-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 06 JUL *ม้ง ไม่กินผักตัวเอง !
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 06 JUL *ม้ง ไม่กินผักตัวเอง !

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 06/07/2016 10:23 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 06 JUL *ม้ง ไม่กินผักตัวเอง ! ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 06 JUL

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)


----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

------------------------------------------------------------------------


เล่าสู่ฟัง เรื่องยาฆ่าแมลง 15 :

ม้ง .... ไม่กินผักตัวเอง ! :


เมื่อครั้ง ดร.พิจิต รัตตกุล ขึ้นมาเป็นผู้ว่า กทม. คาดเดาว่า ที่ปรึกษาด้านสาธารณสุข ได้ให้ข้อมูลเรื่องหนึ่งว่า อาหารที่ประชาชนบริโภคนี้มีสารเคมีปนเปื้อน จึงคาดเดาอีกว่า ผู้ว่า กทม. ได้ให้ความสนใจเรื่องนี้อย่างมาก ถึงกับวางแผนล้วงลึก เพื่อให้รู้ว่า ตัวปัญหาจริงๆ มันคืออะไร ? อยู่ที่ไหน ? เพราะตระหนักดีว่า หากแก้ปัญหานี้ได้ เท่ากับได้รับใช้ประชาชนที่เลือกเข้ามาแล้ว .... งานนี้ประเดิมด้วยการไปพูดคุยกับแม่ค้าขายผักในตลาด

ผู้ว่าฯ :
แม่ค้าขายผักสดแบบนี้มานานหรือยัง ?
แม่ค้า : ปีนี้ครบ 20 ปี พอดีค่ะ

ผู้ว่าฯ : รายได้ดีไหม ?
แม่ค้า : จะว่าดีก็ดีค่ะ พอส่งลูกเรียน

ผู้ว่าฯ : เป็นแม่ค้าขายผัก แค่ขาย ทำไมต้องมีผ้าปิดจมูกด้วยล่ะ ?
แม่ค้า : อ๋อ คุณหมออนามัย กทม.นั่นแหละค่ะ แนะนำให้ปิดจมูกด้วย

ผู้ว่าฯ : เพราะอะไรเหรอ หมออนามัยได้บอกเหตุผลไหม ?
แม่ค้า : หมอบอกว่า ในผักมีสารเคมีฆ่าแมลงที่เกษตรกรเขาฉีด ถ้าเราหายใจเข้าไปบ่อยๆ ประจำๆ อาจทำให้เราเจ็บป่วยได้

ผู้ว่าฯ : (ผู้ว่าฯ เหลือบมองแม่ค้ารอบข้าง หลายคนมีผ้าปิดจมูก เห็นชัดว่านี่คือ ผลงานของทีมงานสาธารณสุข .... หันมาสนใจแม่ค้าต่อ) แล้วเกษตรกรที่เอาผักมาส่ง เขาบอกหรือเปล่าว่า เขาฉีดยาฆ่าแมลงมากหรือน้อยแค่ไหน ?
แม่ค้า : โฮ้ยยยย เขาจะบอกอะไรล่ะคะ ถามเขาๆก็บอกว่า ฉีดนานแล้ว ฉีดหลายวันแล้ว วันนี้ยาหมดฤทธิ์แล้วทั้งนั้นแหละ

ผู้ว่าฯ : แล้วคนกินคนซื้อล่ะ เขาว่ายังไงบ้างไหม ?
แม่ค้า : ก็ไม่เห็นใครว่าอะไรนี่คะ ถ้าผักไม่สวยนั่นแหละ เขาจะติ แล้วขอลดราคา

ผู้ว่าฯ : (ผู้ว่าฯ มองผัก วางหน้าคิ้วย่น แล้วพูดลอยๆ) ผักสวย ผักไม่สวย
แม่ค้า : ใช้ค่ะ เกษตรกรเขาบอกว่า ถ้าไม่ฉีดยา หนอนจะเข้ามากัดกินผัก ทำให้ผักไม่สวย ผู้ว่าฯ กล่าวขอบคุณกับอวยพรขอให้ขายดีๆ แล้วเดินต่อไปที่แม่ค้าถัดไป 2-3 แผง พูดคุยสอบถามทุกเจ้า ไม่น่าเชื่อว่า ทุกคำถามเดิมล้วนได้คำตอบแบบเดียวกันทั้งสิ้น จึงหันมาพูดคุยกับ จนท.เกษตร ที่ร่วมทีมตรวจเยี่ยมมาด้วย

ผู้ว่าฯ : คุณเกษตรฯ การเกษตรของไทยกับสารเคมี ต้องคู่กันเลย ใช่ไหม ?
เกษตร : ไม่จำเป็นหรอกครับ อยู่ที่ตัวเกษตรกรเองว่า จะใช้หรือไม่ใช้ ถ้าไม่ใช้สารเคมีก็ต้องใช้อย่างอื่นที่ไม่ใช่สารเคมีแทน แต่เกษตรกรเลือกใช้แต่สารเคมีเท่านั้น

ผู้ว่าฯ : แล้วเกษตรกรเขารู้ถึงอันตายของสารเคมีไหม ?
เกษตร : รู้ยิ่งกว่ารู้อีกครับ ไม่ใช่รู้อันตรายอย่างเดียว คนที่ตายเพราะสารเคมีก็รู้ แต่เขาก็ยังใช้ เขาอ้างว่า ง่าย เร็ว สะดวก

ผู้ว่าฯ : (ผู้ว่าฯ มองหน้าบรรดาคณะผู้ติดตามแล้วพบรอยยิ้มที่ไม่สดชื่นนัก และแล้วเหมือนผู้ว่าฯ จะคิดอะไรได้บางอย่าง หันไปทางแม่ค้าขายผัก แล้วออกปากถาม) แม่ค้าบอกได้ ไหมว่า ผักบนแผงในตลาดนี้ มาจากจังหวัดไหน แม่ค้ารู้ไหม ?
แม่ค้า : มาจากจังหวัดตากค่ะ ส่งถึงตลาดนี่ราวๆ ตี.2 ทุกวันค่ะ

ผู้ว่าฯ : คือว่า ผมจะตามไปดูผักในแปลงเลย ไปดูว่า เกษตรกรคนปลูก เขาจะแก้ปัญหาสารเคมีปนเปื้อนได้ไหม ?
แม่ค้า : ดีค่ะท่าน นอกจากตัวเขาจะปลอดภัยเองแล้ว คนขายบนแผงที่นี่ คนซื้อคนกินที่บ้าน ก็จะปลอดภัยด้วย

จากวันพบแม่ค้าผักในตลาด รวมเวลาได้ราว 7 วัน คณะผู้ตรวจนำโดย ผู้ว่า กทม.กับคณะชุดเดิมก็ปรากฏตัวที่สวนผัก เกษตรกร จ.ตาก

ผู้ว่าฯ : ปลูกผักเยอะไหม ? กี่ไร่ ?
ม้ง : เฉพาะของผมคนเดียว 20 ไร่ ของญาติพี่น้องอีก รวมแล้ว 100 ไร่ครับ

ผู้ว่าฯ : ทำมานานหรือยัง ?
ม้ง : 10 20 ปีแล้วครับ

ผู้ว่าฯ : ทำแล้วส่งกรุงเทพมาตลอดเลยเหรอ ?
ม้ง : ใช่ครับ ส่งประจำ เป็นขาประจำครับ

ผู้ว่าฯ : ผักที่นี่ใช้สารเคมีไหม ?
ม้ง : ใช้ครับ ใช้มากด้วยครับ

ผู้ว่าฯ : ไม่ใช้ไม่ได้หรือ ?
ม้ง : ไม่ได้ครับ ผักไม่ฉวย คนกรุงเทพโง่ ชอบกินแต่ผักฉวยๆ

ผู้ว่าฯ : (ผู้ว่าฯ คณะผู้ติดตาม ยิ้มเจื่อนๆ แล้วถามม้งต่อ) แล้วม้งก็กิน ไม่กลัวตายหรือ ?
ม้ง : ม้งไม่ได้กิน หมาม้งก็ไม่กิน ม้งกินผักที่แยกปลูกต่างหาก

ผู้ว่าฯ : (ผู้ว่าฯ คณะผู้ติดตาม ยิ้มแหยๆ พยักหน้าหงึกๆ ไม่ถามต่อ) ขอบคุณมาก

ผู้ว่า กทม. ก้มหน้าครุ่นคิดอย่างหนัก ก้าวเท้าถอยห่างออกมา ท่าทางเหมือนจะเดินไปที่รถ ผิดปากเงียบ แม้แต่คำขอบคุณ คำบอกลา เจ้าของสวนก็ไม่มี เช่นเดียวกับทุกคนในคณะที่ต่างพากันปิดปากเงียบ ไม่พูดแต่กำลังคิด คิดอย่างหนัก คิดอยู่ว่า ในเมื่อคนซื้อคนกินต้อง การ “ผักฉวยๆ-ผักฉวยๆ” ฉะนี้แล้วจึงจำเป็นต้องระดมสารเคมียาฆ่าแมลงให้จงหนัก ..... เอวัง
---------------------------------------------------------------------


สมุนไพร (89) :

การทำสารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืชและสัตว์เลี้ยง

รวมสมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช :

รวมสมุนไพร ป้องกันกำจัดแมลง :[/color] ได้แก่ หางไหลขาว (โล่ติ๊น) หางไหลแดง (กะเพียด) ยาสูบ (ยาฉุน) เถาบอระเพ็ด สาบเสือ พริกไทย ข่าแก่ ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม ตะไคร้แกง ดีปลี พริก โหระพา สะระแน่ กระเทียม กระชาย กระเพา ใบผกากรอง ใบดาวเรือง ใบมะเขือเทศ ใบคำแสด ใบน้อยหน่า ใบยอ ใบ/ลูกสบู่ต้น ใบ/ลูกเทียนหยด ใบมะระขี้นก เปลือกว่านหางจระเข้ ว่านน้ำ เมล็ดโพธิ์ เมล็ดแตงไทย เปลือกมะม่วงหิมพานต์ ดอกลำโพง ดอกเฟื่องฟ้าสด กลีบดอกชบา ลูกทุเรียนเทศ รากเจตมูลเพลิงแดง

รวมสมุนไพร ป้องกัน/กำจัดหนอน :
ได้แก่ สะเดา(ใบ+ผล) หางไหลขาว(โล่ติ๊น) หางไหลแดง(กะเพียด) หนอนตายหยาก สาบเสือ ยาสูบ(ยาฉุน) ขมิ้นชัน ว่านน้ำ หัวกลอย เมล็ดละหุ่ง ใบและเมล็ดสบู่ต้น ดาวเรือง ฝักคูนแก่ ใบเลี่ยน ใบ/ลูกควินิน ใบมะเขือเทศ เถาบอระเพ็ด ใบ/ลูกเทียนหยด เปลือก/ใบเข็มป่า เปลือกต้นจิกและจิกสวน ต้นส้มเช้า เมล็ดมันแกว ใบยอ ลูก/เปลือกต้นมังตาล เถาวัลย์ยาง เครือบักแตก คอแลน มุยเลือด ส้มกบ ตีนตั่งน้อย ปลีขาว เกล็ดลิ้น ย่านสำเภา พ่วงพี เข็มขาว ข่าบ้าน บัวตอง สบู่ดำ แสยก พญาไร้ใบ ใบแก่/ผลยี่โถ

รวมสมุนไพรป้องกัน/กำจัดแมลงศัตรูพืช แยกตามชนิดของแมลงศัตรูพืช :

1. หนอนกระทู้ : มันแกว สาบเสือ ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ ดาวเรือง ขมิ้นชัน ข่า ขิง คูน น้อยหน่า
2. หนอนคืบกะหล่ำ : มันแกว สาบเสือ ยาสูบ ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ ดาวเรือง ขมิ้นชัน คูน ตะไคร้หอม
3. หนอนใยผัก : มันแกว ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ ดาวเรือง ขมิ้นชัน คูน ตะไคร้หอม
4. หนอนกอข้าว : ยาสูบ บอระเพ็ด ใบมะเขือเทศ

5. หนอนห่อใบข้าว : ผกากรอง
6. หนอนชอนใบ : ยาสูบ ใบมะเขือเทศ
7. หนอนกระทู้กล้า : สะเดา
8. หนอนหลอดหอม : ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ ตะไคร้หอม
9. หนอนหนังเหนียว : ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ คูน
10. หนอนม้วนใบ : ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ คูน ตะไคร้หอม

11. หนอนกัดใบ : ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ คูน ตะไคร้หอม
12. หนอนเจาะยอดเจาะดอก : ยี่โถ สะเดา ขมิ้นชัน คูน
13. หนอนเจาะลำต้น : สะเดา ใบมะเขือเทศ คูน
14. หนอนแก้ว : ใบมะเขือเทศ ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม
15. หนอนผีเสื้อหัวกะโหลก-ใบมะเขือเทศ ดาวเรือง

16. หนอนผีเสื้อต่างๆ : มันแกว หนอนตายหยาก สะเดา คูน
17. ด้วงหมัดกระโดด : มันแกว ว่านน้ำ มะระขี้นก ยาสูบ กระเทียม
18. ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว : ขมิ้นชัน ด้วงกัดใบ มะระขี้นก คูน
19. ด้วงเต่าฟักทอง : สะเดา กระเทียม น้อยหน่า
20. ด้วงหรือมอดทำลายเมล็ดพันธุ์ : ยี่โถ กระเทียม ขมิ้นชัน ข่า ขิง

21. มอดข้าวเปลือก : ว่านน้ำ
22. มวนเขียว : มันแกว ยาสูบ
23. มวนหวาน : มันแกว ยาสูบ
24. แมลงสิงห์ข้าว : มะระขี้นก
25. เพลี้ยอ่อน : มันแกว ยาสูบ สะเดา หนอนตายหยาก ดาวเรือง กระเทียม น้อยหน่า

26. เพลี้ยไฟ : ยางมะละกอ สะเดา สาบเสือ ยาสูบ หนอนตายหยาก กระเทียม
27. เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล : สะเดา สาบเสือ บอระเพ็ด
28. เพลี้ยจักจั่นสีเขียว : สะเดา สาบเสือ บอระเพ็ด
29. เพลี้ยหอย : สาบเสือ
30. เพลี้ยแป้ง : ยาสูบ สะเดา ไรแดง ยาสูบ ขมิ้นชัน ไรขาว ยาสูบ ขมิ้นชัน

31. แมลงหวี่ขาว : ดาวเรือง กระเทียม
32. แมลงวันแดง : ว่านน้ำ น้อยหน่า สลอด ข่าเล็ก เงาะ บัวตอง ขิง พญาไร้ใบ
33. แมลงวันทอง : ว่านน้ำ หนอนตายหยาก บัวตอง มันแกว แสลงใจ
34. แมลงปากกัดผัก : ว่านน้ำ
35. แมลงกัดกินรากและเมล็ดในหลุมปลูก : มะรุม

36. จิ้งหรีด : ละหุ่ง สบู่ดำ สลอด
37. ปลวก : ละหุ่ง
38. ตั๊กแตน : สะเดา

สมุนไพรไล่แมลง เป็นพืชที่มีส่วนต่างๆ เช่น ใบ ราก เปลือก ดอก ผล ที่มีสารออกฤทธิ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ผลทางตรง จะมีผลกระทบต่อระบบประสาท และระบบหายใจ ทำให้แมลงตายทันที ผลทางอ้อม จะมีผลต่อระบบอื่นๆ โดยการไปยับยั้งการกินอาหาร การลอกคราบ การเจริญเติบโตของแมลง การใช้สมุนไพรไล่แมลงหรือกำจัดศัตรูพืชควรใช้ให้เหมาะสม คือ เลือกใช้ส่วนต่างๆ ของพืชสมุนไพรในช่วงเวลาที่เหมาะ สม ดังนี้

ดอก : ควรเก็บในระยะดอกตูม เพิ่งจะบาน
ผล : ควรเก็บในระยะที่ผลยังไม่สุก เพราะสารต่างๆ ยังไม่ถูกส่งไปเลี้ยงเมล็ด
เมล็ด : ควรเก็บในระยะที่ผลสุกงอมเต็มที่ ซึ่งจะมีระยะที่เมล็ดแก่เต็มที่ และมีสารต่างๆ สะสมอยู่ในปริมาณมาก
หัว และราก : ควรเก็บในระยะที่เริ่มมีดอก เพราะระยะนี้ต้นพืชจะมีการสะสมสารต่างๆ ไว้ที่ราก และควรเก็บในฤดูหนาวปลายฤดูร้อน เพราะเป็นช่วงที่กระบวนสังเคราะห์แสงหยุดทำงาน
เปลือก : ควรเก็บก่อนที่จะมีการผลิใบใหม่ และควรเก็บในฤดูร้อนและฤดูฝน

ดังนั้น ก่อนที่จะนำสมุนไพรแต่ละชนิดมาใช้ในการป้องกันกำจัดหรือไล่แมลงศัตรูพืช ควรมีการศึกษาหาข้อมูลให้ดีเสียก่อนว่า จะนำส่วนไหนมาใช้และใช้ในช่วงเวลาใด จึงจะก่อให้ เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันกำจัดแมลง

ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.kroobannok.com/article-46204-ชนิดของสมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช.html

http://www.kroobannok.com

----------------------------------------------------------------------


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©