-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 16 APR ... **พันธุ์องุ่นไร้เมล็ด
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 16 APR ... **พันธุ์องุ่นไร้เมล็ด

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 16/04/2014 8:35 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 16 APR ... **พันธุ์องุ่นไร้เมล็ด ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 16 APR

AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์,
กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต,
ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2 )“คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (082) 771-38xx
ข้อความ : ลุงคิมครับ ผมปลูกองุ่นไวท์มะละกา กับคาดินัล อยากเปลี่ยนมาปลูกพันธุ์ไร้เมล็ดไม่ทราบว่าเมืองไทยปลูกองุ่นไร้เมล็ดได้ไหมครับ ขอความรู้เรื่องนี้หน่อยครับ
ตอบ :
@@ องุ่นพันธุ์ไร้เมล็ด :
- พันธุ์ส่งเสริมจากโครงการหลวง : พันธุ์ “บิวตี้ ซีดเลส” ขนาดผลปานกลาง ทรงผลรี สีดำช่อใหญ่ ออกดอกติดผลง่าย อายุเก็บเกี่ยว 4 เดือนครึ่ง รสชาดหวานกรอบอร่อย คนนิยม .... พันธุ์ “รูบี้ ซีดเลส” ผลโต ยาวรี สีแดง ช่อใหญ่ อายุเก็บเกี่ยว 5-6 เดือน รสชาติหวานกรอบ.... ราคาขึ้นอยู่กับความหวาน ถ้า 16 บริกซ์ ราคา กก. ละ 100 บาท, 17 บริกซ์ กก.ละ 150 บาท, และ 18 บริกซ์ ราคา กก.ละ 200 บาท

- พันธุ์ต่างประเทศ : ได้แก่ ลูสต์เพอร์เร็ต (สีเหลืองทอง). แบล็คโอปอล (สีม่วงอมดำ) ดีไลท์ (สีเขียว). ทอมสันซีสเลส (สีเหลืองทอง). แบล็คบิวตี้ (สีดำ). เฟลมซีสเลส (สีแดง). รูบี้ซีสเลส (สีแดง).

- องุ่นภาคกลาง ทำได้ปีละ 2 รุ่น .... องุ่นภาคเหนือ ทำได้ 2 ปี 5 รุ่น เพราะอากาศและอุณหภูมิต่างกัน .... แสดงว่า องุ่นไม่มีรุ่น ไม่มีฤดูกาล เก็บผลรุ่นนี้เสร็จ เข้าสู่วงรอบ 8 ขั้นตอนบำรุงไม้ผลเอาผลต่อได้เลย

- ไวน์ คือ เครื่องดื่มมีแอลกอฮอร์ทำจากองุ่นเท่านั้น ทำจากผลไม้อื่นจะเรียกอะไรก็ว่ากันไป แต่ ไวน์ ให้เรียกเฉพาะที่ทำมาจากองุ่นเท่านั้น นั่นคือ ปลูกองุ่นทำไวน์ หรือเอากลั่นเป็นเหล้า (วิสกี้) ต้องบำรุงให้มีเมล็ดเยอะๆ ..... จะโดยบังเอิญหรือเจตนาที่องุ่นเมืองไทยมีเมล็ด แต่ “เมล็ดเล็ก- เนื้อหนา-ลูกโต” กลายเป็นองุ่นกินสดได้ ก็มีนะที่องุ่นบางแปลงบำรุงแบบเอาเมล็ดไม่เอาเนื้อ แล้วเอาไปทำเหล้าวิสกี้โดยเฉพาะ

- องุ่นกินสดที่วางขายตามห้าง มาจากต่างประเทศ นั่นเขาทำเป็นองุ่นกินสดโดยเฉพาะ ข้อแตกต่าง เมื่อเปรียบเทียบกับองุ่นกินผลสดของไทย แม้ว่าของไทยลูกใหญ่ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก แต่การติดลูกเป็นพวง ลูกเบียดกันจนต้องซอยลูกออกบ้าง เพื่อเปิดพื้นที่ให้แต่ละลูกได้ขายขนาด รูปทรงไม่เสีย แต่องุ่นกินสดของต่างประเทศ แต่ละลูกมีก้านแยกเฉพาะลูก ทำให้ลูกไม่เบียดกัน ไม่ต้องซอยผลออก....การซอยผลออกเป็นการสูญเสียอย่างหนึ่ง ทั้งผลผลิต แรงงาน และ เวลา

(วันนี้สวนองุ่นหลายสวนต้องเลิกราก เพราะปัญหาแรงงานนี่แหละ)

- องุ่นทุกสายพันธุ์ในโลกนี้ ปลูกเมืองไทยได้

http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=7e29f25fb14396d1



@@ เกร็ดความรู้เรื่ององุ่น :
* นิสัยองุ่นที่อายุต้นให้ผลผลิตแล้ว หรือเคยให้ผลผลิตมาแล้ว 1-2 ปี (เป็นสาว) จะออกดอกติดผลแบบต่อเนื่อง หรือหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นนี้แล้ว สามารถออกดอกติดผลเป็นรุ่นต่อไปได้เลย หรือเมื่อแตกยอดใหม่ก็จะมีดอกออกตามมาด้วยเสมอ

การที่จะให้องุ่นออกดอกติดผลรุ่นต่อไปได้เลยนั้น ต้นจะต้องมีความพร้อมโดยเฉพาะการสะสมอาหารเพื่อการออกดอก และการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. อย่างต่อเนื่องมานานหลายๆปี .... การปฏิบัติบำรุงต่อองุ่นที่อายุต้นให้ผลผลิตแล้วเพื่อเอาผลผลิตรุ่นหน้าให้ปฏิบัติดังนี้

* บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวรุ่นปัจจุบัน ให้ทางใบด้วย “0-21-74 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม” โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ให้ทางรากด้วย 8-24-24 หรือ 9-26-26 ก่อนเก็บเกี่ยว 10-15 วัน เสริมทางรากด้วยมูลค้างคาวเล็กน้อย (ระวังอย่าให้มากเพราะอาจทำให้ผลแตกได้) ให้น้ำ 1 ครั้งเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด .... การให้ปุ๋ยทางใบและทางรากที่มีปริมาณฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม. สูงเช่นนี้ นอกจากจะช่วยบำรุงเพื่อเพิ่มความหวานแก่ผลองุ่นแล้ว ยังทำให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออกดอกสำหรับรุ่นต่อไปอีกด้วย

* หลังจากเก็บเกี่ยวผลพวงสุดท้ายออกจากต้นแล้ว ให้พรุนกิ่งแบบเพื่อเอาผลผลิตทันทีจากนั้นบำรุงทางรากด้วยสูตร เรียกใบอ่อน เสริมด้วย ยิบซั่มธรรมชาติ. กระดูกป่น. ฮอร์โมนบำรุงราก. แล้วระดมให้น้ำแบบวันต่อวันเพื่อเรียกใบอ่อน .... การเรียกใบอ่อนองุ่นหลังพรุนกิ่งไม่จำเป็นต้องให้ทางใบด้วย 25-5-5 หรือ 46-0-0 และไม่ต้องให้ทางรากด้วย 25-7-7 เหมือนไม้ผลทั่วไป ส่วนยอดหรือใบชุดใหม่ที่ออกมาจะเป็นใบมีคุณภาพดี (เร็ว-ใหญ่-หนา-มาก-พร้อมกันทั้งต้น) หรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นเป็นหลัก

เมื่อระดมให้น้ำแล้วก็จะมี "ยอด + ดอก" ตามออกมา จากนั้นก็ให้ตัดแต่งช่อดอกให้เหลือกิ่งละ 2-3 ช่อ ช่อละ 1 พวง แต่ละช่อห่างกันโดยมีใบคั่น 3-4 ใบ

* การกระตุ้นตาดอกด้วยฮอร์โมน (มีจำหน่ายตามท้องตลาด/หลายยี่ห้อ) หลังจากพรุนกิ่งเสร็จแล้ววันรุ่งขึ้นให้ใช้พู่กันขนอ่อนจุ่มฮอร์โมนกระตุ้นตาดอก ทาบางๆ บนตุ่มตาที่สมบูรณ์จริงและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม 2-3 ตุ่มตา /1 กิ่ง ต้องการให้ตุ่มตาไหนออกดอกก็ทาเฉพาะตุ่มตานั้น ตุ่มตาไหนไม่ต้องการให้ออกดอกก็ไม่ต้องทา การทาฮอร์โมนเฉพาะตุ่มตาที่ต้องการให้ออกดอกแบบนี้ ทำให้ไม่ต้องตัดแต่งช่อดอกหลังจากที่ช่อดอกออมาแล้วอีกครั้ง ทำให้ไม่สิ้นเปลืองเวลาและแรงงาน ถ้าไม่ใช้วิธีทาเฉพาะตุ่มตาแต่ใช้วิธีฉีดพ่นทั่วทั้งต้นก็ได้ ซึ่งก็จะทำให้มีดอกออกมาทั่วทั้งต้น แล้วจึงตัดแต่งช่อดอกให้เหลือเท่าที่จำเป็นสำหรับแต่ละกิ่งก็ได้

* องุ่นรับประทานผลสด วิธีการให้ฮอร์โมนกระตุ้นตาดอกแบบฉีดพ่นทั่วทั้งต้น จะทำให้มีดอกออกมากหรือออกดอกทุกข้อใบ เมื่อดอกออกมากเช่นนี้ก็จะต้องตัดแต่งช่อดอกออกทิ้งให้เหลือไว้ 1-2-3 ช่อดอก /กิ่ง (คงไว้มากหรือน้อยขึ้นกับขนาดและความสมบูรณ์ของกิ่งและต้น) หรือคงไว้ 1 ช่อ /15-20 ใบเลี้ยง ถ้าใช้วิธีป้ายหรือทาฮอร์โมนที่ซอกใบเฉพาะจุดที่ต้องการให้ออกดอกก็จะทำให้ปริมาณช่อดอกอกมาตามต้องการโดยไม่ต้องตัดแต่งช่อดอกอีก ส่วนองุ่นเพื่อแปรรูป (ลูกเกด. แยม.ไวน์.) ไม่ต้องตัดแต่งช่อดอกก็ได้

* ผลองุ่นที่อยู่ชิดกันจนเป็นพวงขนาดใหญ่ ซึ่งผลแต่ผลต่างก็มีขั้วผลของตัวเองออกมาจากขั้วประธานโดยตรง เมื่อผลพัฒนาขนาดโตขึ้นจึงเบียดกันจนเสียรูปทรง บางผลเล็กแคระแกร็นไปเลยก็มี

กรณีนี้แก้ไขด้วยการบำรุงด้วยฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลลิน เพื่อยืดขนาดขั้วประธานให้ยาวขึ้นดอกที่ออกตรงกับช่วงหน้าฝนให้ฉีดพ่นจิ๊บเบอเรลลิน 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 เมื่อช่อดอกยาว 1.5-2 ซม. ฉีดพ่นครั้งที่ 2 เมื่อดอกตูม (ไข่ปลา) และฉีดพ่นครั้งที่ 3 เมื่อติดผลขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว

หากดอกมาออกมาตรงกับช่วงหน้าแล้งให้ฉีดพ่นจิ๊บเบอเรลลิน 2 ครั้งโดย ครั้งที่ 1 เมื่อดอกตูม (ไข่ปลา) และฉีดพ่นครั้งที่ 2 เมื่อผลขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว จิ๊บเบอเรลลินนอกจากช่วยยืดขั้วให้ยาวขึ้นแล้ว ยังช่วยบำรุงคุณภาพผลทำให้เนื้อกรอบอีกด้วย อัตราการใช้จิ๊บเบอเรลลินให้ถือตามที่ระบุในฉลากข้างขวดหรือกล่อง (แต่ละยี่ห้อกำหนดอัตราใช้ไม่เท่ากัน) อย่างเคร่งครัด เพราะถ้าใช้เกินอัตราระบุจะทำให้ก้านประธานยืดยาวมากจนดอกหรือผลร่วง หรือหากใช้ต่ำกว่าอัตราระบุก็จะไม่ได้ผล

ใช้จิ๊บเบอเรลลินสำหรับองุ่นในช่วงหน้าหนาวให้ใช้ตามอัตราที่ระบุในฉลาก แต่ถ้าใช้ช่วงหน้าร้อนให้เพิ่มอัตราใช้ 10% ของอัตราใช้ที่ระบุในฉลาก

* หลังจากฉีดพ่นจิ๊บเบอเรลลินแล้วควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรป้องกันและกำจัดเชื้อราตามทุกครั้ง เพราะเชื้อรามักเข้าทำลายหลังองุ่นได้รับจิ๊บเบอเรลลิน

* ช่วงอากาศวิปริต (ร้อนจัด หนาวจัด ฝนจัด พายุโซนร้อนจากทะเล หรือไซฮวง) เข้ามาช่วงที่องุ่นกำลังออกดอกและติดผลเล็ก ให้บำรุงต้นด้วยแม็กเนเซียม-สังกะสี กับ แคลเซียม โบรอน 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ด้วยการฉีดพ่นทางใบล่วงหน้า (ทราบจากการติดตามข่าวพยากรณ์อากาศ) ก่อนอากาศเริ่มวิปริตเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ต้น และควรให้ทั้งช่วงก่อนอากาศวิปริต ระหว่างอากาศวิปริต และหลังหมดสภาพอากาศวิปริต

ต้นที่ผ่านการบำรุงแบบมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องมาหลายๆปี ต้นมีความสมบูรณ์สูง เมื่อพบกับสภาพอากาศวิปริตก็จะเกิดความเสียหายพายุไซฮวงจากไม่มากนัก

* ช่วงมีผลอยู่บนต้นถ้าขาดโบรอน (แคลเซียม โบรอน) ผลจะเล็กจิ๋วและโตไม่สม่ำเสมอ
* องุ่นรับประทานผลสดหลังจากผลโตขนาดปลายนิ้วก้อยหรือโตกว่าเล็กน้อย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตัดแต่งช่อผล (ซอยผล) โดยการใช้กรรไกปลายแหลมเล็ก แทรกเข้าไประหว่างผลแล้วตัดขั้วผลเพื่อทิ้งผลบางส่วนไป การจะเลือกผลไหนซอยทิ้งให้พิจาณาผลข้างเคียงที่คงไว้ว่ามีลักษณะสวยและสมบูรณ์ดีตามต้องการ ทั้งนี้การซอยผลทิ้งทำให้เกิดพื้นที่ว่างให้แก่ผลที่คงไว้มีโอกาสขยายขนาดได้เต็มที่นั่นเอง

* องุ่นโง่ หมายถึง ผลองุ่นในพวงเดียวกันแก้ไม่พร้อมกันหรือไม่เท่ากัน (มีทั้งผลอ่อน กลางอ่อนกลางแก่ และผลแก่)

* การบำรุงทางรากช่วงก่อนเก็บเกี่ยวเพื่อเร่งหวานด้วย 8-24-24 หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตหมด แล้วเข้าสู่ช่วงพักต้นจะช่วยให้ต้นไม่โทรม ส่งผลให้การเรียกใบอ่อนของฤดูการผลิตรุ่นต่อไปใบอ่อนจะออกมาเร็ว และได้ใบดีมีคุณภาพ

-------------------------------------------------------------




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©