-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 17 ต.ค. * เลิกเผาฟาง จัดการกับฟางอย่างไร ?
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 17 ต.ค. * เลิกเผาฟาง จัดการกับฟางอย่างไร ?

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 16/10/2022 4:07 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 17 ต.ค. * เลิกเผาฟาง จัดการกับฟา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 17 ต.ค.

***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน . ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- วันนี้วันจันทร์ 17 ต.ค. เฉพาะวันจันทร์ ทุกวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย.... ด้วยประสบการณ์เกือบ 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง

- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 22 ต.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน
ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก กาญจนาภิเษก....
งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....


***********************************************************************
***********************************************************************

จาก : 09 163x 481x
ข้อความ : .....
1. นาข้าว 50 ไร่ น้ำดี เครื่องทุ่นแรงดี ปลูกข้าวอย่างเดียว
2. ปัจจัยพื้นฐานทุกอย่างทำได้ ภูมิปัญญาชาวบ้าน + ภูมิปัญญาสีสัน
3. วันนี้ไม่มั่นใจปัจจัยดิน เพราะเผาฟาง ใช้สารทำลายดิน มาตลอด
4. วันนี้อยากเลิกเผาฟาง จัดการกับฟางอย่างไร

จาก : 09 418x 623x
ข้อความ : ไถกลบฟางบำรุงดิน ทำอย่างอื่นได้อีกไหม

จาก : 08 416x 298x
ข้อความ : นาข้าวเสียไปกับต้นทุนสูญเปล่า ขอแก้ปัญหานี้ที่ดินก่อนค่ะ

บ่น :
ดินที่สภาพโครงสร้างดีตามมาตรฐานกรมพัฒนาที่ดินระบุว่า เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปแต่ละครั้งต้นพืชได้นำไปใช้จริงเพียง 4 ส่วน แล้วเหลือตกค้างอยู่ในดิน 6 ส่วนเสมอ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมี 1-2 รุ่นแล้วเว้น 1 รุ่น ก็จะยังคงมีปุ๋ยเคมีเหลือตกค้างจากการใส่แต่ละรุ่นที่ผ่านมาบำรุงต้นข้าวรุ่นปัจจุบันได้อย่างเพียงพอ

- มาตรการบำรุงดินโดยปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ สารปรับปรุงบำรุงดิน และจุลินทรีย์ อย่างสม่ำเสมอ-ต่อเนื่อง-รุ่นต่อรุ่น-หลายๆรุ่น-หลายๆปี จะทำให้เกิดการ สะสมอยู่ในเนื้อดิน ซึ่งจะส่งผลให้สภาพโครงสร้างของดิน ดีขึ้น ดีขึ้นและดีขึ้น ตามลำดับ

- ไม่ควรปลูกข้าวอย่างเดียวแบบต่อเนื่อง รุ่นต่อรุ่น หลายๆรุ่น หลายๆปี แต่ควรเว้นรุ่นทำนา 2-3รุ่นแล้วปลูกพืชตระกูลถั่ว 1 รุ่น นอกจากจะได้เศษซากพืชตระกูลถั่วไถกลบปรับปรุงบำรุงดินแล้วยังเป็นการตัดวงจรชีวิตของแมลง และเชื้อโรคได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

- นาหว่านที่หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกร่วมกับเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ต้นข้าวจะงอกและโตพร้อมๆกับต้นถั่วเขียว เลี้ยงต้นกล้าข้าวให้นานที่สุดเท่าๆกับได้ต้นถั่วสูงสุด จากนั้น จึงปล่อยน้ำเข้าท่วมนาจะทำให้ต้นถั่วตายแล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน/จุลินทรีย์) สำหรับต้นข้าว

- นาดำหลังจากปักดำ ใส่แหนแดงหรือแหนเขียว 2-3 ปุ้งกี๋/ไร่ ปล่อยไว้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ แหนจะแพร่ขยายพันธุ์จนเต็มกระทง ระดับน้ำที่เคยมีเมื่อตอนดำนาก็จะลดลงจนถึงผิวหน้าดินพร้อมๆกับแหนลงไปอยู่ที่ผิวดินด้วย แล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน) พืชสดสำหรับต้นข้าว

- ดินที่อุดมสมบูรณ์ดี (ตามหลักวิชาการ) เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปจะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตทางใบ (บ้าใบ/เฝือใบ) ดีมาก แต่ผลผลิตกลับลดลง .... แปลงนาข้าวที่มีอินทรีย์วัตถุและสารปรับปรุงบำรุงดินมาก จะให้ผลผลิตดีมาก ไม่เฝือใบ ทั้งๆที่ใส่ปุ๋ยเคมีน้อยกว่า ต้นข้าวงามใบ (บ้าใบ) แก้ไขโดยการให้ “โมลิบดินั่ม +แคลเซียม โบรอน” 1 ครั้ง

- สภาพดินเหนียว ดินทราย ดินดำ ดินร่วน ฯลฯ ในดินแต่ละประเภทต่างก็มีสารอาหารพืชและปริมาณแตกต่างกัน สารอาหารพืชเหล่านี้เกิดขึ้นเองตามกลไกทางธรรมชาติหรือ เกิดจากกระบวนการสารพัดจุลินทรีย์ย่อยสลายสารพัดอินทรีย์วัตถุ

วันนี้ สารอาหารธรรมชาติในดินหมดไป หรือเหลือน้อยมากจนไม่พอพียงต่อความต้องการของพืชเพื่อการพัฒนาเจริญเติบโต สาเหตุหลักเกิดจากการปลูกพืชแบบซ้ำรุ่น ต่อเนื่อง รุ่นแล้วรุ่นเล่า ซึ่งพืชคือผู้นำสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ สาเหตุรองลงมา คือ เกิดจากมนุษย์ทำลายวงจรการเกิดใหม่ของสารอาหารตามธรรมชาติ และทำลายผู้ผลิตสารอาหาร (จุลินทรีย์) นั่นเอง ดังนั้นจากคำกล่าวที่ว่า ดินมีสารอาหารพืชต้องเปลี่ยนใหม่เป็นพูดว่า ดินเคยมีสารอาหาร จึงจะถูกต้องตามข้อ เท็จจริง

แนวทางแก้ไข คือ จัดการให้มีวัตถุดิบที่ก่อให้เกิดสารอาหารพืช และ ส่งเสริมผู้ผลิตสารอาหารพืช ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สุด แล้วดินจะกลับคืนมาเป็นดินดี เหมือนป่าเปิดใหม่อีกครั้ง และจะเป็นดินดีตลอดไปอย่างยั่งยืนตราบเท่าที่ได้จัดการและส่งเสริมอย่างถูกวิธีสม่ำเสมอ


ตอบ :

8. เจอมุก คิม ดอกสะเดา ฮ่ะ ฮ่ะ ฮ่ะ
"เทือก" หัวใจของนาข้าว

ดินคือที่กินที่อยู่ของต้นข้าว ดินดีสำเร็จแล้วกว่าครึ่ง ดินไม่กินปุ๋ย คือ ดินตรึงปุ๋ยเอาไว้ แม้จะได้ใส่ปุ๋ยลงไปมากเท่าไร ต้นข้าวก็เอาไปกินไม่ได้ นอกจากนี้ดินเป็นกรดดินที่เป็นด่าง ดินที่ไม่มีอากาศ ดินที่ไม่มีจุลินทรีย์ ต้นข้าวก็เอาปุ๋ยในดินไปกินไม่ได้เช่นกัน ทั้งนี้ ต้นข้าวรับปุ๋ยได้ 2 ทาง ทั้งจากทางรากและทางใบเท่าๆกัน เมื่อดินไม่ดีรากกินปุ๋ยจากดินไม่ได้ก็ทางใบแทน ถึงกระนั้น ต้นข้าวก็ยังได้ปุ๋ยเพียงครึ่้งเดียว

การใส่ปุ๋ยเคมีลงมากๆ ส่วนหนึ่งต้นข้าวเอาไปกินไม่ได้เนื่องจากดินมีปัญหา ปุ๋ยจึงเหลือตกค้างอยู่ในดิน โดยเฉพาะ N. ที่เหลือตกค้างอยู่ในดินจะเปรียบรูปทางเคมีเป็นไนเตรท์. ไนเตรท. ซึ่งมีสถานะทางเคมีเป็นกรดจัด นี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ดินเป็นกรดจัด

ดินที่ดี คือ ดินที่มีอินทรีย์วัตถุ จึงควรมีเศษซากพืชเศษซากสัตว์อัตราส่วน 1 ต่อ 4 เมื่อเทียบกับเนื้อดิน และจุลินทรีย์....ฟางข้าว คือ เศษซากพืช ซึ่งก็คืออินทรีย์วัตถุที่มีราคาถูกที่สุด นาข้าวที่ได้ข้าวเปลือก 100 ถัง จะมีฟางประมาณ 1,200 กก.เสมอ ในฟาง 1,200 กก. จะปุ๋ยอินทรีย์ เอ็น-พี-เค 16 กก.กับซิลิก้า.หินภูเขาไฟอีก 6.9 กก.นี่คืองานวิจัยจากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

ฟาง คือ เศษซากพืชที่ช่วยน้ำไว้ใต้ดิน ยามที่น้ำบนดินขาดแคลนเนื่องจากความแห้งแล้งทางธรรมชาติ หรือจากการที่เราเจตนาเอาน้ำออก....ข้าวระยะแตกกอ จะแตกกอดีมากเมื่อน้ำบนผิวดินน้อยๆ ถึงระดับหน้าดินแตกระแหงก็ตาม คล้ายๆกับต้นข้าวเขาพยายามช่วยตัวเอง สร้างรากขึ้นมาเพื่อจะยิดยาวไปหาน้ำมาหล่อเลี้ยงต้น นั่นคือ หากต้องการให้ต้นแตกรากมากๆ ก็จงมีน้ำที่ผิวดินน้อยๆ ระหว่างที่ไม่มีน้ำบนผิวดินนี้ รากข้าวจะได้น้ำที่ฟางในดินอุ้มไว้ให้ แล้วต้นข้าวก็จะไม่ชงักการเจริญเติบโตตรงกันข้ามจะสมบูรณ์แข็งแรงดีกว่าเก่า

การมีอินทรีย์วัตถุมากๆ มีน้ำน้อยๆ ลักษณะทางธรรมชาตินี้ยังช่วยให้ต้นข้าวแตกกอมาก แตกกอดีอีกด้วย ลำต้นที่แตกใหม่จะสมบูรณ์ แข็งแรง ให้ผลผลิตดี ดีกว่าข้าวลำต้นเดียวเดี่ยวๆ....ต้นข้าวลำต้นใหญ่ขนาดหลอดดูดเฉาก๊วย ย่อมดีกว่าต้นข้าวที่ลำใหญ่ขนาดดูดยาคูลท์

การไถกลบฟางแต่ละครั้งให้สังเกตุความลึกของขี้เทือก จากประสบการณ์ตรงบอกให้รู้ว่า หากไถกลบฟาง 2 รุ่นติดต่อกันแล้ว ได้ขี้เทือกลึกประมาณครึ่งหน้าแข้งแล้วความลึกระดับนี้กำลังเหมาะกับต้นข้าวและคนเข้าไปทำงานได้สดวก หากไถกลบฟางต่อเป็นรุ่น 3 ขี้เทือกจะลึกถึงระดับหัวเข่า แม้ต้นข้าวจะอยู่ได้แต่คนไม่สดวกในการทำงาน กับช่วงก่อนเกี่ยวข้าว งดน้ำแล้วแต่ดินจะยังอ่อนจนรถเกี่ยวลงทำงานไม่ได้ เพราะฉนั้น ควรงดเว้นการไถกลบฟางรุ่น 3 เหลือไว้แค่ตอซังก็พอ

คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :
ตอบ :

- ในธรรมชาติไม่มีตัวเลข และไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ทุกอย่างมีหลักการและเหตุผล
- ถ้ามีความเชื่อมั่นและไม่กลัวสิ้นเปลือง ใส่ไปเลย ให้ครอบคลุมพื้นที่ทุกตารางนิ้ว แต่ถ้าใส่เฉพาะพืชก็ว่ากันใหม่ เช่น ปลูกไม้ผลใส่เฉพาะบริเวณหลุมปลูก ปลูกผักสวนครัวใส่เฉพาะบริเวณสันแปลง ปลูกพืชไร่ นาข้าวใส่ทุกตารางนิ้ว ประมาณนี้

- ประวัติดิน เดิมมีอินทรีย์วัตถุอะไร ? ปลูกพืชอะไร ? ใส่สารปรับปรุงบำรุงดินหรือสารทำลายดิน มาก/น้อย ระยะเวลาสั้นๆ หรือต่อเนื่องกันมานาน ?

- ลงทุนเพื่อดินอย่าขี้เหนียว .... งานนี่ลุย ! ขี้วัวขี้ไก่ 100 กส., แกลบดิบ 1 ตัน. ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดี หว่านทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว หรือเฉพาะบริเวณที่จะใช้งาน ไถดะไถแปรไถพรวน รดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) ทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว หญ้าแห้งคลุมหน้าดินหนาๆเฉพาะบริเวณที่จะปลูก รดน้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น

- รอบแรกรุ่นแรก ใช้อัตรานี้ไปก่อน รุ่นหน้ารอบหน้า อาจจะลดลงได้ ที่สำคัญ คือ นอก จากอย่าได้ใช้ อย่าๆได้ทำ หรืออย่าได้ใส่อะไรๆ ที่มันทำลายดิน ทำลายจุลินทรีย์ลงไป พร้อมกลับปลูกพืชบำรุงดินแซมแทรกช่วยไปด้วย ไม่ช้าไม่นานดินจะดีขึ้น เมื่อดินดี อะไรต่อมิอะไรที่ปลูกลงไป ทุกอย่างจะดีขึ้นๆ ๆๆ ตามลำดับ

@@ คิดใหม่ทำใหม่ ทำรุ่นนี้ได้รุ่นนี้ ได้ต่อเนื่องถึงรุ่นหน้า รุ่นต่อๆไป :

- ลงทุนด้วยเงิน .................. ซื้อ ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, เศษพืชแห้ง, น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง
- ลงทุนด้วยเวลา ไม่เอาเงิน ..... ปลูกถั่วไร่บำรุงดิน เริ่มออกดอกแล้วไถกลบ 2 รุ่น
- ลงทุนด้วยเวลา เอาเงิน ........ ปลูกถั่วไร่ เอาผลผลิต แล้วไถกลบ 2 รุ่น
- ลงทุน ประหยัดเวลา เอาเงิน .. กรณีปลูกพืชไร่แล้วปลูกถั่วระหว่างแถวพืชไร่ ถั่วเริ่มออกดอกให้ไถกลบ หรือเลี้ยงถั่วเอาผลผลิตแล้วจึงไถกลบ

ธาตุอาหารในฟาง :
- นาข้าวที่ได้ 100 ถัง จะมีฟางประมาณ 1,200 กก. ....ปริมาณฟาง 1 ตัน จะให้สารอาหารพืชประกอบด้วย ไนโตรเจน 6. 0 กก. ฟอสฟอรัส 1.4 กก. โปแตสเซียม 17.0 กก . แคลเซียม 1.2 กก. แม็กเนเซียม 1.3 กก. ซิลิก้า 50.0 กก. (อ้างอิง : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

ถ้าได้ไถกลบเศษซากต้นถั่วเหลือง (เมล็ดพันธุ์ 12 กก./ไร่) ลงไปอีกก็จะได้ ไนโตรเจน 45 กก. เมื่อรวมฟางกับต้นถั่วเหลืองแล้วจะทำให้ได้ปุ๋ยสำหรับต้นข้าวมากมาย

ดินที่สภาพโครงสร้างดีตามมาตรฐานกรมพัฒนาที่ดินระบุว่า เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปแต่ละครั้งต้นพืชได้นำไปใช้จริงเพียง 4 ส่วน แล้วเหลือตกค้างอยู่ในดิน 6 ส่วนเสมอ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมี 1-2 รุ่นแล้วเว้น 1 รุ่น ก็จะยังคงมีปุ๋ยเคมีเหลือตกค้างจากการใส่แต่ละรุ่นที่ผ่านมาบำรุงต้นข้าวรุ่นปัจจุบันได้อย่างเพียงพอ

มาตรการบำรุงดินโดยปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ สารปรับปรุงบำรุงดินและจุลินทรีย์อย่าง สม่ำเสมอ-ต่อเนื่อง-รุ่นต่อรุ่น-หลายๆรุ่น-หลายๆปี ทำให้เกิดการสะสมอยู่ในเนื้อดิน ซึ่งจะส่งผลให้สภาพโครงสร้างของดิน ดีขึ้น ดีขึ้น และดีขึ้นตามลำดับ

หลากหลายวิธีไม่เผาฟาง :
1. ตากฟาง-ไม่ตากฟาง :

วัตถุประสงค์คือ ต้องการให้ฟางแห้ง เพื่อให้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายทำให้ฟางเปื่อยได้เร็วขึ้น อันที่จริงนั้น จุลินทรีย์สามารถย่อยสลายได้ทั้งฟางสดและฟางแห้ง เพียงแต่การย่อยสลายฟางแห้งทำได้ง่ายและเร็วกว่าฟางสดเท่านั้นเอง ดังนั้น การตากฟางหรือไม่ตากก่อนไถกลบจึงไม่ต่างกันนัก ก็ให้พิจารณาตามความเหมาะสม

2. เกลี่ยฟาง-ไม่เกลี่ยฟาง :
วัตถุประสงค์คือ ต้องการให้ฟางกระจายตัวเท่าๆกันทั่วแปลง และแห้งเร็วๆ เมื่อไถกลบลงไปในดินแล้วเนื้อดินผสมกับฟางสม่ำเสมอกันซึ่งจะส่งผลให้ดินมีคุณภาพเท่าๆกันทั้งแปลงนั่นเอง.... ล้อรถเกี่ยวข้าวเป็นสายพานตีนตะขาบ ขณะที่รถเกี่ยววิ่งไปนั้น ตอซังที่ถูกสายพานตีนตะขาบเหยียบย่ำจะแบนราบแนบติดพื้น ส่วนตอซังที่อยู่บริเวณใต้ท้องรถเกี่ยวจะไม่ถูกเหยียบย่ำ ยังคงเป็นตอตั้งตรงเหมือนเดิม นอกจากนี้เศษฟางที่รถเกี่ยวพ่นออกมา ซึ่งรถเกี่ยวข้าวบางรุ่นพ่นเศษฟางให้ฟุ้งแผ่กระจายไปทั่วได้ แต่รถเกี่ยวบางรุ่นพ่นเศษฟางตรงๆลงทับบนตอซังกลายเป็นกองเศษฟาง กรณีนี้ ถ้าต้องการให้ฟางแผ่กระจายก็ให้ใช้ไม้เขี่ยฟางที่เป็นกองออก แต่ถ้าไม่ต้องการให้ฟางแผ่กระจายก็ไม่จำเป็นต้องเขี่ยออก เพราะช่วงที่รถไถผานโรตารี่เข้าทำเทือกนั้น ผานโรตารี่ก็จะช่วยกระจายฟางไปในตัวเองได้แต่อาจจะไม่กระจายดีกับการเกลี่ยก่อนเท่านั้น

3. ย่ำฟาง-ไม่ย่ำฟาง :
วัตถุประสงค์คือ ทำให้ฟาง ฉีก-ขาด-ช้ำ เพื่อเป็นช่องทางให้จุลินทรีย์ผ่านเข้าไปง่ายๆแล้วย่อยสลายฟาง ปฏิบัติโดยการใช้รถไถเดินตามล้อเหล็กวิ่งย่ำไปบนเศษฟางให้ทั่วแปลง วิ่งย่ำซ้ำหลายๆรอบ ฟางที่ถูกล้อเหล็กย่ำจะ ฉีก-ขาด-ช้ำ เกิดเป็นบาดแผลช่วยให้จุลินทรีย์ย่อยสลายฟางให้เปื่อยยุ่ยได้เร็วกว่าฟางที่ยังคงเป็นชิ้นๆอยู่

4. หมักฟาง :
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ฟางเปื่อยยุ่ยโดยเร็ว ไม่ว่าฟางในแปลงนาจะตากแห้งแล้วหรือยังสด เกลี่ยกระจายแล้วหรือยังเป็นกลุ่มกอง ย่ำให้เป็นแผลช้ำแล้วหรือยังเป็นชิ้นเดิมๆ ทุกสภาพของฟางไม่อาจรอดพ้นฝีมือของจุลินทรีย์ไปได้ เริ่มด้วยการปล่อยน้ำเข้าแปลงพร้อมกับใส่จุลินทรีย์ 2-5 ล./ไร่ รักษาระดับน้ำให้ลึกราว 20-30 ซม. ทิ้งไว้ราว 10-20 วัน น้ำจะเปลี่ยนสีเป็นสีชาอ่อนๆ สภาพของฟางเริ่มเปื่อยยุ่ย เมื่อเดินย่ำลงไปจะมีฟองเกิดขึ้น ให้สังเกตฟอง ถ้ามีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจุลินทรีย์เป็นพิษให้ ระบายน้ำออกทั้งหมดแล้วเติมน้ำใหม่ พร้อมกับจุลินทรีย์ชุดใหม่เข้าไปแทน แล้วเริ่มหมักใหม่อีกรอบ....ถ้าฟองนั้นไม่มีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจุลินทรีย์ดี ให้หมักต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าฟางจะเปื่อยยุ่ยได้ที่ตามต้องการแล้วจึงลงมือทำเทือก

ถ้าหมักฟางยังไม่ได้ที่หรือยังมีกลิ่นเหม็น (แก๊ส) จะมีผลต่อต้นข้าวระยะกล้า (ต้นเหลืองโทรม) เรียกว่า “เมาตอซัง” กรณีนี้แก้ไขโดยระบายน้ำเก่าออกพร้อมๆกับส่งน้ำใหม่เข้าไปแทนที่หรือใช้น้ำดีไล่น้ำเสีย จากนั้นบำรุงต้นกล้าด้วยฮอร์โมนทางด่วน 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน

5. ไถกลบฟาง :
วัตถุประสงค์คือ การส่งฟางลงไปคลุกเคล้ากับเนื้อดินจนเป็นเนื้อเดียวกันแล้วให้จุลินทรีย์ย่อยสลายจนเปื่อยยุ่ยกลายเป็นปุ๋ยฟางที่อยู่ในแปลงนานั้นจะตากหรือไม่ตาก เกลี่ยหรือไม่เกลี่ย ย่ำหรือไม่ย่ำ หมักหรือยังไม่หมัก สามารถไถกลบลงดินได้ทั้งสิ้น เพียงแต่แบบไหนจะยากง่ายกว่ากัน ด้วยเครื่องมือต่างๆ ดังนี้

- ไถด้วยรถไถจอบหมุนโรตารี่ เป็นรถไถขนาดกลางนั่งขับ ขณะไถมักมีฟางพันผาน แก้ไขโดยการเดินหน้าสลับกับถอยหลังเพื่อสลัดฟาง หรือยกผานขึ้น ใส่เกียร์ถอยหลังแล้วเร่งเครื่องแรงๆ ผานจะหมุนฟรีแล้วสลัดฟางออกเองได้

- ไถด้วยรถไถเดินตาม (ควายเหล็ก) ผานเดี่ยว (ผานหัวหมู) ขณะไถมักมีฟางพันผาน แก้ไขโดยต่อใบผานให้ยาวขึ้น 10-12 นิ้ว หรือมากกว่า เพื่อส่งขี้ไถและฟางให้ตกห่างจากผานมากๆ

- ย่ำด้วยลูกทุบ (อีขลุบ) ลากด้วยควายเหล็ก ลูกทุบจะย่ำฟางให้ยุบลงแนบกับเนื้อดินบริเวณผิวหน้าดินเท่านั้นไม่ได้ลงไปคลุกหรือจมลงไปในเนื้อดิน เมื่อหว่านเมล็ดข้าวลงไป เมล็ดพันธุ์ส่วนหนึ่งจะติดค้างอยู่บนหญ้าที่หน้าดิน ช่วงที่เมล็ดเริ่มงอก ระบบรากยังแทงไม่ทะลุกองหญ้าลงไปถึงเนื้อดินด้านล่างได้ ครั้นเมื่อปล่อยน้ำเข้าแปลง ฟางจะลอยขึ้นพร้อมกับยกต้นกล้าข้าวให้ลอยตามขึ้นมาด้วย กรณีนี้แก้ไขโดย ปล่อยให้รากต้นข้าวเจริญยาวลงไปถึงเนื้อดินล่างดีแล้วจึงปล่อยน้ำเข้า หรือนำเส้นฟางออกเหลือแต่เหง้ากับรากต้นข้าวแล้วย่ำ....วิธีการหมักฟางนานๆจนเปื่อยยุ่ยดี แล้วย่ำด้วยอีขลุบหลายรอบ ให้มากรอบที่สุดเท่าที่จะมากได้ ฟางที่เปื่อยยุ่ยแล้วถูกย่ำด้วยล้อเหล็กจนแหลกละเอียดจะคลุกเคล้าผสมกับเนื้อดินบริเวณผิวหน้าดิน กรณีนี้แม้ต้นกล้าข้าวจะงอกบนเศษฟางเปื่อย เมื่อปล่อยน้ำเข้าก็จะไม่ยกต้นกล้าข้าวให้ลอยตามขึ้นมา นาข้าวที่ผ่านการไถกลบฟางมา 2-3 รุ่น จนขี้เทือกลึกระดับครึ่งหน้าแข้งแล้ว การทำนารุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องไถอีก แต่ให้ปล่อยน้ำเข้าเพื่อหมักฟางหรือล่อให้วัชพืชขึ้นจากนั้นหมักทิ้งไว้ 10-15 วัน จนแน่ใจว่าฟางเปื่อยยุ่ย ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่าและเมล็ดวัช พืชงอกขึ้นมาจนหมดแล้วก็ให้ลงมือย่ำด้วย “อีขลุบหรือลูกทุบ” ได้เลย ทั้งนี้ลูกทุบหรืออีขลุบจะช่วยคลุกเคล้าเนื้อดินกับฟางและวัชพืชให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้ ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดต้นทุนค่าไถลงได้

6. ไม่ไถ :
หลังจากรถเกี่ยวเสร็จสิ้นภารกิจ ในแปลงมีตอซังและเศษฟาง แนวทางการทำเทือกโดยไม่ต้องไถ ไม่ว่าจะเป็นการไถด้วยรถไถใหญ่ผานจาน 3 หรือผาน 7 รถไถเดินตามผานจานเดี่ยวหรือคู่ รถไถโรตารี่สามารถทำได้โดยจัดการกับตอซังและเศษฟาง ตากฟางหรือไม่ตาก เกลี่ยหรือไม่เกลี่ยก็ได้ แล้วเริ่มด้วยการสูบน้ำเข้าให้ลึกประมาณ 30 ซม. ใส่จุลินทรีย์หน่อกล้วยหรือกากน้ำตาล 5-10 ล./ไร่ สาดให้ ทั่วแปลง ทิ้งไว้ 7-10 วัน จนน้ำเปลี่ยนสีเป็นสีชาอ่อนๆ จากนั้นให้ลงมือย่ำด้วย อีขลุบ หรือ ลูกทุบ ได้เลย ย่ำหลายๆรอบจนกว่าตอซังและเศษฟางรวมทั้งเศษซากต้นวัชพืชแหลกละเอียดลงไปคลุกกับเนื้อดิน เสร็จแล้วทิ้งไว้อีก 7-10 วัน ก็ให้ลงมือย่ำรอบสองด้วยวิธีการเดิม แล้วทิ้งไว้อีก 7-10 วัน ตรียมการย่ำต่อรอบสามเป็นรอบสุดท้าย ก่อนลงมือย่ำรอบสามให้ใส่อินทรีย์วัตถุ และ ปุ๋ย สำหรับนาข้าวตาม ปกติ เสร็จแล้วให้ลงมือปลูก (ดำหรือหว่าน) ข้าวได้เลย ถ้าเป็นนาข้าวที่เตรียมแปลงแบบไม่เผาฟางหรือไถกลบฟางครั้งแรก จะพบว่าชี้เทือกลึกเหนือกว่าตาตุ่มอย่างชัดเจนซึ่งถือว่าเพียงต่อการเพาะปลูกข้าวแล้วทั้งดำและหว่าน....หากเป็นนาที่เคยไม่เผาฟางแต่ไถกลบมาหลายรุ่นแล้ว การย่ำเพียงรอบแรกรอบเดียวก็จะได้ขี้เทือกลึกถึงระดับครึ่งหน้าแข้ง

ประโยชน์ที่ได้จากการย่ำเทือกหลายๆ รอบที่เห็นชัดที่สุด คือ นอกจากได้กำจัดวัชพืชโดยไม่ต้องพึ่งสารเคมีกำจัดวัชพืชแล้วยังได้ปุ๋ยอินทรีย์จากเศษซากพืชอีกด้วย

หมายเหตุ :
- ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือแบบใด ที่ด้านหน้ารถดัดแปลงให้มีตะแกงสำหรับตั้งถังขนาดจุ 20-50 ล. เจาะรูก้นถัง 2-3 รู มีก๊อกปรับอัตราการไหลช้า/เร็วได้ ในถังใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือจุลินทรีย์น้ำ แล้วปล่อยให้ไหลออกมช้าๆ ขณะที่รถไถวิ่งไปนั้นก็จะปล่อยปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือจุลินทรีย์หยดลงพื้นที่ด้านหน้า แล้วถูกผานด้านหลังไถผสมลงไปคลุกผสมกับเนื้อดินเอง

- การทำนาแบบไถกลบฟางลงดินรุ่นแรก หมักฟางนานๆจนเปื่อยยุ่ยดี แล้วย่ำซ้ำหลายๆรอบ จะทำให้ได้ “ขี้เทือก” ลึก 20-30 ซม.(ครึ่งหน้าแข้ง) ในขณะที่การทำเทือกแบบเผาฟางก่อนนั้นจะได้ขี้เทือกลึกน้อยกว่ามาก

- นาข้าวแบบไถกลบฟาง จากรุ่นแรกที่ไถกลบนั้นจะมีฟางลงไปอยู่ในเนื้อดินราว 1 ตัน ต่อมารุ่นที่ 2 ก็จะมีฟางชุดใหม่ลงไปสมทบอีก 1 ตัน หรือทำนาข้าวจะได้ฟางรุ่นละ 1 ตัน และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแบบรุ่นต่อรุ่น ทั้งนี้เนื่องจากฟางรุ่นแรกๆ แม้จะเปื่อยยุ่ยดีแล้วแต่ก็ยังคงมีเศษซากหลงเหลืออยู่ ยิ่งมีเศษซากฟางอยู่ในดินมากเท่าใดยิ่งทำให้ได้ขี้เทือกลึกมากเท่านั้น

จากประสบการณ์ตรงพบว่า การทำเทือกแบบไถกลบฟางสี่รุ่นติดต่อกัน ปรากฏว่าได้ขี้เทือกลึกถึงหัวเข่าซึ่งถือว่ามากเกินไป ผลเสียคือ เดินเข้าไปสำรวจแปลงได้ยาก ก่อนเกี่ยวซึ่งต้องงดน้ำ 7-10 วันเพื่อให้หน้าดินแห้งทำไม่ได้ และทำให้รถเกี่ยวเข้าทำงานไม่ได้อีกด้วย

แนวแก้ไข คือ ไถกลบฟาง 2 รุ่นติดต่อกันไปก่อน เมื่อจะทำนารุ่น 3 ให้นำฟางออกเหลือแต่เหง้ากับรากในดินก็พอ ต่อมาเมื่อจะทำนารุ่น 4 ก็ให้วิเคราะห์ปริมาณเศษซากฟางในดินก่อนว่า สมควรนำฟางของนารุ่น 3 ออก แล้วเหลือแต่เหง้ากับราก หรือต้องไถกลบฟางรุ่นใหม่เติมลงไปอีก ทั้งนี้ความ ลึกของขี้เทือกจะเป็นตัวชี้บอก ประเด็นสำคัญก็คือ จะต้อง “ไม่เผา” อย่างเด็ดขาด.ตามเกณฑ์ของการเตรียมดินปลูกข้าว ควรมีอินทรีย์วัตถุประเภทเศษซากพืช 2-3 ตัน /ไร่ /รุ่น

- ฟางข้าวในนาข้าว คือ อินทรีย์วัตถุหรือปุ๋ยพืชสดที่มีราคาต่ำที่สุดและมีประโยชน์มากที่สุด ฟางข้าวเป็นทั้งแหล่งสารปรับปรุงบำรุงดิน บำรุงจุลินทรีย์ และเป็นแหล่งสารอาหารสำหรับต้นข้าวทั้งรุ่นปัจจุบัน รุ่นหน้า และรุ่นต่อๆไป นอกจากฟางแล้วควรจัดหาแหล่งเศษซากพืชอื่นๆเสริมเพื่อเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้มากขึ้น จากฟางตัวเดียว ฟางธรรมดาๆ ก็กลายเป็น “ฟางซุปเปอร์” นั่นเอง

เกษตรแบบอมริกา :
- รถแทร็คเตอร์อเมริกา ด้านหน้าติดตั้งถังบรรจุ ปุ๋ยอินทรีย์/ปุ๋ยเคมี, กลางรถติดตั้งผานสามไถดิน ไถดะ, ท้ายรถติดตั้งผานเจ็ดไถพวนดิน ไถแปร, ทุกอย่างทำงานพร้อมกันเมื่อรถแทร็คเตอร์เริ่มเดิน

- เกษตรกรชาวนาและชาวไร่ของสหรัฐอเมริกา หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตในนาหรือในไร่แล้วไม่มีการเผาทิ้งหรือนำออก แต่ใช้วิธีการไถกลบด้วยรถไถกลบขนาดใหญ่ ซึ่งขณะไถกลบนั้นก็จะเติมอินทรีย์วัตถุสารปรับปรุงบำรุงดิน จุลินทรีย์ และสารอาหารอื่นๆไปพร้อมๆกัน เพื่อประหยัดเวลา แรงงาน และให้เกิดความหลากหลายตามธรรมชาติ

- หลุยส์ เซียร์น่า รัฐเดียวของอเมริกา ใหญ่กว่าปะเทศไทยทั้งประเทศ รัฐนี้ทำนาปลูกข้าวทั้งรัฐ ชาวนาบางรายมีที่แค่ 100 เฮกต้า (700 ไร่) ถือว่าเป็นแปลงขนาดเล็ก แต่ชาวนาทั้งรัฐ หรืออาจจะทั้งประเทศไม่เผาฟาง แล้วเขาทำนาทันได้อย่างไร .... “?” ….

- กรณีเผาฟาง เผาวัชพืชในไร่นา ขนาดอินโดเนเซียเผาไร่ควันท่วมประเทศ ข้ามมามาเลเซีย ต่อมาถึงสิงค์โปร์ ภาคเหนือของเมียนมาเผาไร่ ควันลอยข้ามมาไทย ภาคเหนือของไทยเผาไร่ ควันลอยข้ามไปถึงลาว แค่เผาไร่เผาวัชพืชแปลงเล็กๆ ควันยังไปไกลขนาดนี้ แล้วถ้าหลุยส์ เซียร์น่า ของอเมริกาเผาฟางบ้าง จะเกิดควันขนาดไหน แสดงว่าชาวนาของอเมริกาไม่เผาฟาง ไม่เผาวัชพืช แต่ใช้วิธีไถกลบนั่นเอง

- ชาวนาหลุยส์ เซียร์น่า ใช้เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงทุกชนิด ที่นั่นเตรียมดินเตรียมแปลงโดยใช้รถแทรคเตอร์ขนาดใหญ่ หน้ารถมีแทงค์ขนาดใหญ่บรรทุกปุ๋ยอินทรีย์ (สูตรตามพืช) แห้งผงละเอียด โรยผงปุ๋ยอินทรีย์ลง ช้าหรือเร็วควบคุมได้ ไต้ท้องรถตรงกลางมีผานจานทำหน้าที่ไถดะ ท้ายรถมีผานโรตารี่ทำหน้าที่ไถพรวน ทำหน้าที่ผสมดินกับผงปุ๋ยอินทรีย์ให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ด้วยเวลาเพียง 1 วัน แรงงานคนเดียว ทำงานได้เนื้อที่กว่า 100 ไร่

----------------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©