-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 9 ม.ค. * ทำจุลินทรีย์ สารพัดจุลินทรีย์
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 9 ม.ค. * ทำจุลินทรีย์ สารพัดจุลินทรีย์

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 08/01/2023 4:44 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 9 ม.ค. * ทำจุลินทรีย์ สารพัดจุล ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 9 ม.ค.

***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย-ยา-ไฟฟ้า-เวลา-ค่าแรง-ค่าที่-อารมย์-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

*** วันนี้จันทร์ ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย....
*** ด้วยประสบการณ์ร่วม 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง....

*** งานสีสันสัญจรวันเสาร์ เสาร์นี้วันที่ 14 ม.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี, ....
*** งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม หนังสือไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม........ใครไม่ซื้อ ไม่ซื้อแต่แจก แจกหนังสือไม้ผลแนวหน้า คนละ 1 เล่ม


***********************************************************************
***********************************************************************

จาก : 09 712x 021x
ข้อความ :
1. ชอบมาก สโลแกน พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
2. ขอวิธีทำจุลินทรีย์ สารพัดจุลินทรีย์
3. ทำขายต้องมีโฆษณา โฆษณาที่ลุงคิมได้ไหม


MOTIVATION แรงบันดาลใจ :

บทบาทของจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร :

1. ย่อยสลาย (กิน) อินทรีย์วัตถุและอนินทรีย์วัตถุแล้วถ่ายมูลออกมาเรียกว่า "กรดอินทรีย์" ส่วนที่เป็นธาตุอาหารพืชซึ่งอยู่ใน "รูป" ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ได้แก่ โพลิตินอล. ควินนอยด์. อโรเมติค. ซิลิลิค. ออแกนิค. ส่วนที่เป็นฮอร์โมนพืช ได้แก่ ออกซิน (ไซโตคินนิน. จิ๊บเบอเรลลิน. เอทธิลิน. อีเทฟอน. อีเทรล. แอบซิสสิค. เอบีเอ. ไอเอเอ. เอ็นเอเอ.ฯลฯ) และส่วนที่เป็นท็อกซิก. ซึ่งมีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อโรคพืชได้

2. ปรับค่าความเป็น กรด-ด่าง ของดิน ทำให้ดินเป็นกลาง
3. จับยึดธาตุอาหารพืชจากอากาศไปไว้ในตัวเองแล้วปลดปล่อยให้แก่ต้นพืช
4. ปลดปล่อยปุ๋ยเคมีที่ถูกดิน (กรดจัด) ตรึงไว้ให้ออกมาเป็นประโยชน์แก่ต้นพืช
5. ตรึงปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่ลงไปไว้แล้วปลดปล่อยให้ออกมาช้าๆ เพื่อให้พืชได้มีเวลาดูดซับไปใช้งานได้ทันทีและสม่ำเสมอ

6. สลายฤทธิ์สารที่เป็นพิษต่อพืชให้เจือจางลงๆ จนกระทั่งหมดไปในที่สุด
7. กำจัดจุลินทรีย์ประเภทที่ไม่มีประโยชน์หรือเป็นโทษ (เชื้อโรค) ต่อต้นพืช
8. เกิดได้เองตามธรรมชาติภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม


ประโยชน์ของฮิวมัส :
1. ป้องกันการชะล้างหน้าดิน
2. ป้องกันเม็ดดินอัดตัวกันแน่นจนเป็นดินเหนียวจัด
3. รักษาความชุ่มชื้นของเม็ดดิน (ปุ๋ยอินทรีย์ 10 กก.เก็บน้ำได้ 19.66 ล.)
4. ลดและสลายสารพิษในดิน
5. กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
6. เสริมประสิทธิภาพของธาตุอาหารพืชที่ได้จากการสังเคราะห์แสง


217. การวัดการเจริญของจุลินทรีย์ :
การหาปริมาณหรือจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ มีอยู่หลายวิธี แต่ไม่มีวิธีหนึ่งวิธีใดที่ใช้ได้ตลอดในทุกกรณี ทุกสภาวะ ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับชนิดของจุลินทรีย์ อาหารที่ใช้ จุดประสงค์ของการหา และเครื่องมือที่มีอยู่ โดยทั่วไปวิธีการวัดปริมาณจุลินทรีย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การวัดการเจริญของจุลินทรีย์โดยตรงและโดยอ้อม

2.2.1. การวัดการเจริญของจุลินทรีย์โดยตรง :
2.2.1.1. การหาน้ำหนักเซลล์แห้ง (cell dry weight)
2.2.1.2. การนับจำนวนเซลล์ (total cell number)
การนับจำนวนเซลล์เหมาะสำหรับเชื้อที่เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ ส่วนราไม่นิยมใช้วิธีนี้ ยกเว้นแต่การนับสปอร์เท่านั้น การนับจำนวนเซลล์มีหลายวิธีอาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือหลายวิธีร่วมกับ เช่น
2.2.1.2.1. การนับผ่านกล้องจุลทรรศน์ (microscopic count)
2.2.1.2.2. การนับจำนวนเซลล์ที่มีชีวิตบนจานเพาะเชื้อ (viable plate count)
2.2.1.2.3. การนับจำนวนเซลล์ที่มีชีวิตด้วยแผ่นสไลด์ (slide culture)
2.2.1.2.4. การนับจำนวนเซลล์การใช้เครื่องเคลาเตอร์ (coulter counter)
2.2.1.2.5. การวัดค่าความขุ่นของเซลล์ (turbidity)
2.2.1.2.6. การวัดปริมาตรเซลล์ที่อัดแน่น (packed cell volume)


2.2.2. การวัดการเจริญของจุลินทรีย์โดยอ้อม :
ในบางครั้งการวัดการเจริญของจุลินทรีย์โดยตรงทำได้ยาก อาจเนื่องมาจากธรรมชาติของจุลินทรีย์เองหรือสารอาหารที่ใช้เลี้ยง และวิธีการที่กล่าวมาข้างต้นใช้ไม่ได้ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการวัดการเจริญโดยทางอ้อม เช่น
2.2.2.1. การวัดองค์ประกอบของเซลล์ (cell components)
2.2.2.2. การวัดปริมาณอัตราการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ด้วยสมการสตอยคิโอเมตริก
2.2.2.3. การแผ่ความร้อนตามกฎเทอร์โมไดนามิกส์ (thermodynamics)
2.2.2.4. การวัดค่าการดูดกลืนแสงฟลูออเรสเซนส์ (fluorescence)
2.2.2.5. การวัดความหนืด (viscosity)


69. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางการเกษตร :
1. จุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจน (Nitrogen Fixing Microorganisms) ซึ่งมักจะเป็นกลุ่มแบคทีเรีย เพราะทำงานเร็วและมีจำนวนอยู่มาก โดยครึ่งหนึ่งของมวลจุลินทรีย์ทั้งหมดในโลกคือ แบคทีเรีย แบคทีเรียที่ตรึงไนโตรเจนได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ต้องอยู่ร่วมกับตัวอื่นถึงจะตรึงไนโตรเจนได้แบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน (Symbiosis) เช่น ไรโซเบียม (Rhizobium sp.) ในปมรากพืชตระกูลถั่ว และอีกกลุ่มหนึ่งที่ตรึงไนโตรเจนได้อย่างอิสระ (Non-Symbiosis)

2. จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ หรือเซลลูโลส (Cellulolytic Microorganisms หรือ Cellulolytic Decomposers) เป็นพวกที่ย่อยสลายเซลลูโลส หรือซากพืช ซากสัตว์ ประกอบไปด้วย แบคทีเรีย รา แอคติโนมัยซิท และโปรโตซัวร์ จุลินทรีย์พวกนี้พบได้ทั่วไประหว่างการสลายตัวของเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่างๆ ซากพืช ซากสัตว์ ใบไม้ กิ่งไม้ เศษหญ้า และขยะอินทรีย์ชนิดต่างๆ ทำให้เกิดปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ ขึ้นมาได้เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ น้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น

ในปุ๋ยหมักที่มีกิจกรรมจุลินทรีย์ค่อนข้างดีพบว่าในทุก 1 กรัมของปุ๋ยหมักจะต้องมีแบคทีเรีย 150-300 ไมโครกรัมและมีแบคทีเรียที่มีกิจกรรมสูง (Active) อยู่ 15-30 ไมโครกรัม มีเชื้อรา 150-200 ไมโครกรัมและมีเชื้อราที่มีกิจกรรมสูง 2-10 ไมโครกรัม มีพวกโปรโตซัวร์ ซึ่งจะย่อยสลายเศษชิ้นส่วนขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง ต้องมีถึงประมาณ 10,000 ตัวต่อ 1 กรัมของปุ๋ยหมัก และมีพวกไส้เดือนฝอยชนิดที่เป็นประโยชน์ 50-100 ตัว

3. จุลินทรีย์ที่ละลายฟอสเฟตและธาตุอาหารพืชอื่นๆ (Phosphate and Other Nutrient Elements Solubilizing Microorganisms) จุลินทรีย์พวกนี้สามารถทำให้ธาตุอาหารพืชหลายชนิด เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี ทองแดง และแมงกานีส ที่มักอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้ ให้ละลายออกมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งจุลินทรีย์ที่ช่วยส่งเสริมให้รากพืชดูดกินธาตุอาหารพืชได้ดีขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วจะไม่สามารถดูดกินธาตุอาหารบางชนิดได้ หรือดูดกินได้น้อย

จุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการแปรสภาพฟอสฟอรัสจะมีทั้งกลุ่มที่ทำหน้าที่เปลี่ยนอินทรีย์ฟอสฟอรัสและอนินทรีย์ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ในกรณีของสารอินทรีย์ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชจะอยู่ในรูปของไฟทิน และกรดฟอสฟอรัส จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะสร้างเอนไซม์ Phytase, Phosphatase, Nucleotidases และ Glecerophosphatase เพื่อแปรสภาพอินทรีย์ฟอสฟอรัสให้อยู่ในรูปของอนินทรีย์ฟอสฟอรัสที่เรียกว่า ออโธฟอสเฟต (Orthophosphate) ซึ่งเป็นพวกโมโน (Mono) และ ไดไฮโดรเจนฟอสเฟต (Dihydrogen Phosphate) จุลินทรีย์ดังกล่าวได้แก่ แบคทีเรียในสกุล Bacillus sp. และราในสกุล Aspergillus sp., Thiobacillus, Penicillium sp. และ Rhizopus sp. เป็นต้น นอกจากนี้สารประกอบอนินทรีย์ฟอสฟอรัสบางชนิดในรูปของหินฟอสเฟตซึ่งพืชยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้จุลินทรีย์บางชนิดในสกุล Bacillus sp. และ Aspergillus sp. จะสร้างกรดอินทรีย์ละลายฟอสฟอรัสออกมาให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ นอกจากนี้เชื้อราไมคอร์ไรซา (Mycorrhizal Fungi) ยังมีบทบาทในการละลายและส่งเสริมการดูดใช้ธาตุฟอสฟอรัส

4. จุลินทรีย์ที่ผลิตสารป้องกันและทำลายโรคพืช จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันและยับยั้งการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรียพวกที่ก่อโรคบางชนิด เช่น กลุ่มแบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติก (Lactic Acids Bacteria) ได้แก่ Lactobacillus spp. บนใบพืชที่สมบูรณ์และมีสุขภาพดีแจะพบแบคทีเรียกลุ่มผลิตกรดแลคติกมาก จุลินทรีย์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่ต้องการออกซิเจน (Anaerobic Microorganisms) และมีประโยชน์อย่างมากในการเกษตร เช่น เปลี่ยนสภาพดินจากดินไม่ดีหรือดินที่สะสมโรคให้กลายเป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชให้มีจำนวนน้อยลง มีประโยชน์ทั้งกับพืชและสัตว์ นอกจากนี้ยังมีจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการสร้างสารปฏิชีวนะออกมาทำลาลเชื้อโรคพืชบางชนิด เช่น เชื้อรา Aspergillus sp., Trichoderma sp. และเชื้อแอคติโนมัยซิทพวก Streptomyces sp.

5. จุลินทรีย์ที่ผลิตฮอร์โมนพืช แบคทีเรียหลายสายพันธุ์ เช่น Bacillus sp. สามารถสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน เป็นต้น ซึ่งสามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช

ดาว์นโหลดไฟล์ http://www.uploadtoday.com/download/?d63d3c4c8dfef962abc361f7a99c97e4
http://www.oknation.net/blog/kontan/2007/08/28/entry-1


ตอบ :

จากหนังสือ “หัวใจเกษตรไท”
จุลินทรีย์ :
ลำดับเรื่อง...

1. จุลินทรีย์ธรรมชาติ (ทำเอง)
2. จุลินทรีย์ อีแอบ.
3. จุลินทรีย์ อีแอบ. ซุปเปอร์
4. จุลินทรีย์หน่อกล้วย
5. จุลินทรีย์เปลือกถั่วลิสง
6. จุลินทรีย์ก้นครัว
7. จุลินทรีย์ฟังก์จัย
8. จุลินทรีย์ ไอเอ็มโอ.
9. จุลินทรีย์นมสด
10. จุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง

1. จุลินทรีย์ธรรมชาติ
หลักการและเหตุผล

- การที่จะรู้ว่าพื้นดินหรือแหล่งปลูกพืชบริเวณใดมีจุลินทรีย์ประเภทใดได้นั้น สังเกตจากการเจริญเติบโตของต้นพืชที่ขึ้นในบริเวณนั้นหรือใกล้เคียงเป็นหลัก ถ้าต้นพืชเจริญเติบโตดีแสดงว่ามีจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ แต่ถ้าต้นพืชไม่เจริญเติบโตแสดงว่ามีจุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์

- ประเภทของจุลินทรีย์ธรรมชาติในแหล่งธรรมชาติ
*** รากหญ้าแฝก หญ้าขน หญ้าประเภทหน้าแล้งตายหน้าฝนฟื้น มีจุลินทรีย์อะโซโตแบ็คเตอร์
*** ปมรากถั่วลิสง มีจุลินทรีย์คีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซ่า.
*** รากมะกอกน้ำ มีจุลินทรีย์บาซิลลัส
*** รากกล้วย มีจุลินทรีย์แอ็คติโนมัยซิส
*** รากพืชตระกูลถั่วยืนต้น เช่น สะดา เหลียง มะขามเทศ
เตรียมเชื้อเริ่มต้น :
ใช้ “ก้อนเชื้อจุลินทรีย์ อีแอบ.เข้มข้น” หมักนานจนพร้อมใช้งานแล้ว
การขยายเชื้อและวิธีใช้ :
- เตรียมน้ำขยายเชื้อเหมือนเดิม
- ใส่ “ก้อนเชื้อจุลินทรีย์ อีแอบ.เข้มข้น + จุลินทรีย์ท้องตลาดหรือจุลินทรีย์อื่นๆ” ลงในถังขยายเชื้อ คนเคล้าให้เข้ากันดี
- กรรมวิธีการหมักขยายเชื้อเหมือนการทำจุลินทรีย์ อีแอบ.ทุกประการ
หมายเหตุ :
- จุลินทรีย์ท้องตลาดได้แก่ ยาคูลท์ โยเกิร์ต และร้านขายสินค้าเกษตรทั่วไป
- จุลินทรีย์อื่นๆ หมายถึง พด. จุลินทรีย์หน่อกล้วย. จุลินทรีย์ประจำถิ่น. ฯลฯ ที่พร้อมใช้งานดีแล้ว ซึ่งจะทำให้ในอีแอบ.มีจุลินทรีย์กลุ่มอื่นเพิ่มขึ้น

2. จุลินทรีย์ อีแอบ.
เตรียมเชื้อจุลินทรีย์เริ่มต้น :

1. ใช้ “ปลาทะเลสดยังมีชีวิตทั้งตัวบดละเอียด 1 กก. + กากน้ำตาล 50 ซีซี. + หัวกระเทียมบดละเอียด 200-300 กรัม.” ผสมนวดให้เข้ากันดี

2. นำเนื้อปลาที่นวดดีแล้วห่อด้วยใบตองหลายๆ ชั้น รัดห่อด้วยเชือกเป็นเปราะๆ เหมือนห่อหมูยอ แล้วเก็บไว้ในตู้กับข้าว ทิ้งไว้ 7-10 วัน ช่วงอุณหภูมิอากาศปกติ หรือ 15-20 วันช่วงอุณหภูมิอากาศเย็น ได้ “ก้อนเชื้อจุลินทรีย์ อีแอบ." เข้มข้น พร้อมนำไปขยายเชื้อ
ขยายเชื้อจุลินทรีย์ :
1. เตรียมน้ำต้มเดือดจัดเพื่อฆ่าเชื้อโรค ปล่อยทิ้งให้เย็น 10 ล.ในภาชนะที่ไม่ใช่โลหะ สะอาด ใส่กากน้ำตาลลงไป 1 ล. หรืออัตราส่วน 10 : 1 คนให้เข้ากันดี

2. นำก้อนเชื้อจุลินทรีย์ออกมาจากห่อ ใส่ลงไปในน้ำ ขยายเชื้อ คนเคล้าให้เข้ากันดี
3. ใส่ก้อนเชื้อจุลินทรีย์ลงไปแล้วช่วงการหมัก 24-48 ชม.แรกให้ปิดฝาสนิท อย่าให้อากาศเข้าได้ ผ่าน 24-48 ชม.ไปแล้วคลายฝาออกปิดพอหลวม ระวังอย่าให้สิ่งแปลกปลอมตกลงไป ติดปั๊มออกซิเจนเพื่อเติมอากาศให้แก่จุลินทรีย์

4. ตรวจสอบประจำวันด้วยการสังเกตฟองที่เกิดขึ้นในถังขยายเชื้อ ถ้ามีฟองผุดขึ้นมามากแสดงว่ามีจุลินทรีย์จำนวนมาก สมบูรณ์ และแข็งแรง แต่ถ้ามีฟองผุดขึ้นมาน้อยแสดงว่ามีจุลินทรีย์น้อยให้ใส่เพิ่ม “ก้อนเชื้อจุลินทรีย์” พร้อมกับเติมกากน้ำตาลอีก อัตรา ¼ ของที่ใส่ครั้งแรกกับน้ำมะพร้าวอ่อนเล็กน้อยลงไป คนเคล้าให้เข้ากันดีอีกครั้งแล้วหมักขยายเชื้อต่อไป

- หลังจากหมดฟองแล้วได้ “หัวเชื้อจุลินทรีย์ อีแอบ.เข้มข้น” ให้นำออกใช้ทันทีในวันรุ่งขึ้น
- ขั้นตอนการหมัก การตรวจสอบ และการนำออกไปใช้ ให้ปฏิบัติเหมือนขยายเชื้อจุลินทรีย์ประจำถิ่น
หมายเหตุ :
- ไม่ควรเก็บจุลินทรีย์ที่ขยายเชื้อจนเจริญดีแล้วไว้ในน้ำขยายเชื้อนานเกินไป เพราะจะทำให้จุลินทรีย์กลุ่มแรก (จุลินทรีย์ที่ต้องการ) ซึ่งเกิดก่อนต้องตายแล้วเกิดจุลินทรีย์กลุ่มใหม่ (ไม่รู้จัก) ขึ้นมาแทน ทั้งนี้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรส่วนใหญ่ต้องการความชื้นเพียง 30-70 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

- การควบคุมอุณหภูมิในถังขยายเชื้อหรือถังหมักให้อยู่ที่ 40 องศาเซลเซียสอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้จุลินทรีย์เจริญและขยายพันธุ์ได้เร็วขึ้น

* ดร.สุริยา ศาสนรักกิจ. ตรวจสอบจุลินทรีย์ อีเอ็ม. ว่ามีจุลินทรีย์กลุ่มไหนบ้าง จากนั้นพยายามคัดสรรสารพัดวัสดุเพื่อนำมา เพาะ/ขยายเชื้อ จนกระทั่งพบว่า ปลาทะเล. ทำให้ได้จุลินทรีย์กลุ่มเดียวกันกับ อีเอ็ม. ทันทีที่พบถึงกับอุทานว่า "แอบ" อยู่นี่เอง และนี่คือที่มาของชื่อว่า "อีแอบ" ที่ลุงคิมตั้งให้เอง

3. จุลินทรีย์ อีแอบ. ซุปเปอร์
เตรียมเชื้อเริ่มต้น :

ใช้ “ก้อนเชื้อจุลินทรีย์ อีแอบ.เข้มข้น” หมักนานจนพร้อมใช้งานแล้ว
การขยายเชื้อและวิธีใช้ :
- เตรียมน้ำขยายเชื้อเหมือนเดิม
- ใส่ “ก้อนเชื้อจุลินทรีย์ อีแอบ.เข้มข้น + จุลินทรีย์ท้องตลาดหรือจุลินทรีย์อื่นๆ” ลงในถังขยายเชื้อ คนเคล้าให้เข้ากันดี
- กรรมวิธีการหมักขยายเชื้อเหมือนการทำจุลินทรีย์ อีแอบ.ทุกประการ
หมายเหตุ :
- จุลินทรีย์ท้องตลาดได้แก่ ยาคูลท์ โยเกิร์ต และร้านขายสินค้าเกษตรทั่วไป
- จุลินทรีย์อื่นๆ หมายถึง พด. จุลินทรีย์หน่อกล้วย. จุลินทรีย์ประจำถิ่น. ฯลฯ ที่พร้อมใช้งานดีแล้ว ซึ่งจะทำให้ในอีแอบ.มีจุลินทรีย์กลุ่มอื่นเพิ่มขึ้น

4. จุลินทรีย์หน่อกล้วย :
เตรียมเชื้อจุลินทรีย์เริ่มต้น :

1. เลือกหน่อกล้วยความสูง 1 ม.จากพื้นถึงยอด เป็นหน่อชนิดที่สมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีโรค เกิดจากต้นแม่ที่สมบูรณ์แข็งแรงให้ผลผลิตดี ทั้งต้นแม่และหน่ออยู่ในบริเวณที่ดินมีค่ากรด-ด่างเป็นกลางหรือเป็นกรดอ่อนๆ

2. ขุดหน่อขึ้นมาให้มีเหง้าติดรากมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ สลัดดินทิ้งไปให้เหลือติดรากไว้เล็กน้อย ไม่ต้องล้างน้ำ
3. สับเล็กหรือบดละเอียดทั้งต้น (ราก เหง้า ต้น ใบ) อัตราส่วน หน่อกล้วย 3 ส่วน : กากน้ำตาล 1 ส่วน (3:1) เติมน้ำมะพร้าวอ่อนพอเหลว บรรจุในภาชนะที่ไม่ใช่โลหะ คลุกเคล้าให้เข้ากันดี เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง คนบ่อยๆ เพื่อเร่งอากาศให้แก่จุลินทรีย์ หมักนาน 7-10 วัน กรองเอากากออก น้ำที่ได้คือ “น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วยเข้มข้น” พร้อมใช้งานขั้นตอนการหมัก การตรวจสอบ และการนำไปใช้เหมือนจุลินทรีย์ประจำถิ่น อายุการเก็บนาน 6 เดือนหลังจากหมดอายุแล้วนำมาขยายเชื้อด้วยจุลินทรีย์เริ่มต้นชุดใหม่ได้
ประโยชน์ :
- ใช้ในการหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพ ฮอร์โมนพืช บ่มดิน ปรับปรุงดิน ฯลฯ
- ราดลงดินช่วยปรับโครงสร้างของดิน ทำให้ดินโปร่งร่วนซุยและกำจัดเชื้อโรคในดิน
- ผสมกับปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอก ให้ได้ความชื้น 50 เปอร์เซ็นต์ ช่วยเร่งให้ปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอกใช้งานได้เร็วและดีขึ้น
- ช่วยย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุที่ใส่ลงไปในดินให้เกิด “ฮิวมิค แอซิด” ได้เร็วและจำนวนมาก
- ช่วยย่อยสลายฟางในนาข้าวที่ไถกลบช่วงทำเทือกให้เปื่อยยุ่ยเร็วขึ้น
- ฉีดพ่นทางใบช่วยกำจัดเชื้อรา ทำให้หนอนไม่ลอกคราบไม่กินอาหาร (ทำลายพืช) ทำให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อจนฟักออกมาเป็นตัวหนอนไม่ได้ และขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่

- กำจัดเชื้อโรคในน้ำในร่องสวน สระกักเก็บน้ำ และคอกปศุสัตว์
หมายเหตุ :
- ในหน่อกล้วยมีจุลินทรีย์กลุ่ม “แอ็คติโนมัยซิส” ซึ่งมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายสูง

- ฉีดพ่นจุลินทรีย์หน่อกล้วยทางใบให้ทั่วทรงพุ่มตอนกลาวันช่วงหลังฝนหยุด (ฝนต่อแดด) เพื่อล้างน้ำฝนออกจากต้นไม่ให้น้ำฝนแห้งคาต้นช่วยกำจัดเชื้อราแอนแทร็คโนส. ไม่ให้เข้าทำลายใบ ยอด ดอก ผล และส่วนต่างๆ ของพืชได้.....ฉีดพ่นตอนเช้ามืดเพื่อล้างน้ำค้างและหมอกออกจากต้นก่อนที่น้ำค้างและหมอกจะแห้งคาต้น ช่วยกำจัดเชื้อราน้ำค้าง. ราแป้ง. ราสนิม. ไม่ให้เข้าทำลายส่วนต่างๆ ของต้นพืชได้

- จุลินทรีย์กลุ่มแอ็คติโนมัยซิส. มีประสิทธิภาพในการกำจัดจุลินทรีย์เชื้อโรคพืชประเภทเชื้อราในดิน เช่น เชื้อไฟธอปเทอร่า. พิเทียม. ฟูซาเลียม. สเคลโรเทียม. และไรช็อคโธเนีย. ได้ผลดีมาก

- ถ้าไม่ใช้หน่อกล้วยทั้งหน่อ สามารถใช้เฉพาะส่วนลำต้นของต้นกล้วยแก่ตัดเครือใหม่ๆ แทนก็ได้ ด้วยอัตราส่วนและวิธีการเดียวกัน

5. จุลินทรีย์เปลือกถั่วลิสง :
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :

ใช้ “เปลือกถั่วลิสงสดใหม่ผึ่งลมให้แห้ง บดละเอียด 10 กก. + ข้าวฟ่างสดใหม่บดละเอียดผึ่งลมให้แห้ง 1 กก. + มูลม้าสดใหม่บดละเอียดผึ่งลมแห้ง 1 กก. + รำละเอียดใหม่ 1 กก.” คลุกเคล้าให้เข้ากันดีพร้อมกับพรมด้วย “น้ำ 10 ล. + จุลินทรีย์ อีแอบ.ซุปเปอร์ หรือ จุลินทรีย์หน่อกล้วย (อย่างใดอย่างหนึ่ง) 100 ซีซี.” ให้ได้ความชื้น 50 เปอร์เซ็นต์ ทำกองอัดแน่น คลุมด้วยพลาสติก ระหว่างหมักช่วง 5-7 วันแรกถ้าเกิดควันให้กลับกอง และกลับกองทุกครั้งที่มีควันขึ้น หมักไปจนกระทั่งอุณหภูมิในกองเย็นลง หมักนาน 3-6 เดือน ได้ “หัวเชื้อจุลินทรีย์เปลือกถั่วลิสงแห้ง” พร้อมใช้งาน
อัตราส่วนผสมและวิธีทำ :
ใช้ “หัวเชื้อเข้มข้น 1 กก. ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์หมักใหม่ 100 กก.” จุลินทรีย์ในเปลือกถั่วลิสงจะแพร่ขยายพันธุ์ในกองปุ๋ยอินทรีย์ชุดใหม่ หรือใส่ลงดินแล้วไถกลบ/คลุมด้วยอินทรีย์วัตถุก็จะแพร่ขยายพันธุ์ในดินเอง
หมายเหตุ :
ในเปลือกถั่วลิสงมีจุลินทรีย์กลุ่ม คีโตเมียม. ไรโซเบียม. และไมโครไรซ่า

6. จุลินทรีย์ก้นครัว :
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :

ใช้อาหารหมักดองที่ สี กลิ่น และรสชาติ พร้อมบริโภค เช่น แหนม. ส้มฟัก. ปลาส้ม. ผักดอง. เต้าเจี้ยว. เต้าหู้ยี้. ยาคูลท์. โยเกิร์ต. นมเปรี้ยว. ถั่วเน่า. กะปิ. สภาพสดใหม่ สะอาด สภาพดีรับประทานได้ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างๆละเท่าๆกัน ขยำพอแหลก เป็น “จุลินทรีย์เริ่มต้น” ใส่ใน “น้ำขยายเชื้อ” แล้วดำเนินการหมักเหมือนการขยายเชื้อจุลินทรีย์ตามปกติ
วิธีใช้และอัตราใช้ :
- ใช้เป็นจุลินทรีย์เริ่มต้นในกองปุ๋ยหมักหรือในดินหมายเหตุ :
- ในมูลไก่ค้างคอน มูลสัตว์กินเนื้อ ขี้เพี้ยวัว/ควายสภาพสดใหม่ก็มีจุลินทรีย์ เมื่อนำมาขยายเชื้อในน้ำขยายเชื้อหรือผสมปุ๋ยอินทรีย์ใส่ลงดินก็จะได้จุลินทรีย์ที่ดีเช่นกัน

- น้ำผักดองที่อยู่ในไห คือ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องนำไปขยายเชื้ออีก อัตราใช้ “น้ำผักดองในไห 1 ล./น้ำ 500 ล.” (1:500) ให้ทางดินหรือใส่ร่วมในปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอก จุลินทรีย์ก็จะเจริญขยายพันธุ์ได้เอง

- ดร.อิงะ นักวิชาการเกษตรอินทรีย์ญี่ปุ่น ศึกษาเกี่ยวกับจุลินทรีย์จากแหล่งต่างๆ ในประเทศไทย โดยเฉพาะอาหารหมักดองแล้วพัฒนาจนกลายเป็นจุลินทรีย์ อีเอ็ม.นำมาใช้อย่างได้ผลจนกระทั่งปัจจุบัน

7. จุลินทรีย์ฟังก์จัย :
วัสดุส่วนผสม :

ฟางเห็ดฟางที่เชื้อเห็ดเริ่มเจริญ …… 10 กก.
มูลวัวไล่ทุ่งแห้งเก่าค้างปี …..……… 10 กก.
รำละเอียด ……………………....…… 1 กก.
ข้าวฟ่างสดใหม่บดละเอียด ………. 1 กก.
คลุกเคล้าวัสดุส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันดี ทำกองบนแผ่นพลาสติกหรือพื้นคอนกรีตน้ำเข้าไม่ได้ อยู่ในร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก
น้ำขยายเชื้อ :
น้ำต้มปล่อยให้เย็น ….. 10 ล.
น้ำมะพร้าวอ่อน …….... 1 ล.
กากน้ำตาล ……………. 1 ล.
นมสดสัตว์รีดใหม่ ….…. 1 ล.
ใส่ส่วนผสมตามลำดับ คนเคล้าให้เข้ากันดี
วิธีทำ :
คลุกเคล้าวัสดุส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันดีพร้อมกับพรมด้วยน้ำขยายเชื้อให้ทั่วกองได้ความชื้น 50 เปอร์เซ็นต์เสร็จแล้วทำกองอัดแน่น ปิดทับด้วยพลาสติกให้อากาศเข้าได้น้อยที่สุด ช่วงการหมัก 5-7 วันแรกถ้ามีควันเกิดขึ้นให้กลับกองระบายอากาศ และให้กลับกองทุกครั้งเมื่อมีควันเกิดขึ้น หลังจากหมดควันแล้วให้กลับกองทุก 10-15 วัน จนกระทั่งเห็นว่าวัสดุส่วนผสมเย็น มีกลิ่นหอมรำข้าว เนื้อนุ่มเปื่อยยุ่ยสีน้ำตาลอมดำ ได้ "หัวเชื้อจุลินทรีย์ฟังก์จัยเข้มข้น" พร้อมใช้งาน
วิธีใช้และอัตราใช้ :
ใช้ "หัวเชื้อเข้มข้น 1 กระป๋องนม/พื้นที่ 1 ตร.ว." เป็นเชื้อเริ่มต้น หรือใช้ "หัวเชื้อเข้มข้น 10 กก.ผสมปุ๋ยหมัก 100 กก." เป็นเชื้อเริ่มต้น วิธีขยายเชื้อจุลินทรีย์
วัสดุผสมและวิธีทำ :
น้ำ 10 ล. ต้มเดือดจัดเพื่อฆ่าเชื้อโรคแล้วทิ้งให้เย็น ใส่กากน้ำตาลต้มความร้อน 70 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที อัตรา 1 ล. คนเคล้าให้เข้ากันดี ใส่จุลินทรีย์ที่ต้องการขยายเชื้อลงไป 1 ล.หรือ 100 กรัม คนเคล้าให้เข้ากันดีอีกครั้งช่วงการหมัก 24 ชม.แรก ปิดฝาให้สนิทให้อากาศเข้าได้น้อยที่สุด ครบ 24 ชม.แล้วคลายฝาพอหลวม ติดปั๊มออกซิเจนเพื่อให้อากาศแก่จุลินทรีย์แบบตลอด 24 ชม. นานติดต่อกัน 7 วัน เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง ระวังอย่าให้ถูกแสงสว่างหลังจากให้ออกซิเจนครบ 7 วัน ให้ตรวจสอบโดยหยุดให้ออกซิเจน 2-3 วัน จากนั้นให้สังเกตฟอง.....ถ้ามีฟองเกิดขึ้น แสดงว่ามีจุลินทรีย์ดี จำนวนมาก ให้หมักต่อไปเรื่อยๆโดยไม่ต้องให้ออกซิเจน จนกว่าจะไม่มีฟองเกิดขึ้นหรือนิ่งหมดฟองก็จะได้ "หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น" พร้อมใช้งาน
วิธีใช้และอัตราใช้ :
ใช้เหมือนจุลินทรีย์ดั้งเดิมตั้งแต่ยังไม่ได้นำมาขยายเชื้อ
เป้าหมาย :
เหมือนจุลินทรีย์ดั้งเดิมตั้งแต่ยังไม่ได้ขยายเชื้อ
- ช่วงการหมักครบ 24 ชม.แรก ค่อยๆ เปิดฝาพร้อมกับสังเกตก๊าซที่พุ่งสวนออกมา ถ้าเสียงก๊าซพุ่งออกมาแรงแสดงว่ามีจุลินทรีย์มากและแข็งแรงดี ให้เปิดฝาแล้วเติมออกซิเจนได้เลย แต่ถ้าเสียงก๊าซพุ่งออกมาค่อยๆแสดงว่ามีจุลินทรีย์ไม่มากและไม่ค่อยแข็งแรง ให้ปิดฝาแน่นป้องกันอากาศเข้าต่อไปอีก 24 ชม. จากนั้นให้ตรวจสอบปริมาณก๊าซด้วยการเปิดฝาทุกๆ 24 ชม.เพื่อให้รู้ว่ามีจุลินทรีย์มากหรือน้อย

- ตรวจสอบจุลินทรีย์โดยการขยายเชื้อจุลินทรีย์ในขวดปากแคบ ใช้ลูกโป่งสวมปากขวดไว้ แล้วสังเกตลูกโป่ง ถ้าลูกโป่งพองดีแสดงว่ามีจุลินทรีย์จำนวนมาก ถ้าลูกโป่งไม่พองหรือพองช้าก็แสดงว่าไม่มีจุลินทรีย์หรือมีจำนวนน้อย

8. จุลินทรีย์ ไอเอ็มโอ. :
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :

1. หุงข้าว (ข้าวใหม่ดีกว่าข้าวเก่า) ให้สุกปกติพอดีๆ ปล่อยให้เย็นคาหม้อหุง ตักใส่กระบะพลาสติก ยีข้าวให้แตกเมล็ดดีพร้อมกับโรยน้ำตาลทรายแดงบดละเอียดบางๆ อัตราส่วน ข้าว 1,000 ส่วน น้ำตาลทรายแดง 1 ส่วน (1,000 : 1) คนเคล้าให้เข้ากันดีปิดฝากระบะด้วยผ้า รัดขอบให้มิดชิด

2. นำกระบะข้าวไปวางไว้ในสวนบริเวณร่มเย็น ความชื้นสูง (กลางกอกล้วย) ปลอดสารเคมี-ยาฆ่าหญ้าและสารเคมีอื่นๆ ทุกชนิด แล้วคลุมด้วยเศษพืชแห้งบางๆ โปร่งอากาศผ่านสะดวก

3. ทิ้งกระบะไว้ 5-7 วัน เมล็ดข้าวสุกจะเริ่มเป็นสีเหลืองอมเขียวอ่อนๆ บริเวณผิวหน้าก่อน เมื่อปล่อยไว้ต่อไปอีกเมล็ดข้าวสุกจะเป็นสีเหลืองอมเขียวทั้งหมดและมีน้ำใสๆ อยู่ที่ก้นกระบะนำกระบะข้าวสุกกลับมา ได้ “หัวเชื้อจุลินทรีย์ ไอเอ็มโอ. เข้มข้น” พร้อมใช้งาน
อัตราใช้และวิธีใช้ :
ใช้ “น้ำ 1,000 ล. + กากน้ำตาล 1 ล. + หัวเชื้อเข้มข้น 1 กก.” คนให้เข้ากันดี กรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นทางใบแก่พืชช่วงหลังค่ำ อากาศไม่ร้อน หรือผสมปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อขยายเชื้อจุลินทรีย์ให้มากและแข็งแรงขึ้น

9. จุลินทรีย์นมสด :
วัสดุส่วนผสม วิธีทำ และวิธีใช้ :

นมโคสด รีดใหม่ จากฟาร์ม......... 10 ล.
น้ำส้มสายชู 5% .................... 100 ซีซี.
น้ำมะพร้าว............................ 1 ล.
กากน้ำตาล........................... 1 ล.
ยิสต์ทำขนมปัง....................... 100 กรัม
คนเคล้าทุกอย่างให้เข้ากันดี เติมอ๊อกซิเจน ตลอด 24 ชม. นาน 7-10 วัน
ได้ "หัวเชื้อ" เข้มข้น
วิธีใช้ "หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล. ราดรดลงดิน

10. จุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง :
วัสดุส่วนผสม วิธีทำ และวิธีใช้ :

น้ำ (พีเอช 6.5-7.0) .................... 10 ล.
เศษฟางเปื่อยยุ่ยเองตามธรรมชาติ ....... 1-2 กก.
กากน้ำตาล................................. 1 ล.
น้ำมะพร้าว.................................. 1 ล.
ยูเรีย........................................ 100 กรัม
คนเคล้าส่วนผมทุกอย่างให้เข้ากันดี เติมอ๊อกซิเจนตลอด 24 ชม. นาน 7-10 วัน
ได้ "หัวเชื้อ" เข้มข้น
ใช้ "หัวเชื้อ 1-2 ล." ผสมน้ำตามความเหมาะสม สาดให้ทั่วแปลงนา 1 ไร่ ช่วงหมักฟาง
หรือใส่กองปุ๋ยอินทรีย์หมัก 1 ตัน

-----------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©