-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบปัญหาทางวิทยุ 25 NOV *สู้ภัยแล้ง : หน่อไม้ฝรั่ง-ผัก-แตงโม
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบปัญหาทางวิทยุ 25 NOV *สู้ภัยแล้ง : หน่อไม้ฝรั่ง-ผัก-แตงโม

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 25/11/2015 7:09 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบปัญหาทางวิทยุ 25 NOV *สู้ภัยแล้ง : หน่อไม้ฝรั่ง-ผัก-แ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 25 NOV

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

-----------------------------------------------------------


WARNING :

* ปี 58 แล้งแล้วเพราะ ฝนจากฟ้าน้อย ฝนหลวงทำแล้วได้แค่นั้น .... ลงท้าย เขื่อนเล็กเขื่อนใหญ่ไม่มีน้ำ
* ปี 59 น้ำฝนจากฟ้าจะมีหรือไม่ ? ฝนหลวงจะทำได้เท่าไหร่ ? แต่น้ำในเขื่อนยังไม่มี .... ลงท้าย คือ แล้ง

* ปี 60 ถ้าปี 59 น้ำฝนจากฟ้าน้อย น้ำจากฝนหลวงน้อย น้ำในเขื่อนน้อยเพราะไม่มีน้ำเติมเขื่อน.... ลงท้าย คือ แล้ง

* ปี 61 ปี 62 น้ำฝนจากฟ้าน้อย น้ำจากฝนหลวงน้อย น้ำในเขื่อนน้อย รวมแล้วคือ "แล้ง" ดีๆนี่เอง ว่ามั้ย

**** สรุป : ปี 59-60-61-62 น้ำ "น้อย" แน่ๆ

น้ำฝนจากฟ้า น้ำจากฝนหลวง นาที่ลุ่ม O.K. แต่นาที่ดอนล่ะ ?
น้ำเติมเขื่อนทางเดียว คือ น้ำท่วมเหมือนปี 54 นั่นแหละ
ทางแก้เรื่องน้ำ ฝนจากฟ้า ฝนหลวง คือ "น้ำบาดาล" เท่านั้น
ทางแก้เรื่องพืช ปลูกพืชใช้น้ำน้อย ใช้เนื้อที่ปลูกน้อยๆ แค่เพียงพอกับน้ำที่มี เท่านั้น
--------------------------------------------------------------------

ข่าวจาก ทีวี. สู้ภัยแล้ง :
อ่างทอง :
.... นาข้าว 20 ไร่ ปี 58 ทั้งปีไม่ได้ทำนาเพราะไม่มีน้ำ ตัดที่แบ่งมาปลูกหน่อไม้ฝรั่ง 2 ไร่ จัดแปลงแบบยกร่องแห้งลูกฟูก ระยะเวลา 4 เดือน เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เก็บส่งที่กลุ่ม

อุดร :
.... นาข้าว 30 ไร่ แน่ใจว่า นาปรังปีนี้ (58/59) ทำไม่ได้แน่เพราะไม่มีน้ำ ตัดที่นามาปลูกผักสวนครัว คะน้า-กวางตุ้ง-บวบเหลี่ยม-กระเพา-โหระพา-แมงลัก เนื้อที่ 10 ไร่ ใช้น้ำบาดาลในแปลง รดน้ำด้วยสายยาง 2 นิ้ว ระยะเวลา 45 วันเริ่มเก็บเกี่ยว ไปขายที่ตลาดนัดในหมู่บ้าน

อุบล :
.... มีที่นา 40 ไร่ นาปรังปีนี้ทำไม่ได้เพราะไม่มีน้ำ วันนี้รับแตงโมจากแปลงเพื่อนบ้านใกล้เคียงมาวางขายริมถนน มีแผนการหน้าหนาวนี้จะตัดที่นา 10 ไร่ มาปลูกแตงโมของตัวเอง ระยะเวลาปลูก 70 วันก็เก็บเกี่ยวได้แล้ว

หมายเหตุ :

- จากสภาพความแห้งแล้งที่นายกรัฐมนตรีพูดแบบเพลงพาไปหรือกลอนพาไปว่า ให้ "ปลูกถั่วปลูกถั่ว" แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นถั่วสวนครัว (ถั่วฝักยาว ถั่วพู ถั่วลันเตา) หรือถั่วพืชไร่ (ถั่วเขียว เหลือง แดง ดำ ขาว) ความที่เกษตรกรคิดไม่เป็น เลยปลูก “ถั่วฝักยาว” ได้ถั่วฝักยาวแล้ว จะขายไม่มีตลาด ก็เลยโวยวายนายกรัฐมนตรีว่า ให้ปลูกแล้วไม่หาตลาดให้ด้วย

ปรัชญาเรื่องนี้ คือ “ปลูกกับขาย” มันเป็นคนละเรื่องกันแต่ต้องไปด้วยกันเพราะ “ปลูกเพื่อขาย” เพราะฉะนั้น เกษตรกรหรือผู้ปลูกต้องมีข้อมูลด้านการปลูกหรือวิธีปลูก แล้วก็ต้องมีข้อมูลตลาดหรือรู้จักคนรับซื้อด้วย

จากถั่วฝักยาว คิด/วิเคราะห์ ต่อไปที่พืชอื่นที่เอ่ยถึง ไม่ว่าจะเป็น ถัวพู ถั่วลันเตา ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วขาว กับพืชไร่ใช้น้ำน้อย (น้ำน้อยกับไม่มีน้ำ ต่างกัน) อื่นๆที่ไม่ได้เอ่ยถึง ตราบใดที่ทำเพื่อขายก็ต้องยึดหลักการนี้ทั้งสิ้น คือ การผลิต-การตลาด

ต้องชมเชย ทีวี.ที่ฟันธง "ถั่วนายก" ให้เป็นพืชพรรณที่ใครๆก็ปลูกได้ขายเป็น เป็นการคิดแทนเกษตรกร ประมาณนั้น

รายการนี้นำเรื่อง หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า กวางตุ้ง บวบเหลี่ยม กระเพา โหระพา แมงลัก แตงโม จากข่าว ทีวี.มานำเสนอ ไม่ใช่ “ฟันธง” ให้ปลูกเฉพาะตัวนี้เท่านั้น แต่เอามาเป็น CASESTUDY กรณีศึกษาให้พิจารณาเป็นตัวอย่างหรือแนวทางเท่านั้น จากนั้นก็ให้คิดเอาเองว่าจะปลูกอะไร บนหลักการ....

* การตลาด นำการผลิต
* ทำงานทั้งปีได้ขายหลายรอบ
* ผลผลิตที่ได้ เกรด เอ. พรีเมียม. จัมโบ้. คนนิยม
* ราคาต่อหน่วยแพงๆ
* แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม
* ทำเกษตรแบบพันธะสัญญา
* รวมกลุ่มเพื่อสร้างพลัง


- ทุกพืชที่กล่าว ปลูกได้ทุกพื้นที่ ทุกสภาพอากาศของประเทศไทย
- ทำงานทั้งปีได้ขายหลายรอบ
- ทุกผัก “ตัด/ลด” ต้นทุน ค่าปุ๋ยเคมี ค่าสารเคมียาฆ่าแมลง ขายได้เท่าเดิม = กำไรเพิ่ม
---------------------------------------------------------------------


แตงโมยักษ์ไต้หวัน มีพื้นที่ปลูกมากที่จังหวัดอิ๋นหลิน :

อิ๋นหลิน (Yunlin) เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญของไต้หวันจังหวัดหนึ่ง พื้นที่อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะไต้หวัน แตงโมยักษ์มีพื้นที่ปลูกมากที่จังหวัดนี้คือ มีพื้นที่ปลูกประมาณ 6,250 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยปีละประมาณ 16,000 ตัน โดยมีช่วงฤดูกาลปลูกจะอยู่ระหว่าง พ.ค.- ส.ค. ของทุกปี สภาพพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมที่สุดคือ ดินร่วนปนทราย ลักษณะเด่นของแตงโมยักษ์ไต้หวัน จัดเป็นแตงโมขนาดผลใหญ่ ถ้ามีการบำรุงรักษาที่ดี น้ำหนักผลจะมีน้ำหนักได้ถึง 20 กก. รูปทรงผลรีคล้ายลูกรักบี้ เปลือกมีสีเขียวอ่อนและมีลายทั่วผล เนื้อมีสีแดงเข้ม การขายผลผลิตแตงโมยักษ์ในไต้หวัน ถ้าขายแบบยกผล จะมีราคาเฉลี่ย กก. ละ 15-20 บาท แต่ส่วนใหญ่พ่อค้าที่นำมาขายปลีกจะผ่าขายเป็นชิ้นๆ

ได้เมล็ดแตงโมยักษ์ไต้หวัน มาทดลองปลูก ที่จังหวัดพิจิตร :

ในที่สุดผู้เขียนก็ได้ซื้อเมล็ดแตงโมยักษ์ไต้หวันมาทดลองปลูกที่แผนกฟาร์ม ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร โดยเริ่มปลูกครั้งแรกในช่วง ก.ค. 2552 โดยเริ่มต้นจากการเพาะกล้าด้วยการนำเมล็ดแตงโมมาแช่ในน้ำอุ่น นานประมาณ 30 นาที จากนั้นให้นำเมล็ดบ่มในผ้าขาวบางที่เก็บความชื้นเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง 2-3 วัน เมล็ดจะเริ่มแทงรากออกมา นำเมล็ดไปเพาะในกระบะเพาะกล้าต่อ รดน้ำทุกวัน จนต้นกล้ามีอายุได้ 10-13 วัน จึงย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลง

(มีข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการปลูกแตงโมในช่วงฤดูหนาว มีเกษตรกรบางรายหยอดเมล็ดลงปลูกในหลุมเลย จะพบว่าเมล็ดงอกช้ามากหรือไม่งอกเลย เนื่องจากถ้าอุณหภูมิของดินปลูกต่ำกว่า 15.5 องศา ซ. เมล็ดแตงโมจะไม่งอกโดยธรรมชาติ แก้ปัญหาด้วยการหุ้มเมล็ด แช่เมล็ดแตงโมในน้ำอุ่น ทิ้งไว้ 1 วันกับ 1 คืน แล้วเอาผ้าเปียกห่อวางไว้ในที่ร่ม จะช่วยทำให้เมล็ดแตงโมงอกได้เร็วขึ้น)

การเตรียมแปลงปลูกแตงโมยักษ์
:
ในการทดลองปลูกแตงโมยักษ์ของแผนกฟาร์ม ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร
จังหวัดพิจิตร ได้มีการเตรียมแปลงด้วยการขึ้นแปลงแบบคู่กัน โดยให้มีความกว้างของแปลง 1 ม. สำหรับความยาวของแปลงขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และความสะดวกในการจัดการ แปลงปลูกแตงโมแต่ละคู่จะให้ห่างกัน 7-10 ม. เพื่อให้เป็นพื้นที่ให้เถาแตงโมได้เลื้อยและติดผล สภาพของดินปลูกถ้าเลือกสภาพดินได้ ควรเป็นดินร่วนปนทรายจะเหมาะสมที่สุด

เนื่องจากมีการระบายน้ำที่ดี จะต้องปรับสภาพค่าความเป็นกรด-ด่าง ให้มีค่า pH เฉลี่ยอยู่ที่ 6-6.5 ถ้าดินมีสภาพความเป็นกรดให้ใส่ปูนขาว เนื่องจากเป็นแตงโมที่มีขนาดของผลใหญ่มาก ระบบการให้น้ำจะต้องดีและมีประสิทธิภาพ จึงใช้ระบบน้ำหยด ต้นละ 1 หัว และแปลงปลูกจะคลุมแปลงด้วยพลาสติก โดยให้ด้านสีบรอนซ์อยู่ด้านบน ซึ่งจะมีส่วนช่วยไล่แมลงศัตรูแตงได้ระดับหนึ่ง ก่อนย้ายต้นกล้าลงปลูกควรจะรองก้นหลุมด้วยสารสตาร์เกิล จี. อัตรา 2 กรัม ต่อหลุม

การไว้เถาและการเด็ดตาข้างของการปลูกแตงโมยักษ์ไต้หวัน :

ความจริงแล้วในการทดลองปลูกแตงโมยักษ์ไต้หวันนั้น ในการเตรียมแปลง การปลูกและการบำรุงรักษาใช้วิธีการเดียวกับการปลูกแตงโมในบ้านเรา แต่มีรายละเอียดปลีกย่อยและเทคนิคที่มีความแตกต่างกันบางประการเท่านั้น อาทิ ในแต่ละต้นหรือแต่ละหลุมปลูกจะปล่อยให้ผลแตงโมยักษ์ติดเพียงผลเดียวเท่านั้น ในขณะที่การปลูกแตงโมของเกษตรกรไทยจะปล่อยให้ติดหลายผล อย่างน้อย 2-3 ผล ต่อ 1 ต้น หลังจากที่ปลูกต้นกล้าแตงโมยักษ์ลงแปลงมีการแตกใบใหม่ออกมา 2-3 ใบ ให้เด็ดยอดแตงโมออกเพื่อให้แตกออกเป็น 2 ตา ซึ่ง 2 ตาข้างดังกล่าวจะเจริญเติบโตเป็นเถา 2 เถา และจะให้แตงโมติดผลเพียงเถาเดียวเท่านั้น ส่วนอีกเถาหนึ่งให้สังเคราะห์แสงเพื่อช่วยเลี้ยงผลเท่านั้น ในการเด็ดตาข้างจะเด็ดตาข้างตั้งแต่ตาข้างที่ 1-19 ของทั้ง 2 เถา และจัดการเถาให้เลื้อยไปในแนวทางเดียวกัน มีการจัดเถาให้เลื้อยไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อไม่ให้เถาพันกัน และง่ายต่อการจัดการ ตั้งแต่ตาข้างที่ 20 เป็นต้นไป ไม่จำเป็นจะต้องเด็ดทิ้ง มีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่าทุกข้อที่มีตาข้างจะมีรากแทงออกมา จึงควรเจาะพลาสติกเพื่อให้รากแทงลงไป ยิ่งมีจำนวนรากมากเท่าไร มีส่วนช่วยให้ผลแตงโมมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย การผสมดอกมีส่วนสำคัญของการปลูกแตงโมยักษ์ ถ้าเป็นไปได้เมื่อผสมดอกจนติดผลแล้วควรเลือกผลที่ 3 หรือ 4 โดยนับจากการติดผลแรกจะดีที่สุด ช่วงเวลาในการผสมดอกคือ ช่วงเวลาเช้า 06.00-09.00 น.

ผลจากการปลูกแตงโมยักษ์ไต้หวัน 2 รุ่น ได้แตงโมที่มีขนาดผลใหญ่สุด มีน้ำหนักเกือบ 20 กก.

จากการทดลองปลูกแตงโมยักษ์ไต้หวันดังกล่าวที่จังหวัดพิจิตรในรุ่นแรก พบว่าขนาดของผลมีน้ำหนักใกล้เคียงกับที่ปลูกในไต้หวัน ลักษณะของผล, เนื้อ เหมือนกัน แต่เนื่องจากในการปลูกรุ่นแรกปลูกในช่วงฤดูฝน รสชาติยังไม่อร่อยเท่ากับที่ปลูกในไต้หวัน แต่สิ่งที่สร้างความมั่นใจได้ระดับหนึ่งก็คือ ขนาดของผลและสีของเนื้อเหมือนกัน ทำให้สรุปได้ในเบื้องต้นว่า แตงโมยักษ์สายพันธุ์นี้ปลูกได้ในบ้านเรา เมื่อผลผลิตแตงโมยักษ์ ในรุ่นที่ 2 ออกมาในช่วงปลายฤดูฝน คุณภาพของเนื้อดีขึ้นและมีรสชาติใกล้เคียงกับที่ปลูกในไต้หวัน และที่สำคัญผลผลิตแตงโมยักษ์ไต้หวัน ในรุ่นที่ 2 นี้ มีอยู่ต้นหนึ่งที่ให้ผลผลิตมีน้ำหนักถึง 19 กก.เศษ นับว่าใหญ่มาก ใครเห็นรู้สึกแปลกใจด้วยคนไทยอาจจะไม่เคยเห็นแตงโมที่มีขนาดของผลใหญ่ขนาดนี้ และในขณะนี้ทางแผนกฟาร์ม ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร ได้ทดลองปลูกแตงโมยักษ์ไต้หวัน ในรุ่นที่ 3 และ รุ่นที่ 4 เพื่อให้ผลผลิตออกให้ทันงาน "เกษตรมหัศจรรย์ วันเทคโนโลยีชาวบ้าน ครั้งที่ 2" จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 24-28 ก.พ. 2553 ที่เดอะมอลล์ บางแค

ปลูกแตงโมยักษ์ในไทย : ตลาดอยู่ที่ไหน :

จริงอยู่พฤติกรรมในการบริโภคแตงโมของคนไทยมักจะคุ้นเคยกับแตงโมที่มีขนาดผลไม่ใหญ่มากนัก มีน้ำหนักผลเฉลี่ย 2-3 กก. เท่านั้น ในขณะที่ผู้บริโภคตามเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ฯลฯ หรือเมืองท่องเที่ยว เช่น พัทยา ภูเก็ต ฯลฯ พ่อค้าซื้อแตงโมยักษ์ไปแบ่งผ่าเป็นชิ้นๆ ขายเหมือนกับที่ไต้หวัน จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งทาง

การตลาดในอนาคต ความจริงแล้วตามโรงแรมหรือการจัดงานเลี้ยงตามสถานที่ต่างๆ
มีความต้องการแตงโมที่มีขนาดผลใหญ่ ขอเพียงแต่แตงโมมีรสชาติหวาน กรอบ และอร่อย เป็นอันใช้ได้ ทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรได้นำผลผลิตแตงโมยักษ์บางส่วนมาทดลองคั้นน้ำแยกกากเพื่อทำเป็นน้ำแตงโมสด 100% (ตามห้องอาหาร โรงแรมใหญ่ๆ ในกรุงเทพมหานคร จะมีน้ำแตงโมสดบริการแขกที่มาใช้บริการ) ผลปรากฏว่าแตงโมยักษ์ที่มีน้ำหนักผลประมาณ 15 กก. เมื่อทำเป็นน้ำแตงโมสด 100% บรรจุขวดละ 200 ซีซี. ได้จำนวน 50 ขวด เป็นอย่างน้อย และนำมาจำหน่ายถึงผู้บริโภคในราคาขวดละ 10 บาท นั่นแสดงให้เห็นว่าแตงโมยักษ์ผลหนึ่งจะทำรายได้ถึงผลละ 400-500 บาท

จากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแตงโมยักษ์ไต้หวันที่ปลูกที่แผนกฟาร์ม ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จังหวัดพิจิตร ซึ่งปลูกในสภาพไร่พื้นราบและมีอุณหภูมิเหมือนกับพื้นที่ที่ปลูกแตงโมทั่วไป 2 รุ่น สรุปข้อมูลของความเป็นไปได้ในเบื้องต้นว่า สามารถปลูกและให้ผลผลิตมีขนาดผลใหญ่ได้ใกล้เคียงกับที่ปลูกในไต้หวัน

ในเรื่องของรสชาติยังต้องมีการตรวจสอบเรื่องอายุของการเก็บเกี่ยวว่า แตงโมยักษ์สายพันธุ์นี้มีอายุการเก็บเกี่ยวและการจัดการในเรื่องของการให้ปุ๋ย โดยเฉพาะการปลูกในช่วงฤดูฝน ปริมาณน้ำฝนอาจจะมีผลต่อรสชาติบ้าง แต่ผลผลิตที่ปลูกในรุ่นที่ 2 ซึ่งสามารถควบคุมปริมาณน้ำได้และเป็นช่วงปลายฤดูฝน รสชาติของผลผลิตมีความหวานและกรอบใกล้เคียงกับที่ปลูกในไต้หวัน

ในเรื่องของโรคและแมลงแตงโมยักษ์เหมือนกับการปลูกแตงโมทั่วไป สิ่งที่จะต้องระวังเป็นพิเศษคือ โรคเถาเหี่ยว ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม ซึ่งโรคนี้เป็นปัญหาหลักของการปลูกแตงโมในบ้านเรา โรคนี้จะระบาดมากในช่วงแตงโมออกดอก การปลูกแตงโมซ้ำที่เดิมและสภาพดินเป็นกรดจัด

ขณะนี้ทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรได้เมล็ดพันธุ์แตงโมยักษ์ไต้หวันอีกสายพันธุ์หนึ่งมาเริ่มทดลองปลูก และเป็นสายพันธุ์ที่ต้านทานโรคเถาเหี่ยว

ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน
-------------------------------------------------

แตงโม (ไทย)....ประสบการณ์ตรง :

แตงโมที่ปลูกแบบปล่อยเถาเลื้อยไปบนพื้นนั้น ส่วนใหญ่ 1 กอ มักให้มี 2 ยอด แล้วไว้ผลยอดละ 1-2-3-4 ผล/ยอด

ช่วงแตงโมได้อายุต้นเริ่มออกดอก บำรุงทางใบด้วยไทเป ทุก 4-5 วัน จะช่วยให้แตงโมออกดอกมากขึ้น หรือให้ 1 ครั้งได้ 1-2 ดอกเสมอ .... คู่กับให้ทางรากด้วย "น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24" โดยฉีดอัดลงดินบริเวณโคนต้น ทุก 15-20 วัน

ช่วงออกดอกแล้วควรงดการฉีดพ่นทางใบทุกชนิดช่วง 08.00-11.00 เพราะเป็นช่วงที่เกสรต้องการผสม หากฉีดพ่นอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้

การช่วยผสมเกสรด้วยมือ นอกจากช่วยให้การติดเป็นผลดีแล้วยังช่วยให้เป็นผลที่คุณภาพดีอีกด้วย

วิธีหลอกผึ้งให้ช่วยผสมเกสร เช้าราว 08.00 แดดจัดฟ้าสดใส ผึ้งจะออกหากินในแปลงแตงโม จงเดินเข้าไปทางหัวแปลงก่อน ถือกิ่งไม้ 2 มือ กางแขน 2 ข้าง ก้าวเดินช้าๆ พร้อมกับโบกกิ่งไม้เบาๆ ผึ้งเห็นกิ่งไม้โบกไปมาจะบินขึ้นแล้วบินไปเกาะดอกแตงโมข้างหน้าใหม่ ก็ให้เดินช้าๆตามไปอีกสัก 3-5 ก้าว เท่ากับระยะที่ผึ้งบินไปก่อนล่วงหน้า โบกกิ่งไม้อีก ผึ้งก็จะบินขึ้นหนีไปข้างหน้าอีก ทำซ้ำไปเรื่อยๆหลายๆ รอบ จนสุดแปลงแล้วย้อนทำซ้ำ ตราบเท่าที่ผึ้งยังไม่หนีไปไหน

เถาเดียวที่มีหลายผล ควรเว้นระยะ 1 ผล /7-8 ใบ เพื่อให้แต่ละผลมีใบสำหรับ
สังเคราะห์อาหาร เทคนิคไว้ผลแบบนี้ต้องเด็ดดอกทิ้งตั้งแต่ออกมาใหม่ๆ โดยเลือกเด็ดทิ้งกับเลือกเก็บไว้

เถาเดียวมีหลายผล ระหว่างผลต่อผลให้ทำไม้โค้งงอรูปตัว ยู. กดเถาบริเวณข้อให้แนบผิวดินแล้วคลุมทับด้วยเศษดิน เศษหญ้าแห้ง ไม่นานที่ข้อจะมีรากงอกออกมา รากนี้จะดูดซับสารอาหารไปเลี้ยงผลที่อยู่ถัดไปทางปลายเถา ควรทำต่อทุกผล จะทำให้แต่ละผลมีรากส่วนตัวแทนที่จะรอรับสารอาหารจากรากที่โคนเถาเพียงรากเดียว

--------------------------------------------------------


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©