-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เกษตรานุสติ ฉบับนาข้าว #2
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เกษตรานุสติ ฉบับนาข้าว #2
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
boonsue
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 04/07/2013
ตอบ: 36

ตอบตอบ: 02/04/2014 8:00 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

สวัสดีค่ะ ลุงคิม

หนูขอจอง เ ก ษ ต ร แ จ๊ ค พ็ อ ต 1 เล่มค่ะ


ขอบคุณค่ะ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 06/04/2014 6:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การอ่านหนังสือของคนไทย

ดร.พงศ์ศรันย์ พลศรีเลิศ
phongzahrun@gmail.com



เมื่อนำตัวเลขของไทยมาวางเทียบกับสมาชิกอาเซียนพบว่า “การอ่านของคนไทยอยู่ในระดับวิกฤติ" ขณะที่คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละ 2-5 เล่ม แต่สิงคโปร์เฉลี่ยคนละ 50-60 เล่มต่อปี แต่ที่น่าตกใจยิ่งกว่า คือ เวียด
นามมีอัตราการอ่าน 60 เล่มต่อคนต่อปี

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ทำการสำรวจการอ่านหนังสือของประชากร ล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. 2554 พบว่า มีอัตราการอ่านหนังสือของคนวัย 6 ปีขึ้นไป อยู่ร้อยละ 68.6 เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ที่มีอยู่ร้อยละ 66.2 ส่วนใหญ่อ่านหนังสือพิมพ์ นวนิยาย การ์ตูน นิตยสาร และตำราหนังสือเอกสารที่ให้ความรู้

ความน่าสนใจของการสำรวจอยู่ตรงนี้ครับ ความถี่ของการอ่านหนังสือ อ่านทุกวันคิดเป็นร้อยละ 5 เท่านั้นเองครับ อ่านสัปดาห์ละ 4-6 วัน คิดเป็นร้อยละ 3 อ่านสัปดาห์ละ 2-3 วัน คิดเป็นร้อยละ 6 อ่านสัปดาห์ละ 1 วัน คิดเป็น ร้อยละ 3 และที่เหลือก็นานๆอ่านที เพราะฉะนั้นไม่แปลกนะครับ ที่ทำไมเราถึงมีอัตราการอ่าน 7-8 บรรทัดต่อปี เพราะว่านี่คือ อัตราเฉลี่ยการอ่านหนังสือของคนไทยทั้งประเทศครับ


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงบรรยายถึงความสำคัญของการอ่านหนังสือไว้ ดังนี้ครับ
1. การอ่านหนังสือทำให้ได้เนื้อหาสาระความรู้มากกว่าการศึกษาหาความรู้ด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การฟัง
2. ผู้อ่านสามารถอ่านหนังสือได้โดยไม่มีการจำกัดเวลา และสถานที่ สามารถนำไปไหนมาไหนได้

3. หนังสือเก็บได้นานกว่าสื่ออย่างอื่นซึ่งมักมีอายุการใช้งานจำกัด
4. ผู้อ่านสามารถฝึกการคิด และสร้างจินตนาการได้เองในขณะอ่าน

5. การอ่านส่งเสริมให้มีสมองดี มีสมาธินานกว่า และมากกว่าสื่ออย่างอื่น ทั้งนี้ เพราะขณะอ่าน จิตใจจะต้องมุ่งมั่นอยู่กับข้อความ พินิจพิเคราะห์ข้อความนั้นๆ

6. ผู้อ่านเป็นผู้กำหนดการอ่านได้ด้วยตนเอง จะอ่านคร่าวๆ อ่านละเอียด อ่านข้ามหรืออ่านทุกตัวอักษร เป็นไปตามใจของผู้อ่าน หรือจะเลือกอ่านเล่มไหนก็ได้ เพราะหนังสือมีมาก สามารถเลือกอ่านเองได้

7. หนังสือมีหลากหลายรูปแบบ และราคาถูกกว่าสื่ออย่างอื่น จึงทำให้สมองของผู้อ่านเปิดกว้าง สร้างแนวคิด และทัศนคติได้มากกว่า ทำให้ผู้อ่านไม่ติดยึดอยู่กับแนวคิดใดๆโดยเฉพาะ

8. ผู้อ่านเกิดความคิดเห็นได้ด้วยตนเอง วินิจฉัยเนื้อหาสาระได้ด้วยตนเอง รวมทั้งหนังสือบางเล่มสามารถนำไปปฏิบัติแล้วเกิดผลดี

ฟังจากข้อดีของการอ่านทั้ง 8 ประการ ผมว่าเราก็ควรสนับสนุนให้ศึกษาหาความรู้จากการอ่านกันมากขึ้นนะครับ ซึ่งการอ่านหนังสือหมายถึงหนังสือ รวมทั้งตำราเรียน ตลอดจนการอ่านจากอินเทอร์เน็ต หรือ แอพพลิเคชั่นต่างๆ ด้วยนะครับ


อาจารย์บางท่านเวลาสอนนักศึกษาก็มักจะใช้ตำราเล่มเดียวเป็นหลัก บางทีก็ใช้มาเป็นเวลานานจนบางทีมีองค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นก็ยังไม่เปลี่ยน การใช้ตำราเล่มเดียวโดยไม่อ่านหาความรู้จากตำราเล่มอื่น ก็เหมือนการทำวิจัยที่ไม่มีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องนะครับ ความรู้มันจะไม่กว้าง และไม่ลึกพอ ปัญหาที่ผมพบอีกประการก็คือ ผู้เรียน หรือนักศึกษา ผมว่ามีนักศึกษาที่ให้ความสำคัญต่อการอ่านน้อยลง จะอ่านก็ต่อเมื่อจะสอบ แล้วก็ไม่อ่านล่วงหน้า หรือ อ่านทบทวนหลังจากการเรียนในแต่ละหัวข้อ อันนี้ก็ต้องใช้ไม้นวม ไม้แข็ง ประกอบกันไปในแต่ละสไตล์ของอาจารย์แต่ละท่านนะครับ


สำหรับคนต่างจังหวัด ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่ยังมีอัตราการอ่านหนังสือน้อยอยู่ ผมว่าน่ากังวลยิ่งกว่าคนเมือง คำถามสำคัญก็คือว่าหนังสือที่มีวางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด สามารถตอบสนองกลุ่มคนในชนบทได้มากน้อยแค่ไหน

“ถ้าเกิดชาวบ้านอ่านหนังสือแล้วถามกลับมาว่าอ่านแล้วไม่เห็นจะทำนาทำไร่ดีขึ้นเลย ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเขา เหตุใดเขาต้องหยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน”

ฉะนั้นปมปัญหาหลักอยู่ที่เนื้อหาหนังสือที่วางขายตามท้องตลาดไม่ได้ตอบโจทย์คนอีกหลายกลุ่มในประเทศ หากอยากทำให้การอ่านหนังสือแพร่หลายทั่วไทย สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาก็คือ การผลิตเนื้อหาหนังสือควรสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนแบบครอบคลุม ไม่ใช่คนแค่หยิบมือเดียว

คนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในเมือง แต่หนังสือหรือนิตยสารส่วนใหญ่บนแผงหนังสือ เลือกตอบโจทย์แค่คนเมือง นั่นเพราะยังไงก็ขายได้ แต่ใช่ว่ากลุ่มเป้าหมายที่เหลือไม่มีกำลังซื้อ เพียงแต่ยังไม่มีใครกล้าเสี่ยงมาลองทำการตลาดกับคนกลุ่มนี้ นะครับคุณปุ๊ก

ในช่วงท้ายผมขอพูดถึงสถิติการอ่านหนังสืออีกสักตัวนะครับ จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2554 พบว่า ร้อยละ 97 ของเด็กที่อ่านหนังสือที่มีอายุไม่เกิน 5 ปี เป็นกลุ่มที่มีผู้ใหญ่มีส่วนร่วมในการอ่านหนังสือด้วยนะครับ ส่วนที่เหลืออีก ร้อยละ 3 อ่านหนังสือคนเดียวตามลำพัง เพราะฉะนั้น การปลูกฝังให้เด็กรักการอ่านหนังสือ ต้องเริ่มที่ผู้ใหญ่ ให้เวลากับการอ่าน ร่วมกับลูกหลานของท่าน ผมว่าอนาคตน่าจะมีคนไทยอ่านหนังสือเพิ่มมากขึ้นแน่นอนครับ



http://phongzahrun.wordpress.com/2013/10/21/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 20/04/2014 8:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

หัวใจนักปราชญ์ ยุค IT

ฟัง คิด ถาม เขียน + อ่าน ดู ทำ วิเคราะห์ เปรียบเทียบ .... ฟันธง (ทำใช้-ทำขาย-ทำแจก-ทำทิ้ง = สะใจ)



KIM ZA GASS



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2
หน้า 2 จากทั้งหมด 2

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©