-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 23 JAN *อาการขาดธาตุอาหารพืช
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 23 JAN *อาการขาดธาตุอาหารพืช

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 23/01/2015 11:53 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 23 JAN *อาการขาดธาตุอาหารพืช ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร รายการวิทยุ 23 JAN

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์) และ
FM 91.0 เวลา 07.00-08.00 (วันอาทิตย์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็ม.แคล--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
.... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .........
.... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .........

-----------------------------------------------------------




จาก : (090) 280-46xx
ข้อความ : ได้ยินลุงคิมพูดเรื่องปุ๋ยว่ามี 14 ตัว ถ้าเราทำเกษตรอินทรีย์ ในปุ๋ยอินทรีย์ต้องมีสารอาหารครบ 14 ตัว อยากให้ลุงคิมอธิบาย ถ้าพืชขาดสารอาหารตัวไหนแล้ว ลักษณะพืชจะเป็นอย่างไรบ้าง กับสารอาหารอะไรมีในอินทรีย์วัตถุอะไร .... THANK YOU VERY MUCH
ตอบ :
เคยพูดอยู่เสมอๆว่า ทำเกษตรใส่ปุ๋ยใช้ปุ๋ยแล้วรู้ไหมว่า ปุ๋ยมีกี่ตัว ปุ๋ยมีกี่ประเภท ปุ๋ยมีกี่ชนิด เรื่องนี้หลายคนคิดว่าไม่สำคัญ ปุ๋ยก็คือปุ๋ย ใส่ลงไปเถอะใช้ได้ทั้งนั้น แต่ในความเป็นจริง ปุ๋ยเป็นสิ่งสำคัญมาก ปุ๋ยคืออาหารของพืช เหมือนมื้อเช้ามื้อค่ำในสำรับคืออาหารของคน ต้นไม้กินอาหารตัวเดียวเดี่ยวๆ ก็เหมือนคนที่กินแต่ข้าวเปล่าๆ ไม่มีกับข้าวนั่นแหละ เรื่องอย่างนี้เหมือน หูข้างใบหน้า-จมูกอยู่ไต้ตา-ขนคิ้วอยู่เหนือตา-ขนตาจะแทงลูกตาอยู่แล้ว ยังมองไม่เห็น

เคยไปบรรยายที่ชมรมสีสันชีวิตไทย สาขาบ้านทึง สามชุก สุพรรณบุรี บ้านคุณคำรณ มะลิทอง มี สมช.มาฟังกว่า 200 คน งานนี้ยื่นข้อเสนอ ใครเขียนคำถามมา 1 คำถาม จะได้วารสารเกษตรใหม่ 1 ฉบับ แลกกัน วันนั้นมีคำถามเข้ามาร่วม 200 คำถาม .... ไม่น่าเชื่อที่มีคนแก่ (เฉพาะอายุ) เดินมาถามปากเปล่าที่โพเดียมบรรยาย บอกว่า ขี้เกียจเขียน แล้วจะของรับรางวัล เลยบอกว่า ที่ถามปากเปล่าเนี่ย จำไม่ได้หรอก แล้วจะขอรางวัลด้วย ไม่อายเด็กเหรอ เพราะเด็กมันเขียนกันทุกคน ลงท้าย ไม่รับคำถาม แล้วก็ไม่ให้รางวัลด้วย....นี่แหละ วัฒนธรรมไทย

ทุกคำตอบต่อคำถามนี้ เป็นวิชาการเกษตรล้วนๆ เมื่อเราทำการเกษตรแล้วไม่มีความรู้ทางวิชาการเลยจะประสบความสำเร็จได้ยังไง บอกแล้วว่า วิชาเกษตร ยากกว่าวิชาวิศว + แพทย์ ในวิชาเกษตรไม่มีภาษาไทยเลย แล้วเกษตรกรอย่างยัยสียัยสาตามียัยมา ไม่มีความรู้ภาษาอังกฤษแล้วจะทำยังไง เอาละใจเย็นๆ งานนี้ขอแค่อ่านหนังสือออกอย่างเดียวก็พอ อ่านบ่อยๆ อ่านมากๆ อ่านให้จำได้ อ่านแล้วไปดูของจริง ดูแล้วเปรียบเทียบระหว่างของจริงกับเรื่องราวในวิชาการว่า “เหมือนกันหรือต่างกัน” อย่างไร เมื่อรู้แล้วว่าอะไรเป็นอะไร ถึงคราวปฏิบัติก็ให้ปฏิบัติตามวิชาการ หรือ “ทำตามโผ” นั่นแหละ

ถึงยุคสมัยที่เกษตรกรไทย รวมไปถึงคนไทยทุกหมู่เหล่า ทุกสาขาอาชีพ ต้องเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ การเรียนมิใช่ต้องไปนั่งเรียนในห้องเรียน มีครูมาสอนหน้าห้องเท่านั้น การอ่านหนังสือด้วยตัวเองในบ้านก็เป็นการเรียนอย่างหนึ่ง การเรียนต้องเรียนตลอดชีวิต LEARNING ALL THE LIVE เพราะทุกวินาที จะมีความรู้วิชาการใหม่ๆออกมาเสมอ เคยมีนักการศึกษาพูดว่า จบปริญญาออกมาแล้ว ไม่อ่านหนังสือเลย จะเหลือความรู้แค่ระดับ ปวช. ปวส. เท่านั้น

หลักการและเหตุผล :
- สิ่งมีชีวิตในโลกนี้ ได้แก่ มนุษย์ สัตว์ พืช และจุลินทรีย์ ต่างต้องการสารอาหารเพื่อการดำรงชีวิตเหมือนๆ กัน
- สารอาหารที่สิ่งมีชีวิตทั้งหลายกิน คือ ตัวเดียวกัน ต่างกันที่ “รูปทางเคมี” เท่านั้น
– สารอาหาร ได้แก่ ไนโตรเจน. ฟอสฟอรัส. โปแตสเซียม. แคลเซียม. แม็กเนเซียม. กำมะถัน, เหล็ก, ทองดง, สังกะสี. แมงกานิส. โมลิบดินั่ม. โบรอน. ซิลิก้า. โซเดียม. คลอรีน.

– สารอาหารพืช แยกเป็นกลุ่มได้ ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม
– สารอาหารมนุษย์ สัตว์ แยกเป็นกลุ่มได้ โปรตีน. คาร์โบไฮเดรท. วิตามิน. แร่ธาตุ. ไขมัน.
- ตัวอย่างธาตุอาหาร พืช-คน-สัตว์ คือตัวเดียวกันแต่ต่างกันที่รูปทางเคมี เช่น ไนโตร เจน. เป็นส่วนประกอบที่สำคัญใน กรดอะมิโน, แอมโมเนีย, กรดไนตริก, เช่น

.... ธาตุเหล็ก. อยู่ในเม็ดเลือดแดง
.... แคลเซียม. อยู่ในกระดูก ฟัน เลือด
.... ฟอสฟอรัส. อยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย และอยู่ในเม็ดเลือดแดง
.... ยิบซั่ม. ใช้ทำยาแก้ปวดท้อง
.... บอแร็กซ์. ทำลูกชิ้นปิงปอง ปูอัด
.... ยูเรีย. ทำวุ้นน้ำมะพร้าว
.... ฯลฯ

- การที่พืชแสดงลักษณะหรืออาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งทั้งบนดินและไต้ดิน วิเคราะห์ได้ 2 สาเหตุ คือ มีเชื้อ กับ ไม่มีเชื้อ

* “มีเชื้อ” หมายถึง มีเชื้อโรคในพืช แก้ไขด้วยการใช้ “สารออกฤทธิ์หรือตัวยา” กำจัดชื้อโรคตัวนั้น การใช้สารออกฤทธิ์หรือตัวยามี 2 ช่องทาง คือ สารเคมี กับ สารสมุนไพร การใช้จะให้ได้ผลก็ต้องยึดหลัก “สมการ สารเคมี/สารสมุนไพร” เป็นหลัก

* “ไม่มีเชื้อ” หมายถึง ขาดสารอาหาร เหมือนคนเป็นโรคขาดสารอาหาร แก้ไขด้วยการให้ “สารอาหาร” เพื่อให้พืชนำไปพัฒนาหรือซ่อมแซมสรีระส่วนนั้น



@@ ลักษณะอาการพืชขาดสารอาหาร :
ธาตุไนโตรเจน : ลักษณะอาการ ใบมีสีเขียวจางแล้วเหลืองโดยเฉพาะใบแก่ ต้นโตช้า รากหรือส่วนสะสมอาหารมีขนาดเล็กลง

แหล่งไนโตรเจน :
ในพืช : ส่วนสีเขียวเข้มแก่จัดของพืชทุกชนิด. ต้นถั่วทุกชนิด. ใบพืชตระกูลถั่ว (ก้ามปู. พุทรา. มะขามเทศ. มัยราบ. ทองหลาง. กระถินทุกชนิด. โสนทุกชนิด) สาหร่ายน้ำจืดทุกชนิด. แหนแดง. สาหร่ายเขียวแกมน้ำเงิน.

ในสัตว์ : เมือก-คาว-เลือด-เนื้อ สดๆ จากปลายังมีชีวิต. ปัสสาวะ (คน/สัตว์) สดใหม่.
ในน้ำ : น้ำฝน. น้ำค้าง. น้ำในแหล่งธรรมชาติ.


ธาตุฟอสฟอรัส : ลักษณะอาการ ใบมีสีม่วงแดงบนแผ่นใบ เส้นใบ และลำต้นเห็นเด่นชัด ใต้ใบมีสีทึบเข้ม ขอบใบม้วนงอไหม้ ต้นโตช้า ผอมสูง มีไฟเบอร์มาก ทำให้หยาบแข็ง ผลสุกหรือแก่ช้ากว่าปกติ

แหล่งฟอสฟอรัส
ในพืช : รากสดแก่จัด. เมล็ดในสดแก่จัด. ใบแก่ชะอม-ขจร-ถั่วพู-กระถิน-มะระ-บัว บก-ผักบุ้งจีน-สะระแหน่-หน่อไม้ฝรั่ง. งาดำ. ถั่วดำ. ถั่วลิสง. ถั่วเหลือง. เมล็ดบัว. ลูกเดือย. ดอกตูมและเกสร. สาหร่ายทะเล .... เนื้อผลไม้รสหวานสนิทแก่จัดสุกงอมจนออกกลิ่นฉุน เช่น กล้วย. เงาะ. มะละกอ. ทุเรียน. ละมุด. ฝรั่ง. น้อยหน่า. แก้วมังกร. มะปรางหวาน. มะยงชิด. ลองกอง. ลางสาด. มะขามหวาน. แตงโม. แคนตาลูป.

ในสัตว์ : เกร็ด-ก้าง-กระดูกปลาทะเล สด/แห้ง-เก่า/ใหม่. มูล-น้ำปัสสาวะ (คน/สัตว์) สดใหม่.
ในอาหารคน : มัสตาส. นมผงขาดมันเนย. เนยแข็ง. ลูกชิ้นกุ้ง. กะปิเคย
ในธรรมชาติ : หินที่ละลายน้ำ (ร็อคฟอสเฟต), หินแร่


ธาตุโพแทสเซียม : ลักษณะอาการ คือ ใบขอบใบม้วนงอ ใบแห้งเป็นมัน มีจุดสีน้ำตาลทั่วไป พบเห็นชัดเจนในใบล่างๆของต้น ลักษณะอาการในต้นพืช คือ ต้นโตช้า ผลสุกไม่สม่ำเสมอ ถ้าเป็นมะเขือเทศเนื้อจะเละ

แหล่งโปแตสเซียม :
ในพืช : เปลือกและเนื้อของผลไม้รสหวานสนิทแก่จัดสุกงอมจนออกกลิ่นฉุนเหมือนฟอสฟอรัส, ผลดิบแก่จัด เช่น ฟักทอง. แตงทุกชนิด. กระเจี๊ยบ. พริกสด. มะเขือพวง. ผักสด เช่น บล็อกโคลี่. ผักกาดขาว. ผักกาดหอม. ป๊วยเหล็ง. เปลือกผลไม้รสหวาน เช่น ทุเรียน. กล้วย. มะละกอ (ยกเว้น มังคุดและเงาะ)

ในสัตว์ : เนื้อสดสัตว์น้ำจืด/ทะเล. เครื่องในสัตว์บก/ทะเล. น้ำปัสสาวะ (คน/สัตว์) สดใหม่.


ธาตุแคลเซียม : ลักษณะอาการ คือ ใบเหลือง มีจุดประขาวที่ใบยอด ดูคล้ายอาการยอดด่าง และยอดอ่อนมักจะม้วนงอ บางทีขอบใบหยักเป็นคลื่น ถ้าเป็นที่ลำต้น ต้นอ่อน โตช้า

แหล่งแคลเซียม
ในพืช : ผักผลสดแก่จัด เช่น ถั่วลันเตา. กระเจี๊ยบ. แตงดิบทุกชนิด. มะขามเทศมัน. กระถิน. มะระ. มะเขือเทศดิบ. บวบเหลี่ยม. งาดำ, ผักใบสดแก่จัด เช่น คะน้า. โขม. กะเฉด. บล็อกโคลี่. ยอดปอ. ใบแก่ฟักทอง, ผลดิบสดแก่จัดรสฝาดยังไม่สุก เช่น ฝรั่ง. อะโวคาโด. ผล/เมล็ดแตงแก่สดทุกชนิด. เมล็ดถั่วเขียว. มะขามเทศฝาด. มะขามป้อม. ขุยมะพร้าว.

ในสัตว์ : เกร็ด-ก้าง-กระดูกของปลาสดมีชีวิต. เปลือกไข่. เปลือกหอยสด/แห้ง/เก่า/ใหม่. นมสดสัตว์รีดใหม่. กุ้งฝอยสด/แห้ง. หอยจูน. หอยทราย. น้ำปัสสาวะ (คน/สัตว์) สดใหม่.

ในอาหารคน : นมพร่องมันเนย. เนยแข็ง. ผงกะหรี่. ไข่สด
ในธรรมชาติ : ยิบซั่มธรรมชาติ. ปูนหินเผา. ปูนเปลือกหอมเผา. ปูนมาร์ล. โดโลไมท์.


ธาตุแมกนีเซียม : ลักษณะอาการที่ใบจะมีจุดประสีเหลืองอยู่ทั่วทั้งใบ ที่ใบแก่หรือใบที่อยู่ตอนล่างของต้น ตรงขอบจะมีจุดสีน้ำตาล ปลายใบจะแห้งเป็นสีน้ำตาล สำหรับผักกาดใบจะมีสีซีดจางลง ลักษณะอาการที่แสดงที่ลำต้นคือ ต้นพืชจะมีขนาดเล็กลงมาก เปราะหักง่าย ส่วนที่ผลรากนั้นคือ ผลจะแก่ช้ากว่าปกติ

แหล่งแม็กเนเซียม :
ในพืช : เปลือก-ใบ-ตา-ต้นสีเขียวเข้มแก่จัด. เมล็ดในสดแก่จัด. เนื้อ/เปลือกผลไม้สดแก่จัดสุกงอมรสหวานอมเปรี้ยว เช่น สับปะรด. สตรอเบอร์รี่, มะเฟือง. ระกำ. สละ. เชอรี่. มะเขือเทศดิบ

ในสัตว์ : เกร็ด-ก้าง-กระดูกสัตว์. ปลาทะเล.
ในธรรมชาติ : ปูนมาร์ล. โดโลไมท์.


ธาตุกำมะถัน : ลักษณะอาการ คือ ใบล่างเหลือง ส่วนลำต้นแข็งแต่เปราะ
แหล่งกำมะถัน
ในพืช : พืชสด/แห้งแก่จัดที่มีกลิ่นฉุน เช่น หอมแดง. หอมหัวใหญ่. กระ เทียม. ขึ้นฉ่าย. ผักชี. สะตอ. พริกสด/แห้ง

ในสัตว์ : เมือก-เลือด-เนื้อ สดใหม่จากปลาทะเลมีชีวิต
ในอาหารคน : ไข่สด
ในธรรมชาติ : ยางติดเปลือกมังคุด. กำมะถันผง. ยิบซั่มเพื่อการเกษตร



ธาตุเหล็ก : ลักษณะอาการ คือ ใบอ่อนเหลือง และมีขนาดเล็กกว่าปกติ
แหล่งเหล็ก :
ในพืช : ตาที่กำลังอั้นเต็มที่. ยอดอ่อน. เนื้อ/ใบสดแก่จัดของฟักทอง-ฟักเขียว-เผือก-กะเฉด-ผลพริกสด-ยอดปอ. มะเขือพวง. เมล็ดถั่วแขกแห้ง. เมล็ดบัว. เมล็ดกระถิน. ถั่วลิสง. ลูกเดือย. ยอดขี้เหล็ก. ผักดูด. เห็ดหูหนู. มัสตาด. จมูกข้าว.

ในสัตว์ : เมือก-เลือด-เครื่องในสดจากปลาทะเลมีชีวิต. เลือดวัว/ควาย/ไก่/แพะ. นมสดสัตว์รีดใหม่.
ในอาหารคน : มัสตาด. นมกล่องจืด/เปรี้ยว. ไข่สด.


ธาตุสังกะสี : ใบเลี้ยงของถั่วฝักยาว มีจุดสีน้ำตาลแดง ใบข้าวโพดมีแถบสีเขียวเหลืองที่โคนใบ ส่วนถ้าขาดในผักกาด จะทำให้เส้นใบของหัวผักกาดแดงมีสีเหลืองและมีอาการไหม้ ส่วนลักษณะอาการที่ผลคือ ไหมของข้าวโพดจะโผล่ออกมาช้ากว่าปกติมาก
ข้าวโพดมีฝักน้อย เพราะขาดการผสมพันธุ์

แหล่งสังกะสี :
ในพืช : หัวสดแก่จัดเป็นเสี้ยนจนกินไม่ได้ เช่น ไชเท้า. แครอท. มันเทศ. มันแก, เหง้าหรือไหลสดแก่จัด เช่น ผักปอด. พุทธรักษา. กล้วย. เตย. ตำลึง. เมล็ดสดแก่จัด เช่น ฟักทอง. บวบ. แตง. ถั่วเขียว.

ในสัตว์ : หอยทะเล. ปลาทะเล.


ธาตุแมงกานีส : ลักษณะอาการ คือ ใบเล็กผิดปกติ ยอดเหลือง เนื้อใบเหลืองทั้งๆที่เส้นใบยังเขียวอยู่ มีจุดสีน้ำตาลเล็กๆ และอาจจะขยายวงกว้าง ในข้าวโพดใบมีแถบสีเหลืองแคบๆ ที่ลำต้นคือ ต้นพืชผอมโกร่ง มีขนาดเล็ก ติดผลน้อย

แหล่งแมงกานิส
ในพืช : มะเขือเทศสุก. ผลตำลึงสุก. ผลวัชพืชสุก. เมล็ดอ่อน. ส่วนที่เป็นน้ำหรือเยื่อเจริญของพืช.
ในสัตว์ : เครื่องในสดปลาทะเล.


ธาตุทองแดง : ลักษณะอาการ คือ พืชผักบางอย่างแผ่นใบมีสีเหลือง บางอย่างใบจะยาวผิดปกติ เช่น ผักกาดหอม ต้นโตช้า ใบย่นและอ่อน หัวหอมจะหัวอ่อนนุ่ม เปลือกบาง สีขาวซีด

แหล่งทองแดง
ในพืช : ส่วนสีเขียวสดแก่จัด. เมล็ดในสดแก่จัด. พืชตระกูลถั่ว.
ในสัตว์ : เครื่องในสดจากปลาทะเลมีชีวิต



ธาตุโบรอน : ลักษณะอาการ คือ ขอบใบเหลืองปนน้ำตาล ใบอ่อนงอ ในพืชลงหัว เช่น ผักกาดหัว ใบจะเป็นจุดๆ ขนาดต้นเล็กลง ยอดแห้งตาย ในหัวผักกาดแดงมีจุดประสีน้ำตาลหรือสีดำ ในกะหล่ำดอก บร็อคโคลี ดอกจะเป็นสีน้ำตาล
แหล่งโบรอน
ในพืช : ผลอ่อน-ยอดอ่อน-ใบอ่อน-รากอ่อน ลักษณะกรอบ เปราะ เด็ดได้ด้วยมือ เช่น ผล/ยอดแตง-กะเฉด-ตำลึง-ผักบุ้ง, ยอดอ่อนของพืชเลื้อยทุกชนิด, เปลือกสดเขียวส่วนปลายกิ่งที่กำลังมีผลอ่อน. ทะลายปล์ม.

ในสารสังเคราะห์ : น้ำประสานทอง. โบรอนพืช (เกรด 10 โมเลกุลน้ำ).



ธาตุโมลิบดินั่ม : ลักษณะอาการ คือ ใบสีจางซีดผิดปกติ กะหล่ำดอกมีใบแคบ ช่องระหว่างเส้นใบจะเหลือง ต้นแคระแกร็น ผลมีขนาดเล็กลง ดอกกะหล่ำหลวมไม่แน่น

แหล่งโมลิบดินั่ม
ในพืช : เยื่อเจริญ


ธาตุซิลิก้า : ลักษณะอาการ คือ ใบไม่กระด้างและโน้มลง จำนวนเมล็ดลดลง ต้นล้มง่าย

แหล่งซิลิก้า :
ในพืช : แกลบดิบ. หญ้าคา. หญ้าขน. พืชตระกูลหญ้า. กากน้ำตาล.
ในธรรมชาติ : หินภูเขาไฟ


ธาตุโซเดียม : ไม่มีข้อมูล
แหล่งโซเดียม :
ในสัตว์ : เครื่องในสดใหม่ปลาทะเลมีชีวิต. มูลควาย. น้ำปัสสาวะ (คน/สัตว์) สดใหม่.
ในพืช : เมล็ดงา เมล็ดทานตะวัน ข้าวเจ้า รำข้าวสาลี ผักต่างๆ เช่น ผักคะน้า
กะหล่ำปลี มะเขือเทศ แครอท หัวบีท ถั่วลันเตา มะม่วงหิมพานต์ ผลไม้สด เช่น
มะม่วง สับปะรด

ในอาหารคน : ไข่ นมสด เนย เนยแข็ง น้ำมันพืช
ในธรรมชาติ : เกลือสมุทร. คาร์บอน, สาหร่ายทะเล,
ในสารธรรมชาติ : แกลบดำ. ถ่าน. ขี้เถ้า. ควันไฟ.


http://www.ku.ac.th/e-magazine/april48/agri/flora.html
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1749


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©