-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ไทยจะผันน้ำไปไหน ? เมื่อจีนผันจากใต้สู่เหนือ !
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ไทยจะผันน้ำไปไหน ? เมื่อจีนผันจากใต้สู่เหนือ !

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/11/2016 7:31 pm    ชื่อกระทู้: ไทยจะผันน้ำไปไหน ? เมื่อจีนผันจากใต้สู่เหนือ ! ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ไทยจะผันน้ำไปไหน ? เมื่อจีนผันจากใต้สู่เหนือ !

โดย - โต๊ะข่าวเกษตร

จีนเป็นชาติมหาอำนาจที่ต้องจับตามอง หลังเปลี่ยนจากระบอบคอมมิวนิสต์มาสู่ทุนนิยม โดยเปิดเสรีในหลายๆ ด้านกลายเป็นพลังขับเคลื่อนพลิกประเทศอย่างมโหฬาร

จีนมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกาที่ออกจะง่อนแง่นอยู่กับความสำเร็จในอดีต ประเทศพัฒนามีอะไรจีนก็มีอันนั้น จีนจึงมีอาคารสูงสำหรับอยู่อาศัยมากที่สุดในโลกกระจายในหลายมณฑล จีนมีโครงสร้างพื้นฐาน โครงข่ายคมนาคม ทั้งสนามบิน รถไฟฟ้าความเร็วสูง ถนนทางหลวง และ ฯลฯ

จีนให้ความสำคัญเรื่องน้ำมากเพียงใด ดูได้จากการเป็นประเทศที่เคยขาดแคลนอาหาร ประชากรอดอยาก ผลิตข้าวไม่พอกินจนต้องอพยพหนีตาย วันนี้จีนได้ชื่อว่าเป็นประเทศส่งออกข้าวสุทธิ เบื้องหลังคือการพัฒนาแหล่งน้ำ นับแต่ประธาน เหมา เจ๋อ ตุง ยึดอำนาจได้สำเร็จ

จีนตัดสินใจแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมาก และแก้ไขปัญหาขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าด้วย โครงการเขื่อนสามผา ที่ยิ่งใหญ่ แลกกับการอพยพผู้คนไม่น้อยกว่า 3 ล้านคนออกจากพื้นที่

ขณะเดียวกันพื้นที่บริเวณส่วนเหนือของจีน ซึ่งรวมถึงนครปักกิ่ง กลับประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับการเกษตร การอุตสาหกรรม เพราะมีปริมาณน้ำเพียง 20% ของน้ำทั้งหมด ในขณะพื้นที่ส่วนใต้กลับมีน้ำสมบูรณ์ 80% ...โจทย์ของจีนคือทำอย่างไรถึงจะผันน้ำจากใต้ ขึ้นเหนือ เพื่อแก้ปัญหาน้ำขาดแคลน ไม่ว่าเพื่อภาคการเกษตร หรือภาคอุตสาหกรรม อย่าลืมว่า ภาคอุตสาหกรรมของจีนนั้นมีความสำคัญไม่น้อย และไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมไหนไม่ใช้น้ำ ไม่ใช้ไฟฟ้า และไม่มีประเทศพัฒนาที่ไหนที่ไม่มีอุตสาหกรรมอยู่ในแถวหน้า

จีนคิดโครงการผันน้ำจากใต้สู่เหนือ ตั้งแต่สมัย ดร.ซุนยัดเซ็น จนถึงสมัยประธานเหมา เจ๋อ ตุงผู้ประกาศให้การสนับสนุนอย่างชัดเจนในปี 2495 ที่ชะงักงันเพราะจีนเผชิญปัญหาใหญ่ โดยเฉพาะปัญหาการเมือง

จีนลงมือทำโครงการนี้เมื่อปี 2545 หรือ 50 ปีให้หลัง เป็นโครงการผันน้ำจากแม่น้ำแยงซีและลำน้ำสาขาขึ้นเหนือ โดยแบ่งเป็น 3 สาย ได้แก่ สายตะวันตก สายกลาง และสายตะวันออก รวมปริมาณน้ำที่ผันปีละ 44,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เท่ากับกว่า 50% ความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมดของประ เทศไทยเลยทีเดียว

เส้นทางสายกลางมุ่งผันน้ำจากใต้ไปทางเหนือ ปลายทางอยู่ที่นครปักกิ่ง นครหลวงของจีน ระยะทาง 1,400 กิโลเมตร พอๆ กับระยะทางจากภาคใต้ไปสู่ภาคเหนือของประเทศไทย ...ผันน้ำก็ต้องมีแหล่งน้ำ เป็นอ่างเก็บน้ำความจุประมาณ 33,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ก่อนผันก็เสริมความจุอ่างเพิ่มได้อีก 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ใกล้เคียงกับปริมาณที่ต้องผันขึ้นเหนือ 13,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

จีนคิดทำในเชิงยุทธศาสตร์ แก้ปัญหาการขาดแคลนโดยเฉลี่ยทรัพยากรน้ำสร้างความสมดุลส่วนที่ว่าทำอย่างไรนั้น ในทางวิศวกรรมไม่เคยตีบตัน ทำได้ทั้งในรูปคลองเปิด ท่อน้ำ สะพานน้ำ อุโมงค์ส่งน้ำ และ ฯลฯ และไม่ใช่มุ่งด้านก่อสร้างอย่างเดียว ด้านสิ่งแวดล้อมจีนก็มีแผนงาน มีการกำกับควบคุมมีการวิจัยสนับสนุน เช่นเดียวกับที่ประเทศพัฒนาอื่นเขาทำกัน

จากจีนแล้วหวนกลับมาไทย นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมชลประทานนำคณะไปดูโครงการนี้ พูดเป็นเสียงเดียวว่า มาดูเพื่อศึกษาในฐานะที่ขับเคลื่อนจนสำเร็จ ประเทศไทยเองก็มีโครงการขนาดใหญ่ และมีปัญหาคล้ายกัน บางพื้นที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ ในขณะบางพื้นที่กลับขาดแคลนน้ำ หากผันน้ำข้ามลุ่มน้ำได้ก็จะเกิดประโยชน์มากมาย

จริงๆ แล้ว ประเทศไทยเองควรหันมามองอนาคตน้ำอย่างจริงจังเสียที โดยเฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่เป็นหัวใจของประเทศในด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม รวมทั้งการบริการท่องเที่ยว


โมเดลเส้นทางการผันน้ำของจีน
หวนมองย้อนอดีตของระบบชลประทานสมัยใหม่ ถ้าเอาเขื่อนเจ้าพระยาเป็นตัวตั้ง ก่อสร้างเสร็จปี 2500 ทุ่งเจ้าพระยาใช้เขื่อนทดน้ำแห่งนี้จนเต็มศักยภาพ ควบคู่ไปกับเขื่อนพระรามหก ซึ่งเป็นเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่แห่งแรกของประเทศ จึงนำไปสู่การก่อสร้างเขื่อนภูมิพล ซึ่งแล้วเสร็จในปี 2507 เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุน ทั้งผลิตไฟฟ้าคู่กับส่งน้ำให้ภาคเกษตรกรรม ตามด้วยเขื่อนสิริกิติ์ กระทั่งเริ่มเต็มศักยภาพก็ได้ผ่อนแรงคือเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนกับเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ทั้งช่วยพื้นที่การเกษตร บรรเทาปัญหาน้ำท่วม เป็นอ่างพวงที่คอยสอดแทรกเข้ามา

บัดนี้ เขื่อนภูมิพลโรยแรงลงตามลำดับ ทั้งฝนเหนือเขื่อนน้อยลง สร้างเขื่อนด้านบนมากขึ้น พอๆกับการตัดไม้ทำลายป่าต้นน้ำ ภาระหนักจึงตกที่เขื่อนสิริกิติ์เป็นสำคัญ

ยุทธศาสตร์น้ำไทยก็ไม่น่าต่างจากจีน คือ ทำอย่างไรผันน้ำไปเติมอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ขณะนี้มีน้ำเพียง 50% ของความจุ ในขณะเขื่อนสิริกิติ์เก็บน้ำได้มากถึง 90% อีก 2 เขื่อนก็เต็มเกือบ100%

กรมชลประทานศึกษาการผันน้ำระหว่างลุ่มน้ำไว้หลายแนวทาง ระยะทางไม่ยาวถึง 1,400 กิโลเมตร เหมือนอย่างจีน แต่อุปสรรคขวากหนามนั้นมากมายยุ่งยากกว่า โดยเฉพาะบรรดานักอนุรักษ์สุดโต่งทั้งหลาย โดยไม่คำนึงว่า หากไม่มีน้ำเติมเข้ามา ต่อไปคนไทยลุ่มเจ้าพระยาจะอยู่ ทำกินอย่างไร ความเจริญก้าวหน้าในอนาคตจะเป็นเช่นไร ฯลฯ

โลกของการพัฒนาไม่ควรพัฒนาลูกเดียว เช่นเดียวกับโลกอนุรักษ์ไม่ควรอนุรักษ์แบบปู่โสมเฝ้าทรัพย์ แหล่งน้ำของประเทศไทยจึงต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการอนุรักษ์เสมอ

http://www.komchadluek.net/news/agricultural/247947



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/11/2016 3:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
คงทำอะไรจีนไม่ได้ เพราะทุกอย่างอยู่ในประเทศเขา เหมือนเมื่อครั้งจีนสร้างเขื่อน ไทย/ลาว/พม่า โวยวาย จีนจะเอาน้ำไว้ใช้คนเดียว ผลคือ จีนไม่ตอบ ลงท้ายน้ำเต็มเขื่อนแล้วล้นเขื่อน (เหลือจากเก็บจนพอแล้ว) ก็ไหลลงมาให้ท่วม ลาว/พม่า/ไทย เหมือนเดิม


ประชาชนอยากเป็นใหญ่ในแผ่ยดิน ทำไมไม่ถาม ผู้บริหารระดับชาติ ผู้บริหารระดับท้องถิ่น
ทำไมรัฐบาลไทยต้องขายขี้เท่อ ให้ขายหน้าประชาชนด้วย....ในเมื่อ

ฉลาด 1 :
เมื่อแม่โขงน้ำล้มตลื่ง ท่วมบ้านเรือนริมฝั่ง ทำไมไม่สูบน้ำเข้ามาเก็บไว้ตามแก้มลิง ลึกเข้ามาในแผ่นดินไทย แก้มลิงแรก 50กม. ทำคลองส่งต่อไปที่แก้มลิงสอง 100 กม. ทำคลองส่งต่อไปแก้มลิงสาม 150 กม. แก้มลิงสี่ แก้มลิงห้า .... คลองที่ส่งน้ำให้เกษตรกรข้างคลองใช้ได้ด้วย

ฉลาด 2 :
ได้ยินว่า จะเจรจากับเมียนมาร์ ขอสูบน้ำจากสาระวิน ตอนที่น้ำท่วมล้นตลิ่ง เข้ามาในประเทศไทย ทำ "ระบบ" แก้มลิงหนึ่ง สอง สาม แบบแม่โขงก็ได้ .... เจรจารึเปล่า

ฉลาด 3 :
สร้างแก้มลิงไต้ดิน (แนวทางพระราชดำริ ฯ) โดยสร้างป่าบนพื้นที่ป่าต้นน้ำ (ที่วันนี้เป็นเขาหัวโล้น เป็นรีสอร์ต) ฝนตกลงมาน้ำลงไปอยู่ไต้ดิน แล้วค่อยๆไหลออกมา ไหลออกมาแล้วก็ทำฝายแม้วกักเก็บน้ำ

ฉลาด 4 :
ฝนตกหนักในประเทศ (ฝนธรรมชาติ+ฝนหลวง) น้ำท่วม เร่งรีบระบายลงทะเล ทำไมไม่ระบายไปเก็บไว้ที่แก้มลิงหนึ่ง สอง สาม

ฉลาด 5 :
ขุดลอกพื้นก้น อ่าง/บึง/หนอง เก็บน้ำธรรมชาติ เพิ่มความลึก เพื่อรับน้ำให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะรับได้


ฉลาด 6 :
เจาะบาดาลใต้ อ่าง/บึง/หนอง ธรรมชาติ แล้วสูบน้ำไต้ดินไต้อ่าง (เหมือนบึงสีไฟ จ.พิจิตร แล้งปี 5 8 ) ขึ้นมาเมื่อจำเป็น


ฉลาด 7 :
ส่งเสริม/สนับสนุน อย่างบูรณาการ ให้เกษตรกรเจาะบ่อบาดาลส่วนตัวในที่ตัวเอง แล้วทำเกษตรน้ำน้อย พื้นที่เล็ก เช่น นาข้าวเปียกสลับแห้ง ปลูกพืชน้ำหยด ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์


ฉลาด 8 :
พื้นที่ใดไม่มีน้ำไต้ดิน เจาะบาดาลไม่ได้ ส่งเสริม/สนับสนุน ทำแทงค์ใหญ่ (5,000 ล.) 2-3-4-5 แทงค์ ในบ้าน บันทุกน้ำมาใส่แทงค์ แล้วทำเกษตรน้ำน้อย พื้นที่เล็ก เช่น ปลูกพืชน้ำหยด ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์


ฉลาด 9 :
ราชการ/ผู้ส่งเสริม สอนเกษตรกรให้ "ตกเบ็ดจับปลา" กินเองเป็น แทนการเอาปลาไปแจก (พระราชเสาวนีย์ สมเด็จแม่แห่งแผ่นดิน)


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 09/11/2016 5:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5381#31271
แรงบันดาลใจ บ่อบาดาล...


http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5384&sid=c7443343ca843d8ba7c37b45f1653f82
เจาะบ่อบาดาล....



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©