-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - อีเทฟอน.กับทุเรียน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

อีเทฟอน.กับทุเรียน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 27/02/2010 10:31 pm    ชื่อกระทู้: อีเทฟอน.กับทุเรียน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


หมู่นี้เห็นเน็ตเงียบๆ ไม่มีคำถาม เลยถือโอกาส "ท่องโลกเน็ต" พบเจออะไรที่
เหมือน/คล้าย/ต่าง กับของเรา เลยก็อปมาให้อ่านกันเล่นๆน่ะ......ลุงคิมครับผม
**********************************************



พีรพงษ์ แสงวนางค์กูล (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย)

การเจริญเติบโตและการพัฒนาของผลทุเรียนพันธุ์หมอนทอง
และอิทธิพลของเอทีฟอนในระยะก่อนเก็บเกี่ยว


บทคัดย่อ:
การศึกษาการเจริญเติบโตและการพัฒนาของผลทุเรียนพันธุ์หมอนทองโดยใช้ผลทุเรียนจากสวน
ใน อ.สวี จ.ชุมพร และ อ.ขลุง จ.จันทบุรี ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม พ.ศ. 2538 และ
มกราคม-พฤษภาคม พ.ศ. 2539 ตามลำดับ พบว่า

รูปแบบการเจริญเติบโตและการพัฒนาของผลทุเรียนทั้งผลและส่วนต่างๆ ในผลตั้งแต่ดอกบานจน
ผลพร้อมเก็บเกี่ยวใช้เวลาประมาณ 120-127 วัน เป็นแบบ simple sigmoid curve โดยมี
ระยะที่ 1 (lag phase) ตั้งแต่ติดผลจนถึงผลอายุ 57 วันหลังดอกบาน ระยะที่ 2 (log phase)
ผลอายุ 57-85 และ 57-92 วัน ในสวน จ.ชุมพร และ จ.จันทบุรี ตามลำดับ และระยะที่ 3
(stationary phase) ผลอายุมากกว่า 85-92 วันขึ้นไป โดยมีน้ำหนักแห้งและปริมาณไขมันใน
เนื้อทุเรียนเริ่มเพิ่มมากขึ้นในช่วงปลายระยะที่ 2 ของการเจริญเติบโต (ผลอายุ 78-85 วัน) และ
เพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วมากเมื่อเข้าสู่ระยะที่ 3 ของการเจริญเติบโตของผล การเกิดสีเหลืองของเนื้อ
เริ่มเกิดขึ้นเมื่ออายุ 99 วัน และเหลืองชัดเจนเมื่อผลอายุ 113-127 วัน สอดคล้องกับปริมาณ
beta-carotene ที่เริ่มเพิ่มขึ้นเมื่อผลเริ่มเข้าสู่ระยะที่ 3 ของการเจริญเติบโตของผล

หลังจากนั้นปริมาณ beta-carotene คงที่และเพิ่มมากขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายระยะที่ 3 การ
เปลี่ยนแปลงปริมาณ total nonstructural carbohydrate (TNC) และน้ำตาลทั้งหมดใน
เนื้อทุเรียนพันธุ์หมอนทองมีรูปแบบเป็นโค้งพาราโบลาหงาย กล่าวคือ มีปริมาณขณะผลยังอ่อนอยู่
สูงมาก แล้วลดลงจนมีระดับต่ำสุดเมื่อเริ่มเข้าสู่ระยะที่ 3 ก่อนกลับเพิ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อผลมีอายุ
มากขึ้นจนมีปริมาณสูงสุดเมื่อผลอายุ 127 วัน

ทั้ง 2 จังหวัดสอดคล้องกับปริมาณ soluble solids (SS) ที่เพิ่มขึ้นตลอดระยะที่ 3 เมื่อเก็บ
รักษาผลทุเรียนพันธุ์หมอนทองอายุ 120 และ 127 วัน จากสวนใน จ.จันทบุรี ในสภาพอุณหภูมิ
ห้องพบว่า ผลทุเรียนสามารถสุกได้ใน 6-9 และ 4-6 วันตามลำดับ โดยเปลือกผลเริ่มเปลี่ยนเป็น
สีเหลืองเล็กน้อย มีสีเหลืองของเนื้อและสีน้ำตาลแดงของเมล็ดเข้มมากขึ้น มีปริมาณ beta-
carotene, TNC, SS และน้ำตาลทั้งหมดในส่วนเนื้อผลเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาที่เก็บรักษา
สอดคล้องกับคุณภาพการรับประทานที่ยอมรับได้ ขณะที่น้ำหนักแห้งของเนื้อและปริมาณไขมันใน
ส่วนเนื้อผลค่อนข้างคงที่

การศึกษาผลของสารละลายเอทีฟอน.ต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของผลทุเรียนพันธุ์หมอน
ทองที่ปลูกใน อ.สวี จ.ชุมพร พบว่า การพ่นเอทีฟอน.เข้มข้น 500 มิลลิกรัม/ลิตร 3 ครั้งเมื่อผล
อายุ 78, 85 และ 92 วันต่อเนื่องทำให้ผลทุเรียนที่ได้มีขนาดเล็กและมีการพัฒนาต่างๆ ไม่
สมบูรณ์แตกต่างจากผลปกติและผลที่ได้รับเอทีฟอน. 1,000 มิลลิกรัม/ลิตร 3 ครั้ง เมื่อผล
อายุ 106, 113 และ 120 วันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผล 2 กลุ่มหลังนี้มีน้ำหนักและเส้นผ่าศูนย์กลาง
ผลไม่แตกต่างกัน เปลือกผลทุเรียนที่ได้รับเอทีฟอน. 500 มิลลิกรัม/ลิตร มีสีเขียวอมน้ำตาลผิด
ปกติ เนื้อผลมีสีครีมซีด และยังคงแน่นแข็งแม้ผลมีอายุถึง 127 วัน และเก็บรักษาไว้นาน 4 วัน
แต่มีปริมาณ beta-carotene, TNC, SS และไขมันไม่แตกต่างจากผลปกติและผลที่ได้รับเอ
ทีฟอน. 1,000 มิลลิกรัม/ลิตร

โดยผลที่ได้รับเอทีฟอน. 1,000 มิลลิกรัม/ลิตร มีสีเนื้อเหลืองเข้มและมีปริมาณน้ำตาลทั้งหมดใน
ผลสูงที่สุด และสามารถฉีกเปลือกผลออกได้ง่ายโดยใช้แรงเพียง 105-141 นิวตันเท่านั้น ขณะที่
ผลปกติและผลที่ได้รับเอทีฟอน. 500 มิลลิกรัม/ลิตร ต้องออกแรงฉีกเปลือกผลมากกว่า 196
นิวตัน

การพ่นสารเอทีฟอน.ความเข้มข้น 0, 500, 1,000 และ 1,500 มิลลิกรัมต่อลิตร เมื่อผลทุเรียน
มีอายุ 78 วัน พบว่าผลที่ได้รับสารเอทีฟอน.ความเข้มข้น 1,000 และ 1,500 มิลลิกรัมต่อลิตร
ทำให้น้ำหนักและขนาดของผลต่ำกว่าผลปกติแต่มีน้ำหนักแห้งของเนื้อและปริมาณแป้งและไขมัน
สูงกว่าทรีทเมนต์อื่นภายหลังการเก็บเกี่ยว ความแน่นเนื้อและปริมาณ soluble solids (SS) ไม่
ต่างจากผลปกติ และการพ่นสารเอทีฟอน.ความเข้มข้น 500 มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่ทำให้การเจริญ
เติบโตของผลต่างจากผลปกติ การพ่นสารเอทีฟอน.ความเข้มข้น 500 มิลลิกรัมต่อลิตร 3 ครั้ง
เมื่อผลอายุ 75 85และ 92 วันต่อเนื่องกัน ทำให้ผลทุเรียนที่ได้มีขนาดเล็ก และมีพัฒนาการต่าง
ๆ ไม่สมบูรณ์ แตกต่างจากผลที่ไม่ได้รับสารเอทีฟอน.

ส่วนผลที่พ่นสารเอทีฟอน.ความเข้มข้น 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ติดต่อกัน 3 ครั้ง เมื่อผลมีอายุ
106 113 และ 120 วันอย่างต่อเนื่อง มีลักษณะองค์ประกอบทางเคมีไม่ต่างจากการไม่พ่นสาร
สำหรับการพ่นสารเอทีฟอน.ความเข้มข้น 500 มิลลิกรัมต่อลิตร ทุกสัปดาห์ เมื่อผลอายุ 85-99
วัน ทำให้น้ำหนักของผลและน้ำหนักเนื้อน้อยกว่าผลปกติเล็กน้อย

ทั้งนี้ผลที่พ่นสารเอทีฟอน.มีน้ำหนักแห้งของเนื้อ ปริมาณ SS ปริมาณแป้ง และปริมาณไขมันไม่
แตกต่างจากผลปกติ ดังนั้นการใช้สารเอทีฟอน.จึงไม่สามารถเร่งให้ผลมีความบริบูรณ์ได้เร็วขึ้น
แต่ช่วยทำให้การสะสมอาหารของเนื้อเพิ่มขึ้น จากการประเมินคุณภาพการรับประทาน ผลที่ได้รับ
สารเอทีฟอน.ในระยะผลมีขนาดเต็มที่แล้ว มีแนวโน้มทำให้การสุกของเนื้อและลักษณะเนื้ออ่อน
นุ่มมากกว่าผลปกติ



ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 01/03/2010 8:32 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้อมูลทางวิชาการมีประโยชน์ต่อเกษตรกรมาก ถ้านำมาใช้อย่างถูกวิธี การใช้สารละลายเอทีฟอนในปริมาณที่เหมาะสม
เพื่อเพิ่มคุณภาพฃองผลผลิตก่อนการเก็บเกี่ยวนั้น จากการสอบถามการทำสวนทุเรียนของพ่อและเกษตรกรคนอื่นๆ
วิธีการนี้ไม่มีใครเคยปฏิบัติ แต่ที่ปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย จนเกิดเป็นผลกระทบด้านลบ คือ การใช้สารละลายเอทีฟอน
เร่งสุกทุเรียนหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ด้วยการปาดขั้วทุเรียนให้ชิดปริงมากที่สุด แล้วใช้สารละลายเอทีฟอนทา
ที่ขั้วทุเรียนที่ปาดเสร็จใหม่ๆ สารละลายเอทีฟอนจะซึมลงไปที่ไส้ทุเรียน จะทำให้เนื้อทุเรียนนิ่ม
เหมือนทุเรียนสุกทั้งๆที่เป็นทุเรียนอ่อน วิธีการนี้ได้รับความนิยมในวงการ ทั้งเกษตรกรและแม่ค้า โดยเฉพาะแม่ค้า
ที่ต้องการให้ทุเรียนสุกพร้อมๆกันเพื่อหลีกเลี่ยงน้ำหนักของทุเรียนที่จะสูญเสียไป ถ้าปล่อยให้ทุเรียนสุกตามธรรมชาติ
ส่วนเกษตรกรก็ขาดจิตสำนึก ตัดทุเรียนอ่อนขายเพราะต้องการขายให้ได้ราคาสูงๆ

โดยปรกติทั่วไป ทุเรียนที่มีคุณภาพควรจะสุกในวันที่ 2, 3 หรือ 4 หลังจากที่ตัดลงมาจากต้น แต่การใช้สารละลายเอทีฟอน
เนื้อทุเรียนจะนิ่มภายในวันเดียว


ผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นคือ เมื่อลูกค้าบริโภคทุเรียนที่เร่งสุกด้วยสารละลายเอทีฟอนแล้ว เกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย
บางคนถึงขั้นต้องหามส่งโรงพยาบาล ทำให้ลูกค้ากลัวไม่กล้าทานทุเรียนอีกเลย ลูกค้าจะบ่นให้ฟังเสมอว่า ทำไมเวลาซื้อ
ทุเรียน ตอนอยู่ที่ร้านเนื้อทุเรียนห่ามมาก แต่พอกลับถึงบ้านเนื้อเละจนกินไม่ได้ บางคนฝืนกินเพราะเสียดายเงิน
สุดท้าย ทุเรียนก็ไม่หวาน แถมยังมีอาการท้องเสียอีก การเร่งสุกทุเรียนโดยการใช้สารละลายเอทีฟอนโดยขาดความ
ระมัดระวัง อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคาทุเรียนไม่สูงอย่างที่คาดการณ์ไว้

งานวิจัยมีประโยชน์อย่างมากกับเกษตรกร แต่ใครจะเป็นคนนำเอางานวิจัยลงมาจากหิ้ง เพื่อไปสู่เรือกสวนไร่นา
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Pitipol
เว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์


เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009
ตอบ: 332
ที่อยู่: 114/2 ม.11 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง

ตอบตอบ: 01/03/2010 10:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำพูด:
ผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นคือ เมื่อลูกค้าบริโภคทุเรียนที่เร่งสุกด้วยสารละลายเอทีฟอน
แล้ว เกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสียบางคนถึงขั้นต้องหามส่งโรงพยาบาล ทำให้ลูกค้ากลัวไม่กล้าทาน
ทุเรียนอีกเลย ลูกค้าจะบ่นให้ฟังเสมอว่า ทำไมเวลาซื้อทุเรียน ตอนอยู่ที่ร้านเนื้อทุเรียนห่ามมาก
แต่พอกลับถึงบ้านเนื้อเละจนกินไม่ได้ บางคนฝืนกินเพราะเสียดายเงิน
สุดท้าย ทุเรียนก็ไม่หวาน แถมยังมีอาการท้องเสียอีก การเร่งสุกทุเรียนโดยการใช้สารละลายเอที
ฟอนโดยขาดความระมัดระวัง อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคาทุเรียนไม่สูงอย่างที่คาดการณ์ไว้


ทำไมผู้มีอำนาจหน้าที่ถึงไม่เข้ามาศึกษาปัญหา และหาทางแก้ไข หรือไม่ก็กำหนดมาตรการวิธีการ
ใช้สารชนิดนี้ ให้เป็นสารเคมีควบคุม อย่างน้อยๆ หน่วยงานนั้นน่าจะเป็น อย. ที่จะต้องเข้ามาดูแล
เพราะมันเกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคโดยตรง
_________________
เกษตรกรฝึกหัด
โอ ระยองครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ MSN
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/03/2010 10:45 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จ.ส.อ.สมพงษ์ สกุลดิษฐ์ อดีตพลขับรถ จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์ เมื่อวันที่ท่านในโกฐเสียชีวิต
จอมพลถนอม กิติขจร พูดกับ จ่าสมพงษ์ฯ ว่า "พงษ์....ไปอยู่กับกูไหม ?" จ่าสมพงษ์ตอบแบบ
ไม่ต้องคิด "ไม่ไปครับ....ผมไม่ใช่ข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย....ท่านเสียแล้วผมจะลาออกครับ"
จอมพลถนอมฯ ก็ว่า "ดี....งั้นตามใจมึง อยากให้กูช่วยอะไรก็มา...."

วันนี้ จ่าสมพงษ์ฯ อายุน่าจะซัก 75-80 นิวาสสถานอยู่บ้านสวนย่านบางกรวย นนทบุรี เนื้อที่
ราว 10 ไร่ (ถูกตัดเวนคืนไปสร้างถนน 10 ไร่....ได้ค่าชดเชยมา 10 ล้าน) เป็นสวนโบราณ เคย
เป็นสวนยกร่องน้ำหล่อมาก่อน ตอนนี้ร่องน้ำตื้นเขินจนกลายเป็นสวนพื้นราบยกร่องแห้งไปแล้ว

ในสวนมีไม้ยืนต้นสายพันธุ์ดั้งเดิมแท้ๆ แต่ละต้นอายุไม่น้อยกว่า 50-100 ปี หลากหลายชนิดแต่
จ่าสมพงษ์.ชอบและรักทุเรียนอย่างเดียว ส่วนกระท้อน. มะปราง. ส้มโอ. ชมพู่. มะม่วง.
ปล่อยไปตามเรื่อง จากอดีตถึงปัจจุบัน ไม้ผลในสวนนี้ไม่เคยได้กิน "ปุ๋ยเคมี" เลยแม้แต่เม็ด
เดียว ไม่มีสารเคมีฆ่าแมลง ไม่มียาฆ่าหญ้า. แม้แต่ลอกเลนในร่องขึ้นพูนโคนต้นก็ไม่ได้ทำ
รวมทั้ง "ปุ๋ย/น้ำหมักชีวภาพ" ที่กระแสมาแรงก็ไม่มี ปล่อยให้ทุกอย่างอยู่ภายใต้กระบวนการทาง
ธรรมชาติที่แสนบริสุทธิ์ สะสมทับถมกันมานานหลายๆ สิบปี รวมทั้งเนื้อดินด้านล่างที่เป็นดิน
ประเภท "น้ำไหลทรายมูล" เป็นปัจจัยช่วยอีกแรงหนึ่ง จึงทำให้เนื้อดินสวนนี้มีความสมบูรณ์แย่ง
มากๆ

เศษใบไม้ร่วงหล่น เศษหญ้าวัชพืชที่พอมี ถูกกระจายคลุมหน้าดินจนทั่วพื้นที่สวน นี่คือ "ปุ๋ย"
หรือ "สารอาหาร" ที่ไม้ทุกต้นในสวนได้รับเท่านั้น ซึ่งน่าจะเป็น "พื้นฐาน" ที่ทำให้ผลไม้ทุก
ผลในสวนนี้มีรสชาติตรงตามลักษณะทางสายพันธุ์อย่างแท้จริง

ทุกปีที่ทุเรียนออกดอกติดผล ตั้งแต่เริ่ม ถึง ผลแก่เก็บเกี่ยวได้ ไม่มีการบำรุงตาม 8 ขั้นตอน
ใดๆ ถึงฤดูกาลที่เขาออกดอกติดผลก็เพียงแต่มอง สังเกตุ พินิจพิจารณา ไม่เคยบำรุง และไม่มี
ความรู้เรื่อง "อายุผล" ของทุเรียน ไม่สนใจ ไม่เคยนับ ไม่เคยทำเครื่องหมายใดบนต้นด้วย แล้ว
จ่าสมพงษ์ฯ รู้ได้อย่างไรว่าผลแก่จัด ได้คุณภาพแบบทุเรียนแน่นอนแล้ว .... คำตอบ คือ

1.... หมั่นสำรวจแปลง เก็บผลร่วงเก่าบนพื้นออกให้หมด จะได้รู้ว่ามีผลใหม่ร่วง
2.... เมื่อคาดว่าใกล้วันอายุครบเก็บได้แล้ว ต้องออกสำรวจแปลงทุกเช้า เพื่อค้นหาผลร่วง
3.... พบผลร่วง นำมาผ่าพิสูจน์ก็จะรู้ได้ทันที่ว่า ผลที่เหลืออยู่บนต้นนั้นแก่จัดแล้ว
4.... ลงมือเก็บผลรุ่นแรก จากนั้นอีก 5-7 วันเก็บผลรุ่น 2 และอีก 5-7 วันเก็บผลรุ่น 3

ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวจะมีฝนหรือไม่มีฝน ไม่สนใจ เพราะถ้ามีฝนอายุการแก่ของผลจะยืดนาน
ออกไป ก็ให้เขายืดนานออกไปตามธรรมชาติของเขา แล้วรอจนกว่าจะหมดฝนแล้วมีผลร่วงลง
มาให้พิสูจน์นั่นแหละ เท่านี้ก็ได้ผลแก่จัดแล้ว

หมอนทอง. ลวง. ชะนี. ก้านยาว. กบ. จากสวนนี้ราคาผลละ 1,500 - 2,500 บาทขาดตัว
แล้วก็ต้องจองล่วงหน้าข้ามปีด้วย สินค้าพร้อมแล้วแจ้งข่าวให้คนซื้อมารับของเองที่สวน เทคนิค
ขายคุณภาพแบบนี้ดำเนินมานานนับสิบๆ ปีแล้ว แม้วันนี้ก็ยังเป็นเช่นนี้ ไม่มีอาการขายไม่ออก มี
แต่ไม่พอขายทุกปี

ทุเรียนนนท์ สวนที่ใช้เทคนิคขายคุณภาพแบบนี้ เท่าที่รู้จักเจ้าของสวนมีราว 10 สวน ทุกสวน
รักษาคุณภาพอย่างที่สุด ไม่มีการเอามาจากสวนอื่นแม้จะมั่นใจในคุณภาพให้แก่ลูกค้าเด็ดขาด

เคยมีบางสวน เอาทุเรียนจากจังหวัดอื่นมาขายหน้าสวนตัวเอง สวมรอยเป็นทุเรียนนนท์ คุณ
สรยุทธฯ นักอ่านข่าว ทีวี.ช่อง 3 โดนมาแล้ว พ่อด่าออก ทีวี.ซะเสียไปเลย.....นั่นมันทุเรศ ไม่
ใช่ทุเรียน


ชาวสวนมักขายผลผลิตแบบ "ทุบหม้อข้าวตัวเอง" ว่าไหม
ลุงคิมครับ

ป.ล.
ขอบคุณจ่าสมพงษ์ฯ (นักรบไม่ทิ้งกัน) ฝากทุเรียนมาให้ทานทุกปี
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
meninblack
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/02/2010
ตอบ: 81

ตอบตอบ: 02/03/2010 11:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เนื่องจากไม่รู้จักสารตัวนี้เลย ไม่เคยใช้ โดยส่วนตัวเห็นแต่พวกพ่อค้าและแม่ค้าจะใช้....(ไม่รู้ว่า
เป็นยาอะไรแต่ป้ายขั้วแล้วทุเรียนสุกภายใน3วัน) และโดยที่ตัวเองและผู้ที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดรู้จัก
ในเขตอำเภอแกลง ตำบลวังหว้า ทุกเรียนที่แก่ ถ้าไม่ตัดส่งขายที่ตลาดขายส่งหรือตามล้งที่ส่ง
นอก ก็จะมีพ่อค้าเข้ามาเหมาตัด ไม่มีขายปลีกกันนะครับ Laughing
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 02/03/2010 1:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=516

kimzagass บันทึก:

หมู่นี้เห็นเน็ตเงียบๆ ไม่มีคำถาม เลยถือโอกาส "ท่องโลกเน็ต" พบเจออะไรที่
เหมือน/คล้าย/ต่าง กับของเรา เลยก็อปมาให้อ่านกันเล่นๆน่ะ......ลุงคิมครับผม

**********************************************



นวัตกรรมเพิ่มผลผลิตน้ำยางพารา 3-4 เท่าต่อเดือน




ในปัจจุบันจึงมีสารเคมีเร่งน้ำยางที่มีคุณสมบัติเหมือนฮอร์โมนพืชอยู่ 2 ชนิด คือ
ชนิดที่เป็นของเหลวที่มีชื่อว่า "อีเทฟอน" ซึ่งผลิตจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น
อีเทรล, อีเทค, โปรเทรล, ซีฟา และ อีเทรลลาเท็กซ์.


ลุงคิมครับผม



อันที่จริงก้อไม่เคยเห็นเหมือนกันเพราะไม่เคยใช้ แม่ค้าที่รู้จักและสวนทุเรียนข้างบ้านนิยมใช้เรียก
กันว่า"อีเทรล" ซึ่งเป็นชื่อทางการค้า

meninblack บันทึก:

เนื่องจากไม่รู้จักสารตัวนี้เลยไม่เคยใช้ โดยส่วนตัวเห็นแต่เห็นพวกพ่อค้าและแม่ค้าจะใช้....(ไม่รู้
ว่าเป็นยาอะไรแต่ป้ายขั้วแล้วทุเรียนสุกภายใน 3 วัน) และโดยที่ตัวเองและผู้ที่เกี่ยวข้องใกล้ชิด
รู้จักในเขตอำเภอแกลง ตำบลวังหว้า ทุเรียนที่แก่ ถ้าไม่ตัดส่งขายที่ตลาดขายส่ง หรือตามล้งที่
ส่งนอก ก็จะมีพ่อค้าเข้ามาเหมาตัด ไม่มีขายปลีกกันนะครับ Laughing


การตัดทุเรียนที่แก่จัดออกจำหน่ายเป็นเรื่องที่น่ายกย่อง ถึงแม้ว่าจะเป็นการขายส่งก็ตาม แต่
ปัจจุบันมีหลายสวนที่ อ.เมือง ตั้งแผงขายทุเรียนที่หน้าสวนกันเลย ส่วนใหญ่ขายให้นักท่องเที่ยว
บางสวนมีลูกค้าประจำกันมากมาย การขายปลีกโดยที่เจ้าของสวนขายเอง อาจเป็นการสร้าง
ความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ซึ่งเจ้าของสวนก็คงจะไม่ทำให้เสียชื่อเสียง ในอดีตสวนเหล่านี้ก็ขาย
ส่ง แต่เริ่มมองเห็นช่องทางในการพัฒนาการตลาด คือ การขายตรงให้กับผู้บริโภคเลยเพื่อ
สามารถควบคุมคุณภาพของผลผลิตจนถึงมือผู้บริโภค และเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องราคา

เราน่าจะ "ร่วมแรงร่วมใจ" กันทำให้ทุเรียนเป็น King of Fruit จริงๆ...ว่ามั้ย?
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
meninblack
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/02/2010
ตอบ: 81

ตอบตอบ: 02/03/2010 1:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมเห็นด้วยครับ โดยเฉพาะการรวมกลุ่มผู้ปลูกทุเรียน เพื่อป้องกันการกดราคาต่อรองกับพ่อค้า
คนกลาง อีกยังสามารถแชร์ความรู้ในระหว่างกลุ่ม แต่มันคงเป็นได้แค่ความคิดครับ อาจเพราะ
ยังมีประสบการณ์น้อย อีกทั้งสวนส่วนใหญ่ต่างคนต่างทำ แถมหวงความรู้อีกต่างหากไม่อยากให้
สวนอื่นได้ดีกว่า ทำให้ตอนนี้ส่วนใหญ๋ทุเรียนจะกลายเป็นยางพาราไปหมด น่าเสียดายเหมือนกัน Sad Sad
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
meninblack
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/02/2010
ตอบ: 81

ตอบตอบ: 02/03/2010 1:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไหนๆ ได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นแล้ว หลังจากแอบอ่านข้อมูลในเวปมาหลายอาทิตย์ ตามที่ได้
โพสไว้เกียวกับขั้นตอนการทำทุเรียนนะครับ

ตัวปุ๋ยสูตร 21-7-14 ให้ใส่บำรุงลูก แต่ตัวหน้ามันสูงนี่ครับ ทุเรียนจะแตกใบอ่อนหรือเปล่า ใน
กรณีที่ผมต้องการจะทดลองใส่ โดย ผมจะให้ทางน้ำได้หรือเปล่าครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 02/03/2010 1:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วันนี้มีคนปรึกษาเรื่องทุเรียนแตกใบอ่อนเหมือนกัน เพราะช่วงก่อนหน้านี้ฝนตกลงมา และก่อน
หน้าฝนจะตกอากาศร้อนมาก ชาวสวนกลัวลูกทุเรียนจะไม่โต อัดน้ำเข้าไป ฝนซ้ำลงมา แตกใบ
อ่อนกันไปหลายสวน แต่ที่สวนทุเรียนยังไม่มีใบอ่อนแตกออกมาเพราะมีการปรับ C/N Ratio
ก่อนหน้าที่จะออกดอก ด้วยการให้สูตร "สะสมตาดอก + ธาตุรอง/ธาตุเสริม (0-42-56)"
เปิดตาดอกด้วย "ฮอร์โมนไข่สูตรไต้หวัน (0-52-34)" และบำรุงดอกด้วยสูตร "บำรุงดอก
(1:3:1)" จะเห็นว่าที่ผ่านมามีการให้ "ธาตุรอง/ธาตุเสริม" อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยในเรื่อง
การปรับ C/N Ratio

เมื่อถึงขั้นตอนการบำรุงผลเล็ก โดยให้ "แคลเซียม โบรอน + ธาตุรอง/ธาตุเสริม" สลับกับ "ยู
เรก้า" ทางใบ พร้อมกับปรับ C/N Ratio ด้วย "ฮอร์โมนไข่" ถ้ามีฝนตกลงมา (จริงๆ แล้วควร
เป็น 0-42-56 จะแรงกว่า แต่ไม่เป็นไรพอกล้อมแกล้มๆ ได้)

ที่สวน ไพบูลระยอง.คอม มีการทดลองแบ่งโซนการให้ปุ๋ยและฮอร์โมนกับทุเรียนมีผล ดังนี้

โซนที่ 1....... ทุเรียนหมอนทองเมื่อติดผลแล้ว ให้ "แคลเซียม โบรอน + ธาตุรอง/ธาตุเสริม"
ทั้งที่ลูกและที่ใบ 2 รอบ ให้ "ยูเรก้า " 1 รอบ พร้อมกับ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงสูตรบำรุง
ผล ขยายขนาด(3:1:2)" 1 รอบ

ปัจจุบันผลใหญ่ขึ้นมาก รูปทรงสมบูรณ์ ขั้วแ็ข็งแรง และไม่มีใบอ่อนแตกออกมาให้เห็น

โซนที่ 2...... ทุเรียนหมอนทองเมื่อติดผลแล้ว ให้ "แคลเซียม โบรอน + ธาตุรอง/ธาตุเสริม"
ทั้งที่ลูกและที่ใบ 2 รอบ ให้ "ฮอร์โมนไข่" 1 รอบ (ทดลอง C/N Ratio หลังจากที่ฝนตกลงมา
อย่างหนัก) ช่วงเช้าของวันนี้ให้ "ฮอร์โมนไข่ ผสม ยูเรก้า" ทางใบ 1 รอบ พร้อมกับ "ปุ๋ยน้ำ
ชีวภาพระเบิดเถิดเทิงสูตรบำรุงผล ขยายขนาด(3:1:2)"

จากการสังเกตุ ผลทุเรียนหมอนทองมีความสมบูรณ์มากเช่นกัน สีเขียว ทรงสวยมาก และไม่มี
ใบอ่อนแตกออกมา

โซนที่ 3..... ทุเรียนนกกระจิบ เมื่อติดผลแล้ว ให้ "แคลเซียม โบรอน + ธาตุรอง/ธาตุเสริม "
ทั้งที่ลูกและที่ใบ 2 รอบ ให้ "ฮอร์โมนไข่ ผสมกับ ยูเรก้า" 1 รอบ พร้อมกับ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพ
ระเบิดเถิดเทิงสูตรบำรุงผล ขยายขนาด(3:1:2)" 1 รอบ

จากการสังเกตุ ผลนกกระจิบมีความสมบูรณ์มาก ติดผลพวงละ 10 ลูก วันนี้ช่วงเช้าแม่รับอาสา
ออกไปตัดแต่งช่อผล บอกว่า "ทำใจลำบาก รักพี่เสียดายน้อง" แม่เป็นเอามาก แต่ก็ไม่มีใบอ่อน
แตกออกมา


โซนที่ 4...... ทุเรียนนกกระจิบ เมื่อติดผลแล้ว ให้ "แคลเซียม โบรอน + ธาตุรอง/ธาตุเสริม"
ทั้งที่ลูกและที่ใบ 2 รอบ ให้ "ฮอร์โมนไข่ ผสมกับ ยูเรก้า" 1 รอบ แต่ยังไม่ให้ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพ
ระเบิดเถิดเทิงสูตรบำรุงผล ขยายขนาด (3:1:2)" 1 รอบ

ยังไม่มีเวลาออกไปเก็บข้อมูล......แต่เท่าที่ถามพ่อ พ่อบอกว่าไม่มีใบอ่อน

จากคำถามของ คุณ meninblack ว่าปุ๋ยสูตร 21-7-14 จะมีผลทำให้ทุเรียนแตกใบอ่อนหรือไม่
ขอตอบว่า "ไม่เสมอไป" เพราะการที่ทุเรียนจะแตกใบอ่อนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้ง
ปริมาณฝน หรือแม้แต่การให้น้ำ ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน

การให้ในปริมาณที่เหมาะสมและให้บ่อยกว่าปกติเมื่ออากาศร้อนมาก ดีกว่าการให้ครั้งละมากๆ
แน่นอน ส่วนการให้ปุ๋ยสูตร 21-7-14 ทางดิน ถ้าเราให้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ที่ต้นทุเรียนมี
C สูง. N ต่ำ. ก็จะไม่มีผลกระทบให้ทุเรียนแตกใบอ่อน

แล้วจะเก็บภาพ........มาให้ดู


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 02/03/2010 8:56 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
meninblack
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/02/2010
ตอบ: 81

ตอบตอบ: 02/03/2010 2:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอคุณอ้อ

ไปดูที่สวนเลยดีกว่าครับ 10 ปากว่าไม่เท่าตาเห็น ที่วัง สวนบางสวนเริ่มบำรุงต้นเพราะโดนฝน
ช่วงดอกบานเลยร่วงหมด ส่วนของผมดอกบานช่วงใบเพสลาด เลยพอมีติดบ้าง มาโดนราสนิม
อีกครั้งเมื่อ 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา แย่จังหลายๆ อย่างเริ่มรุมเร้า Sad Sad รอบนี้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 02/03/2010 4:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นั้นซีนะ "สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น"

ยินดีต้อนรับคุณmeninblack จะสะดวกมากเวลา 8.00-14.00 น.ในวันธรรมดา ส่วนเสาร์-อาทิตย์
สะดวกทั้งวัน

ไม่มีอะไรยากเกินความพยายามของเรา... เอาใจช่วยค่ะ

ป.ล. อย่าลืมติดกล้องถ่ายรูปมาด้วยล่ะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 02/03/2010 6:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไปด้วย ไปด้วย....

ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/03/2010 8:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขออณุญาตย้าย......

************************************************

meninblack บันทึก:
ผมเห็นด้วยครับ โดยเฉพาะการรวมกลุ่มผู้ปลูกทุเรียน เพื่อป้องกันการกดราคาต่อรองกับพ่อค้า
คนกลาง
อีกยังสามารถแชร์ความรู้ในระหว่างกลุ่ม แต่มันคงเป็นได้แค่ความคิดครับ อาจเพราะ
ยังมีประสบการณ์น้อย อีกทั้งสวนส่วนใหญ่ต่างคนต่างทำ แถมหวงความรู้อีกต่างหากไม่อยากให้
สวนอื่นได้ดีกว่า ทำให้ตอนนี้ส่วนใหญ๋ทุเรียนจะกลายเป็นยางพาราไปหมด น่าเสียดายเหมือนกัน Sad Sad



โดยเฉพาะการรวมกลุ่มผู้ปลูกทุเรียน
เพื่อป้องกันการกดราคาต่อรองกับพ่อค้าคนกลาง


"การรวมกลุ่มกันเพื่ออำนาจต่อรองราคาและร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการทำสวน
ทุเรียน" ประเด็นนี้น่าสนใจ จะว่าไปแล้วการรวมกลุ่มกันของชาวสวนทุเรียนมีให้เห็น เช่น กลุ่ม
ปรับปรุงคุณภาพทุเรียนประจำตำบล ปัจจุบันก็ยังมีอยู่ เพียงแต่อาจจะไม่มีกิจกรรมใดๆ ที่เป็น
รูปธรรมเท่านั้นเอง (อาจเป็นเฉพาะบางตำบลเท่านั้น) ด้วยบทบาทและหน้าที่ ชื่อของกลุ่มก็
ชัดเจนอยู่แล้ว

ใช่เลยนี่คือแนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับมาตราฐานของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน แต่ที่ผ่านมาถือ
ว่าล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เป็นการพัฒนาที่ไม่ถูกพัฒนา ปัจจุบันชาวสวนยังต้องขนผลไม้ไปปิดถนน
ขนผลไม้เข้าไปประท้วงหน้ารัฐสภา หน่วยงานราชการท้องถิ่นและส่วนกลางยังคงต้องใช้มาตรา
การแทรกแซงราคาผลไม้ตกต่ำทุกปี แรกๆ แทรกแซงไปถมทิ้ง ปัจจุบันดีขึ้นมาหน่อย มีการ
เตรียมการวางแผนหาตลาดล่วงหน้า แต่ก็ยังเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ จะไม่ปลายเหตุได้อย่าง
ไร ในเมื่อปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำซากทุกปี ปัจจุบันมีเกษตรกรบางกลุ่มที่รวมตัวกันเพื่อจัดตั้ง
เป็นวิสาหกิจชุมชน รวบรวมผลผลิตในกลุ่มของตน แล้วกระจายผลผลิตไปยังหน่วยงานภาครัฐ
เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ อาจเป็นการคืนกำไรให้แก่พี่น้องเกษตรกรก็เป็นได้
แต่ก็ดีที่ยังพอเป็นที่พึ่งให้ชาวสวนได้เวลาเดือดร้อน ส่วนเรื่องราคาที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขายผล
ผลิตได้นั้น ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าได้ราคาสูงกว่าท้องตลาดมากแค่ไหนเพราะยังไม่มีโอกาสได้เข้า
ร่วมกลุ่ม

อย่าว่าแต่รวมกลุ่มกันเพื่ออำนาจการต่อรองราคาเลย เบื้องต้นเอาแค่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบ
การณ์ร่วมกัน ทำำกลุ่มให้เข้มแข็งด้วยการผลิตผลผลิตที่ได้คุณภาพมาตราฐานเดียวกัน ส่วนเรื่อง
ตลาดหรือเรื่องราคาจะเป็นผลสะท้อนที่ดีที่จะตามมา

เมื่อมาสัมผัสด้วยตนเอง ไม่น่าเชื่อว่าสังคมชนบท สังคมชาวสวน ไม่ได้ต่างจากสังคมเมืองซักเท่า
ไหร่ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างทำ ไม่อยากให้ใครได้ดีกว่าตัวเอง แล้วอนาคตจะเป็นยังไง?

AORRAYONG
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 02/03/2010 9:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวนทุเรียนคุณ"เก่งระยอง" ใช้"ยูเรก้า"ทางใบ และใส่ปุ๋ยเคมี 21-7-14 ทางดิน

มีปัญหาเรื่องแตกใบอ่อนทำให้สลัดผลเล็กไปบางส่วน แต่ออกปากว่าผลที่ติดอยู่

ขยายขนาดเร็วมากๆ เขียวทรงสวย


ส่วน"ยูเรก้า"กับมังคุดถูกกันมากๆ ผิวเป็นมันเขียว ผลใหญ่ ขั้วเขียวสุดยอดไปเลย

อ๊อดครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/03/2010 9:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กรณีทุเรียนวิเคราะห์แล้วฟันธงได้เลยว่า....

อ่อนธาตุรอง/ธาตุเสริม ...... ลำพังเท่าที่มีในยูเรก้า.อาจจะน้อยไปสำหรับทุเรียน กับอ่อน
แคลเซียม โบรอน. และอ่อนความพร้อมของต้นก่อนฝนมา

ในประเด็น 0-42-56 ช่วงสะสมตาดอก ซึ่งสารอาหารตัวนี้จะเข้ามามีบทบาทกับ ซี/เอ็น เรโช.
ระหว่างที่ต้นมีผลแล้วได้รับไนโตรเจน.จากน้ำฝนด้วย

แม้แต่ 21-7-14 เดี่ยวๆ ใส่ลงไปทางดิน ย่อมสู้ประสิทธิภาพของ 21-7-14 ในระเบิดเถิงไม่
ได้ เพราะในระเบิดเถิดเทิงยังมีธาตุรอง/ธาตุเสริมสำหรับต้นอีกเด้งหนึ่ง กับทั้งยังมีอะไรต่อมิอะไร
อีกหลายรายการ ในขณะที่ 21-7-14 ในกระสอบมีแต่ N-P-K แล้วไม่มีอย่างอื่นเลย

กรณีมังคุดที่ว่า O.K. นั้น แสดงว่าโครงสร้างทางสรีรวิทยาพืชต่างกันเมื่อเทียบกับทุเรียน ทำให้
สรุปได้ว่า มังคุดเล่นงายกว่าทุเรียน หรือมังคุดไม่จี้จี้จุกจิกกวนใจจริงเจียวเหมือนทุเรียนนั่นเอง

ต้องการผลการใช้กับ ลองกอง. เงาะ. ใครทราบช่วยแจ้งหน่อยก็ดีนะ


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
meninblack
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/02/2010
ตอบ: 81

ตอบตอบ: 03/03/2010 11:09 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

งั้นกระผมไม่เกรงใจนะครับ ขอที่ตั้งฐานปฏิบัติการของคุณอ้อด้วย ส่วนจะไปเมื่อไร่ผมจะติดต่อ
ไปบอกก่อน ว่าจะชวนคนรู้จักที่ทำสวนผลไม้ไปด้วยสัก2-3 คน

ขออนุญาตล่วงหน้านะครับ

ผมพยายามค้นหา เกี่ยวกับ c/n ratio แต่ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จ วานผู้รู้เสนอแนะแหล่งข้อมูล
หน่อยครับ


ปล.ผมชื่อยุทธครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 03/03/2010 12:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ยินดีต้อนรับคุณยุทธ...มาตามนี้ได้เลย

ที่มา http://www.paiboonrayong.com/index.php?mo=59&action=page&id=108409



แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 03/03/2010 1:18 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 03/03/2010 1:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

C/N Ratio คือ อัตราส่วนระหว่าง คาร์โบไฮเดรต ต่อ ไนโตรเจน ถ้าอัตราส่วนของ คาร์โบ
ไฮเดรตสูงกว่าไนโตรเจน เช่น 3:1 ต้นไม้จะแตกตาดอก แต่ถ้าอัตราส่วนของ ไนโตรเจน สูงกว่า
คาร์โบไฮเดรต ต้นไม้จะแตกตาใบ

ดังนั้น ถ้าเราต้องการให้ต้นไม้ออกดอก เราต้องลดสารอาหารกลุ่ม ไนโตรเจน และ เพิ่มสาร
อาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ด้วยวิธีงดการให้น้ำ และให้สารอาหารกลุ่ม คาร์โบไฮเดรตท างใบแก่
ต้นไม้ เมื่อเราทำการสะสมตาดอกจนต้นไม้จนมีอาการอั้นตาดอกเต็มที่ เราทำการเปิดตาดอก
ต้นไม้ก็จะออกดอกได้ง่าย


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 03/03/2010 5:09 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 03/03/2010 1:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ตามไปอ่านงานวิจัย Effects of Climatic Factors on Total Nonstructural Carbohydrates

http://kucon.lib.ku.ac.th/Fulltext/KC2801001.pdf
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©