-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 29 OCT *นาข้าว น้ำลง..คิดใหม่-ทำใหม่
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 29 OCT *นาข้าว น้ำลง..คิดใหม่-ทำใหม่

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 28/10/2021 2:25 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 29 OCT *นาข้าว น้ำลง..คิดใหม่-ทำใหม่ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 29 OCT
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
***********************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

ผู้สนับสนุนรายการ :
*** ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส ธันเดอร์แคล.... ออร์เดอร์จาก ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกา +Mg. Zn. เคมี, .... ออร์เดอร์จากเกาหลี ให้ +Cu เคมี อย่างละ 5% .... ยิบซั่มเพื่อการเกษตรที่ทั่วโลกยอมรับ คือ ยิบซั่มจากประเทศไทย นี่แหละ

เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า

ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์สัปดาห์ที่สี่ของเดือน ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรที่ไหนอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- เดือนนี้ ตุลาคมมีวันสาร์ 5 วัน นั่นคือ เสาร์วันที่ 30 ต.ค. งานสัญจรรอบพิเศษ ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคนไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา .....


- งานสัญจรระยะนี้ต้องร่วมกันป้องกัน COVID หลีกเลี่ยงจับกลุ่ม คนมากๆ แนะนำ สมช. สั่งปุ๋ยลุงคิม สั่งยา อ.ณัฐ โทรติดต่อโดยตรงแล้วได้นัดหมายรับส่งของกัน รับของแล้วแยกกันเลย มีปัญหาอะไรโทรศัพท์คุยกันก็ได้....

*******************************************************
*******************************************************



จาก : (095) 178-39xx
ข้อความ : นาน้ำท่วม น้ำลงแล้วต้องทำใหม่ อยากทำนาข้าวแนวใหม่ตามแนวลุงคิมครับ
ตอบ : อย่ายึดติด แนวเกษตรทำนาข้าวมีหลากหลายแนว หลากหลายสำนัก หลากหลายบุคคล เอาทุกแนวมารวมกันแล้ว +แนวลุงคิม +แนวของตัวเอง ไปให้ถึง สูตรของ ก. ก.ทำกับมือ ม.อย่างเถียง

จาก : (084) 720-31xx
ข้อความ : เห็นด้วย 20 ปี ทำนาปีละ 2 ครั้ง เท่ากับ 20 ครั้ง เสียเพราะน้ำท่วม 1 ครั้ง ทำได้ได้ทำ 19 ครั้ง ก็ไม่ได้อะไร เพราะปุ๋ยผิด ปุ๋ยเกิน คุยกับที่บ้านจะทำนาข้าวแนวผู้พันครับ
ตอบ : รู้ทั้งรู้แต่ก็ยังทำ คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ซิ แนวของลุงคิม กับ แนวของตัวเอง มันต่างกันตรงไหน พบจุดต่างแล้ว จุดที่เหมือนกันเอามาต่อยอดขยายผล จุดที่ต่างกันเอามาแก้ไขแล้วต่อยอดขยายผล .... ถามจริง ใจ เอาเหรอ ?

บ่น :
ถึงยุคสมัยแล้วที่ชาวนาต้องสร้างแนวคิดใหม่ :
- เลิก....มุ่งแต่เอาปริมาณผลผลิตให้ได้มากๆ แต่ให้ระวังต้นทุน ลดต้นทุนให้ได้ทุกรูปแบบ
- เลิก....ทุ่มทุนซื้อทุกอย่าง แต่ให้ทำเองทั้งหมด หรือทำเองครึ่งหนึ่ง ซื้อครึ่งหนึ่ง
- เลิก....กะรวยคนเดียว แต่ให้กะรวยด้วยกันทั้งกลุ่ม ทั้งหมู่บ้าน
- เลิก....คิดคนเดียว ทำคนเดียว แต่จงระดมแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน
- เลิก....ทำแบบเดิมๆ แต่จงเปลี่ยนมาทำตามแบบคนที่ประสบความสำเร็จ แล้วต่อยอด
- เลิก....ทำตามคนที่ล้มเหลว แต่จงเป็นตัวของตัวเอง ด้วยความมั่นใจ มีหลักวิชาการ
- เลิก....กลัวเสียเหลี่ยม เลิกมิจฉาทิฐิ แต่จงยอมรับความจริง แล้วแก้ไข ปรับเปลี่ยนประยุกต์
- เลิก....ปิดกั้นตัวเอง แต่จงเปิดโลก รับรู้ข้อมูลใหม่ๆ เสมอ
- เลิก....ตามใจคน แต่จงตามใจข้าว ข้าวต้องการอะไรให้อันนั้น ต้องการเท่าไหร่ให้เท่านั้น
- เลิก....ปล่อยวิถีชีวิตไปวันๆ แต่จงมุ่งรุ่นหน้าต้องดีกว่า ยิ่งทำยิ่งดีขึ้น ดีขึ้น และดีขึ้น
- เลิก....ทำตามประเพณี ทำตามกระแส แต่จง แม่นสูตร-แม่นหลักการ
- เลิก....เชื่อคนขายปุ๋ย-ขายยา แต่จงเชื่อซึ่งกันและกัน

- รูปแบบการทำนา จากดีที่สุด ไปหาดีน้อยที่สุด ดังนี้... นาหยอดเมล็ด - นาดำด้วยมือ - นาดำด้วยเครื่อง - นาโยน - นาหว่านด้วยเครื่องพ่นเมล็ด - นาหว่านด้วยมือ

- น้ำมากทำให้ข้าวสูง แตกกอน้อย สุดท้ายก็ล้ม....น้ำน้อย เจ๊าะแจ๊ะหน้าดิน ถึงแห้ง ระดับแตกระแหง ต้นข้าวไม่สูง แตกกอมาก ต้นไม่ล้ม

- ยูเรีย ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี

- แม็กเนเซียม สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดีสมบูรณ์แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย

- สังกะสี สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี

- ช่วงเวลา 7-9 โมงเช้า ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง

- ข้าวต้องการสารอาหารทั้งสิ้น 14 ตัว (หลัก/รอง/เสริม) การใส่ยูเรีย 1 กส. (50 กก.) หรือ 2 กส. (100) /ไร่ เท่ากับได้สารอาหาร N. เพียงตัวเดียวเท่านั้น ..... นาข้าวบางแปลงใส่ยูเรีย 2 กส. (100 กก.) + 16-20-0 อีก 1 กส. (50 กก.) รวมใส่ปุ๋ย 150 กก./ไร่ แต่ข้าวได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัว คือ N. กับ P. เท่านั้น

- ข้าวต้องการปุ๋ยครบสูตร (N-P-K) อัตราส่วน 3 : 1 : 1 (30-10-10) 2 : 1 : 1 (16-8-Cool อัตรา 10-20 กก./ไร่/รุ่น แล้วต้องการ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮอร์โมน

- ข้าวต้องการและตอบสนองต่อปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางรากเท่าๆกัน นั่นคือ ควรให้ปุ๋ยทางใบมากครั้ง หรือ 7-10/ครั้ง จะได้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว

สรุป : ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ .... ลดปุ๋ยธาตุหลัก เพิ่มปุ๋ยธาตุรอง/ธาตุเสริม และฮอร์โมน....ต้นทุนลดลง แต่ประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ยูเรีย + 16-20-0


ตอบ : --
ข้อดี/ข้อเสีย ของปุ๋ยนาข้าว :

- ยูเรีย ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมากข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี

- แม็กเนเซียม สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดี สมบูรณ์ แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย

- สังกะสี สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องไข่ปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี

- ช่วงเวลา 7-9 โมงเช้า ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง

- ข้าวต้องการสารอาหารทั้งสิ้น 16 ตัว (หลัก/รอง/เสริม) การใส่ยูเรีย 1 กส. (50 กก.) หรือ 2 กส. (100) /ไร่ เท่ากับได้สารอาหาร N. เพียงตัวเดียวเท่านั้น .... นาข้าวบางแปลงใส่ยูเรีย 2 กส. (100 กก.) + 16-20-0 อีก 1 กส. (50 กก.) รวมใส่ปุ๋ย 150 กก./ไร่ แต่ข้าวได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัว คือ N. กับ P. เท่านั้น

- ข้าวต้องการปุ๋ยครบสูตร (N-P-K) อัตราส่วน 3 : 1 : 1 (30-10-10) 2 : 1 : 1 (16-8- 8 ) อัตรา 10-20 กก./ไร่/รุ่น แล้วต้องการ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮอร์โมน

- ข้าวต้องการและตอบสนองต่อปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางรากเท่าๆกัน นั่นคือ ควรให้ปุ๋ยทางใบมากครั้ง หรือ 7-10 ครั้ง จะได้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว

การขาดโพแทสเซียม (K) ในนาข้าว
โพแทสเซียม (K) มีส่วนสำคัญในการเคลื่อนย้ายสารอาหารหรือผลผลิตจากการสังเคราะห์แสง ในพืช โพแทสเซียมจะช่วยทำให้ผนังเซลล์แข็งแรง เพิ่มพื้นที่ใบและปริมาณคลอโรฟิลล์ ชะลอการร่วงของใบ ช่วยเพิ่มจำนวนเมล็ดและจำนวนเมล็ดดีต่อรวง เพิ่มน้ำหนักเมล็ด แต่ไม่ช่วยในการแตกกอ

ข้าวที่ขาดโพแทสเซียมต้นจะแคระแกรน การแตกกอลดลง ใบสั้น เหี่ยวแห้ง ใบโน้มลง (Droopy) และมีสีเขียวเข้ม ใบล่างจะมีปลายใบสีน้ำตาลเหลือง มีสีเหลืองระหว่างเส้นใบโดยเริ่มจากปลายใบและขอบใบแล้วค่อยๆ ลุกลามสู่โคนใบในที่สุด ต่อมาใบจะแห้งและกลายเป็นสีน้ำตาล ถ้าการขาดรุนแรงมากขึ้นบางครั้งจะมีจุดประสีน้ำตาลบนใบที่เป็นสีเขียวเข้มโดยเริ่มที่ปลายใบก่อนจะขยายสู่ส่วนอื่นๆ ของใบ รวงข้าวจะผอมยาว อาจมีจุดด่าง ขนาดและน้ำหนักของเมล็ดลดลง การหักล้มสูง มักจะเกิดในระยะหลังของการเจริญเติบโต อาการขาดโพแทสเซียมนี้อาจสังเกตเห็นได้ยากในข้าวทั่วไป

สาเหตุของการขาดโพแทสเซียมเกิดจากการปลูกข้าวในดินทรายหรือดินที่มีปริมาณดินเหนียวต่ำ มีธาตุโพแทสเซียมในดินต่ำหรือไม่อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ หรือดินที่มีการชะล้างสูง นอกจากนี้อาจพบอาการขาดโพแทสเซียมในดินอินทรีย์ เช่นดินพีท (Peat) ดินมัก (Muck)

การจัดการเพื่อการป้องกันและแก้ไขการขาดโพแทสเซียมสามารถทำได้โดยควรไถกลบฟางข้าวลงในแปลง เพราะถึงแม้ว่าปริมาณโพแทสเซียมในฟางข้าวจะมีน้อย แต่จะช่วยรักษาระดับโพแทสเซียมในดินในระยะยาว ใส่ปุ๋ยโพแทซ ปุ๋ยคอกและวัสดุอินทรีย์อื่นๆ ให้กับข้าวอย่างพอเพียง เพื่อชดเชยกับธาตุอาหารที่สูญเสียไปจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต

การขาดแมกนีเซียม ในนาข้าว (Magnesium deficiency) :
แมกนีเซียม (Mg) ช่วยในการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด เป็นองค์ประกอบหนึ่งของคลอโรฟิลล์จึงมีส่วนในการสังเคราะห์แสง และการสังเคราะห์โปรตีนด้วย แมกนีเซียมเป็นธาตุที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย อาการขาดจึงมักเกิดกับใบแก่ก่อน ต้นข้าวที่ขาดแมกนีเซียมจะมีอาการคล้ายการขาดโพแทสเซียม คือจะมีสีซีด พื้นที่ระหว่างเส้นใบจะเป็นสีเขียวซีด โดยจะเกิดกับใบแก่ก่อนและเมื่อขาดมากขึ้นจะลามมาถึงใบอ่อน ในกรณีที่ขาดรุนแรงใบแก่ของข้าวจะกลายเป็นสีเหลือง ข้าวมีการแตกกอ จำนวนใบและขนาดใบปกติ แต่ใบจะบิดไปมาและโน้มลง (Droopy) ข้าวจะมีจำนวนและน้ำหนักเมล็ดลดลง คุณภาพเมล็ดไม่ดี การขาดแมกนีเซียมมักพบในดินที่เป็นกรดและมี CEC ต่ำ และดินทรายที่มีอัตราการซึมน้ำและการชะล้างสูง

สาเหตุของการขาดแมกนีเซียมเกิดจากดินมีปริมาณแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของข้าว การจัดการเพื่อการป้องกันและแก้ไขการขาดแมกนีเซียมสามารถทำได้โดยใส่ปุ๋ยแมกนีเซียม ปุ๋ยคอกและวัสดุอินทรีย์อื่นๆ ให้กับข้าวอย่างพอเพียง เพื่อชดเชยกับธาตุอาหารที่สูญเสียไปจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต

การขาดกำมะถัน ในนาข้าว (Sulfur deficiency) :
กำมะถัน (S) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกรดอะมิโนและโคเอนไซม์ ที่ช่วยในการสร้างคลอโรฟิลล์และสังเคราะห์โปรตีน กำมะถันไม่ค่อยเคลื่อนย้ายในพืชทำให้อาการขาดเกิดกับใบอ่อนก่อน ต้นข้าวที่ขาดกำมะถันจะมีอาการคล้ายกับการขาดไนโตรเจน ต่างกันตรงที่การขาดไนโตรเจนจะเกิดที่ใบแก่ก่อน แต่การขาดกำมะถันจะเกิดที่ใบอ่อนก่อนแล้วตามด้วยใบแก่ โดยเริ่มแรกที่กาบใบจะมีสีเหลืองแล้วลุกลามสู่ใบ อาจพบต้นข้าวมีสีเหลืองทั้งต้นในระยะแตกกอ ความสูงและการแตกกอลดลง ต้นข้าวและใบข้าวเล็กลง นอกจากนี้การขาดกำมะถันยังทำให้การเจริญเติบโตและการพัฒนาของข้าวช้าลง รวงข้าวจะน้อยและสั้น จำนวนเมล็ดต่อรวงลดลง จำนวนท้องไข่ของเมล็ดเพิ่มขึ้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าข้าวที่ขาดกำมะถันจะแสดงอาการใกล้เคียงกับการขาดไนโตรเจนมาก จนบางครั้งไม่สามารถบอกความแตกต่างได้ชัดเจน การวินิจฉัยที่แม่นยำอาจต้องใช้ผลจากการวิเคราะห์ตัวอย่างดินและพืช มาประกอบด้วย

การขาดกำมะถันมีสาเหตุมาจากหลายประการ ที่สำคัญคือดินมีปริมาณกำมะถันไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตการใช้ปุ๋ยเคมีที่ไม่มีกำมะถันเป็นส่วนประกอบ เช่น ยูเรีย, 0-46-0 เป็นต้น รวมทั้งการเผาฟางข้าวหลังเก็บเกี่ยว การขาดกำมะถันมักพบในดินที่มีการผุพังอยู่กับที่ (Weathering) สูง โดยแร่ที่อยู่ในรูปออกไซด์จะดูดยึดซัลเฟตไว้ หรือพบในดินที่มีอินทรียวัตถุต่ำเนื้อดินเป็นทรายจัด หรือพื้นที่ที่มีการเผาฟางข้าวเป็นประจำ

การขาดซิลิกอน ในนาข้าว (Silicon deficiency) :
ซิลิกอน (Si) เป็นธาตุอาหารที่มีประโยชน์สำหรับข้าว แต่หน้าที่ของธาตุนี้ในพืชยังไม่ทราบแน่ชัด ซิลิกอน จำเป็นในการพัฒนาใบ ราก และลำต้นที่แข็งแรง ซิลิกอนที่เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ ช่วยให้พืชต้านทานโรค แมลงและปลวกดีขึ้น ข้าวที่ได้รับซิลิกอนพอเพียงจะมีใบและลำต้นตั้ง ทำให้การสังเคราะห์แสงดีขึ้น

ข้าวที่ขาดซิลิกอนจะมีใบไม่กระด้างและโน้มลง (Droopy) ทำให้ประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงลดลง ข้าวจะอ่อนแอต่อการทำลายโรคและแมลง การขาดที่รุนแรงจะเกิดจุดสีน้ำตาลบนใบข้าว จำนวนรวงต่อตารางเมตรและจำนวนเมล็ดดีต่อรวงลดลง ข้าวจะหักล้มมาก การขาดซิลิกอนมีสาเหตุจากการที่ดินมีปริมาณซิลิกอนไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต วัตถุต้นกำเนิดดินมีปริมาณซิลิกอนต่ำ รวมทั้งการขนฟางออกจากแปลงนาเป็นระยะเวลาหลายปีติดต่อกันก็ทำให้ดินขาดซิลิกอนได้เช่นกัน การขาดซิลิกอนมักพบในดินนาที่เสื่อมโทรมดินที่มีปริมาณซิลิกอนต่ำ และดินนาน้ำฝนที่มีการชะล้างสูง เช่นดินนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การจัดการเพื่อการป้องกันและแก้ไขการขาดซิลิกอนสามารถทำได้โดย
- การไถกลบฟางลงในแปลงนาเป็นประจำจะช่วยเพิ่มปริมาณซิลิกอนในดินเพราะในฟางข้าวมีปริมาณซิลิกอนค่อนข้างสูง คือ ร้อยละ 5–6

- หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราสูงเกินไปแม้ว่าการใส่ไนโตรเจนมากจะทำให้พืชดูดใช้ไนโตรเจนและซิลิกอนมากขึ้น แต่ความเข้มข้นของของซิลิกอนในพืชจะลดลง เนื่องจากพืชผลิตน้ำหนักแห้งมากกว่าเดิม

ในกรณีที่พืชแสดงอาการขาดซิลิกอนให้ใส่ปุ๋ยที่มีซิลิกอนเป็นส่วนประกอบให้แก่ข้าว โดยใส่แคลเซียม ซิลิเกต ในอัตรา 20 - 30 กิโลกรัมต่อไร่ หรือโพแทสเซียม ซิลิเกต ในอัตรา 6 - 10 กิโลกรัมต่อไร่

สรุป :
ลดปุ๋ยทางราก - เพิ่มปุ๋ยทางใบ .... ลดปุ๋ยธาตุหลัก เพิ่มปุ๋ยธาตุรอง/ธาตุเสริม และฮอร์โมน....ต้นทุนลดลง แต่ประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ยูเรีย + 16-20-0

อ้างอิง : บรรยายพิเศษ กลุ่มเกษตรกร อ.บางบาล จ. อยุธยา เรียนรู้ นาข้าว-สปริงเกอร์.


- ข้อเสียของยูเรีย ที่ชาวนาไม่เคยถาม ไม่เคยสังเกต ..... คนขาย นักวิชาการเชิงพาณิชไม่เคยพูด ไม่เคยบอก

- ยูเรียต่อต้นข้าว....ทำให้ต้นข้าวเขียวอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ใบอ่อน ต้นสูง ต้นล้ม ต้นหลวม ผนังเซลล์อ่อนแอโรคมาก .... ฉายา ยูเรียล่อเพลี้ยกระโดด

- ยูเรียต่อเมล็ดเมล็ดข้าว .... เมล็ดไม่แกร่ง เมล็ดไม่ใส เมล็ดลีบมาก เป็นท้องไข่มาก ข้าวป่นมากน้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ไม่ดีถูกตัดราคา

- ต่อคุณค่าสารอาหาร.....ความเข้มข้น (เปอร์เซ็นต์) ของสารอาหารในเมล็ดข้าวน้อยกว่าที่ระบุในงานวิจัย เพราะต้นข้าวได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน

- ใส่ปุ๋ยเคมีแก่ต้นข้าวให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด 2 ช่วงเท่านั้น คือ ช่วงทำเทือก (เตรียมดิน) กับช่วงตั้งท้อง-แต่งตัว การใส่ปุ๋ยในช่วงอื่นๆ จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ

- การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า หรือใส่ปุ๋ยทันทีหลังปักดำ (นาดำ) หรือเมล็ดพันธุ์เริ่มงอก (นาหว่าน)ไม่เกิดประโยชน์ เพราะต้นกล้ายังไม่พร้อมรับและยังไม่มีความจำเป็นต้องให้ ทั้งนี้ระยะที่ต้นกล้างอกใหม่ๆ จะใช้สารอาหารที่มีอยู่ในเมล็ดตัวเอง (แป้งโปรตีน ไขมัน วิตามิน ฯลฯ) เป็นหลัก

- การใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วนไนโตรเจน.สูง ฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม.ต่ำ เช่น 16-8-8หรือ 25-7-7 หรือ 46-0-0 + 16-16-16 อัตรา 1:1 จะช่วยให้ต้นข้าวแตกหน่อดีกว่าการใส่ไนโตรเจน. เดี่ยวๆ

- นาข้าวที่ได้ 100 ถัง จะมีฟางประมาณ 1,200 กก. .... ปริมาณฟาง 1 ตัน จะให้สารอาหารพืชประกอบด้วย ไนโตรเจน 6.0 กก. ฟอสฟอรัส 1.4 กก. โปแตสเซียม 17.0 กก . แคลเซียม 1.2 กก. แม็กเนเซียม 1.3 กก. ซิลิก้า 50.0 กก.

ถ้าได้ไถกลบเศษซากต้นถั่วเหลือง (เมล็ดพันธุ์ 12 กก./ไร่)ลงไปอีกก็จะได้ ไนโตรเจน 45 กก.เมื่อรวมฟางกับต้นถั่วเหลืองแล้วจะทำให้ได้ปุ๋ยสำหรับต้นข้าวมากมาย

ดินที่สภาพโครงสร้างดีตามมาตรฐานกรมพัฒนาที่ดินระบุว่า เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปแต่ละครั้ง ต้นพืชได้นำไปใช้จริงเพียง 4 ส่วน แล้วเหลือตกค้างอยู่ในดิน 6 ส่วนเสมอ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมี 1-2 รุ่นแล้วเว้น 1 รุ่น ก็จะยังคงมีปุ๋ยเคมีเหลือตกค้างจากการใส่แต่ละรุ่นที่ผ่านมาบำรุงต้นข้าวรุ่นปัจจุบันได้อย่างเพียงพอ

มาตรการบำรุงดินโดยปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ สารปรับปรุงบำรุงดิน และจุลินทรีย์ อย่างสม่ำเสมอ-ต่อเนื่อง-รุ่นต่อรุ่น-หลายๆรุ่น-หลายๆปี จะทำให้เกิดการ สะสมอยู่ในเนื้อดิน ซึ่งจะส่งผลให้สภาพโครงสร้างของดิน ดีขึ้น ดีขึ้นและดีขึ้น ตามลำดับ

- ไม่ควรปลูกข้าวอย่างเดียวแบบต่อเนื่อง รุ่นต่อรุ่น หลายๆรุ่น หลายๆปี แต่ควรเว้นรุ่นทำนา 2-3 รุ่น แล้วปลูกพืชตระกูลถั่ว 1 รุ่น นอกจากจะได้เศษซากพืชตระกูลถั่วไถกลบปรับปรุงบำรุงดินแล้วยังเป็นการตัดวงจรชีวิตของแมลง และเชื้อโรคได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

- นาหว่านที่หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกร่วมกับเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ต้นข้าวจะงอกและโตพร้อมๆกับต้นถั่วเขียว เลี้ยงต้นกล้าข้าวให้นานที่สุดเท่าๆกับได้ต้นถั่วสูงสุด จากนั้น จึงปล่อยน้ำเข้าท่วมนาจะทำให้ต้นถั่วตายแล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน/จุลินทรีย์) สำหรับต้นข้าว

- นาดำหลังจากปักดำแล้วใส่แหนแดงหรือแหนเขียว อัตรา 2-3 ปุ้งกี๋/ไร่ หรือกระทงนา ปล่อยไว้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ แหนจะแพร่ขยายพันธุ์จนเต็มกระทง ระดับน้ำที่เคยมีเมื่อตอนดำนาก็จะลดลงจนถึงผิวหน้าดินพร้อมๆกับแหนลงไปอยู่ที่ผิวดินด้วยแล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน) พืชสดสำหรับต้นข้าว

- ดินที่อุดมสมบูรณ์ดี (ตามหลักวิชาการ) เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปจะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตทางใบ (บ้าใบ/เฝือใบ) ดีมาก แต่ผลผลิตกลับลดลง....แปลงนาข้าวที่มีอินทรีย์วัตถุ และสารปรับปรุงบำรุงดินมากจะให้ผลผลิตดีมากไม่เฝือใบ ทั้งๆที่ใส่ปุ๋ยเคมีน้อยกว่าต้นข้าวงามใบ (บ้าใบ) แก้ไขโดยการให้ “โมลิบดินั่ม + แคลเซียม โบรอน” 1 ครั้ง

- สภาพดินเหนียว ดินทราย ดินดำ ดินร่วน ฯลฯ ในดินแต่ละประเภทต่างก็มีสารอาหารพืชและปริมาณแตกต่างกัน สารอาหารพืชเหล่านี้เกิดขึ้นเองตามกลไกทางธรรมชาติหรือ เกิดจากกระบวนการสารพัดจุลินทรีย์ย่อยสลายสารพัดอินทรีย์วัตถุ

วันนี้ สารอาหารธรรมชาติในดินหมดไป หรือเหลือน้อยมากจนไม่พอพียงต่อความต้องการของพืชเพื่อการพัฒนาเจริญเติบโตสาเหตุหลักเกิดจากการปลูกพืชแบบซ้ำรุ่น ต่อเนื่อง รุ่นแล้วรุ่นเล่า ซึ่งพืชคือผู้นำสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ สาเหตุรองลงมา คือ เกิดจากมนุษย์ทำลายวงจรการเกิดใหม่ของสารอาหารตามธรรมชาติ และทำลายผู้ผลิตสารอาหาร (จุลินทรีย์)นั่นเอง ดังนั้น จากคำกล่าวที่ว่า ดินมีสารอาหารพืช ต้องเปลี่ยนใหม่เป็นพูดว่าดินเคยมีสารอาหารจึงจะถูกต้องตามข้อเท็จจริง

แนวทางแก้ไข คือ จัดการให้มีวัตถุดิบที่ก่อให้เกิดสารอาหารพืช และ ส่งเสริมผู้ผลิตสารอาหารพืช ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สุด แล้วดินจะกลับคืนมาเป็นดินดี เหมือนป่าเปิดใหม่อีกครั้ง และจะเป็นดินดีตลอดไปอย่างยั่งยืนตราบเท่าที่ได้จัดการและส่งเสริมอย่างถูกวิธีสม่ำเสมอ

สายพันธุ์ที่เปอร์เซ็นต์เป็นเมล็ดลีบสูง แก้ไขด้วยการให้ธาตุสังกะสี สายพันธุ์ที่มีอัตราการแตกกอน้อย แก้ไขด้วยการธาตุอาหาร P และ K สูงในช่วงแตกกอ เป็นต้น การเน้นสารอาหารเพื่อให้พืชได้รับมากเป็นกรณีพิเศษ ควรให้ทางรากโดยใส่ไว้ในเนื้อดินตั้งแต่ตอนทำเทือก หลังจากนั้นจึงให้เสริมทางใบเป็นระยะสม่ำเสมอ

- การลดความสูงต้นของต้นข้าว ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเพิ่มปริมาณผลผลิตและคุณภาพ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นแข็งแรงไม่ล้มหักง่าย และโรคแมลงเข้ารบกวนน้อยอีกด้วย....ลำต้นสูงมากๆ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำเลี้ยงไปสร้างลำต้น จึงทำให้มีสารอาหารเหลือไปเลี้ยงรวงน้อย หรือ ฟางมากเมล็ดน้อย-ฟางน้อยเมล็ดมาก....

ต้นข้าวในน้ำที่ระดับพอเปียกหน้าดิน (ดินแฉะเล็กน้อย) จะแตกกอได้จำนวนมากกว่าต้นข้าวที่ปลูกในน้ำขังค้าง หรือท่วมโคน....

ข้าวลำต้นสูง (น้ำมาก ไนโตรเจนมาก) จะมีรวงสั้น แต่ข้าวลำต้นสั้น (น้ำพอแฉะหน้าดิน สารอาหารสมดุลทุกตัว)จะมีรวงยาว…

ต้นข้าวช่วงระยะกล้าที่ไม่ได้ให้ 46-0-0 แต่ให้ 16-8-8 แทน ควบคู่กับช่วงตั้งท้องแต่งตัวให้ 0-42-56 โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ จะช่วยให้ต้นข้าวไม่สูงแต่กลับเจริญเติบโตข้างอวบอ้วน เหมือนต้นไม้ผลมีอาการอั้นตาดอก....การตัดใบยอดช่วงตั้งท้องแต่งตัวก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ต้นข้าวไม่สูงต่อ แล้วอวบ อ้วนเหมือนอั้นตาดอกได้เช่นกัน

- อากาศหนาว (15-20 องศา ซ./ภาคเหนือเกิดน้ำค้างแข็ง) ติดต่อกัน 10 วัน มีผลต่อต้นข้าวหลายอย่าง เช่น เมล็ดไม่งอก ต้นกล้าโตช้า ต้นแคระแกร็น ใบเหลือง ออกดอกช้า และช่วงออกดอกเป็นช่อดอกอ่อนเกสรจะฝ่อ ผสมไม่ติด หรือผสมติดก็เป็นเมล็ดลีบ แก้ไขโดยให้ แม็กเนเซียม+ สังกะสี + กลูโคส หรือ ฮอร์โมนทางด่วน ล่วงหน้าก่อนหนาว 2-3 วัน และให้ระหว่างอากาศหนาว ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศหายหนาว

- อากาศร้อน (สูงกว่า 35 องศา ซ.) ช่วงข้าวหลังผสมเกสรติดหรือเริ่มเป็นน้ำนมจะกลายเป็นข้าวลีบมาก แก้ไขโดยการให้ธาตุรอง/ธาตุเสริม + เอ็นเอเอ.+ ฮอร์โมนทางด่วน ล่วงหน้าก่อนอากาศร้อน 2-3 วัน และให้ระหว่างอากาศร้อน ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศจะปกติ

- สายลมแรงมากทำให้ต้นข้าวเครียด เนื่องจากต้องคายน้ำมาก มีผลทำให้เมล็ดข้าวลีบ รวงจะเป็นสีขาวคล้ายถูกหนอนกอทำลาย วิธีแก้ไขเหมือนช่วงอากาศร้อนจัด

รู้นาข้าวรู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล.... อ่าน
www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1698&page=1
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรื่องนาข้าว ....



บำรุงต้นข้าว “เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน” แบบหมาจ่าย :
- ให้ไบโออิ อย่างเดียวตั้งแต่ระยะกล้าถึงเกี่ยว ห่างกัน 7-10 วัน ....ทุกครั้งที่ให้ทางใบ + ยาน็อค สารสมุนไพรร่วมด้วยทุกครั้ง

- ป้องกันศัตรูพืช :
มาตรการ “กันก่อนแก้” : คือ แม็กเนเซียม. สังกะสี. ช่วยสร้างภูมิตานทานให้แก่ต้นข้าวเป็นพื้นฐาน แถมฉีดพ่นสารสมุนไพรทับเข้าไปอีก นี่คือ 2 เด้ง

มาตรการ “ป้องกัน + กำจัด” : ถ้าแปลงข้างๆกำลังเกิดระบาด ช่วงว่างระหว่าง 7-10 วัน ให้ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ 2-3 รอบ ห่างกันวันเว้นวัน

บำรุงต้นข้าวสูตร "เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน" แบบประณีต :
นาข้าวที่กำจัดวัชพืชไม่หมด ต้นข้าวโตขึ้นมาแล้วมีต้นข้าวกับต้นวัชพืช "ครึ่ง : ครึ่ง" จนเต็มนา แนะนำให้ใช้สูตร "เลยตามเลย หรือ ไหนไหนก็ไหนไหน" เพราะกำจัดวัชพืชไม่ได้แล้ว โดยเน้นบำรุงทางใบเป็นหลัก.....ดังนี้

ระยะกล้า :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะตั้งท้อง ออกรวง :
- ฉีดพ่น "ไทเป + ยาน็อค" 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะน้ำนม :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ 100 ซีซี. + ยูเรก้า + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

หมายเหตุ :
- การให้ทางใบเท่ากับบำรุงทั้งต้นข้าวและต้นวัชพืช แม้จะสิ้นเปลืองปุ๋ยแต่จำเป็นต้องทำ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ต้นข้าวก็จะไม่ได้ปุ๋ยเลย ส่งผลให้ไม่ได้ผลผลิตข้าวไปด้วย

- หลังจากต้น (ข้าว-วัชพืช) โตแล้ว ไม่ควรใส่ปุ๋ยทางราก เพราะธรรมชาติของต้นวัชพืชจะดูดสารได้เก่งกว่าต้นข้าว นี่คือ ต้นวัชพืชแย่งอาหารต้นข้าวนั่นเอง

- ปุ๋ยทางใบอยู่ที่ใบข้าว ต้นวัชพืชไม่สามารถแย่งได้ นั่นคือ ต้นข้าวยังได้รับปุ๋ยเท่าที่ให้อย่างแน่นอน
- หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนทำนารุ่นต่อไป ทำการไถกลบฟางพร้อมต้นวัชพืช ก็จะได้ปุ๋ยที่ต้นวัชพืชเอาไปกลับคืนมา

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=10


@@ ชาวนามือใหม่ สิงห์บุรี :
“หญ้าขี่ข้าว” แก้ไขโดยการให้ปุ๋ยทางใบเป็นหลัก บำรุงทั้งสองอย่างไปเลย โตทั้งสองอย่างก็ช่างมัน เพราะถ้ามัวแต่กลัวหญ้าโตเลยไม่ให้ ต้นข้าวก็เลยอดด้วย เอาเถอะ ให้ปุ๋ยทางใบแล้ว ใบหญ้าไม่โน้มใบมาแย่งอาหารต้นข้าวที่ใบข้าวหรอก แต่ถ้าให้ปุ๋ยทางราก อันนี้ต้องยอม รับก่อนว่า ต้นหญ้าหาอาหารเก่งกว่าต้นข้าว ใส่ปุ๋ยลงไป 10 ส่วน หญ้าเอาไปกิน 8 ส่วน ต้น ข้าวได้แค่ 2 ส่วนเท่านั้น .... ทำไงได้ นาข้าวรุ่นนี้ ต้องเลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน รุ่นหน้าเอาใหม่ เกี่ยวข้าวแล้วเอาปุ๋ยที่หญ้าเอาไปนั้นกลับคืนมาโดยการไถกลบ ....

ประสบการณ์ตรง นาข้าวริมถนนสายบายพาส สิงห์บุรี ข้าวครึ่งหญ้าครึ่ง บำรุงทางใบทุก 7 วัน ไม่ให้ปุ๋ยทางดิน ยังได้ข้าวตั้ง 120 ถัง

“ใส่น้ำหมักระเบิดเถิดเทิงแล้วขี้เทือกลึกไม่เท่ากัน” สาเหตุมาจากสภาพโครงสร้างเดิมของดินบริเวณนั้น บอกแล้วไงว่า ดินเขาดินเรา แม้แต่ดินของเราเอง ดินตรงนั้นกับดินตรงนี้ มันยังไม่เหมือนกันเลย แม้ว่าจุลินทรีย์ที่ไปจากน้ำหมักโดยตรง กับจุลินทรีย์ประจำถิ่นที่ได้รับสารอาหารจากน้ำหมักจะช่วยปรับสภาพดินได้ แต่ก็ต้องอาศัยระยะเวลาด้วย ....

วิธีการแก้ไข : ถ้าตอนทำเทือกไม่ได้ใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์. ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น ก็ให้ใส่ ถ้าใส่แล้วก็ไม่ต้องใส่ แต่ให้ใส่ซ้ำน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงอีกครั้ง ด้วยสูตรเดิม อัตราเดิม ไม่ต้อง +ปุ๋ยเคมีเพิ่ม วิธีให้คราวนี้คงใช้วิธีผสมน้ำแล้วเดินสาดอย่างเดิมไม่ ได้ แต่ให้ใช้เครื่องฉีดพ่น ปรับหัวฉีดให้เม็ดน้ำใหญ่ๆ ฉีดแหวกต้นข้าวลงดินไปเลย เน้นเฉพาะ บริเวณที่ขี้เทือกยังตื้น ประมาณ 7-10 วัน ลงไปสำรวจอีกครั้งจะรู้สึกเลยว่าดีขึ้น

“แมลงอะไรไม่รู้กัดใบข้าว เห็นใบเหลือแต่เส้นใบสีขาว” ไม่บอกว่าแมลงชื่ออะไร ถ้าบอกต่อไปก็จะรู้แต่แมลงตัวนี้ ตัวอื่นไม่ยอมรู้ เอาเป็นว่า แมลง คือ แมลง ตัวนี้คือแมลงปากกัดปากดูด ก็คุณบอกมันกัดกินใบข้าวไงล่ะ ....

แมลงทุกแมลงที่กัดกินใบข้าวเพราะมันชอบรส ชาดของใบข้าว ถ้าเราเปลี่ยนรสใบข้าวให้เป็นรสชาดอย่างอื่น แมลงก็จะไม่กิน กับแมลงรู้จักกลิ่นใบข้าว ถ้าเราเปลี่ยนกลิ่นใบข้าวเป็นกลิ่นอย่างอื่นซะล่ะ แมลงก็จะไม่เข้าหา ว่าแล้วก็ให้จัดการเปลี่ยนทั้งรสและกลิ่นใบข้าวซะเลย ทำสารสมุนไพร “ขมจัด + เผ็ดจัด + กลิ่นจัด” ให้เอา บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร พริกแกง ขิง ข่า ตะไคร้ สาบเสือ ดาวเรือง ....

วิธีทำง่ายๆ เอาฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด สาบเสือ ดาวเรือ รวมกัน ต้มพร้อมกัน ส่วนพริกแกงก็ให้ใส่เพิ่ม ข่า ตะไคร้ ขิง ใส่เยอะๆ แล้วโขลกด้วยกันไปเลย เวลาใช้ก็เอาทั้งที่ต้มแล้ว กับที่โขลกแล้วมาใช้รวมกันเลย งานนี้ต้องฉีดบ่อยหน่อย แรกๆ อาจจะวันเว้นวัน แมลงเบาลงแล้วอาจจะวันเว้น 3-5 วัน ก็ดูเอาตามความเหมาะสม ยังไงๆ อย่าลืม “กันก่อนแก้” ก็แล้วกัน

@@ ชาวนา บรรพตพิสัย :
- คำศัพท์เทคนิคคำนี้ ลุงคิม “คิดเอง” ไม่มีในเอกสารตำราใดๆทั้งสิ้น ที่ตั้งชื่ออย่างนี้เพื่อให้การสื่อสารระหว่าง “คนที่ไม่ได้ร่ำเรียน กับ คนที่ไม่ได้รำเรียน” ทางวิชาการมาเหมือนๆ กันได้พูดคุยกันรู้เรื่อง ขออย่ายึดติดกับคำศัพท์ แต่ให้ดู “วิธีการทำกับผลรับ” ออกมา ถ้าเหมือนกัน คุณจะเรียกว่าอย่างไรก็ได้ ขอแต่ให้คนอื่นรู้เรื่องด้วยก็แล้วกัน .... คำศัพท์เทคนิคทางเกษตรที่ลุงคิมตั้งขึ้นมาเอง เช่น นาข้าวแบบไบโอไดนามิก, หญ้าเก้าข้าวหนึ่ง, น้ำเจ๊าะแจ๊ะ, ต้นยาวรวงสั้น ต้นสั้นรวงยาว, กับอีกหลายๆ คำที่เกี่ยวกับเกษตร...

- ถามว่า “สูตรนาข้าว เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน ทำอย่างไร” หมายถึงการปฏิบัติในการทำนาข้าวบางขั้นตอน ไม่ได้ทำหรือทำไม่สำเร็จ เช่น ....

... “ทำเทือก” : เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว ถ้ายังไม่ได้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระ ดูกป่น,) น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง เพื่อเอาสารอาหารอินทรีย์ สารอาหารเคมี จุลินทรีย์ และสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น ก็ให้ใส่ซะ แม้ว่าต้นข้าวโตแล้วก็ใส่ได้ เรียกว่าดีกว่าไม่ได้ใส่ก็แล้วกัน

... “ฉีดยาฆ่าหญ้าแล้วต้นข้าวชงักการเจริญเติบโต” : เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน แก้ไข อะไรไม่ได้แล้ว หลังฉีดยาฆ่ายาคุมหญ้าไปแล้ว 3 วัน รอให้สารในยาฆ่าหญ้าออกฤทธิ์เรียบร้อยก่อน ให้ฉีดพ่น “ไบโออิ (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม) + ยูเรีย จี. +กลูโคสหรือน้ำมะพร้าว” ทันที ให้ฉีด 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 3-4 วัน

... “ ใส่ยูเรียแล้วอยากเปลี่ยนสูตร” : เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว ก็ให้ “น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 2 ล. + 16-8-8 (2-3 กก.)” ต่อไร่ซะเลย ละลายปุ๋ยในน้ำหมักแล้วฉีดลงดินให้ทั่วแปลง จากต้นข้าวที่เคยได้รับแต่ไนโตรเจน อย่างเดียว มาได้รับฟอสฟอรัส กับโปแตสเซียมด้วย คราวนี้ได้ปุ๋ยครบทั้ง 3 ตัวธาตุหลัก

... “หญ้าขี่ข้าว ข้าวขี่หญ้า” : เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน แก้ไขอะไรไม่ได้ ก็ว่าตามที่บอกแล้วตอนแรก คือ บำรุงทั้งหญ้าทั้งข้าว ไปเลย

... “ข้าวระยะต้นกลม ต้นแบน เนื้อหลวม ” : เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน เมื่อแก้ไขไม่ได้ ให้สูบน้ำออก ให้น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง + 16-8-8 (10 กก.) / ไร่ ฉีดแหวกต้นข้าวลงดิน

... “ข้าวใบโค้ง” : ช่วง 8-10 โมงเช้า โดยประมาณ ใบธงจะโค้งลง ผ่าน 10 โมงเช้าไปแล้วใบจะตั้งตรงอย่างเดิม สาเหตุเพราะได้รับยูเรียกมากเกิน กับขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม ทั้งทางรากและทางใบอย่างรุนแรง นาข้าวแบบนี้เกี่ยวมาแล้วได้ “ข้าวลีบ-ท้องไข่-ข้าวป่น-น้ำหนักน้อย” งานนี้ต้อง เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน เมื่อแก้ไขไม่ได้ ก็จงให้ ไบโออิ + แม็กเนเซียม ยืนพื้นเข้าไว้

... “ข้าวระยะออกรวง น้ำมาก ต้นข้าวสูง” : เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน เมื่อแก้ไขไม่ได้ ให้สูบน้ำออก เหลือแค่เจ๊าะแจ๊ะเท่ารอยตีนวัวตีนควาย ให้ไทเป + 0-42-56 ซัก 2 รอบ

... “ข้าวออกรวงไม่พร้อมกัน” : เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน เมื่อแก้ไขอะไรไม่ได้ ก็ให้สารลมเบ่ง “ไทเป + ยูเรีย จี.” หรือ “ยูเรีย จี. เดี่ยวๆ” ให้ 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

... “ข้าวแก่ไม่พร้อมกัน” : เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว ให้ฉีดพ่นทางใบด้วย 0-21-74 ก่อนเกี่ยว 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ให้รอบลสุดท้ายก่อนวันเกี่ยว 5 วัน

... “ ยูเรียมาก ข้าวลีบ” : เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน แก้ไขอะไรไม่ได้ ให้ ยูเรก้า 4-1-2 สลับด้วย ไบโออิ จนถึงเกี่ยว

... “ข้าวเกี่ยว ความชื้นสูง” : เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน แก้ไขอะไรไม่ได้ ก่อนเกี่ยว 10-15 วัน ให้ทางใบด้วย “นมสด” 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ให้ครั้งสุดท้ายก่อนเกี่ยว 5-7 วัน

-----------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©