-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 26APR *สารสมุนไพร (52), ถั่วแระ
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 26APR *สารสมุนไพร (52), ถั่วแระ

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 27/04/2016 12:59 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 26APR *สารสมุนไพร (52), ถั่วแระ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตทางรายการวิทยุ 26 APR

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)


----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

------------------------------------------------------------------------



สารสมุนไพร (52)

การทำ .... สมุนไพรกำจัดแมลงศัตรูพืช ! !

“ขอบชะนาง”

ขอบชะนาง ฤทธิ์เบื่อเมา ฆ่าแมลง
วิธีการใช้ขอบชะนางกำจัดแมลง :
1. นำขอบชะนาง (ใช้ได้ทั้งแดงและขาว) มาโขลกให้ละอียด (ใช้ได้ทั้งต้น) หรือจะนำทั้งต้นมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปวางบนปากไหปลาร้า จะสามารถฆ่าแมลงและตัวหนอนที่รบกวนปลาร้าได้ดี

2. นำต้นขอบชะนางทั้งต้นมาสับหรือโขลก จำนวน 2 กิโลกรัม มาต้มในน้ำ 1 ปี๊บ (20ลิตร) เคี่ยวให้สารในขอบชะนางออกมา นานประมาณ 15-20 นาที จากนั้นนำน้ำขอบชะนางที่ได้ไปผสมน้ำสะอาดให้ได้ความเข้มข้นปานกลาง ฉีดพ่นแมลงจำพวกเพลี้ยต่างๆ และตัวหนอนแมลงศัตรูพืชได้ดี (ควรฉีดซ้ำทุกๆ 3 วัน)
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม :[/color]
- สารอินทรีย์จะสลายได้ง่ายเมื่อถูกความร้อนหรือแสงแดด ควรใช้ในขณะที่ไม่มีแดด เช่น ช่วงเช้ามืด หรือ ช่วงเย็น
- การกำจัดแมลง ควรเริ่มในช่วงเช้า ขณะที่ไม่มีแดด และอากาศยังเย็นอยู่ เนื่องจากแมลงจะไม่ค่อยเคลื่อนไหวขณะอากาศเย็น จึงจัดการกับแมลงได้โดยง่าย โดยเฉพาะแมลงที่มีปีก

- การใช้สารกำจัดแมลงควรฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ด้านบนใบและด้านล่างใบ เพราะแมลงชอบหลบซ่อนอบยู่ตามซอกใต้ใบ

- สารอินทรีย์หรือสารที่สกัดจากพืชจะใช้ได้ผลดีสุด เมื่อคั้นสดแล้วนำไปใช้เลย
- ควรสลับสับเปลี่ยนพืชสมุนไพรให้บ่อยครั้ง เพื่อป้องกันแมลงสร้างภูมิต้านทานพืชสมุนไพรชนิดใดชนิดหนึ่ง
- ควรฉีดพ่นสมุนไพรกำจัดแมลงทุกๆ 3 วัน/ครั้ง เพราะสารในสมุนไพรนั้นมีความเข้มข้นน้อยกว่า (เมื่อเทียบกับสารเคมีกำจัดแมลง) จึงไม่สามารถจัดการกับแมลงได้ทันทีทันใด
----------------------------------------------------------------------

“ดาวเรือง”

ดอกดาวเรือง ใช้เป็นสารกำจัดแมลงศัตรูพืชประเภท เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว แมลงวันผลไม้ หนอนใยผัก หนอนผีเสื้อ หนอนดอกกะหล่ำ ด้วงปีกแข็ง ไส้เดือนฝอย หนอนผีเสื้อกะโหลก หนอนกะหล่ำปลี

โดยทั่วไปมักจะมีการปลูกดาวเรืองแซมตามแปลงผัก เพราะดอกและใบมีกลิ่นฉุนแมลงจึงไม่อยากเข้าไกล้
วิธีการใช้ดาวเรืองกำจัดแมลง:
วิธีที่ 1.
นำดอกมาคั้นเอาน้ำผสมน้ำ 3 ต่อ 1 ส่วน ฉีดพ่น สามารถกำจัดหนอนใยผักได้ดี
วิธีที่ 2. นำดอกมาคั้นเอาน้ำ ผสมน้ำ 1 ต่อ 1 ส่วน ฉีดพ่น สามารถกำจัดเพลี้ยอ่อนได้ผลดี
วิธีที่ 3. นำดอกดาวเรือง 500 กรัม ต้มในน้ำ 4 ลิตร ทิ้งไว้ให้เย็น กรองเอาแต่น้ำ ไปผสมน้ำเปล่าอีก 4 ลิตร น้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะ ฉีดพ่นวันละ 2 ครั้ง (ช่วงเช้าไม่มีแดด และเย็น) ติดต่อกัน 2 วัน
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม :
- สารอินทรีย์จะสลายได้ง่ายเมื่อถูกความร้อนหรือแสงแดด ควรใช้ในขณะที่ไม่มีแดด เช่น ช่วงเช้ามืด หรือ ช่วงเย็น
- การกำจัดแมลง ควรเริ่มในช่วงเช้า ขณะที่ไม่มีแดด และอากาศยังเย็นอยู่ เนื่องจากแมลงจะไม่ค่อยเคลื่อนไหวขณะอากาศเย็น จึงจัดการกับแมลงได้โดยง่าย โดยเฉพาะแมลงที่มีปีก

- การใช้สารกำจัดแมลงควรฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ด้านบนใบและด้านล่างใบ เพราะแมลงชอบหลบซ่อนอบยู่ตามใต้ใบ

- สารอินทรีย์หรือสารที่สกัดจากพืชจะใช้ได้ผลดีสุด เมื่อคั้นสดแล้วนำไปใช้เลย
- ควรสลับสับเปลี่ยนพืชสมุนไพรให้บ่อยครั้ง เพื่อป้องกันแมลงสร้างภูมิต้านทานพืชสมุนไพรชนิดใดชนิดหนึ่ง
- ควรฉีดพ่นสมุนไพรกำจัดแมลงทุกๆ 3 วัน/ครั้ง เพราะสารในสมุนไพรนั้นมีความเข้มข้นน้อยกว่า (เมื่อเทียบกับสารเคมีกำจัด แมลง) จึงไม่สามารถจัดการกับแมลงได้ทันทีทันใด

----------------------------------------------------------------------

จาก : (083) 782-47 xx
ข้อความ : เรียนผู้พัน ทหารแก่ไม่เคยตาย ขอความรู้รอบตัวเรื่องถั่วแระด้วยครับ นานแล้ว เคยได้ยินผู้พูดเรื่องถั่วแระที่ตาคลี ใช่พันธุ์เดียวกันกับถั่วแระญี่ปุ่นหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ แล้วต่างกันอย่างไร ขอบคุณครับ .... จากนาวิก สัตหีบ
ตอบ :
ประเทศไทยมีกิจกรรมเกษตรให้เลือกทำมากที่สุดในโลก แต่คนไม่ไม่รู้จะปลูกอะไร ว่าแล้วปลูกตามข้างบ้าน .... วิธีปลูก วิธีทำ จริงๆไม่ยาก แต่ยากที่ตลาด เพราะเกษตรกรไทยรอให้ตลาดเข้ามาหา ไม่ไปหาตลาด ทำทุกอย่างตามใจตัวเองไม่ทำตามใจตลาด .... วันนี้ ยุคนี้ ต้องปรับทัศนคติ เลิกกะรวยคนเดียวแต่กะรวยทั้งกลุ่ม .... รวมกลุ่มทำ รวมกลุ่มขาย รวม กลุ่มซื้อ

ถั่วแระญี่ปุ่น หรือถั่วเหลืองฝักสด :

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ อธิบายว่า ถั่วแระญี่ปุ่น หรือถั่วเหลืองฝักสด เป็นแหล่งโปรตีนราคาถูก เมื่อเทียบกับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง

นอกจากนี้ยังมีสารไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก ลดอาการวัยทอง มีใยอาหารสูง มีวิตามิน A B และ C และแร่ธาตุที่ร่างกาย ต้องการ เช่น เหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเบต้าแคโรทีน ทั้งนี้ ถั่วแระญี่ปุ่นเป็นถั่วเหลืองที่มีฝักขนาดใหญ่ บริโภคในระยะที่ฝักเริ่มแก่ เมล็ดโตเต็มที่ นั่นคือเมล็ดมีความเต่งและมองเห็นเมล็ดเต็มฝัก ในขณะที่ฝักยังคงมีสีเขียว รสชาติหวานบริโภคได้ทั้งฝักสดหรือต้มรับประทาน

ถั่วแระญี่ปุ่นปัจจุบันผลิตได้ในประเทศไทยโดยนำพันธุ์เข้ามาปลูกเพื่อผลิตฝักสดแช่แข็งส่งออกไปขายยังต่างประเทศมาเนิ่นนาน พอๆ กับการพัฒนาพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสดในบ้านเราที่เริ่มแรกได้นำพันธุ์จากศูนย์พืชผักโลก (The World Vegetable Center) ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกที่ไม่แสวงหากำไร ให้ความร่วมมือสนับสนุนการพัฒนาการผลิตพืชผัก เพิ่มปริมาณและคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อพัฒนาคุณค่าทางโภชนาการของพืชผัก และลดความยากจนของเกษตรกร กำหนดแผนยุทธศาสตร์ สร้างเครือข่ายพันธมิตรเพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากรจากหน่วยงานทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล ในการแก้ปัญหาการผลิตและการบริโภคพืชผัก

การผลิตถั่วเหลืองฝักสดในประเทศไทยแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. การผลิตถั่วเหลืองฝักสดเพื่อการบริโภคภายในประเทศ การปลูกยังไม่มากนักเนื่องจากเมล็ดพันธุ์หายากพันธุ์ ที่ใช้ปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์เชียงใหม่ 1 .... แหล่งเพาะปลูก คือ จ.พิจิตร อุทัยธานี เพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สระแก้ว

2. การผลิตถั่วเหลืองฝักสดเพื่อการส่งออก ปัจจุบันประเทศไทยดำเนินการส่งออกถั่วเหลืองฝักสดแช่แข็ง โดยบริษัท เอกชนในรูปแบบครบวงจร ปริมาณการส่งออกปีละประมาณ 10,000 ตัน มูลค่าประมาณ 800 ล้านบาท ประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริ กา .... พันธุ์ที่ใช้ส่งออกคือ AGS 259 และพันธุ์ NO.75 .... แหล่งผลิตส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ พิษณุโลก สุโขทัย ลำปาง อุตรดิตถ์ น่าน พะเยา ลำพูน เพชรบูรณ์ อุทัยธานี

ถั่วเหลืองฝักสดเป็นพืชที่บริโภคฝักสด จึงต้องดูแลป้องกันไม่ให้มีโรคแมลงเข้าทำลายฝักและเมล็ด เพื่อให้ผลผลิตฝักถั่วสวยงามน่ากิน ปัญหาที่สำคัญของถั่วเหลืองฝักสดคือ สารเคมีตกค้างในผลผลิตของถั่วเหลืองฝักสดเกินมาตรฐานที่กำหนด

การปลูกถั่วเหลืองฝักสดไม่แตกต่างจากการปลูกถั่วเหลืองไร่ เพียงแต่เก็บเกี่ยวในช่วงระยะที่มีฝักถั่วเต่งเต็มที่ประมาณร้อยละ 80 ในขณะที่ฝักยังมีสีเขียวสด อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 62-68 วัน โดยช่วงระยะเวลาการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองฝักสดที่เหมาะสม และมีคุณภาพดี จะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพียง 2-3 วัน หลังจากนั้นฝักถั่วจะแก่เกินไป การปลูกถั่วเหลืองฝักสดจึงต้องมีการวางแผนการปลูก การเก็บเกี่ยวและการตลาดที่ดี จึงจะได้ผลผลิตถั่วเหลืองฝักสดที่มีคุณภาพดีตามความต้องการของลูกค้า

สำหรับพันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์เอจีเอส 292 และ NO.75 ซึ่งปลูกเพื่อการส่งออก ส่วนพันธุ์ที่ปลูกเพื่อบริโภคภายใน ประเทศได้แก่พันธุ์เชียงใหม่ 1 และนครสวรรค์ 1 ปกติการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองฝักสดควรเก็บเกี่ยวในช่วงเช้า โดยใช้เคียวเกี่ยวต้นถั่วทั้งต้น แล้วนำไปวางในที่ร่มเพื่อเด็ดใบและก้านออก ให้เหลือเฉพาะต้นและฝัก จากนั้นจึงมัดต้นถั่วเป็นมัด มัดละ 5 กิโลกรัม เพื่อรอการส่งตลาด จำหน่ายต่อไป

http://daily.khaosod.co.th
-----------------------------------------------------------------------

ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 84-2

ถั่วเหลืองฝักสดพันธุ์เชียงใหม่ 84-2 หรือถั่วเหลืองฝักสดสายพันธุ์ MJO108-115 คัดเลือกได้จากคู่ผสมระหว่างพันธุ์ Chamame กับพันธุ์ 2808 ซึ่งพันธุ์ Chamame มีลักษณะเด่น คือ เมล็ดต้มสุกมีกลิ่นหอม ความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดสูง ในขณะที่พันธุ์ 2808 เป็นพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสดที่ไม่มีกลิ่นหอมแต่ให้ผลผลิตฝักสดมาตรฐานสูง และ ฝักดก โดยเริ่มผสมพันธุ์ในปี 2544 และคัดเลือกพันธุ์แบบจดประวัติในลูกชั่วที่ 2-7 ตั้งแต่ปี 2544-2547 ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ และประเมินผลผลิตตามขั้นตอนของการปรับปรุงพันธุ์ตั้งแต่ปี 2548-2553 ณ ศูนย์วิจัยและสถานีต่าง ๆ ในสังกัดสถาบันวิจัยพืชไร่ และไร่เกษตรกรในแหล่งปลูกถั่วเหลืองฝักสดจังหวัดต่าง ๆ รวมระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์ทั้งหมด 10 ปี

ลักษณะเด่น :

1. ฝักสดที่ต้มสุกแล้วมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นใบเตย มีกลิ่นใกล้เคียงกับพันธุ์ Kaori ซึ่งเป็นพันธุ์การค้าที่ปลูกในประเทศไทยในปัจจุบัน

2. ให้ผลผลิตฝักสดได้มาตรฐาน ในฤดูแล้งเท่ากับ 757 กก. ต่อไร่ ในฤดูฝนเท่ากับ 963 กก. ต่อไร่ และเฉลี่ยทั้งสองฤดูเท่ากับ 963 กก. ต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ Kaori ร้อยละ 116 38 และ 67 ตามลำดับ

ลักษณะประจำพันธุ์ :

มีโคนต้นอ่อนสีม่วง รูปแบบการเจริญเติบโตแบบไม่ทอดยอด ใบสีเขียว ใบเป็นแบบใบกว้าง กลีบดอกสีม่วง ฝักแก่สีเทา เปลือกหุ้มเมล็ดสีเหลือง ขั้วเมล็ดสีเหลือง และรูปร่างเมล็ดค่อนข้างกลม

ลักษณะทางการเกษตร :

อายุออกดอกในฤดูแล้งเท่ากับ 35 วัน ในฤดูฝนเท่ากับ 29 วัน อายุเก็บเกี่ยวฝักสดในฤดูแล้งเท่ากับ 69 วัน ในฤดูฝนเท่ากับ 63 วัน ความสูงต้นเท่ากับ 35-37 เซนติเมตร จำนวนข้อเท่ากับ 8-9 ข้อต่อต้น จำนวนกิ่งเท่ากับ 2-3 กิ่งต่อต้น จำนวนฝักมาตรฐานเท่ากับ 15-21 ฝักต่อต้น น้ำหนักเมล็ดสดเท่ากับ 69-70 กรัมต่อ 100 เมล็ด และจำนวนฝักสดมาตรฐานเฉลี่ยต่อกิโลกรัมเท่ากับ 341-352 ฝัก
----------------------------------------------------------------------

เตรียมแปลง

1. ไถดินเปล่าให้ขี้ไถขนาดใหญ่ ทิ้งตากแดดจัด 15-20 แดดเพื่อฆ่าเชื้อโรคและกำจัดเหง้าวัชพืช
2. ใส่อินทรีย์วัตถุ ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์ + ตราคนกับควาย + กระดูกป่น + ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ หว่านทั่วแปลงปลูกแล้วไถพรวนอินทรีย์วัตถุคลุกเคล้าลงดิน

3. ไถยกร่องลูกฟูก สันร่องกว้าง 50-60 ซม. โค้งหลังเต่า สูงจากพื้นระดับ 30-50 ซม. ร่องทางเดินระหว่างสันแปลงกว้าง 1 ม. ลึก 20-30 ซม.

4. คลุมหน้าแปลงด้วยฟางแห้งหนาๆ
5. บ่มดินโดยรดด้วย น้ำ + ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (เน้น...เลือดและไขกระดูก) ทุก 5-7 วัน ติดต่อกันนาน 1 เดือน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ปรับสภาพดิน กำจัดเชื้อโรคและย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้เป็นฮิวมิค แอซิด .... เลือดหมักที่เป็นส่วนผสมในน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงจะช่วยบำรุงให้ต้นถั่วแระคุณภาพดียิ่งขึ้น
หมายเหตุ :
- การเตรียมสารอาหารไว้ในดินล่วงหน้าก่อนต้นเจริญเติบโตหรือให้ต้นได้กินสารอาหารทันทีที่เริ่มงอก ต้นถั่วแระซึ่งมีช่วงอายุเพียง 60-65 วัน ก็จะเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นช่วงเตรียมดินจึงควรใส่ ฮอร์โมนบำรุงราก. เลือดสัตว์สด. โดยใส่ร่วมไปกับจุลินทรีย์หน่อกล้วยหรือปุ๋ยน้ำชีวภาพ

- ถั่วแระตอบสนองต่อเปลือกไข่สดบดละเอียดดีมาก
- จากการที่พืชตระกูลถั่วทุกชนิดชอบจุลินทรีย์กลุ่ม “คีโตเมียม – ไรโซเบียม – ไมโครไรซ่า” ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มนี้มีมากในเปลือกถั่วลิสง หรือเศษซากพืชตระกูลถั่ว ดังนั้น เทคนิคการเตรียมดินโดยใส่เปลือกถั่วลิสงลงไปด้วยจะเป็นการดีอย่างมากสำหรับถั่วแระ

เตรียมเมล็ดพันธุ์ :

ตรวจสอบวันหมดอายุและภาชนะบรรจุเมล็ดพันธุ์ .... นำเมล็ดพันธุ์ลงแช่ในน้ำเกลือเจือจาง คัดเมล็ดลอยทิ้งเพราะเสื่อมสภาพ เลือกใช้เฉพาะเมล็ดจมน้ำ นำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง ....นำเมล็ดพันธุ์ที่เลือกได้แล้วคลุกกับ “ไรโซเบียม” แล้วจึงนำไปเพาะ จะช่วยให้ต้นเมื่อโตขึ้นสมบูรณ์แข็งแรง

ระยะปลูก :

ระยะปลูก 15-20 ซม. ที่ริมสันแปลงแบบแถวคู่สลับฟันปลา

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อถั่วแระ :
1. ระยะต้นเล็ก :

- ให้ ไบโออิ + สารสกัดสมุนไพร ฉีดพ่นให้เปียกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นพอหน้าดินชื้น ทุก 5-7 วัน ช่วงแดดจัด
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มให้เมื่อแตกใบอ่อนได้ 3-5 ใบ

2. ระยะก่อนออกดอก :[/color]
- ให้ไทเป + สารสกัดสมุนไพร ฉีดพ่นให้เปียกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นพอหน้าดินชื้น 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ช่วงแดดจัด
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มให้เมื่ออายุ 20 วัน หลังหยอดเมล็ด ซึ่งช่วงนี้ถั่วแระจะเริ่มออกดอก
- ฉีดพ่นรอบแรกแล้ว ถ้ามีดอกออกมาไม่มากพอให้ฉีดพ่นรอบสอง ห่างตากรอบแรก 5-7 วัน

3. ระยะเริ่มติดฝัก – เก็บเกี่ยว :

- ให้ ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสกัดสมุนไพร 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่าง กันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นให้เปียกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นพอหน้าดินชื้น เป็นการให้น้ำไปในตัว
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มให้หลังจากเริ่มติดฝักขนาดเล็ก และให้ไปเรื่อยๆจนกระทั่งเก็บเกี่ยว
- ระยะที่ฝักพัฒนาได้ แม็กเนเซียม. สังกะสี. ในไบโออิ แคลเซียม จากแคลเซียม โบรอน จะช่วยให้คุณภาพผลผลิตดีมาก

- ก่อนเก็บเกี่ยวไม่จำเป็นต้องบำรุงด้วยสูตร “บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว” เพราะถั่วแระเก็บเกี่ยวเมื่ออายุฝักกลางอ่อนกลางแก่

- ตลอดอายุปลูกของถั่วแระไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ย (เคมี) ทางรากเพราะระยะเวลาสั้นมาก การทำให้ถั่วแระมีสารอาหารกินอย่างเพียงพอนั้นแนะนำให้ใส่ “ปุ๋ยอินทรีย์หมักด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง” ไว้ก่อนตั้งแต่ช่วงเตรียมดินก็พอเพียงแล้ว

- การให้ "เลือดหมัก" (ธาตุเหล็ก) โดยละลายน้ำรดโคนต้น 15-20 วัน/ครั้ง จะช่วยบำรุงให้เมล็ดฝักขนาดใหญ่

อาหารพืช คือ ปุ๋ย ประกอบด้วยธาตุอาหารหลายชนิด ธาตุอาหารที่พืชต้องการมากมี 3 ชนิด คือ ไนโตรเจน (เอ็น) ฟอสฟอรัส (พี) และโปตัสเซียม (เค) พืชตระกูลถั่วก็เช่นกัน ต้องการไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม และธาตุอาหารอื่นเหมือนพืชทั่วไป แต่พืชตระกูลถั่วมีลักษณะพิเศษคือ ที่รากจะมีปมซึ่งเป็นที่อยู่ของไรโซเบียม .... ไรโซเบียม ตรึงไนโตรเจนจากอากาศไปไว้ในตัวเอง ตัวเองอยู่กับรากพืช พืชจึงได้ไนโตรเจนไปด้วย
-----------------------------------------------------------------------

นวัตกรรมการเกษตร :
โซนนิ่งแปลงปลูก :

- ถั่วแระ ไม่มีฤดูกาล ปลูกได้ทุกภาค คนกินทั่วประเทศ ไม่พอส่งออก
- แบ่งแปลงเป็นโซน โซนละ ผลผลิตเท่าที่ตกลงกับผู้รับซื้อ
- ห่างกันโซนละ 15 หรือ 20 วันเก็บเกี่ยว

สปริงเกอร์ :

- เนื้อที่ 1 ไร่ ลงทุน (5,000 พีวีซี. .... 2,000 พีอี) .... ไม่รวมปั๊ม ไม่รวมค่าแรง
- ติดตั้งแบบ ถอด/ประกอบ หรือติดตั้งถาวร
- หม้อปุ๋ย/ยา หน้าโซน หรือถังปุ๋ย/ยา ที่ปั๊ม
- แรงงานคนเดียว ใช้เวลา 3 นาที/โซน
- อายุใชงาน 10-20-30 ปี เปลี่ยนพืชแล้วก็ยังใช้งานได้

ฉีดพ่นสารสมุนไพร :

- ตี 5 .......... พ่นน้ำเปล่า หรือสารสมุนไพร ล้างน้ำค้าง
- 10 โมง ...... ให้ ปุ๋ย+ยาสมุนไพร
- เที่ยง ......... พ่นน้ำเปล่า หรือสารสมุนไพร ป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ
- ค่ำ ........... ให้ ปุ๋ย+ยาสมุนไพร

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุกวันๆละครั้ง หรือวันละ 2 ครั้งเช้าครั้งค่ำครั้ง หรือวันละ 3 ครั้งเช้าเที่ยงค่ำ สปริงเกอร์ทำได้ โดยปล่อยไปกับสปริงเกอร์ มีหม้อปุ๋ยหน้าโซน หรือถังปุ๋ยที่ปั๊ม ประหยัดเวลา/แรงงาน/อารมณ์ เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลเนื้องาน เมื่อเทียบกับ สพายเป้-ลากสายยาง-แล่นเรือปากเป็ด .... แม้แต่ถังสพายแบบใช้แบตเตอรี่ ไม่ต้องลากสายยาง ใช้กับดักกาวเหนียว ก็ยังเหนือกว่ารูปแบบที่เคยทำๆ ชนิดคนละชั้นกันเลย

ฮอร์โมนธรรมชาติ :

- นมสด น้ำมะพร้าว น้ำคั้นเมล็ดงอก น้ำคั้นไชเท้า
- อะมิโน โปรตีน ก้นหม้อก๋วยเตี๋ยว

ถั่วแระอินทรีย์เกาะขอบ :

- น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (ไม่ปุ๋ยเคมี) สูตรปรับโมเลกุล
- ไม่สารเคมียาฆ่าแมลงเด็ดขาด
- เครดิต ความน่าเชื่อถือ
-------------------------------------------------------------

ไรโซเบียม คือ อะไร ?

ไรโซเบียม เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง มีอยู่ในดินและจะสร้างปมที่รากพืชตระกูลถั่วเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ไรโซเบียมที่อาศัยอยู่ในปมรากพืชตระกูลถั่วนี้สามารถผลิตไนโตรเจนได้เองจากอากาศ และเป็นประโยชน์ต่อพืชตระกูลถั่วที่ไรโซมเบียมอาศัยอยู่

วิธีเพิ่มผลผลิตพืชตระกูลถั่ว :

1. ใช้เมล็ดพันธุ์ดี
2. คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยไรโซเบียมก่อนปลูก
3. ควรปรับสภาพดินเปรี้ยว, ดินเค็มให้เหมาะสมก่อนปลูกถั่ว
4. ใส่ปุ๋ยที่ให้ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียมเพิ่มเติมได้แก่ ปุ๋ยสูตร 0-3-0 หรือ 0-46-0 และ 0-0-60

คำแนะนำการใช้ไรโซเบียม

1. เลือกใช้ไรโซเบียมตามชนิดถั่วที่ปลูก เช่น ไรโซเบียมถั่วเหลืองใช้คลุกกับเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง
2. ไรโซเบียม 1 ถุงเหมาะสำหรับเมล็ดพันธุ์ปลูกเนื้อที่ 1 ไร่เท่านั้น
3. ควรเก็บรักษาไรโซเบียมในที่เย็น มีความชื้นไม่ถูกแสงแดด
4. ควรรัดปากถุงให้แน่น เมื่อต้องการเก็บไรโซเบียม ส่วนที่เหลือไว้ใช้อีก
5. ใช้ไรโซเบียมที่ยังไม่หมดอายุ โดยดูจากถุงที่บรรจุไรโซเบียม

ขั้นตอนการคลุกไรโซเบียม :

1. จัดเตรียมอุปกรณ์ ได้แก่
- เมล็ดพันธุ์ที่มีความงอกสูง
- ไรโซเบียมที่ยังไม่หมดอายุ
- สารช่วยติดเมล็ด ได้แก่ น้ำมันพืช น้ำเชื่อม น้ำข้าว หรือแป้งเปียก

2. นำเมล็ดพันธุ์ที่จะใช้ปลูกใส่ภาชนะ แล้วใส่สารช่วยติดเมล็ดลงไปทีละน้อย คลุกเมล็ดพันธุ์ให้ทั่วเพื่อให้สารนี้เคลือบเมล็ด ไรโซเบียมจะติดกับเมล็ดได้ง่าย

3. ใส่ไรโซเบียมตามอัตรส่วนของเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ เช่น เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง 10 กก. ใช้ไรโซเบียมถั่วเหลือง 1 ถุง คลุกเมล็ดพันธุ์กับไรโซเบียมให้ทั่ว

4. นำเมล็ดพันธุ์ที่คลุกไรโซเบียมแล้วไปปลูกทันที
5. ควรทำการปลูกเมื่อดินมีความชื้น

ข้อควรระวัง

1. ก่อนซื้อไรโซเบียมโปรดสังเกตที่ถุง ดังนี้
- วันหมดอายุ ว่ายังไม่เลยกำหนดที่จะใช้
- ชนิดไรโซเบียม ตรงกับชนิดถั่วที่จะปลูก

2. อย่าเปิดถุงไรโซเบียมจนกว่าจะนำไปใช้คลุกเมล็ดพันธุ์
3. เมล็ดที่คลุกไรโซเบียมแล้วควรเก็บให้มิดชิด ไม่นำไปตากแดด และควรใช้ปลูกให้หมดภายในวันนั้น
4. เมื่อหยอดเมล็ดแล้วควรกลบดินทันที เพื่อรักษาความชื้นให้กับเมล็ด

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร

---------------------------------------------------------------------




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©