-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - น่าคิดนะครับลุง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

น่าคิดนะครับลุง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 14/01/2017 2:21 pm    ชื่อกระทู้: น่าคิดนะครับลุง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
แรงมากท่านพี่. ญี่ปุ่นวิจารณ์ไทย..เป็นเรื่องจริงที่เราต้องเอามาพิจารณาและแก้ไข อ่านให้จบนะแล้วส่งให้เพื่อนกลุ่มไลน์อื่นๆ และลูกหลานด้วย.......

วันนี้มาดูญี่ปุ่นวิจารณ์ไทยกันบ้าง อ่านแล้วแสบทั้งไส้และทั้งทรวงเลย....

เห็นทีคนไทยต้องกลับมาพิจารณาตนเองครั้งใหญ่แล้วครับ

=================================================

นายเซ็ทซึโอะ อิอุจิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่นประจำกรุงเทพ
(Japan External Trade Organization,Bangkok : JETRO Bangkok)

ระบุว่า ไทยอาจไม่เป็นประเทศที่น่าสนใจในการลงทุน เหมือนที่ผ่านมาในสายตาของนักลงทุนญี่ปุ่น โดยได้แสดงทรรศนะถึง “จุดอ่อน” ของคนไทยไว้ 10 ข้อ คือ

1 . คนไทยรู้จักหน้าที่ของตัวเองต่ำมาก
โดยเฉพาะ หน้าที่ต่อสังคม คือ เป็นประเภทมือใครยาวสาวได้สาวเอา เกิดเป็นธุรกิจการเมืองธุรกิจราชการ ธุรกิจการศึกษา ทำให้ประเทศชาติล้าหลังไปเรื่อยๆ

2. การศึกษายังไม่ทันสมัย
คนไทยจะเก่งแต่ภาษาของตัวเอง ทำให้ขาดโอกาสในการแข่งขันกับต่างชาติในเวทีต่าง ๆ ไม่กล้าแสดงออก ขี้อายไม่มั่นใจในตัวเอง จึงตามหลังชาติอื่น คนมีฐานะจะส่งลูกไปเรียนเมืองนอก เพื่อโอกาสที่ดีกว่า

3. มองอนาคตไม่เป็น
คนไทยมากกว่า 70% ทำงานแบบไร้อนาคตทำแบบวันต่อวัน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ น้อยคนนักที่จะทำงาน แบบเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน มีเป้าหมายในอนาคตที่ชัดเจน

4. ไม่จริงจังในความรับผิดชอบต่อหน้าที่
ทำแบบผักชีโรยหน้า หรือทำด้วยความเกรงใจ ต่างกับคนญี่ปุ่นหรือยุโรปที่จะให้ความสำคัญกับ สัญญาหรือข้อตกลงอย่างเคร่งครัด เพราะหมายถึงความเชื่อถือในระยะยาว ปัจจุบันคนไทยถูกลดเครดิตความน่าเชื่อถือด้านนี้ลงเรื่อยๆ

5. การกระจายความเจริญยังไม่เต็มที่
ประชากรประมาณ 60-70% ที่อยู่ห่างไกลจะขาดโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเอง และชุมชนซึ่งเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องส่งเสริม

6. การบังคับกฎหมายไม่เข้มแข็ง และดำเนินการไม่ต่อเนื่อง
ทำงานแบบลูบหน้าปะจมูก ปราบปรามไม่จริงจัง การดำเนินการตามกฎหมายกับผู้มีอำนาจ หรือบริวารจะทำแบบเอาตัวรอดไปก่อน ไม่มีมาตรฐาน

7. อิจฉาตาร้อน
สังคมไทยไม่ค่อยเป็นสุภาพบุรุษ เลี้ยงเป็นศรีธนญชัย ยกย่องคนมีอำนาจ มีเงินโดยไม่สนใจภูมิหลัง โดยเฉพาะคนที่ล้มบนฟูก แล้วไปเกาะผู้มีอำนาจ เอาตัวรอด คนพวกนี้ร้ายยิ่งกว่าผู้ก่อการร้าย ดีแต่พูด มือไม่พายเอาเท้ารานํ้า ทำให้คนดีไม่กล้าเข้ามาเพราะกลัวเปลืองตัว

8. เอ็นจีโอ ค้านลูกเดียว
เอ็นจีโอ บางกลุ่มอิงอยู่กับผลประโยชน์ บ่อยครั้งที่ต้องเสียโอกาสอย่างมหาศาล เพราะการค้านหัวชนฝา เหตุผลจริงๆ ไม่ได้พูดกัน

9. ยังไม่พร้อมในเวทีโลก
การสร้างความน่าเชื่อถือ ในเวทีการค้าระดับโลกยังขาดทักษะและทีมเวิร์คที่ดีทำให้สู้ประเทศเล็กๆ อย่างสิงคโปร์ไม่ได้

10. เลี้ยงลูกไม่เป็น
ปัจจุบัน เด็กไทยขาดความอดทน ไม่มีภูมิคุ้มกัน เป็นขี้โรคทางจิตใจ ไม่เข้มแข็ง เพราะการเลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน ไม่สอนให้ลูกช่วยตัวเอง ไม่กระตือรือร้น ในการช่วยตนเองขวนขวาย แสวงหาค้นหาตัวเอง และไม่สอนให้สำนึกผิดชอบต่อสังคม

-------!!!

แรงมากครับ และยอมรับทุกข้อ
คำถามคือ..แล้วเราจะ เริ่มต้นแก้ไขกันอย่างไรดีครับ เป็นหน้าที่คนไทยทุกคนนะครับ



http://www.komchadluek.net/news/politic/190603
.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/01/2017 6:20 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

ลักษณะเด่น และลักษณะด้อยของสังคมไทย
โดย สุชาติ หล่อโลหการ อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด


ความนำ
บทความนี้เขียนขึ้นโดยอาศัยโอกาสเล็กๆ น้อยๆ ที่ว่างเว้นจากการทำงานราชการที่ค่อนข้างจะยุ่งเหยิงไม่เว้นแต่ละวัน และมิได้มุ่งหมายให้เป็นบทความทางด้านวิชาการหากแต่มีวัตถุประสงค์จะให้เป็นเรื่องที่อ่านกันเล่นๆ พินิจพิเคราะห์แล้ววิพากษ์วิจารณ์กันไปในหมู่คนทำงานเพื่อต่อยอดความคิดเห็นซึ่งกันและกันให้เกิดการยอมรับความเป็นจริงในสังคมไทย เพื่อบรรลุเป้าหมายของการสร้างวัฒนธรรมที่ดีในครอบครัว องค์กร และหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาคราชการและเอกชน

เชื่อว่าท่านผู้อ่านที่เป็นผู้มีความรอบรู้ทางด้านศาสตร์ต่างๆ และมากด้วยประสบการณ์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว คงจะได้รับประโยชน์จากบทความนี้

และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวันได้บ้างตามสมควร

สภาพปัญหาหรือสมมติฐาน
เดิมสังคมไทยเป็นสังคมแบบเกษตรกรรม (Agriculture Society) โดยมีผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากถึงประมาณร้อยละ 70-80 ความผูกพันกับอาชีพเกษตรกรรม เช่น การทำนา ทำสวน ประมง หรือเลี้ยงสัตว์ก่อให้เกิดวิถีชีวิตการดำเนินธุรกิจและการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างเรียบง่าย (Easy Life) ขาดความดิ้นรนในเรื่องความเป็นอยู่หรือการทำมาหากิน เพราะประเทศไทยไม่เคยมีภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงบ่อยครั้งนัก (จะมีเพียงกรณีน้ำท่วมแหลมตะลุมพุก พายุเกย์ และเหตุคลื่นยักษ์สึนามิทางฝั่งทะเลอันดามัน)

ประกอบกับสภาพทางภูมิศาสตร์เหมาะแก่การเพาะปลูก พืชพันธุ์ธัญญาหารจึงมีความอุดมสมบูรณ์

สภาพความเป็นอยู่จึงผูกพันกับระบบครอบครัว หมายความว่า ครอบครัวคือจุดศูนย์กลางของการเชื่อมโยงในหมู่เหล่าญาติพี่น้อง สมาชิกในครอบครัวที่แข็งแรงก็จะคอยอุ้มชูคนที่อ่อนแอกว่าไม่ว่าด้านการเงิน การศึกษา หรือความเป็นอยู่ก็ตาม จึงเกิดสภาพการช่วยเหลือเกื้อxxxลกันในระบบครอบครัว และก้าวไกลไปถึงระบบธุรกิจการทำมาหากินก่อให้เกิดระบบอุปถัมภ์ (Patronagelism) ขึ้นมาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมไทย

นอกจากนั้น วิถีชีวิตของสังคมไทยยังยึดโยงกับศาสนา โดยคนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ การเชื่อในคำสอนทางพุทธศาสนาว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" หรือ "เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร" หรือ "แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร" สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยไม่นิยมการใช้กำลังหรือความรุนแรงและโกรธง่ายหายเร็ว หรือสังคมลืมเรื่องร้ายๆ อย่างง่ายๆ โดยถือว่าผู้กระทำความชั่วย่อมได้รับผลกรรมเองตามหลักศาสนา

จึงมีบ่อยครั้งที่สังคมไม่ลงโทษคนบางคนแม้ว่าบุคคลนั้นจะได้กระทำชั่วมีผลร้ายต่อสังคมอย่างรุนแรงก็ตาม

ครั้นต่อมา เมื่อสังคมไทยได้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม (Industrial Society) โดยรับอารยธรรมทางตะวันตกเข้ามาเกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพการงาน สังคมได้เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะตัวใครตัวมัน ขาดการพึ่งพาอาศัยเกื้อxxxลกัน ต่างคนต่างชิงดีชิงเด่น ไม่ว่าในเรื่องส่วนตัวหรือการประกอบธุรกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการได้มาซึ่งวัตถุนิยมและการบริโภคนิยม

ความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัวหรือสมาชิกในองค์กรธุรกิจจึงเริ่มมีความห่างเหินกันมากขึ้น ส่งผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่และก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองมากขึ้นเป็นลำดับ

ข้อเท็จจริง
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้สังคมไทยมีลักษณะเด่นและลักษณะด้อยแตกต่างกันไปโดยแยกพิจารณาได้ดังนี้

1. ลักษณะเด่นของสังคมไทย
1.1 เป็นสังคมที่มีน้ำใจต่อกัน ช่วยเหลือเกื้อxxxลกัน และมีความเอื้ออาทรต่อกันและกันเป็นอย่างมาก
1.2 ถือความเป็นพี่เป็นน้องกันเป็นหลักในการครองเรือนและครองงาน นับถือความอาวุโสทางวัยวุฒิและคุณวุฒิ
1.3 มีลักษณะของการประนีประนอมกัน (Conciliation) ไม่พยายามให้ข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งลุกลามใหญ่โตออกไป
1.4 สังคมมีความยืดหยุ่นไม่ปิดกั้นของใหม่
1.5 ยึดถือคำสอนทางพุทธศาสนามาใช้กับชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะจะเดินตามทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) และถือหลักว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว"

1.6 เป็นนักปฏิบัตินิยม (Pragmatism) คือ เป็นผู้คิดแก้ปัญหาต่างๆ ในทางปฏิบัติมากกว่าอาศัยหลักทฤษฎี และไม่ยอมแตกหักโดยยอมเสียหายประโยชน์ส่วนตัวบ้างเพื่อรักษาสิ่งดีงามหรือประโยชน์ส่วนใหญ่ไว้

2.ลักษณะด้อยของสังคมไทย
2.1 ขาดความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังในการงานและความเป็นอยู่ ไม่มีความตรงต่อเวลา
2.2 ขาดความเป็นเลิศ (Excellence) ทำอะไรแบบจับจด ไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน

2.3 เป็นสังคมที่มีความเกรงอกเกรงใจกันมากเกินไป จึงขาดความหลากหลายทางด้านความคิด เพราะไม่อยากจะโต้แย้งความคิดกลัวว่าจะกระทบกระเทือนจิตใจของผู้อื่นหรือเพื่อนร่วมงานโดยเฉพาะผู้บังคับบัญชา

2.4 ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity)
2.5 ขาดจิตสาธารณะ ขาดความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
2.6 ขาดจิตสำนึกในการรักความยุติธรรม ไม่มีการลงโทษทางสังคมต่อผู้กระทำ และสังคมมีลักษณะลืมง่าย

ข้อพิจารณา
เมื่อพิจารณาโครงสร้างของสังคมและวัฒนธรรมไทยแล้วจะเห็นว่าลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของสังคมไทยดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้
1. การที่สังคมไทยเป็นสังคมที่มีน้ำใจ มีการช่วยเหลือเกื้อxxxลกัน และมีความเอื้ออาทรต่อกัน จึงก่อให้เกิดผลดีในการปฏิบัติงานร่วมกัน โดยทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไม่เครียด บรรยากาศในการทำงานแจ่มใส ส่งเสริมให้หน่วยงานมีเอกภาพและผลลัพธ์ของหน่วยงานผลิตออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. สังคมที่มีลักษณะประนีประนอมกัน มีความยืดหยุ่นตามความพอเหมาะพอควร ทำให้สังคมไม่เกิดความแตกแยก แม้จะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นในบ้านเมืองก็ตาม ซึ่งส่งผลดีต่อความสมัครสมานสามัคคีของคนในชาติ

3. การถือระบบอาวุโส สามารถลดความขัดแย้งในองค์กรได้เป็นอย่างดี

4. ความเป็นพุทธศาสนิกชน ทำให้มีการยึดทางสายกลางเป็นหลักในการปฏิบัติงานจึงไม่เกิดการกระทำที่มีลักษณะสุดโต่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลร้ายต่อสังคมได้โดยง่าย

5. ความเป็นนักปฏิบัตินิยมยอมเสียประโยชน์ส่วนน้อยเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่นั้นเป็นสิ่งที่ช่วยเหลือเกื้อxxxลให้เกิดผลสำเร็จของงานในหน่วยงานนั้นๆ

6. สถาบันครอบครัวที่เข้มแข็ง ส่งผลดีต่อการรองรับผลร้ายที่เกิดขึ้นต่อสังคมไทย ทำให้สังคมไม่บอบช้ำมากจนเกินไป ดังเช่นกรณีเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2540 หลายคนตกงาน แต่ก็ยังสามารถดำรงชีพอยู่ได้โดยอาศัยความช่วยเหลือเกื้อxxxลของครอบครัวเป็นหลักเป็นระบบ Family Safety Net

7. การที่สังคมไทยเป็นระบบอุปถัมภ์ โดยนำคนในครอบครัวหรือคนสนิทชิดชอบมาทำงานร่วมกันในองค์กร โดยไม่คำนึงถึงองค์ความรู้หรือความสามารถของบุคคลเหล่านั้น มีผลเสียโดยทำให้องค์กรหรือหน่วยงานนั้นอ่อนแอ เพราะขาดผู้ปฏิบัติงานที่เป็นมืออาชีพ

8. การเคารพในระบบอาวุโส ทำให้เกิดการบริหารในลักษณะแนวดิ่งโดยผู้บังคับบัญชาระดับสูงจะครอบงำผู้ใต้บังคับบัญชาลดหลั่นลงมาเป็นลำดับ พนักงานระดับล่างจะเกิดความเกรงใจพนักงานหรือผู้บังคับบัญชาระดับสูง จึงขาดการมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กรที่จะกำหนดเป้าหมายหรือทิศทางขององค์กรอย่างถูกต้องและชัดเจน ทำให้องค์กรไม่มีความเข้มแข็งเพราะพนักงานในองค์กรจะขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และขาดการระดมมันสมองจากพนักงานหลายๆ ฝ่ายในองค์กรในอันที่จะรวมความคิดเพื่อผลักดันองค์กรนั้นๆ

นอกจากนั้น การเคารพในระบบอาวุโสมากจนเกินไปยังมีผลทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนผู้นำหน่วยงานเพราะถูกปิดกั้นทางความคิดด้วย

9. สังคมไทยมักมุ่งคำนึงถึงแต่ประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก โดยไม่มีจิตสำนึกต่อการรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม เห็นได้จากรถหลวง บ้านหลวง สถานที่ราชการ จะไม่มีใครดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจัง ทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดการเสื่อมสภาพเร็วเกินกว่าที่ควรเป็น หรือบุคคลบางจำพวกยังมีพฤติการณ์เบียดเบียนทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การบุกรุกชายหาด ป่าชายเลน พื้นที่ป่าเขาต้นน้ำลำธาร เป็นต้น ทั้งๆ ที่บุคคลเหล่านั้นมิใช่เป็นผู้มีฐานะยากจนแต่ประการใด

10. สังคมไทยมีลักษณะไม่เอาจริงเอาจังกับการทำงาน ความไม่ตรงต่อเวลา การทำงานเป็นทีมไม่เป็น โดยมีการชิงดีชิงเด่นแต่ยังมีความเกรงกลัวในอำนาจของผู้บังคับบัญชาและเชื่อผู้นำโดยไม่ลืมหูลืมตา

เหล่านี้ก่อให้เกิดความล้มเหลวต่อผู้ปฏิบัติงานและองค์กรเป็นอย่างมาก

ข้อเสนอแนะ
ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะต่อการปฏิบัติและท่าทีของสังคมไทย ดังนี้
1. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของสังคมไทย รัฐควรมีมาตรการในอันที่เพิ่มองค์ความรู้และสร้างสังคมพื้นฐานแห่งการเรียนรู้ (Knowledge-base Society) อย่างต่อเนื่องให้แก่ประชาชนทั้งในด้านวิชาการ ด้านบริหาร ตลอดจนด้านเทคโนโลยี เพื่อให้สังคมไทยดำรงอยู่ได้เท่าเทียมกับประเทศอื่นแม้ในยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization)

2. รัฐควรส่งเสริมให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการรักษาสิทธิในสังคม สร้างความเสมอภาคความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมไทยให้จงได้ รวมทั้งการส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในทางสังคม กล้าแสดงออกและร่วมมือร่วมใจกันในการลงโทษทางอาญาหรือทางสังคมต่อผู้ที่ละเมิดต่อสังคม

3. ส่งเสริมให้ทุกคนเปิดใจกว้างพอที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น นำความคิดเห็นที่ดีๆ มาปรับใช้กับองค์กร เน้นการทำงานเป็นทีมและเน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ อันเป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ขึ้นมา โดยเฉพาะหากวัฒนธรรมองค์กรเดิมไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมก็ต้องมีการสร้างวัฒนธรรมสวนกระแส (Resistance herd mentality) ขึ้นเพื่อสร้างสังคมในมิติใหม่อันจะเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศต่อไป

4. เน้นการทำงานในสังคมไทยให้ทำงานอย่างมีความสุข

5. ศึกษาปรับเปลี่ยนสังคมไทยให้เป็นไปในทิศทางที่เอื้ออำนวยต่อประชาชนส่วนรวมโดยพิจารณาจากเนื้อหาของสังคมไทยเป็นด้านหลัก โดยไม่จำเป็นต้องทำตามแบบอย่างของสังคมชาวตะวันตกในทุกเรื่องไป

ข้อสรุป
จากลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของสังคมไทยดังกล่าวในข้อ 3 นั้น ย่อมมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานทั้งในองค์กรภาคเอกชนและภาคราชการ ทั้งในด้านบวกและในด้านลบซึ่งได้แยกแยะให้เห็นแล้วในข้อ 4

ดังนั้น เราควรศึกษาหาจุดเด่นหรือลักษณะเด่นของสังคมไทยให้พบเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับความเป็นอยู่หรือธุรกิจการงานให้มีความเจริญรุดหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง

แม้ว่าอารยธรรมทางตะวันตกจะเข้ามามีบทบาทและมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยในสถาบันครอบครัว โรงเรียน องค์กรรวมทั้งในระบบการสื่อสารก็ตาม


http://www.yuwasong.com/webboard/show.php?Category=news7&No=14666





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/01/2017 6:49 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

มุมมองการแก้ไขปัญหาเกษตรกรทั้งระบบ

เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์
ธรรมเกษตร

วิกฤติเกษตรกร
ไม่มีใครปฏิเสธว่าการเกษตรยังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ แม้สัดส่วนรายได้ภาคเกษตรต่อรายได้ประชาชาติจะอยู่ในระดับไม่สูงนัก และไม่ใช่เพราะภาคเกษตรตกต่ำถดถอยมากมายอะไรนัก รายได้ก็ยังขึ้นๆลงๆเป็นธรรมดาผันผวนไปตามกระแสเศรษฐกิจโลก แต่เป็นเพราะภาคเศรษฐกิจด้านอื่นๆโดยเฉพาะอุตสาหกรรมการส่งออก การบริการและการท่องเที่ยวเติบโตเร็วกว่ามาก เมื่อมองตัวเลขในเชิงเปรียบเทียบทำให้ภาคเกษตรไม่ค่อยมีความสำคัญในเชิงเศรษฐกิจ และจำนวนเกษตรกรก็มีแนวโน้มลดลงเช่นเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้ว คือ จากกว่า ร้อยละ ๗๐ ในช่วงเริ่มแผนพัฒนาประเทศ มาเป็นร้อยละ ๕๐ ในช่วงแผนฯ ๕ และเหลืออยู่ราวร้อยละ ๓๐ ในปัจจุบัน

หากแนวโน้มการพัฒนาการเกษตรเป็นไปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ และไม่มีการแก้ไขปัญหาเกษตรกรอย่างจริงจัง เชื่อว่าอีกไม่เกิน ๓๐ ปี จำนวนเกษตรกรไทยจะเหลือต่ำกว่าร้อยละ ๑๐ เช่นเดียวกับประเทศในยุโรป ญี่ปุ่นและอเมริกา เพราะเกษตรกรอิสระรายเล็กรายน้อยจะค่อยๆเลิกไปหรือเปลี่ยนไปเป็นแรงงานรับ จ้างในโรงงาน

ภาคกลางภาคตะวันออกอาจจะหมดไปก่อนเพื่อนเพราะที่ดินส่วนใหญ่หลุดมือจากเกษตรกรไปแล้ว
ภาคอีสานแม้เกษตรกรจะมีสัดส่วนการถือครองที่ดินอยู่สูงกว่าที่อื่นแต่ แรงกระตุ้นการลงทุนระยะยาวด้วยการปลูกยางพารา ไม้โตเร็วและพืชพลังงานอาจกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรรายย่อยซึ่งมีทุนน้อยอยู่ไม่ได้ต้องขายที่ดินหรือขาย

กิจการให้ผู้ประกอบการรายใหญ่แล้วผันตัวเองเป็นแรงงานเกษตรรับจ้างในที่ดิน ที่เคยเป็นของตนเอง ส่วนภาคเหนือและภาคใต้พื้นที่เกษตรที่มีศักยภาพสูงในการผลิตก็เปลี่ยนมือ เป็นสวนพืชเศรษฐกิจของผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้งต่างชาติและในประเทศไทยและ กลุ่มรีสอร์ทไปเป็นจำนวนมากแล้ว ที่ยังเหลืออยู่บ้างคงเป็นกลุ่มเกษตรกรพันธะสัญญาแต่ก็คงอยู่ได้อีกไม่นาน เพราะต้องแบกรับความเสี่ยงในระบบการผลิตที่สูงขึ้น

กลุ่มเกษตรกรที่อิงกับรายได้ข้างนอกด้วยค่าตอบแทนการประชุมค่าวิทยากรอบรม หรือทำโครงการขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐทำนองนี้ก็พอจะเอาตัวรอดไปได้แต่ก็ จะถูกจัดการจนอ่อนแอและพึ่งตนเองได้ยาก ที่จะเหลือเป็นเกษตรกรรายย่อยที่มีอิสระในการดำเนินชีวิตจริงๆสู้กับโลกา ภิวัฒน์ได้น่าจะเป็นกลุ่มที่มีวิถีชีวิตอิงความเชื่อในธรรมชาติและหลักศาสนา ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่มีอายุค่อนข้างมากแต่ก็มีกิจกรรมสืบทอดความเชื่อและ อุดมการณ์ให้กับทายาทรุ่นใหม่

ปัจจุบันและแนวโน้มอนาคตของเกษตรกรที่ค่อนข้างมืดมนเพราะมีข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สำคัญ ๕ ประการคือเรื่องที่ดินทำกิน การเข้าถึงทรัพยากร หนี้สิน การตลาดและสุขภาวะที่ทำให้เกษตรกรอยู่ไม่รอด

ประการแรก เรื่องที่ดินทำกิน มี ๒ ประเด็นย่อย ประเด็นแรกคือเกษตรกรจำนวนมากไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ต้องเช่าที่ดินทำกิน ประเด็นที่สองเกษตรกรที่ยังมีที่ดินจำนวนมากแต่ละปีต้องสูญเสียที่ดินทำกิน ให้กับสถาบันการเงิน ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการจากกรณีการฟ้องยึดที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์ประกันของ สมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรรมและเกษตรกรทั่วไป ที่ดินเหล่านี้กลายเป็นเอนพีเอหรือสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการ ผลิต ธนาคารก็ยังฟ้องเกษตรกรที่หนี้เสีย และก็มักลงเอยด้วยการยึดที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์ประกันอยู่ทุกวันนี้ จำนวนเกษตรกรที่สูญเสียที่ทำกินและต้องหาเช่าที่ดินทำการเกษตรจึงเพิ่มขึ้น ปีละไม่น้อยกว่าสี่ห้าหมื่นรายถ้าคิดเฉลี่ยที่ดินเกษตรกรรายละ ๒๐ ไร่ก็จะประมาณ ๑ ล้านไร่ต่อปี ยังไม่รวมที่ดินที่เกษตรกรรายย่อยที่ทำนากุ้ง เลี้ยงปลา ปลูกไม้โตเร็ว ที่ต้องขายที่ดินและกิจการให้บริษัทเอกชนการเกษตรขนาดใหญ่และผันตัวเองเป็น แรงงานในฟาร์ม

ประการที่สอง การเข้าไม่ถึงทรัพยากรการผลิต
โดยเฉพาะน้ำ ทะเล ป่า และทรัพยากรพันธุกรรมทั้งหลายที่อยู่ในป่า ซึ่งเป็นฐานชีวิตของเกษตรกรและชาวประมงขนาดเล็ก ทำให้เกษตรกรรายย่อยขาดศักยภาพในการเพิ่มผลผลิต เกษตรกรชายเขตป่าถูกตัดขาดจากทรัพยากรในป่า ชาวประมงพื้นบ้านถูกเรืออวนรุนอวนลากทำลายแหล่งหากิน พันธุกรรมพื้นเมืองทางการเกษตรถูกทำลายลงด้วยความเข้าใจผิดของนักวิชาการว่า เป็นของด้อยค่าจนเกษตรกรไม่สามารถใช้พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์พื้นเมืองได้อีก แหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อการเกษตรถูกจัดการด้วยเขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และควบคุมโดยรัฐทำให้เกษตรกรเข้าไม่ถึงแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ที่ดินรอบแหล่งน้ำสาธารณะหลายแห่งถูกบริษัทการเกษตรขนาดใหญ่กว้านซื้อแล้ว ยึดแหล่งน้ำสาธารณะเป็นของส่วนตัว

ประการที่สาม เรื่องหนี้สิน
มี ๒ ประเด็น ประเด็นแรกหนี้สถาบันการเงินในระบบและประเด็นที่สองหนี้นอกระบบ ซึ่งหนี้ทั้งสองระบบเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด เริ่มจากหนี้สินเกษตรกรในระบบเพิ่มขึ้นรวดเร็วมาก เพิ่มในอัตราที่สูงกว่าหนี้สินครัวเรือนทั่วไปด้วยวิธีการหมุนหนี้

การกู้หนี้ครั้งแรกเป็นจำนวนไม่มากแต่รายได้จากการเกษตรก็ไม่พอใช้หนี้จึง ต้องกู้หนี้ครั้งที่สองเพื่อเอามาใช้หนี้และดอกเบี้ยหนี้กู้ครั้งแรกและ เหลือส่วนหนึ่งไว้ใช้สอย

กู้ครั้งที่สามก็เพื่อใช้หนี้เงินต้นและดอกเบี้ยจากการกู้ครั้งที่สองและ เหลือส่วนหนึ่งไว้ใช้สอย เมื่อกู้จนยอดหนี้สินชนเพดานทรัพย์ประกันไม่สามารถหมุนเงินกู้ในระบบต่อไปได้ก็ต้องดิ้นรนกู้เงินกลุ่มเงินกองทุนในหมู่บ้านมาหมุนต่อ

สุดท้ายก็ต้องไปกู้เงินนอกระบบดอกเบี้ยสูงร้อยละ ๕-๒๐ ต่อเดือนมาผ่อนใช้หนี้ในระบบ ยอดหนี้เกษตรกรจึงสูงขึ้น ๒-๓ เท่าตัวในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาแต่ก็ไม่มีนักวิจัยสถาบันไหนที่สนใจศึกษาตัว เลขเงินกู้นอกระบบเหล่านี้

อย่างไรก็ดีแม้ยังไม่มีรายงานหนี้สินของเกษตรกรรวมทั้งประเทศ แต่เมื่อลองคำนวณจากการซื้อหนี้ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเมื่อต้นปี ๒๕๕๐ พบว่าเกษตรกรเป็นหนี้โดยประมาณ ๑๗๒,๓๗๕ บาท/ราย เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูจำนวน ๖.๓ ล้านคน ถ้ารวมเกษตรกรที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯอีกจำนวนหนึ่ง รวมกันอาจจะถึง ๑๐ ล้านคน คิดอย่างหยาบๆก็จะเป็นหนี้รวมกันไม่น่าจะน้อยกว่า ๑ ล้านล้านบาท ซึ่งน่าจะถึงครึ่งหนึ่งของหนี้สาธารณะซึ่งมีประมาณ ๒.๕ ล้านๆบาท หรือ หนึ่งในสี่ของ GDP (ตัวเลขของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ปี ๒๕๔๙)

ประการที่สี่ เรื่องตลาด
ตลาดเป็นของพ่อค้าแต่การลงทุนและความเสี่ยงเป็นของเกษตรกร เกษตรกรจึงไม่มีส่วนในการตัดสินใจกำหนดราคาตลาด ราคาผลผลิตการเกษตรจึงไม่เป็นธรรม ไม่แน่นอน ขึ้นๆลงๆตามอำนาจซื้อของพ่อค้า ขณะที่ราคาปัจจัยการผลิตเพิ่มสูงขึ้นโดยที่ ไม่เคยลดลง

ตัวอย่างเช่นราคาข้าวเปลือก ค่อนข้างคงที่ในช่วง ๔ ปีที่ผ่านมา (๒๕๔๖-๒๕๔๙) แต่ราคาปุ๋ย ขึ้นมาเท่าตัว ราคาผลไม้ก็เช่นกันปีนี้ผลไม้ดกแต่ราคาตกต่ำขายไม่คุ้มทุน

เกษตรกรที่เลี้ยงปลาในกระชังใช้เวลาเลี้ยงปลานานกว่าหกเดือน ขายปลาหนึ่งกิโลกรัมขาดทุนสี่ห้าบาท พ่อค้ารับซื้อปลาไปขายต่อครึ่งวันได้กำไรกิโลละไม่ต่ำกว่า ๑๐ บาท

ปัญหาเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าราคาผลผลิตเกษตรจะถูกกดลงต่ำสุดเป็นช่วงเวลา หนึ่งอาจเป็น ๒-๕ ปี พอเกษตรกรส่วนใหญ่เตรียมจะเลิกการผลิตพ่อค้าก็จะดั๊มราคาขึ้นมากระตุ้นให้ เกษตรกรตาโตอยากได้เงินหันกลับมากู้เงินลงทุนทำการผลิตต่อไปอีก

การเคลื่อนไหวของราคาตลาดในปัจจุบันจึงเป็นแบบเลี้ยงเกษตรกรไม่ให้โต เกษตรกรอ่อนแอก็ล้มไปก่อน เกษตรกรที่เข้มแข็งกว่าก็จะค่อยๆล้ม เกษตรกรที่อยู่รอดได้ก็ต้องปรับตัวหันมาเป็นพ่อค้าคนกลางบ้าง เป็นตัวแทนจำหน่ายอาหารยาและปุ๋ยบ้าง ดังตัวอย่างเกษตรกรเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลากระชัง เป็นต้น บ้างก็อาศัยเงินที่ลูกหลานที่ทำงานในเมืองส่งให้เป็นรายเดือน

ประการที่ห้า เรื่องสุขภาวะ
เคยนำเกษตรกรสมาชิกเครือข่ายอาชีพเกษตรกรแม่น้ำปราจีนบุรีมาตรวจวัดสารเคมี ในเลือดพบว่าเกษตรกรร้อยละ ๗๐ มีสารเคมีในเลือดในระดับเสี่ยงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การพูดคุยกับเครือข่ายเกษตรกรอื่นทั่วประเทศก็มีสถานการณ์เช่นเดียวกัน ทุกฤดูการผลิตไม่ว่าจะเป็นข้าว พืชไร่ พืชสวน หากได้ออกไปในไร่นาก็จะได้กลิ่นสารเคมีกำจัดหญ้ากำจัดแมลงทั่วทุกหนแห่ง เกิดผลกระทบทั้งเกษตรกรเองและผู้บริโภค เกษตรกรเองหนักกว่าเพื่อนเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงในฐานะเป็นผู้ใช้ยาและ เป็นผู้บริโภคผลผลิตด้วย


ปรากฏการณ์ปัญหาเกษตรกร
สภาพปัญหาหลักของเกษตรกรเชื่อมโยงกันเป็นวงจรและเกิดขึ้นซ้ำซากตลอดเวลาที่ เกษตรกรทำการผลิต ยิ่งผลิตมากก็ยิ่งขาดทุนมาก ยิ่งขยันมากยิ่งขาดทุนมาก ทำให้เกษตรกรปัจจุบันอยู่ได้ลำบาก ลูกหลานเกษตรกรเห็นสภาพทุกข์ของพ่อแม่จึงไม่ต้องการสืบทอดวิถีการเกษตรอีก ต่อไป เกษตรกรรายย่อยในวันนี้ที่อายุยังน้อยเฉลี่ยราวสี่สิบปี ถึงแม้จะยังไม่สูญเสียที่ดิน ทำการผลิตได้ตามปรกติแต่เชื่อว่าต้องยุติบทบาทตัวเองในอีกไม่เกิน ๓๐ ปีข้างหน้าเมื่อถึงวัยชราไม่มีศักยภาพในการทำการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกต่อไปและไม่มีผู้สืบทอด ส่วนผู้ที่ต้องขาดทุนซ้ำซาก เป็นหนี้สิน และสุดท้ายต้องสูญเสียที่ดินที่ใช้เป็นทรัพย์ประกันก็อาจจะต้องเลิกอาชีพการ เกษตรเร็วยิ่งขึ้น ผู้ที่สุขภาพไม่ดีจากการใช้สารเคมีมากก็อาจต้องเลิกหรือขายที่เพราะสุขภาพ ไม่แข็งแรงพอที่จะทำการผลิตได้ โดยสรุปสภาพปัญหาที่ดิน ฐานทรัพยากร หนี้สิน ตลาด และสุขภาพ ทำให้เกษตรกรอ่อนแอทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม สุขภาพกายและจิตใจก็อ่อนแอ จนต้องเลิกอาชีพนี้ไปหรือเหลือน้อยเหมือนเกษตรกรในยุโรปทุกวันนี้

หากวิเคราะห์เหตุปัจจัยรากเหง้าที่ทำให้เกิดปัญหากับเกษตรกรและการเกษตรของ ประเทศให้รอบด้านก็จะต้องวิเคราะห์ทั้งสองด้าน คือด้านในหรือปัจจัยที่เกิดจากภายในตัวเกษตรกรเอง และปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก สำหรับเหตุปัจจัยภายในตัวเกษตรกรเองคือความโลภหวังรวย และปัจจัยภายนอกคือสภาพแวดล้อมในระบบโลกาภิวัฒน์ได้แก่เงิน ข่าวสารเทคโนโลยีและอำนาจทางการเมืองการทหาร ที่ทั้งกระตุ้นจูงใจและบีบบังคับให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมไป มุ่งหาเงิน ลงทุนและบริโภคอย่างฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น

มองเหตุปัจจัยจากภายใน แก้ที่เกษตรกร

อกุศลมูลอันเป็นรากเหง้าของกิเลสได้แก่ความโลภโกรธหลงทำให้เกิดอกุศลธรรม ระดับปรากฏการณ์ ๓ ประการที่ทำให้เห็นสิ่งผิดเป็นถูกคือ

ตัณหาทำให้เกิดทำให้อยาก อยากรวย อยากได้โน่นอยากได้นี่
มานะคือความทะนงตนว่าสิ่งโน่นสิ่งนี่เป็นของตน
มุ่งครอบครองแข่งขันเอาชนะทุกรูปแบบ ถือตนว่าแน่กว่าใครจึงไม่ฝึกตนไม่เรียน รู้ทางเลือกใหม่ๆ และ
ทิฎฐิซึ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิ คือ เห็นชั่วเป็นดีเห็นสารเคมีเป็นยาวิเศษ

อกุศลธรรมทั้งปวงทำให้ความคิดและพฤติกรรมเกษตรกรเปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยหา อยู่หากินอยู่ร่วมกับธรรมชาติแบบพอมีพอใช้ มาเป็นซื้อกินจึงต้องหาเงินให้เท่าหรือรวยยิ่งกว่าคนอื่นทำให้ไม่รู้จักพอ ใจใหญ่ใจโต เบียดบังทำลายขายธรรมชาติ เมื่อมีปัจจัยภายนอกมากระตุ้นล่อหลอกให้เชื่อให้ทำก็จะตามตามกระแสเงิน เริ่มด้วยการลงทุนซื้อเทคโนโลยีและปัจจัยการผลิตทุกอย่าง คนเริ่มทำก่อนก็มักจะได้กำไรดีมีเงินหมุนผ่านมือเยอะแต่ได้ไม่กี่คนและหา เงินได้ไม่นาน ตัวอย่างเช่นมะม่วงหิมพานต์ กุ้งกุลาดำ และการปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวชนิดต่างๆ หาเงินได้ง่ายก็ใช้ง่ายและบริโภคฟุ่มเฟือย เงินที่ได้ก็ไม่เหลือเก็บ คนทำที่หลังก็มักขาดทุนเพราะต้นทุนเริ่มสูงขึ้นแต่ราคาสินค้าต่ำลงเพราะการ แข่งขันสูงขึ้น

การแก้ปัญหาภายในต้องเริ่มต้นด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรมของเกษตรกร ให้คิดวิเคราะห์เป็นบนฐานข้อมูลและความเป็นจริง เกษตรกรต้องยอมรับก่อนว่าการวิ่งตามโลกอย่างไม่ลืมหูลืมตาหวังรวยต้องเผชิญ กับระบบปลาใหญ่กินปลาเล็ก คนอ่อนแอเป็นเหยื่อคนแข็งแรงกว่าสุดท้ายก็ต้องประสบกับวิบัติในที่สุด การคิดเป็นทำเป็น พึ่งตนเองได้ ค่อยๆทำค่อยๆขยาย และบริโภคในสิ่งที่จำเป็นจะช่วยให้เกษตรกรอยู่รอดระยะยาวในสถานการณ์โลกาภิ วัตน์ได้

มองจากเหตุปัจจัยภายนอก แก้ที่ตัวปัญหา
เมื่อรัฐมุ่งพัฒนาไปตามแนวทางกระแสหลักของโลกาภิวัฒน์ การศึกษาก็ต้องออกนอกระบบให้แข่งขันเชิงการค้ากับโลกตะวันตกได้ การใช้พลังงานก็ต้องเปลี่ยนจากแรงงานสัตว์และพลังงานลมติดรหัสวิดน้ำมาเป็น เครื่องจักรกลใช้น้ำมันยนต์ การเดินทางติดต่อกับภายนอกก็ต้องซื้อรถเป็นยานพาหนะส่วนตัวมาใช้สอยส่วนตัว แทนการเดินทางในระบบขนส่งมวลชน ตลอดจนปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีนำเข้าทั้งปุ๋ยและยาทำให้ต้นทุนชีวิตและ ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ชีวิตที่แพงขึ้นทุกๆด้านบีบคั้นให้เกษตรกรต้องหาเงินมาใช้จ่ายค่าการศึกษา เล่าเรียนบุตรหลาน ค่าพลังงานทำการเกษตร ค่าปัจจัยการผลิต และเมื่อเหนื่อยล้าก็ต้องจ่ายเป็นค่าอบายมุขค่าเหล้าค่าบุหรี่ค่าบันเทิงของ ฟุ่มเฟือยเพื่อคิดจะกลบเกลื่อนความทุกข์ชั่วขณะเพียงเท่านั้น หมดฤทธิ์เหล้ายาก็กลับมาทุกข์ มีมากที่ยิ่งทุกข์หนักไปกว่าเดิม

แม้จะรู้ว่าปัญหาหลักทั้งห้าประการคือที่ดิน การเข้าถึงทรัพยากร หนี้สิน ตลาดและราคาผลผลิต และสุขภาพเป็นปัญหาปลายเหตุ แต่ด้วยวิกฤติของปัญหาทำให้ต้องมีการแก้ไขเร่งด่วนด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดีหากแก้ทีละปัญหา ก็ไม่รู้จบ เพราะเกษตรกรแต่ละคนมีปัญหาไม่เหมือนกัน การแก้ปัญหาด้านใดด้านหนึ่ง ไม่ได้ช่วยให้ปัญหาด้านอื่นๆได้รับการแก้ไขไปด้วย เกษตรกรหลายรายที่สูญเสียที่ดินและได้รับความช่วยเหลือให้มีที่ดินทำกินได้อีกครั้ง ก็ต้องสูญเสียที่ดินซ้ำสองจากหนี้สินอีกเช่นเคย หน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับหนี้สิน พยายามใช้มาตรการต่างๆมาช่วยเหลือ ทั้งพักชำระหนี้ ตัดลดยอดหนี้ลงครึ่ง บ้างก็สนับสนุนให้เกิดการออม แต่ก็ช่วยได้ระดับหนึ่ง ไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดเชื่อมโยงกันเป็นวงจรทุกฤดูกาลผลิตได้

ความพยายามในเชิงหลักการที่มีส่วนใกล้เคียงกับความเป็นจริงคือวิธีการของกอง ทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในการซื้อหนี้ การฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร แต่ในทางปฏิบัติก็ไม่สามารถทำให้เป็นจริงได้เพราะฝ่ายเจ้าหน้าที่ไม่ค่อยให้ ความร่วมมือ และอีกประการหนึ่งจำนวนหนี้ก็มีมากจนเกินกำลังที่รัฐบาลจะหาเงินมาซื้อหนี้ ได้ เหตุผลเบื้องหลังที่สำคัญที่ฝ่ายเจ้าหนี้ไม่ยอมเพราะเขายังเชื่อว่ามี เกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่เป็นลูกหนี้ที่ดีและยังเชื่อมั่นกับระบบการให้กู้ยืม ของธนาคารเหล่านี้ได้ และก็หาทางจัดการหนี้ดีๆด้วยตัวเองดังเช่นกรณี ธกส.ที่กำลังปรับโครงสร้างหนี้เกษตรกรอยู่ในปัจจุบัน สำหรับในด้านรัฐบาลเชื่อว่าคงไม่สามารถหาหลักประกันได้ว่าเกษตรกรจะไม่ก่อ หนี้อีก ตราบใดที่ปัญหาการตลาดและความเสี่ยงในการผลิตของเกษตรกรยังไม่ได้รับหลักประกัน แต่ทำไมเกษตรกรจึงไปฝากความหวังในการแก้ไขปัญหาไว้กับรัฐบาลเกินไป ไปทุ่มความหวังทั้งหมดไว้กับการที่จะให้รัฐนำเงินมาซื้อหนี้ซึ่งดูนโยบาย พรรคการเมืองต่างๆแล้วยังไม่เห็นว่าจะเป็นจริงได้


ทางออกของเกษตรกรจากวงจรแห่งความล้มเหลวซ้ำซาก

ผู้เขียนมีข้อเสนอที่จะนำไปสู่การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกร ดังนี้

ในเชิงหลักการ
๑) ต้องมีความเชื่อมั่นในคุณค่าของการเกษตรและเกษตรกรว่าเป็นฐานรากสำคัญของประเทศ หากไร้การเกษตรประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศที่อ่อนแอและพึ่งตนเองไม่ได้แม้แต่ด้านอาหารและยา

2. ปัญหาการเกษตรทุกปัญหาแก้ไขได้ด้วยวิถีทางที่สร้างสรรค์และเป็นระบบ แม้บางประเด็นจะต้องใช้เวลายาวนานก็ตาม

๓) เกษตรกรต้องแก้ปัญหาของเกษตรกรเอง ไม่มีใครแก้ไขปัญหาเกษตรกรได้นอกจากตัวเกษตรกรเอง ยิ่งมีคนนอกเข้ามาแก้ก็ยิ่งทำให้ปัญหายุ่งยากซับซ้อนขึ้นไปอีก

๔) รัฐต้องสนับสนุนเกษตรกรให้แก้ปัญหาตนเอง รัฐต้องมีบทบาทเป็นพี่เลี้ยง ประคับประคองให้กลุ่มองค์กรเกษตรกรลุกขึ้นได้ เดินได้ วิ่งได้ โดยไม่ต้องไปอุ้มไปสงเคราะห์แก้ปัญหาเฉพาะหน้า

๕) ภาคธุรกิจเอกชน ต้องไม่เอารัดเอาเปรียบเกษตรกร ต้องร่วมรับความเสี่ยงกับเกษตรกร โดยเฉพาะในกรณีหนี้ เจ้าหนี้ต้องให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหา
ในเชิงโครงสร้างทางสถาบัน

มีข้อเสนอ ๓ ประการเพื่อนำไปสู่การปรับโครงสร้างอำนาจและการพัฒนาสถาบันเกษตรกรให้มีความ เข้มแข็งและมีความสามารถในการจัดการปัญหาของตนเอง ได้แก่
๑) สถาบันเกษตรกรหรือสภาเกษตรกร การพัฒนายกระดับการทำงานของเกษตรกร ควรจะต้องยกระดับการทำงานในระดับกลุ่มและองค์กรเครือข่ายต่างๆให้เป็นสถาบัน ในรูปแบบสภาเกษตรกร ให้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและแนวทางการจัดการปัญหาของเกษตรกรด้วยตน เอง โดยเปิดโอกาสให้ทุกกลุ่มเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น จึงจะทำให้เสียงของเกษตรกรมีพลังและข้อเสนอของเกษตรกรได้รับการพิจารณาจาก ฝ่ายรัฐบาลอย่างจริงจัง

๒) สถาบันการเงินเกษตรกรหรือธนาคารเกษตรกร การแก้ปัญหาหนี้สินและการฟื้นฟูพัฒนาระบบการผลิตของเกษตรกรในปัจจุบันทำได้ ยาก ไม่มีพลังเพราะต่างคนต่างทำ โดยเฉพาะ ธกส. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของเกษตรกรกำลังปรับโครงสร้างหนี้เกษตรกรราว ๑ แสนรายในวงเงินประมาณ ๔ หมื่นล้านบาท ส่วนสถาบันการเงินของเกษตรกรเองเช่นสหกรณ์ออมทรัพย์และกลุ่มออมทรัพย์ต่างๆ มีเงินรวมกันไม่น้อยกว่า ๔ แสนล้านบาท (ข้อมูลกรมส่งเสริมสหกรณ์ ๒๕๕๐) และก็พยายามยกระดับการบริหารจัดการสหกรณ์และกลุ่มออมทรัพย์ให้เข้มแข็ง ไม่รวมรวมทั้งธนาคารพานิชย์อื่นๆ ซึ่งก็มีแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ของตนเอง แต่โดยภาพรวมเงินที่มีอยู่ในสถาบันการเงินต่างๆโดยเฉพาะสหกรณ์และกลุ่มออม ทรัพย์ยังไม่สามารถนำเงินมาซื้อหนี้หรือฟื้นฟูเกษตรกรได้จริงเพราะเหตุผล ๒ ประการ ประการแรกปัญหาความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกรต่ำ และประการที่สองความสามารถในการบริหารจัดการการเงินของสถาบันการเงินเกษตรกรมีต่ำ

ข้อเสนอในเชิงสถาบัน
จึงต้องรวมพลังการบริหารจัดการการเงินเข้าด้วยกัน ใช้กองทุนหรือกลุ่มออมทรัพย์ในระดับหมู่บ้านเป็นหน่วยจัดการการเงินย่อย และรวมหน่วยย่อยเหล่านี้ทั่วประเทศเข้าด้วยกัน ก็จะช่วยหมุนเงินลงไปซื้อหนี้และฟื้นฟูเกษตรกรได้มากกว่าที่แยกกันทำอยู่ใน ปัจจุบัน อนึ่งหากรวมตัวเป็นสถาบันการเงินของเกษตรกรได้ และมีการพัฒนาระบบการออมที่ดี เช่นออมวันละ ๑-๒ บาง เกษตรกรก็จะมีเงินออมไหลเข้าสถาบันเกษตรกรเองวันละไม่น้อยกว่า ๑๐ ล้านบาทหรือปีละกว่า ๓๐๐๐ ล้านบาท ถ้าทำได้เงินจำนวนนี้ก็มากพอที่จะซื้อหนี้และฟื้นฟูเกษตรกรได้ปีละไม่ต่ำ กว่า ๒ หมื่นคนแล้ว

๓) สถาบันวิจัยพัฒนาของเกษตรกร เมื่อเกษตรกรเชื่อฟังคนอื่นเข้ามาแนะนำโดยละทิ้งความรู้ภูมิปัญญาของตนเอง เมื่อเกิดปัญหาเกษตรกรก็ไม่สามารถจัดการปัญหาได้เองต้องพึ่งความรู้ภาย นอกอยู่ตลอดเวลาการเกษตรจึงไม่ยั่งยืน การศึกษาความรู้และภูมิปัญญาพื้นบ้านของเกษตรกรโดยสถาบันวิชาการหลายแห่งชี้ ให้เห็นว่าการเกษตรกรรมจะยั่งยืนต้องอาศัยความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นฐาน และพัฒนาความรู้ใหม่ๆขึ้นมาต่อยอด จึงเสนอให้ยกระดับงานวิจัยไท้บ้านของเกษตรกรขึ้นเป็นสถาบันวิจัยพัฒนาของ เกษตรกร เพื่อทำงานศึกษาวิจัยสนองตอบปัญหาความต้องการของเกษตรกรโดยตรง
ในเชิงกระบวนการ

กระบวนการแก้ปัญหา ต้องขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง เริ่มด้วยการ

๑) รวมคน รวมองค์กร เข้าด้วยกัน ทำความเข้าใจปัญหาเกษตรกรทั้งระบบอย่างจริงจัง ในรูปแบบสภาเกษตรกร ชื่อสภาเกษตรกรแห่งชาติอาจดูเป็นการรวมศูนย์แต่ไม่ต้องไปสนใจรูปแบบ ส่วนที่น่าสนใจคือโอกาสที่เกษตรกรทุกกลุ่มจะรวมตัวกัน และร่วมกันทำงานอย่างมีหลักมีเกณฑ์ และผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายไปสู่รัฐบาลได้จริง

๒) ยกระดับการบริหารจัดการองค์กรทางการเงิน โดยรวมเงินออม เงินกลุ่มออมทรัพย์ สหกรณ์การเกษตร และองค์กรการเงินของเกษตรกรทุกรูปแบบ ไม่ได้เอาเงินมากองรวมกันแล้วรวมศูนย์การบริหาร แต่เป็นการสร้างระบบการจัดการร่วมเพื่อแก้ปัญหาที่ใหญ่กว่าปัญหาระดับกลุ่ม ระดับชุมชนระดับเครือข่ายให้ได้

๓) วางระบบบริหารจัดการเงิน ในระยะยาวอาจจะต้องจัดตั้งสถาบันการเงินของเกษตรกรขึ้นมาเอง ในรูปแบบธนาคารเกษตรกรหรือธนาคารเพื่อชุมชน หามืออาชีพมาบริหารเพื่อประโยชน์ของเกษตรกร

๔) เอาเงินที่เกษตรกรออมมาทำประโยชน์ให้เกษตรกร ทำอย่างน้อย ๒ อย่าง อย่างแรกซื้อหนี้เกษตรกรและผ่อนส่งดอกเบี้ยต่ำระยะยาว อย่างที่สองให้รัฐบาลกู้ดอกเบี้ยสูงเพื่อนำเงินมาทำ ๓ อย่างคือ
๑) ซื้อที่ดินมากระจายการถือครองที่ดินให้เกษตรกรเป็นหลักประกันว่าเกษตรกรทุก คนต้องมีที่ดินทำกินขั้นพื้นฐานอย่างน้อย ๓-๕ ไร่ทุกคน
๒) เอาเงินมาซื้อหนี้เกษตรกรออกมาจากธนาคาร โอนหนี้มายังธนาคารเกษตรกร
๓) เอาส่วนต่างของดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนหนึ่งมาทำระบบสวัสดิการเกษตรกร ให้เกษตรกร รัฐ และธนาคารเกษตรกรออกคนละส่วน เพื่อเป็นหลักประกันให้กับเกษตรกรยามสิ้นไร้เรี่ยวแรงทำการเกษตร

เกษตรกรที่ถูกยกย่องเป็นกระดูกสันหลังของชาติได้ผลิตอาหารเลี้ยงสังคมมายาวนาน จนกระดูกผุกร่อนอ่อนล้าไร้เรี่ยวแรงที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้กับปัญหาที่ซับซ้อนได้ด้วยตัวเองตามลำพัง หากไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างจริงจังจากรัฐบาลในระยะแรก กระบวนการคุ้มครองฟื้นฟูพัฒนาเกษตรกร ก็คงเกิดขึ้นได้ยาก

รัฐบาลชุดต่อไปจึงต้องผลักดันกฎหมายสภาเกษตรกร ผลักดันกฎหมายเกี่ยวกับการเงิน การปรับปรุงกฎหมายด้านสหกรณ์ และกฎหมายเกี่ยวกับการเงินนำไปสู่การจัดตั้งธนาคารเกษตรกรหรือธนาคารเพื่อ เกษตรกรและชุมชน และพัฒนาระบบสวัสดิการเกษตรกร รวมทั้งการปรับปรุงกฎหมายให้เกษตรกรเข้าถึงทรัพยากรที่ดินและน้ำ ให้เกษตรกรมีที่ดินทำกิน มีน้ำใช้ทำการเกษตรและเข้าถึงทรัพยากรในป่าชุมชน เพียงเท่านี้เกษตรกรและภาคเกษตรก็จะอยู่ได้ มีความสามารถในการปรับปรุงระบบการผลิต มีความสามารถในการจัดการหนี้สินเพื่อการผลิต และมีความสามารถในการจัดสวัสดิการเกษตรกร และอยู่รอดเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้เอง

หมายเหตุ :
บทความนี้เป็นการทดลองเขียนความคิดเพื่อแก้ปัญหาของเกษตรกร จากประสบการณ์การลงไปทำงานกับเกษตรกรที่บ้านเกิดปราจีนบุรี และเข้าเป็น

สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในคณะทำงานกระจายรายได้ และ
คณะทำงานเฉพาะกิจพิจารณา พรบ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และ

คณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พรบ.สภาการเกษตรแห่งชาติ

รวมทั้งการยกร่าง พรบ.สภาเกษตรกรแห่งชาติขึ้นมาเสนอต่อเกษตรกรเครือข่ายต่างๆ ตั้งแต่สิงหาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นมา

อ่านแล้วโปรดวิจารณ์ตรงๆ แรงๆ แล้วกรุณาแจ้งความเห็นมาที่ผมด้วย จักขอบคุณยิ่งครับ

เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์



http://www.sathai.org/autopagev4/show_page.php?topic_id=417&auto_id=24&TopicPk=


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 15/01/2017 6:59 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/01/2017 6:57 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

ข้อดี-ข้อเสีย ในการทำนาในอดีตและปัจจุบัน
เปรียบเทียบการทำนาในอดีตและปัจจุบันPosted on พฤศจิกายน 6, 2010 by ratanawanno
วิเคราะห์เปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีในการทำนาในอดีตกับปัจจุบันโดยใช้หลักการ SWOT


อดีต
จุดเด่น

- แรงงานจากควายและคนไม่สิ้นเปลืองมาก
- มีความสามัคคีสูงในกลุ่มเกษตรกร
- ชีวิตไม่ดิ้นรนมากเกินเหตุ
มีเวลาว่างมาก
จุดด้อย
- แรงงานคนและควายทำงานได้ช้า
- เกษตรกรขาดความภาคภูมิใจในอาชีพของตน
- เกษตรกรขาดความรู้ ไม่มีความมั่นใจในการแสวงหาความรู้ เพื่อพัฒนาอาชีพตน
โอกาส
- พื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง
- ฝนตกตามฤดูกาลคาดการณ์ได้
- เกษตรกรได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้านสูง
อุปสรรค์
- มีการสนับสนุนจากภาครัฐน้อย
- ดินมีความเค็มสูง
- เกษตรกรถูกมองว่าเป็นคนชั้นต่ำ

ปัจจุบัน
จุดเด่น

- แรงงานจากเครื่องจักรทำงานได้เร็ว
- สารเคมีที่ใช้ในการทำนาให้ผลต่อข้าวเร็ว
- มีแหล่งน้ำที่ขุดลอกเพื่อเก็บน้ำเพิ่มมากขึ้น
จุดด้อย
- มีการลงทุนสูง ไม่คุ้มค่าลงทุนในการทำนา
- ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ และมีสารพิษสูง
- ดินมีความเค็มสูง
- ที่ดินทำกินถูกเปลี่ยนมือไปเป็นของนายทุน
- ไม่มีความภาพภูมิใจในอาชีพตน
- เกษตรกรเปลี่ยนอาชีพ
- มีอัตราการย้ายถิ่นฐานไปทำมาหากินต่างถิ่นสูง
- วิถีชีวิตมีการดิ้นรนสูงขึ้น เนื่องจากค่าครองชีพสูงขึ้น
โอกาส
- ได้รับความรู้จากภาครัฐเพิ่มขึ้น
- การคมนาคมสะดวกขึ้น
อุปสรรค์
- ฝนไม่ตกตามฤดูกาล คาดการได้ยาก
- รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย
- แหล่งเงินทุนนอกระบบมีอัตราดอกเบี้ยสูง
- มีนายทุนผู้มีที่ดินส่วนจำนวนมาก เข้ามาอาศัยเป็นประชากรแฝงที่ไม่ให้ความร่วมมือในกิจกรรมใดๆ ของหมู่บ้าน
- เกษตรกรถูกมองว่าเป็นคนชั้นต่ำ

สรุป
การทำนาของเกษตรกรบ้านหัวถนนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยังเป็นอาชีพที่เกษตรกรยังไม่ภาคภูมิใจในอาชีพของตนเอง การทำนายังทำกันแบบขาดการพัฒนาความรู้ การให้การสนับสนุนจากภาครัฐไม่ต่อเนื่องและไม่แสดงผลชัดเจนทำให้เกษตรกรเกิดความรู้สึกขาดที่พึ่ง ยิ่งเงินทุนที่ใช้ในการประกอบอาชีพทำนาสูงขึ้น และต้องใช้จำนวนมากขึ้น ผลผลิตที่ได้ไม่เคยพอเพียงกับรายจ่าย ทำให้เกษตรกรเบื่อหน่ายต่อการทำนา ที่ยังทำกันอยู่ส่วนใหญ่เพราะไม่มีอาชีพอื่น เทคโนโลยีใหม่ที่เกษตรกรใช้ในการทำนา แม้จะทำให้เกษตรได้รับความสะดวกมากขึ้น แต่ก็ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น รายได้ที่ได้สูงขึ้นก็เป็นเพียงแค่จำนวนเงินมากขึ้น แต่ข้าวของก็ราคาสูงขึ้นไปตามรายได้

วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปจากอยู่อย่างพอเพียงในอดีตกลายเป็นดิ้นรน เอาเงินเป็นมาตรฐานในการตัดสินความเจริญของแต่ละคนทำให้เกิดการขาดความสามัคคีในหมู่บ้าน มีการคอรัปชั่นตั้งแต่ระดับล่างไปจนถึงระดับผู้บริหาร ประชาชนในหมู่บ้านแบ่งเป็นพรรคพวกไม่ให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน คนที่ด้อยโอกาศส่วนใหญ่จะไม่ขวนขวายกลับเป็นคนติดเหล้า เป็นคนเกียจคร้าน แม้คนที่เคยมีโอกาสก็หลงไปกับการพัฒนาที่รวดเร็ว ต้องการมีรถมอเตอร์ไซต์ มีรถปิ๊คอัพโดยไม่มีความจำเป็นในการประกอบอาชีพรองรับ จึงขายทีดินทำกินซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้แล้วบริหารไม่ได้กลายเป็นหนี้สิน หมดที่ทำกิน

โอกาสที่จะให้เกษตรกรได้รับการพัฒนาต้องอาศัยความสนับสนุนอย่างจริงจังทั้งทางด้านการศึกษาและเงินทุนจากภาครัฐ การศึกษาควรเป็นการศึกษาที่ผู้ศึกษาสามารถนำกลับไปใช้ในท้องถิ่นได้ เงินสนับสนุนจากภาครัฐควรจะเป็นเงินให้ที่มีดอกเบี้ยต่ำหรือไม่มีดอกเบี้ยเน้นไปเพื่อให้เกษตรกรเกิดความภาคภูมิใจในอาชีพตน สามารถเลี้ยงตนเองได้ ไม่เน้นการส่งเสริมการวัดค่าความสุขของประชาชนด้วยเงินรายได้

ปัญหาสำคัญของเกษตรกรคือ ปัญหาความอยากจน กับการขาดการศึกษา

หากสามารถพัฒนาได้อย่างรอบครอบครบวงจรจนทำให้เกษตรกรเกิดวามภาคภูมิใจในอาชีพตน สามารถกำหนดราคาสินค้าของตนได้ เลี้ยงตัวเองได้ สังคมแห่งความสงบสุขเหมือนอย่างที่เคยมีมาในอดีตก็คงจะเกิดขึ้นได้ง่าย

https://thairice.wikispaces.com

--------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©