-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เรียนเกษตรสไตล์สีสันชีวิตไทย....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เรียนเกษตรสไตล์สีสันชีวิตไทย....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/08/2018 6:23 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

การปฏิรูปชาวนาไทย :

กลุ่มงานบริการวิชาการ 2 สำนักวิชาการ ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ข้าวนับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อประเทศ หนึ่งในห้าของพื้นที่ของประเทศไทยหรือประมาณ 70 ล้านไร่เป็นพื้นที่นา โดยพื้นที่นาส่วนใหญ่กระจายอยู่ทั่วประเทศ และอยู่นอกเขตชลประทาน (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2557, น. 9)

ประเทศไทยมีชาวนาเกือบสี่ล้าน ครัวเรือน ผลิตข้าวเปลือกเฉลี่ยปีละ 30 กว่าล้านตัน สร้างรายได้ให้กับประเทศปีละประมาณ 200,000 ล้านบาท รวมทั้งใช้บริโภคภายในประเทศคิดเป็นมูลค่าปีละ 230,000 ล้านบาท รวมมูลค่าของข้าวเฉลี่ยปีละประมาณ 430,000 ล้านบาท (“เร่งปรับปรุง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาข้าวฯ,” 2557)

ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวสู่ตลาดโลก มากที่สุด โดยคู่แข่งการส่งออกข้าวที่สำคัญคือ เวียดนาม ที่ผ่านมาชาวนาส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน และมีรายได้น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับอาชีพอื่น ๆ

จากการสำรวจพบว่าขนาดการถือครองที่ดินของชาวนามีแนวโน้มลดลง ต้นทุนการผลิตข้าวแต่ละประเภทมีต้นทุน เพิ่มขึ้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้รายงานว่า พ.ศ. 2557 มีต้นทุนการผลิตข้าวชนิดต่างๆ ประมาณ 4,323 - 5,968 บาท/ไร่ ซึ่งต้นทุนการผลิตข้าวจะสูงขึ้นทุกปี ในขณะที่ผลตอบแทนสุทธิของชาวนา (บาท/ไร่) มีแนวโน้มลดลง ( สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2557)

รวมทั้งเกษตรกรมีขนาดหนี้สิน (บาท/ครัวเรือน) เพิ่มขึ้น (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2557, น. 4) ในด้านแรงงานพบว่าแรงงานรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคเกษตร น้อยลง ส่งผลให้อายุเฉลี่ยของแรงงานภาคเกษตรสูงขึ้น (กรวิทย์ ตันศรี, ม.ป.ป.)

เนื่องจากอาชีพชาวนาเป็น อาชีพที่มีความเสี่ยงสูงจากภัยธรรมชาติ ได้แก่ ฝนแล้ง น้ำท่วม ฯลฯ อย่างไรก็ตาม นอกจากปัญหาความเสี่ยง ทางด้านภัยธรรมชาติแล้ว ยังมีปัญหาอื่นๆ ที่ทำให้ชาวนาไทยไม่สามารถยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นได้

โดยสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวนาไทย ได้แก่
1. ปัญหาระบบชลประทานในพื้นที่เพาะปลูกข้าวมีจำกัด ประเทศไทยมีพื้นที่ทั้งหมด 320 ล้านไร่ มีศักยภาพในระบบชลประทาน 60 ล้านไร่ ซึ่งมีระบบ ชลประทานแล้วเพียง 29.6 ล้านไร่ และมีพื้นที่ที่สามารถพัฒนาระบบชลประทานได้อีก 30.4 ล้านไร่ พื้นที่ เกษตรน้ำฝน 109 ล้านไร่ สามารถพัฒนาระบบชลประทานได้อีก 9.1 ล้านไร่ โดยร้อยละ 70 ของพื้นที่ปลูกข้าวอยู่นอกเขตชลประทาน

ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูก 149 ล้านไร่ มีพื้นที่ปลูกข้าว 70 ล้านไร่ แยกเป็นพื้นที่ปลูกข้าวในเขตเหมาะสมและเหมาะสมปานกลาง ประมาณ 43 ล้านไร่ และมีพื้นที่ปลูกข้าวที่เหมาะสมน้อยและ ไม่เหมาะสมประมาณ 27 ล้านไร่ ซึ่งสามารถเปลี่ยนไปปลูกพืชเกษตรอื่นที่เหมาะสมและให้ผลตอบแทนสูงกว่า

โดยพื้นที่เพาะปลูกข้าวส่วนใหญ่ของประเทศประมาณสามในสี่อยู่ในพื้นที่นาน้ำฝน และมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวในที่นาชลประทานประมาณหนึ่งในสี่ของพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปี อย่างไรก็ตามในพื้นที่นาน้ำฝนจะมีผลผลิตต่ำ ประมาณครึ่งหนึ่งของผลผลิตข้าวในพื้นที่ชลประทาน (“จัดระบบปลูกข้าวขยายสู่ภาคอีสาน”, 2557)

2. ปัญหาการระบาดของศัตรูพืช ชาวนาส่วนใหญ่ประมาณ 600,000 ครัวเรือนต้องเช่าที่นาเพื่อให้มีรายได้เพียงพอ และต้องเร่ง เพาะปลูกข้าวให้ได้มากกว่าปีละ 1 ครั้ง ทำให้เกิดการระบาดของศัตรูพืชได้ง่าย ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูง

เมื่อเผชิญกับความผันผวนของราคาข้าวเปลือก ชาวนาจึงต้องเผชิญกับภาวะหนี้สิน ขาดความมั่นคงทางอาชีพ ขาดสวัสดิการที่เหมาะสมในวัยชราภาพ โดยชาวนาส่วนใหญ่มีอายุมากเฉลี่ย 55 ปีและมีอายุเกินกว่า 60 ปี ประมาณร้อยละ 30 ด้วยปัญหาต่างๆ ที่ยังคงรอการแก้ไขเช่นนี้

เยาวชนรุ่นใหม่เป็นจำนวนมากจึงขาดแรงจูงใจ และละทิ้งไร่นาหันไปประกอบอาชีพอื่นแทน (“เร่งปรับปรุง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาข้าวฯ”, 2557)

3. ปัญหาชาวนาขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตโดยศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวมีไม่เพียงพอในการจำหน่ายให้กับ เกษตรกร โดยในแต่ละปีชาวนามีความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อการเพาะปลูกประมาณ 1 ล้านตัน ขณะที่กรมการข้าวสามารถผลิตได้ปีละไม่เกิน 1 แสนตัน (“หมู่บ้านผลิตภัณฑ์ข้าวต้นแบบ”, 2555)

ส่งผลให้เกิด ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าว และไม่เพียงพอกับความต้องการ ทำให้ชาวนาแก้ปัญหาด้วยการเก็บเมล็ด พันธุ์ไว้ใช้เอง โดยชาวนาบางส่วนไม่มีความรู้ในเรื่องการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ให้ถูกวิธีและมีคุณภาพ ไม่ทราบวิธีการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ ทำให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ไม่บริสุทธิ์ พันธุ์ไม่แท้ คุณภาพไม่ดี มีเปอร์เซ็นต์การงอกน้อย ส่งผลให้ได้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ

4. ปัญหาต้นทุนการผลิตต่อไร่สูง การปลูกข้าวของชาวนานั้น ชาวนาต้องอาศัยปัจจัยการผลิตที่สำคัญหลายปัจจัยได้แก่ เครื่องจักรกลทางการเกษตร น้ำมันเชื้อเพลิง ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยากำจัดศัตรูพืช เป็นต้น

เพื่อการผลิตและให้ ได้ผลผลิตหรือผลตอบแทนมากขึ้น แต่ปัจจัยการผลิตดังกล่าวมีราคาค่อนข้างแพง เนื่องจากส่วนใหญ่ต้องนำเข้า จากต่างประเทศ และใช้ในปริมาณที่มาก

นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยเคมีเป็นเวลานาน ย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพของดิน ทำให้ดินเสื่อมสภาพหรือไม่มีคุณภาพ ส่งผลให้ผลผลิตข้าวแทนที่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นกลับมีปริมาณที่ลดลง ทำให้รายได้ที่จะได้รับลดลงตามไปด้วย และไม่เพียงพอกับค่าใช่จ่ายที่ได้ลงทุนไป ชาวนาจึงเกิดภาวะ ขาดทุนและเกิดหนี้สินตามมา

5. ปัญหาราคาข้าว เนื่องจากที่ผ่านมาชาวนาไทยอยู่ในสภาพที่ถูกกำหนดให้เข้าสู่ระบบทุนหรือระบบตลาด โดยที่ชาวนาไม่มีสิทธิที่จะเข้าไปกำหนดทิศทาง เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนา ชาวนาขาดอำนาจในการต่อรอง ถูกกดขี่ ขูดรีดจากพ่อค้าคนกลาง เนื่องจากกลไกการตลาดเป็นของพ่อค้าคนกลาง ซึ่งซับซ้อนมากขึ้นจากพ่อค้าในประเทศ เพิ่มเป็นพ่อค้าต่างประเทศในระบบตลาดโลก ชาวนาเป็นผู้ผลิต แต่ไม่ได้จัดการ ผลผลิตโดยตนเอง แตกต่างจากผลผลิตของบริษัทเอกชนทั่วไปที่สามารถกำหนดราคาขายได้ (ข้าว : นโยบาย การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน, 2552)

6. ปัญหาหนี้สิน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว ชาวนาจึงต้องปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าว เพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอกที่ต้องมีการลงทุนเพิ่มขึ้น และที่สำคัญเนื่องจากราคาข้าวตกต่ำ ชาวนาจึงมีรายได้ที่ไม่พอกับค่าใช้จ่ายจำเป็น ต้องกู้หนี้ยืมสิน เพื่อใช้จ่ายในครอบครัว และใช้เป็นค่าลงทุนครั้งต่อไป

จากข้อมูลตัวเลขหนี้สินของเกษตรกร (รวมถึงชาวนา) ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2554/55 พบว่า ครัวเรือนภาคการเกษตรทั้งหมดมีหนี้สิน เพิ่มขึ้นจาก 204,117 ล้านบาท ใน พ.ศ. 2542 เป็น 456,339 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับงานศึกษาของกลุ่ม ปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน (กลุ่มโลโคลแอค) ที่พบว่าชาวนาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีหนี้สินเฉลี่ยถึง 401,679 บาทต่อครอบครัว และชาวนาในจังหวัดเพชรบุรี มีหนี้สินเฉลี่ยถึง 371,091 บาทต่อครอบครัว (“ชาวนาอยุธยา อ่วมแบกหนี้”, 2557)

7. ปัญหาไร้ที่ดินทำกิน ชาวนาส่วนใหญ่อยู่ในสภาพไร้ที่ดินทำกินเป็นของตนเอง หรือต้องเช่าที่ดินเพื่อปลูกข้าว ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุที่สำคัญ อาทิ

ชาวนาต้องขายที่ดินให้กับนายทุน อันเนื่องมาจากปัญหาหนี้สิน และจากการสำรวจของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ. 2554 พบว่ามีเกษตรกรที่เช่าที่ดินผู้อื่นเป็นพื้นที่ร้อยละ 19.6 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด 149.25 ล้านไร่ พบว่าในภาคกลางสูงที่สุดประมาณร้อยละ 36 ถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ โดยพบสูงที่สุดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการเช่าที่ดินมากถึงร้อยละ 72 ของพื้นที่เกษตรกรรม ทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของกลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน (กลุ่มโลโคลแอค) ที่พบว่าใน พ.ศ. 2555 มีเกษตรกรเช่านาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สูงถึงร้อยละ 85

นอกจากนี้เกษตรกรภาคกลางต้องจ่ายค่าเช่าที่ดิน สูงถึงไร่ละ 1,500-2,500 บาทต่อไร่ต่อรอบการผลิต คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20-25 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ในขณะที่ต้นทุนการผลิตรวมทั้งเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี มีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 30-45 ของต้นทุนการผลิต (“สัมภาษณ์: 1 ปีประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ รับบทกาวใจม็อบชาวนา-รัฐบาล”, 2557)

8. ปัญหางบประมาณการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการผลิตข้าวน้อยเกินไป ประเทศไทยไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควรกับการวิจัยและพัฒนาในเรื่องการปรับปรุงพันธุ์ข้าว รวมไปถึงเทคโนโลยีในการเพาะปลูก

การพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว สังเกตได้จาก การกำหนดนโยบายของรัฐบาลซึ่งจะเน้นด้านราคาข้าวมากกว่าที่จะสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนา

ในขณะที่ ประเทศเวียดนามซึ่งเป็นประเทศคู่แข่งข้าวที่สำคัญ ให้ความสำคัญกับเรื่องการวิจัยและการพัฒนาเป็นอย่างมาก โดยทุ่มงบประมาณหลายพันล้านบาทต่อปี ในการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวอย่างต่อเนื่อง ทำให้เวียดนามสามารถพัฒนาด้านการผลิตข้าวได้อย่างรวดเร็ว

ประเทศไทยจำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณด้านการวิจัยพันธุ์ข้าว กำหนดทิศทางให้ชัดเจนว่าจะพัฒนาไปทางใดบ้าง และจะมีวิธีการเพิ่มคุณภาพของข้าวได้อย่างไร (สารสิน วีรผล, 2554)

ข้อเสนอแนวทางปฏิรูปชาวนา ตามที่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนได้เสนอไว้ ได้แก่
1. การจัดตั้งศูนย์ข้าวชุมชนระดับอำเภอ
2. การประกันรายได้เกษตรกรชาวนาเพื่อลดความเสี่ยงจากการผันผวนของราคา
3. การประกันภัยธรรมชาติเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ
4. การจัดสวัสดิการชาวนาเพื่อให้มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ
5. ส่งเสริมการใช้ระบบสหกรณ์อย่างจริงจัง
6. การกำหนดระบบพื้นที่ปลูกข้าว (Zoning)
7. เพิ่มการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาข้าวไทย

ข้อเสนอแนวทางการปฏิรูปชาวนา ทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชาวนา ตามที่หน่วยงาน ภาครัฐและเอกชนได้เสนอไว้ ได้แก่
1. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนสวัสดิการชาวนา เพื่อจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชาวนา ที่เสนอโดยกรมการ ข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว และเห็นสมควรให้ ทบทวนในด้านหลักการและเหตุผลความจำเป็นในการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชาวนา การบริหารจัดการ

ภาระงบประมาณของรัฐ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการกองทุน รวมทั้งความซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น ตลอดจน ความยั่งยืนของกองทุน

2. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อการคุ้มครองพื้นที่สำหรับทำการเกษตร ไม่ให้ที่ดินถูกนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น

3. ร่างพระราชบัญญัติโฉนดชุมชน เพื่อการจัดพื้นที่สาธารณะของรัฐที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าว ร่างพระราชบัญญัติทั้งสามฉบับ ล้วนเป็นสิ่งที่ภาครัฐและเอกชน ได้ดำเนินการศึกษามาเป็นเบื้องต้นแล้ว หากได้นำมาปรับปรุงพิจารณาแก้ไขให้สอดคล้องเหมาะสม จะเป็นประโยชน์ในการปฏิรูปชาวนา และประเทศชาติ สืบไป

http://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2557/hi2557-003.pdf
---------------------------------------------------------------------------------






.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/08/2018 6:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:

.
.

...อย่าหวังว่า จะได้อะไรจากประเทศชาติ
แต่จงคิดเสมอว่า จะให้อะไรแก่ประเทศชาติ...

....... จอห์น ฟิชเจอร์รัล แคนเนดี .......



1. ปัญหา ระบบชลประทานในพื้นที่เพาะปลูกข้าวมีจำกัด
2. ปัญหา การระบาดของศัตรูพืช
3. ปัญหา ชาวนาขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ
4. ปัญหา ต้นทุนการผลิตต่อไร่สูง
5. ปัญหา ราคาข้าว
6. ปัญหา หนี้สิน
7. ปัญหา ไร้ที่ดินทำกิน
8. ปัญหา งบประมาณ การวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการผลิตข้าวน้อย



นักการเมือง/ราชการ มีหน้าที่และภารกิจตามรัฐธรรมนูญ สนับสนุนเกษตรกร ..... ทำอย่างไรก็ว่ากันไป ?


ประชาชน/เกษตรกร/ชาวนา เป็นผู้รับการสนับสนุน ........ ต้องทำอย่างไร ?

------------------------------------------------------



ว่ามั้ย.....เหล้าเก่าในขวดใหม่ (ว่ะ)

หรือไม่ก็ ไม่มีอะไรในกอไผ่ นอกจากหน่อไม้และไข่เต่า....











.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/08/2018 1:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

"ปัญหาของเกษตรกรไทย"

ปัญหาของเกษตรกรไทยในปัจจุบัน คือ "การผลิตมากเกินไป" หรือ" การผลิตล้นตลาด "ทำให้ราคาตกต่ำ ต้องประสบกับการขาดทุนและเป็นหนี้สะสมอย่างต่อเนื่อง จนมีคำกล่าวว่าเกตรกรไทยเกิดมาเพื่อทำงานใช้หนี้จนกว่าช้วิตจะหาไม่" ปัจจุบันเกตรกรมีหนี้ประมาณ 200,000 บาทต่อครัวเรือน

ชาวนาไทยปลูกข้าวปีละเกือบ 70 ล้านไร่ ได้ผลผลิตเกือบ 40 ล้านเกียน ทั้งนาปีและนาปรัง ถ้าคิดว่าสีเป็นข้าวสารได้ 60% จะได้ข้าวสารเกือบ 24 ล้านตัน ประมาณว่าบริโภคในประเทศประมาณ 8-10 ล้านตันข้าวสาร และส่งออกสูงสุดประมาณปีละ 10 ล้านตัน ก็จะมีข้าวเหลือคัางสต็อกเกือบปีละ 2-4 ล้านตัน

ถ้าปีไหนส่งออกได้น้อยก็จะยิ่งมีข้าวเหลือค้างสต็อกมาก ราคาข้าวจึงตกต่ำมาตลอด คนที่จะคิดแก้ไขเรื่องราคาข้าวตกต่ำก็ต้องคิดแก้ปัญหาข้าวล้นตลาดให้ได้เสียก่อน

นอกจากนี้ไทยยังผลิตข้าวคุณภาพต่ำปีละประมาณครึ่งหนึ่ง ซึ่งข้าวคุณภาพต่ำราคายิ่งถูก เมื่อคนจนต่างแย่งกันปลูกข้าวขายทั่วเอเซีย ทำให้ข้าวล้นตลาดราคาก็ยิ่งถูก มีคนไทยบางคนภูมิใจว่า ไทยเป็นแชมป์ส่งข้าวออก แต่ลืมคิดไปว่าชาวนาทีปลูกข้าวก็เป็นแชมป์แห่งความยากจนในประเทศไทยด้วย

ส่วนชาวสวนยางก็ปลูกยางทั้งประเทศเกือบ 20 ล้านไร่ กรีดยางได้แล้ว 15 ล้านไร่ ได้ผลผลิต 4.1 ล้านตัน ถ้ากรีดได้ทั้งหมดจะได้ผลผลิตประมาณ 5 ล้านตัน ปัจจุบันแปรรูปในประเทศประมาณ 5 แสนตัน ส่งออกเป็นยางดิบประมาณ 3.6 ล้านตัน ราคาเคยตกต่ำกว่ากิโลกรัมละ 40 บาท ทำให้ชาวสวนยางเดือดร้อนกันทั่วหน้า ต่อไปถ้ากรีดยางได้ทั้ง 20 ล้านไร่ ได้ผลผลิตสูงถึง 5 ล้านตัน ราคาจะเป็นอย่างไร?

ลองหลับตานึกดู วันนี้รัฐบาลก็ร้องว่าปลูกยางมากเกินไปแล้วจะให้ทำอย่างไร? จะให้โค่นต้นยางทิ้งหรือ?

เมื่อเวลาราคายางดีก็หลับหูหลับตาส่งเสริมให้ปลูกกันใหญ่ ไม่สนใจว่ามันจะล้นตลาด ผมเคยไปดูงานที่สิบสองปันนาพบว่าคนจีนปลูกยางกันเต็มภูเขาไปหมด คงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้จีนซื้อยางจากไทยน้อยลง ความจริงยางเป็นพืชอุตสาหกรรม รัฐบาลไทยก็ส่งเสริมการแปรรูปมานานแต่เรียกได้ว่าล้มเหลว เพิ่งแปรรูปได้ไม่กี่แสนตัน ส่วนใหญ่ส่งออกเป็นยางดิบ

ดังนั้นใครที่ชอบคร่ำครวญเรื่องอุตสาหกรรมการเกษตรก็ขอให้ดูเรื่องการแปรรูปยางเป็นตัวอย่าง ก็จะเห็นความล้มเหลวของอุตสาหกรรมการเกษตรได้สมบูรณ์แบบ เพราะผลผลิตยางนั้นต้องแปรรูปเท่านั้นไทยยังทำไม่สำเร็จ

พูดถึงผลไม้ทั้งลำใยและเงาะที่ผ่านมาราคาก็ไม่คุ้มค่าเก็บ ต้องปล่อยให้ร่วงคาต้น ทั้งๆที่ควรนำไปแปรรูปก็ล้มเหลวมาโดยตลอดอีกเหมือนกัน

ดังนั้นปัญหาหลักของเกษตรกรไทยไม่ใช่ปัญหาการผลิตแต่เป็นปัญหาการตลาดคือ ผลิตจนล้นตลาด ทำให้ราคายิ่งตกต่ำและยิ่งขาดทุน มีบางคนเสนอให้ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต คือ ทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น จะได้ทำให้ต้นทุนลดลงและมีโอกาสได้กำไร ถ้าปลูกข้าว 70 ล้านไร่แล้วได้ผลผลิตมากกว่า 40 ล้านตันข้าวเปลือก แล้วจะเอาไปขายที่ไหน ผลผลิตยิ่งมากขึ้นราคาก็จะยิ่งต่ำลง ในที่สุดจะไม่ยิ่งแย่ไปกว่านี้หรือ

เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่า แล้วจะไปขายที่ไหน ขายให้ใคร ตลาดมีแล้วหรือยัง การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ถ้าใช้พื้นที่การผลิตเท่าเดิม ถึงแม้ต้นทุนต่อหน่วยจะลดลงแต่ต้นทุนการผลิตทั้งหมดถ้าใช้พื้นที่เท่าเดิมก็จะเพิ่มขึ้นแน่นอน ถ้าขายไม่ได้จะมิยิ่งล้มละลายหมดเนื้อหมดตัวไปหรือ

เวลาจะเสนอความคิดอะไรคงต้องพิจารณาข้อมูลให้รอบคอบ มิฉะนั้นจะยิ่งทำให้เกษตรกรเดือดร้อนมากยิ่งขึ้นไปอีก วันนี้ถ้ารัฐบาลบอกว่าพื้นที่ปลูกข้าวปลูกยางพารามากเกินไป ต้องลดพื้นที่การผลิต

เกษตรกรคงถามว่า แล้วจะให้ไปผลิตอะไรทดแทน เพราะไม่ว่าจะผลิตอะไรถ้าผลิตมากๆราคาก็ตกต่ำทั้งสิ้น ถ้ารัฐบาลดูแลให้พืชผลการเกษตรราคาดี เรื่องการผลิตชาวบ้านคงบอกว่ารัฐบาลไม่ต้องเป็นห่วงเดี๋ยวเขาจัดการกันเอง เรื่องราคาตกต่ำนี่แหละเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของเกษตรกร

การแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำด้วยการที่รัฐบาลเอาเงินมาซื้อแทรกแซงตลาดแล้วเอาเข้าโกดังเก็บไว้นั้น จากประสบการณ์ที่ผ่านมาก็จะก่อให้เกิดต้นทุนค่าโกดังและค่าจัดเก็บทำให้ต้นทุนสูงขึ้น เมื่อจะนำออกมาขายก็จะทำให้ราคาในตลาดลดลงส่งผลกระทบต่อเกษตรกรอีก ถ้าเก็บไว้นานก็จะทำให้เสียหาย เช่นข้าวถ้าเก็บไว้นานคุณภาพจะเสื่อม ยิ่งทำให้ความเสียหายเพิ่มขึ้นอีก แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลก็คิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไร?ให้ดีกว่านี้ เป็นการแก้ผ้าเอาหน้ารอดกันมาโดยตลอด

ถ้าถามว่ามีหรือไม่ที่ประเทศอื่นเขาแก้ปัญหาของเกษตรกรได้สำเร็จ คำตอบคือมีอย่างแน่นอน มี หลายประเทศที่สามารถแก้ไขความจากจนของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน และเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศเหล่านี้เลิกยากจนไปแล้ว เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ และมาเลเซีย เป็นต้น


ปัญหาของเกษตรกรไทยก็ต้องแก้ไขได้ เพียงแต่รอว่าเมื่อไหร่จะถึงวันนั้น และใครจะเป็นคนแก้
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์
15 กุมภาพันธ์ 2558

https://www.facebook.com/Prof.SombatThamrongthanyawong/posts/ปัญหาของเกษตรกรไทยปัญหาของเกษตรกรไทยในปัจจุบันคือ การผลิตมากเกินไป หรือการผลิตล้นต/919309858110006/
---------------------------------------------------------------------------------





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/08/2018 1:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
เรียนเกษตรสไตล์สีสันชีวิตไทย :

บทที่ 1 เกษตรานุสติ

ปรัชญาเกษตร :
* คือ หลักแห่งความรู้ และความจริงด้านการเกษตร
* ประเทศไทยมีกิจกรรมเกษตรให้เลือกทำมากที่สุดในโลก (+50 แบบ) แต่คนไทยไม่รู้จะทำอะไร ว่าแล้วทำตามข้างบ้าน

* ผู้ส่งเสริม มุ่งเน้นพุ่งเป้าไปที่ราคาในตลาด ไม่สนใจต้นทุนการผลิต .... ภาพลักษณ์ คือ ส่งเสริมธุรกิจ ขายปุ๋ย/ขายยา มากกว่า
* ผู้รับการส่งเสริม ต้นทุนสูงเพราะซื้อทุกอย่าง .... รู้ราคาตลาดล่วงหน้า แต่ไม่สนใจลดต้นทุนเพื่อเอากำไร

* งานส่งเสริม 5 W. (WHO WHAT WHEN WHERE WHY) ไม่มี 1 H. (HOW)
* งานส่งเสริม NATO (NO ACTION TALK ONLY)

* ข่าวเกษตร ทีวี. เกษตรอินทรีย์-เกษตรอินทรีย์ แต่ไม่บอกว่าอินทรีย์ที่ว่า คืออะไร ? ทำจากอะไร ? ใช้ยังไง ? ฯลฯ ? .... คนดูจึงไม่รู้อะไรเลย
* ข่าวเกษตร ทีวี. ไม่ใช้สารเคมี-ไม่ใช้สารเคมี แต่ไม่ยอกว่า ใช้อะไรแทน ? ทำจากอะไร ? ใช้ยังไง ? ฯลฯ ? .... คนดูจึงไม่รู้อะไรเลย

* ทำตามคนที่ล้มเหลวย่อมล้มเหลวยิ่งกว่า .... ทำตามคนที่สำเร็จย่อมสำเร็จยิ่งกว่า
* ปลูกขาย 100 ปีไม่รวย .... ทำปุ๋ยขาย 1 ปีรวยได้
* ทำแล้วขาย ขายแล้วขาดทุน รุ่นแล้วรุ่นเล่า ไม่รู้จักโตซักที (นรม.)
* ก่อนทำ-ระหว่างทำ-ก่อนขาย คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ
* รู้คนละนิด เอามารวมกัน = รู้เยอะทุกคน

* กะรวยด้วยกัน จะรวยทุกคน .... กะรายกว่าคนอื่น จะจนอยู่คนเดียว
* ลิงญี่ปุ่น ปิดตา ปิดปาก ปิดหู .... ลิงไทย ปิดตา ปิดปาก ปิดหู ปิดใจ
* ยากหรือง่าย ทำได้หรือทำไม่ได้ อยู่ที่ใจ
* ความเชื่อมั่นในตัวเองสูง แต่เชื่อมั่นในสิ่งที่ผิด ทำแล้วย่อมล้มเหลว
* ศึกษาส่วนที่จะเป็นปัญหาก่อน ศึกษาส่วนที่สำเร็จทีหลัง

* วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ “ป้องกัน”
* ธรรมชาติ ไม่มีตัวเลข-ไม่มีสูตรสำเร็จ-ไม่มีโวลลุ่ม-ไม่มีคันเร่ง แต่มี “ตามความเหมาะสม”
* มนุษย์เอาชนะธรรมชาติไม่ได้แต่อยู่ร่วมกับธรรมชาติ และแสวงประโยชน์จากธรรมชาติได้
*


ต้นทุน :
* รายจ่าย - ต้นทุน = กำไร
* ทำเอง VS ซื้อ
* ต้นทุนที่สูญเปล่า
* ต้นทุนท่วมราคาขาย

* ขาดทุน สาเหตุ/แก้ไข
* กำไร สาเหตุ/ขยายผล

* ที่นี่ที่เดียว ส่งเสริมลดต้นทุน ..... ที่อื่นทุกที่ ส่งเสริมราคาตลาด
* ยิ่งส่งเสริม เกษตรกรยิ่งจน ยิ่งเป็นหนี้ แต่ พ่อค้าปุ๋ย-พ่อค้ายา ยิ่งรวย ๆ ๆๆ
*


ลงทุน :
* "ลงทุนครั้งเดียว"
* พื้นที่น้อย ผลิตสินค้า "ราคาแพง" = กำไรมาก
* ทำงานทั้งปีได้ขายรอบเดียว VS ทำงานทั้งปีได้ขายหลายๆ ๆๆ รอบ
* หวังผล ระยะสั้น-ระยะปานกลาง-ระยะยาว
* เป้าหมาย ผลผลิตเพิ่ม (คุณภาพ-ปริมาณ) ต้นทุนลด อนาคตดี

* คุณภาพ ซูพรีม พรีเมียม เกรด เอ. จัมโบ้ โกอินเตอร์ ขึ้นห้าง ออกนอกฤดู ปลอดสารเคมี พันธะสัญญา คนนิยม .... VS .... เกรด ฟุตบาท
*


ความรู้ :
* เพิ่มพูนได้ เป็นมรดกติดตัวไปตลอดชีวิต ถ่ายให้ลูกหลานได้
* ทำได้โดยการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
* ไม่ได้เรียนสาขาเกษตรโดยตรง แต่เรียนด้วยตัวเอง ย่อมมีความรู้สาขาเกษตรได้
* ความรู้เรียนทันกันหมด
* LEARNING ALL THE LIVE

* วิชาการสูง สูงเท่าเดิม คนต้องขึ้นไปหา
* ความรู้ไม่มาหาเรา เราต้องไปหาความรู้
* ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
* หัวใจนักปราชญ์ยุค IT สุจิปุลิ-ฟังคิดถามเขียน .... อ่าน ดู ทำ ใช้ ขาย แจก เททิ้ง

* เกษตร ยากกว่า วิศวะ + แพทย์
* มีความรู้แค่โฆษณา
*


ความสามารถ :
* ทำได้โดยทำด้วยมือตัวเอง
* พรสวรรค์มี 1 พรแสวงมี 99
* เฮง 1 ส่วน เก่ง 99 ส่วน
*


โอกาส :
* คนเรา แพ้/ชนะ กันที่โอกาส
* คนที่จะช่วยเราได้ คือ คนในกระจก
* หลักการและเหตุผล
* แจ๊คหม่า คือ จีนประเทศเดียว แต่แจ๊คหม่ำ คือ คนกินทั่วโลก
*

-----------------------------------------------------------------------------------


บทที่ 2 หลักสูตร :
ระยะเวลาเรียน :
* หลักสูตร ปุ๋ยน้ำ + ยา สูตร 10 ล. .......... 1 วัน
* หลักสูตร สปริงเกอร์ + หม้อปุ๋ย .............. 1 วัน
* หลักสูตร นักจัดรายการวิทยุเกษตร ............ 1 วัน
* หลักสูตร เทคนิคเฉพาะเรื่อง ................... 1 วัน
* หลักสูตร เกษตรแจ๊คพ็อต ..................... 1 วัน

* เริ่มเรียน 08.00 - 16.00 น.
* กิน-นอน ที่ RKK ฟรี
*


วัตถุประสงค์ :
* ทำเป็น ทำเอง-ทำใช้-ทำขาย-ทำแจก-ทำทิ้ง
* ใช้เป็น
* แก้ปัญหาเป็น
* ขยายผลต่อยอดเป็น
* สอนผู้อื่นได้
*


วิธีเรียน :
* LEARNING BY DOING
* MOUTH TO MOUTH FACE TO FACE

* ปฏิบัตินำ-วิชาการเสริม
* โดยวิทยากรพิเศษ
*


ผู้เรียน :
* รุ่นละ 10-20 คน
* ไม่จำกัดเพศ
* ไม่จำกัดวุฒิภาวะ
*


ประวัติ :
* การเกษตรที่กำลังทำ
* ที่อยู่
* อาชีพเสริม
* ความสามารถพิเศษ
* เกษตรกรดีเด่น
* หมอดินอาสา
*


ของแถม :
* หนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ
* หนังสือเกษตรก้าวหน้า
* ปุ๋ยน้ำที่ทำเสร็จ
* อาหารกลางวัน คาว/หวาน 1 มื้อ
* ไม่จำกัดการบันทึกเสียง บันทึกภาพ
* กิน-นอน ที่ RKK ฟรี
*


สมาชิกภาพ :
* ตลอดชีวิต
* มาเรียนซ้ำ จ่ายครึ่งเดียว (งดของแถม)
* ปชส. ในรายการสีสันชีวิตไทย ฟรี
*


ค่าใช้จ่ายเฉพาะหลักสูตร :
* หลักสูตร ปุ๋ย-ยา .......................... ?
* หลักสูตร สปริงเกอร์-หม้อปุ๋ย .............. ?
* หลักสูตร เทคนิคเฉพาะเรื่อง ................ ?
* หลักสูตร เกษตรแจ๊คพ็อต .................. ?
* หลักสูตรอื่นๆ ตามสถานการณ์ ............. ?

---------------------------------------------------------------------------------


บทที่ 3 ปุ๋ยน้ำ :
น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง :
น้ำหมักชีวภาพโอไฮโอ :
น้ำหมักชีวภาพฟาจีก้า :
ไบโออิ :
ไทเป :
ยูเรก้า :
โมลิเน็กซ์ยักษ์ :
โมลิเน็กซ์น้อย :
วัด ถ.พ. :
วัด pH :

----------------------------------------------------------------------------------


บทที่ 4 ยา :
ต้ม :
แช่ :
กลั่น :
สูตรเฉพาะ :
สูตรรวมมิตร :
สูตรยาฆ่าหญ้า :
ไอพีเอ็ม :

------------------------------------------------------------------------------------


บทที่ 5 สปริงเกอร์ :
รูปแบบแปลงเกษตร :
รูปแบบหัวสปริงเกอร์ :
กะเหรี่ยงคอยาว :
กะเหรี่ยงหน้าง้ำ :
เหรี่ยงหน้ามืด :
กะเหรี่ยงเจ้าพระยา :
กะเหรี่ยงดำดิน :
กะเหรี่ยงสเปรย์หมอก :
กะเหรี่ยงกรอง :
กะเหรี่ยงภูมิปัญญา :

แถมหัวสปริงเกอร์ :
แถมกับดักแมลงวันทอง :
*

-----------------------------------------------------------------------------------


บทที่ 6 หม้อปุ๋ย :
หม้อปุ๋ยที่ปั๊ม :
หม้อปุ๋ยหน้าโซน :
หม้อปุ๋ย 1 ขวด 1 โซน :
หม้อปุ๋ย 2 ขวด 1 โซน :

หม้อปุ๋ย 4 ขวด 1 โซน :
หม้อปุ๋ย 4 ขวด 4 โซน :

หม้อปุ๋ยทางตั้ง :
หม้อปุ๋ยทางนอน :
หม้อปุ๋ยกะเหรี่ยงอัจฉริยะ :

แถมหม้อปุ๋ย :
*

---------------------------------------------------------------------------------


บทที่ 7 งานแห่งอนาคต :
* เทคนิคเฉพาะเรื่อง....
* เกษตรแจ๊คพ็อต ....
* แปรรูป ....
* การตลาด ....
* รวมกลุ่ม ....
* เกษตรพันธะสัญญา....

* ชมนมศิษย์เก่า ....
*

---------------------------------------------------------------------------------


บทที่ 9 อื่นๆ ตามสถานการณ์ :
* นายกฯ สั่ง ..............
* สมช. ร้องขอ ...........
* กิ๊กขอมา ................
*

----------------------------------------------------------------------------------

บทที่ 10 ประเมินผล :
* ยืนยันแน่นอนถูกต้อง สมเหตุสมผลเชื่อถือได้ ....
* ปัญหา การแก้ไข และการป้องกัน ....
* แนวทางใหม่สำหรับอนาคต ....
* ข้อมูลด้านการเกษตร สนง.สถิติแห่งชาติ ....
*

--------------------------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 20/08/2018 4:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

แปลว่า จะเปิด "สอน" ทำ ปุ๋ย-ยา-สปริงเกอร์-อื่นๆ

COMMENT หน่อยเป็นไร.....


THANK YOU




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
phunphiwat
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 25/07/2018
ตอบ: 2

ตอบตอบ: 22/08/2018 5:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
สนใจครับผม ลุงคิม

อยากเก่งเหมือนลุง





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 23/08/2018 10:51 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
phunphiwat บันทึก:

.
สนใจครับผม ลุงคิม

อยากเก่งเหมือนลุง

.



ช่ายยย เก่ง แต่เก่งเกิน ไม่ดีหร็อก....


โลกยุค IT ใครใครก็เก่งได้ :
- พรแสวง มี 99 พรสวรรค์ มี 1
- เก่ง 99 เฮ็ง 1
- อัจฉริยะมาจาก แรงบันดาลใจ 99 + ขยัน 1
- ฟังคิดถามเขียน อ่าน ดู ทำ ใช้ คิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ขาย แจก ทิ้ง

- IQ ความฉลาด ติดตัวมาแต่เกิด มีใน DNA
- EQ ความสัมพันธ์ เกิดมาแล้วสร้างเอง มีในความคิด

- IQ นำ EQ เสริม = ประสบความสำเร็จน้อย
- EQ นำ IQ เสริม = ประสบความสำเร็จมาก


- IQ EQ CQ MQ PQ AQ และ SQ
http://www.rtna.ac.th/pages/7q.html





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
phunphiwat
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 25/07/2018
ตอบ: 2

ตอบตอบ: 23/08/2018 3:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.


เพิ่งได้รู้จักกับ Q อีก 5 ตัว ..... ขอบคุณสำหรับข้อคิดครับ

ผมไม่เคยทำเกษตรมาก่อน ศึกษาแต่ในหนังสือ แล้วกำลังจะเริ่มลงมือทำ

เปิดอบรมเมื่อไหร่ บอกด้วยนะครับ Very Happy


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©