-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 29APR *อันตรายจากสารเคมี, สตรอเบอรี่-รวย
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 29APR *อันตรายจากสารเคมี, สตรอเบอรี่-รวย

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/04/2016 4:19 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 29APR *อันตรายจากสารเคมี, สตรอเบอ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 29 APR

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)


----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

------------------------------------------------------------------------



อันตรายจากยาปราบศัตรูพืช :
อันตรายจากยาปราบศัตรูพืชเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับวิทยาการที่ก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง และการมุ่งเพิ่มผลผลิตในทางเกษตรกรรม แต่ในขณะเดียวกันเกษตรกรผู้ใช้ก็ได้รับอันตรายถึงขั้นเจ็บ ป่วย พิการ และเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก

นอกจากอันตรายจากยาปราบศัตรูพืชจะเกิดขึ้นกับเกษตรกรโดยตรงแล้ว ยังส่งผลกระทบถึงประชาชนผู้บริโภคผลิตผลจากเกษตรกรรมอีก เช่น ผักสด ผลไม้ หากแต่เป็นอันตรายแอบแฝงที่อาจยังไม่ปรากฏผลทันทีทันใด ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการนำสารพิษจำพวกนี้มาเป็นเครื่องมือฆ่าตัวตาย คงจะเคยได้ยินกันมาบ่อยๆทางสื่อมวลชนว่า มีคนกินยาฆ่าแมลงเพื่อฆ่าตัวตายหรือการได้รับสารพิษโดยอุบัติเหตุ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ปรากฏอยู่เนืองๆ

รองศาสตราจารย์นายแพทย์วิทูร อัตนโถ แห่งภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จะมาอธิบายให้เราได้รับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายจากยาปราบศัตรูพืช รวมทั้งการป้องกันดูแลรักษาตนเองและการช่วยเหลือผู้ได้รับสารพิษขั้นต้น

สารเคมีที่ใช้ปราบศัตรูพืชมีกี่ประเภท :
สารเคมีที่ใช้ปราบศัตรูพืชมีหลายประเภท ได้แก่

1. ยาฆ่าแมลง
2. ยาปราบศัตรูพืช
3. ยาเบื่อหนู
4. ยาฆ่าเชื้อรา
5. อาจรวมไปถึงยาทาไล่ยุงด้วยก็ได้

แต่ละประเภทที่พูดถึงนี้ยังจำแนกเป็นกลุ่มย่อยๆออกไปอีก เช่น ยาฆ่าแมลง ประกอบด้วย
1. ออร์แกโนฟอสเฟต มีชื่อเรียกกันติดปากว่า “พาราไทออน” เป็นที่รู้จักในหมู่เกษตรกรว่า ยาตราหัวกะโหลกไขว้ และยาเขียวฆ่าแมลง

2. คาร์บาเมต
3. ออร์แกโน คลอรีน เช่น ดีดีที
4. ไพรีทรอยด์ หรือไพรีทรัม

ที่เขาแบ่งเป็นกลุ่มเพราะว่า ทำให้เกิดพิษและออกฤทธิ์ต่างกัน

อยากให้อาจารย์พูดถึงอันตรายของแต่ละชนิด
กลุ่มที่ 1 ออร์แกโน ฟอสเฟต และกลุ่มที่ 2 คาร์บาเมต :
ออกฤทธิ์ไปยับยั้งเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส (cholinesterase) ของร่างกายไม่ให้ทำงาน ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน ปวดท้อง ท้องเดิน น้ำลายฟูมปาก กล้ามเนื้อกระตุก ชัก หายใจลำบาก ตัวเขียว หยุดหายใจ อาจถึงตายได้

กลุ่มที่ 3 ออร์แกโน คลอรีน :
ก็มีพิษเหมือนกัน โดยทำให้ชัก หมดสติ และตายได้ ซึ่งเป็นอันตรายที่รุนแรงเช่นเดียวกัน พวกนี้ที่เรารู้จักกันดีก็คือ ดีดีที นอกจากนั้นก็มีตัวอื่นอีก เช่น ดีลดริน (dieldrin) เอนดริน (endrin) เป็นต้น

กลุ่มที่ 4 ไพรีทรอยด์ หรือไพรีทรัม :
ได้มาจากการเอาเกสรดอกไพรีทรัมมาสกัด มีตัวยาอยู่แค่ 0.1% ใช้ฆ่าแมลงหรือฆ่ายุงได้ผลดี กว่าจะเก็บดอกไม้มาสกัดได้ 0.1% ต้องลงทุนสูง ในปัจจุบันเขาจึงสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ เรียกว่า ไพรีทรอยด์ มีใช้อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะเพื่อกำจัดยุง

ประเภทที่ 1 ยาฆ่าแมลง :
มีใช้ในครัวเรือนและใช้ในเกษตรกรรม โดยเฉพาะที่ใช้ในในทางเกษตรกรรมมีความเข้มข้นสูง เช่น 50% อันตรายจึงมีมากกว่าในครัวเรือน เพราะยาฆ่าแมลงที่ใช้ในครัวเรือนใสกว่า มีเปอร์เซ็นต์ต่ำไม่เกิน 1% อันตรายจึงต่างกัน

การเข้าสู่ร่างกายของสารพิษกุล่มที่ 1, 2 และ 3 นั้น ส่วนใหญ่เข้าได้ 3 ทางด้วยกันคือ ทางหายใจ โดยการหายใจเอาละอองหรือกลิ่นเข้าไปโดยกินเข้าไปโดยตรง และโดยการซึมผ่านทางผิว หนัง ยกเว้นประเภทที่ 3 บางชนิดก็ไม่สามารถซึมผ่านทางผิวหนังได้ นอกจากนั้นเข้าได้เพียง 2 ทางคือโดยการกินและการหายใจเมื่อเข้าไปแล้วทำให้เกิดอาการต่างๆกัน ความรุนแรงของอาการพิษที่เกิดขึ้นถึงขั้นสุดท้ายคือตาย ฉะนั้น ขึ้นชื่อว่ายาฆ่าแมลงแล้วละก็ถึงตายได้ทั้งนั้น ยกเว้นไพรีทรอยด์เพราะฤทธิ์มันอ่อนมาก

ประเภทที่ 2 ยาปราบศัตรูพืช :
ใช้เฉพาะในทางเกษตรกรรมที่ได้รับความนิยมมาก คือ กลุ่มพาราควอต รู้จักกันในชื่อกรัมม็อกโซน เนื่องจากพาราควอตมีคุณสมบัติที่ดีมากคือ มันไม่ทำให้เกิดพิษตกค้างเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อฉีดพ่นลงไปทำลายวัชพืชเรียบร้อยแล้วตกลงสู่พื้นดินก็จะหมดฤทธิ์ทันที เพราะสารพวกนี้จะมีประจุไฟฟ้าที่ตรงข้ามกับประจุไฟฟ้าของดิน เกิดการดูดซับเข้าหากันกลายเป็นสารไม่มีพิษทันที

ต่างกับ ดีดีที หรือออร์แกโน คลอรีน พวกดีดีที ที่เสื่อมความนิยมลงไป เพราะมีพิษตกค้างหลงเหลืออยู่ในดินได้เป็นเวลานาน พืชจะดูดซึมเข้าไปในลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นพิษตกค้างในพืช เมื่อคนกินเข้าไปจะสะสมอยู่ในร่างกายเกิดเป็นพิษขึ้นได้

ประเภทที่ 3 ยาเบื่อหนู :
ใช้ในทางเกษตรกรรมและในครัวเรือน ขอยกตัวอย่างกลุ่มวอร์ฟารินหรือราคูมิน กินเข้าไปแล้วมีผลต่อเลือด ทำให้เลือดออกไม่หยุด ตายได้ แต่การจะเกิดอย่างนี้ต้องกินเข้าไปติดต่อกันหลายๆครั้ง หรือกินครั้งเดียวจำนวนมาก อีกกลุ่มหนึ่งคือ ซิงค์ฟอสไฟด์ เป็นผงสีดำๆ กินเข้าไปทำให้เกิดคลื่นไส้ อาเจียน และเป็นพิษต่อตับและไตได้

ประเภทที่ 4 ยาฆ่าเชื้อรา :
มีหลายกลุ่มๆที่เป็นอันตรายมากเขาก็พยายามเลิกใช้หันมาใช้ที่มีอันตรายน้อยลงคือ ไม่เกิดพิษให้เห็นทันตา แต่อันตรายแอบแฝงที่เรากำลังศึกษากันอยู่คือ การทำให้ยีนส์เกิดการผ่าเหล่าหรือมิวเตชั่นยีนส์ (mutation genes) อาจทำให้เกิดมะเร็งเป็นผลในอนาคตซึ่งเรายังไม่รู้อีกเป็นจำนวนมาก มาสมัยนี้ในการปราบศัตรูพืชเขานิยมใช้แบคทีเรียหรือไวรัสกำจัดแมลงแทนสารเคมี เช่นแบคทีเรีย เมื่อฉีนพ่นลงไป สามารถจำจัดแมลงตัวอ่อนได้ วิธีนี้ไม่มีอันตราย เพราะไม่ทำให้คนติดโรคและได้รับสารพิษ

ยาที่เกษตรกรนิยมใช้ได้แก่ประเภทไหน ?

เกษตรกรนิยมใช้ทุกประเภทร่วมกันหมด ในการฉีดพ่นแต่ละครั้งเขาจะต้องใช้การผสมของสูตรที่เห็นว่าเหมาะสมกับท้องถิ่นหรือพืชของเขาแต่ละชนิด เช่น ผสมยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อราเข้าด้วยกัน

ยาปราบศัตรูพืช สารเคมี สะสมในร่างกายหรือไม่อย่างไร ?

การสะสมในร่างกายขึ้นอยู่กับชนิดของสารเคมี ส่วนใหญ่ในกลุ่มออร์แกโน คลอรีน เท่านั้นที่มีพิษสะสมจึงเลิกใช้ เช่น ดีดีที เมื่อก่อนใช้กันอย่างมากมาย ปรากฏว่าเมื่อใช้นานเข้าจึงพบว่า มีการสะสมอยู่ในภาวะแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ในพืชพันธุ์ธัญญาหาร ในดิน ในน้ำ และเมื่อคนกินเข้าไปจะไปสะสมอยู่ในไขมัน อาจจะทำให้เกิดมิวเตชั่นยีนส์ (mutation genes) เป็นมะเร็ง เป็นเหตุของโรคโลหิตจางและอื่นๆ อีกสารพัด เขาจึงเลิกใช้ แต่ในบางประเทศ เช่น ประเทศไทยยังมีการใช้อยู่โดย เฉพาะเพื่อการสาธารณสุข

เมื่อได้รับสารพิษเข้าไปแล้วจะแก้ไขได้อย่างไร ?

สำหรับสาเหตุของการเกิดพิษมี 4 ประการคือ
1. กินเข้าไปด้วยการจงใจ
2. กินด้วยอุบัติเหตุ เช่น เมา หยิบผิด
3. กินเข้าไปโดยถูกฆาตกรรม
4. ได้รับอันตรายจากการประกอบอาชีพ

การปฐมพยาบาลต้องพิจารณาเป็นอันดับแรกว่า ได้รับพิษเข้าไปโดยทางใด ถ้าสงสัยว่า โดยการกิน ต้องนำผู้ได้รับพิษมากระตุ้นให้อาเจียนก่อน ด้วยการล้วงคอหรือกรอกนม ไข่ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยอาเจียนออกมา และจะต้องทำโดยเร็วที่สุด เพราะการทำให้อาเจียนสามารถกำจัดสารพิษออกได้ดีที่สุด

สำหรับสารกลุ่มพาราควอต หรือกรัมม็อกโซน เพราะสารพิษตัวนี้เป็นเหตุของการเกิดพิษโดยการกินถึงตายมากที่สุด ทันทีที่พบนอกจากให้ผู้ป่วยอาเจียนออกมาโดยเร็วที่สุดแล้ว ก็ให้เขาดื่มน้ำโคลนเข้าไปจนเต็มที่ น้ำโคลนนี้เอามาจากท้องร่องในสวนหรือเอาดินเหนียวละลายน้ำให้กินทันที น้ำโคนจะทำปฏิกิริยากับพาราควอต ทำให้พิษหมดไปในเวลาอันรวดเร็ว วิธีนี้ช่วยผู้ที่ถูกพิษปลอดภัยดีกว่าส่งมาโรงพยาบาลโดยไม่ทำอะไร

สารเคมีที่มีพิษอื่นๆ เข้าสู่ร่างกายโดยการกิน ใช้วิธีอาเจียนด้วยหรือไม่ ?

ใช้การทำให้อาเจียนเหมือนกัน เพราะการอาเจียนจะกำจัดพิษออกมาได้มากกว่า 90% และการใช้น้ำโคลนก็จะช่วยชีวิตได้เกือบ 100% สำหรับพิษพวกพาราควอต หรือกรัมม็อกโซน หลังจากนั้นค่อยนำส่งโรงพยาบาล

ถ้าสารพิษเข้าสู่ร่างกายโดยทางอื่น จะปฏิบัติอย่างไร ?

กรณีที่สารพิษเข้าทางผิวหนัง เช่น นั่งทับก็ต้องรีบถอดเสื้อผ้าออกชำระล้างฟอกสบู่ให้เรียบ ร้อย เปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ อย่าปล่อยให้มาเหม็นๆทั้งที่มีสารเคมีติดอยู่บนร่างกาย เพราะสารเคมีจะซึมเข้าไปเรื่อยๆเป็นอันตรายรุนแรงได้

ส่วนที่ได้รับพิษโดยการหายใจเข้าไป วิธีป้องกันก็คือ ดึงผู้ป่วยออกจากสภาพแวดล้อมนั้น ไปอยู่ในที่สะอาด แล้วนำส่งโรงพยาบาลก็เป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้นที่ดีที่สุด

สำหรับผู้ได้รับพิษเข้าไปโดยการประกอบอาชีพ เช่น พวกเกษตรกรจะได้รับสารพิษในกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟต หรือพาราไทออน ขณะทำการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงในชีวิตประจำวัน ฤทธิ์จะสะสมในร่างกายมากขึ้นจนกระทั่งมีอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เมื่อปฏิบัติงานต่อไปอีก อาการพิษจะรุนแรงมากขึ้น ถึงขั้นซึมลง หมดสติ น้ำลายฟูมปาก และตายได้

ผู้ที่ชอบกินผักทุกวันอาจได้รับอันตรายจากพิษตกค้างได้ เช่น กินผักคะน้าวันละ 2 ต้น แต่ละต้นมีพิษตกค้างอยู่เล็กน้อย กินครั้งเดียวไม่ทำให้ร่างกายเกิดอาการผิดปกติแต่อย่างใด แต่ถ้ากินทุกวันนานเข้าก็อาจเกิดอาการพิษได้ มีตัวอย่างเกิดขึ้นแล้วกับคนกินก๋วยเตี๋ยวราดหน้าผักคะน้า เพียงจานเดียวก็เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน หมดสติ น้ำลายฟูมปาก ต้องนำส่งโรงพยาบาลเกือบเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ปกติแล้วในผักจะมีสารพิษตกค้างมากหรือเปล่า ?

ประเทศที่เจริญแล้วเขาศึกษาผักทุกชนิดที่ปลูกในแต่ละฤดู เขาจะฉีดพ่นยาฆ่าแมลงหรือยาปราบศัตรูพืชและเก็บเกี่ยวผลผลิตตามที่มาตรฐานกำหนด เช่น ในฤดูร้อนเก็บผลผลิตภายหลัง 7 วัน ฤดูฝน 3 วัน ฤดูหนาว 10 วัน เขาจัดทำตารางศึกษาไว้อย่างดีและกำหนดให้เกษตรกรผู้ผลิตปฏิบัติตามก่อนจะเก็บเกี่ยวผลผลิตในแต่ละฤดู ตามชนิดของสารเคมีที่ใช้ในผักทุกชนิด

ส่วนประเทศไทย แล้วแต่ผู้ผลิตจะมีความรับผิดชอบมากน้อยแค่ไหน บางรายกลัวผักไม่สวยก็ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงลงไปตามความพอใจ บางทีฉีดพ่นยาวันนี้พรุ่งนี้ก็เก็บไปขาย ผู้บริโภคผลผลิตของรายนี้ก็นับว่าเคราะห์ร้ายอย่างช่วยไม่ได้

การใช้สารเคมีฆ่าแมลงอย่างพร่ำเพรื่อจำนวนมากๆ ทำให้แมลงเกิดการดื้อยาจึงเพิ่มการใช้ให้มากขึ้น ทำให้ผักมีลักษณะน่ากิน แต่ตัวผู้ผลิตเองไม่ยอมกินผักที่เขาปลูกขึ้น เขายอมรับว่าสิ่งที่ทำไปนั้นเป็นอันตรายและพวกเขาก็ไม่กล้าบริโภค แต่เก็บไปขายเพื่อต้องการเอาเงิน อันนี้เป็นคำบอกเล่าจากชาวสวนผักเองเลยนะ

การล้างผักเพื่อเอาสารพิษออกไปจะช่วยได้มากน้อยเพียงไร ?

ผักที่มียาฆ่าแมลงติดอยู่ นำมาเก็บไว้ในตู้เย็นไม่ทำให้สารพิษเหล่านี้สลายตัวไปเลยแม้แต่น้อย มันจะสลายตัวได้เมื่อต้นผักยังไม่ถูกเก็บเกี่ยวอยู่ในธรรมชาติที่มีแสงแดด และความชื้น ในกรณีที่พืชผักยังไม่ได้ดูดซึมสารพิษพวกนี้เข้าไปสู่ลำต้น ใบ การล้างผักด้วยการแช่น้ำ อาจกำจัดหรือทำให้สารพิษที่อยู่ข้างนอกลดน้อยลงได้เพียงประการเดียว การแช่น้ำต้องรู้คุณสมบัติว่าน้ำที่แช่ควรเป็นชนิดใด คุณสมบัติของพาราไทออนหรือออร์แกโนฟอสเฟตสามารถสลายตัวได้ดีในความเป็นด่างคือ ไบคาร์บอเนต(ไม่ใช่ด่างทับทิม) จะช่วยให้ออร์แกโนฟอสเฟตสลายตัวดีขึ้น

สำหรับสารเคมีที่ถูกดูดซึมเข้าไปภายในลำต้น ใบ ดอก และผลแล้ว ไม่สามารถล้างออกได้ พวกที่กินเข้าไปแล้วไม่เกิดอาการเพราะความสามารถของร่างกายที่จะต่อสู้กับความเป็นพิษของมันได้ระยะหนึ่งหากได้รับเข้าไปไม่มาก หรือไม่ทุกวัน แต่ถ้ารับเข้าไปเสมอๆ ทุกๆวัน เมื่อถึงขีดที่เป็นอันตรายนั่นแหละ จึงจะมีอาการปรากฏขึ้น

การป้องกันพิษจากยาฆ่าแมลงสำหรับเกษตรกรเองจะทำได้อย่างไร ?

เวลาฉีดควรมีผ้าปิดปาก จมูก ใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด และใช้ภาชนะในการผสมยาเพื่อฉีดพ่นที่ไม่รั่ว ไม่ควรใช้มือเปล่าๆ สัมผัสกับสารพิษ เพราะอาจจะซึมเข้าผิวหนังได้และเมื่อมีอาการผิดปกติให้รีบไปโรงพยาบาล

ประเทศที่เจริญแล้วเขามีมาตรการกำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวข้องกับยาฆ่าแมลง มารับการตรวจร่างกายและตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเป็นระยะๆ เช่น เจาะเลือดหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอรอล (cholinesterase) เป็นต้น

https://www.doctor.or.th/article/detail/5592
-------------------------------------------------------------------------

สารเคมีกำจัดแมลงสามารถเข้าสู่คนได้ 3 ทาง คือ
ทางปาก :
โดยการกิน การดื่ม หรือโดยอุบัติเหตุ
ทางการหายใจ : โดยการสูดดมไอของสาร ซึ่งสารเคมีกำจัดแมลงบางชนิดอาจมีฤทธิ์กัดกร่อนทำลายเยื่อจมูกและหลอดลมได้
ทางผิวหนัง : โดยการสัมผัสหรือจับต้องสารเคมีกำจัดแมลง ทำให้เกิดการดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังซึ่งหากผิวหนังมีบาดแผลจะทำให้สารพิษดูดซึมสู่ผิวหนังได้ดี โดยเฉพาะสารพิษที่อยู่ในรูปของเหลว สามารถซึมผ่านผิวหนังได้ดีและรวดเร็วกว่ารูปแบบอื่น

อาการที่เกิดจากการแพ้สารเคมีกำจัดแมลง :

อ่อนเพลีย มึนงง ปวดศรีษะและเมื่อยตามตัว แน่นหน้าอก หายใจหอบ มีอาการสั่น กล้ามเนื้อกระตุก มองเห็นภาพได้ลางเลือน ม่านตาหรี่ น้ำลายและเหงื่อออกมาก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วง อาจถ่ายอุจจาระและปัสสาวะโดยกลั้นไม่อยู่ ถ้ามีอาการรุนแรงอาจชัก และหมดสติ อาจหยุดหายใจ และถึงตาย

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น :

ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากบริเวณที่มีสารเคมีกำจัดแมลง ถ้าสารเคมีกำจัดแมลงถูกผิวหนังให้ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนสารเคมีกำจัดแมลงออกรีบชำระร่างกายของผู้ป่วยให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ อย่าขัดถูผิวหนังเพราะจะทำให้สารพิษซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ง่าย ถ้าสูดดมสารเคมีกำจัดแมลงเข้าไปให้นำผู้ป่วยไปพักผ่อนในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกและอบอุ่น คลายเสื้อผ้าให้หลวม ถ้าสารเคมีกำจัดแมลงเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง นานประมาณ 15 นาที ห้ามใช้ยาล้างตา ในกรณีที่สารเคมีกำจัดแมลงเข้าปากให้บ้วนปากด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง ถ้าผู้ป่วยกินสารเคมีกำจัดแมลงเข้าไปให้ปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลาก หรือทำให้อาเจียนแต่ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่หมดสติและเป็นโรค หัวใจ การทำให้ผู้ป่วยอาเจียนโดยให้ผู้ป่วยรับประทานไข่ขาวดิบ ขนาดที่ใช้ คือ เด็ก 4 ฟองและผู้ใหญ่ 8 ฟอง และรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันทีพร้อมด้วยภาชนะบรรจุ และฉลากวัตถุมีพิษนั้น

การปฏิบัติตนเพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้ใช้ ผู้อยู่อาศัย และสัตว์เลี้ยง :

อ่านฉลากข้างภาชนะบรรจุให้ละเอียดทุกครั้งก่อนใช้ ควรระมัดระวังในการเทหรือรินสารเคมีกำจัดแมลง เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสทางผิวหนัง ระหว่างฉีดพ่นควรสวมเครื่องป้องกันตัว เช่น สวมเสื้อผ้าที่มิดชิด ใส่ถุงมือหรือใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก อย่าฉีดพ่นในห้องที่มีเด็ก ผู้ป่วยผู้อยู่อาศัยและสัตว์เลี้ยง รวมทั้งในบริเวณที่มีอาหารและบริเวณที่มีเปลวไฟ หากจำเป็นต้องฉีดพ่นในห้องที่มีอาหารต้องปิดครอบอาหารให้มิดชิด หรือนำออกนอกบริเวณที่ใช้สารเคมี อย่าฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงภายนอกขณะที่ลมแรงหรือมีฝนตก ควรเก็บสารเคมีกำจัดแมลงที่ใช้ในบ้านให้ห่างไหลจากเด็กหรือเก็บไว้ในตู้ล๊อคที่ปลอดภัย หลังฉีดพ่นควรปิดห้องไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้ละอองของสารเคมีกำจัดแมลงที่กระจายในอากาศบริเวณนั้นเจือจางลง แล้วทำความสะอาดพื้นห้องเพื่อกำจัดสารเคมีที่ตกตามพื้น ควรล้างมือ ล้างหน้า อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งหลังการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลง สำหรับภาชนะบรรจุที่ใช้หมดแล้วควรฝังดิน

ด้วยเรื่องราวที่ผู้เขียนนำรายละเอียดมาฝากผู้อ่านทั้งหมดนี้ คงจะเป็นเรื่องราวที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องใช้สารเคมีภายในบ้านเรือนเป็นประจำ อาจจะเป็นเรื่องที่เคยได้ยิน และเคยปฏิบัติกันเป็นประจำอยู่แล้ว แต่เพื่อเป็นการย้ำเตือนและเป็นการเฝ้าระวัง ไม่ให้อันตรายจากการใช้สารเคมีเกิดขึ้น และเพื่อให้ทราบถึงโทษของสารเคมีที่เราใช้กันด้วยความเคยชิน

สุดท้ายการใช้สารเคมีไม่ว่าจะเป็นในแปลงของเกษตรกร หรือจะนำมาใช้เพื่อกำจัดแมลงภาย ในบ้านเรือน กรมวิชาการเกษตรได้มีนโยบาย และเน้นย้ำเกี่ยวกับเรื่องนี้มาโดยตลอดว่า การที่จะเลือกใช้สารเคมีอยากให้เป็นทางเลือกสุดท้ายที่จะใช้ เนื่องจากการใช้สารเคมีจะเกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และที่สำคัญที่สุดจะส่งผลถึงตัวผู้ใช้นั่นคือเกษตรกรนั่นเอง

การที่จะเลือกใช้สารเคมีเพื่อการใดก็ตาม เราควรศึกษาให้ดีถึงข้อควรปฏิบัติ เพื่อที่เราจะได้เป็นผู้ที่เรียกได้ว่า เป็นผู้ที่รู้เท่าทันอันตราย... จากการใช้สารเคมี

http://www.doa.go.th/pibai/pibai/n14/v_7-aug/rai.html
-------------------------------------------------------------------------------------

จาก : (062) 759-21xx
ข้อความ : เรียน เสธ.คิม น้ำน้อยคือมีน้ำ ไม่มีน้ำคือน้ำไม่มี สถานกรณ์แล้งวันนี้ อยากให้ท่านนำเสนอ ตัวอย่างเกษตรกร ที่ทำเกษตรแบบใช้พื้นที่น้อย เพราะมีน้ำน้อย แต่ทำขายแล้วรวยได้ .... ขอบคุณครับ อดีตครู ร.ร. นนส. ป. อดีตนักบิน ศบบ. ทบ.
ตอบ :
หลักการและเหตุผล :

- ทำขาย ต้นทุนลด (ปุ๋ย ยา แรงงาน) ผลผลิตเพิ่ม (คุณภาพ ปริมาณ) เกรดเอ. จัมโบ้. โกอินเตอร์. ขึ้นห้าง. ออกนอกฤดู. คนนิยม. ขายได้เท่าเดิมแต่กำไรจะเพิ่ม ขายได้เท่าข้างบ้านแต่กำไรมากกว่า .... ไม่ใช่น้อย ที่บางคนทำออกมาแล้วเจ้าของยังไม่กิน ขายไม่ออกก็มาโวยวาย ทำแล้วขาย ขายแล้วขาดทุน ไม่รู้ มันเป็นไปได้ไง

- พืชบางอย่างต้องการน้ำน้อย แต่ที่ใส่ให้มากๆ นั่นคน คิดเอง ถามเอง ตอบเอง.... พืชบนดิน ต้องการน้ำแค่ “ชื้น-ชุ่ม” เท่านั้น แต่ที่คนใส่จน “โชก-แฉะ-แช่” เพราะต้องเผื่อน้ำหมด .... พืชในน้ำ ต้องการน้ำ “แช่” ต้องปลูกในน้ำ นั่นก็ว่าไป

- เรื่องทำนองนี้ยากหรือง่ายอยู่ที่ “ใจ” เท่านั้น น่าจะถือหลัก .... ไม่เคยทำต้องลอง .... ไม่เคยเห็นต้องไปดู .... ไม่เป็นต้องหัด .... ไม่รู้ต้องเรียน .... ไม่ได้เรียนต้องอ่าน .... อ่านแล้วทำตามโผ

- มองทะลุทุกมิติ START UP FARMER .... พืชใช้น้ำน้อย คือต้องการน้ำน้อย ไม่มีแหล่งน้ำก็สร้างขึ้นมาเอง เช่น แทงค์น้ำ (ถังจุ 2,000 ล. 10 ถัง ซื้อน้ำมาเติม) บ่อบาดาลส่วน ตัว (สูบน้ำใส่แทงค์ หรือลงสระ) .... สร้างครั้งเดียวทำครั้งเดียว ใช้งานได้ถึงรุ่นลูกหลานเหลนโหลน 20-30-50 ปีข้างหน้า

.... พืชใช้น้ำน้อย ปลูกฤดูแล้งวันนี้ได้ นั่นคือ ปลูกได้ทุกฤดูกาล ตลอดปี
.... พืชใช้น้ำน้อย ปลูกฤดูฝน ให้ป้องกันน้ำท่วม เช่น ปลูกในถุง ยกสูงให้พ้นน้ำ
.... พืชใช้น้ำน้อย เลือกชนิดพืชที่คนกินสด ซูพรีม พรีเมียม เกรดเอ. จัมโบ้.
(.... อิสราเอล มาเลเซีย/ปีนัง ปลูกในถุง ในโรงเรือน ทำได้ทำมานานแล้ว ทุกวันนี้ก็ยังทำ ทำหนักกว่าเก่าด้วย ....)


- ทำวิกฤตให้เป็นโอกาส เขาทำได้เราทำได้ เราก็ทำได้ เราต้องทำได้ ต้องทำให้ได้ .... หรือว่า ใครๆ ก็ทำได้ยกเว้นเรา ที่ไหนๆ ก็ปลูกได้ยกเว้นบ้านเรา .... ยังงั้นมั้ย


CASE STUDY กรณีศึกษา 1 :
นักบัญชี หนีมาทำสวนสตอเบอรี่จนได้ดี :

ด้วยความฝันอยากเป็นเกษตรกรตั้งแต่เด็ก จบ ปวส. มามุมานะสอบเข้าสาขาพืชศาสตร์ แต่ต้องพลาดโอกาสเมื่อเขาไม่รับเข้าเรียน ก็เลยตัดสินใจลองหันไปเอาดีด้านบัญชี แต่ด้วยใจรักจึงทำเกษตรควบคู่กันไป ครั้นเมื่อจบการศึกษาตัดสินใจปฏิเสธงานออฟฟิศ หวนกลับบ้านมาเริ่มต้นทำการเกษตรด้วยการปลูกสตอเบอรี่ใน “ไร่พิมพ์วรัตน์”

“ไร่พิมพ์วรัตน์” สวนสตอเบอรี่ ตั้งอยู่ที่ ต.องค์พระ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี มีเนื้อที่ทั้งหมด 4 ไร่ ซึ่งหลายคนอาจเกิดข้อสงสัยว่า “ภูมิอากาศที่ร้อนใน จ.สุพรรณบุรี จะสามารถปลูกสตอเบอรี่ได้หรือไม่นั่น ? ซึ่งคำตอบคือ “ถ้าเราเข้าใจสภาพแวดล้อมในแต่ละช่วงฤดูกาล ไม่ว่าจะปลูกอะไรก็ให้ผลกำไรกับเราอย่างเต็มที่”

คุณพิมพ์วรัตน์ คำเรือง หรือ น็อต เจ้าของไร่พิมพ์วรัตน์ เล่าว่า “ทุกอย่างย่อมมีอุป สรรค แต่ถ้ามีใจที่มุ่งมั่น ก้าวแรกของเราก็ไม่ใช่ปัญหา ส่วนในเรื่องของความยากง่ายของการปลูกสตอเบอรี่ในครั้งนี้ แม้ระดับความเย็นของอากาศจะไม่เหมือนอยู่ภาคเหนือ ที่มีความเย็นตลอดเกือบช่วงฤดูกาล เราก็สามารถแก้ไขได้โดยการทำเกษตรแบบไหล ไม่ใช่เพียงแค่ปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวสตอเบอรี่เพียงอย่างเดียว แต่เราปลูกเพื่อขยายพันธุ์ และปลูกแบบขายยกต้นด้วย ก็เลยทำให้น็อตมีรายได้เข้าตลอดเวลา”

ก้าวแรกของเงินลงทุนทำสวนสตอเบอรี่ :

“สวนสตอเบอรี่ดำเนินการมาได้ 2 ปี เริ่มแรกทำสวนใช้ในเนื้อที่ 2 งาน ด้วยเงินทุนเริ่มต้น 32,000 บาท รวมทั้งค่าพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่าติดตั้งปั้มน้ำ ต่อมามีผลตอบรับดี ผลกำไรงอกงาม จึงทำให้ปีนี้ปรับเงินลงทุนเพิ่มเป็น 200,000 บาท เพื่อขยายผลและกำไรให้มากขึ้น รวมไปถึงเพิ่มเนื้อที่ปลูกสตอเบอรี่เป็น 4 ไร่ และอนาคตกำลังขยายพันธุ์สตอเบอรี่เอง เพื่อลดต้นทุนในการซื้อพันธุ์มาปลูก”

ที่มาของพันธุ์สตอเบอรี่ :

“พันธุ์สตอเบอรี่เอามาจากโครงการหลวงดอยปุย โดยวิธีการคัดเลือกคือ ใช้พันธุ์ที่ทนความร้อนของอากาศได้ดี ซึ่งพันธุ์ที่น็อตเอามาปลูกมีอยู่ 2 สายพันธุ์คือ พันธุ์ 80 จะเป็นลักษณะคล้าย ๆ รูปหัวใจ ตูดกลมมน ส่วนพันธุ์ที่ 2 คือ พันธุ์ 329 ผลจะออกแบน ๆ ลูกใหญ่ ทั้งนี้ราคาพันธุ์อยู่ที่ประมาณ 10-15 บาท ในพื้นที่ 1 งาน จะปลูกต้นสตอเบอรี่ได้ 2,000-2,500 ต้น ส่วนวิธีการดูแล เราใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยหมักที่ซื้อตามท้องตลาดทั่วไป ไม่ใช้สารเคมีแต่อย่างใด โดยวิธีให้ปุ๋ยจะมีอยู่ 3 ช่วงคือ

1. ช่วงบำรุงสตอเบอรี่ ต้องให้ปุ๋ยทุก 15 วัน
2. พอประมาณ 3 เดือน เข้าสู่ช่วงบำรุงดอก เร่งผล ให้ใส่ปุ๋ยตามความเหมาะสม อาจจะให้ทุก 15 วันเหมือนเดิมหรือลดลงก็ได้ โดยใช้สูตรปุ๋ยอินทรีย์ 8-24-24

3. เมื่อผลสตอเบอรี่เริ่มออก ต้องพยายามดูแลเพื่อให้ผลแข็งแรง พร้อมให้ปุ๋ยสูตร 0-0-50 หรือ 13-13-21 ทุกๆ 10 วันจนกว่าจะเก็บเกี่ยวได้

“ผลสตอเบอรี่จะเริ่มออกช่วงอากาศหนาวในเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ และสามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นไป พอเข้าเดือนมีนาคมและเมษายนอากาศจะปรับตัวร้อนขึ้น เมื่อสตอเบอรี่ออกดอกมามักไม่ติดผล เราก็เลยแก้ไขปัญหาด้วยการทำธุรกิจแบบไหล โดยน็อตจะปลูกทั้งบนดิน และในกระถาง เพื่อให้ขายได้หลาย ๆ แบบ”

“ส่วนราคาขายพันธุ์สตอเบอรี่แบ่งเป็นเกรด คือ เกรด A พันธุ์ 80 จะขายในราคา 350 บาท/โล และสตอเบอรี่พันธุ์ 329 ขายอยู่ในราคา 300 บาท/โล ส่วนเกรด B ราคาลดลงเหลือ 250 บาท เกรด C ราคาอยู่ที่ 100 บาท พร้อมขายในลักษณะที่เป็นกล่องด้วย เฉลี่ยกำไรที่ได้รับเมื่อปีที่แล้วในจำนวนสตอเบอรี่ 1,000 ต้น ได้กำไร 7-8 หมื่นบาท”

“ส่วนการทำตลาด โดยหลักๆ เป็นหน่วยงานรัฐ เช่น อบต. รพ. และกลุ่มชาวบ้าน โดยข้อแตกต่างระหว่างสตอเบอรี่ภาคเหนือกับสตอเบอรี่จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ที่ผลของสตอเบอรี่ของเราจะแดงกว่าถึง 80% มีความหวาน กรอบ และส่วนใหญ่ชาวบ้านเลือกที่จะทานสตอเบอรี่ของเรามากกว่าด้วย”

หัวใจสำคัญของการทำสวนสตอเบอรี่ “อย่างแรกเลยทุกคนอาจคิดว่าปลูกสตอเบอรี่หวังเพียงแค่เก็บเกี่ยวผลผลิตให้ได้เยอะ ๆ แต่กลับไม่ค่อยคิดเลยว่า จะทำอย่างไรเพื่อให้เราสามารถแตกรายได้ในการทำสวนสตอเบอรี่ในครั้งนี้ เพราะการทำสวนผลผลิตมักออกตามช่วงฤดูกาล ดังนั้น น็อตเลยเลือกที่จะทำเกษตรแบบไหล เพื่อให้มีรายได้หมุนเวียนเข้ามาเรื่อย ๆ ฉะนั้น ไม่ว่าจะทำเกษตรกรด้านใด

1. ต้องมีใจรัก เพราะอาชีพเกษตรค่อนข้างลำบาก
2. ต้องใช้ความมุ่งมั่นมากพอสมควร บางครั้งมันอาจไม่ได้ตามที่คาดหวัง แต่เราต้องมีความพยายามทำให้ดีที่สุด
3. ทำเกษตรเริ่มแรกมักไม่ได้ผลผลิตตามที่ใจหวัง เราต้องหาที่ปรึกษาเข้ามาช่วยเหลือ อาจจะเป็นเกษตรกรคนที่เคยทำมาก่อนหน้าเรา หรือศึกษาจากอินเทอร์เน็ตก็ได้

ขณะนี้ทางไร่สตรอเบอร์รี่พิมพ์วรัตน์ สตรอเบอร์รี่สุพรรณบุรี ได้เปิดรับจองต้นพันธุ์สตรอเบอร์รี่อย่างเป็นทางการแล้ว โดยมีต้นพันธุ์ 2 แบบ ดังนี้

1. ไหลแม่พันธุ์ (G2)
ปลูกเพื่อผลิตไหลขยายพันธุ์เองได้ ราคาอยู่ที่ไหลละ 30 บาท ถ้าสั่งถึง 500 ไหล เหลือไหลละ 25 บาท ถ้าส่งไปรษณีย์ต้องเพิ่มเงินอีกไหลละ 10 บาท (ได้รับของเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2559)

2. ไหลปลูกเพื่อเก็บผลผลิต...
https://www.facebook.com
-----------------------------------------------------------

CASE STUDY กรณีศึกษา 2
ออเดอร์หมื่นต้น ! ชาวสวนยางหันเพาะสตรอเบอร์รี่ขาย ทำเงินเดือนละแสน

ชาวสวนยางนครพนม วัย 48 ปี แบกรับภาระหลังราคาตกต่ำนาน 2 ปีไม่ไหว ผันตัวปลูกสตรอเบอร์รี่ในภาคอีสาน เพาะพันธุ์ใส่กระถางขาย สร้างรายได้เดือนละแสน ออเดอร์นับหมื่นต้น ด้าน อบต.พิมาน เตรียมผลักดันเป็นศูนย์เรียนรู้-ท่องเที่ยว

เมื่อวันที่ 7 ม.ค. 59 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมพิศ ชูสังฆ์ อายุ 48 ปี อยู่บ้านเลขที่ 127 หมู่ 6 บ้านดอนพัฒนา ต.พิมาน อ.นาแก จ.นครพนม เกษตรกรชาวสวนยางพารา ที่ก่อนหน้านี้ประสบปัญหาราคาตกต่ำมานานเกือบ 2 ปี โดยต้องแบกภาระต้นทุนและหนี้สิน กระทั่งเกิดแนวคิดจากการไปศึกษาดูงาน หันมาทดลองปลูกสตรอเบอร์รี่ เพื่อหาทางสร้างรายได้ชดเชย เพราะมองว่าเป็นผลไม้ที่หายากในภาคอีสาน และมีราคาแพง

เริ่มทดลองปลูกมาตั้งแต่ปี 2556 ถึงปัจจุบัน โดยสามารถดูแล บำรุงรักษา รวมถึงการขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี เก็บผลผลิตออกจำหน่ายได้ และสามารถเรียนรู้วิธีการดูแล บำรุง รักษา รวมถึงการขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ทำให้มีเกษตรกรมาสั่งซื้อต้นสตรอเบอร์รี่ที่บรรจุลงในกระถางจำนวนมาก จนขยายพันธุ์ไม่ทัน โดยส่วนใหญ่จะเน้นขายพันธุ์สตรอเบอร์รี่ ซึ่งใช้ระยะเวลาเพียง 1-2 เดือน ก็สามารถขายได้ ราคากระถางละ 120-150 บาท ทำให้ช่วงที่ผ่านมามีรายได้เดือนละนับแสนบาท

นายสมพิศ เกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอร์รี่ กล่าวว่า เดิมมีอาชีพทำสวนยางพารา มีพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ ปลูกมาประมาณ 10 ปี แต่ประสบปัญหาราคาตกต่ำเกือบ 2 ปี จึงหันมาศึกษาปลูกสตรอเบอร์รี่ ส่วนระยะเวลาในการปลูกจนถึงเก็บผลผลิตจะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลและสภาพอากาศ ซึ่งสตรอเบอร์รี่จะออกผลปีละครั้งในช่วงฤดูหนาว ส่วนใหญ่จะปลูกพันธุ์พระราชทาน 80 ที่นำมาจากทางภาคเหนือ

ปัจจุบันมีออเดอร์ประมาณ 10,000 ต้น ในอนาคตจะมีการพัฒนาทำแปลงดินปลูกนอกเหนือจากการลงกระถาง เพื่อให้เกษตรกรที่สนใจมาศึกษาเยี่ยมชม และนำไปทดลองปลูกได้ เชื่อว่าทางเลือกใหม่ที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอีกทาง เพราะมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 300-350 บาท โดยใครสนใจยินดีที่จะให้คำปรึกษาแนะนำ สอบถามรายละเอียดได้ที่หมายเลข 08-8533-5337

ด้าน นายบัญชา ศรีชาหลวง นายก อบต.พิมาน อ.นาแก จ.นครพนม ได้มีการพูดคุยเพื่อสร้างความร่วมมือ วางแผนจัดสรรงบประมาณส่งเสริมสนับสนุน นำไปขยายเป็นอาชีพ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ รวมถึงหาแนวทางมาพัฒนาต่อยอด ปรับพื้นที่ปลูกทำสวนแทนการเพาะปลูกในกระถาง เพื่อเพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ นอกจากนี้ จะวางแผนยกระดับให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ในการปลูกสตรอเบอร์รี่ด้วย และพัฒนาให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ให้ประชาชนในพื้นที่ทำการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.

ที่มา http://www.thairath.co.th/content/559276
http://www.krupunmai.com
--------------------------------------------------------------

สตรอเบอรี่
ลักษณะทางธรรมชาติ

* เป็นพืชอายุหลายปีแต่นิยมปลูกปีเดียวหรือรุ่นเดียว หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้วรื้อ แล้วเริ่มปลูกใหม่ ลักษณะพุ่มเตี้ย ลำต้นยาว 2-3 ซม. สูงจากพื้น 15-20 ซม. กว้าง 10-15 ซม. ระบบรากยึดลำต้นลึก 25-30 ซม. แต่รากฝอยหากินอยู่ที่บริเวณผิวดิน ชอบดินร่วนปนทราย มีอินทรีย์วัตถุมากๆ ระบายน้ำดี ต้องการน้ำสม่ำเสมอถ้าน้ำขังค้างจะชะงักการเจริญ เติบโตและรากเน่าได้ ดังนั้นจึงควรยกแปลงปลูกสูงและอินทรีย์วัตถุมากเพื่อป้องกันน้ำขังค้าง

* ต้องการแสงช่วงกลางวันสั้นแต่ช่วงกลางคืนยาว เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่อากาศเย็นอย่างในเขตภาคเหนือ แต่ก็มีสตรอเบอรี่ปลูกได้ดีที่ อ.เทพถิตย์ จ.ชัยภูมิ และ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา

* ชอบอากาศหนาวถึงหนาวจัด แต่ไม่ชอบฝน ถ้าฝนตกลงมาขณะผลเริ่มโตถึงใกล้เก็บเกี่ยวจะเกิดอาการผลเน่า

* สายพันธุ์ที่เจริญเติบโตดีบนพื้นที่ภูเขาสูง เมื่อนำลงมาปลูกบนพื้นราบเชิงเขาซึ่งไม่ไกลกันนักจะให้ผลผลิตช้าลง และเช่น เดียวกันที่สายพันธุ์จากพื้นราบเชิงเขาเมื่อนำขึ้นไปปลูกบนภูเขาสูงก็กลับให้ผลผลิตช้าลงด้วย

* เป็นพืชให้ผลผลิตเร็ว ตั้งแต่เริ่มปลูกถึงออกดอก 25-30 วัน อายุผลตั้งแต่ผสมติดถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 25-35 วัน .... ผลแก่มีช่วงเวลาฝากต้นค่อนข้างสั้น (เมื่อผลแก่ต้องเก็บทันที) จึงควรจัดแปลงปลูกแบบเป็นรุ่นๆ และรุ่นห่างกัน 7-10 วัน

* ออกดอกจากข้อซอกใบ ในต้นเดียวกันมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียที่ผสมกันเองได้
* ปลูกเพื่อเก็บผลให้ปลูกในช่วงเดือน ก.ย. - ต.ค. หรือหลังปลูก 1 เดือนแล้วเข้าสู่เดือน พ.ย. ซึ่งอากาศเริ่มหนาวเย็น ซึ่งสตรอเบอรี่ก็จะออกดอก .... ส่วนการปลูกเพื่อผลิตไหลขยายพันธุ์ให้ลงมือปลูกในช่วงเดือน พ.ค. ซึ่งเริ่มเข้าสู่หน้าฝนต้นสตรอเบอรี่จะเจริญเติบ โตทางต้นดี

* ต้นกล้าที่ปลูกลึก ส่วนลำต้นอยู่ต่ำกว่าผิวดินมาก มีโอกาสเกิดโรคราเน่าโคนเน่าสูง แต่ถ้าปลูกตื้นโอกาสที่รากจะขาดความชื้น เนื่องจากหน้าดินแห้งทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบสูงเช่นกัน ดังนั้นการปลูกลึกหรือตื้นต้องพิจารณาภาพหน้าดินให้เหมาะสม

* การปลูกควรให้ท่อนไหลปลายที่เจริญเติบโตออกจากต้นแม่ชี้เข้ากลางแปลงเพื่อให้ผลสตรอเบอรี่ออกมาอยู่ทางด้านนอกของแปลงซึ่งจะได้รับแสงแดดเต็มที่และสะดวกต่อการปฏิบัติ งาน

* ต้นที่ใบใหญ่กว่าปกติเรียกว่า งามใบ จะออกดอกติดผลน้อย ดังนั้นการบำรุงหลังจากยืนต้นได้หรือก่อนถึงช่วงออกดอก ควรเน้นสารอาหารกลุ่มสร้างดอกบำรุงผลให้มากกว่ากลุ่มสร้างใบบำรุงต้น

* ใช้สารคลอเมควอต 100-120 ซีซี./น้ำ 100 ล. ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น หลังเก็บเกี่ยว จะช่วยป้องกันการเกิดไหล .... แต่ใช้ จิ๊บเบอเรลลิน 50-100 ซีซี./น้ำ 100 ล. ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 ครั้ง ให้ครั้งแรกหลังย้ายปลูก 30 วัน ให้ครั้งที่ 2 หลังจากให้ครั้งแรก 30 วัน จะช่วยให้เกิดไหลจำนวนมาก

* ใช้พาโคลบิวทาโซล 50-100 ซีซี./น้ำ 100 ล. ฉีดพ่นพอเปียกใบหลังย้ายปลูก 1 เดือนครึ่ง ทำให้ลดการเจริญเติบโตทางต้นแต่ถ้าฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบทำให้ไม่เกิดไหล การให้ทั้ง 2 วิธีทำให้ติดผลดกและมีขนาดผลใหญ่ขึ้น

* เมื่อต้นสตรอเบอรี่เริ่มติดผลให้ใช้ใบตองเหียง หรือใบตองตึงปูพื้นเพื่อรองรับผลไม่ให้สัมผัสพื้นดินโดยตรง นอกจากช่วยป้อง กันเชื้อโรคแล้วทำให้ผิวสวยสดอีกด้วย การใช้พลาส ติกคลุมแปลง เมื่อดอกและผลออกมาจะได้รับอุณหภูมิสูงกว่าคลุมแปลงด้วยใบ ตองตึง....การใช้พลาสติกคลุมแปลงจึงส่งผลเสียมากกว่าผลดี เพราะนอกจากสิ้นเปลืองแล้ว อุณหภูมิใต้พลาสติกยังสูงเหมาะสมต่อการแพร่ขยายพันธุ์ของเชื้อโรคใต้ดินอีกด้วย

สายพันธุ์นิยม
สายพันธุ์บริโภคสด :

พันธุ์พระราชทานเบอร์ 60, 70, 80, 50, 20 และเนียวโฮ.....พันธุ์เบอร์ 60 เป็นสายพันธุ์ที่ผสมในไทยโดยตรง จึงเหมาะสมต่อสภาพอากาศของประเทศไทยมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ส่วนสายพันธุ์เบอร์ 70 จากญี่ปุ่น กำลังอยู่ในขั้นพัฒนาสายพันธุ์ให้เหมาะสมต่อสภาพอากาศของประเทศไทย

สายพันธุ์แปรรูป :

พันธุ์พระราชทานเบอร์ 16 และเซลวา.

การขยายพันธุ์

เมื่อต้นโตขึ้นให้ผลผลิตแล้ว ต้นจะมีไหลเจริญยาวออกมาจากต้นแม่ ที่ส่วนปลายไหลจะมีต้นเล็กๆเกิดขึ้น (ตะเกียง) นำต้นเล็กๆ ที่ปลายไหลปลูกลงในถุงพลาสติกบรรจุวัสดุเพาะกล้าปกติ ใช้ไม้เล็กๆ ดัดเป็นรูปตัว ยู. กดไหลส่วนใกล้ต้นเล็กให้ติดแน่นมั่น คง ยังไม่ตัดไหลออกจากต้นแม่ แล้ววางไว้ในแปลงปลูกอย่างนั้น รอจนกระทั่งมีรากงอกจากต้นเล็กแทงทะลุถุงจึงตัดไหลแล้วนำต้นเล็กนี้ไปปลูกต่อไป

เตรียมแปลง และเตรียมดิน :

- ทำแปลงยกร่องแห้งลูกฟูก สันแปลงสูง 30-50 ซม.โค้งหลังเต่า กว้าง 1-1.20 ม. ช่องทางเดินระหว่างสันแปลงกว้าง 1 ม. ..... สันแปลงสูงๆ ดีกว่าสันแปลงเตี้ยๆ

- ใส่ปุ๋ยคอก ยิบซั่มธรรมชาติ กระดูกป่น บ่มดินด้วยจุลินทรีย์หน่อกล้วยหรือปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 1-2 เดือนเพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ในการปรับสภาพโครงสร้างดินและสร้างสารอาหารไว้ก่อน

-ปลูกบนพื้น ใช้ใบตองตึง (ภาคเหนือ) คลุมสันแปลง หรือใช้พลาสติกคลุมแปลง
- ปลูกในถุงในโรงเรือน ใช้ซาแลนบังแดด


ระยะปลูก :

ระยะห่างระหว่างต้น 25-30 ซม. ระหว่างแถว 30-40 ซม. เนื้อที่ 1 ไร่ปลูกได้ 8,000-10,000 ต้น

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อสตรอเบอรี่ :
1. ระยะต้นเล็ก :

- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
ระยะนี้ไม่ควรให้ปุ๋ยเคมีทั้งทางราก และทางใบเพื่อป้องกันอาการ “งามใบ” แต่ปล่อยให้ต้นได้รับสารอาหารจากดินที่ใส่ไว้เมื่อช่วงเตรียมแปลง

2. ก่อนออกดอก :
ทางใบ :

- ให้ ไทเป + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้า 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (1-2 กก.)/ไร่ ด้วยการละลายน้ำแล้วรดโคนต้น
หมายเหตุ :
เริ่มให้หลังจากต้นกล้ายืนต้นได้ จะช่วยให้ต้นไม่เกิดอาการงามใบ

3. บำรุงผลเล็ก - เก็บเกี่ยว :
ทางใบ :

- ให้ ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (1-2 กก.)/ไร่/15-20 วัน ด้วยการละลายน้ำแล้วรดโคนต้น
หมายเหตุ :
-ไบโออิ (ส่วนประกอบ .... แม็กเนเซียม สังกะสี), ยูเรก้า (ส่วนประกอบ .... 21-7-14 ไคโตซาน อะมิโน โปรตีน ธาตุรอง/ธาตุเสริม)
- เริ่มให้หลังจากเริ่มผสมติดเป็นผล
- ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน. อย่างละ 1 ครั้งเพื่อทำให้ต้นสมบูรณ์ตลอดช่วงที่มีผลอยู่บนต้น
- ก่อนเก็บเกี่ยว 2-3 วัน ถ้าให้ “มูลค้างคาวกัด” 1 ครั้งจะช่วยให้สีจัดเต็มผลและรสชาติดีขึ้น
- ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง
- สปริงเกอร์ ....ทางใบ : แบบพ่นฝอย (กะเหรี่ยงลอยฟ้า).... ทางราก : ระบบน้ำหยด


------------------------------------------------------------------------------------

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©