที่อื่น ๆ (ยกเว้นบ้านวัด
จันทร์ เพราะหนาวเกินไป) ปลูกกระเทียม น่าจะเป็นหมื่นๆ ไร่มั๊งครับ และคุณภาพก็
ขึ้นอยู่กับ ฝีมือ ในการบำรุงรักษา...สิ่งที่ตามมาก็คือ ราคา ที่ทุกคนควรจะได้ และ
ราคาสูงสุดของกระเทียมปายปีนี้ ก็ต้อง 15 บาท...ฟันธง...แล้วก็ ลดหลั่นลงมาจน
อาจจะเหลือแค่ 10 บาท




12. แปลงนี้ของเพื่อนลุงรัตน์ ปลูกก่อนประมาณ 1 อาทิตย์ ลุงรัตน์บอกว่า ปลูกแน่น
(ถี่) เกินไป หัวจะไม่โต เฉลี่ยผลผลิตกับราคาแล้ว ประมาณมากแต่ราคาจะได้น้อย
กว่าการปลูกห่าง 1 คืบมือ....ทำให้ผมนึกถึงคำพูดของลุงดิมขึ้นมาได้เลยว่า
....ใหญ่กว่าเป็นต่อ....




13. พลังงานทดแทน - ภูมิปัญญาชาวดอย...ที่ไม่มีวันหมด ออดแอด ๆ Slow But
Sure น้ำไหลลงรางทีละน้อย ๆ ...ทำบ่อ หรืออ่างเก็บน้ำรองรับ จะมีน้ำใช้ ทั้งวันทั้ง
คืน ทั้งปีทั้งชาติ





14.


15.

14.-15. สะพานข้ามแม่น้ำปายอีกรูปแบบหนึ่ง กว้างประมาณ 2.50 เมตร แมงกะไซด์
ข้ามและสวนกันได้สบาย ๆ ...แต่เสียดาย พอน้ำหลาก น้ำมาตูมเดียว หายวับไปกับตา


...ยังมีต่อ....พักแค่นี้ก่อนครับ





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 02/04/2013 11:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ....เพื่อนสมาชิกทุกท่าน
ตอนที่ 4...การให้น้ำกระเทียมครั้งที่ 2

ต่อจากตอนที่ 3....เวลาผ่านไปอีก 10 วัน จากวันปลูกถึงวันนี้ ประมาณ 40 วันจะ
มีการให้น้ำกระเทียมเป็นครั้งที่สอง


รูป 1


รูป 2

รูปที่ 1 – 2 กระเทียมอายุ 40 วัน โตเร็วดีเหมือนกันครับ





รูปที่ 3 การให้น้ำก็ตั้งเครื่องสูบน้ำจากแม่น้ำปายขึ้นมา (จากลุ่มขึ้นดอน)
เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน หลักการง่าย ๆ คือ สูบน้ำจากแม่น้ำซึ่งอยู่ต่ำกว่า
แปลงกระเทียม ผ่านท่อขนาด 3 นิ้ว ระยะทางยาวเป็นร้อยเมตร ขึ้นยังตำแหน่งที่
(ดอน) สูงสุดของแปลง ปลายท่อน้ำไหลออกก็ปล่อยให้น้ำไหลไปตามร่องที่ขุดเอาไว้




รูป 4


รูป 5


รูป 6

รูปที่ 4 – 6 เป็นท่อดูดน้ำจากแม่น้ำมาสู่ถังผสมปุ๋ยที่ ตูบ (กระต๊อบ)




รูป 7


รูป 8


รูป 9

รูปที่ 7 – 9 เป็นท่อส่งน้ำจากถังผสมปุ๋ยที่ กระต๊อบ ไปสู่แปลงกระเทียม




รูป 10


รูป 11


รูป 12


รูป 13


รูป 14


รูป 15


รูป 16


รูป 17


รูป 18

รูปที่ 10 – 18 น้ำจะไหลจากที่ดอนลงที่ลุ่ม แยกเข้าแปลงกระเทียม...จะให้น้ำ
เข้าแปลงไหน ก็เปิดช่องให้น้ำเข้า จะไม่ให้เข้าแปลงไหน ก็เอาดินปิดกั้นน้ำเอาไว้
ทำง่าย ๆ





รูปที่ 19 แปลงกระเทียมที่ปล่อยให้น้ำเข้าท่วมแปลง ท่วมแค่โคนต้นเท่านั้น




รูป 20


รูป 21

รูปที่ 20 – 21 หลังจากปล่อยน้ำเข้าท่วมจนพอประมาณแล้วก็ปิดทางน้ำเข้า น้ำใน
แปลงจะค่อย ๆ ซึมลงดิน




รูปที่ 22 เข้าหลักลุงคิมเป๊ะเลย คือ เนื้อที่ว่างบนคัน รอบคัน เค้าจะปลูกพืชแซม
หลาย ๆ อย่าง ดีกว่าปล่อยให้หญ้าขึ้น เก็บไว้ กิน แจก เหลือก็ขาย ....




รูป 23


รูป 24

รูปที่ 23 – 24 บนคันล้อมแปลงคันใหญ่ ป้าคำปลูกอะไร...ดูแล้วน่าจะเป็นข้าวโพดนะครับ



ยังมีต่อครับ



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 02/04/2013 11:39 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 8 ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ....เพื่อนสมาชิกทุกท่าน

ตอนที่ 5...การให้น้ำกระเทียมครั้งที่ 3

จากตอนที่ 4....
เวลาผ่านไป จากวันปลูกถึงวันนี้ ประมาณ 50 วันจะมีการให้น้ำกระเทียมเป็นครั้งที่ 3 ครับ


รูป 1


รูป 2


รูป 3


รูป 4


รูป 5


รูป 6

รูปที่ 1 – 6 การให้น้ำกระเทียมครั้งที่ 3 ....วิธีการก็เหมือนกับการให้น้ำครั้งที่ 2




รูป 7


รูป 8


รูป 9


รูป 10


รูป 11


รูป 12


รูป 13

รูปที่ 7 – 13 สิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือ ต้นกระเทียมโต สมบูรณ์มากขึ้น




รูป 14


รูป 15

รูปที่ 14 – 15 สิ่งที่กะเหรี่ยงปลูกแซมในร่องกระเทียมคือ ผักต่าง ๆ ตามรูปนี้เป็น
ผักป้อม (ผักชีไทย) ครับ ดินดีหรือไม่ดี ผักงามหรือไม่งาม รูปภาพฟ้องอยู่ในตัว
แล้วครับ





รูปที่ 16 ที่ดินที่ว่าง ซึ่งปลูกกระเทียมไม่ได้ผล เค้าปลูก ข้าวโพดสาลี กับข้าวโพด
เทียนพันธุ์พื้นเมืองครับ ...ผมรู้ได้ยังไง รู้ครับ เพราะเค้าฝากฝักแก่ (แห้ง) มาให้
ผมเอาไว้ปลูกที่นครปฐม และบอกมาว่า เป็นข้าวโพดที่เค้าปลูกแซมในแปลง
กระเทียมครับ





รูปที่ 17 ในแปลงข้าวโพด เค้าปลูกอะไรแซมไว้อีก ผมไม่ทราบ แต่น่าแปลกที่
ทำไมถึงกับต้องผูกหุ่นไล่กาเอาไว้ด้วย....เอาไว้ไล่ตัวอะไรหว่า....




ยังมีต่อครับ.


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 03/04/2013 12:57 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 8 ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ....เพื่อนสมาชิกทุกท่าน


ตอนที่ 6...การให้ปุ๋ยทางใบเมื่อกระเทียมมีอายุ 2 เดือน

เวลาผ่านไป จากวันปลูกถึงวันนี้ (29-12-55) ประมาณ 60 วัน จะมีการให้ปุ๋ยทาง
ใบกระเทียมครับ



รูป 1


รูป 2

รูปที่ 1 – 2 เวลาบ่ายแก่ ๆ วันที่ 29 ธันวาคม 55 อากาศครึ้มไปหน่อย ...ถึงเวลา
ที่จะให้ปุ๋ยกระเทียมทางใบ




รูป 3


รูป 4


รูป 5

รูปที่ 3 – 5 ลุงรัตน์เตรียมการผสมปุ๋ยทางใบ ผมก็ลืมถามไปว่า ใช้ปุ๋ยทางใบสูตรอะไร....




รูป 6


รูป 7


รูป 8


รูป 9


รูป 10


รูป 11


รูป 12

รูปที่ 6 – 12 ...เป็นขบวนการ ที่ผ่านการพ่นปุ๋ยทางใบเสร็จสิ้นแล้ว....(เพราะคน
ถ่าย ไม่ได้ถ่ายตอนกำลังพ่นปุ๋ยมาให้ซะด้วย)




รูป 13


รูป 14


รูป 15

รูปที่ 13 – 15 แทนที่จะพ่นเป็นละอองฝอย ๆ ... พ่นกันจนใบเปียกเป็นหยดน้ำ
แบบนี้เลย …ก็คงได้ผลเหมือนกันนะครับ ....

...เนื่องจาก คนส่งรูป มี Comments มาให้นิดหน่อย ผมจะขยายความเอง เกรง
จะผิดพลาด เพราะไม่มีความชำนาญเรื่องการปลูกกระเทียม คำบรรยายภาพจึงมี
น้อยไปหน่อย....




ยังมีต่อครับ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 03/04/2013 10:16 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 8 ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ....เพื่อนสมาชิกทุกท่าน

ตอนที่ 7...การเจริญเติบโตของกระเทียมมีอายุ 2 เดือน ครึ่ง

จากวันปลูกถึงวันนี้(19-1-56) กระเทียมของกะเหรี่ยงก็มีอายุ 2 เดือนครึ่งแล้ว เหลือเวลาอีกประมาณ 1 เดือนครึ่ง ก็จะเก็บผลผลิตได้ .....เรามาดูการเจริญเติบโตกันครับ


รูป 1


รูป 2


รูป 3

รูปที่ 1 – 3 ยามย่ำสนธยา เอ๋ย กาจะกลับคืนรัง ....ไร่กระเทียมที่ปาย ยามใกล้ค่ำย่ำสนธยา ขึ้นงอกงามใบเบียดกันแน่นแปลง ใบสูงเกือบถึงหัวเข่า




รูป 4


รูป 5


รูป 6


รูป 7

รูปที่ 4 – 7 ระยะ 2 เดือนครึ่ง กระเทียมเจริญงอกงามดี ดูจากรูปดูเหมือนต้นเตี้ย ความจริงต้นสูงเกือบถึงหัวเข่า

ผมมีความรู้สึกว่า ปลูกกระเทียม การดูแลรักษา ความเหนื่อยยาก มีความละเอียดอ่อนน้อยกว่าปลูกข้าว แต่รายได้ต่อไร่ก็ดีกว่าปลูกข้าว

ไร่นึงปลูกข้าว ได้สูงสุดก็ไม่เกิน 140 ถัง หรือประมาณ 1,400 กิโลกรัม ...จัดให้ไปเลยราคา กิโลกรัมละ 15 บาทเต็ม ๆ เท่ากับราคากระเทียม จะได้เงินเพียง 21,000 บาท แต่จะมีใครซักกี่คนที่สามารถปลูกข้าวได้ไร่ละ 140 ถัง แค่ 100 ถังก็หืดขึ้นคอแล้ว...ยิ่งถ้าได้ไร่ละ 100 ถัง หรือ 1,000 กก. X 15 ก็เท่ากับได้ไร่ละแค่ 15,000 บาทเท่านั้น

ในขณะที่ปลูกกระเทียม 1 ไร่ ขนาดฝีมือ NoName หน่อมแน๊ม ก็ได้ประมาณ 1.5 ตันหรือ 1,500 กก. ก็ยังได้เงิน 22,500 ถ้าได้ไร่ละ 2 ตันขึ้นไป ก็จะได้เงินถึงไร่ละ 30,000 บาทกว่า น่าสน น่าลองมั๊ยล่ะครับ




รูป 8


รูป 9


รูป 10


รูป 11


รูป 12


รูป 13


รูป 14

รูปที่ 8 – 14 ผมเคยบอกว่า ตามคันรอบแปลงกระเทียม กะเหรี่ยงจะปลูกพืชอย่างอื่นแซมไว้ด้วย อย่างในรูปชุดนี้ จะเห็นต้นมีใบหยัก ใบฝอย ๆ แล้วก็มีดอกขาว สวย น่ารัก สูงแข่งกับกระเทียม พอจะรู้มั๊ยครับว่าต้นอะไร ....ต้นผักชีไทยครับ ทำไมถึงปล่อยให้ออกดอก ต้นผักชีสดที่ปายราคาถูกครับ ทำไมถึงราคาถูก ก็พี่แกปลูกกันทุกบ้าน เค้าเลยปล่อยให้มีดอกเพื่อเก็บเมล็ด ตากแห้งแล้วขายเป็นลูกผักชี ซึ่งจะมีราคาแพงกว่าต้นและหลายเท่า ส่วนผักชี แจ๊คพอท จะมีราคา กก.ละ 200 ก็อยู่ประมาณ ไม่เกินครึ่งเดือนเท่านั้นเอง





รูปที่ 15 นอกจากปลูกผักชีริมแปลงแล้ว ยังมีผักกาดพื้นเมือง กินกับลาบดิบ อร่อยอย่าบอกใคร ..ผมเคยเอาเมล็ดมาหว่านที่นครปฐม ...ต้นกระจิ๋วหลิวยังกับยอดผัก เพราะ ดิน อากาศ และน้ำครับ บ้านผมดินเหนียว ปายดินร่วนปนทราย อากาศบ้านผมหน้าหนาวยังร้อน ที่ปายเย็นตลอดปี ขนาดหน้าร้อน ตอนเช้าที่ปายประมาณ 18 – 20 องศา ...เย็นกว่าห้องแอร์นะครับ ..ส่วนน้ำไม่ต้องพูด น้ำในแม่น้ำปายมาจากบนภูเขา ไหลผ่านตะกอนดิน ตะกอนแร่ธาตุต่าง ๆ ลักษณะเป็นน้ำแร่ เพราะอาบแล้วตัวมันลื่น ๆ พอตัวแห้งผิวมันจะเนียน นุ่ม แต่น้ำคลองบ้านผม ขุ่นเป็นน้ำโคลน ....




รูป 16


รูป 17


รูป 18


รูป 19


รูป 20


รูป 21

รูป 16 – 21 ดูความเจริญเติบโตของต้นกระเทียม น่าจะโตกว่าหัวแม่มือนะครับ ระยะนี้หัวยังไม่โตเต็มที่





รูปที่ 22 ต้นสัก ข้างแปลงกระเทียม ต้นโตเกือบคนโอบ มีคนมาขอซื้อ 10,000 ลุงรัตน์บอกว่า “บ่ฮู้ว่าจะเอาเงินมายะอะหยัง “





รูปที่ 23 ก่อนตะวันจะลับขอบฟ้า คุณเชื่อมั๊ยครับว่า ขณะที่ดวงตะวันยังทอแสงอยู่ อากาศก็ปกติธรรมดา พอตะวันลับเหลี่ยมเขาวูบลงเท่านั้นแหละ ความมืดจะค่อยครอบคลุมเข้ามา และอากาศเปลี่ยนจากร้อนเป็นเย็นทันทีเลยละครับ คนไม่เคยจะรู้สึก ตะครั่นตะครอ จะไม่สลายเอาน่ะนะ


ผ่านไปอีก 1 ชุด ยังมีต่อครับ...



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 15/04/2013 3:12 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 8 ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ....เพื่อนสมาชิกทุกท่าน

ตอนที่ 8... 27 มค.56 กระเทียมอายุ 82 วัน

ไปดูไร่กระเทียมของลุงรัตน์ กะเหรี่ยงจากสะเมิง มาปลูกกระเทียมที่ปาย กันต่อครับ ตามข้อมูลบอกว่า อากาศที่ปาย 27 มค. 56 เวลาประมาณ 8 โมงเช้า ปลายเดือนมกราคม ยังหนาวอยู่ครับ




รูป 1 ทางเข้าแปลงกระเทียม


รูป 2 ผ่านประตูรั้วไม้ไผ่เข้ามา อากาศยามเช้า หนาวเย็น แต่คนถ่ายรูปบอกว่าสดชื่นดีครับ



รูป 3 มองไปทางทิศเหนือ



รูป 4 มองไปทางทิศใต้...สนามบินปาย จะอยูเลยหลังกระต๊อบออกไป ปู๊นนนนน



รูป 5 มองไปทางไหนล่ะหว่า อ้อ ทิศตะวันตกครับ



รูป 6 มาอยู่กลางแปลงกระเทียม มองไปทางทิศเหนือ...เพราะแสงแดดยามเช้า มา
จากขวามือ ส่วนกองสีเหลือง ๆ แห้ง ๆ ทางซ้ายมือ คือกองปุ๋ยหมักจากกากถั่ว
เหลืองที่ฝดม่เอาเมล็ดออกแล้ว



รูป 7 มองไปทางทิศใต้ มีทิวไม้และดงไผ่กั้นบังลมให้หน่อยนึง



รูป 8 ความเจริยเติบโตของกระเทียมอายุ 82 วันครับ


รูปที่ 1 – 8 จากกระเทียมกลีบเล็ก ๆ เจริญงอกงามกลายเป็นต้น เวลาผ่านไป
เพียง 82 วัน ไม่น่าเชื่อว่าต้นจะสูงเลยหัวเข่า





รูป 9


รูป 10


รูป 11


รูป 12


รูป 13


รูป 14


รูป 15

รูปที่ 9 – 15 แต่ละต้นโตขนาดหัวแม่มือขึ้นไป ส่วนหัว(สด)โตประมาณ ลูกกอล์ฟ
(หัวแห้งแล้วจะเล็กลงก็จะโตประมาณ ลูกปิงปอง)...




รูป 16


รูป 17

รูปที่ 16 – 17 กะเหรี่ยงจะปลูกพืชอายุสั้นหลายอย่างแซมในแปลงกระเทียมเป็น
รายได้เสริม ในสองรูปนี้เป็นผักกาดพื้นเมือง ทำอาหารได้หลายอย่างกินได้ทั้งดิบ
และสุก กรอบ อร่อย




รูป 18


รูป 19

รูปที่ 18 – 19 ผักชีไทยครับ กะเหรี่ยงและคนพื้นเมืองทางเหนือ ไม่ค่อยนิยมกิน
ผักชีสด แต่ชอบที่จะปลูกผักชีเพื่อเก็บเมล็ดแก่ ตากแห้งแล้วขายเป็นลูกผักชี ซึ่ง
ได้ราคาดีกว่าขายผักชีสด




รูป 20


รูป 21

รูปที่ 20 – 21 รูปเมล็ดผักชีที่ยังอ่อนอยู่ครับ ซึ่งเมล็ดจะแก่ให้เก็บผลได้ก่อนการ
ถอนกระเทียม




รูป 22


รูป 23

รูปที่ 22 – 23 อันนี้เป็นผักพื้นเมือง ชื่อ ผักขี้หูดหรือถั่วขี้หูด ครับ ลวกจิ้มน้ำพริก
ผัดน้ำมันหอยกินกรอบอร่อยไม่แพ้ถั่วลันเตา ผมเอาเมล็ดมาปลูกที่นครปฐม งอก
แตกใบเบี้ยได้ไม่กี่วัน หงอย แล้วก็เหี่ยว เฉาตาย ..คงคิดถึงบ้านเกิดน่ะครับ อัน
เนื่องจากอากาศ ดิน น้ำ ครับ ปายหนาว นครปฐมร้อน




รูป 24


รูป 25

รูปที่ 24 – 25 เป็นแปลงข้าวโพดและแปลงกระเทียมของเจ้า โชเล่ เพื่อน
กะเหรี่ยงบนดอยที่บ้านวัดจันทร์ ลงมาอยู่ที่ปายเพื่อช่วยลุงรัตน์ปลูกกระเทียม


ขอท้าวความนิดนึง ในเกษตรสัญจร 1 และ 2 ผมเล่าให้ฟังว่า แม่เจ้าโชเล่ กับลุงรัตน์ เป็นกะเหรี่ยงอยู่สะเมิง เป็นเพื่อนและเป็นญาติกัน ลุงรัตน์มาได้เมียไทยใหญ่ที่ปาย แม่เจ้าโชเล่ได้ผัวคือพ่อหลวงส่างลองที่บ้านวัดจันทร์ สุดท้ายลุงรัตน์กับ พ่อหลวงส่างลอง พ่อเจ้าโชเล่ก็กลายมาเป็นเพื่อนซี้กันอีก...ลุงรัตน์บอกว่า ที่บ้านวัดจันทร์ปลูกกระเทียมไม่ค่อยได้ผลเพราะอากาศหนาวกว่าที่ปาย แต่ละปีก็ฝากกระเทียมไปให้เพื่อนกิน บ่อยเข้า ก็กลายเป็นความเกรงใจ แต่ละปีพอลุงรัตน์จะปลูกกระเทียม แม่ก็จะให้เจ้าโชเล่ลงมาช่วยปลูกกระเทียมเป็นการตอบแทน ลุงรัตน์ก็แบ่งที่ติดแม่น้ำปายให้เจ้าโชเล่ 2 ไร่ เพื่อปลูกกระเทียม ส่วนหนึ่งก็ได้ขาย ส่วนหนึ่งก็เอาไว้ขึ้นไปกินที่บ้านบนดอย(บ้านวัดจันทร์ ต้องขึ้นดอยสูงระยะทางจากปาย ไปอีก 75 กม.)..สังคมแห่งการแบ่งปันของชาวกะเหรี่ยง คิดไปอีกทีก้ดีเนาะ สูมาช่วยข้าปลูกกระเทียม ข้าก็แบ่งที่ให้สูปลูกเอง


เจ้าโชเล่โง่หรือฉลาด ไม่รู้ ลองติดตามอ่านดู ...
เจ้าโชเล่ได้แบ่งที่ 1 ไร่ ปลูกข้าวโพดเทียน และข้าวโพดข้าวเหนียวพื้นเมือง ลุงรัตน์เล่าให้ผมฟังว่า มันปลูกคนละรุ่น เพื่อไม่ให้เกสร ข้าวโพดเทียนกับข้าวโพดข้าวเหนียวปนกัน(มันโง่ หรือฉลาดวะ)...อีก 1 ไร่ปลูกกระเทียม....กระเทียมมีอายุ 120 วัน ข้าวโพดมีอายุประมาณ 65 วัน ระหว่างที่รอถอนกระเทียม จะปลูกข้าวโพดได้ 2 รุ่น ใช้เวลาประมาณ 130 – 150 วัน

ปลูกข้าวโพดและกระเทียม แทบไม่ต้องซื้อปุ๋ยใส่ เพราะได้กากถั่วเหลืองที่กองหมักเอาไว้ให้กลายเป็นปุ๋ยเอามาใส่ในแปลงข้าวโพดและแปลงกระเทียม พ่นแต่ยากันหนอนและกันเชื้อราไปรุ่นละ 2 ครั้ง ....เจ้าโชเล่ ต้มข้าวโพดขาย 5 ฝัก 20 บาท มีป้าคำเมียลุงรัตน์ช่วยต้ม ต้มโดยใช้ฟืน ลุงรัตน์บอกว่า เอาไปขายแถวถนนคนเดินได้สาม สี่วัน มีแม่ค้ามาขอรับซื้อหมด ขายข้าวโพดต้ม 2 รุ่นได้เงิน 4 หมื่นกว่าบาท ....โห เป็นได้ไง ...ก็ต้องถามลุงรัตน์ว่า ต้นหนึ่งมีกี่ฝัก ...แกบอกว่า 3 – 4 ฝัก ต้องลองคำนวณดูเล่น ๆ

เนื้อที่ 1 ไร่ = 1,600 ตร.เมตร ถ้าปลูกข้าวโพดห่างกันต้นละ 1 เมตร ก็จะได้ 1,600 ต้น ถ้าต้นละ 3 ฝักก็จะได้ 4,800 ฝัก ถ้าต้นละ 4 ฝัก ก็จะได้ 6,400 ฝัก หาค่าเฉลี่ยง่าย ๆ ก็คิดซะว่าหักฝักเสีย ฝักไม่ดี เหลือซักประมาณ 5,000 ฝัก ...5 ฝัก 20 บาท ...5,000 ฝักก็เป็นเงิน 20,000 เพราะฉะนั้น 2 รุ่น 40,000 ก็น่าจะเป็นไปได้ ....และเมื่อถอนกระเทียมเสร็จ แบ่งเก็บเอาไว้กินและเก็บไว้ทำพันธุ์ปีหน้า ที่เหลือขาย หักจ่ายค่าพันธุ์กระเทียมแล้วก็ยังมีเงินเหลืออีกจำนวนหนึ่ง เอาไปรวมกับเงินที่ขายข้าวโพดต้ม กับขายข้าวกล้องหอมนิล รวม ๆ แล้วก็คงจะได้หลายอยู่.... มิน่าล่ะ ชาชา ถึงบอกผมว่า เจ้าโชเล่ปลูกบ้านใหม่หลังน้อยๆ ได้หลังนึง ....




รูปที่ 26 กระท่อมน้อยของเจ้าโชเล่ที่บ้านวัดจันทร์ เอนกประสงค์เหมาะแก่การใช้สอย

ลุงคิมจะพูดอยู่บ่อย ๆ ว่า การปลูกพืชแซมในแปลงพืชหลัก แม้แต่หัวคันนา จะดีกว่าปล่อยให้หญ้าขึ้นรก และจะเป็นรายได้เสริมอีกด้วย ...


ยังมีต่อครับ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 01/05/2013 12:21 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 8 ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ....เพื่อนสมาชิกทุกท่าน

ตอนที่ 9... 10 กพ.56 กระเทียมอายุ 102 วัน

ระหว่างวันที่ 8 – 12 กุมภาพันธ์ 56 ผมขึ้นไปธุระที่ปาย เลยมีโอกาสได้เห็นไร่กระเทียมของลุงรัตน์ ...ซึ่ง ณ วันที่ 8 กุมภาพันธุ์ 56 กระเทียมของลุงรัตน์ มีอายุครบ 100 วันพอดี (กระเทียมที่สามารถจะถอนได้ จะมีอายุประมาณ 110 – 120 วันครับ)

วันที่ 10 กพ. 56 กระเทียมแปลงนี้มีอายุได้ 102 วัน ซึ่งลุงรัตน์บอกว่า อีกไม่เกิน 15 วัน ก็จะถอนได้แล้ว และวันนี้ ลุงรัตน์จะพ่นฮอร์โมนครั้งสุดท้ายเพื่อจะให้กระเทียมมีหัวโตมากขึ้น
(ปีหน้า คงต้องขอความเมตตาจากลุงคิมว่า....วิธีที่จะทำให้กระเทียมไทย หัวโตเท่ากระเทียมหัวขาวที่มาจากเมืองจีน [แต่กินไม่เป็นสับปะรด มด.] และมีน้ำหนักมาก ๆ จะทำอย่างไร โดยที่กลิ่นฉุนไม่จืดจาง จะเริ่มบำรุงตั้งแต่กระเทียมมีอายุซักกี่วัน)

............ไปดูไร่กระเทียมของลุงรัตน์ ที่ปาย กันต่อครับ



รูป 1


รูป 2

รูปที่ 1 – 2 เวลาประมาณ 9 โมงเช้า วันที่ 10 กพ.56 อากาศตอนเช้าที่ปาย คนที่ไม่ชินก็ว่าหนาวววว คนที่ชินก็จะบอกว่า สดชื่น เย็นสบาย หายใจได้เต็มปอดครับ





รูปที่ 3 ต้นกระเทียมก่อนพ่นสารอาหาร จะเห็นที่ลำต้นมีเศษละอองฝุ่นผงจับอยู่ ไม่ใช่เพลี้ยเกร็ดนะครับ แต่เป็นละอองเศษฝุ่นทรายที่กระเด็นไปถูกตอนพ่นปุ๋ยและยา





รูปที่ 4 เป็นเศษซากต้นข้าวโพด ถั่ว และพืชอื่น ๆ ที่ปลูกแซมในแปลงข้าวโพดของเจ้า โชเล่ ที่(ถูกแม่ไล่)ลงดอยจากบ้านวัดจันทร์ให้มาช่วยลุงรัตน์ปลูกกระเทียม ลุงรัตน์แบ่งที่ให้ 2 ไร่เพื่อปลูกกระเทียมเอาไว้กิน แต่เจ้าโชเล่ ปลูกกระเทียมแค่ 1 ไร่ อีก 1 ไร่ปลูกข้าวโพดเทียนพื้นเมือง....จะเห็นแปลงกระเทียมอยู่เหนือต้นไม้ไปทางมุมซ้ายมือ
จะบอกว่า กะเหรี่ยงหรือคนดอยยุคปัจจุบัน เค้าไม่โง่เผาพวกเศษธัญญพืชหรือเศษฟางกันหรอกครับ เพราะเค้ารู้ว่ามันเป็นปุ๋ยบำรุงดินอย่างดี





รูปที่ 5 แปลงข้าวโพดเทียนของเจ้าโชเล่ที่หักข้าวโพดไป(ต้มขาย)บ้างแล้ว




รูป 6


รูป 7

รูปที่ 6 – 7 จะเห็นว่าต้นกระเทียมระยะนี้เริ่มโทรม ปลายใบเริ่มเหี่ยว ลุงรัตน์บอกว่า ระยะนี้ให้ปุ๋ยบำรุงต้นไม่ได้แล้ว จะให้ได้เพียงสารอาหารเร่งหัวให้โต ใและห้ได้อีกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ...เรียกได้ว่า ผม(เจตนา)มาได้เห็นทันเวลาพอดี ...





รูปที่ 8 ....ป้าคำ..ขวัญใจลุงรัตน์ ที่สามารถทำให้ลุงรัตน์ กะเหรี่ยงหนุ่มจากสะเมิง ทิ้งงาน ทิ้งรถแลนด์โรเวอร์ ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ไว้ที่เหมืองแร่ฟลูโอไรด์ ก่อนถึงบ้านวัดจันทร์ ติดตามป้าคำสาวไทใหญ่มาตั้งรกรากอยู่ที่ปาย เมื่อสามสิบปีก่อนโน้น....

โปรดสังเกตความสูงของต้นกระเทียม(จากกลีบเล็ก ๆ) ขนาดป้าคำนั่งชันเข่าอยู่บนหลังร่องแปลงกระเทียม...ต้นกระเทียมยังสูงเลยหัวเข่า
ในรูปนี้ป้าคำกำลัง ถอนกระเทียมโทนออกจากแปลงกระเทียม เตรียมจะเอาไปดองน้ำผึ้ง ...กระเทียมโทนดองน้ำผึ้ง สูตรไทใหญ่อร่อยมากจริง ๆ ครับ





รูปที่ 9 ...ป้าคำกำลังเตรียมไป ตานขันข้าว(เอาสำรับกับข้าวไปทำบุญ)ที่วัดเมื่อวันสงกรานต์ 15 เมย.56 ยืนข้างรถ โต..ต้า วีออส คันใหม่ หลังขายกระเทียม...ป้าคำบอกว่า เก็บฮอมกำน้อย ๆ (เก็บออมทีละน้อย ๆ )มาหลายปีแล้วเจ้า ....คนบนดอยซื้อรถต้องซื้อเงินสดครับ ถึงจะมีบัตรประชาชนแต่ ไม่มีเงินเดือนประจำ ไม่สามารถผ่อนรถได้ ....แต่ปัจจุบัน K-Bank กสิกรไทยสาขาปาย ประกาศว่า ทุกคนที่มีบัตรประชาชนเป็นคนไทย สามารถทำธุรกรรมการเงินได้ทุกอย่าง แบบนี้ เงินฝากจากคนดอยจะไปอยู่กับแบงค์ไหนล่ะครับ




รูป 10


รูป 11


รูป 12

รูปที่ 10 – 12 ท่อและเครื่องสูบน้ำ ที่ลุงรัตน์ใช้สูบน้ำจากแม่น้ำปายขึ้นมาให้น้ำกระเทียม แต่วันนี้สูบขึ้นมาเพื่อใช้ผสมสารอาหารบำรุงหัวกระเทียมครับ





รูปที่ 13 ถังน้ำ 200 ลิตร ผสมธาตุอาหารรอง แคลเซี่ยม(CaO) 500 ซีซี ผมก็สงสัยว่า ทำไมน้ำที่ผสมแล้วจึงมีสีขาว ....ลุงรัตน์บอกว่า เอานมวัวสด ๆ จากเต้าผสมลงไปด้วย 2 ลิตร ว๊าววววว ....CaO + นมสด....ลุงคิมแอบมาบอกสูตรผสม นมสด ให้กะเหรี่ยงตั้งแต่เมื่อไหร่ครับเนี่ย....หรือบอกฝากผ่านใครมา ...




รูป 14


รูป 15

รูปที่ 14 – 15 ฮอร์โมนที่ลุงรัตน์ใช้พ่นกระเทียมครั้งสุดท้ายเพื่อให้หัวกระเทียมโตขึ้น ...ผมดูข้างกล่อง เค้าเขียนว่า ธาตุอาหารสำเร็จรูปสำหรับพืชหัว ...ในขวด 500 ซีซี มีปริมาณธาตุอาหารรอง คือ แคล เซี่ยม (CaO) 10.5 % .....เจ้า แคลเซี่ยมอ๊อกไซด์ ทำให้กระเทียมหัวโตขึ้นได้อย่างไรครับลุง .....แล้วถ้าเป็น แคลเซี่ยม-โบร่อน + อีก 14 ธาตุเสริมล่ะครับ จะเป็นฉันใด ฤา ...





รูปที่ 16 อุปกรณ์และเครื่องมือในการใช้พ่นสารอาหาร ลุงรัตน์บอกว่า งานนี้ใช้พ่นสองถัง (400 ลิตร)ครับ




รูป 17


รูป 18


รูป 19

รูปที่ 17 – 19 เป็นกรรมวิธีในการพ่นสารอาหารให้กระเทียมครั้งสุดท้ายสำหรับฤดูกาลนี้





รูปที่ 20 ผักชีไทยในแปลงกระเทียมกำลังออกดอก รอเพื่อจะเก็บเมล็ด





รูปที่ 21 ผักขี้หูด ลักษณะฝักคล้ายถั่ว ต้มจิ้มน้ำพริก ผัดมันหอย แกงส้ม กรอบอร่อยครับ





รูปที่ 22 ผักกวางตุ้งลีซอ กลิ่นฉุนคล้าย วาซาบิ แต่กลิ่นอ่อนกว่า กินดิบ รสแปร่ง ๆ จะออกซ่า ๆ ที่ลิ้น แต่ต้มแล้วเป็นอย่างไรไม่ทราบครับ





รูปที่ 23 ผักกวางตุ้งครับ คนเหนือชอบกินดิบ ๆ กินกับลาบและน้ำพริกทุกอย่าง ...เช่นน้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกตาแดง น้ำพริกแมงดา น้ำพริกมะกอก น้ำพริกปลาจี่(น้ำพริกปลาย่าง) .....ครับ





รูปที่ 24 ผักตำปืน หรือ ผักคึ่นไช่ แต่กลิ่นฉุนกว่าผักคึ่นไช่บ้านเราครับ





รูปที่ 25 หลังเสื้อเขียนว่า บ้านโฮ่ง # 15 นั่งหันหลังปลงอนิจจังแบบนี้ จะเป็นใครไปไม่ได้ ....เจ้าโชเล่ กำลังฝันหวานมองดูแปลงกระเทียม กับแปลงข้าวโพดเทียน ....กระเทียมของเจ้าโชเล่ยังไม่แก่ถึงคราวจะพ่นสารเร่งหัวโตได้ เพราะปลูกทีหลังลุงรัตน์ คงต้องรอไปอีกซักระยะนึง




รูป 26


รูป 27

รูปที่ 26 – 27 กองเปลือกและต้นถั่วเหลืองที่โม่เอาเมล็ดไปแล้วเมื่อปีก่อน จะกองทิ้งเอาไว้เพื่อให้ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยหมักอย่างดี ...ถ้าลูกสาวจะใช้ปุ๋ยหมักเอาไปใส่ต้นไม้ก็เอากระสอบมาโกยจากกองนี้แหละครับ ...แปลงกระเทียมลุงรัตน์อยู่ห่างจากบ้านพักประมาณ 100 เมตรเศษ




รูป 28


รูป 29

รูปที่ 28 - 29 ป้าคำบอกว่า ตรงนี้แหละ ดงกระเทียมโทนทั้งนั้นแหละ สาระหรือ ไฮน์ไลท์ ที่ลุงคิมเคยบอกให้ผมหาเรื่องกระเทียมโทนก็อยู่ตรงนี้
และนี่คือคำตอบสุดท้ายครับ

อันว่ากระเทียมโทน ไม่สามารถทำให้เป็นกระเทียมโทนได้ด้วยกรรมวิธีใด ๆ จะเกิดเองตามธรรมชาติ สาเหตุที่เกิดคือ ดินบริเวณตรงนี้ เป็นดินปนทรายจัด มีแต่ทรายมากกว่าดิน กระเทียมที่ปลูกในดินลักษณะแบบนี้จะไม่เจริญแตกกอ ต้นจะเล็ก จะมีหัวเดียวโดด ๆ ก็จะกลายเป็นกระเทียมหัวเดียว หรือกระเทียมโทน เพราะดินแบบนี้มันไม่มีสารอาหารที่จะทำให้กระเทียมแตกกอ และทุกปี ถ้าปลูกกระเทียมตรงบริเวณนี้ แม้จะใส่ปุ๋ย ใส่สารอาหาร ก็ไม่มีผล ...กระเทียมบริเวณนี้ 80 % จะกลายเป็นกระเทียมโทนเกือบทั้งหมด
แล้วจะปลูกทำไม ไม่ได้ตั้งใจปลูก มันเป็นเอง เมื่อเป็นแล้วก็เก็บไว้กินหรือไว้ขายต่างหาก เพราะราคาดีกว่าขายรวมกับกระเทียมหัวเพราะพ่อค้าตีราคาให้ราคาเท่ากัน




รูป 30


รูป 31


รูป 32


รูป 33


รูป 34


รูป 35

รูปที่ 30 – 35 มาดูกันครับว่าจริงหรือไม่... บริเวณนี้ ถอนขึ้นมากี่หัวก็จะเป็นกระเทียมโทนเกือบจะทุกหัว...แต่ยังถอนไม่ได้เพราะยังแก่ไม่เต็มที่ นอกจากจะถอนเอาไปทำกระเทียมดอง





รูปที่ 36 กระเทียมเต็มหัวกับเหรียญ 10 บาท





รูปที่ 37 กระเทียมโทน กับกระเทียมหัว ที่มีความแก่ประมาณ 80 % ยังถือว่า อ่อนเกินไปที่จะถอนมาใช้ แม้จะเอามาตากให้แห้ง จะเก็บได้ไม่นานก็จะ ฟ่าม เหลือแต่เปลือก เนื้อจะหายหมด ผมถอนขึ้นมาเพื่อเปรียบเทียบกันให้ดูครับ... และกระเทียมลักษณะนี้ กลิ่นไม่ฉุน





รูปที่ 38 เปรียบเทียบกับกระเทียมที่แห้งแล้ว ซึ่งหัวโตใกล้เคียงกัน ดังนั้น กระเทียมสดที่แก่จัดจะต้องโตกว่ากระเทียมแก่ที่แห้งแล้ว





รูปที่ 39 ลองวัดขนาดของ หัว เทียบกันดู ....แบบนี้ที่บ้านผมก็กินแต่กระเทียมจากปายซีนะ....ใช่แล้วครับ เค้าฝากมาให้ผมทุกปี ทั้งแห้ง ทั้งดองน้ำผึ้ง





รูปที่ 40 โบราณท่านกล่าวว่า ช้างเผือกย่อมอยู่ในป่า เป็นจริงเสมอ กล้วยไม้สกุลช้างต้นที่ออกดอกอยู่นี้ คือกล้วยไม้ช้างเผือก ดอกสีขาว ก็ได้จากในป่าเอามาปลูกที่บ้านพัก มีกลิ่นหอมด้วยนะครับ



ยังมีต่ออีกครับ...
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 12/06/2013 9:18 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 8 ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ....เพื่อนสมาชิกทุกท่าน

ตอนที่ 10... 23 กพ.56 กระเทียมอายุ 115 วัน ได้ฤกษ์ถอนกระเทียม (ครั้งที่ 1)



ผมหยุดการนำเสนอข้อมูลชุดนี้ไปนานเดือนเศษ มาดูกันต่อครับ....



รูปที่ 1 อรุณเบิกฟ้า 23 ก.พ. 56 ได้ฤกษ์ถอนกระเทียมครั้งที่ 1 แล้วครับ





รูปที่ 2 บรรยากาศแม่น้ำปายยามเช้า ข้างไร่กระเทียมลุงรัตน์ครับ





รูปที่ 3 ดวงตะวันแอบหลังทิวไม้ ดอกเหลือง ๆ ที่เห็นคือ "ดอกฝ้ายคำ" ครับ





รูปที่ 4 แม่น้ำปายอีกมุมมองหนึ่ง มองจากไร่กระเทียมครับ





รูปที่ 5 รูปนี้เป็น "ดอกพยัพหมอก" ครับ สีม่วงอ่อน มองแล้วมีความรู้สึกว่ามันเศร้า ๆ ซึม ๆ ยังไงบอกไม่ถูก





รูปที่ 6 ช่างภาพมัวแต่ไปถ่ายรูปวิว ทางไร่กระเทียมเค้าลงมือ (ลงแรง) ถอนกันไปแยะแล้ว ป้าคำใส่หมวกยืนท้าวสะเอว บัญชาการถอนอยู่....ถอนเวย ๆ เน๊อ ห้ามอู้ ไผอู้ยะก่านจ๊า ตั๊ดค่าแฮง อ๊ดกิ๋นข้าวตอนเน้อ (ถอนไว ๆ นะ ห้ามอู้ ใครทำงานช้า ตัดค่าแรง อดกินข้าวกลางวันนะ)




รูป 7





รูป 8





รูป 9

รูปที่ 7 – 9 ต่างคนต่างก้มหน้าก้มตาถอนอย่างขะมักเขม้น ..มีคุยกันมั๊ย....โห..ลงจับกลุ่มกันได้แบบนี้ ไม่ใช่คุยแบบธรรมดาหรอกนะ ตั้งวงนินทากันเลยแหละ





รูปที่ 10 ถอนแล้วก็เรียงไว้แบบนี้ครับ เพื่อสะดวกกับคนมัดกำ





รูปที่ 11 จากนั้นก็จะมีอีกคนหนึ่งมาจับรวมมัดเป็นกำ ๆ กรุณาสังเกตว่า จากหัวกระเทียม ถึงปลายยอดแต่ละต้นมันยาว (สูง) แค่ไหน...ยาวประมาณ 70 ซม. สูงเลยเอวละครับ




รูป 12




รูป 13




รูป 14




รูป 15




รูป 16




รูป 17




รูป 18

รูปที่ 12 – 18 เมื่อมัดกำเสร็จ ก็จะต้องหาบเอาไปรวมกองเพื่อบรรทุกรถ กรรมวิธีในการหาบก็คล้ายกับหาบกล้าข้าวเพื่อเอาไปดำนา ในรูปจะเห็นลุงรัตน์ ใช้ไม้คานแทงกำกระเทียมข้างหนึ่ง แล้วแทงอีกข้างหนึ่ง พร้อม ๆ กับต้องรีบตะหวัดเหวี่ยงขึ้นบ่าทันที ต้องใช้ความเร็วและความชำนาญนะครับ เพราะกระเทียมสดมันหนักครับ พอขึ้นบ่าได้ก็เดินตัวปลิว




รูป 19




รูป 20




รูป 21

รูปที่ 19 – 21 คนที่หาบไม่ไหวก็ใช้บรรทุกรถเข็นแล้วลากเอา ก็ไม่ผิดกติกานะครับ จากนั้นก็เอามากองรวมไว้เพื่อรอลำเลียงขึ้นรถ






รูปที่ 22 หัวกระเทียมที่ถอนขึ้นมาสด ๆ ก็เป็นแบบนี้ครับ




รูป 23




รูป 24




รูป 25




รูป 26




รูป 27

รูปที่ 23 – 27 เป็นกรรมวิธีในการลำเลียงกระเทียมขึ้นรถ และจัดเรียงบนรถปิ๊คอัพครับ





รูปที่ 28 ...เป็นไงครับเห็นวิธีการเรียงกระเทียมบนรถหรือยัง ต้องใช้ฝีมือและความชำนาญ น้ำหนักอย่างน้อย ๆ ก็ 3 ตันกว่า จากนั้นก็ขับขึ้นเขา ลงดอย ตามเส้นทางเขาลงมาพื้นราบระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร .. 178 โค้ง เข้าโกดังที่ อ.แม่ริม เชียงใหม่ ด้วยน้ำหนักบรรทุกกว่า 3 ตัน คนไม่ชำนาญเส้นทาง ทำไม่ได้แน่ ๆ ครับ

ยังมีต่อจ้า


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 12/06/2013 9:34 am    ชื่อกระทู้: Re: เกษตรสัญจร 8 ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

DangSalaya บันทึก:



จากนั้นก็ขับขึ้นเขา ลงดอย ตามเส้นทางเขาลงมาพื้นราบระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร .. 178 โค้ง เข้าโกดังที่ อ.แม่ริม เชียงใหม่





โค้งอะไรเยอะแยะ (วะ....) ก. เห็นมีแค่ 2 โค้ง ... โค้งซ้าย กับ โค้งขวา เท่านั้นแหละ...


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 12/06/2013 10:01 am    ชื่อกระทู้: Re: เกษตรสัญจร 8 ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
DangSalaya บันทึก:



จากนั้นก็ขับขึ้นเขา ลงดอย ตามเส้นทางเขาลงมาพื้นราบระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร .. 178 โค้ง เข้าโกดังที่ อ.แม่ริม เชียงใหม่





โค้งอะไรเยอะแยะ (วะ....) ก. เห็นมีแค่ 2 โค้ง ... โค้งซ้าย กับ โค้งขวา เท่านั้นแหละ...


.


อุ๊ย อะไรกันครับลุงยังมี โค้งหน้า โค้งหลัง แล้วก็ ..โก้งโค้งอีกล่ะ ลืมแล้วหรือครับ
(กระเทียมกะเหรี่ยง ฝ่อหมดแล้วมั๊ง)

ใกล้จะจบแล้วครับ ยังเหลืออีก 2 Shot ...แต่ที่กล้อมแกล้ม ยังอีกยาวววววว.



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 12/06/2013 8:25 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 8 ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ....เพื่อนสมาชิกทุกท่าน

ตอนที่ 11... ถอนกระเทียม ชุดที่ 2


ไปดูรูปกันต่อเลยครับ




รูปที่ 1 ป้าคำหิ้วพวงกระเทียมโทน แปลงนี้ 80 % เป็นกระเทียมโทน ต้องถอนแยกไว้ต่างหาก เพื่อตากแห้งขายเป็นกระเทียมโทนแห้ง จะได้ราคาดีกว่าขายสดรวมกับกระเทียมกลีบ




รูป 2




รูป 3




รูป 4




รูป 5

รูปที่ 2 – 5 ต่างคนต่างก้มหน้าก้มตาถอน ...ตอนเช้าที่เริ่มถอนใหม่ ๆ อากาศยังสดชื่นเย็นสบาย เสียงคุยกันแซ่ด พอตกตอนสาย แดดจัด อากาศร้อน เสียงคุยค่อย ๆ เงียบหายไป นาน ๆ จะมีเสียงบ่นว่า “ ฮ้อนแต๊ ฮ้อนบอด” ...(ร้อนอะไรกันนักกันหนา)...




รูป 6




รูป 7




รูป 8




รูป 9




รูป 10




รูป 11




รูป 12




รูป 13

รูปที่ 6 – 13 ถอนแล้ว มัดกำ ขนมารวมกอง รอขนขึ้นรถ





รูปที่ 14 วิธีการจัดเรียงบนรถก็ทำเหมือนเดิม

ก็เป็นอันว่า จบกระบวนการกระเทียม ตั้งแต่เริ่มปลูก จนถึงวันเก็บเกี่ยวผลผลิตวันที่ 26 กุมภาพันธุ์ 2556 เนื้อที่ 7 ไร่ได้กระเทียมหัว 10 ตันเศษ เก็บไว้ทำพันธุ์ 2 ตัน ขาย 8 ตัน - 8,000 กิโลกรัม x กก.ละ 15 บาท(ราคาเท่ากับข้าวราคาจำนำเลยว่ะ) = 120,000 ค่าขายกระเทียมโทนแห้งอีก 20,000 รวมเป็น 140,000 หักค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าน้ำมันรถ ค่าจ้างคนถอน 25,000(ต้นทุนตกไร่ละ 3,571.43 บาท)ในระยะเวลา 4 เดือน เหลือเงิน 115,000 .....
กระเทียมส่วนที่เกินจาก 10 ตัน ลุงรัตน์ - ป้าคำ เอาแจกญาติสนิทมิตรสหายตามควรแก่กรณี ผมยังได้รับฝากมาให้ถึงนครปฐม ครึ่งกระสอบปุ๋ย

จากนี้ก็รอที่จะปลูก ถั่วเหลือง เพื่อบำรุงดินต่อไป ... จะปลูกข้าวได้มั๊ย ........ถ้าจะปลูกกระเทียมต่อ ปลูกข้าวไม่ได้ครับ .....ดินปลูกกระเทียมแล้วปลูกข้าว ปลูกได้ แต่จะกลับมาปลูกกระเทียมอีก ไม่ได้ กระเทียมจะไม่ลงหัว ....



ยังมีต่อครับ....
.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 12/06/2013 8:49 pm    ชื่อกระทู้: Re: เกษตรสัญจร 8 ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

เว้บนี้ ที่นี่....สอนให้คิด วิเคราะห์ และเปรียบเทียบ...


DangSalaya บันทึก:



ภูมิปัญญาหรือทัศนคติ ในการใช้พื้นที่ของเกษตรกรไทยภูเขา...



รูป 10

แปลงปลูกเป็นพื้นราบธรรมดาๆ คันดินที่เห็นนั่นเป็นคันนาตอนทำข้าว

ทำแปแลงแบบนี้ดี ประหยัดสุดๆ ใช้เนื้อที่ได้สูงสุด เตรียมดินบำรุงดินให้กระเทียม
แล้ว เหลือตกค้างในดินให้ข้าวได้อีกด้วย

ทำแปลงแบบภาคกลาง ต้องยกแปลงสันลูกฟูก บางแปลงน้ำหล่อใช้เรือแล่นรดน้ำ
นอกจากเสียเนื้อที่แล้ว ยังเสียค่าใช้จ่ายเรือรดน้ำอีกด้วย


รูป 11




---------------------------------------------------------------------------------------


ภูมิปัญญาหรือทัศนคติ ในการใช้พื้นที่ของเกษตกรไทยภาคกลาง....


ติดสปริงเกอร์แล้ว น้ำในร่องเอาไว้ทำไม เอาพื้นที่มาปลูกผักชีได้พื้นที่เพิ่ม เดินบน
พื้นน่าจะสะดวกกว่าพายเรือมั้ง....




- เสียพื้นที่ปลูกผักมั้ย ?
- เรือรดน้ำ ต้นทุน (น้ำมัน เวลา แรงงาน) สูงกว่าสปริงเกอร์มั้ย ?
- ติดสปริงเกอร์ + หม้อปุ๋ยหน้าโซน ปล่อยสารสมุนไพร เช้ารอบ-ค่ำรอบ พอสู้ศัตรูพืชไหวมั้ย
- ติดสปริงเกอร์ครั้งแรกครั้งเดียว อยู่ได้ 20-30 ปี คุ้มกว่ามั้ย ?
- ประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน เหนือกว่าเรือรดมั้ย ?


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/06/2013 5:46 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 12/06/2013 10:52 pm    ชื่อกระทู้: Re: เกษตรสัญจร 8 ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
DangSalaya บันทึก:




---------------------------------------------------------------------------------------










โห...ลุงครับ สองรูปนี้ ก่อนน้ำท่วมเมฆ ที่ประชา พรหมนอก บอกว่า เอาอยู่
ตรงจุดนี้ น้ำมิดหัว....ลุงเอามาสะกิดแผลเก่ากันอีก

ความจริงรูปชุดน้ำท่วมเมือง ผมมีเป็นกะตั๊ก เฉพาะบริเวณบ้านและสวนของผมที่จมอยู่ใต้บาดาลนาน สองเดือนครึ่ง ที่สามารถถ่ายรูปมาได้นะ ไม่เกี่ยวกับคนอื่น

ตอนโน้น เคยคิดจะนำลงในเว็ปลุง ก็เกรงจะถูกหาว่า โอดครวญ ใคร ๆ เค้าก็โดนกันทั้งนั้น ....ถึงจะโอดครวญยังไง ทั้งชดเชยค่าต้นไม้จมน้ำตาย.. ทั้งค่าของในบ้านเสียหาย รวมยอดเบ็ดเสร็จ .. ก็ได้มาแค่ 9,000 เท่านั้นแหละ ...พวกที่ใช้ยาสีฟัน ใกล้ชิด ได้กันคนเป็นหมื่นสองหมื่น ...เงิน 9,000 เอามาทำอะไร...เปลี่ยนโถส้วมใหม่พร้อมค่าแรงซีครับ เขียนชื่อ นามสกุล เทศตูมติดไว้ใต้ฐานทุกคนแหละ นั่งขี้รดมันทุกวันจนกว่าชีวิตจะหาไม่....

....แต่เวลาผ่านมาปีกว่าแล้ว หากจะเอามาลงคงไม่เป็นไรแล้วมั๊งครับ ขอเปิดกระทู้ใหม่แล้วกัน คนรุ่นหลังที่ไม่เคยโดนจะได้เห็น ....ปี 54 น้ำเต็มเชื่อน ฝนตกมากเขื่อนจะพัง ประชาบอก ต้องเปิดเขื่อนให้น้ำท่วมจึงเอาอยู่ ....ปี 55 ปลอดประสพการบอก น้ำไม่ท่วมแน่ มันสั่งเปิดน้ำซะแทบจะหมดเขื่อน จนไม่มีน้ำทำนาปรัง ...เรียกว่า เก่งทั้งคู่

ลองมาดูหลังน้ำท่วมพัดผ่านนะครับ


รูป 1


รูป 2

รูปที่ 1 - 2 จากสวนผักชีฝรั่ง ข้างบน ...สองเดือนครึ่งที่จมอยู่ใต้น้ำ เช้าวันที่ 18 มค 55 น้ำลดพอเดินสำรวจได้ ...สวนผักชี 7 ไร่ ก็มีสภาพเป็นแบบนี้




รูป 3




รูป 4




รูป 5

รูปที่ 3 - 5 วันที่ 19 มค 55 ลุยเก็บซากต่าง ๆ เก็บซาแรนมากอง

อย่างไรก็ตาม จากที่เห็นนี้ ผมก็เปลี่ยนสภาพจากสวนมาทำนา จากที่ไม่เคยทำมาก่อนในชีวิต ก็ทำมาได้ 2 รุ่น รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 3 อายุข้าวได้ 85 วันแล้ว...7 ไร่ได้ข้าวไม่มาก แต่หากจะทำข้าวหอมนิล สีเป็นข้าวกล้อง คงพอไปได้นะครับ





รูปที่ 6 เศษซากวัสดุที่ลอยตามน้ำมาติดที่สวน มีทั้งหัวเตียง ถุงเสื้อผ้า เสื้อนอก เสื้อใน สีแดงซะด้วย ถามหาเจ้าของทั่วหมู่บ้าน ไม่มีใครรับเป็นเจ้าของ




รูป 7




รูป 8

รูปที่ 7 - 8 มะม่วงสายพันธุ์ใหม่อายุ 25 ปี หลังแช่น้ำอยู่ 2 1/2 เดือน
ถ้ามีแบบนี้อีก จะเรียกใบอ่อน เปิดตาดอกได้มั๊ยครับลุง





รูปที่ 9 ช่วงที่น้ำท่วมจะทำอาหารกินแต่ละครั้งแสนจะลำบาก จริง ๆ ถ้าเป็นคนระยองเค้าจะบอกว่า ระวังน้ำท่วม ฮิ...





รูปที่ 10 ถุงยังชีพที่ได้รับแจก ก็มีแบบเนี้ย ...เฮ้อ กว่าจะกินหมด เหนื่อยครับ เนื้อมันเหนียวน่ะ





รูปที่ 11 อาหารสามมื้อระหว่างน้ำท่วม ปลานึ่ง ปลาทอด ปลาเผา ยังไม่ได้ลองปลาดิบ เบื่อปลามาจนถึงทุกวันนี้ ยังดีที่ตอนนั้นมี MAY กับ คลอสเตอร์ติดบ้านอยู่ อย่างละสองลัง ก็พอกล้ำกลืนฝืนกินไปได้่บ้าง




รูป 12




รูป 13

รูปที่ 12 - 13 ..คืนวันที่ 21 พย.54 ทาง กทม.โทรไปบอกว่า โยม(พ่อ)เข้า ไอซียู เช้าวันที่ 22 พย.54 ออกจากบ้าน 6 โมงเช้า มาถึงศาลายา เกือบ 9 โมงเช้าระยะทาง 10 กม.ใช้เวลา 3 ชั่วโมง เห็นรถคันนี้ลุยน้ำที่หน้าทางเข้ามหิดลหน้า สน.ตำรวจ ศาลายา ...เข้าใจคิดดัดแปลง จะโหลดสูง โหลดเตี้ยทำได้หมด ลุยน้ำได้สบาย แต่ลุยไฟคงไม่ได้

จะเข้ากรุงเทพฯ ต้องนั่งรถไฟอย่างเดียว ไปถึง สน.ธนบุรี ต่อรถมา วงเวียนใหญ่ ไปถึงบ้านโยม 17.00 น. อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วก็ไปดูโยมที่โรงพยาบาล 3 วันหมอให้พ่อกลับบ้าน

ความจริงพ่อ(ตอนนั้น)ไม่ได้เป็นอะไรร้ายแรงถึงจะต้องเข้าห้องไอซียู พวกน้อง ๆ หลาน ๆ(ลูกผม) ไม่รู้จักถามหมอ ...ผมไปถึงก็ถามหมอว่า พ่อผมเป็นอะไรนักหนาถึงต้องเข้าห้อง ฉันเห็นเธอ ...หมอบอกว่า เป็นไข้ธรรมดา แต่พ่อผมมีเสมหะติดหลอดลมมาก หายใจไม่ค่อยสะดวก เครื่องดูดเสมหะที่อยู่นอกห้องแรงดูดน้อย เครื่องในห้องนี้แรงกว่า เลยเอาคุณตาเข้่ามาเพื่อใช้เครื่องดูดเสมหะ เท่านั้นเอง เฮ้อ โล่งอก ...เลยเฉ่งปี๋น้อง ๆ หลาน ๆ ซะเต็ม ๆ พวกเอ็งมีปากเอาไว้ดีแต่พูดไม่เป็นเรื่อง เอาไว้กินเสียของ ทำเอาข้าต้องลุยน้ำ ข้ามเรือ ต่อรถไฟ มาเนี่ยนะ...น้องสาวบอกว่า ก็ไม่ดีเหรอที่ได้มาดูพ่อ.....เออ จริงของมัน เถียงมันไม่ขึ้น สำหรับพ่อ ต่อให้บุกน้ำลุยไฟ อยู่ถึงไหนก็ต้องไปละนะ...

เพื่อนสมาชิกอย่าลืมนะครับ เกิดมีญาติโยมเจ็บป่วย ต้องถามหมอครับว่า ญาติผมเป็นอะไร หนักหนาสาหัสแค่ไหน ไม่ใช่พาไปส่งแล้วนั่งร้องไห้รอ ใจคอไม่ดี ไม่รู้ว่าญาติเราเป็นอะไร ถ้าเป็นอะไรไม่หนักหนานัก คนที่มีธุระจะได้ไปทำธุระได้






รูปที่ 14 ผมคิดว่าน้อยคนนักที่จะได้เห็นรูปนี้....เห็นทีไรมันตื้นตัน จุกแน่อยู่ที่หน้าอก น้ำตาซึมทุกที ใครจะคิดว่า พระองค์จะทรงลุยน้ำลงไปแบบนี้ แถมคาบบุหรี่ซะด้วย....บุหรี่ ราชาศัพท์ว่าอะไรหว่า ...อ้อ พระโอสถมวน ...

ขวัญ และกำลังใจ สุด ๆ ของที่สุดเลยครับ.....ข้า วรพุทธเจ้า เอามโนและศริระการ....ฯ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน....



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 13/06/2013 5:07 pm    ชื่อกระทู้: Re: เกษตรสัญจร 8 ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[quote="kimzagass"].

เว้บนี้ ที่นี่....สอนให้คิด วิเคราะห์ และเปรียบเทียบ...


DangSalaya บันทึก:



ภูมิปัญญาหรือทัศนคติ ในการใช้พื้นที่ของเกษตรกรไทยภูเขา...



รูป 10

แปลงปลูกเป็นพื้นราบธรรมดาๆ คันดินที่เห็นนั่นเป็นคันนาตอนทำข้าว

ทำแปลงแบบนี้ดี ประหยัดสุดๆ ใช้เนื้อที่ได้สูงสุด เตรียมดินบำรุงดินให้กระเทียม
แล้ว เหลือตกค้างในดินให้ข้าวได้อีกด้วย

ทำแปลงแบบภาคกลาง ต้องยกแปลงสันลูกฟูก บางแปลงน้ำหล่อใช้เรือแล่นรดน้ำ
นอกจากเสียเนื้อที่แล้ว ยังเสียค่าใช้จ่ายเรือรดน้ำอีกด้วย




รูป 11


.............................
--------------------


(1)




(2)




(3)

รูป (1) - (3) ทำนารุ่นที่ 3 ผม(เจ๊ใหญ่) ก็ทำคันนาเตี้ย ๆ แบบกะเหรี่ยงนั่นแหละ
ขนาดขึงเชือกให้แล้วนะยังคดเป็นงูเลื้อย...ตอนแกทำเสร็จขึ้นมาดู....
...ไอ้ทิด ทำไมมันคดเป็นงูเลื้อยแบบนี้วะ ...
....เอ๊า...จะรู้ได้ไง ฉันไม่ใช่คนทำ...ฉันขึงเชือกให้เจ็ใหญ่แล้วนา ...
เสือ 11 ตัวยังไม่หมดฤทธิ์ครับ ...





---------------------------------------------------------------------------------------


ภูมิปัญญาหรือทัศนคติ ในการใช้พื้นที่ของเกษตกรไทยภาคกลาง....


ติดสปริงเกอร์แล้ว น้ำในร่องเอาไว้ทำไม เอาพื้นที่มาปลูกผักชีได้พื้นที่เพิ่ม เดินบนพื้นน่าจะสะดวกกว่าพายเรือมั้ง....

แหมลุงก็ ...ลุงจะให้ผมทำยังไงล่ะ ก็มันขุดร่องไปก่อนแล้ว มาเปิดฟังรายการลุงทีหลังว่าให้ติดสปริงเกลอร์อ่ะ ก็ต้องมาติดทีหลังซีครับ จะกลบร่องก็ไม่ได้เพราะเอาดินขึ้นทำสันร่องหมด แล้ว ผบ.ทบ. เอาปลาหลายอย่างมาปล่อยไปแล้วอีกด้วย ขืนกลบร่องตอนนี้ มีหวังหน้าผมกลายเป็นปลาจวดแน่ ๆ

อีกประการหนึ่ง เวลาถอนผักแล้ว ต้องมัดรวมใส่เข่ง หนักเข่งนึงก็เกือบ ๆ 100 โล แปลงมันยาวเกือบ 500 เมตร การมีร่องน้ำ เอาเข่งผักใส่เรือ ลากมาขึ้นรถมันเบาแรงหน่อย ขืนแบกเข่งจากปลายสุดออกมา กว่าจะถึงกระดูกออกนอกเนื้อ ขี้หักในตายแน่ ๆ ...แล้วดินคันล้อมเป็นดินเหนียว ไม่ได้แข็งเป็นหัวไอ้โจรอย่างไร่กล้อมแกล้มซะเมื่อไหร่ล่ะ จะได้เอารถสาลี่เข้าไปเข็นได้ ....


อันนี้เป็นข้ออ้างน่ะครับ ความจริงมันต้องมีวิธีที่จะเอาผักจากปลายสวนออกมาได้ กะเหรี่ยงบนดอยมันยังแบกข้าวลงมาทีละกระสอบยังทำได้นี่นา...





- เสียพื้นที่ปลูกผักมั้ย ?
- เรือรดน้ำ ต้นทุน (น้ำมัน เวลา แรงงาน) สูงกว่าสปริงเกอร์มั้ย ?
- ติดสปริงเกอร์ + หม้อปุ๋ยหน้าโซน ปล่อยสารสมุนไพร เช้ารอบ-ค่ำรอบ พอสู้ศัตรูพืชไหวมั้ย
- ติดสปริงเกอร์ครั้งแรกครั้งเดียว อยู่ได้ 20-30 ปี คุ้มกว่ามั้ย ?
- ประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน เหนือกว่าเรือรดมั้ย ?


.....เป็นความจริงทุกประการ จริงจ้า จริงจ้า...เป็นอันว่า ยอมรับความผิดพลาด เพราะความเบาปัญญาที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผมเอง และขอน้อมรับคำแนะนำครับ...นักปราชญ์ก็ต้องรู้พลั้งกันมั๋งละน่า...ลุงว่ามั๊ย...

....ยัยเฉิ่ม เจ้าตุ๊ดตู่ ....งานนี้ ข้าโดนเต็ม ๆ เลยว่ะ ....นิ่ม ๆ นุ่มนวล แต่ ซึมลึก จำไปชั่วลูกชั่วหลานเหลนโหลนภายหน้า......มีใครก็ไม่รู้ ร้องเพลงนี้ไว้.....เจ็บนี้อีกนานนนนนนน....


ขอบคุณครับลุง

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 13/06/2013 7:48 pm    ชื่อกระทู้: Re: เกษตรสัญจร 8 ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

DangSalaya บันทึก:


....ยัยเฉิ่ม เจ้าตุ๊ดตู่ ....งานนี้ ข้าโดนเต็ม ๆ เลยว่ะ ....นิ่ม ๆ นุ่มนวล แต่ ซึมลึก จำไปชั่วลูกชั่วหลานเหลนโหลนภายหน้า......มีใครก็ไม่รู้ ร้องเพลงนี้ไว้.....เจ็บนี้อีกนานนนนนนน....




โดนเต็มๆ โดนอะไร (วะ...) รึเราสื่อออกไปผิดความหมาย....เอาละ จะร่ายใหม่...


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/06/2013 3:43 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 13/06/2013 8:23 pm    ชื่อกระทู้: Re: เกษตรสัญจร 8 ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
DangSalaya บันทึก:


....ยัยเฉิ่ม เจ้าตุ๊ดตู่ ....งานนี้ ข้าโดนเต็ม ๆ เลยว่ะ ....นิ่ม ๆ นุ่มนวล แต่ ซึมลึก จำไปชั่วลูกชั่วหลานเหลนโหลนภายหน้า......มีใครก็ไม่รู้ ร้องเพลงนี้ไว้.....เจ็บนี้อีกนานนนนนนน....




โดนเต็มๆ โดนอะไร (วะ...) รึเราสื่อออกไปผิดความหมาย...ไม่ผิดครับ ตรงเข้าเป้าเด๊ะเลยแหละ....เอาละ จะร่ายใหม่... ...เข้าใจสรรหามาปลอบใจจริง ๆ...ขอบคุณ หลวม (เดี๋ยวจะว่า ครับลูกเดียว)....

(ลุงครับ คนอื่นเค้าจะสงสัยหรือเข้าใจมั๊ยครับว่า ลุงกับผมคุยอะไรกัน)...




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 14/06/2013 1:43 pm    ชื่อกระทู้: Re: เกษตรสัญจร 8 ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
DangSalaya บันทึก:


....ยัยเฉิ่ม เจ้าตุ๊ดตู่ ....งานนี้ ข้าโดนเต็ม ๆ เลยว่ะ ....นิ่ม ๆ นุ่มนวล แต่ ซึมลึก จำไปชั่วลูกชั่วหลานเหลนโหลนภายหน้า......มีใครก็ไม่รู้ ร้องเพลงนี้ไว้.....เจ็บนี้อีกนานนนนนนน....




โดนเต็มๆ โดนอะไร (วะ...) รึเราสื่อออกไปผิดความหมาย....เอาละ จะร่ายใหม่...




โพสภาพนี้มาเพียงเพื่อเป็นประกอบคำอธิบาย "แนวคิดใหม่" ในการทำเกษตรเท่านั้น มิใช่ที่นี่ที่เดียว มิใช่เจ้านี้เพียงเจ้าเดียว ที่จัดแปลงแบบนี้ แต่ทำกันเต็มทั่วประเทศที่ภูมิประเทศเป็นที่ลุ่ม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า พื้นที่ดอนทำไม่ได้ หากคิดทำจริงๆ ทำแปลงยกร่องน้ำหล่อแล้วทำกิจกรรมทางการเกษตรแบบอื่นร่วมกับน้ำได้

การทำแปลงปลูก "ผักสวนครัว-ไม้ผล" แบบ "ยกร่อง-น้ำหล่อ" เขาเรียกว่า "ร่องจีน" สืบเนื่องมาจากชาวจีนโพ้นทะเลเข้ามาอยู่แผ่นดินสุวรรณภุมิเป็นผู้นำเทคโนโลยีชาวบ้านนี้เข้ามา

จากการค้าการขายกันเป็นเฟื้องเป็นสลึงมาเป็นค้าขายเป็นบาทเป็นดอลล่าร์....จากการค้าการขายในหมู่บ้านมาเป็นส่งออกตต่างประเทศ .... ปัจจุบัน หากทำเพียงค้าขายกันแต่ในประเทศเทศ เศรษฐกิจชาติจะไม่โต หากต้องการให้เศรษฐกิจชาติโต ต้องส่งออก เพื่อให้ได้เงินตราต่างประเทศ....

วัตถุประสงค์หลักของการจัดแปลงแบบนี้เพื่อความสะดวกในการใช้ "กระบวยไม้ไผ่สารต่อด้าม" ตักน้ำขึ้นรดแก่ต้นพืชนั่นเอง นับเป็นความชาญฉลาดของเกษตรกรยุคนั้นเป็นอย่างยิ่ง

ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป จากเทคโนโลยีชาวบ้าน สู่เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ จากเครื่องทุ่นแรงที่ต้องแรงงานคน สู่เครื่องทุนแรงเครื่องจักรกล


วันนี้แปลงเกษตรแบบยกร่องน้ำหล่อที่ทำมาแต่ครั้งก่อน การจะกลบร่องเพื่อทำเป็นพื้นราบอย่างเดิม ยากสุดๆ เพราะค่าใช้จ่ายสูงมากๆ แต่เว้บนี้ที่นี่บอกว่า "เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน" ร่องให้ร่องซิ (วะ...) ในเมื่อประเทศไทยมีกิจกรรมทางการเกษตรให้เลือกทำได้มากที่้สุดในโลก นั่นหมายความว่า ในร่องน้ำใช้ เลี้ยงปลา เลี้ยงกบ ปลูกผักบุ้งทอดยอด ฯลฯ เหนือร่องน้ำทำค้างอุโมง ปลูกพืชเลื้อยขึ้นค้าง (อ.ไทรน้อย นนทบุรี) ทำสามอย่างคู่กัน ในน้ำ-ผิวน้ำ-เหนือน้ำ จะดีมั้ย ? จะได้มั้ย ?

จากกระบวยไม้ไผ่สานมาเป็นกระบวยเหล็กที่ต้องใช้แรงงานคน จากเรือปากเป็ดเป็นเรือแอร์บลาสส์ที่ต้องพึ่งน้ำมันและแรงงานคนวิ่งไปตามร่องน้ำ มาสู่ระบบสปริงเกอร์ที่ใช้แรงงานเพียงคนเดียว ประหยัดเวลา ประหยัดพลังงาน และเพื่อประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน

จากพื้นที่ในร่องสำหรับน้ำเพียงอย่างเดียว แม้น้ำในร่องยังอยู่ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นร่วมด้วยได้ เท่ากับ ได้พื้นที่เพิ่มขึ้นทั้งๆที่เท่าเดิม ใช่หรือไม่


สวนส้มเขียวหวานย่านรังสิต (รังสิต หนองเสือ องค์รักษ์ วิหารแดง วังน้อย ฯลฯ) รวมเนื้อนับแสนไร่ ทำสวนแบบยกร่องน้ำหล่อ ไม่มีใครเฉลียวใจเลยว่า...

- อายุต้นส้มได้ 4-5 ปี เริ่มทะยอยตาย เพราะรากแช่น้ำตลอดเวลาตั้งแต่เกิด ทั้งๆที่ส้มสายพันธุ์เดียวกันนี้ที่ จ.แพร่-น่าน อายุยืนนาน 40-50-60 ปี, สวนส้มภาคเหนือ ขนาดสารเคมีบ้าเลือด อายุต้น 20-30 ปี วันนี้ยังให้ผลผลิตดี แม้แต่ส้มฟลอริด้า อายุต้นยืนนานนับ 100 ปี วันนี้ก็ยังอยู่ .... ทั้งหมดนี้เป็นสวน "พื้นราบ" ไม่มีน้ำหล่อทั้งนั้น

- สวนส้มที่วังน้อยขนาด 200 ไร่ ใช้แรงงาน 2 คน แล่นเรือปากเป็ด 2 ลำ รดน้ำทุกวัน เช้ายันเย็น ในรอบ 1 อาทิตย์ต้นส้มได้นับน้ำเพียงครั้งเดียว

- สวนส้มย่านนี้ล่ม อพยบไปกำแพงเพชร ขอนแก่น ลพบุรี ปลูกส้มเขียวหวานอย่างเดิม ก็ย้งทำแปลงแบบน้ำหล่อ ใช้เรือปากเป็ดแล่นรดน้ำ เหมือนเดิม สวนส้มน้ำหล่อหลายสวน อายุต้นปีสองเริ่มให้ผลผลิต ปีสามผลผลิตดีขึ้น บางสวนปีที่สี่เริ่มตาย ขึ้นปีห้าหกทุกสวนตายร้อยเรียบ ในขณะที่ย่านเดียวกันนั้น ทำสวนส้มแบบพื้นราบยกร่องลูกฟูก ไม่มีน้ำหล่อ ยังอยู่ได้ แต่สุดท้ายก็ร้อยเรียบอีกเช่นกันเพราะทำสวนส้มแบบ "เคมีบ้าเลือด ปฏิเสธอินทรีย์ อย่างเด็ดขาด" ปัจจุบันจึงเหลือเพียงตำนานส้มเขียวหวานกำแพงเพชร เท่านั้น

นักวิชการ ไทย-เยอรมัน ทำงานวิจัยเรื่องดินตั้งแต่พิจิตร ไล่เรื่อยลงมาจนถึงปทุมธานี ผ่านกำแพงเพชรเข้าไปดูสวนส้มเขียวหวาน แล้วถามเจ้าของสวนยกร่องน้ำหล่อว่า

นักวิชาการ : ทำไมต้องทำแปลงแบบน้ำหล่อ ?
เจ้าของสวน : เพราะส้มเป็นพืชต้องการใช้น้่ำมาก

นักวิชาการ : อืมมม เข้าใจผิดนะ ส้มไม่ได้ต้องการน้ำมากถึงระดับน้ำหล่อมากขนาดนี้
เจ้าของสวน : ก็เคยทำมาอย่างนี้

นักวิชาการ : ต้นทุนทำร่องน้ำ ทำแปลง แพงไหม ?
เจ้าของสวน : แพงก็ต้องทำ

นักวิชาการ : แปลงด้านโน้น ทำแปลงร่องแห้ง แล้วใช้สปริงเกอร์ น่าจะประหยัดกว่า
เจ้าของสวน : แล้วแต่เขา

นักวิชาการ : รู้มาก่อนไหมว่า สาเหตุที่ส้มสวนเดิมล้มเหลว เพราะอะไร ?
เจ้าของสวน : รู้ ... ดินเสีย โรคมาก เชื้อโรคดื้อยา ยาอะไรก็เอาไม่อยู่

นักวิชาการ : แล้วรู้ไหมว่า ดินเสียเพราะอะไร ?
เจ้าของสวน : ปลูกซ้ำที่มานาน ดินสะสมเชื้อโรค

นักวิชาการ : ส้มเป็นไม้ผลยืนต้นนะ ไม่ใช่ผักสวนครัวอายุสั้น
เจ้าของสวน : แทบทุกสวน รากเน่าโคนเน่า เหมือนกันหมด นี่แหละโรคในดินทั้งนั้น

นักวิชาการ : เคยมีนักวิชาการมาให้คำแนะนำไหม
เจ้าของสวน : ไม่เคย ... ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยมีนักวิชาการเข้ามาในสวนเลย

นักวิชาการ : จากการวิเคราะห์ดิน ตั้งแต่พิจิตรมาถึงกำแพงเพชร ในดินมีฟอสฟอรัสสูงมาก ขนาดเอาไปใส่ให้ต้นพืชในเยอรมันได้เลยนะ
เจ้าของสวน : ฟอสฟอรัสมากๆซี่ดี จะได้ออกดอกดี

นักวิชาการ : ไม่ใช่ ... เพราะฟอสฟอรัสตัวนี้พืชเอาไปใชไม่ได้ แต่กลับทำให้เรโชปุ๋ยตัวอื่นเสียด้วย
เจ้าของสวน : แล้วต้องทำยังไงล่ะ ?

นักวิชาการ : ปรับเปลี่ยนสูตรปุ๋ย รวมทั้งน้ำในร่องนี่ด้วย
เจ้าของสวน : .... ? ....




กว่า 10 ปีมาแล้ว ลุงคิม + อ.สำรวล ดอกไม้หอม หน.กองกำจัดสัตวฺ์ศัตรูพืช กรมวิชาการเกษตร ไปที่สวนส้มเขียวหวานย่าน บ้านตลาดเขต อ.สองพี่น้อง สุพรรณบุรี ที่นั่นสวนส้มเขียวหวานขนาด 20 ไร่ เป็นสวนยกร่องน้ำหล่อ ระดับผิวน้ำสูงปริ่มสันแปลง ต้นส้มอายุ 4-5 ปี ใบเริ่มเรียวเล็ก ปลายกิ่งเริ่มแห้ง บางต้นยืนตายให้เห็นแล้ว นี่คืออาการที่มาจาก "เราเน่า" เนื่องจากน้ำแช่รากตลอดเวลา...

อ.สำรวจ : ต้นส้มเริ่มแย่แล้วนะ
เจ้าของ : มันเป็นโรคอะไรครับ ?

อ.สำรวจ : รากเน่าโคนเน่า ไฟธอปเทอร์ร่าไงล่ะ
เจ้าของ : ใช้ยาอะไรดีครับ ?

อ.สำรวจ : (ยังไม่ตอบ แต่ถามย้อน) น้ำในร่องนี่ เอาไว้ทำไม ?
เจ้าของ : เอาไว้ใช้เรือบันทุกผลผลิตครับ

อ.สำรวจ : ที่นี่มีผลผลิตให้เก็บทุถกอาทิตย์ ทุกเดือน เลยเหรอ ?
เจ้าของ : เปล่าครับ ก็ปีละครั้งเท่านั้นแหละ

อ.สำรวจ : ถ้างั้น เดือนไหนจะใช้เรือค่อยเอาน้ำเข้า เดือนไหนไม่ใช้เรือก็เอาน้ำออกก่อน
เจ้าของ : ต้องคอยสูบเข้าสูบออก ยังงั้นเหรอะครับ

อ.สำรวจ : คืองี้ วันนี้รากมันเน่าเพราะแช่น้ำ ระหว่างที่ไม่ใช้เรือ 11 เดือน อาน้ำออกก่อน เดือนที่จะใช้เรือค่อยเอาน้ำเข้า ปีละครั้งเท่านั้น ได้ไหม ?
เจ้าของ : (คิด....เงียบ)

ลุงคิม : ต้นส้มตายต้องปลูกใหม่ เสียเวลาอีก 2-3 ปี และกับสูบน้ำปีละครั้ง อย่างไหนคุ้มกว่ากัน ส้มเขียวหวานต้นอายุมากๆ ให้ผลผลิตดีกว่าต้นสาวนะ
เจ้าของ : (เริ่มลังเล...) เอาน้ำออกหมดเลยเหรอ ?

อ.สำรวจ : ออกแค่ผิวน้ำ ต่ำกว่าสันแปลงเมตรเดียวก็พอ
เจ้าของ : ตกลงครับ

ลุงคิม : ใช้เวลาสูบน้ำนานไหม ?
เจ้าของ : คืนเดียวก็ออกหมดครับ

อ.สำรวจ : เอาน่า แล้วจะดีเอง
เจ้าของ : ครับ...อาจารย์

ลุงคิม : เอาน้ำออกแล้ว บำรุงเรียกใบอ่อน ทั้งทางใบทางรากเลยนะ
เจ้าของ : ครับ....ผู้พัน

เวลาผ่านไปไว้เหมือนโกหก เพียง 1 เดือน ลุงคิมกับ อ.สำรวลฯ ย้อนไปสวนนั้นอีกครั้ง.....โอ พระเจ้าช่วย ให้ตายซิโรบิน ให้ดินซิโรเบิร์ต ส้มทั้งแปลงแตกใบใหม่ เขียวสะพรั่ง ใบใหญ่หนาเขียวเข้ม เนื้อใบหนาเส้นใบนูน หูใบอวบอ้วน สมศักดิ์ศรีส้มต้นสาวอยุ่งแท้จริง

โคนต้นที่มี ยิบซั่ม ขี้วัวขี้ไก่ ปุ๋ยอินทรียน์ เศษหญ้าแห้ง คลุมหนาเหนือตาตุ่ม ดูต้นไม้ดูที่ราก ต้นไม้พูดด้วยใบบอกด้วยราก พอแหวกหน้าดินลงไปนิดเดียว เห็นรากที่เรียกว่า ROOT CAP ลอยขึ้นมาจากเนื้่อดิน กระจายแทรกตัวอยู่ในอินทรีย์วัตถุเต็มไปหมด...

กับตัวอย่างสวนส้มที่ใกล้โรงไฟฟ้าวังน้อย อยุธยา. สวนส้มที่องค์รักษ์ นครนายก ที่เลิกน้ำหล่อในร่องแล้วเลี้ยงส้มไว้ได้.....วันนี้ขี้เกียจเล่าแล้ว (ว่ะ....)




คลิก :
http://www.chaipat.or.th/chaipat/index.php/th/2010-09-24-07-35-24/789-2012-09-13-07-11-53/5451--qq-21-2555
แปลงผักสปริงเกอร์...

http://www.chaipat.or.th/chaipat/index.php/th/component/content/article/643-2011-03-17-02-55-43/3874--3-2554
แปลงผัก สปริงเกอร์....


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 16/06/2013 5:06 am    ชื่อกระทู้: จากแปลงกระเทียม-ปาย สู่แปลงผัก- บ้านแหลม ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

จากแปลงกระเทียม บนยอดดอย ที่ อ.ปาย สู่แปลงผัก ใกล้ทะเล ที่ อ.บ้านแหลม
แบบนี้แหละครับที่เรียกว่า เกษตรสัญจร โดยแท้


แล้วเรื่องกำลังสนุก ลุงคิมเล่นจบแบบ ห้วน ๆ ...อารมณ์ค้างตายเลย....ก็เพราะแบบนี้แหละ ถึงไม่ได้ขึ้นลานสาวกอด....

ขอบคุณครับลุง ขอบคุณสำหรับเรื่องและคลิป ที่แนบมา(แยก ขยาย ไปได้ตั้งแต่เหนือจรดใต้ ตะวันออก ถึงตะวันตก นี่ขนาดแค่โครงการเล็ก ๆ นะ ดูทั้งวันยังไม่หมด ทำให้ กบในกะลา อย่างผมได้มองเห็นโลกทัศน์กว้างขึ้นไกลอีกแยะ ...โอ้แผ่นดินและท้องฟ้านี้กว้างใหญ่ไพศาลยิ่งนัก แล้วทำไมเกษตรกรและชาวนายังต้องยอมเป็นหนี้ไม่รู้จักคิดทำตัวเองให้หลุดพ้นจากการเป็นหนี้

นี่ก็ได้ข่าวแว่ว ๆ ว่า King จิกมี แห่ง ภูฎาน จะเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ มาศึกษาดูงานเกษตรบนดอยในช่วงฤดูฝน ที่ดอยอ่างขาง - ใครอยากเข้าเฝ้าพระองค์ท่าน เชิญครับ พระราชินีน่าจะเสด็จด้วยนะ)

ขอบคุณอีกครั้งครับลุง

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 17/06/2013 8:33 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 8 ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ....เพื่อนสมาชิกทุกท่าน

ตอนที่ 12... สิ่งที่หลงเหลือ หลังถอนกระเทียม

ดูรูปกันต่อเลยครับ




รูป 1




รูป 2




รูป 3




รูป 4

รูปที่ 1 – 4 หลังจากถอนกระเทียมผ่านไป 20 วัน แปลงกระเทียมก็มีสภาพตามที่เห็น เศษต้นกระเทียม วัชพืช หญ้า ต่าง ๆ ผักทั้งกินได้และไม่มีใครเคยกิน(ผักเสี้ยนผี..หนามมันแหลม คม แทงเจ็บ) ขึ้นระเกะระกะ เต็มไปหมด ...
ลุงรัตน์บอกว่า ...” ไม่เป็นไร ปล่อยไว้อย่างนี้ ถ้าใกล้จะปลูกถั่วเหลืองเมื่อไหร่ ก็เอาเศษซากถั่วที่หมักไว้เมื่อปีก่อน เอามาโรยให้ทั่วแปลง เอารถมาไถกลบ หมักดินทิ้งไว้อีกครึ่งเดือน ไถแปรอีกรอบ ก็ปลูกได้แล้ว “

โอกาสหน้าถ้ามี จะหารูปที่ ชาวลีซอ มูเซอ และจีนยูนนาน ปลูกกระเทียมบนสันดอยโดยระบบสปริงเกลอร์ ใช้น้ำตกต่อท่อจากภูเขา....มาให้เพื่อนสมาชิกได้ดูกัน




รูป 5





รูปที่ 5 – 6 เศษซากถัวเหลืองเมือปีก่อนที่กองทิ้งเอาไว้ ข้างบนมีสภาพอย่างที่เห็น แต่ข้างใต้ เปื่อยยุ่ย เพราะย่อยจนหมดความร้อนแล้ว




รูป 7 นั่นอะไร ทำไมต้องคลุมเอาไว้ด้วย




รูป 8 เข้ามาดูใกล้ ๆ




รูป 9 อะไรอยู่ข้างใต้




รูป 10 คลับคล้ายคลับคลา

รูปที่ 7 – 10 มีอะไรทีต้องใช้ฟางคลุมเอาไว้...





รูปที่ 11 ไม่ใช่ฟาง แต่เป็นต้นกระเทียม ที่เอาต้นคลุมหัวกระเทียมเอาไว้ เป็นกรรมวิธีตากกระเทียมให้แห้งใบเบื้องต้นสำหรับเก็บกระเทียมเอาไว้ทำพันธุ์

ซึ่งหลังจากนี้ จะมัดกระเทียมเป็นพวงแบบที่เอามาขาย แล้วก็นำขึ้นแขวนเป็นแถว เป็นชั้น ๆ ในโรงที่สูงประมาณบ้านสองชั้น เป็นโรงโล่ง เพื่อให้ลมโกรกผ่านได้รอบทิศ เป็นกรรมวิธีซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่กะเหรี่ยง ชาวเขา ชาวดอย ใช้เก็บกระเทียมไม่ให้หัวกระเทียม ฝ่อ

หัวกระเทียมที่ตากโดยวิธีนี้ จะแห้งสนิทด้วยลม แล้วความฉุน ความอร่อยของกระเทียม ปาย จะอยู่ที่ตรงนี้แหละครับ ....หัวกระเทียมทำพันธุ์แพงกว่าหัวกระเทียมแห้งที่ขายในท้องตลาด เท่าตัว ใครที่เก็บแล้วไม่พอใช้ทำพันธุ์ ถ้าจำนวนน้อย ๆ ก็พอว่า ถ้ามาก ๆ ตายแน่ ๆ
ทำไมผมรู้ดีจัง ...ผมไม่รู้ครับ แต่ผมถามลุงรัตน์





รูปที่ 12 หัวกระเทียมโทน ที่ป้าคำแยกเก็บเอาไว้ต่างหาก เอาไว้ทำอะไร





รูปที่ 13 การจะลอกเปลือกกระเทียมแบบง่าย ๆ ให้เอาหัวกระเทียมมาแช่น้ำ เพื่อให้เปลือกนอก เปื่อย ก็ลอกเปลือกนอกออก แล้วทำอะไรต่อ





รูปที่ 14 เอามาลอกเปลือกชั้นที่สองออก เหลือแต่เนื้อใน ล้างน้ำให้สะอาดอีกครั้ง ผึ่งให้แห้ง ก็เอามาใส่ลงภาชนะที่มีฝาปิด แล้วเอาน้ำผึ้งผสมน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วมีอะไรอีกนิดหน่อยผสมลงไปด้วยตามสูตรของไทใหญ่ ...เค้าเรียกว่า กระเทียมดองน้ำผึ้งสูตรไทใหญ่ ถ้าดองได้ที่นะครับ....กินเป็นยาอายุวัฒนะแค่วันละหัวครึ่งหัวพอ ...ถ้ากินมากเกิน จะยิ่งกว่ากิน โด่ไม่รู้ล้ม เดี๋ยวจะหาว่าผมไม่บอก

แต่คุณจะหากระเทียมดองน้ำผึ้งสูตรไทใหญ่ของแท้ได้ที่ไหน มีแต่ของไม่แท้ทั้งนั้นแหละ...ขนาดว่าน้ำผึ้ง ยังมีปลอมเลย แถว ๆ ข้างทางขาขึ้นก่อนถึงนครสวรรค์นั่นน่ะ ปลอมทั้งนั้น ....บอกขายขวดละ 150 ..ต่อราคา 130 ไม่ได้หรือ ....ไม่ได้จ๊ะ ตอนนี้น้ำตาลมันแพง....

ก็คงจบเรื่องของกระเทียมปายแค่นี้

ฝนที่ปายเริ่มตกแล้ว ลุงรัตน์คงจะเริ่มปลูกถั่วเหลืองในเวลาอันไม่ช้า แล้วเพื่อนกะเหรี่ยงบนดอยก็คงจะเริ่มหยอดข้าวในฤดูกาลใหม่ นอกจากข้าวหอมดอยที่จะปลูกไว้กินไว้แจกแล้ว ปีนี้แม่เจ้าโช่ล่ บอกว่า จาปู่ข้าหอนี...(ปีนี้จะปลูกข้าวหอมนิล)....

ส่วนผมก็ว่า อาจจะสัญจรขึ้นไปปายอีกซักระยะนึง ลูกเค้าชวน คงจะเดือนหน้าหลังเกี่ยวข้าวที่นครปฐมเสร็จแล้ว .....ไปทำไม ...อ๊าว ก็อยากไปสัญจรน่ะซี เผื่อจะมีอะไรดี ๆ เก็บมาฝาก โดยเฉพาะ โครงการตามพระราชดำริ ที่พระตำหนักปางตอง ที่สมเด็จฯ ทรงโปรดที่ไปทรงงานที่นั่น คุณรู้จักหรือใครเคยได้ยินชื่อพระตำหนักปางตองบ้างไหมเอ่ย ...เหมือนอยู่บนวิมานเมฆ เพราะมีแต่เมฆและหมอก
สงบเงียบ อากาศหนาวตลอดปี ก็อยู่บนยอดดอยน่ะ ไม่หนาวได้ไง

ปลาบนยอดดอย เนื้ออร่อยครับ ห้ามทอด(ทอดกินไม่อร่อยจ้า) ใช้นึ่งกับทำปลาลวก จิ้มน้ำจิ้มผสมเต้าเจี้ยวสูตรจีนฮ่อ โอ้โฮเฮ๊ย มันอร่อยอธิบายไม่ถูก... จิบด้วย เหล้าข้าวโพดจีนฮ่อต้มเองถ้วยตะไลเล็ก ๆ ... ฮ่อ ๆๆๆๆ ความรู้สึกเหมือนกินน้ำร้อน เพราะเวลากลืน มันจะรู้สึกร้อนตั้งแต่คอหอยไหลลงไปถึงกระเพาะอาหาร พอเราอ้าปาก แล้วออกเสีย ฮ่า พ่นไปที่ตะเกียง ไฟมันจะลุกแบบมังกรพ่นไฟเลยแหละ กินแล้วต้องรีบคว่ำถ้วย ไม่อย่างนั้นพวกจะเติมให้อีกถ้วย แล้วต้องกินไม่กินถือว่า ไม่ให้เกียรติ ..ถ้วยตะไลเล็ก ๆ 3 ถ้วยก็จอดแล้วเรา

พอแค่นี้นะครับเล่าแล้วเดี๋ยวยาว ต้องเปิดกระทู้ใหม่อีก ....
ลุงครับ ใกล้เทศกาล จับนมที่เผ่าอี๋แล้วครับ(เดือน กค.) ไปป่ะ หลวม...(ผมครับบ่อย ๆ ลุงแกว่า มึงดีแต่คับลูกเดียว ก็เลยต้อง หลวมมั่ง)


ขอบคุณที่ติดตาม คงมีโอกาสได้นำเสนออีก


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 20/06/2013 9:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

tamil1122 บันทึก:
ขอบใจมากค่ะสำหรับ สิ่งที่หลงเหลือ หลังถอนกระเทียม


สวัสดีครับลุงคิม ...และ "tamil1122"

ก็ขอขอบใจมากเช่นกัน ที่อุตส่าห์เข้ามาอ่าน หลังถอนกระเทียม มีอะไรหลงเหลืออยู่....ซึ่งอีกไม่นานคงจะปลูกถั่วเหลืองในที่ดินแปลงนี้ ...ถ้าสนใจก็ติดตามนะ หรือ จะขึ้นไปดูด้วยกันก็ได้ มีที่พักให้ ....อาจจะขึ้นไปกลางเดือนหน้า




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 27/06/2013 11:06 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 8 ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ....เพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 8 ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย


ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย ภาค 2 ตอนที่ 1...ปลูกถั่วเหลือง..ก่อนปลูกกระเทียม

ผมเข้าเป็นสมาชิก เกษตรลุงคิม.คอม เมื่อ 23-6-54 มาถึงวันนี้ 27 มิย.56 ก็นับได้ 2 ปีแล้วนี่นะ....เร็วเหมือนกันแฮะ.......ก็ว่ากันไป...

ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย ภาค 2 กันดีกว่าครับ....

ลุงรัตน์...โทรมาบอกว่า เจ้าโชเล่ ขึ้นดอยกลับไปบ้านวัดจันทร์แล้ว เพื่อเตรียมจะปลูกข้าว...และลุงรัตน์ ได้ลงมือปลูกถั่วเหลืองในแปลงที่จะปลูกกระเทียมไปแล้วเมื่อวันที่ 12 มิย.56
...แต่ลูกสาวส่งรูปมาให้เมื่อวานนี้ ซึ่งทั้งหมดมีหลายชุดด้วยกัน....

ก่อนปลูกกระเทียม ชาวไร่กระเทียมเค้าเตรียมการทำอะไรกันบ้าง
.....ก่อนปลูกกระเทียม เค้าจะปลูกถั่วเหลืองก่อนครับ....ได้ประโยชน์หลายอย่างเลยนะครับ
1> ได้ขายผลผลิตจากถั่วเหลือง
2> หลังจาก นวด ฝักถั่วแยกเปลือก แยกเมล็ดแล้ว จะได้ปุ๋ยจากเศษซากถั่วเหลืองเพื่อบำรุงดิน
3> สร้างระบบนิเวศน์ และสภาพแวดล้อม ให้คงสภาพสมดุลตามธรรมชาติ

ในขณะที่ กะเหรี่ยงบนดอย ไม่เผาฟาง ไม่ฉีดพ่นสารเคมีและยาฆ่าหญ้า ระบบนิเวศน์บนดอยจึงเกื้อกูลซึ่งกันและกัน บรรยากาศบนยอดดอย Vergin มาก ๆ เลยครับ
........แต่คนพื้นราบ เกี่ยวข้าวแล้วเผาฟางทิ้งหมด....ใช้สารเคมีและยาฆ่าหญ้าฉีดพ่น ทำให้ดินเสีย แต่หญ้าไม่ตายชั่วนิรันดร์
….เปิดประตูสู่ อาเซี่ยนเมื่อไหร่ ไอ้พวกทำเกษตรที่ชอบใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงและยาฆ่าหญ้า จะไม่มีหัวเข่าให้เช็ดน้ำตา เพราะขายผลผลิตที่เต็มไปด้วยสารเคมียาฆ่าแมลงไม่ได้ .....





รูปที่ 1 หลังจากที่ลุงรัตน์ถอนกระเทียมไปแล้วเมื่อ 26 มีนาคม 2556 ก็ปล่อยพื้นดินแปลงนี้เอาไว้ให้หญ้าขึ้น





รูปที่ 2 ก่อนหยอดเมล็ดถั่วเหลือง ลุงรัตน์บอกว่า ได้จ้างคนขนเศษซากถั่วเหลืองที่กอง(หมัก)ทิ้งไว้ข้างแปลงกระเทียม เอามาโรยใส่ในแปลงกระเทียม จากนั้นก็เอารถแทรคเตอร์มาไถกลบ ไถแปร แล้วก็ตากดินหมักไว้อีก จนใกล้วันที่จะหยอดถั่วเหลือง ก็มาคราดปรับหน้าดินให้เรียบเสมอกัน
และพอถึงวันที่ 10 มิย.56 ก็หยอดเมล็ดถั่วเหลือง





รูป 3




รูป 4

รูปที่ 3 – 4 วันที่ 14 มิย.56 ผ่านไปแค่ 4 วัน ถั่วก็เริ่มงอก


ตอนที่ 1 ก็มีรูปแค่นี้ครับ...ติดตามต่อไปครับ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 30/06/2013 2:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ....เพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 8 ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย

ภาค 2 ตอนที่ 2...เมล็ดเริ่มงอก....

หลังจากหยอดเมล็ดถั่วเหลืองไปแล้ว 4 วัน วันที่ 16 มิย.56 เมล็ดก็เริ่มงอกขึ้นมา
มาดูรูป ความสวยงามของเมล็ดถั่วเหลืองที่กำลังงอกครับ ดูแล้ว จินตนาการเอาเองนะครับ ....การกำเนิดของสรรพสิ่งมีชีวิตบนพื้นภิภพนี้...รูปต่อจากตอนที่ 1 นะครับ



(5)


(6)


(7)


(Cool


(9)



(10)



(11)


----------.............-----------


ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย ภาค 2 ตอนที่ 3

18 มิถุนายน 2556 ถั่วเหลืองมีอายุ 6 วัน


(12)



(13)



(14)
รูปที่ 12 - 14 ถั่วเหลืองอายุ 6 วันครับ




(15) 20 มิย.56 อายุ 8 วัน



(16)




(17)

รูปที่ 15 - 17 ...20 มิย.56 ถัวเหลืองอายุ 8 วันครับ



........-----......

ไปดูกะเหรี่ยงปลูกกระเทียมที่ปาย ภาค 2 ตอนที่ 4

22 มิย.56 ถั่วเหลืองมีอายุ 10 วัน


(1Cool



(19)



(20)



(21)



(22)



(23)



(24)



(25)


รูปที่ 18 - 26 เวลาผ่านไป 10 วัน จะเห็นว่าจากวันที่เริ่มงอก เพียงแค่ 10 วัน ต้นใหญ่โตมากพอสมควร ...ยังไม่มีการ รดน้ำ ใส่ปุ๋ยแต่อย่างใด
ลุงรัตน์บอกว่า ปลูกถั่วเหลือง ถ้าจะเอาเมล็ด ไม่ต้องใส่ปุ๋ยมาก ถ้าใส่ปุ๋ยมาก ใบถั่วจะงามเกินไป(เฝือใบ) จะไม่มีฝัก เพราะตอนเตรียมดิน เอากากถั่วที่หมักไว้ข้ามปีลงไปแล้ว

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 01/07/2013 11:44 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 8 ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ....เพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 8 ไปดูกะเหรี่ยง ปลูกกระเทียมที่ปาย

ภาค 2 ตอนที่ 5..

วันที่ 29 มิย.56 ความเจริญเติบโตของถั่วอายุ 17 วัน




(26)



(27)



(2Cool



(29)

รูปที่ 26 - 29 มิย.56 ถั่วเหลืองอายุ 17 วัน


(30)



(31)



(32)



(33)



(34)



(35)

รูปที่ 30-35 ถั่วเหลืองอายุ 18 วันครับ



รูปที่ 36 ฟ้าคลุ้มฝนที่ริมแม่น้ำปาย



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า 1, 2, 3  ถัดไป
หน้า 1 จากทั้งหมด 3

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©