-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนตอย-นาขั้นบันไดเวียตนาม(2)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนตอย-นาขั้นบันไดเวียตนาม(2)
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
ampolk
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 14/01/2013
ตอบ: 53

ตอบตอบ: 10/02/2014 1:00 pm    ชื่อกระทู้: กรรมของประเทศไทย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับ ลุงคิม, พี่ทิดแดง และ สมช.ทุกๆท่านครับ

พี่ทิดแดงครับ ผมว่านักวิจัยไทยเก่งๆ ก็หลายคน แต่จะว่าไป จะเด่นจะดัง ก็ระวังจะเกินหน้าเกินตาเจ้านาย
เดี๋ยวจะอยู่ไม่ได้ ที่นี่ประเทศไทยครับผม

อำพล เกษตรกรฝึกหัด ครับผม


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 10/02/2014 2:10 pm    ชื่อกระทู้: Re: กรรมของประเทศไทย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ampolk บันทึก:


สวัสดีครับ ลุงคิม,พี่ทิดแดงและสมช.ทุกๆท่านครับ

พี่ทิดแดงครับ ผมว่า นักวิจัยไทยเก่งๆ ก็หลายคน แต่จะว่าไป จะเด่นจะดัง ก็ระวังจะเกินหน้าเกินตา เจ้านาย
เดี๋ยวจะอยู่ไม่ได้ ที่นี่ประเทศไทยครับผม

อำพล เกษตรกรฝึกหัด ครับผม



สวัสดีครับลุงคิม...คุณอำพล

เวลาทำงาน เจอจ้าวนายเก่ง ผมไม่กลัว แต่กลัวจ้าวนายที่โง่ มันจะพากันตายทั้งกลม

ดู รมต. บางคน มีความรู้อะไร แค่ไหน บางคนรวยมาจากการมีอิทธิพล มีบ่อนการพนัน ขนสินค้าเถื่อน.....ฯลฯ.....

มีอยู่ครั้งหนึ่ง รมต.กระทรวงเกษตร ...ออกไปตรวจป่าไม้ ไปช่วงหน้าแล้ง ไปเจอป่าสักที่มันผลัดใบโกร๋นหมดทั้งป่า ...รมต.เค้าถามคนที่ติดตามว่า ต้นอะไร ทำไมมันใบร่วงยืนตายหมดทั้งป่า ...ผู้ที่ติดตาม จะมีหน้าไหนที่กล้าพูดกล้าบอก ได้แต่กลอกหน้าทำไม่รู้ไม่ชี้

..ผมไม่ยืนยันนะว่า ได้ฟังมากับหู ได้เห็นมากับตา แต่กัดลิ้นกลั้นหัวเราะซะเยี่ยวเล็ด .....


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 12/02/2014 6:16 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขาวดอก ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไม่ไวแสง

บทที่ 3 ตอนที่ 3 - ลุยแปลงทดลองพันธุ์ข้าว - ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน (1)



ผมเคยบอกเอาไว้ว่า ระหว่าง 20 – 30 พย.56 บรรดานักชอบค้น ชอบคว้า แต่ไม่เคยวิจัย อันมี ผม ทิดบัติ อ้ายยก ไอ้ตู่ ไอ้หนูหริ่ง หนานปัน สว.ปาย แล้วก็ผึ้ง ...ถือคติ อยากได้ลูกเสือ ต้องเข้าถ้ำเสือ ..อยากรู้เรื่อง ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไม่ไวแสง ต้องไปดูที่ต้นตอ..และ กำขี้ ดีกว่ากำตด ...ก็เลยนัดเจอกัน เพื่อลุยไปดูของจริง …

การนัดหมาย ...ทิดบัติ อ้ายยก หนานปัน ไอ้หริ่ง ให้มาเจอที่ เชียงใหม่...ส่วนผม ไอ้ตู่ สว.ปาย ผึ้ง ขอยืมรถปิ๊คอัพ ใช้ขนกระเทียมของลุงรัตน์ ไปเจอกันที่ เชียงใหม่ เพื่อเดินทางไปหาข้อมูลที่ แม่โจ้...

ก็ได้ความพอเป็นสังเขปว่า...

กรมการข้าว และ ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร. วราภรณ์ แสงทอง สาขาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.แม่โจ้ เชียงใหม่ ได้ร่วมกันปรับปรุงพันธุ์ข้าว 3 สายพันธุ์ คือ กข15, ขาวดอกมะลิ 105, และ สังข์หยดพัทลุง ให้สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล....โดยใช้ข้าวพันธุ์ กข 6 (ต้นเตี้ย ไม่ไวแสง)เป็นพ่อ ใช้ข้าวทั้ง 3 สายพันธุ์เป็นแม่

เวลาผ่านไปเหมือนติดปีก หลังจากทำการทดลอง.. ปล้ำผีลุก ปลุกผีนั่ง ผ่านมา 3 ปี ก็สำเร็จสมความมุ่งหมาย... ได้พันธุ์ข้าว กข15, ขาวดอกมะลิ 105, และพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ออกมาเป็นพันธุ์ที่ไม่ไวแสง สามารถปลูกได้ทั้งปี ทุกฤดูกาล ได้ลักษณะ ต้นเตี้ย รสชาติ สี กลิ่น ความหอมนุ่มเหมือนของเดิมทุกประการ

แล้วก็มี Chart แสดงการผสมพันธุ์ให้ดูคร่าว ๆ ว่า ตามหลักการของ เมนเดล ทำยังไง ...ดูรูปอีกครั้งก็ได้...





(104) ตาม Chart คือ.... ผสมครั้งแรก เอาข้าว กข6 เป็นพ่อ ...เอาข้าวขาวดอกมะลิเป็นแม่

พูดแบบชาวบ้านคือ เอาข้าวเมล็ดสีแดง เป็น พ่อ เอาข้าวเมล็ดสีดำ เป็นแม่

พูดให้ฟังง่ายขึ้นอีกนิด เอาเกสรตัวผู้ ของข้าวเมล็ดสีแดงคือ กข6 เป็นพ่อ....เอารังไข่ของข้าวเมล็ดสีดำคือข้าวขาวดอกกมะลิ105 เป็นแม่

ง่ายขึ้นอีกนิดนึงเอ้า....เอาเชื้อสเปอร์มของหมูสีดำเป็นพ่อ ...เอาไป เจ๊า ใส่มดลูกหมูสีขาวเป็นแม่ ...


คุณจะผสมหมู หมา กา ไก่ ต้นหมาก รากไม้ หรือ ฯลฯ แม้กระทั่งผสมพันธุ์คน จะฝาก จะกิ๊ฟ จะมีกิ๊ก ก็ใช้หลักการทำยังงี้แหละ ผมเคยเรียนมาอย่างนี้ ส่วนสมัยปัจจุบันเค้าใช้หลักการผสมพันธุ์ของใครที่ไหนผมไม่รู้ ....

ถ้าผสมติด ก็จะได้ลูกชั่วที่ 1 ออกมา เมนเดลท่านเรียกว่า F1 ลูกที่ออกมาก็จะมีสายเลือดพ่อกับแม่ คนละครึ่งคือ 50 / 50 จะเอาลูกข้างไหนล่ะ ในที่นี้ต้องการข้าวขาวดอกมะลิ ก็เอาเชื้อข้างแม่ ...ก็กลายเป็นข้าวขาวดอกมะลิ105 ลูกผสม

จากนี้ก็เอาลูก F1 ผสมกลับ แบบใช้เครื่องหมายโมเลกุล..วิธีการคือ

.โดยเอาลูกที่ได้ครั้งแรก ที่เรียกว่า F1 เอาย้อนกลับไปผสม กับ ข้าวขาวดอกมะลิ105 ไม่ใช่ผสมตัวเอง แต่เอาไปผสมกับข้าวขาวดอกมะลิต้นอื่น... ก็จะได้ลูกออกมาเป็นลูกที่เกิดจากการผสมกลับ ครั้งที่ 1 เรียกว่า BC1F1
.
...ก็เอาเจ้า BC1F1 ผสมกลับ กับ ขาวดอกมะลิ 105 ครั้งที่ 2 ก็ได้ลูกออกมาเป็น.BC2F1…

...ก็เอาลูกตัวนี้ BC2F1 ผสมกลับ กับ ขาวดอกมะลิ 105 ครั้งที่ . 3 ได้ลูกออกมาเป็น BC3F1

..เอา BC3F1…ผสมกลับ กับ ขาวดอกมะลิ 105 ครั้งที่ . 4 ได้ลูกออกมาเป็น..BC4F1

พูดง่าย ๆ คือ เมื่อได้ลูกผสมครั้งแรกออกมา ก็เอาลูกที่ได้แต่ละครั้ง ย้อนกลับไปผสมกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 อีก 4 ครั้ง ก็ได้ออกมาเป็น ลูกผสมครั้งที่ 4 คือ BC4F1

ทีนี้ก็เอา BC4F1 ผสมตัวมันเอง ลูกที่ออกมาก็จะเป็นรุ่น F2 ซึ่งจะเลือดมีข้าวขาวดอกมะลิ 105 อยู่ 96.725 % แล้วก็จะมีเลือด กข6 อยู่ 3.125 % ซึ่งไอ้เลือด หรือ ยีนส์ของเจ้า กข6 ตัวนี้ จะไปทำให้ข้าวขาวดอกมะลิ105 เป็นข้าวไม่ไวแสง (อันนี้ว่ากันตามกฎของเมนเดล)


หลังจากที่ได้ข้อมูลแล้ว ผมก็รวบรัดตัดทางขึ้นปาย .เอารถไปปคืนลุงรัตน์....เปลี่ยนรถแล้วก็ผ่านปายขึ้นไปจุดนัดพบที่บ้าน อจ.ต้วน ปราชญ์ชาวดอย ที่บ้านแม่นาเติง แล้วเดินทางต่อไปเข้าถ้ำเสือ เพื่อเอาลูกเสือที่ แม่ฮ่องสอน...กว่าจะถึงถ้ำเสือก็เล่ยเอาเหนื่อย...ทางมันโค้งคดเคี้ยวขึ้นดอยน่ะครับ....





(105) เข้ามาถึงถ้ำเสือ....แม่เสือไม่อยู่....บรรดานักชอบค้นและชอบคว้า ที่ไม่เคยวิจัยทั้งหลาย มีใครบ้างจากซ้ายไปขวา... ไอ้หริ่ง อยู่ในแปลงข้าว หนานปันกำลังก้าวขึ้นจากแปลงนา, ไอ้ตู่ยืนเท้าสะเอว, อ้ายยก คนก้าวขา, ไอ้ทิดบัติ เห็นหมวกขาว ๆ มีอ้ายยกยืนบังอยู่, สว.ปาย กำลังถ่ายรูป, ผึ้งยืนชมวิวธรรมชาติ..ขาดเจ้าโชเล่ เพราะติดงานด่วนที่ต้องไปทำแทนพ่อหลวง โทรลงมา..บ่นกะปอด กะแปดด้วยความเสียดาย

..อจ.ต้วน ไปตามหา ผอ.ศูนย์ฯ....
จะมองเห็นแปลงทดลองกว้างไกลสุดสายตา ที่เป็นร้อย ๆ ไร่ มั๊ง....เมื่อแม่เสือยังไม่มา บรรดา เปรตทั้งหลาย ต่าง แสวงหาส่วนบุญ จับลูกเสือกันสบายแฮ และนาข้าวซ้ายขวานั้นแหละ ใช่เลย......

.... ผมไม่ยืนยันว่าเป็น ขาวดอกมะลิ105 ชนิดที่ ไม่ไวแสงนะครับ..เพราะอาจารย์วราภรณ์ ท่านบอกแล้วว่า หลังจากได้ผลแล้ว ส่งกลับไปทดลองที่ต้นสังกัด....

...เพียงแต่สงสัย และตั้งข้อสังเกตว่า ข้าวขาวดอกมะลิ 105 คุณทรงพลเคยบอกว่า ต้นมันสูงท่วมหัว แต่ที่ตรงที่เห็นอยู่นี้ ทำไมต้นมันเตี้ย หรือมันขึ้นผิดที่ ผิดอากาศ หรือมันขึ้นอยู่ที่สูง ต้นก็เลยเตี้ย....เฮ๊ย ๆๆ ไอ้หริ่ง..อทินาทาน ศีลขาด มันบาป.. ตัวใครตัวมันนะเว๊ย เผื่อกรูด้วย(พูดเล่น)…..




(106)



(107)



(108 )



(109)



(110)



(111)



(112)



(114)



(115)



(116)



(117)

(106 – 117) แปลงทดลองปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน ถ่ายเมื่อวันที่ 25 พย.56 จะเป็นข้าวไวแสงหรือไม่ไวแสง ผมไม่ยืนยัน และไม่มีใครยืนยัน ....รู้แต่ว่า เป็นข้าวขาวดอกมะลิ 105 ต้นเตี้ย สูงไม่ถึงเอว...สูงเท่าที่เห็นในรูปนั่นแหละ และในรูป 115 – 117 นาใกล้จะเกี่ยว เค้าปล่อยน้ำแห้ง เห็นหน้าดินแตกระแหง....ผมลงไปลองเหยียบ ดินมันหยุ่น ๆ ครับ





(118 ) ป้ายเขียนบอกว่า ตกกล้าเมื่อไหร่ ปักดำเมื่อไหร่ ข้าวชุดนี้จะเกี่ยวประมาณเดือน ธันวาคม 56 ....สมาชิกกลุ่มคนบ้า ที่อยู่ทั้งเหนือ, อีสาน และ สาวงามเมืองพิจิตร หรือใครที่ปลูกข้าวหอมมะลิ 105 มานานแสนนานน่ะ อ่านแล้วจำวันที่ ที่เค้าเริ่ม ตกกล้านะบักหำน้อย...นักวิชาการท่านบอกมา

... นักวิชาเกิน(บักหำใหญ่)เอามาบอกต่อ ..ตรงนี้สำคัญมาก ๆ เป็นเคล็ดวิชาที่ในตำราไม่มีสำหรับคนที่จะปลูกข้าวหอมมะลิ 105 กับข้าว กข 15 เลยนะซิบอกให่... ใครสงสัยว่า เพราะอะไร ทำไมจึงทำเช่นนี้ ...

....คือถ้าทำแบบนี้แล้ว ข้าวต้นจะไม่สูง อายุจากปักดำจนถึงวันเกี่ยวจะสั้นลง รวงจะมีเมล็ดมากขึ้น แต่ก็มีสิ่งอื่น ๆ ประกอบด้วย ดิน น้ำ อุณหภูมิ สายลม แสงแดด ...และ ฯลฯ

ต่อไปนี้ ใครที่ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 แล้วตกกล้า เดือนมิถุนายน เลิกเสียนะครับ ทำตามที่ศูนย์เค้าทดลองนั่นแหละ ตกกล้า 15 กค.56 ปักดำ 4 กย.56 บ้านใครอยู่ทิศทางไหน ก็หาความเหมาะสมเอาเองนะครับ...

ทั้งนี้เพราะมันมี ปัจจัยต้าน ปัจจัยเสริม ...ปัจจัยแทรก ปัยจัยแทรง แล้วอย่าลืม ใส่ซองถวายปัจจัยด้วย เด๊อหล่า
หรือจะถาม ทิดบัติ ไอ้ตู่ ไอ้หริ่ง หนานปัน หรืออ้ายยก ก็ได้ ...ไอ้พวกนี้พอรู้เคล็ด ร้อง อ๋อ ...เพราะมันเป็นเช่นนั้นเอง..หลงง่าว สึ่ง ตึง ซะตั้งนาน ต่อไปนี้คนเหนือที่ทำ นาปี นาปรัง หว่านกล้าแล้ว เลิกซีมกล้า เด๊ดขาด


.. (คุณทรงพล คุณวิทยา คุณไผ่ คุณอัมพล คุณ Boonsue รวมทั้งป้าห่าน. Hans Mayer..มีใครอีกล่ะ ใครเข้ามาอ่านก็บอกต่อ ๆ ไปด้วยก็แล้วกัน เด๊อ)



+
(119)



(120)



(121)

(119 – 121) เจ้าหน้าที่กำลังคลุมตาข่ายป้องกันนก ที่จะลงกินข้าวในแปลงทดลองซึ่งใกล้กำหนดจะเกี่ยว............... แล้วถ้ามีนกมาติดตาข่ายล่ะ จะทำยังไง ....ต้องถามตาข่ายครับว่า ตาข่ายจะทำอย่างไรกับนกที่มาติด......





(122) อันนี้อีกป้ายนึง คำว่าข้าวนาที่สูง ก็น่าจะเป็นพันธุ์ข้าวสำหรับปลูกในที่สูงน่ะนะครับ
สูงแค่ไหน ไม่ได้ถามหัวหน้า เพราะที่ขึ้นมากันนี่ก็สูงแล้วนะครับ .... แล้วเอาพันธุ์ข้าวที่ปลูกในที่ต่ำ ขึ้นมาปลูกในที่สูงได้มั๊ย ..
..ถ้าเป็นลุงคิม....จะตอบว่า ด้ายยยย ปลูกไปเถอะ ...ดินต้องมาก่อน ดินต้องมาก่อน และดินต้องมาก่อน....แม่นบ๊อแม่น.....แต่ผมเห็นว่า มีข้าวไรซ์เบอร์รี่ปลูกนะครับ




(123)



(124)



(125)



(126)

(123 – 126) เป็นพันธุ์ข้าวที่สำหรับปลูกในที่สูง หรือที่ชาวเราเรียกว่า ข้าวดอยครับ และลักษณะของดินที่เหมาะกับปลูกข้าวดอย ชุ่ม ชื้น แต่ไม่แฉะและแช่....เพราะปลูกบนดอยมีแต่ความชื้น ไม่มีน้ำจะแช่

.....หน.ครับ....ทำไมชาวนาพื้นราบ ชอบเอาน้ำแช่ให้ต้นข้าวในนาล่ะครับ
....ข้าวเค้าบอกคุณหรือว่าเค้าชอบแช่น้ำ คุณไม่ศึกษา..แล้วทำตาม ๆ กัน เอาน้ำไปใส่ให้เค้าเอง ข้าวชอบแช่น้ำมันมีอยู่ไม่กี่สายพันธุ์ เช่น กข47 ข้าวหอมชลสิทธิ์ ...ข้าวสายพันธุ์นี้ เค้าพัฒนาขึ้นเพื่อให้เกษตรกรที่อยู่บริเวณน้ำท่วมขังปลูก หรือข้าวพื้นเมืองบางพันธุ์แถว ๆ อยุธยา ที่ต้องปลูกข้าวลอยน้ำ ....ดังนั้นข้าวอื่น ๆ ทุกสายพันธุ์ไม่ชอบแช่น้ำ แต่ชอบที่จะให้หน้าดินมีเพียงความชื้น ทำแบบนี้ได้ ข้าวจะแตกกอดี โรค แมลงจะรบกวนน้อย

ไอ้พวกที่ชอบปลูกข้าวแช่น้ำ ที่ติดสอยห้อยตามไปด้วย ทำตาปริบ ๆ ... เป็นไง ได้ยินชัดเจนสองรูหูมั๊ย





(127) เป็นแปลงทดลองปลูกข้าวหลายหลายสายพันธุ์ จะเห็นมีป้ายเล็ก ๆ ปักเอาไว้ จะเข้าไปดู คงต้องยั้ง เพราะที่เห็นเป็นแนวต้นไม้เขียว ๆ ข้างหน้า ต่ำลงไปเป็นทางน้ำไหล กว้างเกือบ 2 เมตร ม้ายังโดดข้ามพ้น แล้วผมคงไม่กล้า


ยังไม่จบ.....ขอเบรคก่อนครับ



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 17/02/2014 10:33 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขาวดอก ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไม่ไวแสง

บทที่ 3 ตอนที่ 3 - ลุยแปลงทดลองพันธุ์ข้าว - ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน (2)


เรื่องข้าวขาวดอกมะลิ 105 จะไวแสงหรือไม่ไวแสง เป็นเรื่องของการวิจัย....รายละเอียดมีแยะกว่านั้น แต่ผมก็นำเสนอได้แค่นั้น อ่านแล้วจับคำพูดของผมให้ดี ๆ ก็แล้วกัน ผมจะพูดได้เต็มปากเต็มคำก็ต่อเมื่อ กรมการข้าวเค้าเอามาแจกให้เกษตรกรปลูกนั่นแหละครับของจริง

ลุยต่อกันเลยนะครับ





(128 ) ป้ายบอกว่า โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาที่สูงในภาคเหนือตอนบน ..93 พันธุ์/สายพันธุ์
..........คนที่อยู่บนเขา บนดอย เค้ากำลังหันมานิยมปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง โดยเฉพาะข้าวที่มีเนื้อเมล็ดสีดำ .........ความจริงแล้วข้าวพื้นเมืองเนื้อเมล็ดสีดำ กะเหรี่ยงกินมานานแสนนาน ตั้งแต่ครั้งปู่ของปู่ กินแล้วสุขภาพแข็งแรง ไม่ค่อยจะมีการเจ็บป่วย และชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงอายุยืนที่สุด .

...ที่สำคัญ ผลผลิตอาจมีน้อย จึงขายได้ราคาดี ....อาจจะขายได้ถึงกิโลละ 300 บาทก็ว่าได้ อย่าลืมว่า ลูกหลาน ชาวเขา ชาวดอย ได้เรียนมีความรู้ สูง ๆ และมีเว็ปไซด์ของตัวเอง ของอะไรก็ตาม ที่Demand มากกว่า Supply ย่อมมีคนต้องการมาก ราคาจะต้องดี เพราะกะเหรี่ยงไม่ง้อคนซื้อ




(129)



(130)



(131)

(129 – 131) ข้าวดอย เปลือกสีดำ เนื้อเมล็ดสีดำ สายพันธุ์กะเหรี่ยง ชื่อ บือโปะโละ แม่เจ๊าะ 1
ความหมายคือ…บือ แปลว่าข้าว ....โปะโละ แปลว่า สีดำ แม่เจ๊าะ เป็นชื่อหมู่บ้าน

ฉะนั้น บือโปะโละ แม่เจ๊าะ -1 ก็หมายถึงข้าวเมล็ดสีดำ สายพันธุ์มาจากบ้านแม่เจ๊าะ กลุ่มที่ปลูกทดลองนี้เป็นกลุ่มจากบ้าน แม่เจ๊าะ หมายเลข 1 ...

ทีนี้ ถ้าเป็น นอตอบือ ละครับ แปลว่าอะไร....แปลว่า สากกะเบือตำข้าวครับ .....
.....มันเกี่ยวกันตรงไหนวะเนี่ย.....เกี่ยวครับ เพราะถ้าไม่มีสากกะเบือตำข้าว ก็จะไม่มีข้าวซ้อมมือให้กิน....




(132)



(133)



(134)



(135)

(132 - 135) ข้าวดอย เปลือกสีดำ เนื้อเมล็ดสีดำ สายพันธุ์กะเหรี่ยงอีกสายพันธุ์หนึ่ง ชื่อ บือโปะโละ หว่าโน 1 หมายถึงข้าวเมล็ดสีดำ สายพันธุ์มาจากบ้านหว่าโน กลุ่มนี้เป็นกลุ่มจากบ้าน หว่าโน หมายเลข 1 ...

ยังมีอีกหลากหลายสายพันธุ์ครับ เช่น ..บือโปะโละ แม่นาจางเหนือ, บือโปะโละ แม่นาจาง ใต้.....ฯลฯ





(136) แปลงทดลองข้าวญี่ปุ่น พันธุ์ ก.วก. ๒ ....วันตกกล้า ...วันปักดำ ...คนงานบอกว่า ...เปิ้นพิมพ์วันมาพิ๊ดครับ ...(ใครตรวจรับงานหว่า...ใกลปืนเที่ยงก็แบบนี้แหละ)




(137)



(138 )



(139)



(140)

(137 – 140) ข้าวญี่ปุ่นนะครับ






(141)



(142)

(141 – 142) ผมผ่านแปลงทดลองมาหลายแปลง ที่ศูนย์นี้ เค้าปลูกข้าวแบบแห้งน้ำ

ผมชอบปลูกข้าวแห้งน้ำ หรือข้าวน้ำแห้งอยู่แล้ว ... ไม่ใช่แกล้งข้าวอย่างที่ใครบางคนเรียก เพราะแปลมาจากตำราของ IRRI ที่ว่าด้วย AWD = Alternate Wet and Dry…ถ้าใครอยากเข้าใจเรื่องการปลูกข้าวตั้งแต่ต้นจนจบ..... ลองดาวน์โหลดตำราปลูกข้าวของ IRRI ไปอ่านซะ จะได้หูตาสว่างขึ้นอีกแยะ คลิกเลยครับ


http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2731

ความจริง ลุงคิมก็นำเรื่องในตำราของ IRRI มาลงไว้แล้วบางส่วน อยู่ที่เว็ปหน้าแรก ในเรื่องนาข้าว...แล้วก็มีสอดแทรกไว้ในอีกหลายกระทู้ที่ลุงคิมตอบเรื่องนาข้าว..

... ผม ไม่เคยทำนามาก่อน เมื่อจำเป็นต้องเริ่มทำนา ก็ค้นหา อ่าน ๆๆๆๆๆ อ่านแล้วก๊อปปี้ ๆๆๆๆๆ แล้วก็ ปริ้นท์ ๆๆๆๆๆ ใส่แฟ้มเป็นกะตั๊ก ผมก็อ่านจากตรงนี้แหละ ....อ่านแล้วสงสัยถาม....ลุงครับ .....เวลาถามลุงผมก็อัดเสียงเอาไว้ด้วย คุยจบแล้วก็เอามาแกะจากที่อัดเสียงไว้ทีละคำ





(143) ขนาดว่ายามสายมากแล้ว น้ำค้างบนยอดดอยยังไม่แห้งเลยครับ แล้วแบบนี้ ต้นไม้ใบหญ้าบนดอยทำไมมันถึงจะไม่งามล่ะครับ





(144) ผมเดินย้อนกลับมาอีกทางเพื่อจะไปท้ายแปลงทดลอง... มองหันกลับไป เป็นจุดพักสายตาที่กว้างไกล ....แต่ สังเกตให้ดีครับ ตรงเหนือเส้นสีขาว จะมีจุดเล็ก ๆ 6 – 7 จุด บรรดาเปรตยังอยู่ตรงนั้น ครบแซ๊ท งั้นก็แปลว่าผมเดินกลับมาคนเดียวซีนะ ....
ผมคิดว่าจะเดินไปดูของแปลกท้ายแปลงทดลอง
.....มีเสียงโทรศัพท์ดัง มีเพลงขึ้น.....ตอนเมียไม่มีทำไมไม่เจอ.....

....โหล ว่าไง ทำไมไม่ตามมา ....
....พ่อ พี่คนงานเค้าบอก ท้ายแปลงทดลองไปทางนี้ใกล้กว่า พ่อเดินย้อนกลับมาเจอกันตรงทางสี่แยก....

ผมเดินย้อนกลับมา กว่าจะถึงสี่แยกที่นัดหมาย เดินอีกหลายหนับ.





(145) ..ไปทางไหนละเว๊ย....ทางนี้ออกถนนใหญ่ เห็นมีรถวิ่งอยู่สี่คันนั่น





(146) ทางนี้มั๊งพ่อ....มีกระต๊อบพักคนงานอยู่นั่น...
..บ่ะใจ้ครับ ตูบฮั่นเป็นส้วมคนงานครับ ..

..หน้าแตกเลยมั๊ยวะผึ้ง ลองเข้าไปพักหลับซักงีบมั๊ย...





(147) ....ตางเพ้ครับ....
.....ทางหญ้ารก ๆ นี่น่ะนะ....

(หนานปัน)....จ๊างเผิก อยู่ในป่า ของดีมีค่าต้องอยู่ในป่าหญ้า ในป่าโข่ ตี้อุ๊ก ๆ ครับ...

...แปลว่าอะไรพี่หนานปัน....
(ไอ้หริ่งตอบแทน)...ช้างเผือกอยู่ในป่า ของดีมีค่า ต้องอยู่ในป่าหญ้าที่มีขึ้นรก ๆ น่ะน้องผึ้ง...




(148 )



(149)



(150)

(148 – 150) ฟ้าโปร่งอยู่ดี ๆ เมฆครึ้มมาอีกแล้ว ....เดินบุกป่า ฝ่าหญ้าไปตามทางรก ๆ ขึ้นเนิน ลงเนิน ไม่มีใครบ่น มีแต่คุยกันสนุกสนาน ไอ้หนานปันแสบกว่าเพื่อน เย้าคนโน้น แหย่คนนี้ไปตลอดทาง ....เลยป่าหญ้าออกไป เป็นทุ่งโล่ง แต่ไม่มีดงทึบ ...โอ๊ะโอ๋....แปลงอะไรวะนั่น.....




(151)



(152)



(153)

(151 – 153) เนื้อที่ว่างนอกเขตรั้วหลังแปลงทดลอง ผมย้ำว่า..อยู่นอกรั้วนะครับ ....ไม่ได้อยู่ในรั้ว มีแปลงนาข้าวของชาวบ้าน...ข้าวอะไรผมไม่รู้ ไม่ยืนยัน .จะใช่ข้าวขาวดอกมะลิ105 หรือเปล่า .ผมไม่ใช่คนปลูก จะไปรู้ได้อย่างไร แต่เวลาลมพัด กลิ่นมันหอมแปลก ๆ ....แบ๊ะ ๆๆๆ พูดไม่เป็นครับ......
ต้องถามพวกเปรต กับพวกสัมพเวสี ที่ไปด้วยกันครับ ..

..... เชื่อหรือไม่เชื่อตามใจ แล้วคอยดูต่อไป คงเห็น....

เคยเห็นการผสมพันธุ์ข้าวมั๊ยครับ อยากดูกันมั๊ยล่ะ......เอาไว้คราวหน้าก็แล้วกันนะครับ



.


กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 18/02/2014 11:59 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขาวดอก ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไม่ไวแสง

บทที่ 3 ตอนที่ 4 - การผสมพันธุ์ข้าว

.....หลังจาก เข้าถ้ำเสือ เพื่อจับลูกเสือกันเป็นที่สำราญบานใจบรรดาเปรต และสัมพเวสีทั้งหลายแล้ว อจ.ต้วนโทรมาบอกว่า หน.ศูนย์มาแล้ว ขอเชิญเข้าห้องประชุมฟังบรรยายสรุป...อ๊ะ...ยังไม่ได้แจอหน้ากันเลย จะสรุปเรื่องจบแล้วหรือ...

..ข้อสงสัยในระบบราชการ ผมมีมากมาย หลังจาก หน.ท่านบรรยายพอสังเขปจบลง ....ผมยิงคำถามแบบคนอยากรู้

...หน.ครับ แปลงทดลองที่นี่มันกว้างใหญ่ไพศาล มาวันนี้ยังไม่เห็นอะไรซักเท่าไหร่ วันหน้าขอมาค้างซักระยะ....
…ด้วยความยินดี...แต่ที่นี่ไกลตลาด อาจขาดแคลนเรื่องอาหาร....

....หน.ครับเรื่องนั้นไม่มีปัญหา... ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว...หลังบ้านหัวหน้ามีเล้าไก่ สมุนไพร พริก ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด มะนาว มีเพียบพร้อม...อยู่แปลงทดลองข้าว จะอดข้าวให้มันรู้ไป

....ข้อที่สงสัยบางข้อ พวกผมทุกคน ได้รับรู้ รับฟัง แต่ไม่สามารถเขียนออกมาได้ เพราะมันเป็นการเกษตรที่เต็มไปด้วยความเอารัดเอาเปรียบชาวนาชาวไร่ มันมีแต่สารพิษ และ คราบน้ำตา ซึ่งเป็นภาพที่อัปลักษณ์ยิ่งนัก....อันตรายสำหรับคนที่ให้ข้อมูล ..

..แค่ที่ว่า ทำไมเกษตรกรที่จะเข้าจำนำข้าวต้องปลูกข้าว 4 เดือน แทนที่จะปลูกข้าว 3 เดือน ....ก็เพราะค่าปุ๋ย ค่ายา ที่เกษตรกรทั่วประเทศต้องซื้อในเดือนที่ 4 มูลค่าเป็นพันล้าน แล้วเรื่องอื่น ๆ อีกล่ะครับ.....เรื่องมันยาวววววว .

...อยากเลือกคนโง่เข้าไปเองเพราะเกรงใจกับเงินที่มาแจก 300 – 500 ช่วยไม่ได้จริง ๆ น่าจะล้างไพ่กันซักครั้ง ความจริงไม่น่าเลิกวิธีการ ตัดหัวเจ็ดชั่วโคตรเลยจริง ๆ .....หรือไม่ก็ ...นิ้วไหนร้าย ตัดนิ้วนั้น...

...แล้ว หน.ครับ...ถ้าจะทำข้าว ไรซ์เบอร์รี่ ให้เป็นข้าวที่สายพันธุ์นิ่ง ทำได้หรือไม่.....
..คำตอบคือ ....ได้....

....ถ้าทำได้ ทำไมเค้าไม่ทำ และถ้าจะทำ ..จะทำอย่างไร....
....ที่เค้าไม่ทำ เพราะเค้าไม่ทำ.....และถ้าจะทำ...มีใครเคยเรียน รู้จักและพอเข้าใจ หลักการเรื่องพันธุกรรมของ เมนเดล บ้างไหม ...

...ไอ้ทิดบัติ ไอ้หริ่ง ไอ้ตู่ และผม ยกมือ...




(154)



(155)

(154 - 155) .....ดูรูปแล้วพอรู้เรื่องมั๊ย...ลูกรุ่นที่ 1 - F1…..ลูกรุ่นที่ 2 - F2…

วิชาการส่วนใหญ่กลับคืนไปหา เมนเดลเกือบหมดแล้ว ...แต่พอรู้ครับ....ตามภาพนี้ เหมือนกับการผสมพันธุ์ข้าวขาวมะลิ 105 เด๊ะเลย......

ตามความเข้าใจของผม....เค้าอาจจะทำมา เมื่อได้ F1 แล้วหยุดแค่ BC4F1 หรืออาจจะหยุดแค่ F2 แต่ไม่เอา F2 ผสมตัวเองกลับเข้าไป.. เพื่อให้สายพันธุ์มันนิ่ง แบบข้าวขาวดอกมะลิ 105 เมื่อเอา F1 หรือ F2 ปลูกต่อไปเรื่อย ๆ เมล็ดสีดำก็จะน้อยลง ๆ ซีครับ .....

....ใช่....

...แล้วถ้าจะทำให้เมล็ดดำอยู่ตลอด ก็ต้องเลือกเอา F2 ที่มันดำ เอากลับไปผสมตัวมันเองซีครับ...
....หน.ไม่ตอบ แต่ยิ้ม แล้วบอกว่า .....xxxx........? มันเป็นยังงี้ มันอยู่ตรงนี้....

....โห..หัวหน้า ใสปิ๊งเลยครับ นึกแล้วว่า เค้าหยุดทำแค่ F2 …แบบนี้ถ้าผมเลือก F2 ที่มันดำ ๆๆ แล้วทำ Regeneration ใหม่ ทำแบบเดียวกับผสมพันธุ์กล้วยไม้ ทำซัก 2 – 3 Generation แล้วจดสิทธิบัตรในชื่อใหม่ก็ย่อมได้ซีครับ....

...หัวหน้าอมยิ้ม....

....ไอ้ทิดบัติ ไอ้ตู่ ไอ้หริ่ง... ว่าไง .....
....เออว่ะทิด ....

หนานปัน....จดชื่อใหม่เป็น คิมเบอร์รี่ เลยหนานแดง...
ผมชี้หน้าไอ้หนานปัน...คิง...ไปบอกลุงคิมเองซิบ่ะ ฮึ๊ย...คิงอยากเป็นหนาน หรือเป็นสมีวะ...

....หัวหน้าครับ....ไหน ๆ ผมและสัมพเวสีพวกนี้ก็มากันแล้ว อยากจะโตแล้วเรียนลัด....ถ้าจะกรุณาและไม่รบกวนจนเกินไป..อยากเห็นวิธีการผสมพันธุ์ข้าว ดูเล่น ๆ ซักนี๊ดนึงน่ะครับ

…อจ.ต้วน ตบเข่าหัวเราะกร๊าก....
....เป็นไรไปครับ อาจารย์....

....ผมก็อยากเห็นเหมือนกัน....
...เอ๊า ใกล้เกลือกินแกลบแท้ ๆ อาจาน...

หน.ศูนย์ที่นี่ เยี่ยมจริง ๆ ท่านบอกว่า มีนักเรียนและผู้สนใจมาเยี่ยมที่นี่บ่อย เลยต้องเตรียมอุปกรณ์เอาไว้....มือกล้อง คอยเก็บภาพด้วย....




(156)



(157)



(158 )



(159)



(160)



(161)



(162)



(163)



(164)



(165)

(156 – 165) ผมขออนุญาต Copy รูปสวย ๆ จากแฟ้มรูปข้าวของ หัวหน้าศูนย์ท่านครับ




(166)




(166 – 167) รูปรายละเอีดยของดอกข้าวครับ




(168 )



(169)



(170)



(171)



(172)

(168 – 172) มันจะยากซักแค่ไหน ดอกไหนจะทำแม่พันธุ์ ก็ตัดเกสรตัวผู้ออก ส่วนต้นพ่อพันธุ์ ก็เอาแต่เกสรตัวผู้มา ตัดเกสรตัวเมียทิ้ง





(173) เวลาผสม ก็เอาเกสรตัวผู้จากต้นที่ต้องการให้เป็นพ่อ มาเขี่ยใส่ที่เกสรตัวเมียต้นที่ต้องการให้เป็นแม่ ตามในรูปนี้แหละ ก็เหมือนการผสมพันธุ์กล้วยไม้นั่นละน๊า เพียงแต่ดอกข้าวมันเล็กกว่าเท่านั้นเอง…
……จะว่ายากก็ไม่ยาก จะว่าง่ายก็ไม่ง่าย ต้องมีสมาธิอย่างมาก ใช้ความอดทน ใจเย็น มือต้องนิ่งและเบา

จะหยิบจับ แตะต้อง ประคองหน่อย
ราคาน้อย แต่คุณค่า มากเหลือหลาย
ให้เห็นว่า ตัวน้อง เป็นดอกไม้
จงเห็นใจ หยิบฉวย ช่วยเบามือ





(174)



(175)

(174 – 175) เมื่อผสมแล้วก็ต้องเอาถุงเล็ก ๆ คลุม แล้วเขียนชื่อ คู่ผสมเอาไว้





(176) คู่ไหนที่ผสมติด ก็จะเห็นเป็นเมล็ดข้าวแบบนี้





(177) การผสมตามธรรมชาติ เมื่อผสมเกสรแล้ว ก็จะเริ่มมีเนื้อข้าวอยู่ข้างใน





(178 ) ถ้าจะทำข้าวไรซ์เบอร์รี่ให้สายพันธุ์นิ่ง ทำได้ไม่ยาก
หรือไม่ก็ทำสายพันธุ์ใหม่ โดยใช้ไรซ์เบอร์รี่เป็นแม่ แล้วเอาข้าวหอมนิล หรือข้าวเมล็ดสีดำอย่างอื่นเป็นพ่อ ผสมจนถึงรุ่น F2 แล้วผสมซ้ำกลับ

เมื่อได้ข้าวเมล็ดสีดำออกมา ก็จดทะเบียนเป็นชื่อใหม่....อาจจะเป็น คิมเบอร์รี่ หรือ แบล๊คเบอร์รี่ หรือแบล๊คไดม่อนด์ ก็น่าจะได้




(179)



(180)

(179 – 180) ขาขึ้นช้ากว่าขาลง....หรือ ขาลงเร็วกว่าขาขึ้น มันเป็นสัจธรรมครับ
.... เวลาขึ้น กว่าจะถึงสูงสุดยอดมันแสนจะช้า ไม่เหมือนตอนที่มันตก มันเร็วจังเลย...
..ทำงานมาตั้งแต่หนุ่ม กว่าจะถึง C10 แสนจะยาวนานจนหนวดหงอก...พอหลังวันที่ 30 กันยา ปลดเกษียณ จาก C10 กลายเป็น C-ma ชั่วเพียง 00.00 นาฬิกา..

.. ที่ผมเคยเห็นมานะ....อย่าว่าแต่คน หมายังไม่แลเลยครับ...ไม่ใช่ใครที่ไหน หัวหน้าที่ทำงานของผมเอง...เคยเจอผมในศูนย์การค้า.
.....ทำไม มีแต่คนเจอผมแล้วถ้าไม่หลบหน้าก็เดินหนี...
....ผมตอบไม่ได้ครับน้า แล้วน้าเป็นใครมาจากไหน จะไปที่ไหนล่ะครับ





(181) คนพื้นราบเรียก ข้าวก่ำเจ้า....คนกะเหรี่ยงเรียก บือโปะโละ หว่าโน

เนื่องจากศูนย์วิจัยฯ อยู่ใกลตลาด หมู เห็ด เป็ดไม่มี... หัวหน้าศูนย์ฯ เมตตาเลี้ยงข้าวมื้อกลางวัน....อาหารไม่มีอะไรมาก ตามมีตามเกิด ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ในเล้ามีไก่ แล้วก็มี ข.ไข่ อยู่ในเล้า...พุงกางกันทุกคน.

..หัวหน้าท่านขอร้อง....No photo please …ขอแค่รูปข้าวหุงสุกก็แล้วกันนะครับ ....อิ่มแล้ว ..หนังท้องตึง หนังตาเริ่มหย่อน..แดดร่ม ลมเย็น(หนาว) ผ้าห่มคนละผืน ...คนละงีบ..

..ตื่นมาก็ตะวันชาย บ่ายคล้อย ลากลับที่ตั้ง พร้อมของฝาก หอบทั้งข้าวเปลือก ข้าวสาร กันพะรุงพะรัง..ถึงปายด้วยความสวัสดี

. ต่อวันรุ่งพรุ่งนี้ ทิดบัติ อ้ายยก ไอ้หริ่ง หนานปัน ไอ้ตู่ ต่างก็แยกย้ายกลับภูมิลำเนา ด้วยความอิ่มเอมใจ ผมต้องอยู่รอพบเจ้าโชเล่ต่ออีกหน่อย....เพราะมีเรื่องต้องคุยกันนิดหน่อย.....



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 19/02/2014 4:41 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 19/02/2014 7:18 am    ชื่อกระทู้: Re: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

DangSalaya บันทึก:


(179 – 180) ขาขึ้นช้ากว่าขาลง....หรือ ขาลงเร็วกว่าขาขึ้น มันเป็นสัจธรรมครับ
.... เวลาขึ้น กว่าจะถึงสูงสุดยอดมันแสนจะช้า ไม่เหมือนตอนที่มันตก มันเร็วจังเลย...
..ทำงานมาตั้งแต่หนุ่ม กว่าจะถึง C10 แสนจะยาวนานจนหนวดหงอก...พอหลังวันที่ 30 กันยา ปลดเกษียณ จาก C10 กลายเป็น C-ma ชั่วเพียง 00.00 นาฬิกา..

.. ที่ผมเคยเห็นมานะ....อย่าว่าแต่คน หมายังไม่แลเลยครับ...ไม่ใช่ใครที่ไหน หัวหน้าที่ทำงานของผมเอง...เคยเจอผมในศูนย์การค้า.
.....ทำไม มีแต่คนเจอผมแล้วถ้าไม่หลบหน้าก็เดินหนี...
....ผมตอบไม่ได้ครับน้า แล้วน้าเป็นใครมาจากไหน จะไปที่ไหนล่ะครับ






ไม่เข้าใจ อธิบายหน่อยเซ่ ....
อ่านแล้ว คลับคล้ายคลับคลา เหมือน ก.เลย (ว่ะ....)



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 19/02/2014 5:17 pm    ชื่อกระทู้: Re: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
DangSalaya บันทึก:


(179 – 180) ขาขึ้นช้ากว่าขาลง....หรือ ขาลงเร็วกว่าขาขึ้น มันเป็นสัจธรรมครับ
.... เวลาขึ้น กว่าจะถึงสูงสุดยอดมันแสนจะช้า ไม่เหมือนตอนที่มันตก มันเร็วจังเลย...
..ทำงานมาตั้งแต่หนุ่ม กว่าจะถึง C10 แสนจะยาวนานจนหนวดหงอก...พอหลังวันที่ 30 กันยา ปลดเกษียณ จาก C10 กลายเป็น C-ma ชั่วเพียง 00.00 นาฬิกา..

.. ที่ผมเคยเห็นมานะ....อย่าว่าแต่คน หมายังไม่แลเลยครับ...ไม่ใช่ใครที่ไหน หัวหน้าที่ทำงานของผมเอง...เคยเจอผมในศูนย์การค้า.
.....ทำไม มีแต่คนเจอผมแล้วถ้าไม่หลบหน้าก็เดินหนี...
....ผมตอบไม่ได้ครับน้า แล้วน้าเป็นใครมาจากไหน จะไปที่ไหนล่ะครับ





ไม่เข้าใจ อธิบายหน่อยเซ่ ....
อ่านแล้ว คลับคล้ายคลับคลา เหมือน ก.เลย (ว่ะ....)



.


สวัสดีครับลุงคิม

ลุงจะฟื้นฝอยหาตะเข็บให้ในปวดกระดองใจทำไมล่ะครับ..
ถ้าจะเล่าแล้ว ยาวววว ครับ เข้าทำนอง กูเป็นคนทำ แต่มึงเป็นคนนำเสนอ แต่สุดท้าย กูต้องไป พรีเซนท์ ให้บอร์ดฟัง และคุณงามความดี มึงรับเอาไป .... โอม มณี ปัทมา ฮุม....อมิตพุทธ

อีตาคนที่ว่า ผมเจอบ่อยครับ Lotus สาย 5 ... ผมไม่หลบ เดินประกบคุยด้วยเลยแต่แกล้งพูดเสียงดังๆ ว่า เค้าจำคนผิดหรือเปล่า เจอยาม บอกฝากยามเลยว่า ลุงคนนี้แก อัลไซเม่อร์ จำคนผิดๆ ถูกๆ เกรงจะหลง ช่วยสอบถามแกด้วยว่า บ้านช่องห้องหออยู่ที่ไหน.....

.มันมีทุกยุค ทุกสมัยนั่นแหละ ปัจจุบันก็ยังมีอยู่ จาก หน.ส่วนตรวจบัญชี มันวิ่งๆ ๆๆ ข้ามฝ่ายไปเป็น หน.ฝ่ายการแพทย์ เข็มฉีดยามีกี่เบอร์ พาราเซทตามอล มีกี่เกรด มันยังไม่รู้เลยครับลุ๊ง....

แล้วลุงครับ ผมว่าผมนำเสนอ ตัวหนังสือมันมีเล็ก มีใหญ่ คละกัน แต่เปิดขึ้นมาทำไมมันกลายเป็นตัวใหญ่ไปหมดเลยล่ะครับ....ระบบอะไรมันผิดปกติไปหรือเปล่าครับ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 03/03/2014 12:00 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขาวดอก ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไม่ไวแสง

บทที่ 3 ตอนที่ 5 - กลับฐาน

ก่อนนำเสนอต่อ....

ผมได้รับข้อมูลมาสองอัน.....อ่าน หรือดูแล้วกรุณาใช้ดุลยพินิจเองนะครับ และกราบขออภัยลุงคิมด้วย หากสิ่งที่ผมนำเสนอ สองอันนี้ไม่เหมาะสม....ผมอ่านและฟังแล้ว ไม่ว่าจะจริงหรือเท็จ มันรู้สึกบอกไม่ถูกครับ ลุงคิมเคยเป็นทหาร จะคิด หรือรู้สึกอย่างไรครับ และเพื่อนคนใดมีข้อมูลอื่น น่าจะอธิบายให้เพื่อน ๆ สมาชิกรับรู้ได้บ้างนะครับ ....ที่นี่ประเทศไทยครับ




(01)




http://www.youtube.com/watch?v=otvJj6RVqVE

(02) คลิกครับ....ต้นตออยู่ที่ จว.พะเยา ครับ

ขอบคุณครับลุง....

สัญจรต่อครับ......
ผมกำลังจะเดินหน้าต่อ......มีเพื่อนสมาชิกทักท้วง(หลังไมค์)ว่า..จากศูนย์วิจัยข้าว กลับถึงปาย ผมจบเรื่องแบบรวบรัด สั้นไปหน่อย อยากให้เล่าเรื่องสนุก ๆ แล้วก็มีรูปแปลก ๆ มาให้ดู ในตอนเดินทางกลับปายด้วย ....

....มันจะอะไรกันปานนั้น ความจริงผมก็คิดจะเล่าอยู่เหมือนกันแหละ แต่เกรงว่าเพื่อนบางคนอาจเบื่อที่จะฟังว่า ตอนผมเดินทางกลับปาย มีอะไรตื่นเต้นบ้าง ..เรื่องที่จะเล่ามีเยอะ แล้วผมถ่ายรูปเก็บเอาไว้เป็นที่ระลึกแยะมาก..ยิ่งไปกันครบทีมแบบนี้ละก็ไม่ต้องห่วง โดยเฉพาะเจ้าหนานปัน ตัวป่วน ต้องคอยเบรคกันอยู่เรื่อย....

..ทีนี้นอกเหนือจากเรื่องข้าวแล้ว ผมคิดจะเอาเรื่องที่ผมขึ้นมาปาย ที่ไม่เกี่ยวกับข้าว แยกเอาไปนำเสนอในอีกชุดหนึ่ง...แต่เมื่อเพื่อนอยากฟัง ผมก็จะเล่าให้ฟังพอท้วม ๆ ก็แล้วกัน....

......ผมขอย้อนไปตอนจบของ บทที่ 3 ตอนที่ 4 .หน่อยนึงนะครับ
หลังจาก...อิ่มแล้ว ..หนังท้องตึง หนังตาเริ่มหย่อน..แดดร่ม ลมเย็น(หนาว) ผ้าห่มคนละผืน ...เอนหลังคนละงีบ....ตื่นมาก็ตะวันชาย บ่ายคล้อย จำใจต้องลากลับฐานที่ตั้ง แต่ละคนเพียบพร้อมด้วยของฝาก ของแถม หอบทั้งข้าวเปลือก ข้าวสาร กันพะรุงพะรัง..กลับถึงปายด้วยความสวัสดี

......ผมก็ขอเริ่มจากตรงนี้ว่า.....






(182) เมื่อออกจากศูนย์วิจัยฯ ผมเลี้ยวซ้ายขับขึ้นไปทางแม่ฮ่องสอนเพื่อจะไปตลาด ลีซู (ลีซอ) ระยะทางระหว่างศูนย์วิจัย ถึงตลาด ขึ้นดอยไปอีกประมาณ เกือบ 10 กิโลแม้ว ....เรียกซะโก้เลยว่าตลาด ความจริงเป็นร้านแผงลอยริมทางตามที่ห็นในรูปนี่แหละครับ ดูไม่น่าจะขายได้ แต่ก็ขายได้.ขายดีซะด้วย...เพราะวันหนึ่ง ๆ รถผ่านไม่รู้จะกี่คันต่อกี่คัน มีของใหม่ ๆ สด ๆ คนขายสวย ใครไหนเลยจะไม่แวะ....บรรยากาศดี๊ดี...





(183) คนนี้ขายข้าวกล้องหลายอย่าง มีทั้งข้าวลืมผัว(เมล็ดสีดำในถุง) ข้าวหอมดอย(เมล็ดสีแดงอมขาในถุงว) และข้าวเหนียว(สีขาวใส่ ลิตรอยู่ในกะละมัง) ...ข้าวลืมผัวกับข้าวหอมดอยลิตรละ 30 บาท ส่วนข้าวเหนียวไม่ได้ถามครับ





(184) คนนี้ขายมะเขือเทศพื้นเมือง เวลาตำน้ำพริกใส่มะเขือเทศพื้นเมืองไม่ต้องบีบมะนาว.กลิ่นมันจะหอมแบบแปลก ๆ บอกไม่ถูกครับ...แล้วก็มี พริกสด พริกแห้ง มะนาว และมะขามป้อม มีผักสดกับเมล่อนด้วยละ ...เค้าถือว่าหน้าตาดี ขอถ่ายรูปไม่ยอมเงยหน้าครับ





(185) ตอนขากลับ ย้อนกลับมาผ่านหน้าศูนย์วิจัยฯ อีกครั้ง




(186)



(187)

(186 – 187) เลาะลัดมาตามถนนบนยอดดอย อากาศเย็น ท้องฟ้าครึ้มเหมือนฝนจะตก





(188) ดงดอกบัวตองริมทางผ่าน มันสวยบาดตาเกินจะห้ามใจ เพราะถ้าไม่ถ่ายตอนนี้ คงต้อรอไปอีกครั้งก็ปีหน้าโน่นแหละครับ





(189) ทางจะโค้งคดเคี้ยวแบบนี้ ตลอดเส้นทางครับ จากศูนย์วิจัย ถึงปาย ก็ประมาณ 100 กว่าโค้ง ใครขับได้เร็วถึง 80 ก็เก่งแล้ว แค่ 60 ก็หรูแล้วละครับ...ขับ 80 อาจจะมี แต่ยืนโบกมือเป็นสัมพเวสีอยู่ปู๊นนนนนน.....




(190)



(191)

(190 – 191) แปลงนาขั้นบันได เหลืองอร่าม ริมทางผ่าน สวยมั๊ยล่ะครับ ของจริงมันสวยสุดบรรยายครับ





(192) ภูมิทัศน์บนยอดดอยก็สวยแบบที่เห็นนี่แหละครับ สร้างจินตนาการอันไร้ขอบเขตเอาเองนะครับ และเส้นทางจากดอยนี้ไปดอยโน้น จะมีทางเดินติดต่อถึงกันได้หมด





(193) ภาพที่ดูธรรมดา ๆ .....ดอกหญ้ากับแสงตะวัน





(194) อีก 44 กม.ถึงปายครับ ..จุดนี้คือ.จุดที่ผ่านตลาด อ.ปางมะผ้า จอดแวะกินน้ำกินท่า ชิ้งฉ่อง ชิ้งฉับกันหน่อย....





(195) เพื่อนจอมลุยข้างตลาดปางมะผ้า.... เสร็จธุระแล้ว เดินทางต่อ น่าจะขับมากรุงเทพฯว่ะ คงมันน่าดู แต่คงโดนจับ เพราะไม่มีแผ่นป้ายทะเบียน




(196)



(197)

(196 – 197) โตรกธารริมทางผ่าน ของจริงมันสวยมาก ๆ แต่คนถ่ายฝีมือห่วยแตก ถ่ายออกมาแล้วมันไม่เข้าท่าเอาซะเลย




(198)



(199)

(198 – 199) ลัดเลาะลงมาถึงริมธาร....ลงเล่นน้ำคงไม่ไหว เพราะน้ำไหลแรง และน้ำเย็นมากครับ เรียกว่า เย็นยะเยือกถึงกึ๋นก็แล้วกัน





(200) ไหน ๆ ก็มาทั้งที ขอเก็บบรรยากาศเอาไว้ในความทรงจำก็แล้วกันนะ....สะพานที่เห็น กลุ่มชาวดอยช่วยกันสร้างเพื่อใช้เป็นทางสัญจรข้ามไปทำไร่อีกฝั่งหนึ่งครับ ดูน่ากลัว แต่แข็งแรงครับ แมงกะไซด์วิ่งข้ามได้ก็แล้วกัน...





(201) ในที่สุดก็ รอด กลับมาถึงปายจนได้ จุดนี้ผ่าน สนามบินปาย ด้านทิศใต้ครับ





(202) ไม่ได้เชียร์สีไหนทั้งนั้น แต่เห็นสีสันมันตัดกันสวยดี เข้ากับสีสันชีวิตไทย เลยเก็บภาพมาฝาก





(203) ตู้จดหมายที่หน้าไปรษณีย์ อ.ปาย ..พอเราปิดแสตมป์ที่ซองเสร็จ คุณเอาตรามาปั๊มที่แสตมป์ ทำเองได้เลย เพื่อจะได้รอยประทับที่ชัด ๆ ว่า ส่งมาจากปายนะว๊อย....ในช่วงเทศกาล เปิดทำการทุกวันไม่มีวันหยุดครับ และ จม.จากปายถึงนครปฐมใช้เวลา 3 วัน อย่างช้าก็ 4 วันครับ....ผมส่งของวันศุกร์ และเดินทางกลับวันอาทิตย์ ถึงบ้านวันจันทร์ได้รับของแล้ว




(204)



(205)



(206)

(204 – 206) ถนนคนเดินยามรัตติกาลที่ปาย คึกคักมาก... เดินกันได้ถึงกี่โมง ตั้งแต่ย่ำค่ำ ถึง 6 โมงเช้าละครับ ยิ่งดึกยิ่งสนุก มีของแปลกตาให้ดูด้วยละ....





(207) แค่ไก่ย่างธรรมดา ๆ แต่เอาเนื้อไก่เสียบเหล็ก แล้วใช้มอเตอร์หมุนผ่านเตาแก๊สที่เห็นแผงสีแดง ๆ อยู่ด้านหลัง เป็นอาหารอิสลาม ทำเหมือนแซนด์วิส อร่อยมั๊ย....พอ ๆ กับกินเสาไปฟ้าแรงสูงครับ....ไม่เป็นสับปะรด ม.ด. เพราะมันไม่ใช่สับปะรด.....ไม่เห็นหน้าคนขาย เพราะเค้าคลุมหน้าตามประเพณีครับ





(208 ) อาหารเมนูเด็ด รถด่วนทอดกรอบ จะกินเล่น หรือกินจริง ๆ ก็ได้ เค็ม ๆ มัน ๆ ครับ





(209) ป้ายประชาสัมพันธ์ เขียนไว้ชัดเจนแล้วนะครับ ขนาด ลีซู ยังรู้จักใช้สมุนไพรผสมอาหารเลยครับ....เจ้าหนานปัน ปม. บอกว่า ....แบบนี้ จะลืมผัว หรือผัวน่าจะลืม ก็ว่ากันไป.....





(210) บาร์บีคิว สูตรไทใหญ่ ดูก็ธรรมดา ๆ เหมือนที่เค้าเสียบขายทั่ว ๆ ไป แต่มีการผสมเครื่องเทศบางอย่างเข้าไปด้วย โคตรอร่อยมาก ๆ ครับ





(211) ของฝาก ซื้อปุ๊บ ใส่ปั๊บ หรือจะเอาไปฝาก..เพื่อจะบอกว่า ข้าไปปายมาแล้วนะโว๊ย....





(212) กระบอกไม้ไผ่ ใส่น้ำดื่ม พวก กิ๊ฟช๊อป ทำยังไงก็ได้ ให้มีคำว่า ปาย ติดอยู่...ทำง่าย ๆ แค่นี้ ใส่น้ำหวานกระบอกละ 25 บาท ....ทำแล้วไปขายที่อื่นได้มั๊ย....ได้ครับ แต่อาจไม่มีใครซื้อ





(213) สุดท้ายก็ทุกคนก็มาหยุดลงตรงร้านนี้..ยกเว้นไอ้หนานปัน มันหายไปไหนหว่า...ชั่วเวลา..แป๊บเดียว ไอ้หนานปันหิ้วถุงกลับมา แล้วหยิบแจกทุกคน...เป็น..นมกล่องไทยเดนมาร์คคนละกล่อง มันอมยิ้ม พร้อมกับบอกว่า

....ดื่มเหีย แก้กระหายน้ำ จะได้จื้น..(ดื่มซะ แก้กระหายน้ำ จะได้สดชื่น).

อะไรไม่ว่า ดันเสือกทะลึ่งเอาไปให้เจ้าของนมจากเต้าในรูปซะด้วย....Fresh milk please….
แน่ะเฮ๊ย พูดฝรั่งเป็นด้วยว่ะ...

ฝรั่งจะไปรู้เรื่องอาไร๊ ทำหน้าตกใจ ยิ้มแล้วยื่นมือมารับตอบว่า.
...Oh ! Thank you….

ไอ้หนานปันเดินยิ้มหน้าบานกลับมาเลย......ไอ้หริ่งไม่พูด ตบไหล่ดังป๊าบ...หน้าเบ้เลยแหละ....ทุกคนหัวเราะกร๊าก

....โสน้าหน้า.....
......แสบจริง ๆ ไอ้เถรปัน...ใช้ได้เลยมึง.....มิน่าถึงโดนจับสึก

งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา.....ครับ เมื่อถึงเวลาต่างคนก็ต้องแยกย้ายกันไปตามทางของแต่ละคน

จากนี้ก็เอาตอนจบของ บทที่ 3 ตอนที่ 4 มาต่อตรงนี้ได้แล้วว่า.....

ต่อวันรุ่งพรุ่งนี้ ทิดบัติ อ้ายยก ไอ้หริ่ง หนานปัน ไอ้ตู่ ต่างก็แยกย้ายเดินทางกลับภูมิลำเนาด้วยความอิ่มเอมใจ ผมต้องอยู่รอพบเจ้าโชเล่ก่อน....เพราะมีเรื่องต้องคุยกันนิดหน่อย.....ยังไงก็ต้องอยู่ต่อ เพราะยังไม่ถึงกำหนดวันกลับ

ถ้าอยากรู้ว่าผมคุยเรื่องอะไรกัน ติดตามตอนต่อไปนะครับ เอวังฯ...


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 18/03/2014 1:14 am    ชื่อกระทู้: ข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไม่ไวแสง

บทที่ 3 ตอนที่ 6 - ข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์

คุณ boonsue ....ถามผมมาหลังไมค์....ผมเห็นว่าคำถามนี้ดี น่าจะมีประโยชน์กับเพื่อน ๆ สมาชิกที่กระหายใคร่อยากจะปลูกข้าวหอมมะลิ105 จะได้รับรู้กันเอาไว้.....
คุณ boonsue ถามผมว่า.................

จาก: boonsue
ถึง: DangSalaya
ตอบ: 17/03/2014 4:59 pm
ชื่อกระทู้: ข้าวหอมมะลิ105

สวัสดีค่ะ

สบายดีหรือเปล่า ข้าวปลาอาหารเป็นอย่างไรบ้าง
พอดีมีเรื่องสงสัยค่ะ ไปเจอข้อมูลมาค่ะขอสอบถามดังนี้นะคะ

1. ข้าวหอมมะลินาปรังที่น้าเคยลงในกระทู้ กับข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์ที่เพิ่งออกข่าวไปเมื่อนี่ พันธุ์เดียวกับที่น้าเคยลงในกระทู้ของลุงคิมหรือเปล่า

2. ไปอ่านเจอ จ.สุรินทร์ทำข้าวหอมมะลินาปรัง ตั้งแต่ปี 2552 แต่ไม่แน่ใจว่าพันธุ์ข้าวที่ใช้ทำเป็นข้าวไวแสง หรือเปล่า ยิ่งอ่านก็ยิ่งงง ว่ามันคืออะไรกันแน่ ถ้าตามความเข้าใจของหนู คือเขาใช้ข้าวนาปีนี่แหละ แต่ปลูกให้ช้าลง คือลงมือปลูก ช่วงเดือนธันวาคม - ประมาณกลางเดือนมกราคม และข้าวก็จะออกดอกประมาณ กุมภาพันธ์ ถ้าปลูกช้ากว่านี้การเจริญเติบโตก็จะเหมือนปกติ คือเหมือนกับข้าวนาปี ผลผลิตก็ได้มากกว่านาปีด้วย ไม่รู้ว่าหนูเข้าใจถูกหรือเปล่า น้าชี้แนะด้วยจ้า

ขอบคุณค่ะ

ที่ถามว่า สบายดีหรือเปล่า ข้าวปลาอาหารเป็นอย่างไรบ้าง
คำตอบ......ผมสบายดี ขอบคุณครับที่ยังจำกันได้ เกือบจะร้องเพลง....จ๊ำ พี่ได้บ่ อยู่แล้ว

....เรื่องข้าวปลาอาหาร .
...เอาปลาก่อน ปลาในบ่อมีอยู่พอสมควร เลี้ยงเอาไว้ให้คนอื่นเค้าจับกิน..อนุญาตให้ตกปลา แต่เวลาเราเผลอ พวกไม่ทอดแหก็เอาอวนลงลาก..

...สำหรับอาหาร บางวันก็อิ่มหมีพีมัน... บางวันก็อดแห้งอดแล้ง ..

...ส่วนข้าว...รุ่นนี้แย่หน่อย เพราะแม่โพสพเจออากาศหนาวจัดยาวเป็นเดือน เลยมดลูกตีบ เบ่งรวงไม่ค่อยจะออก 7 ไร่ เคยได้ 3 อุ้ม คราวนี้ได้ 2 อุ้ม....หายไป กับความหนาว 1 อุ้ม....


คำถาม....พอดีมีเรื่องสงสัยค่ะ ไปเจอข้อมูลมาค่ะขอสอบถามดังนี้นะคะ
1. ข้าวหอมมะลินาปรังที่น้าเคยลงในกระทู้ กับข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์ที่เพิ่งออกข่าวไปเมื่อนี่ พันธุ์เดียวกับที่น้าเคยลงในกระทู้ของลุงคิมหรือเปล่า


คำตอบ.-
ขอยอมรับว่าคุณ boonsue นี่ Sensitive น่าดู..รับรู้ข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ได้เร็วจริง ๆ ไวเป็น ฮิตาชิ เลย

ผมไม่เคยเขียนบอกเรื่องข้าวหอมมะลินาปรังลงกระทู้นะครับ แต่เป็นเรื่องข้าวหอมดอกมะลิ105 ไม่ไวแสงปลูกได้ทั้งปีไม่มีนาปี นาปรัง

....เท่าที่ผมติดตามฟังข่าวมา.. ผมได้เคยเขียนบอกไว้ในกระทู้นี้ว่า คันปากอยากจะพูด แต่บางเรื่องผมพูดบอกได้ และบางเรื่องพูดบอกไม่ได้.....มาถึงตอนนี้ คงพูดได้แล้วมั๊ง

ผมเคยได้อ่านเจอ จากวารสารข่าวธรรมศาสตร์ ว่า รศ.ดร.บุญหงษ์ จงคิด หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์ ได้ทำการวิจัยข้าวหอมมะลิ105 เพื่อให้สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล ปลูกได้ทั้งปี เพียงแต่ยังอยู่ในขั้นทดลองยังไม่รู้ผลว่า จ่าหรือหมู่.

ทีนี้ เท่าที่ผมฟัง ๆ เค้าเล่ามา กรมการแม่โพสพ เค้ารู้เรื่องที่ มธ.กำลังทำการวิจัยข้าวหอมมะลิ105 เข้า เกรงจะเสียหน้า ...เฮ้ย ๆ มธ. จะเก่งกว่า มก. แล้วเว๊ย ก็เลยหาทุนให้.....ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร. วราภรณ์ แสงทอง สาขาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.แม่โจ้ กับทีมงาน ร่วมกันพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าว 3 สายพันธุ์ยอดฮิต คือ พันธุ์ข้าว กข15 ขาวดอกมะลิ 105 และ สังข์หยดพัทลุง ซึ่งเป็นข้าวไวแสง ปลูกได้เฉพาะนาปี เป็นข้าวต้นสูง และจะหักล้มง่าย ทำให้ผลผลิตต่ำ ….ก็จะพัฒนาให้กลายเป็นข้าวที่ไม่ไวแสงอีกต่อไป....ต้นจะเตี้ยลง ปลูกได้ตลอดปี และสามารถเกี่ยวได้ด้วยรถเกี่ยว

ระหว่างสองค่าย. มธ. VS มก....ได้ผลการทดลองออกมาไล่เลี่ยกัน ...แต่ อจ.วราภรณ์ ท่านจดสิทธิบัตรเองไม่ได้ ต้องส่งผลงานวิจัยคืนให้ กรมการแม่โพสพ ไปทดลองสายพันธุ์ต่อยังต้นสังกัดก่อน เพื่อทดลองว่า สายพันธุ์นิ่งหรือไม่ เพื่อจดสิทธิบัตรต่อไป ..

จากนั้น ผมก็ได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน(เขียนยังไม่จบดี) .แล้วผมก็บอกว่า บางเรื่องผมพูดบอกได้ และบางเรื่องพูดบอกไม่ได้ และสำหรับข้าวหอมมะลิ105 ไม่ไวแสง กว่าจะรู้ผลว่าสายพันธุ์นิ่งแล้วเอามาแจกเกษตรกรได้...รอไปจนกว่าน้ำท่วมหลังเป็ดนั่นแหละ....

ผลสุดท้าย มธ. ก็ชิงดำ จดสิทธิบัตร ข้าวหอมมะลิ105ไม่ไวแสงออกมาก่อนหน้า มก. ให้ชื่อว่า
“ ข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์ “ .....จารุณีโป๊ะเช๊ะเลยคราวนี้

ที่นี้....ระหว่าง ข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์(ปลูกได้ทุกฤดูกาลทั้งปี) กับข้าวหอมดอกมะลิ105 ไม่ไวแสง(ปลูกได้ทุกฤดูกาลทั้งปีเหมือนกัน) จะเป็นสายพันธุ์เดียวกันหรือไม่ ผมไม่ยืนยันครับ จนกว่าจะได้เอาข้าวสารของทั้งสองสายพันธุ์มาหุงเป็นข้าวสุก แล้วลองชิมดู...

ทั้งนี้ เพราะของอาจารย์ธรรมศาสตร์ใช้วิธี ฉายรังสีแกมม่า แล้วคัดเลือกสายพันธุ์...ส่วนของ อจ.แม่โจ้ ใช้วิธีเครื่องหมายโมเลกุล.ในการคัดเลือกสายพันธุ์...แต่ผลที่ได้ เป็นข้าวหอมมะลิที่ไม่ไวแสงเหมือนกัน

แต่ผมคิดของผมเองว่า กระแสของ ข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์ จะมาแรงกว่า ข้าวหอมดอกมะลิ105 ไม่ไวแสง

ทำนองเดียวกับ ข้าว ไรซ์เบอร์รี่ กับ ข้าวสินเหล็ก นั่นแล เพราะอะไร เพราะชื่อนั้นสำคัญไฉน.
.ข้าวหอมมะลิ105 เราได้ยินกันมาตั้ง สี่ห้าสิบปีมาแล้ว ความเชื่อก็เดิม ๆ คือ 3 ไร่ / ถัง.....แม้จะมาเป็น หอมดอกมะลิ105ไม่ไวแสง ก็ยังได้แค่ 65 ถัง / ไร่....

แต่ว่า ข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์ ชื่อแปลก ใหม่ แล้วชื่อ ธรรมศาสตร์ การันตีอยู่แล้ว กับว่า ผลผลิต 800 – 900 ถัง / ไร่ มันน่าลิ้มลอง และสำหรับมือวาร์ มือโปร มือเซียนปลูกข้าวหลายคน ผมว่า 100 ถัง / ไร่ทำได้สบายมาก

ลองดูข้อมูลข่าวสารกันหน่อยครับ (จะมีใครอ่านมั๊ยเนี่ย.....)

ข้อมูล – 1 จาก ...Mthai News

ม.ธรรมศาสตร์ เปิดตัวข้าวพันธุ์ใหม่ ‘หอมมะลิธรรมศาสตร์’ ทนต่อสภาพอากาศ ปลูกได้ปีละหลายครั้ง





(214) ข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์





(215) งานแถลงข่าวเปิดตัว ข้าวพันธุ์ใหม่ ‘หอมมะลิธรรมศาสตร์ เมื่อ 4 มีค.57





(216) ข้าว หอมมะลิธรรมศาสตร์ ในงานเปิดตัวครับ

(วันที่ 4 มี.ค. 57) ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า ในวาระครบรอบ 80 ปีการสถาปนา มธ. ทางมหาวิทยาลัยได้เปิดตัวข้าวสายพันธุ์ใหม่ “ข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์” คิดค้นโดย รศ.ดร.บุญหงษ์ จงคิด หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. และทีมงาน ซึ่งได้ทดลองวิจัยกว่า 5 ปี โดยเป็นข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่มีความทนทาน ปลูกได้ปีละหลายๆ ครั้ง ทั้งในฤดูนาปีและนาปรัง ซึ่งจะช่วยเพิ่มระดับความสามารถของการผลิตข้าวหอมต่อปีได้มากขึ้น และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยชาวนาลดต้นทุนการผลิต และความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากปัญหาในการปลูกด้วย

อธิการบดี มธ. กล่าวต่อไปว่า สำหรับ “ข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์” เป็นข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่ปรับปรุงพันธุ์จากเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยใช้เทคนิคการฉายรังสีแกมมาในสายพันธุ์เดิม และคัดเลือกสายพันธุ์จนได้สายพันธุ์ข้าวกลายพันธุ์ KDML 105’ 10GR-TU-70-10 (หอมมะลิธรรมศาสตร์) ที่ยังคงมีลักษณะคุณภาพการหุงต้ม และรับประทานดีเทียบเท่ากับพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 แต่มีคุณลักษณะที่โดดเด่นกว่า คือ เป็นข้าวเจ้าที่ไม่ไวต่อแสงในการออกดอก มีลักษณะเด่นที่ลำต้นเตี้ยสูงไม่เกิน 100 เซนติเมตร ลำต้นไม่หักล้มง่าย มีความทนทานต่อสภาพแล้ง สามารถต้านทานต่อโรค และแมลงรบกวนข้าวได้ดีกว่า

รศ.ดร.บุญหงษ์ จงคิด หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์ เผยว่า มหาวิทยาลัย ได้วิจัยข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์ ใช้เวลาการวิจัย 5 ปีเต็ม เพื่อปรับปรุงพันธุ์จากข้าวหอมดอกมะลิ 105 จนแก้ปัญหาความไวต่อแสงในการให้ดอก ซึ่งเป็นข้อจำกัดให้ข้าวหอมดอกมะลิ 105 เพาะปลูกได้เฉพาะนาปี เพราะออกดอกเพียงครั้งเดียวในเดือนพฤศจิกายน และเก็บเกี่ยวในต้นเดือนธันวาคม ที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า “ข้าวปลูกวันแม่เกี่ยววันพ่อ” ส่วนช่วงนาปรังชาวนาต้องเปลี่ยนมาปลูกข้าวหอมปทุมธานี 1 หรือข้าวสายพันธุ์อื่นซึ่งคุณภาพด้อยกว่า

ในที่สุดได้ข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์ เพาะปลูกได้ทุกฤดู ทั้งยังรักษาคุณสมบัติ ความหอม-นุ่มระดับโลกเช่นเดิม ทำให้เกษตกรชาวนาสามารถผลิตข้าวระดับพรีเมียมตลอดปี ใช้ระยะเพาะปลูกจนเก็บเกี่ยวภายใน 100 วัน จากเดิมข้าวทั่วไปใช้เวลาประมาณ 120 วัน จึงทำให้เกษตรกรลดต้นทุนการดูแลรักษาแปลงปลูก ซึ่งอยู่ระหว่างการวิจัยต้นทุนให้เห็นถึงค่าใช้จ่ายที่ลดลงอย่างชัดเจน
รศ.ดร.บุญหงษ์กล่าวว่า

“เมล็ดพันธุ์ใช้ปริมาณน้อยลงเช่นกัน เปรียบเทียบจากปกตินาหว่านน้ำตม ชาวนาใช้เมล็ดพันธุ์ 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ข้าวหอมธรรมศาสตร์ใช้มากสุด 12 กิโลกรัม
หากเป็นนาดำปกติชาวนาใช้เมล็ดพันธุ์ 12-15 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวหอมธรรมศาสตร์ใช้เพียง 10 กิโลกรัมต่อไร่ แต่กลับได้ผลิตผลต่อไร่เพิ่มสูงขึ้นถึง 900 กก. มากกว่าข้าวหอมดอกมะลิ 105 ที่ได้ผลผลิต 400-500 กก.ต่อไร่”

โดยมีจุดเด่นอีกข้อ คือ ลำต้นที่ความสูงไม่เกิน 100 เซนติเมตร มีความแข็งแรงทนทานต่อลม เก็บเกี่ยวได้ง่าย และทนทานต่อโรคและแมลงอีกด้วย เพราะหลังการทดสอบ พบว่าผลกระทบที่มีสาเหตุจากไส้เดือนฝอยน้อยและโรคกาบใบเน่า รวมถึงแมลงศัตรูพืช เช่น หนอนกอ และหนอนใบม้วน น้อยกว่าแปลงปลูกข้าวหอมมะลิ 105 อย่างชัดเจน

หลังจากจดสิทธิบัตร จะเริ่มขยายพันธุ์อย่างจริงจัง เพื่อทำแปลงทดลองขนาดใหญ่ให้ชาวนาเข้ามาศึกษา และเพาะปลูกได้อย่างมีคุณภาพ ทั้งยังเก็บผลผลิตส่วนหนึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์ในรอบการผลิตถัดไป เพราะคุณสมบัติของพันธุ์ข้าวบริสุทธิ์ที่ไม่กลายพันธุ์

ข้อมูลจาก ...Mthai News


ข้อมูล 2 จาก www.thannews.th.com › Breaking News › ข่าวในประเทศ‎

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉลองครบรอบ 80 ปี มธ. เปิดตัวข้าวสายพันธ์ใหม่ “ข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์” ที่มีความทนทานและสามารถเพาะปลูกได้ปีละหลายครั้ง ช่วยชาวนาสามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตต่อปีได้มากขึ้น พร้อมจัดเรียลลิตี้โชว์ “ข้าวกลางเมือง Rice(Right) To Go” แข่งขันปลูกข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์กลางเมือง เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกความรักความผูกพันของข้าวกับสังคมไทย และจัดประกวดภาพถ่าย “80 ปี ธรรมศาสตร์ เป็น อยู่ คือ! เมื่อวาน วันนี้ และพรุ่งนี้” และภาพยนตร์สั้น “Pay It Forward (ส่งต่อการให้)

ศาสตราจารย์ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ในวาระครบรอบ 80 ปี การสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรมพิเศษหลากหลายรูปแบบ ภายใต้แนวคิดหลัก “8 ทศวรรษ อภิวัฒน์สังคมไทย” เพื่อเฉลิมฉลองและเน้นย้ำจุดยืนการเป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งเน้นการช่วยเหลือประชาชนและประเทศชาติอย่างแท้จริง พร้อมนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาในประเด็นต่างๆ ให้กับสังคมไทย ซึ่งได้จัดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 27 มิถุนายน 2557 ซึ่งเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัย


โดยในโอกาสพิเศษครบรอบ 80 ปี การสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นี้ มหาวิทยาลัยมีความภูมิใจในการเปิดตัวข้าวสายพันธ์ใหม่ “ข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์” คิดค้นโดย รองศาสตราจารย์ ดร.บุญหงษ์ จงคิด หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และทีมงานทดลองวิจัยกว่า 5 ปี ซึ่งเป็นข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่มีความทนทาน สามารถปลูกได้หลายครั้งต่อปี ช่วยชาวนาลดต้นทุนการผลิตและความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากปัญหาในการปลูกและเพิ่มผลผลิตข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับ “ข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์” เป็นข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่ปรับปรุงพันธุ์จากเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยใช้เทคนิคการฉายรังสีแกมมาในสายพันธุ์เดิมและทำการคัดเลือกสายพันธุ์จนได้สายพันธุ์ข้าวกลายพันธุ์ KDML 105’ 10GR-TU-70-10 (หอมมะลิธรรมศาสตร์) ที่ยังคงมีลักษณะคุณภาพการหุงต้มและรับประทานดีเทียบเท่ากับพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 แต่มีคุณลักษณะที่โดดเด่นกว่า คือ เป็นข้าวเจ้าที่ไม่ไวต่อแสงในการออกดอก ด้วยลักษณะเด่นที่มีลำต้นเตี้ยสูงไม่เกิน 100 เซนติเมตร ลำต้นไม่หักล้มง่าย มีความทนทานต่อสภาพแล้ง สามารถต้านทานต่อโรคและแมลงรบกวนข้าวได้ดีกว่า ส่งผลให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ทำให้ “ข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์” จึงเป็นข้าวหอมที่สามารถเพาะปลูกได้ปีละหลายๆ ครั้ง ทั้งในฤดูนาปีและนาปรัง เพื่อช่วยเพิ่มระดับความสามารถของการผลิตข้าวหอมต่อปีได้มากขึ้น

รองศาสตราจารย์ หริรักษ์ สูตะบุตร ประธานคณะกรรมการฝ่ายจัดประกวดครบรอบ 80 ปีการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ฝ่ายจัดประกวดได้ดำเนินกิจกรรมฉลองครบรอบ 80 ปี ประกอบด้วย รายการเรียลลิตี้ “ข้าวกลางเมือง Rice(Right) To Go” การประกวดภาพถ่ายในหัวข้อ “80 ปี ธรรมศาสตร์ เป็น อยู่ คือ! เมื่อวาน วันนี้ และพรุ่งนี้” และการจัดทำภาพยนตร์สั้นในชื่อ “Pay It Forward (ส่งต่อการให้)

รายการ “ข้าวกลางเมือง...Rice(Right) To Go” เป็นเรียลลิตี้ประเภทสาระบันเทิง เพื่อสร้างความตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของข้าว รวมถึงมีความเข้าใจความทุกข์ยากของชาวนา จำนวน 9 ตอน ความยาว 30-45 นาที โดยเนื้อหาจะเป็นการนำเสนอถึงความสำคัญของข้าวทีมีต่อประเทศไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันในทุกแง่มุม ทั้งประวัติศาสตร์ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิต เศรษฐกิจ และการเมือง โดยมีผู้ร่วมรายการเป็นผู้เชื่อมต่อ จำนวน 9 คน ชาย 6 คน หญิง 3 คน แบ่งเป็นทีมๆ ละ 3 คน ปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมาย คือ การรับเมล็ดข้าวเปลือกพันธุ์ “ข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์” คนละ 1 เมล็ดเพื่อนำไปปลูกที่บ้านหรือที่ทำงานซึ่งเป็นพื้นที่ในเมือง ซึ่งจะเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าข้าวสามารถปลูกได้ทุกที่ ทั้งนี้ ผู้ร่วมรายการจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการปลูกข้าวทั้งจากนักวิชาการอิสระผู้ผันตัวมาทำข้าวแบบครบวงจร และปราชญ์ชาวบ้านผู้มีองค์ความรู้ที่ถึงแก่นจากชีวิตจริงมาถ่ายทอดให้ นอกจากนี้ รายการได้จัดตัวช่วยและปรัศนีให้แต่ละทีมในทุกสัปดาห์ ทั้งนี้ตัวช่วยและปรัศนีส่วนหนึ่งจะเป็นศิษย์เก่า มธ. ที่มีชื่อเสียง ดารา นักร้อง นักแสดง เป็นต้น พร้อมกันนี้ รายการจะนำเสนอสารคดี ‘ข้าวของพระราชา’ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับข้าวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกความรักความผูกพันของข้าวกับสังคมไทย เพื่อนำไปสู่สังคมที่พอเพียงและยั่งยืน


การประกวดภาพถ่ายในหัวข้อ “80 ปี ธรรมศาสตร์ เป็น อยู่ คือ! เมื่อวาน วันนี้ และพรุ่งนี้” โดยเปิดให้บุคคลทั่วไป ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน บุคลากร และผู้สนใจทั่วไป ส่งภาพเข้าประกวด โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ภาพเก่า ส่งภาพเข้าประกวดตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนถึง 31 มีนาคม 2557 และประกาศผลในวันที่ 15 เมษายน 2557 โดยภาพที่จะส่งเข้าประกวดต้องเป็นภาพที่ถ่ายตั้งแต่ปี 2556 ลงไป ภาพใหม่ ส่งภาพเข้าประกวดตั้งแต่ 1 เมษายน -31 พฤษภาคม 2557 และปรกาศผลในวันที่ 15 มิถุนายน 2557 ซึ่งจะต้องเป็นภาพที่ถ่ายในปี 2557เท่านั้น และทายภาพปริศนา เป็นภาพที่เกี่ยวข้องกับธรรมศาสตร์ เริ่มกิจกรรม 1-30 มิถุนายน 2557 ประกาศผู้ชนะในวันที่ 15 กรกฎาคม 2557 ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.tu80th-contest.com

ภาพยนตร์สั้นในชื่อ “Pay It Forward (ส่งต่อการให้) โดยนำหลักของพุทธศาสนาเรื่อง "การให้" บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ทานมานำเสนอเป็นข้อคิดเพื่อปลุกจิตสำนึก "การให้" ให้กับคนไทยทุกคนทุกกลุ่ม ทั้งนี้จะสอดคล้องไปกับปรัชญาและแนวคิดของจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ที่ได้การปลูกฝั่งและถ่ายทอดกันมาเรื่อยๆ ที่ว่า "เหลืองคือธรรมประจำจิต แดงคือโลหิตอุทิศให้" และ "ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน" ซึ่งภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้จะเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ตั้งแต่ 16 เม.ย. ซึ่งเป็นปีใหม่ไทย เป็นต้นไป

www.thannews.th.com › Breaking News › ข่าวในประเทศ‎

คำถาม
2. ไปอ่านเจอ จ.สุรินทร์ทำข้าวหอมมะลินาปรัง ตั้งแต่ปี 2552 แต่ไม่แน่ใจว่าพันธุ์ข้าวที่ใช้ทำเป็นข้าวไวแสง หรือเปล่า ยิ่งอ่านก็ยิ่งงง ว่ามันคืออะไรกันแน่ ถ้าตามความเข้าใจของหนู คือเขาใช้ข้าวนาปีนี่แหละ แต่ปลูกให้ช้าลง คือลงมือปลูก ช่วงเดือนธันวาคม - ประมาณกลางเดือนมกราคม และข้าวก็จะออกดอกประมาณ กุมภาพันธ์ ถ้าปลูกช้ากว่านี้การเจริญเติบโตก็จะเหมือนปกติ คือเหมือนกับข้าวนาปี ผลผลิตก็ได้มากกว่านาปีด้วย ไม่รู้ว่าหนูเข้าใจถูกหรือเปล่า น้าชี้แนะด้วยจ้า
ตอบ...คุณเข้าใจถูกแล้วครับ เพราะเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยข้าวก็บอกผมแบบนี้ว่า ถ้าเราปลูกข้าวไวแสงให้ช้าลง แล้วควบคุมน้ำในนาอย่าให้มากเกินไป ดูในรูปที่ผมนำเสนอข้างต้นนั่นแหละครับ


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 20/04/2014 11:27 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
boonsue
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 04/07/2013
ตอบ: 36

ตอบตอบ: 18/03/2014 8:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

สวัสดีค่ะ ลุงคิม ทิดแดง

แจ่มมากเลยค่ะ ความรู้เพียบ

7 ไร่ เคยได้ 3 อุ้ม คราวนี้ได้ 2 อุ้ม....หายไป กับความหนาว 1 อุ้ม....

ข้าวของน้ายังโชคดีนะคะ แถวบ้าน 40 ไร่ ได้ 3 เกวียน แถมราคาเกวียนละ 2,500 บาทเองจ้า

ผมสบายดี ขอบคุณครับที่ยังจำกันได้ เกือบจะร้องเพลง....จ๊ำ พี่ได้บ่ อยู่แล้วจำได้อยู่แล้ว

ตอบ....อยู่ในใจเสมอค่ะ ที่ปรึกษาดี ๆ แบบนี้ใครจะลืมลง จริงมั๊ยจ๊ะ สมช.ทุกท่าน


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 18/05/2014 10:58 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขาวดอก ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไม่ไวแสง

บทที่ 4 ตอนที่ 1 - กลุ่มข้าวอินทรีย์พื้นเมือง แม่ฮ่องสอน
ว่าด้วย พันธุ์ข้าวที่ปลูกบนดอย ข้อมูลจาก อาจารย์ต้วน....ปราชญ์ชาวดอย....


ว่าจะเขียนต่อ พอดี คุณ Boonsue ตั้งกระทู้ถามเรื่องข้าวหอมธรรมศาสตร์มาคั่นรายการซะก่อน เลยต้องหาข้อมูลมาเสนอก่อน หลังจากนั้น ก็หยุดยาว......2 เดือนพอดี
.............

หลังจากที่ เจ้าพวกแสบสันต์อันประกอบด้วย ไอ้หนูหริ่ง – หนานปัน...ไอ้ตู่....ไอ้ทิดบัติ – อ้ายยก....แยกย้ายกลับไปหมดแล้ว ผมต้องอยู่ทำธุระต่อที่ปาย อีกวัน สองวัน

พอดีเจ้าโชเล่ลงมาที่ปาย(ก็นัดกันไว้ว่าจะมาเจอกัน) ผมชวนไปบ้าน อาจารย์ต้วน ปราชญ์ชาวดอย ผู้ต่อต้านเกษตรเคมีและยาฆ่าแมลง และส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ + เคมี แล้วก็เป็นแกนนำให้ชาวเขาชาวดอยหันมาปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง และข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ ทุกชนิด ที่สามารถปลูกได้บนดอย .....

อาจารย์ต้วน รวมกลุ่มเกษตรอินทรีย์ได้สมาชิกประมาณเกือบร้อยคน แต่ละตนมีที่ดินบนดอยคนละไม่มาก 5 – 10 ไร่ ประมาณ 60 คน 10 – 20 ไร่ ประมาณ 30 คน พยายามบอกให้เลิกปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพราะถูกเอารัดเอาเปรียบ และต้องถางที่เพื่อทำไร่ ..ทำให้ขาดน้ำ และระบบนิเวศน์ต้องเสียหาย แกทำทุกอย่างเพื่อช่วยชาวดอยให้อยู่ดีกินดี .....แกชวนให้ผมอยู่ด้วย จะได้ลุยไปในทางเดียวกัน

เป็นเรื่องตลกครับลุง เดิมบ้านอาจารย์ต้วน เป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ ตอนที่ยังเริ่มหัดเดินเตาะแตะ ทางราชการส่งเจ้าหน้าที่มา มีงบ ฯ สนับสนุน ทำจนได้ใบประกาศ ได้โล่ ....

ต่อมา พอศูนย์ เริ่มแข็งแกร่ง ก็ชักจะรู้อะไร ๆ มากขึ้น ...อาจารย์เล่าให้ผมฟังว่า

....ได้เจอกับผู้ว่าฯ (ที่ไหนผมไม่รู้ เพราะอาจารย์ไม่ได้บอก) ท่านถามว่า ....อนุมัติงบฯ มาให้ สามแสน อาจารย์ทำอะไรไปบ้าง .....

....อาจารย์บอกว่า ผมฟังแล้ว งง...ตอบไปว่า ผมได้มาไม่ถึง สามหมื่น เพราะเค้า...? บอกว่าได้แค่นั้น.....(มีหลักฐานการรับเงินให้ดูด้วย).....

อาจารย์บอกว่า หลังจากนั้นอีกไม่นาน ทางออกที่ดีที่สุดคือ ประกาศ ปิดศูนย์เรียนรู้ แต่ถ้าชาวบ้านคนใดมีปัญหาให้มาถาม มาใช้สถานที่ได้ (โอกาสหน้าถ้าได้ไป ผมจะถ่ายรูปอดีตศูนย์แห่งนี้มาให้ดู)

นี่แหละครับ ที่ประเทศไทยไม่เจริญไม่ใช่เพราะชาวบ้าน แต่เพราะเหลือบ.....แบบที่ แนะนำให้กระเหรี่ยงปลูกท้อ แล้วไม่มีที่ขาย ……ความจริงเราคุยกันยาวกว่านี้ แต่หลัก ๆ ที่ผมจะพูดได้มีแค่นี้ ….

อาจารย์บอกว่า สู้ออกไปแนะนำให้ชาวดอยปลูกข้าวพื้นเมือง หรือพันธุ์ต่าง ๆ แล้วรับซื้อผลผลิตในราคาที่พอใจ แล้วเอามาสีเป็นข้าวกล้อง ขายในตลาดชุมชน ส่งขายในถนนคนเดินทุกแห่งในจังหวัด ประกาศขายทางอินเตอร์เน็ต ขายดีจนข้าวมีไม่พอจะขาย สั่งจองคิวล่วงหน้ากันเป็นปี ๆ





(217) ทางเข้าศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์บ้านแม่นาเติง....และทางลง แล้วก็ขึ้น...ไปบ้านอาจารย์ต้วน






(218) ป้ายบอก.....คำขวัญ....กลุ่มข้าวอินทรีย์พื้นเมือง แม่ฮ่องสอน





(219) โต๊ะไม้สักตัวนี้ อาจารย์บอกว่า เป็น(ซุง)เสาบ้านหลังเก่าของแม่ รื้อบ้านแล้วก็แบ่งไม้ แบ่งเสากันไปในหมู่พี่ ๆ น้อง ๆ อาจารย์เอาไปเลื่อยเป็นแผ่น เอามาทำโต๊ะ .....แต่ขาโต๊ะแบบนี้ไม่ค่อยสวย โอกาสหน้า ผมจะมาช่วยต่อแข้งต่อขา เอาเป็นขาสิงห์ สี่ขาให้นะคร๊าบบบบ




(220)



(221)



(222)

(220 – 222) กล้วยไม้ฟ้ามุ่ย เอกลักษณ์ของชาวกระเหรี่ยงบนดอย ของอาจารย์มีหลายต้น ผมไปยืนเหล่ น้ำลายแทบจะหก กลีบบินไปหน่อย แต่…สีฟ้าหม่นสดใส ลายสมุก ชัดแจ่ม ผสมข้ามต้นน่าจะดี..

.. อาจารย์เห็นผมยืนเหล่ หมุนไป หมุนมาอยู่นานบอกว่า ....ชอบก็เอาไปแขวนดูเล่นซักต้นก็ได้นะ.

พ่อหลวง พ่อของเจ้าโชเล่ก็พูดอย่างนี้ ....เจ้าโชเล่และญาติ ๆ เค้าก็เคยพูดกับผมอย่างนี้ ของที่เค้าเคารพบูชา ใครจะกล้า......นอกจาก ฟลุ๊ค ได้มาจากป่านั่นแหละ...ความที่รู้ว่าเป็นของรักที่เคารพของพวกเค้า ผมยังไม่กล้าแม้กระทั่งจะขอ ติดฝักข้ามต้น ...เพื่ออนุรักษ์.....
.....ผมขอถ่ายรูปไว้ดูเป็นที่ระลึกก็แล้วกันครับ อาจารย์.....

ผมบอกเรื่องนี้กับเจ้าโชเล่หลังจากกลับจากบ้านอาจารย์ต้วนแล้วว่าอยากขอผสมติดฝัก แต่ไม่กล้า ....เจ้าโชเล่มันบอกว่า...

. ทำไมสูไม่บอกตอนนั้น ลงมาตั้งไกลแล้ว ไม่อยากย้อนกลับขึ้นไปอีก แล้วตอนขึ้นไปที่บ้านก็ไม่บอก ถ้ามีดอกอีกคราวหน้า สูบอกชาชา ก็ได้ว่าทำยังไง จะให้ชาชาทำให้....




(223)



(224)

(223 – 224) เครื่องตัดหญ้าที่ดัดแปลงเป็นเครื่องเกี่ยวข้าว เหมาะที่จะใช้งานบนดอยมาก ๆ ไม่รู้ว่าเป็นภูมิปัญญากระเหรี่ยงหรือของใคร





(225) ฟันใบเลื่อยที่เหมาะสำหรับใช้เกี่ยวข้าว และเกี่ยวหญ้าต้นสูง ๆ โดยเฉพาะ ให้สังเกตดูที่ฟันใบเลื่อยนะครับ

....ถ้ายัยเฉิ่มเข้ามาเปิดอ่าน ก็ดูรูปเอาไว้แล้วไปหาซื้อมาใช้ ข้าอธิบายให้เอ็งฟัง เอ็งก็ไม่รู้เรื่อง อายกระเหรี่ยงเค้ามั๊ยล่ะ .....Copy รูปแล้วปรินท์เอาไปให้ที่ร้านเค้าดู บอกว่า กูต้องการซื้อแบบนี้ ...บนดอยยังมีขาย ถ้าโพธารามไม่มีขายก็ไม่รู้จะว่ายังไงแล้ว....





(226) ใบเลื่อยสำหรับตัดกิ่งไม้โตขนาดโคนขาได้สบาย ๆ ที่ตัวแผ่นจานจะมีรูระบายความร้อน ยี่ห้อ อะไร วา วา ดูแล้วไปหาซื้อมาใช้....




(227)



(228 )

(227 – 228 ) เมล็ดพันธุ์ข้าวลืมผัว จากศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน สีสันของเนื้อใน ดำสนิท





(229) เมล็ดพันธุ์ข้าวลืมผัว อาจารย์ต้วนปลูกเอง คุยเพลิน ลืมแกะเนื้อในดู....





(230) เมล็ดข้าว ไรซ์เบอร์รี่ ที่อาจารย์ต้วนปลูกเองอีกเหมือนกัน จากเมล็ดข้าว 0.50 กก.ส่วนหนึ่งของ อาจารย์ใหญ่ ที่ผมเอาไปฝาก ได้มาเต็มลาน ตอนที่ผมไป อจ. กำลังตาก บอกว่าจะคัดตามวิธีที่คุยกัน เพื่อเก็บเอาไว้ทำพันธุ์ต่อ ๆๆๆๆ ผมก็ลืมแกะเนื้อในดูอีกเช่นกัน





(231) ข้าวญี่ปุ่น ปลูกบนดอย ....ปลูกแล้วไปขายใครที่ไหน .....ขายพวกลิงที่มาเที่ยวมั๊ง....





(232) ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ปลูกที่ปาย....ไวแสงแน่ ๆ ชัวร์





(233) ข้าวขาวดอกมะลิ 105 จากศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน จะไวแสงหรือไม่ไวแสง ผมไม่รู้ เพราะกรมการข้าวแช่ เค้ายังไม่รับรองสายพันธุ์ รับรองหรือไม่รับรอง พวกผมไม่รอให้โง่ เห็นต้นมันเตี้ย แล้วก็ปลูกเป็นนาปรัง ก็เลยขอมาเป็นที่ระลึกนิดหน่อย ก็คนละหอบสองหอบแค่นั้นเอง

ใครอยากได้ข้าวขาวดอกมะลิไม่ไวแสง ก็ลองหาข้าวหอมธรรมศาสตร์ (ขาวดอกมะลิ105ไม่ไวแสง)มาปลูกดู มีคนเค้าหากันให้ควั่ก....





(234) ข้าวสายพันธุ์กระเหรี่ยงบือโป๊ะโละ - แม่นาจางเหนือ....ข้าวบือโป๊ะโละ มีมากถึงประมาณ 45 สายพันธุ์

ผลผลิตสูงสุดคือ บือโป๊ะโละ – ดอยเลี่ยม ประมาณ 750 กก. / ไร่

และต่ำสุดคือ บือโป๊ะโละ – ห้วยไม้ดำ 4 – 600 กก. /
ไร่ ...

.แต่บือโป๊ะโละ – แม่นาจางเหนือ เป็นข้าวสายพันธุ์ยอดนิยมของกระเหรี่ยง...ผลผลิตประมาณ 670 กิโลกรัม / ไร่

อาจารย์ต้วนบอกว่า ของแกที่ตากอยู่นั้น ได้ ประมาณ 700 กิโลกรัม / ไร่ ..

กรณีรับซื้อจากชาวไร่ ให้ราคา กก.ละ 17 บาทดีกว่าราคาจำนำอีกแน่ะ (ก็ตกประมาณ 11,900 บาท ถ้า 1,000 กก.ก็ 17,000)

จากข้าว 700 กก. สีเป็นข้าวกล้องแล้วได้ประมาณ 450 กก. ขาย กก.ละ 70 บาท ก็จะได้ 31,500 บาท

หักค่าบริหารจัดการ ไม่น่าจะถึง 3,000 บาท ก็เหลือหลังค่าใช้จ่ายแล้ว 28,500 บาทต่อ 1 ไร่

ถ้าในกลุ่มมีสมาชิก 50 คน ปลูกกันคนละ 5 ไร่ ก็เป็นเนื้อที่ 250 ไร่ รับซื้อมาสีขายเป็นข้าวกล้องจะเหลือเงินหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว เท่าไหร่วะเนี่ย 28,500 x 250 = 7,125,000.- ว๊าว ๆๆๆ

ขายข้าวกล้องได้ 7 ล้านต่อรุ่น นี่ขนาดแค่ชนกลุ่มน้อย โรงสีน้อย ๆ ในชุมชนเท่านั้นนะครับ ถ้าเป็นโรงสีขนาดใหญ่ มันจะซักแค่ไหน

แล้วถ้ากระเหรี่ยงปลูกข้าวไม่ไวแสง(ข้าวหอมนิล ข้าวไรซ์เบอร์รี่ หรือข้าวหอมมะลิ105 ไม่ไวแสง) ได้อีกปีละ 1 รุ่นล่ะ ตีเสียว่า ได้รุ่นละ 7 ล้านเท่ากัน รวมแล้วก็ปีละ 14 ล้าน เหอ ๆๆๆๆ คุณคิดว่า กระเหรี่ยงจนหรือครับ....

ปลูกข้าวหน้าแล้งบนดอย จะเอาน้ำที่ไหน
ก็ใช้ระบบประปาภูเขา หรือต่อท่อจากน้ำตกบนดอยซีครับพี่ท่าน ที่ปายก็ใช้ระบบนี้ น้ำแรงกระฉูด ต่อท่อไม่ดี น้ำดันท่อระเบิด และน้ำก็เย็นยะเยือกอย่าบอกใคร

คุณคิดว่า ข้าวกล้องไร่ละ 450 กก. จำนวนนา 250 ไร่ = ข้าวกล้อง 112,500 กก. คนชาวดอยจะขายได้หมดมั๊ยครับ ถ้าขายส่งออกนอกพื้นที่ วันละ 1,000 กิโล ก็ประมาณไม่เกิน 120 วันจึงจะขายหมด

เท่าที่ผ่านมา อาจารย์บอกว่า เคยขายแบบหมูไป ไก่มา ปรากฏว่า บางราย หมูไป แต่ไก่ไม่มา ตอนหลัง ๆ ต้องไก่มาก่อน หมูถึงจะไป

.....แล้วการบรรทุกรถบนดอย เค้าไม่บรรทุกกันครั้งละ 1 ตัน หรือ 1,000 กิโลหรอกครับ ...ลุงรัตน์ ใช้กระบะ อีซูซุ ขนกระเทียมเข้าเชียงใหม่ ครั้งละ 3 ตันขึ้น

อยากรู้เรื่องข้าวสายพันธุ์กระเหรี่ยง กด Like ตรงนี้ได้เลยจ้า...

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3200&postdays=0&postorder=asc&start=0
เปิดอ่านเองนะครับ ผมขี้เกียจ ก๊อป.....





(235) ข้าวกล้องหอมดอย เมล็ดสั้น





(236) ข้าวหอมดอย เมล็ดสั้นขัดขาว...ถ้าจะถามว่ากินอร่อยมั๊ย....ตอบว่า หอม เนียน นุ่มลิ้น กินแล้วลืมเมีย(ไปชั่วขณะหนึ่ง)





(237) พักสายตากันหน่อยครับ....ดอกอะไร ....ไอ้ตู่ กับ หนานปัน เคยตอบมาแล้วว่า ดอกไม้....เอาไปคนละโป๊ก......ดอกเสาวรสครับ ธรรมชาติ หรือพระเจ้าสร้างก็ไม่รู้เหมือนกัน สวยแปลกดีครับ





(238) ไม่ว่าคุณจะทำอะไร อยู่ที่ไหน มีใครเค้ามองดูคุณอยู่ ดวงตาแห่งตะวันครับ





(239) โค้งปราบเซียน คุณเคยเห็นมาแล้ว เพราะผมเคยลงให้ดู นี่เป็นยามทิวานะครับ





(240) โค้งเดียวกัน ยามราตรีอันมืดมิดครับ...... มือไม่แน่จริง ขอร้อง อย่าเสี่ยง เพราะเราเจอมาแล้ว....





(241) อาหารจานพิเศษ มีครบ 5 หมู่ เกินซะด้วยซ้ำ เนื้อ... นม.... ไข่....ผัก.... คาร์โบไฮเดรท โปรสองตีน



พบกันใหม่คราวหน้า โอ๊ะมื่อโชเปอ สวัสดีครับ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
cherm
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 17/11/2011
ตอบ: 237

ตอบตอบ: 20/05/2014 12:45 pm    ชื่อกระทู้: สวัสดีค่ะ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีค่ะ ลุงคิม
สวัสดีค่ะ ทิดแดง และ สมช.ทุกท่านค่ะ

ยัยเฉิ่ม ซื้อตามคำแนะนำของทิด แล้วค่ะ แฮะๆๆแต่มันไม่รูแบบของทิด เวลาตัด ต้องหยุดพักเป็นระยะๆ เครื่องตัดจะร้อนมากๆๆๆ

สงสัยรูตัน

ขอบคุณค่ะทิด

ยัยเฉิ่ม เจ้าค่ะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 20/05/2014 3:54 pm    ชื่อกระทู้: Re: สวัสดีค่ะ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

cherm บันทึก:
สวัสดีค่ะ ลุงคิม
สวัสดีค่ะ ทิดแดง และ สมช.ทุกท่านค่ะ

ยัยเฉิ่ม ซื้อตามคำแนะนำของทิด แล้วค่ะ แฮะๆๆแต่มันไม่มีรูแบบของทิด เวลาตัด ต้องหยุดพักเป็นระยะๆ เครื่องตัดจะร้อนมากๆๆๆ

สงสัยรูตัน

ขอบคุณค่ะทิด

ยัยเฉิ่ม เจ้าค่ะ


สวัสดีครับลุงคิม อั้ย ๆ ๆ ๆ ยัยเฉิ่ม....

โอโฮ นาน ๆ จะโผล่มาซักที อินได้เรื่องเลยนิเอ็ง

ของอะไรที่นาน น๊าน เอามาใช้ที มันก็แบบนี้แหละ
ที่ รูมันตัน สงสัย เศษไม้ เศษขี้เลื่อยเข้าไปอุดรู มันต้อง แคะ ล้วง ล้าง ซะบ้าง เรียกว่า ล้วงและล้างแบบลุ่มลึก แบบนี้ สงสัยอาจจะมีกลิ่น(ควันไม้ติด)ด้วยมั๊ง


ถ้าอยากเจาะรู ต้องไปเจาะที่บ้านทิด เพราะเครื่องเจาะมันใหญ่ แบกมาไม่ไหว ...ดอกสว่านมีตั้งแต่จิ๋ว ๆ (แต่แจ๋ว) ไปจนถึงโตขนาด เจาะรูใส่กลอนประตูวังเชียวละเอ็งเอ๊ย




ก๊อปปี้รูป ปริ้นท์ เอาไปให้ที่ร้านเค้าดู บอกเค้าเลยว่า


....หนู(ช้าง) จะเอามีรู(ไม่ตัน)แบบนี้ ยี่ห้อนี้.(NUNWA 230 MM) .ฟันเลื่อยติดกากเพชร(เพชรแท้หรือไม่แท้ไม่รู้ว่ะ)

ถ้าไม่มี ไปคลองถม เดินหาตั้งแต่ วัดสามปลื้ม ยันหัวลำโพง ขึ้นรถไฟกลับไปลงโพธาราม เอาใบเลื่อยไปขว้างหน้าไอ้ร้านขายที่มันบอกว่าไม่มี ..

..นี่เว๊ย ของกรูได้มาแล้วเว๊ย จานใหญ่เท่าหน้ามรึงเลยเว๊ย...

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 22/05/2014 10:16 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ข้าวเมล็ดดำ จากป ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไม่ไวแสง

บทที่ 4 ตอนที่ 2 - ข้าวเปลือกสีดำ เนื้อข้าวสีดำ จากป้า HANS....


ป้าห่าน ส่งที่ขึ้นในแปลงนาของแก มาให้ผม ผมไม่รู้ว่าเป็นข้าวพันธุ์อะไร ข้าวเปลือกสีดำ เนื้อในก็สีดำ

จะเป็นข้าวก่ำ ชนิดข้าวจ้าวหรือเปล่า.....หรือตั้งชื่อใหม่เป็นข้าว Black Burry …น่าสนใจนะครับ ป้าห่านน่าจะทดลองปลูกเล่น ๆ ดูซัก 100 ตร.วา ดูว่า รุ่นต่อไปเนื้อในมันจะดำสนิทหรือไม่ ....เพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ หรือลองสีมากินดู ..

..ไปดูรูปกันครับ





(242) ข้าวเปลือกที่ติดรวง สีดำสนิทดีจังเลย เรียกว่า ดำแบบสี BLACK





(243) ดูภาพใกล้ ๆ ครับ




(244)



(245)

(244 – 245) แกะเนื้อในดูแล้ว ดำปิ๊ดปี๋ ดำสนิททุกเมล็ด





(246) ผมจับมาเทียบกับข้าวเนื้อในสีดำพันธุ์ต่าง ๆ เปลือกข้าวของป้าห่าน ดำไม่เหมือนข้าวพันธ์อื่น ๆ





(247) ข้าวหอมนิล ...เปลือกคล้ำ และเนื้อในดำ





(248 ) ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เปลือกเหลืองเข้ม และเนื้อในดำ





(249) ข้าวลืมผัว เปลือกคล้ำ และเนื้อในดำ





(250) ข้าวจากป้าห่าน ...Black Burry เปลือก และเนื้อ ดำสนิท





(251) เนื้อข้าวสีดำสี่สายพันธุ์ หอมนิล....ไรซ์เบอร์รี่ ลืมผัว... Hans Burry…..

ข้าวพันธุ์อะไรครับลุง....เปลือกแห้งแล้วสีดำ เนื้อในสีดำ...






.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 16/09/2015 1:26 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 3 – ตอน 1 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
สวัสดีครับลุงคิม ....และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 3 – ตอน 1

ภูมิปัญญาข้าวนาบนพื้นที่สูง ของปกากะญอ


(1) ปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยรวมตัวกันอย่างหนาแน่นในพื้นที่ป่าเขาทางทิศตะวันตกของประเทศไทยตามบริเวณชายแดนไทย-พม่า ปกาเกอะญอได้เคลื่อนย้ายมาทางทิศตะวันออกประมาณ 200 ปีที่ผ่านมา

ปกากะญอในประเทศไทยแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ คือ สะกอ และโป จัดอยู่ในกลุ่มพม่า - ธิเบต ชาวปกากะญอตั้งถิ่นฐานอยู่ตามบริเวณหุบเขา ในระดับความสูงประมาณตั้งแต่ 500 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ดำรงชีพด้วยการปลูกข้าวและผักต่าง ๆ โดยการทำนาดำและการทำข้าวไร่แบบหมุนเวียน (กลับมาทำที่เดิมทุก 5-10 ปี) นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงหมู ไก่ วัว ควาย และช้าง เพื่อเป็นอาหารและทำพิธีกรรม นอกจากนั้นยังดำรงชีพด้วยการขายและรับจ้างใช้แรงงาน

แต่เดิมครอบครัวปกากะญอยึดถือการสืบเชื้อสายสืบทอดมาทางฝ่ายหญิงเป็นหลัก เมื่อมีการแต่งงานเกิดขึ้นฝ่ายชายจะย้ายไปอาศัยอยู่ในครอบครัวฝ่ายหญิง ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปบ้างตามความสะดวกของแต่ละฝ่าย ครอบครัวเป็นครอบครัวเดียวและถือระบบผัวเดียว-เมียเดียว ปกากะญอที่นับถือศาสนาพุทธจะมีการนับถือลัทธิบูชาผีร่วมด้วย ซึ่งแตกต่างจากปกากะญอที่นับถือศาสนาคริสต์


(2)

(3)

(4)
(2 – 4) สภาพพื้นที่ของข้าวนาที่สูงมีลักษณะพิเศษบางอย่าง คือ พื้นที่นาเป็นลักษณะแบบขั้นบันไดอย่างชัดเจน ความกว้างของกระทงนาขึ้นกับสภาพความลาดชันของพื้นที่และคันนามีความสูงแตกต่างจากนาพื้นราบ

อยู่ระหว่างหุบเขา อาศัยน้ำฝนและแหล่งน้ำตามธรรมชาติ มีการใช้ปัจจัยการผลิตค่อนข้างต่ำ ผลผลิตมีความแปรปรวนสูงโดยเฉลี่ย 200-600 กิโลกรัม/ไร่ พื้นที่ถือครอง 2-20 ไร่/ครัวเรือน ส่วนใหญ่ผลิตไม่พอเพียงกับการบริโภค ขึ้นอยู่กับผลผลิต พื้นที่ถือครองและขนาดของครัวเรือน

พันธุ์ข้าว :
ข้าวภาษาปกากะญอใช้คำว่า “บือ” พันธุ์ที่ปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมที่ผ่านการคัดเลือก โดยภูมิปัญญาของบรรพบุรุษเป็นมรดกสืบทอดกันมา ค่อนข้างมีความหลากหลายทางชีวภาพ การตัดสินใจในการเลือกใช้พันธุ์แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลและท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับปัจจัยบางอย่าง เช่น คุณภาพการหุงต้ม ผลผลิต ลักษณะและรูปร่างเมล็ด ทรงต้นข้าว สภาพนิเวศน์ของพื้นที่นา สภาพแวดล้อม รวมทั้งความเชื่อต่าง ๆ ส่วนใหญ่บริโภคข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก ได้แก่


(5)

(6)
(5 – 6) ข้าวกะเหรี่ยง 13 สายพันธุ์
พันธุ์บือโปะโละ, บือพะทอ, บือกิ, บือพะโด่ะ, บือแม้ว, บือกิโพ,
บือกวา, บือกอ, บือพึ, บือมูโป๊ะ บือเนอมู, บือซอมี, บือโซ, ฯลฯ


นอกจากข้าวเจ้ายังมีพันธุ์ข้าวเหนียว เช่น บือปิอีจอวะ บือปิอีปอซี แต่ปลูกกันเพียงเล็กน้อย

การเตรียมเมล็ดพันธุ์ :
ก่อนนำเมล็ดพันธุ์ไปตกกล้า จะใช้กระด้งฝัดทำความสะอาดเพื่อแยกเมล็ดดีและเมล็ดลีบออกจากกัน รวมถึงเมล็ดวัชพืชซึ่งอาจติดไปกับเมล็ดพันธุ์ อัตราเมล็ดพันธุ์ประมาณ 10 กิโลกรัมต่อพื้นที่ปักดำ 1 ไร่

การเตรียมแปลงกล้าและการตกกล้า :
เริ่มดำเนินการระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม - ต้นเดือนมิถุนายน ขึ้นอยู่กับว่าฝนมาช้าหรือเร็ว และปริมาณน้ำเป็นหลัก

การตกกล้ามี 2 วิธี
วิธีที่หนึ่ง เรียกว่า กล้าบกหรือกล้าดอย
แปลงนาที่ปริมาณน้ำไม่พอเพียงสำหรับการเตรียมแปลงกล้านิยมใช้วิธีนี้ซึ่งอาศัยน้ำฝนเป็นหลักเพื่อช่วยในการงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าวและให้ความชุ่มชื้นแก่ต้นกล้า การเตรียมแปลงกล้าจะเลือกพื้นที่สภาพไร่ใกล้ๆ แปลงนา แผ้วถางเผากำจัดวัชพืชและเตรียมดินเหมือนการปลูกข้าวไร่

ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวแห้งหว่านลงในแปลงกล้าใช้ดินหรือฝุ่นกลบบางๆ บางแห่งใช้เสียมด้ามยาวขุดดินเป็นหลุมระยะถี่ๆ ประมาณ 5 เซนติเมตร ลึก 2-3 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ขวางไปกับความลาดชันของพื้นที่ จากล่างขึ้นบน โรยเมล็ดข้าวแห้งเป็นแถว เมล็ดจะถูกกลบโดยดินที่เกิดจากการขุดหลุมในแถวด้านบน และการตกของฝนจะช่วยในการกลบเมล็ดได้อีกระดับหนึ่ง

วิธีที่สอง คือ กล้าน้ำหรือการตกกล้าในแปลงนา จะเลือกกระทงนาที่อยู่ด้านบนซึ่งง่ายต่อการระบายน้ำเข้าออก เตรียมดินเหมือนแปลงปักดำ แต่ขุดร่องระบายน้ำรอบๆ กระทงนา ทำการหว่านเมล็ดข้าวแห้งลงบนแปลงกล้าที่เปียก แล้วปล่อยน้ำเข้าขังแช่เมล็ดพันธุ์ทิ้งไว้ 2-3 วัน จากนั้นระบายน้ำทิ้ง เมล็ดที่ไม่สมบูรณ์จะไหลออกไปตามน้ำ แต่บางแห่งก็ใช้วิธีนำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำประมาณ 2-3 วัน หุ้มไว้ 1 วัน เมื่อเมล็ดงอกเป็นตุ่มตาจึงนำไปหว่านในแปลงกล้า ข้อแตกต่างของการตกกล้าแต่ละวิธี กล้าบกหรือกล้าดอย ต้นกล้าโตเร็วแข็งแรง ระบบรากดี ถอนง่าย ตั้งตัวเร็วหลังปักดำ เจริญเติบโตดี อายุเบากว่า เมล็ดข้าวที่ได้มีความสมบูรณ์ ผลผลิตสูง ข้อเสียใช้อัตราเมล็ดพันธุ์และพื้นที่ในการเตรียมแปลงกล้ามากกว่ากล้าน้ำ อายุกล้าสำหรับปักดำ กล้าดอย 25-30 วัน กล้าน้ำ 30-45 วัน

การเตรียมแปลงปักดำ :
ปัจจุบันการใช้แรงงานจากสัตว์ได้ลดลง รถไถเดินตามได้เข้ามามีบทบาทเป็นเวลาประมาณ 20 ปี ที่ผ่านมา ทำการไถดะ (ไถรอฝน) ตากดินและหมักทิ้งไว้ 2 สัปดาห์ ไถแปรและไถคราดปรับผิวดินให้สม่ำเสมอ บางพื้นที่แปลงนาอยู่ไกล และความกว้างกระทงนามีขนาดเล็ก รถไถไม่สามารถเข้าปฏิบัติงานได้จะใช้จอบขุดในการเตรียมแปลงปักดำ ระยะปักดำ 25 x 25, 30 x 30 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยยึดหลักดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง (ถี่สุด 15 เซนติเมตร ห่างสุด 45 เซนติเมตร) ปักดำจับละ 4-6 ต้น

การดูแลรักษา :
ในด้านการปรับปรุงดิน ปกากะญอจะปล่อยสัตว์เลี้ยงเข้าไปในแปลงนาหลังเก็บเกี่ยวข้าวเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยปกติทั่วไปไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี แต่การส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจเข้าไปในพื้นที่มีส่วนทำให้เกิดมีการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าว หลังปักดำหากข้าวตั้งตัวจะระบายน้ำออกจากแปลงนาทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน หรือจากการสังเกตต้นข้าวมีใบสีเขียวขึ้นกว่าเดิมจะระบายน้ำเข้าไปในแปลงนาใหม่ ควบคุมระดับน้ำในแปลงนาประมาณ 5-10 เซนติเมตร กำจัดวัชพืชโดยใช้มือถอนและสารกำจัดวัชพืช ส่วนใหญ่ไม่มีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลง บางแห่งนำเปลือกไม้ประดู่มาแช่น้ำ แล้วเทราดบริเวณต้นข้าวที่เป็นโรค สำหรับสัตว์ศัตรู เช่น หนู นิยมใช้กับดักจับเพื่อนำมาเป็นอาหาร

วิทยาการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว :
เก็บเกี่ยวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคม ก่อนการเก็บเกี่ยวจะระบายน้ำออกจากแปลงนาประมาณ 2 สัปดาห์ ใช้เคียวในการเกี่ยวข้าว มัดเป็นฟ่อนขนาดกำมือโดยใช้ตอกหรือใบข้าวที่ติดกับส่วนของลำต้น (เกี่ยวพันกำ) ตากไว้บนตอ ซัง ทิ้งไว้ 3-4 แดด นำมากองรวมตรงลานนวด ส่วนใหญ่นวดโดยใช้แรงงานคน เคยพบมีการใช้เครื่องนวดขนาดเล็กแบบจีน ทำความสะอาดเมล็ดและบรรจุลงกระสอบ ๆ ละประมาณ 25-30 กิโลกรัม เก็บผลผลิตเข้ายุ้งฉางโดยใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ (วัว ช้าง)

ปัจจุบันมีการใช้รถมอเตอร์ไซค์ หรือรถยนต์บรรทุก ชาวกะเหรี่ยงบางรายคัดเลือกกระทงนาที่ข้าวเจริญเติบโตดี เมล็ดสมบูรณ์ รอให้สุกแก่เต็มที่จึงจะเก็บเกี่ยวเมล็ดไว้ทำพันธุ์ บางรายปลูกข้าวมากกว่า 2 พันธุ์ จะแยกเมล็ดพันธุ์เก็บไว้ต่างหาก ที่เหลือจะนำมาปนกันเพื่อเก็บไว้บริโภค

การแปรรูปและผลิตภัณฑ์ :
การแปรรูปเป็นข้าวสาร ใช้ครกกระเดื่องหรือเรียกว่า “การตำข้าว” ในการตำข้าวจะนำเมล็ดข้าวมาตากแดดให้แห้งก่อนประมาณ 1 วัน เพื่อให้เมล็ดข้าวสารกะเทาะออกจากเปลือกได้ง่ายขึ้นและหักน้อย แล้วใช้กระด้งฝัดแยกแกลบออกอีกครั้งหนึ่ง บางท้องถิ่นมีโรงสีขนาดเล็กสำหรับสีข้าว ปริมาณข้าวสารที่ได้จะมากกว่าข้าวที่ได้จากการตำข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวใช้วิธีการหุงโดยวิธีไม่เช็ดน้ำ ชาวปกากะญอให้ความคิดเห็นว่า ข้าวที่สีจากโรงสีบริโภคแล้วอิ่มช้า นอกจากนี้ยังมีการใช้ข้าวแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ ได้แก่ สุราพื้นบ้าน ข้าวต้มมัด ข้าวปุ๊ก ฯลฯ



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 16/09/2015 11:16 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 3 ตอน 2 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ....และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 3 ตอน 2



ว่าด้วยปกากะญอ บ้านวัดจันทร์




“เราเป็นมนุษย์นี้ เราเป็นเพียงผู้อาศัยเขาอยู่ อาศัยเขากิน อาศัยเขาใช้ ทุกอย่างไม่ใช่ของเรา เพราะฉะนั้นเวลาเราจะใช้ จะกิน หรืออยู่ จะต้องบอกกล่าวแก่เจ้าของผู้ครอบครอง เขาจะได้เมตตาเอ็นดูให้เราอยู่ ให้เราใช้ ให้เรากิน อย่างไม่เดือดร้อน”


นายโจพอ ฮี่โข่(ผู้นำหมู่บ้านอาวุโส) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ป่าสนวัดจันทร์ -เรื่องราว ผืนดิน ป่าสนของปกากะญอมือเจะคี” แสดงให้เห็นถึงวิถีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเคารพคารวะ อันถือเป็นเอกลักษณ์และจุดเด่นของของชาวปกากะญอแห่งวัดจันทร์ที่น่ายกย่อง





(1)



(2)

(1 – 2) ชาวปกากะญอแห่งบ้านวัดจันทร์ หรือที่คนเมืองมักเรียกว่า “กะเหรี่ยงวัดจันทร์”(กะเหรี่ยงเป็นภาษาไม่สุภาพ)


เป็นชนเผ่าที่โดดเด่นขึ้นชื่อในเรื่องของคนอยู่กับป่าอย่างพึ่งพาพอเพียง พวกเขามีวิถีความเชื่อ การนับถือผี การเคารพบูชาผืนป่ามานับแต่บรรพบุรุษเป็นร้อยๆปี เปรียบผืนป่าดังชีวิตที่ผูกพันมาตั้งแต่แรกเกิด


โดยเมื่อทารกชาวปกากะญอ คลอดออกมา สายรกที่ตัดออกจะถูกผู้เป็นพ่อบรรจุใส่กระบอกไม้ไผ่ ปิดฝาด้วยเศษผ้าแล้วนำไปผูกไว้ตามต้นไม้ป่ารอบหมู่บ้าน พร้อมอธิษฐานให้เด็กน้อยเติบโตขึ้นมาแข็งแรงดังต้นไม้ และห้ามตัดโดยเด็ดขาด เพราะเชื่อว่าขวัญของทารกจะอาศัยอยู่ ณ ต้นไม้ที่นำสายรกไปผูก




(3)



(4)

(3 – 4) นอกจากนี้ชาวปกากะญอบ้านวัดจันทร์ ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับผืนป่า ขุนเขา ต้นไม้ สายน้ำ และธรรมชาติต่างๆอีก อาทิ เชื่อว่าป่ามีวิญญาณสิงสถิตอยู่, ต้นโพธิ์ ต้นไทร เป็นต้นไม้ของภูตผี ห้ามตัดต้นไม้ทั้งสองโดยเด็ดขาด,


ป่าต้นน้ำลำธารเป็นป่าหวงห้าม ห้ามเข้าไปทำไร่หรือห้ามแม้แต่จะตัดมาปลูกสร้างบ้านก็ไม่ได้, แม่น้ำลำธารทุกสายมีเจ้าของ คือ “ผีน้ำ”, “วิญญาณน้ำ” หรือที่เรียกว่า “นาที” และอื่นๆอีกมากมาย


จากตัวอย่างความเชื่อต่างๆเกี่ยวกับการนับถือผี นับถือป่าเขาธรรมชาติของชาวปกากะญอ ใครหลายๆคนอาจมองว่า เชยล้าหลัง ล้าสมัย แต่สำหรับผมนี่กับเป็นสิ่งที่ช่วยกำกับให้ป่าเขา ต้นไม้ สายน้ำดำรงคงอยู่ ชนิดที่ผู้ที่คิดว่าตัวเองศิวิไลซ์ไม่อาจเข้าใจและไม่อาจทำได้




(5)



(6)

(5 – 6) “มือเจะคี” หรือที่คนเมืองเรียกเพี้ยนเป็น “มูเส่คี” หมายถึงต้นน้ำแม่แจ่ม เป็นคำที่ชาวปกากะญอใช้เรียกขาน “ป่าสนวัดจันทร์” หรือ “ป่าสนบ้านวัดจันทร์” ผืนป่าที่มีความผูกพันกับพวกเขามาช้านาน





(7) ป่าสนวัดจันทร์ เป็นป่าสนธรรมชาติมีพื้นที่กว้างใหญ่กว่าแสนไร่ นับเป็นป่าสนตามธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผืนป่าที่นี่เป็นป่าต้นน้ำ ต้นทางของลำห้วยเล็กๆสำคัญหลายสายก่อนจะไหลไปรวมกันเป็นต้นน้ำแม่แจ่ม ที่วันนี้ผืนป่าต้นน้ำแม่แจ่มบางส่วนกำลังจะถูกนักการเมืองชั้นเลวบางคนผลักดันให้สร้างเขื่อนอย่างสุดลิ่ม (ไม่มีประสบการณ์จริงๆ)





(8 )



(9)

(8 - 9) ในอดีตนับเป็นร้อยปีมาแล้ว ป่าสนวัดจันทร์เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชาวปกากะญอ เป็นที่ตั้งของชุมชน“บ้านวัดจันทร์” หรือ หมู่บ้านมือเจะคีแห่งขุนเขาของชาวปกากะญอ





(10) บ้านวัดจันทร์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ก่อนที่ทางการจะพัฒนาแยกตัวออกมาเป็น “อำเภอวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ” (แต่ชาวปกากะญอ เรียกว่าอำเภอ มือเจะคี) อำเภอลำดับที่ 878 ของเมืองไทย ในปี พ.ศ. 2551 ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอกัลยาณิวัฒนา” ตามนามพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จากการขอพระราชทานโดยกระทรวงมหาดไทย


อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่ ปัจจุบันมี 3 ตำบลคือ ต.แจ่มหลวง จ.บ้านจันทร์ และ ต.แม่แดด มีสภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นผืนป่าและภูเขาสูงชัน บนระดับความสูง 1,000 - 1,500 เมตร ซึ่งมีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี


อ.กัลยาณิวัฒนา มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาผังเมืองด้วยแนวคิด “อำเภอเล็กในป่าใหญ่ ดำรงรักษาวิถีชนเผ่า ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนด้วยเกษตรที่สูง และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศด้วยแนวทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” นอกจากนี้อำเภอนี้ยังถูกภาครัฐคาดหวังให้เป็นดัง “อำเภอในฝัน” อีกด้วย





(11) อ.กัลยาณิวัฒนา หรือที่หลายๆคนมักติดเรียกขานชื่อเดิมว่า “อ.วัดจันทร์ฯ” ยังคงเป็นดินแดนสงบงาม เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบความสงบ รักธรรมชาติ และต้องการพักผ่อนในบรรยากาศสบายๆ


อำเภอแห่งนี้มีศูนย์รวมจิตใจอยู่ที่ “วัดจันทร์” ที่สันนิษฐานว่ามีอายุเก่าแก่กว่า 300 ปี ปัจจุบันวัดแห่งนี้กำลังสร้างโบสถ์หลังใหม่ โดยใช้ไม้เป็นส่วนประกอบหลัก ฝาและพื้นที่ด้วยไม้สนในพื้นที่เกือบจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว





(12) สำหรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญอีกแห่งหนึ่งใน อ.กัลยานิวัฒนา ก็คือ “พระธาตุจอมแจ้ง” ที่มีความเกี่ยวโยงกับตำนานการสร้างเมือง


พระธาตุจอมแจ้งเป็นพระธาตุองค์เล็กๆสีทองอร่าม ตั้งอยู่บนเนินเขาที่มีชัยภูมิดีเยี่ยม เพราะเมื่อขึ้นไปยืนบนนั้นมองลงมาจะเห็นวิวทิวทัศน์ของทุ่งนา ป่าสน และชุมชนในอำเภอกัลยาได้อย่างกว้างไกล สวยงาม นับเป็นภาพวิวทิวทัศน์ที่แสดงถึงความเป็นตัวตนของอำเภอวัดจันทร์ได้เป็นอย่างดี





(13) ใน อ.กัลยานิวัฒนา ยังมี “ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์” หรือ “โครงการหลวงวัดจันทร์” เป็นอีกหนึ่งสถานที่เด่นประจำอำเภอ


โครงการหลวงวัดจันทร์ ก่อกำเนิดขึ้นหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรชาวเขาในเขตหมู่บ้านวัดจันทร์ พระองค์ทรงทราบถึงความยากลำบากของชาวเขาในพื้นที่ จึงมีพระราชดำริให้มีการพัฒนาบ้านวัดจันทร์และหมู่บ้านใกล้เคียงเพื่อก่อตั้ง โครงการหลวงแห่งนี้ขึ้น เพื่อช่วยให้สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้ราษฎร เพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น


ที่นี่เป็นแหล่งปลูกพืชผลเมืองหนาวหลากหลาย อาทิ สตรอเบอร์รี่ เคพกูสเบอร์รี่(โทงเทงฝรั่ง,ระฆังทอง) อะโวคาโด กีวีฟรุต บัตเตอร์นัต บ๊วย ฯลฯ ให้เลือกซื้อตามฤดูกาล โดยมี 2 ผลิตผลเด่นคือ ฟักทองญี่ปุ่นกับฟักทองจิ๋วที่คนรักฟักทองไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง





(14) สำหรับจุดที่ถือเป็นไฮไลท์ในการเที่ยวชมบรรยากาศของป่าสนสลับสีในพื้นที่ อ.กัลยานิวัฒนา ก็คือที่ “โครงการหลวงบ้านวัดจันทร์ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้(อ.อ.ป.)” แห่ง ต.บ้านจันทร์ หรือที่เรียกขานกันสั้นๆว่า “อ.อ.ป. วัดจันทร์” ที่ถือเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวไฮไลท์ของ อ.กัลยานิวัฒนา


อ.อ.ป.วัดจันทร์ เป็นคนละส่วนกับโครงการหลวงวัดจันทร์ที่ผมกล่าวถึงในเบื้องต้นแต่คนมักเข้าใจสับสนว่าเป็นที่เดียวกันเพราะมีชื่อโครงการหลวงเหมือนกัน


ที่นี่เป็นพื้นที่สวนป่าที่มีการจัดสรรพื้นที่ด้านงานวิชาการ การอนุรักษ์ การพัฒนาเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวเข้าไว้ด้วยกัน ภายในมีการจัดภูมิทัศน์จัดสวนสวยอย่างร่มรื่นสวยงามเหมาะต่อการขี่จักรยานเที่ยวชมอย่างเพลิดเพลิน มีสะพานไม้ที่สร้างกลมกลืนไปกับธรรมชาติเป็นจุดที่เหมาะต่อการเดินละเลียดชมบรรยากาศ และมีบ้านพักราคาเยา บรรยากาศดีไว้บริการ


ภายในโครงการหลวงวัดจันทร์ยังมีป่าสนสวยๆให้เที่ยวชม และมีบ้านพักบรรยากาศดีราคาเยาให้เลือกพัก นับเป็นอีกหนึ่งโครงการใต้พระบารมีที่พ่อหลวงทรงทำเพื่อพสกนิกรชาวไทย


อ.กัลยานิวัฒนา ยังมีอีกหนึ่งเอกลักษณ์อันชวนสัมผัสคือ “ป่าสน” ซึ่งล่าสุดทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ได้ชูกิมมิค “ป่าสนสลับสี” มาเป็นจุดดึงดูดทางการท่องเที่ยวภายใต้โครงการ “Dream Destination - กาลครั้งหนึ่ง...ต้องไป” โดยช่วงเวลาที่จะได้เห็นภาพความงามของป่าสนสลับสีได้อย่างเด่นชัด ก็คือในช่วงป่าเปลี่ยนสีที่เหล่าไม้ป่าเต็งรังจะเปลี่ยนสีเป็น เหลือง ส้ม ชมพู แดง ขึ้นมาแซมกับสีเขียวขจีของป่าสน




(15)



(16)

(15 – 16) สำหรับต้นเมเปิ้ลที่ อ.อ.ป.วัดจันทร์ ช่วงนี้เปลี่ยนสีเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 และจะเปลี่ยนสีอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสภาพฝน ถ้าฝนมีใบเมเปิ้ลที่นี่จะเปลี่ยนสีไปจนถึงประมาณช่วงต้นหรือกลางเดือนกุมภาพันธ์





(17) อีกทั้งยังมีอ่างเก็บน้ำที่เป็นจุดชวนเที่ยวชมสำคัญ โดยเฉพาะยามเช้าของช่วงหน้าหนาว เหนืออ่างเก็บน้ำแห่งนี้จะมีสายหมอกลอยล่องเหนือผิวน้ำเป็นดังภาพชวนฝันอันน่าตื่นตาตื่นใจ

นอกจากนี้ในช่วงกลางฤดูหนาวอย่างนี้ ต้นเมเปิ้ลที่ปลูกไว้ในพื้นที่ริมสระน้ำของ อ.อ.ป. จะพร้อมใจกันเปลี่ยนสีจากเขียว เป็นเหลือง ส้ม แดง และน้ำตาล ให้สีสันอันหลากหลายตักดับแผ่นฟ้า ตกกระทบแผ่นน้ำ และสลับแทรกไปในฉากของผืนป่าเขียวขจี จนได้ชื่อว่า “ป่าสนสลับสี”





(18 ) ขณะที่ต้นนางพญาเสือโคร่งหรือซากุระเมืองไทยที่ปลูกอยู่ไม่ไกลกัน เมื่อถึงเวลาก็จะออกดอกสีชมพูสดใสประดับแต่งพื้นที่ ให้บรรยากาศคล้ายเมืองนอก อย่างเกาหลี ญี่ปุ่น ยังไงยังงั้น ชนิดที่หลายคนเห็นแล้วคิดไม่ถึงว่าที่นี่คือเมืองไทย





(19) ใน อ.กัลยานิวัฒนา จ.เชียงใหม่ นอกจากที่พักที่ อ.อ.ป และ โครงการหลวงแล้ว ยังมีที่พักเอกชนน่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งได้รับความนิยมจากทั้งงคนไทยและชาวต่างชาติที่อยากสัมผัสกับบรรยากาศวิถีชาวบ้านไม่น้อยนั่นก็คือ “ปกาเกะญอ ลอจ์ด”(Karen Hill Tribe Lodge) ที่อยู่ที่บ้านห้วยยาใต้ ห่างจากตัวอำเภอวัดจันทร์ประมาณ 16 กม. ในบรรยากาศที่พักเรือนแถวไม้ยกสูง ไม่มีเครื่องปรับอากาศ เป็นธรรมชาติ ในชุมชนปกากะญอที่แวดล้อมไปด้วยทุ่งนาและป่าเขา

ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูล แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆในจังหวัดเชียงใหม่ เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวใน อ.กัลยานิวัฒนา รวมไปถึงที่พัก ร้านอาหาร และการเดินทาง ได้ที่ ททท. สำนักงานเชียงใหม่ โทร. โทรศัพท์. 0-5327-6140-2


.


เครดิทข้อมูลจาก อินเตอร์เนต และ ปิ่น บุตรี


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 19/09/2015 4:16 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอน 3 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ....และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ตอน 3


ภาค 3 ตอน 3 ปกากะญอ ปลูกข้าว





(1)



(2)



(3)



(4)

(1 – 4) เมื่อเข้าหน้าฝน ชาวนาที่ไหน ๆ เค้าก็ทำนาปลูกข้าวกันทั้งนั้น ดูรูปพักสายตาไปพลาง ๆ ...ไม่มีคำอธิบายครับ ขี้เกียจ......ก็เหมือนเดิม ๆ นั่นแหละ ดูแล้วก็คิดไปด้วยก็ดีครับว่า นาผืนเล็ก ๆ บนดอย เค้าทำยังไง





(5) บ้านวัดจันทร์ยามหน้าฝน





(6) ถอนวัชพืชในนาข้าว....




(7)



(8 )



(9)

(7 – 9) นาขั้นบันไดแบบธรรมดา ๆ ไม่ผาดโผน ยังมีแบบ ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา อดใจรอครับ




(10)



(11)



(12)



(13)



(14)



(15)

(10 – 15 ) จากนาขั้นบันได น้ำก็ไหลลงมานาพื้นราบ ...ทั้งบนดอย และพื้นราบ ก็มีน้ำทำนากันถ้วนหน้า




(16)



(17)

(16 – 17) คนไทยทำนาหว่าน....ปกากะญอ ทำนาดำครับ....นาดำ กับนาหว่าน....ต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ก็ต่างกันลิบแล้ว ....





(18 ) เจ้าประคุณลุนช่อง ปิ่นโตเถานี้ ใครมาวางลืมไว้ กินได้ทั้งตำบลมั๊งเนี่ย....


.

เครดิท .- ขอบคุณเจ้าของรูป ใครเป็นใครบ้าง ขอขอบคุณนะครับ



คราวหน้า ไปดู พืช ผัก ผลไม้บนดอยกันหน่อยนะครับ.




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 01/12/2015 5:11 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 ภาค 3 (1.3) ตอน พืชผักและผลไม้บนดอย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ....และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอยภาค 3(1.3)ตอน พืชผักและผลไม้บนดอย


ภาค 3 (1.3) พืชผัก ผลไม้บนดอย


เปลี่ยนบรรยากาศจากข้าวไปดูชาวบ้านปลูกพืชผักบนดอยที่ไม่ใช่งานของโครงการหลวงกันบ้างนะครับ

ความจริงพวกเค้าก็ไปอบรม เรียนรู้ วิธีการต่าง ๆ จากโครงการหลวงนั่นแหละ แล้วเด็กดอยบางคน เค้าก็เข้าไปทำงานในโครงการหลวง สองสามปี ก็ลาออกมาทำบนที่ดินของพ่อ แม่ ปู่ ตา ย่า ยาย น่าจะแถมพ่อตา แม่ยาย พ่อผัว แม่ผัวด้วยน่ะนะ ....

ทำเป็นเล่นไป เด็กดอยรุ่นใหม่ จบ ตรี โท กันทั้งนั้น เอกยังมี ขี้หมูขี้หมาก็จบ ม.6 ไม่ก็ปวช. ปวส. แล้วก็อย่าไปดูถูกว่าคนป่าคนดอยนะครับ จะอายเค้า...อยู่บ้านกระต๊อบซอมซ่อ มีโฟร์วีล กันแทบทุกบ้าน เซลล์ขายรถ เห็นกะเหรี่ยงลงดอยหิ้วถุงเข้าในโชว์รูม จะทิ้งไอ้พวกใส่สูทผูกไท้ที่มาดูรถ รีบวิ่งมาต้อนรับแทบจะอุ้ม เพราะพวกเค้าซื้อรถแต่ละคัน เงินสด ๆ เป็นฟ่อน ไม่มีการผ่อน ซื้อเสร็จ เติมน้ำมันให้เต็มถังอีกด้วย... ไอ้ที่ใส่สูทมาดูรถน่ะ เงินผ่อน รูดบัตรเครดิท ทั้งน๊านนนน....





(1) ลืมถามครับว่า ต้นอะไร ถึงจะถาม แล้วเค้าบอกมา ผมก็คงไม่รู้อยู่ดี เพราะรุ่นปูนนี้ คงตอบเป็นภาษากะหรี่ยง





(2) พี่ไทยปลูกผักด้วยการหว่านเมล็ด แต่นี่กะเหรี่ยงดอยทำตามแนวลุงคิมเป๊ะ ๆ เค้าปลูกผักแบบประณีต เพาะชำแล้วถอนมาปลูกทีละต้นอ่ะครับ ผักงามอวบอ้วน เป็นแถวเป็นแนว ได้ระดับ สังเกตไม่ไผ่ผ่าซีกเล็ก ๆ ที่วางนอนไปตามแนวแปลงแทนการขึงเชือก ใช้ได้หลายรุ่น ประหยัดทุกรูปแบบ ไม้ไผ่มีเยอะแยะในป่า ฟรี.... ปลูกแบบนี้ ประหยัดเมล็ดพันธุ์...ดูแลรักษาง่าย โดยเฉพาะ หญ้า แทบจะไม่มีขึ้นให้เห็น บางคนปลูกผักปล่อยหญ้าขึ้นท่วม บอกว่าไม่มีเวลา ไม่มีเวลาแล้วดันมาปลูกผัก แล้วคนบนดอย เค้ามีเวลาในวันหนึ่ง ๆ มากกว่าพวกเรา ๆ หรือครับ ....สูตรลุงเลยแหละ ยะนักได้น่อย ยะน่อยได้นัก แถมผักมีคุณภาพซู๊ด ๆ





(3) แปลงนี้ ใช้พื้นที่ได้ประโยชน์เต็มพิกัด....ปลูกผักบนร้าน ใต้ร้านปลูกผักที่ไม่ต้องการแสงมาก ใช้แปลงผักข้างบนช่วยบังแสง แนวคิดของคนบนดอยนะเนี่ย...แต่อย่าลืมว่า พวกเค้าส่วนใหญ่ผ่านประตูโครงการหลวงมาแล้ว





(4) แต่ก่อนเค้าก็ใช้ปลูกผักด้วยการหว่านเมล็ด จากการเรียนรู้ เห็นด้วยตา ทำด้วยมือ สมคำพูดลุงคิมที่ว่า กูทำกับมือ ... ดินต้องมาก่อน ดินต้องมาก่อน และดินต้องมาก่อน...ถ้าเตรียมดินไม่ดีก่อนปลูก ผักจะงามขนาดนี้ละหรือ





(5) ผักใบพรุนแบบนี้ ปลอดสารเคมีและยาฆ่าแมลงแน่ ๆ แต่อ่อนสมุนไพรไปหน่อย หรือสมุนไพรพ่นมาไม่ถึง การทำเป็นแปลงใหญ่ จะไห้ดีเต็มร้อย แบบนักวาดฝัน 1 + 1 = 2 มันเป็น Mission ที่ Impossible ครับ มันก็มีหลงหูหลงตาบ้างละน่า




(6)



(7)

(6 – 7) อยู่บนดอย ต้องทำโรงเรือนด้วยหรือ....ลุงคิมเคยพูดถึง ผักแจ๊คพอท ...นี่แหละครับ ผักนอกฤดู หรือผักแจ๊คพอท แล้วสังเกตโรงเรือนของเค้า ราคาคาแค่หลักร้อย ไม่ใช่หลักล้าน แบบที่ลุงเคยพูดถึง ทำไปทำมา เจ๊งไม่เป็นท่า....แล้วอีกอย่าง ผักนอกฤดู มันดูแลยาก เค้าทำไม่มากจนเกินกำลังที่จะดูแล จากโลละ 10 ตันละ 10,000 ในเวลาปกติ พอทำนอกฤดูเป็นโลละ 100 ตันละ 100,000 ฟังแล้วกูจะบ้าตาย

อาปาจาอาม๊า..โย๊ห้าแปนือ...(ผมจะเอามั๊ย ยกให้แปลงนึง)
จะให้แปลงไหน

แปของแม่หม้าโตนู้....(แปลงของแม่หม้ายตรงนู๊น)
ไอ้บ้าโชเล่ สูหยุดเลย พอเลย พูดดีไป เดี๋ยวจะบอกมิเส่ย ว่าสูแอบไปบ้านสาวเชียงตุง

ป่า ๆๆ เฮา ม่าด้าปา ม่ามีโคเห (เปล่า ๆ ๆ เฮาไม่ได้ไป ไม่มีคนเห็น)

เฮาเห็นก็แล้วกัน
สูตาดี แอ่เหตอหนาว๊า อย่า ๆๆๆ ขอร้อ ๆ ยาม่าอย่าตา ( สูตาดี แอบเห็นตอนไหนว๊ะ อย่า ๆๆๆ ขอร้อง ๆ ยังไม่อยากตาย)




(8 )



(9)



(10)

(8 – 10) บนดอยก็มีผักไฮโดรนะครับ ...เล่นปลูกกันบนหลังคาเลย เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ได้กินผัก ช่วยให้ภายในบ้านลดความร้อนจากหลังคา แต่ผักไม่ค่อยงามเท่าที่ควร เพราะไอร้อนจากกระเบื้องลอยขึ้นมา





(11) นี่ถึงจะจ๊าบ...มีครบหมดทุกอย่าง ไม้ดอก ไม้แดก ไม้ดู ไม่ดม มีสีสันที่สดใสอีกต่างหาก....




(12)



(13)



(14)



(15)

(12 – 15) ไม้ต้นนี้ ใครจะคิดว่าจะปลูกได้ผลในเมืองไทยมีคนเดียว พระองค์เดียวเท่านั้น พ่อหลวงของชาวดอย...ปลูกอยู่ในบริเวณสวนทดลองของ ออป.(องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้) บ้านวัดจันทร์ครับ



(16)



(17)



(18 )



(19)



(20)



(21)

(16 – 21) น้น และลูกสาลี่ ครับ ปลูกได้ผลในเมืองไทยนี่แหละ ลูกดกดีซะด้วย





(22) นี่เป็นต้นเมเปิ้ล ในศูนย์ทดลอง ของ ออป. เช่นกัน




(23)



(24)

(23 – 24) นี่เป็นลูกเมเปิ้ลครับ เหมือนลูกเงาะเด๊ะเลย เค้าไม่ได้เอาไว้กินลูก แต่เอาไว้ทำน้ำตาลจากต้นเมเปิ้ลครับ ตอนนี้ใบยังเขียว ถึงตอนต้น ๆ ปีมกรานั่นแหละ ป่าจะเปลี่ยนสี





(25) ใบเมเปิ้ลจะเปลี่ยนจากเขียว เป็นเหลืองอมเขียว เหลือง ส้ม แล้วก็แสดแสบตาไปทั้งป่า




(26)



(27)



(28 )

(26 – 28 ) สตรอเบอร์รี่ ปลูกบนราง ยกร้านปลูกแบบลอยฟ้า ลูกดกเป็นบ้าเป็นหลัง ลูกสวย เก็บง่าย ไม่มีการเสียหาย




(29)



(30)

(29 – 30) อันนี้ปลูก แบกะดินแบบดั้งเดิม ใครชอบแบบไหน ก็แล้วแต่ทุนทรัพย์ ก็ว่ากันไป




(31)



(32)



(33)

(31 – 33 ) องุ่นไร้เมล็ด “ แรกๆ ถือว่าปลูกยาก มีปัญหาเชื้อราน้ำค้าง เพลี้ยไฟ ต้องหมั่นดูแลใกล้ชิดจึงใช้ทั้งยาสูบ สะเดา พืชสมุนไพรอื่นๆ ไล่แมลง เพราะต้องการเน้นการผลิตแบบอินทรีย์ ปลอดสาร เพื่อสุขภาพของผู้บริโภคและคนในครอบครัว ”


ต่อมาปลูกองุ่นแบบก้างปลา ตามคำแนะนำของ อ.ชินพันธ์ ธนารุจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขาไม้ผล ที่ปรึกษาโครงการหลวง เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงและลดต้นทุน


"เดิมปลูกในโรงเรือนยาว 45 เมตร ปลูก 40 ต้น ให้ผลผลิต 200 กิโลกรัม ทว่า เมื่อปลูกแบบก้างปลาในโรงเรือนเดิม ตัดออกไป 7 ต้น พบว่าผลผลิตได้ถึง 350 กิโลกรัม จากที่จ้างคนงาน 14 คนดูแล ตอนนี้ใช้เพียงแรงงานในครอบครัว ทั้งตัดกิ่ง แต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ให้เสร็จได้เพียงวันเดียว ทำให้ลดค่าจ้างได้ครั้งละ 5,000 บาท”


หลังเก็บผลผลิตแล้วจะพักต้นองุ่นงดให้น้ำ 20 วัน เพื่อบังคับให้องุ่นออกดอก จากนั้นจึงให้น้ำ ใส่ปุ๋ย บำรุงต้น เมื่อผลผลิตโตเต็มที่ 120 วัน จึงตัดเก็บผลผลิต ตามออเดอร์ สนนราคาที่กิโลกรัมละ 250 บาท


เครดิท . ภาพจากสวนองุ่น Black Opal ขอบคุณครับครับ





(34) เห็นวางอยู่บนแคร่ ไม่เห็นเจ้าของ ไม่รู้ว่าแอบไปปลูกไว้ที่ไหน....เลย แชะ ๆๆ เก็บรูปมาฝากแล้วกันครับ





(35) ผักอีหยังบ่ฮู๊ ต้นสีแดงสวยดี เก็บภาพมาฝาก





(36) ไม่รู้จักชื่อครับ เห็นสวยดี ขอยืมมาอวดนะครับ

รูปนี้เครดิทภาพจาก เพื่อนพร้อม ขอบคุณครับ





(37) ขึ้นต้นด้วยแปลงผัก ก็ลงท้ายด้วยแปลงผัก สวยมั๊ยล่ะครับ...สลับสีได้สวยจริง ๆ ...การปลูกสลับชนิดผัก ไม่ใช่เพื่อดูสวยงามอย่างเดียวมีประโยชน์ในการป้องกันและขับไล่แมลงด้วย...ผักแต่ละชนิด แต่ละสี มีกลิ่นที่แมลงไม่พึงประสงค์ แตกต่างกัน ภูมิปัญญากะเหรี่ยงชาวเขาครับ ส่วนชาวเรา สารเคมี ยาฆ่าแมลงลูกเดียว....




.


คราวหน้า ฤดูทำนาที่ ชูตองเป้


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 25/10/2016 11:18 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 16/09/2016 11:01 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 ภาค 3(1.4)ฤดูทำนาที่ข้างสะพานซูตองเป้ แม่ฮ่องสอ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ....เพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 ภาค 3(1.4) ฤดูทำนาที่ข้างสะพานซูตองเป้ แม่ฮ่องสอน

ภาค 3 (1.4 )






(1) วัดพระธาตุดอยกองมู มองจากมุมสูง จะมองเห็นทางวิ่งสนามบินแม่ฮ่องสอน




(2) พระจากสวนธรรมภูสมะ เดินบิณฑบาตรบนสะพานชูตองเป้




(3) ศรัทธาจากชาวบ้าน มาใส่บาตรบนสะพานนี้ครับ




(4) พระท่านรับบิณฑบาตเสร็จ ท่านก็เดินกลับวัดซีครับ




(5)


(6)


(7)


(8 )


(9)

(5 – 9) "สะพานซูตองเป้" สวนธรรมภูสมะ จ.แม่ฮ่องสอน สะพานไม้ไผ่แห่งศรัทธา เกิดคอสะพานทรุด จากเหตุอุทกภัย ได้ซ่อมแซมเสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมเปิดรับนักเดินทางจากทั่วไทยอีกครั้ง (ถ่ายเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2558)

www.unseentourthailand.com



(10)


(11)


(12)


(13)


(14)


(15)


(16)

(10 – 16) ปลูกข้าวข้างสะพานชูตองเป้....



(17)


(18 )

(17 – 18 ) ความเขียวขจีของต้นข้าว ข้างสะพานชูตองเป้





(19) ทางเดินลงเขาจากสวนธรรมภูสมะ....


ภาพจากแฟนเพจ: Waritchart Fiat Panchoo
www.facebook.com/waritchart

.

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 25/10/2016 11:36 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 ภาค 3 (1.5) นาขั้นบันได ตอนที่ 1 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ....เพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 2 ภาค 3 (1.5) นาขั้นบันได ตอนที่ 1


ภาค 3 (1.5 ) ดูสวยสบายตาดีจัง





(1)


(2)


(3)


(4)


(5)


(6)


(7)


(8 )


(9)


(10)

(1 - 10) นาขั้นบันได....ดูมันก็สวยดี....แต่เวลาทำจริง ๆ ยากครับ...เวลาแบกปุ๋ยขึ้นไปใสข้าว เวลาเกี่ยวแล้วแบกข้าวลงจากดอย ไม่ง่ายอย่างที่คิด....




(11) ภาพนี้เป็นไร่ชาบนดอยครับ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 10/11/2016 10:06 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค3 นาขั้นบันได 2 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ....เพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค3 นาขั้นบันได 2

ภาค 3 (1.6 ) ขอถวายอาลัย ไม่ยิ่งใหญ่ แต่ด้วยใจทั้งหมดที่มี





.(1) ขอถวายอาลัย ไม่ยิ่งใหญ่ แต่ด้วยใจทั้งหมดที่มี ทั้ง โรงเรียนมี นักเรียนทั้งหมด 24 คน ในรูปมี 21 คน ขาดไป 3 คน คือ 2 คนช่วยจับบันได อีกคนปีนบันไดขึ้นไปเพื่อถ่ายมุมสูงรูปนี้



ไปดูนาขั้นบันไดต่อละกันนะครับ.....



(2)


(3)


(4)


(5)


(6)


(7)


(8 )


(9) รูปนี้เป็นไร่ชาบนดอยครับ

(2 – 9) วิวสวย ดูแล้วสบายตา แต่ไม่สบายคนทำ ...
คนบนดอยไม่เห็นมีใครเค้าบ่นกันเลยว่า ข้าวราคาถูก เพราะต้นทุนเค้าไม่มาก และเค้าปลูกข้าวสำหรับคนกิน ไม่ใช่ปลูกข้าวทำแป้ง ทำเส้นก๋วยเตี๋ยว เค้าเกี่ยวเสร็จ ส่วนหนึ่งเก็บไว้กิน ส่วนที่เหลือ เก็บไว้ทำพันธุ์และสีข้าวออกมาขาย....เค้าทำกันมานานกาเลแล้ว....




(10) ทางตันนะครับ....เข้าผิดกันบ่อย เลยต้องเขียนป้ายบอก...




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 26/11/2016 9:56 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/11/2016 6:20 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

DangSalaya บันทึก:
สวัสดีครับลุงคิม ....เพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค3 นาขั้นบันได 2

ภาค 3 (1.6 ) ขอถวายอาลัย ไม่ยิ่งใหญ่ แต่ด้วยใจทั้งหมดที่มี





.(1) ขอถวายอาลัย ไม่ยิ่งใหญ่ แต่ด้วยใจทั้งหมดที่มี ทั้ง โรงเรียนมี นักเรียนทั้งหมด 24 คน ในรูปมี 21 คน ขาดไป 3 คน คือ 2 คนช่วยจับบันได อีกคนปีนบันไดขึ้นไปเพื่อถ่ายมุมสูงรูปนี้






เลข ๙ ไทย ภาษาไทย เอกลักษณ์ของไทย ดำรงไว้ ประกาศให้โลกรู้

แต่ไทยควรมี spirit ทำเลข 9 เลขอารบิด (อินเดีย ผู้คิด) หรือเลข IX เลขโรมัน (ไม่รู้ใครคิด) บ้าง
หรือตัวเลขเก้า 九 ภาษาจีน, เลขเก้า 九 ภาษาญี่ปุ่น, เลขเก้า 구 ภาษาเกาหลี ฯลฯ
หรือภาษาชาติอื่นๆที่มีในโลก
ทำคู่กับกับเลขไทย หรือ สลับแบบแปรอักษร ก็น่าจะดีนะ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 26/11/2016 9:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
DangSalaya บันทึก:
สวัสดีครับลุงคิม ....เพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค3 นาขั้นบันได 2

ภาค 3 (1.6 ) ขอถวายอาลัย ไม่ยิ่งใหญ่ แต่ด้วยใจทั้งหมดที่มี





.(1) ขอถวายอาลัย ไม่ยิ่งใหญ่ แต่ด้วยใจทั้งหมดที่มี ทั้ง โรงเรียนมี นักเรียนทั้งหมด 24 คน ในรูปมี 21 คน ขาดไป 3 คน คือ 2 คนช่วยจับบันได อีกคนปีนบันไดขึ้นไปเพื่อถ่ายมุมสูงรูปนี้






เลข ๙ ไทย ภาษาไทย เอกลักษณ์ของไทย ดำรงไว้ ประกาศให้โลกรู้

แต่ไทยควรมี spirit ทำเลข 9 เลขอารบิด (อินเดีย ผู้คิด) หรือเลข IX เลขโรมัน (ไม่รู้ใครคิด) บ้าง
หรือตัวเลขเก้า 九 ภาษาจีน, เลขเก้า 九 ภาษาญี่ปุ่น, เลขเก้า 구 ภาษาเกาหลี ฯลฯ
หรือภาษาชาติอื่นๆที่มีในโลก
ทำคู่กับกับเลขไทย หรือ สลับแบบแปรอักษร ก็น่าจะดีนะ


.


จู่ ๆ รูปหายไปเฉย ๆ เง็ง งงงันครับ

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Wildcat
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 17/09/2014
ตอบ: 19

ตอบตอบ: 07/12/2016 3:11 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุง....

น้าทิดแดง....

ตามอ่านอยู่ครับ....

กรุณาเขียนต่อด้วย กำลังหนุก...

ขอบคุณครับ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 22/01/2017 12:51 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย(ภาค 3) นาขั้นบันได 3 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ....เพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย(ภาค 3) นาขั้นบันได 3


ภาค 3 (1.7 )






(1)


(2)

(1 - 2) “ ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขด้วยกัน ในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น “





(3) เหนือคำบรรยาย....




(4)


(5)


(6)


(7)


(8 )


(9)


(10)


(11)


(12)


(13)


(14)


(15)


(16)


(17)

(4 – 17) จะมีใครซักกี่คน ที่ได้มีโอกาสเห็นภาพอันวิจิตรตระการตา จากนาข้าวขั้นบันไดบนดอยตั้งแต่คนชาวดอย เริ่มดำ จากข้าวใบเขียว จนถึงวันที่ข้าวสุก เหลืองอร่ามแบบนี้...



-----------------------------------------------------------------------------------


- กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย(ภาค 3) นาขั้นบันได 3
- จะมีใครซักกี่คน ที่ได้มีโอกาสเห็นภาพอันวิจิตรตระการตา จากนาข้าวขั้นบันไดบนดอยตั้งแต่คนชาวดอย เริ่มดำ จากข้าวใบเขียว จนถึงวันที่ข้าวสุก เหลืองอร่ามแบบนี้...


เยี่ยงนี้จักมีผู้นำชุมชน หรือใครสักคนหรือไม่ ที่มีแนวคิด THINK PLUS ขึ้นไปสู่ "เกษตร 4.0" ?



A MAN CALLSIGN KIM ZA GASS !



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ถัดไป
หน้า 7 จากทั้งหมด 8

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©