-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - *หอมมะลิ คว้าแชมป์โลก 2 ปีซ้อน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

*หอมมะลิ คว้าแชมป์โลก 2 ปีซ้อน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 15/12/2021 5:19 pm    ชื่อกระทู้: *หอมมะลิ คว้าแชมป์โลก 2 ปีซ้อน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ข้าวหอมมะลิ 105 คว้าแชมป์โลก 2 ปีซ้อน ดันส่งออกปีนี้ทะลุ 6 ล้านตัน

วันที่ 14 ธันวาคม 2564 - 14:34 น.

แชมป์โลก 2 ปีซ้อน “จุรินทร์” เผยข้าวหอมมะลิไทย 105 ชนะการประกวดข้าวดีที่สุดในโลกของปี 2021 ส่งผลส่งออกข้าวปีนี้ทะลุเป้า 6 ล้านตัน

วันที่ 14 ธันวาคม 2564 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ผลการประกวดข้าวโลก หรือ “World’s Best Rice Award 2021” ซึ่งเป็นการจัดงานครั้งที่ 13

โดยผู้ค้าข้าวของสหรัฐอเมริกาเป็นผู้จัดตั้งแต่วันที่ 7-9 ธันวาคม 2564 ที่เมืองดูไบโดยจัดแบบไฮบริด หรือรูปแบบผสมผสานเป็นครั้งแรก มีผู้ส่งข้าวเข้าประกวด 6 ประเทศ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย เวียดนาม เมียนมาและไทย

รวมจำนวน 11 ตัวอย่าง ผลการตัดสินปรากฏว่าข้าวหอมมะลิจากประเทศไทย คือ ข้าวหอมมะลิ 105 ซึ่งปลูกในภาคอีสานได้รับรางวัลชนะเลิศ ซึ่งส่งเข้าประกวดโดยสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

การได้รับรางวัลชนะเลิศครั้งนี้ถือว่าเป็นการได้รับรางวัลชนะเลิศระดับโลกเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน ซึ่งจากการจัดประกวด 13 ครั้ง เราได้ที่ 1 จำนวน 7 ครั้ง การได้รับรางวัลข้าวโลกครั้งนี้จะเป็นความภาคภูมิใจอีกครั้งหนึ่งของคนไทย จะสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามทุ่มเทของทุกฝ่ายในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานข้าวไทยที่ดำเนินการมาโดยต่อเนื่องทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ภาคเอกชนและหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ในช่วงที่ผ่านมา

“ผลการประกวดข้าว สำหรับข้าวไทยได้รับรางวัลครั้งนี้จะมีผลดีต่อการส่งออกข้าวต่อจากนี้ไปและในปีหน้าต่อไปด้วย ซึ่งคาดว่าการส่งออกข้าวปีนี้ มีแนวโน้มจะสามารถทำได้เกิน 6,000,000 ตัน ที่เป็นเป้าหมายที่กำหนดไว้”

นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า การประกวดปีนี้ไม่มีประกาศลำดับที่ 2 และ 3 จะประกาศเพียงผู้ชนะเลิศที่ได้คะแนนสูงสุดเท่านั้น ซึ่งการประกาศเปลี่ยนจากในอดีตที่จะทราบ แต่จากสถานการณ์โควิด-19 และการจัดงานในรูปแบบออนไลน์ ทำให้ผู้จัดประกวดไม่ต้องการให้เกิดการเปรียบเทียบจึงประกาศเพียงผู้ชนะเลิศประเทศเดียว

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า สำหรับตัวเลขการส่งออกข้าวล่าสุด จนถึงเมื่อวานนี้ (13 ธ.ค. 64) อยู่ที่จำนวน 5.82 ล้านตัน ซึ่งใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ และเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมาตัวเลขใบขออนุญาตส่งออกข้าวสูงถึง 825,000 ตัน ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 11 เดือนที่ผ่านมา

https://www.prachachat.net/economy/news-820962

----------------------------------------------------------------------------------



“ข้าวหอมมะลิไทย” คว้าแชมป์โลก ชนะรวด 2 ปีติด ยกขึ้นหิ้งขายตลาดพรีเมียม

15 ธ.ค. 2564 06:58 น.

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในปีนี้ข้าวหอมมะลิ 105 ปลูกในภาคอีสานของประเทศไทยคว้ารางวัลชนะเลิศข้าวที่ดีที่สุดในโลกจากงานประกวดข้าวโลกประจำปี 64 (World’s Best Rice Award 2021) ครั้งที่ 13 จัดโดยผู้ค้าข้าวของสหรัฐฯ มีผู้ส่งข้าวประกวด 6 ประเทศ คือ

สหรัฐฯ จีน อินเดีย เวียดนาม เมียนมา และไทย


รวม 11 ตัวอย่าง การได้รับรางวัลชนะเลิศครั้งนี้เป็นการได้รับรางวัลชนะเลิศระดับโลกเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน และเป็นการได้รับรางวัลชนะเลิศรวมทั้งหมด 7 ครั้ง จาก 13 ครั้ง

“การได้รับรางวัลข้าวโลกครั้งนี้ เป็นความภาคภูมิใจอีกครั้งหนึ่งของคนไทย สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามทุ่มเทของทุกฝ่ายในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานข้าวไทย ทั้งเกษตรกร สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ภาคเอกชน และหน่วยงานรัฐ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะมีผลดีต่อความเชื่อมั่นในข้าวไทย และการส่งออกข้าวไทยต่อจากนี้ไป โดยการส่งออกในปีนี้มีแนวโน้มจะทำได้เกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ 6 ล้านตันแน่นอน”

ด้าน ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า การประกวดปีนี้ไม่มีการประกาศลำดับที่ 2 และ 3 จะประกาศเพียงผู้ชนะเลิศที่ได้คะแนนสูงสุดเท่านั้น ซึ่งนอกจากข้าวหอมมะลิไทยแล้ว ยังมีข้าวหอมจากประเทศอื่นๆ ที่เป็นคู่แข่งสำคัญของไทย โดยเฉพาะเวียดนาม ที่พัฒนาพันธุ์ข้าวหอม หรือข้าวพื้นนุ่ม และสามารถส่งออกข้าวหอมได้มากถึงปีละ 5 ล้านตัน เพราะราคาถูกกว่าข้าวหอมมะลิไทยมาก ไทยจำเป็นต้องเร่งพัฒนาสายพันธุ์ข้าวพื้นนุ่มๆใหม่ เพื่อนำมาแข่งขันกับข้าวหอมของคู่แข่ง

“ไม่อยากเอาข้าวหอมมะลิไทยไปแข่งขันกับข้าวหอมอื่น ของประเทศคู่แข่ง เพราะคุณภาพและราคาที่ดีกว่ามาก ต้องยกขึ้นหิ้ง ขายในเป็นข้าวระดับพรีเมียม ทำตลาดประเทศที่มี รายได้สูง ส่วนการส่งออกข้าวของไทยในปีนี้ ทำได้แน่นอนที่ 6 ล้านตัน ซึ่งจะทำให้ไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวมากที่สุดอันดับ 3 ของโลก โดยมีอินเดียเป็นอันดับ 1 และเวียดนามอันดับ 2 ส่วนปี 65 คาดว่าไทยน่าจะส่งออกได้ 7-7.5 ล้านตัน และน่าจะขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ได้”.


อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- “หญิงหน่อย” ชวนช่วยชาวนาภาคอีสาน ซื้อข้าว “สร้างไทย” หลังราคาตกสุดในรอบ 10 ปี
- ซับน้ำตาชาวนาไทย ไขข้อข้องใจทำไม "ข้าวไทยราคาตกต่ำ"
- สหกรณ์การเกษตรบรบือ ค้นพบข้าวหอมมะลิ เอกลักษณ์โดดเด่น ดีต่อสุขภาพ


https://www.thairath.co.th/business/economics/2265332



แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/12/2021 3:50 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/12/2021 7:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
..
ที่สุดในโลก "ข้าว ST24" ของเวียดนาม "เมล็ดยาว-นุ่ม-กลิ่นหอม"


"ข้าวพันธุ์ ST24" ของเวียดนาม แชมป์โลก 2019 ด้านกระทรวงเกษตรฯ สั่งพัฒนาสายพันธุ์ข้าวหอมมะลิเรียกความเป็นหนึ่งด้านคุณภาพคืน หลังเสียแชมป์ให้กัมพูชา-เวียดนาม ประกวดข้าวโลก 2 ปีซ้อน

ข้าวพันธุ์ ST24 ของเวียดนาม คว้ารางวัล World's Best Rice ในการประกวดข้าวโลก 2019 ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นการประชุมของผู้ค้าข้าว (The Rice Traders) จากทั่วโลก ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และ ปีนี้เป็นครั้งที่ 11

ไทย พีบีเอส ออนไลน์ ตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี จากเว็บไซต์ The Rice Trader พบว่า ข้าวหอมมะลิไทยเป็นแชมป์ข้าวรสชาติดีที่สุดในโลก 5 สมัย โดยครั้งแรก ปี 2009 , ครั้งที่ 2 ปี 2010, ครั้งที่ 3 ปี 2014 ครองแชมป์ร่วมกับข้าวผกาลำดวนของกัมพูชา ครั้งที่ 4 ปี 2016 และครั้งที่ 5 ปี 2017

ก่อนจะถูกข้าวจากกัมพูชา เบียดคว้ารางวัลชนะเลิศ เมื่อปี 2012, 2013 และ 2014 ติดต่อกัน 3 ปีซ้อน และอีกครั้งในปี 2018

World’s Best Rice 2018 Winner: Cambodia Jasmine
World’s Best Rice 2017 Winner: Thai Hom Mali
World’s Best Rice 2016 Winner: Thai Hom Mali
World’s Best Rice 2015 Winner: U.S. Calrose
World’s Best Rice 2014 Joint Winners: Thai Hom Mali and Cambodia Jasmine
World’s Best Rice 2013 Joint Winners: Cambodia Jasmine-Cambodia and California Calrose-U.S.
World’s Best Rice 2012 Winner: Cambodia Jasmine-Cambodia
World’s Best Rice 2011 Winner: Paw Son Rice-Myanmar
World’s Best Rice 2010 Winner: Thai Jasmine Rice
World’s Best Rice 2009 Winners: Thai Jasmine Rice


ข้าวพันธุ์ ST24
สื่อท้องถิ่นเวียดนาม ให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้าวสายพันธุ์ "ST24" จาก จ.ซ้อกจัง ลำดับที่ 24 ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดข้าวเวียดนามครั้งแรกที่นครโฮจิมินห์ เมื่อวันที่ 4 พ.ย.ที่ผ่านมา เพื่อส่งประกวดข้าวที่ดีที่สุดของโลกปี 2019 และยังได้รับรางวัลในงานเทศกาลข้าวเวียดนาม ครั้งที่ 3 เมื่อปีที่แล้ว

สำหรับข้าวสายพันธุ์ ST ประกอบด้วยสายพันธุ์ที่หลากหลายที่ปรับปรุงโดยทีมผลิตข้าวคุณภาพสูงตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา โดยได้นำไปทดลอง ในปี 2014 และเริ่มผลิตในปี 2016 มีคุณสมบัติด้านความต้านทานมากกว่าข้าวพันธุ์ดั้งเดิมบางพันธุ์และให้ผลผลิตสูงถึง 8.5 ตันต่อเฮกตาร์ หรือ 8.5 ตันต่อ 6.25 ไร่

นอกเหนือจากความหลากหลายของข้าวชนิดพิเศษแล้ว ST24 ยังได้รับการพิจารณาว่าเป็นข้าวที่ทนทานต่อสภาพภูมิอากาศที่ในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เนื่องจากสามารถปรับตัวให้เหมาะกับพื้นที่ปลูกข้าวต่างๆ รวมถึงปรับตัวกับสภาพดินเค็มได้อีกด้วย

ข้าว ST24 มีคุณสมบัติโดดเด่น โดยมีเมล็ดยาว มีสีขาวใส และมีกลิ่นหอม ในเดือน มี.ค.2562 กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทได้รับรองอย่างเป็นทางการให้พันธุ์ข้าว ST24 เป็นพันธุ์ข้าวแห่งชาติ

https://news.thaipbs.or.th/content/286186


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/12/2021 7:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ประวัติศาสตร์ข้าวโลก

"ข้าว"เป็นธัญญาหารหลักของชาวโลก จัดเป็นพืชสายพันธุ์เดียวกับหญ้าซึ่งนับได้ว่า เป็นหญ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกและมีความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถปลูกขึ้นได้ง่ายมีความทนทานต่อทุกสภาพภูมิประเทศในโลก ไม่ว่าจะเป็นถิ่นแห้งแล้งแบบทะเลทราย พื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง หรือแม้กระทั่งบนเทือกเขาที่หนาวเย็นข้าวก็ยังสามารถงอกงานขึ้นมาได้อย่างทรหดอดทน

ข้าวชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักนำมากิน คือ ข้าวป่า จากหลักฐานที่พบทำให้สันนิษฐานได้ว่าเมื่อประมาณ 16,000-13,000 ปีที่แล้ว ยุคน้ำแข็งใกล้สิ้นสุดลง สัตว์ใหญ่หลายชนิดเริ่มสูญพันธุ์ไป มนุษย์จึงต้องลดบทบาทการล่าสัตว์แล้วหันมาสะสมข้าวป่า และพืช เพื่อเป็นอาหาร

นาย Richard S. Macheishนักโบราณคดีชาวอเมริกันผู้ซึ่งทำการศึกษาสถานที่ทางประวัติศาสตร์ของจีนแผ่นดินใหญ่ในปี 2536 มีหลักฐานที่ยืนยันได้ว่า ประเทศจีน คือ แหล่งกำเนิดของการปลูกข้าวเพราะได้พบร่องรอยของข้าวป่าที่มีอายุถึง 16,000 ปี และข้าวที่ปลูกอายุกว่า 9,000 ปี โดยพิจารณาจากการขุดพบหลักฐานข้าวไหม้ที่ติดอยู่กับเศษภาชนะรวมทั้งเศษต้นข้าวสมัยโบราณ ที่ขุดได้จากถ้ำ 2 แห่งในหุบเขาเมืองหนานชาง (Nanchang) เมืองหลวงของมณฑลเจียงสี (Jianxi) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

จุดเริ่มต้นของการเพาะปลูกข้าวของมนุษย์ จากวัฒนธรรมลุงชานของประเทศจีน และวัฒนธรรมฮัวบิเนียนของประเทศเวียดนาม บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำตอนเหนือของอินเดีย ตอนล่าง ด้านตะวันออกของเชิงเขาหิมาลัย ซึ่งการเพาะปลูกใช้วิธีการปลูกคล้ายกับการทำไร่เลื่อนลอย

หลังจากนั้นวิวัฒนาการปลูกข้าวจากการทำไร่เลื่อนลอย มาเป็นการทำนาหว่านประมาณ 9,000 ปีก่อน และพัฒนาสู่การทำนาแบบปักดำซึ่งพบหลักฐานในวัฒนธรรมบ้านเชียงของไทยเมื่อราว 5,000 ปีที่ผ่านมีหลักฐานการต้นข้าวที่ค้นพบข้าวป่าในช่วงแรกจะมีก้านและใบเดี่ยว แต่ที่ปลูกใหม่มีถึง 5 ก้าน เป็นการแสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลาดังกล่าว มนุษย์เริ่มเข้าใจว่าหากปลูกข้าวลงดินเองจะเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า แสดงให้เห็นถึงความเป็นมนุษย์ในการพัฒนาการเกษตรเพื่อดำรงชีวิตสายพันธุ์ของพืชตระกูลข้าวที่มีอยู่บนโลกนี้มีมากถึง 120,000 สายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่รู้จักและนำมาปลูกสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ OryzaSavita ที่นิยมเพาะปลูกในทวีปเอเชียและ Oryzaglaberrina ที่นิยมเพาะปลูกในทวีปแอฟริกา แต่ข้าวที่ปลูกและซื้อขายกันในตลาดโลกเกือบทั้งหมดจะเป็นข้าวจากทวีปเอเชียแบ่งเป็น 3 กลุ่มตามลักษณะและพื้นที่ปลูกได้ดังนี้

1. ข้าวอินดิกา (Indica) หรือข้าวเจ้าเป็นข้าวที่มีลักษณะเม็ดเรียวยาวรี ลำต้นสูง ตั้งชื่อมาจาก แหล่งที่ ค้นพบครั้งแรกในประเทศอินเดียเป็นข้าวที่นิยมเพาะปลูกในทวีปเอเชียเขตมรสุม ตั้งแต่ จีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ไทยอินโดนีเซีย ไปจนถึงอินเดียและศรีลังกา และแพร่กระจายไปทั่งเขตอุษาอาคเนย์ตั้งแต่หลัง พ.ศ. 1000 ทั่งเขตลุ่มน้ำอิระวดีและต่อมาแพร่ขยายเพาะปลูกในทวีปอเมริกาเฉพาะในเมืองไทย ข้าวอินดิกานิยมเพาะปลูกในบริเวณที่ราบลุ่มตอนใต้ของแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วแทนข้าวเหนียวที่เคยปลูก ซึ่งคนไทยสมัยนั้นเรียกข้าวอินดิกาที่มาจากต่างประเทศว่า “ข้าวของเจ้า” แล้วเรียกกันสั้นลงเหลือเพียง "ข้าวเจ้า" มาถึงทุกวันนี้

2. ข้าวจาปอนิกา (Japonica)เป็นข้าวเหนียวเมล็ดป้อมกลมรี มีแหล่งกำเนิดจากทางภาคเหนือ แล้วผ่านมาทางลุ่มแม่น้ำโขงในสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 20 หลังจากนั้นลดจำนวนลงไปแพร่หลายในเขตอบอุ่นที่ ญี่ปุ่น เกาหลี รัสเซีย ยุโรป และอเมริกา

3. ข้าวจาวานิกา (Javanica)เป็นข้าวลักษณะเมล็ดป้อมใหญ่สันนิษฐานว่าเป็นข้าวพันธุ์ผสม ระหว่าง ข้าวอินดิกาและจาปอนิกา นิยมเพาะปลูกใน อินโดนีเซียฟิลิปปินส์ ไต้หวัน หมู่เกาะริวกิว และญี่ปุ่น แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมนักเพราะให้ผลผลิตต่ำ ประเทศต่างๆในโลกต่างก็มีการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวใหม่ เพิ่มพื้นที่การเพาะปลูกข้าวและวิธีการปลูกข้าวให้ได้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นในขณะที่ตำนานเกี่ยวกับข้าวของแต่ละชาติต่างก็มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน


http://www.nongbualamphu.go.th/sr/hrw2.htm


กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/12/2021 7:35 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ข้าวบาสมาติ

เมื่อกล่าวถึงข้าวหอม หลายท่านนึกถึงข้าวหอมไทย แต่ความจริงแล้ว ข้าวหอมมิได้ปลูกเฉพาะเมืองไทยเท่านั้น ยังมีอีกหลายประเทศที่ปลูกข้าวหอม ซึ่งเรียกชื่อต่างๆ กัน ข้าวหอมที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย นอกจากข้าวหอมไทย ก็ยังมีอีกหลายชนิด เช่น ข้าวบาสมาติ (Basmati rice) ข้าวเท็กซ์มาติ (Texmati rice) ข้าวเวฮานิ (Wehani rice) ข้าวไวด์พีแคน (Wild pecan rice)

ข้าวบาสมาติ (Basmati rice) เป็นข้าวขาวเมล็ดยาวที่รู้จักกันอย่างค่อนข้างแพร่หลาย คำว่า บาสมาติ เป็นภาษาฮินดี มีความหมายคือ ราชินีแห่งความหอม

ข้าวเท็กซ์มาติ (Texmati rice) เป็นข้าวหอมที่พันธุ์ผสมระหว่างข้าวอเมริกันเมล็ดยาวกับข้าวบาสมาติ มีรสชาติและกลิ่นหอมดีกว่าข้าวอเมริกันเมล็ดยาวพันธุ์แม่ แต่ด้อยกว่าข้าวบาสมาติ

ข้าวเวฮานิ (Wehani rice) เป็นข้าวหอมชนิดหนึ่งมีกลิ่นคล้ายข้าวโพดคั่ว ข้าวเวฮานิ เป็นข้าวที่พัฒนาพันธุ์มาจากข้าวบาสมาติ เริ่มปลูกในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

ข้าวไวด์พีแคน (Wild pecan rice) เป็นข้าวหอมพันธุ์ผสม เมื่อหุงมีกลิ่นคล้ายข้าวโพดคั่วเช่นเดียวกับข้าวเวฮานิ

นอกจากข้าวหอมดังกล่าวข้างต้นแล้ว ประเทศเพื่อนบ้านของไทยต่างก็มีการปลูกและพัฒนาพันธุ์ข้าวหอม เช่น เขมร ลาว โดยเฉพาะเวียดนาม มีการส่งออกข้าวหอมแล้ว แต่ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่า ข้าวหอมเวียดนามมีชื่อเรียกเฉพาะว่าอะไร แต่วงการข้าวของไทยคาดว่า ข้าวหอมเวียดนามน่าจะเป็นพันธุ์ข้าวจากไทย โดยเฉพาะข้าวปทุมธานี 1

ล่าสุด มีข่าวเกี่ยวกับข้าวหอมที่น่าติดตาม คือ ทางการของประเทศมาเลเซีย กำลังรณรงค์ให้ชาวมาเลเซีย หันมาบริโภคข้าวหอมที่พัฒนาพันธุ์ โดยองค์กรพัฒนาการเกษตรของมาเลเซีย ข้าวหอมดังกล่าวทางมาเลเซียขนานนามว่า "Mar Wangi Malaysia" และอ้างว่ามีคุณภาพดีกว่าข้าวหอมที่นำเข้าจากไทย โดยทางการมาเลเซียตั้งความหวังว่า หากชาวมาเลเซียหันมาบริโภคข้าวหอมที่ปลูกในมาเลเซียจะสามารถลดการนำเข้าข้าวหอมจากไทยได้ร้อยละ 30 และจะช่วยให้ชาวมาเลเซีย มีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย

สำหรับข้าวหอมไทยที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ที่เดิมเรียกว่า Jasmine Rice ต่อมากระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดมาตรฐาน โดยให้ชื่อเฉพาะเรียกขานว่า ข้าวหอมมะลิไทย (Khoa Hom Mali Rice) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายแล้ว ขณะนี้มีปัญหาเรื่องการตรวจสอบแยกแยะ ระหว่างข้าวหอมมะลิไทยกับข้าวปทุมธานี 1 ซึ่งทางการไทย กำลังปรับปรุงกฎเกณฑ์การตรวจสอบ เพื่อให้การตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น ใช้การตรวจสอบ DNA ช่วยอีกวิธีหนึ่ง เป็นต้น

ปัญหาการตรวจสอบแยกแยะคุณภาพข้าว มิใช่เกิดขึ้นกับข้าวหอมมะลิไทยเท่านั้น แต่ก็เกิดขึ้นกับการตรวจสอบข้าวบาสมาติเช่นเดียวกันว่า เป็นบาสมาติหรือไม่ ซึ่งมีการพัฒนาวิธีการตรวจสอบ โดยใช้การตรวจสอบ DNA เช่นเดียวกับที่ไทยกำลังดำเนินการอยู่

http://www.nidambe11.net


คุณภาพเมล็ดข้าวบาสมาติ 370
เมื่อปลูกในดินนาชุดต่างๆ ในเขตภาคเหนือตอนล่าง (ระยะที่ 1)

สอาง ไชยรินทร์ สุมาลี สุทธายศ จิตกร นวลแก้ว ยลิศร์ อินทรสถิตย์ และ สุพัตรา สุวรรณธาดารายงานผลการวิจัยประจำปี 2535 ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร

บทคัดย่อ
เพื่อศึกษาคุณภาพของเมล็ดข้าวบาสมาติ 370 เมื่อปลูกในดินนาชุดต่าง ๆ โดยนำเมล็ดจากทะเบียนวิจัย ลักษณะดินนาที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวบาสมาติ ในเขตภาคเหนือตอนล่างโดยปลูกในดินนาชุดต่าง ๆ 17 ชุด ทำการวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางเคมี ปริมาณ amylose, Gel consistency, Alkalitest, ความหอม และอัตราการยืดตัวของเมล็ดข้าวเมื่อหุงสุก พบว่าคุณภาพเมล็ดข้าวทางเคมีไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ทำการวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดข้าวทางกายภาพ, นน.100 เมล็ดของข้าวเปลือกและข้าวกล้องที่ 14 ขนาดรูปร่างเมล็ด พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ทั้งความกว้าง,ความยาว และความหนา


http://www.phtnet.org
www.phtnet.org


การวิจัยคุณภาพของดิน เวอร์ติโซลล์
ที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพของข้าวบาสมาติ

การทดลองโดยใช้ข้าวหอมพันธุ์บาสมาติ มาปลูกในดิน Vertisols ซึ่งได้แก่ชุดดิน ลพบุรี (LB-1) บ้านหมี่ (Bm) และช่องแค (Ck) ปลูกโดยวิธีนาดำในฤดูนาปรังมีการจัดการ 2 ระดับ คือ ไม่ใส่ปุ๋ยตามหลักวิชาการคือใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 20 กก./ไร่ ก่อนบักดำ 1 วัน และครั้งที่สองใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 5-7 กก./ไร่ หว่านช่วงข้าวเริ่มตั้งท้อง วางแผนการทดลองแบบ Split Plot คือ 3 Main Plot และ 2 Subplot (Treatment) 4 Replication เพื่อศึกษาถึงผลผลิต และความหอมของข้าวบาสมาติ ผลการทดลองด้านผลผลิต แปลงที่มีการจัดการอย่างสูง (ใส่ปุ๋ย) พบว่าข้าวบาสมาติที่ปลูกในชุดดินช่องแค (Ck) จะให้ผลผลิตสูงสุดคือ 638 กก./ไร่ ข้าวที่ปลูกในชุดดิน บ้านหมี่ (Bm) และชุดดินลพบุรี(Lb) จะให้ผลผลิตรองลงมา คือ 601 กก./ไร่ และ 461 กก./ไร่ ตามลำดับซึ่งผลผลิตของข้าวบาสมาติที่ปลูกในชุดดินทั้ง 3 นั้น ต่างก็มีความแตกต่างกันในทางสถิติ สำหรับแปลงทดลองที่มีการจัดการอย่างธรรมดา (ไม่ใส่ปุ๋ย) พบว่าข้าวบาสมาติที่ปลูกในชุดดิน ช่องแค (Ck) จะให้ผลผลิตสูงสุด คือ 585 กก./ไร่ รองลงมาได้แก่ผลผลิตข้าวที่ปลูกในชุดดิน บ้านหมี่ (Bm) และชุดดินลพบุรี (Lb) คือ 523 กก./ไร่ และ 451 กก./ไร่ ตามลำดับ ซึ่งผลผลิตที่ได้นี้ต่างก็มีความแตกต่างกันในทางสถิติ ผลต่างจากการจัดการอย่างสูง (ใส่ปุ๋ย) กับการจัดการอย่างธรรมดา (ไม่ใส่ปุ๋ย) ของข้าวบาสมาติว่า ผลผลิตของข้าวที่ปลูกในชุดดิน บ้านหมี่ (Bm) มีผลผลิตสูงขึ้น 78 กก./ไร่ รองลงมา ได้แก่ผลิตในชุดดินช่องแค (Ck) และ ลพบุรี (Lb-1) ตามลำดับ ซึ่งผลผลิตที่สูงขึ้นจากชุดดินทั้ง 3 ชุดนี้ต่างก็ไม่มีการแตกต่างกันในทางสถิติ ผลการทดลองด้านความหอมของข้าว การตรวจความหอมของข้าวบาสมาติ ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป คือ การให้คะแนนความหอมจากการหุงต้มข้าว โดยใช้วิธีดมกลิ่นคือ ให้คะแนน 5-9 คะแนน กล่าวคือ 5 คะแนน ไม่มีกลิ่นเลย จนถึง 9 คะแนน มีกลิ่นหอมมาก จากการนำข้าวไปสีแล้วนำไปหุงต้มพร้อม ๆ กัน โดยใช้คน 10 คน ดมกลิ่นและให้คะแนน ซึ่งสรุปได้ว่า ข้าวบาสมาติ ที่ปลูกในชุดดิน ลพบุรี (Lb-1) 8 คะแนน ข้าวบาสมาติ ที่ปลูกในชุดดินบ้านหมี่ (Bm) 8 คะแนน ข้าวบาสมาติ ที่ปลูกในชุดดิน ช่องแค (Ck)7.5 คะแนน สรุปได้ว่าความหอมของข้าวบาสมาติที่ปลูกในดินทั้ง 3 ชุด อยู่ในเกณฑ์หอมไม่แตกต่างกัน

http://pikul.lib.ku.ac.th


การปรับปรุงพันธุ์ข้าวบาสมาติ 370 ให้มีลักษณะต้นเตี้ย
ในเขตศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวบาสมาติ 370 ให้มีลักษณะต้นเตี้ยใช้วิธีผสมกลับ โดยใช้บาสมาติ 370 เป็น recurrent parrent และ lR58 เป็น doner parrent ทำการผสมกลับไปหาต้นแม่ 3 ครั้ง (BMT370*3/lR58) ปลูกคัดเลือก ศึกษาพันธุ์ขั้นต้น ศึกษาพันธุ์ขั้นสูง เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี เปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีในโครงการวิจัยพันธุ์ รับรองพันธุ์และกระจายพันธุ์ได้สายพันธุ์ PSL90004-84-62 ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวต้นเตี้ยมีความสูง 116 ซม. อายุ 120 วัน คุณภาพทางกายภาพและทางเคมี มีลักษณะเหมือนข้าวบาสมาติ คือ มีเมล็ดเรียวยาว เมื่อหุงสุกแล้วนุ่ม ยืดตัวดี และมีกลิ่นหอม นอกจากนี้ยังมีท้องไข่น้อยกว่าบาสมาติเอเซีย สายพันธุ์นี้ให้ผลผลิตเฉลี่ยจากแปลงเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี 11 แห่ง จากภาคเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง 442 กก./ไร่ สูงกว่าบาสมาติเอเซีย ที่ให้ผลผลิต 385 กก./ไร่ อยู่ 15 เปอร์เซ็นต์

http://pikul.lib.ku.ac.th/


การหาปริมาณการใช้น้ำของข้าวพันธุ์ บาสมาติ (ฤดูแล้ง)
A Trial on Consumptive Use for Rice Basmati Variety (Dry Season)

ทะเบียนวิจัยเลขที่ 0101 1021 2533 07
ผู้ดำเนินการ นายยงยศ สุภาศักดิ์
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม โทร 022414524

การทดลองหาปริมาณการใช้น้ำของข้าวพันธุ์ บาสมาติ ในฤดูแล้งโดยใช้ถัง Lysimeter
ที่สถานีค้นคว้าวิจัยการใช้น้ำชลประทานแม่แตง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ วัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาหาปริมาณน้ำที่ข้าวใช้ในการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิต ตั้งแต่วันเริ่มปลูกจนถึงวันเก็บเกี่ยว และปริมาณน้ำที่ข้าวใช้ในช่วงการเจริญเติบโตต่าง ๆ ทำการทดลองโดยใช้การปักดำเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2533 รวมอายุ 99 วัน โดยใช้กล้าอายุ 30 วัน

จากผลการทดลองปรากฏว่าข้าวพันธุ์ บาสมาติ ใช้น้ำในการเจริญเติบโต ตลอดอายุตั้งแต่ปักดำถึงเก็บเกี่ยว 646.83 มม.หรือ 1,034.93 ลบ.ม./ไร่ เฉลี่ยวันละ 6.53 มม. หรือ 10.45 ลบ.ม./ไร่ ค่าการใช้น้ำตามช่วงระยะการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันดังนี้ คือ ระยะตั้งตัว 4.91 มม. ระยะแตกกอ 6.34 มม. ระยะตั้งท้อง -ออกดอก 7.20 มม.ระยะสร้างผลผลิต 7.01 มม. และระยะข้าวแก่ 4.75 มม. ค่า Crop Coefficient(K)จากสูตร Modified Penman มีค่าเท่ากับ 1.22

จากสูตร Blaney Criddle มีค่าเท่ากับ 1.60 จากสูตรThornthwait มีค่าเท่ากับ 1.35
จากสูตร E-pan มีค่าเท่ากับ 1.52 จากสูตร Hargreaves มีค่าเท่ากับ 1.10

จากสูตรปริมาณรังสี มีค่าเท่ากับ 1.50 ทั้งนี้ ค่าอัตราส่วนระหว่างปริมาณน้ำที่ข้าวใช้ในการเจริญเติบโตตลอดอายุ กับค่าการระเหยที่วัดได้จากถาดวัดการระเหย (ET/E)มีค่าเท่ากับ 1.29

ประสิทธิภาพการใช้น้ำของข้าวพันธุ์บาสมาติ (Ey)เท่ากับ 0.54 กก./ลบ.ม.ความสูงของต้นข้าวเฉลี่ย 111.25 ซม. จำนวนต้นต่อกอเฉลี่ย 30.75 ต้น จำนวนรวงต่อกอเฉลี่ย 23.20 รวง ความยาวของรวงเฉลี่ย 23.17 ซม. เมล็ดดีต่อรวงเฉลี่ย 56.02 เมล็ด เมล็ดเสียต่อรวงเฉลี่ย
10.30 เมล็ด น้ำหนักผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 563.27 กก./ไร่

http://water.rid.go.th



การปลูกข้าวบัสมาติ
คนไทยคุ้นชินกับข้าวหอมมะลิ จนนึกว่าเป็นข้าวหอมพันธุ์เดียวของโลก ทั้งที่ความจริงว่า พันธุ์ข้าวหอมมีหลากหลาย มีปลูกกันในหลายประเทศ และเป็นคู่แข่งหอมมะลิไทยอีกด้วย บัสมาติ เป็นพันธุ์ข้าวหอม เมล็ดยาว ปลูกในอินเดีย ปากีสถาน แตกหน่อเป็นพันธุ์ข้าวหอมอย่างอื่น เช่น เท็กซ์มาติ แวฮานิ ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างบัสมาติกับข้าวพันธุ์อเมริกัน และมีปลูกในอเมริกาด้วยเช่นเดียวกัน

หยิบเรื่องบัสมาติมาเขียน เพราะเห็น ดร.อภิชาต วรรณวิจิตร ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กำลังปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงหรือดีกว่าข้าวหอมบัสมาติ

ทำไมต้องบัสมาติ
ง่ายนิดเดียว ราคาหอมมะลิกิโลกรัมละ 30-40 บาท ในขณะที่ข้าวบัสมาติ กิโลละ 300 บาท ผมเองเคยรับรู้ว่าบัสมาติราคาแพง พอยุ่งอยู่กับแจ๊สแมน Jasmine Rice พันธุ์ข้าวหอมน้องใหม่ของอเมริกาก็ลืมประเด็นราคาของบัสมาติ พอเห็น ดร.อภิชาต พูดถึงเรื่องนี้ก็ต้องขอบคุณ

ไม่เพียงแต่บัสมาติ หากยังมีเรื่องข้าวแจ๊สแมนของอเมริกาพ่วงด้วย โดยดร.อภิชาต จะขอเมล็ดพันธุ์แจ๊สแมนจากอเมริกาทดลองมาปลูกในบ้านเรา เพื่อตรวจสอบค่าความหอม ความทนทานต่อโรค และแมลง โดยได้ผลผลิตที่ว่าสูงถึงไร่ละ 1 ตันขึ้นไป

จริงๆ เรื่องการนำพันธุ์ข้าวจากต่างประเทศมาทดลองปลูกในไทย ไม่ใช่เรื่องใหม่ เราทำมามากมาย รวมทั้งบัสมาติก็เคยทดลองปลูกในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างมาแล้ว ขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างประเทศ และที่สำคัญหน่วยงานเกี่ยวข้องของไทยตระหนักดีหรือไม่ว่า มันสำคัญมากน้อยเพียงใด ผมประหลาดใจและอดรู้สึกขุ่นข้องใจไม่น้อยว่าด้วยเรื่องการปรับปรุงพันธุ์ข้าว เห็นแต่ผลงานของดร.อภิชาตแทบทั้งนั้น ผลงานของหน่วยงานอื่นแทบไม่มีเลย มันเป็นไปได้อย่างไรกัน

หน่วยงานอย่างกรมการข้าวที่ทำเรื่องข้าวเป็นการเฉพาะไปอยู่เสียตรงไหน ท่านอธิบดีประเสริฐ โกศัลวิตร มัวทำอะไรอยู่ละ ถ้าภารกิจครอบคลุมกว้างขวางจะไม่ติดใจนัก แต่นี่กรอบงานของกรมมันก็แคบว่าด้วยเรื่องข้าวอย่างเดียว ไม่ทำเรื่องข้าว แล้วทำอะไรล่ะ ถ้าเป็นอย่างนี้ ให้ดร.อภิชาต มาเป็นอธิบดีกรมการข้าวให้รู้แล้วรู้รอด ดีกว่าไหม?

ตลาดข้าวหอมเป็นตลาดเล็ก แต่มูลค่ามหาศาล เศรษฐีคนมีกะตังค์เท่านั้นถึงมีโอกาสกินข้าวหอม ไม่ว่าคนไทยหรือต่างชาติ หน่วยงานบ้านเราหลงใหลอยู่แต่ความภาคภูมิใจของข้าวหอมมะลิ ในขณะที่ความจริงนั้นกำลังไล่บดขยี้ ไม่เพียงอเมริกาผลิตแจ๊สแมนออกมาขายเป็นล่ำเป็นสัน จีน เวียดนาม ลาว เขมร พม่า กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอม ทั้งเพื่อบริโภคเอง และส่งออกแข่งกับไทย

ในขณะกรมการข้าวมะงุมมะงาหราแทบทุกด้าน ภาคเอกชนอย่างสมาคมผู้ส่งข้าว ออกเสนอให้รัฐบาลปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาด ข้าวหอมมะลิ แทนที่จะมีหอมมะลิ 90% (หมายความว่าผสมข้าวอื่น 10%) เพียงอย่างเดียว ก็ขอให้เพิ่มเป็นหอมมะลิ 80% และ 70 % เหตุผลคือหอมมะลิแพงอยู่แล้ว ยิ่งเงินบาทไทยแข็งค่า ราคาก็แพงยิ่งขึ้น ทำการตลาดได้ยากยิ่งขึ้น

เห็นไหมว่า มัวแต่หลงใหลได้ปลื้มโดยไม่คิดทำอะไร สุดท้ายก็เหนื่อย และอาจถึงขั้นสูญเสียตลาดอย่างน่าเสียดาย


http://www.vwander.com

www.vwander.com/save/2010/03/การปลูกข้าวบัสมาติ/ -

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1727



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/12/2021 6:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
สมช. : ลุงครับ สุพรรณบุรีปลูกข้าวหอมมะลิ กข.105 ไม่ได้ เราควรแก้ปัญหานี้ยังไงครับ
ลุงคิม : อืมมม หอมมะลิ กข.105 ต้องยอมรับ ข้าวสายพันธ์นี้ปลูกได้เฉพาะพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ทุ่งกุลาร่าเริง 5 จังหวัด มหาสารคาม สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ยโสธร เท่านั้น ถึงจะเป็นเขตอิสานเหมือนกัน แต่เป็นพื้นที่อื่น อิสานตอนเหนือก็ปลูกไม่ได้ ถึงปลูกไปได้ข้าวเหมือนกันแต่จะไม่มีกลิ่นหอมเหมือนที่ปลูกในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ นับประสาอะไร ปลูกที่ นครปฐม ลำพูน ได้ข้าวเปลือก 75 ถัง/ไร่ แต่เป็นข้าวไม่มีกลิ่นหอม .... ปลูกข้าวพันธุ์อื่น ข้าวหอมจังหวัด, ข้าวสีดำ, สีแดง ....ที่สงสัยอย่างมากๆ ๆๆ ๆๆ ก็คือ ....

* สงสัย 1 : ข้าว เวียดนาม-กัมพูชา-พม่า มีกลิ่นหอมเหรอ ในขณะที่ข้าวไทย กข 105 มีกลิ่นหอม ทำไมถึงแพ้เขา .... งานนี้ลึกๆมีอะไรไม่รู้

* สงสัย 2 : ทำไมประเทศไทยผลิตสารหรือฮอร์โมนบำรุงข้าว กข 105 ที่ปลูกนอกพื้นที่ทุ่งกุลาร่าเริง ให้มีกลิ่นหอมไม่ได้

* สงสัย 3 : กข 105 ทุ่งกุลาร่าเริงได้ 35 ถัง/ไร่ แต่ที่นครปฐม ที่พิจิตร ทำแนวเราได้ 75 ถัง/ไร่

สมช. : ลุงมีข้อมูลไหมครับว่า ทำไมไม่กลิ่นหอมตามสายพันธุ์เดิม
ลุงคิม : ก็มี เห็นว่าสภาพ อากาศเย็น การขาดน้ำ กับความเค็ม ระยะสร้างเมล็ดจะทำให้ข้าวมีความหอม แต่ผลผลิตจะลดลง การใช้ปุ๋ยเคมีที่มุ่งเน้นผลผลิตสูงสุด จะไปลดการสะสมสารหอมในเมล็ด

ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวร่วมกับสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ ได้พัฒนาวิธีการปลูกข้าวหอมให้หอมยิ่งขึ้น เรียกว่าเทคนิคกระตุ้นกลิ่นหอม สามารถเพิ่มการสะสมสารหอมได้มากกว่า 30% ขณะเดียวกันยังเพิ่มผลผลิตข้าวให้สูงขึ้นด้วย โดยเพิ่มต้นทุนเพียงเล็กน้อย ทำให้ผลผลิตข้าวหอมเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและมีราคาสูงขึ้นได้

หลักการนี้เป็น ทฤษฎี/วิชาการ แท้ๆ เขาไม่ได้บอกถึง “การปฏิบัติ” ว่าใช้อะไร ใช้อย่างไร ใช้เท่าไหร่ ใช้เมื่อไหร่ หรือต้อง เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก--- อะไรไหม ?

งานนี้เกษตรกร “รอ” เท่านั้น





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©