-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - C/N Ratio (งานวิจัย-ประสบการณ์ตรง-เงาะ-ลำไย-)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

C/N Ratio (งานวิจัย-ประสบการณ์ตรง-เงาะ-ลำไย-)

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 03/03/2010 6:17 pm    ชื่อกระทู้: C/N Ratio (งานวิจัย-ประสบการณ์ตรง-เงาะ-ลำไย-) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://kucon.lib.ku.ac.th/cgi-bin/KUCON.exe?rec_id=004839&database=KUCON&search_type=link&table=mona&back_path=/KUCON/mona&lang=thai&format_name=TFMON#

ผู้แต่ง: มาลี ณ นคร; จงรักษ์ แก้วประสิทธิ์; กวิศร์ วานิชกุล
ชื่อเรื่อง: ผลของปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีต่อปริมาณคาร์โบไฮเดรต
ไนโตรเจนในใบและการเกิดตาดอกของ "เงาะโรงเรียน"


Article title: Effects of climatic factors on total nonstructural
carbohydrates, total nitrogen in leaves and flower bud initiation of
rambutan (Nephelium lappaceum L. cv. Rong Rian)

ชื่อเอกสาร : การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 28 29 - 31
มกราคม 2533 รายงานผลการวิจัยสาขาพืช
หน่วยงานจัดพิมพ์: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; กระทรวง
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน
สถานที่พิมพ์: กรุงเทพฯ
ปีพิมพ์: 2533
หน้า: หน้า 1-8
จำนวนหน้า: 496 หน้า
ภาษา: ไทย
สาระสังเขป: สาระสังเขป (ไทย, อังกฤษ)
แหล่งติดตามเอกสาร: สำนักหอสมุด ม.เกษตรศาสตร์ (REF SB16 ก58 2533)
หมวดหลัก: F40-Plant ecology
หมวดรอง: F61-Plant physiology - Nutrition
F62-Plant physiology - Growth and development
อรรถาภิธาน-อังกฤษ: NEPHELIUM LAPPACEUM; ENVIRONMENTAL
FACTORS; NUTRIENT UPTAKE; LEAVES; NITROGEN CONTENT;
CARBOHYDRATE CONTENT; BUDDING
ดรรชนี-ไทย: เงาะ; ปัจจัยสภาพแวดล้อม; ปริมาณคาร์โบไฮเดรตในใบ; ปริมาณไนโตรเจนใน
ใบ; การเกิดตาดอก; พันธุ์โรงเรียน
หมายเลข: 004839 KC2801001
เอกสารฉบับเต็ม: [Download Fulltext]
ค้นข้อมูลใกล้เคียง: มีคำสำคัญเหมือนกัน ผู้แต่งคนเดียวกัน


***********************************************
คลิ๊กเพื่อดูรายงานการวิจัย

http://kucon.lib.ku.ac.th/Fulltext/KC2801001.pdf


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 05/03/2010 7:44 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 05/03/2010 7:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ่านข้อมูลใน "คลิก" ก่อน ให้เข้าใจและมั่นใจ แล้วจึงมาอ่านที่นี่....

******************************************

ประสบการณ์ตรง

ซี/เอ็น เรโช.

ธาตุอาหารสำหรับพืชประกอบด้วย
ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน และอื่นๆ
..... ได้แก่
N. ........... P. ........... K.
Ca. ......... Mg. ......... S.
Fe. ......... Cu. ......... ZN.
Mn. ........ Mo. ......... Br.
Si. ......... Na. ......... Cl.

กับอีก 10 (+) ตัว (ไม่ได้ท่อง)

ในเรื่องของ ซี/เอ็น เรโช ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของพืชระยะก่อนการออกดอกในรต้นไม้ผล
แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสร้างใบ. และกลุ่มสร้างดอก...... โดยกลุ่มสร้างใบมีเพียง N. เพียง
ตัวเดียวเท่านั้น ที่เหลือเป็นกลุ่มสร้างดอกทั้งสิ้น

สารอาหารที่มีผลโดยตรงต่อดอก :

……. P. และ K. ทำหน้าที่เป็นตัวนำในการทำให้ต้นออกดอก
……. Ca. ทำหน้าที่สร้างความสมบูรณ์แก่ดอกที่ออกมาแล้ว
……. Br. และ Zn. ทำหน้าที่สร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์ในการส่งเสริมให้ต้นออกดอก
……. Ga-3 ทำหน้าที่ยืดก้านดอกให้ยาวขึ้น
……. NAA. ASTROGEN. และ VITAMIN E. ทำหน้าที่ปรับปรุงเกสรให้ผสมติดเป็นผล

..... สภาพต้นมี C มากกว่า N เมื่อเปิดตาดอก จะออกดอก
..... สภาพต้นมี C น้อยกว่า N เมื่อเปิดตาดอก จะออกใบ
..... สภาพต้นมี C เท่ากับ N เมื่อเกิดตาดอก จะออกใบ หรือ ใบ+ดอก


....... N. มีอยู่ในน้ำที่ให้ น้ำใต้ดิน. น้ำฝน. น้ำค้าง. ปุ๋ยอินทรีย์ (มูลสัตว์กินพืช). น้ำหมัก
ชีวภาพจากพืช. เลือดสัตว์.
....... C. มีอยู่ในปุ๋ยเคมี (ทุกตัว ยกเว้น N.) ปุ๋ยอินทรีย์มูลสัตว์ปีก. น้ำหมักชีวภาพจากซาก
สัตว์. นม (C/N RATIO = 39/1). สารรสหวาน. ควันไฟ.
....... N สร้างเนื้อในไม้ผล ทำให้ผลโตปกติตามธรรมชาติ
....... CHITOSAN แบ่งเซลล์เนื้อผลทำให้ผลมีขนาดใหญ่ขึ้น
....... Ca. สร้างผลให้คุณภาพดี

เทคนิคบำรุงพืชให้เกิดอาการอั้นตาดอก ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “สร้างดอกดอก หรือ สะสมตา
ดอก” ในขณะที่ภาษาทางวิชาการเรียกว่า “สร้างแป้งและน้ำตาล หรือ สะสมแป้งและน้ำตาล”
แม้จะเรียกต่างกันแต่หลักในการปฏิบัติเหมือนกัน


วัตถุประสงค์ :
บำรุงให้ต้นมีอาหารกลุ่ม C มากกว่า N ภายใต้สภาพต้นมีความสมบูรณ์สูงสุดก่อนลงมือเปิด
ตาดอก


หลักในการปฏิบัติ :
1....บำรุงฟื้นฟูสภาพต้น เรียกความสมาบูรณ์กลับคืนมา และสร้างความพร้อมต้นทันที ณ วันรุ่งขึ้น
หลังจากเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายของรุ่นปีการผลิตที่ผ่านมา ให้ต้นได้รับสารอาหารทั้ง 2 กลุ่ม มากที่
สุดเท่าที่จะมากได้ อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จนถึงช่วงปรับ C/N RATIO

2….ตัดแต่งกิ่งเรียกใบอ่อนชุดใหม่ 1-2-3 ชุด (ตามชนิดไม้ผล). ตัดแต่งราก (ในไม้ผลบาง
ชนิด). เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ (ถ้าจำเป็น).

3..... ป้องกัน/กำจัด โรคและแมลงศัตรูพืช ทั้งส่วนบนต้นและส่วนใต้ดิน

4..... บริหารปัจจัยพื้นฐาน ได้แก่ ดิน – น้ำ – แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล – สารอาหาร – สาย
พันธุ์ – โรค อย่างเหมาะตามระยะพัฒนาการของต้นไม้ผลตามความเหมาะสมและอย่างต่อเนื่อง


การปฏิบัติ

(บำรุงเพื่อให้ต้นได้สะสมสารอาหารทั้ง 2 กลุ่ม) :

ระยะเรียกใบอ่อน
ทางใบ :
- ให้ “ปุ๋ยน้ำดำ (มีธาตุรอง/ธาตุเสริม/ฮอร์โมนแล้ว) + 25-5-5 + สารสกัดสมุนไพร” ทุก 7-
10 วัน ต่อการเรียกใบอ่อน 1 ชุด
- ให้สารสกัดสมุนไพรบ่อยๆ แบบ “กันก่อนแก้” เพื่อป้องกันใบอ่อนถูกทำลาย

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอก ยิบซั่ม กระดูกป่น เศษพืชแห้งคลุมโคนต้น)
- ให้ “น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (มีธาตุรอง/ธาตุเสริม/ฮอร์โมนแล้ว) + 30-10-10” ทุก
30 วัน
– ให้น้ำหน้าดินชุ่ม ทุก 3-5 วัน


ระยะสะสมแป้งและน้ำตาล
ทางใบ :
– ให้ “0-42-56 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม + แคลเซียม โบรอน + สารสกัดสมุนไพร” เสริม
ด้วย “นมสด + กลูโคส” 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ช่วงสะสมแป้งและน้ำตาล
– ให้สารสกัดสมุนไพร ทุก 3-5 วัน
– เทคนิคสุมควันไฟให้พุ่งเข้าหาทรงพุ่ม ช่วงหัวค่ำ (19.00-21.00) 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ
15-20 วัน จะช่วยให้สภาพต้นเกิดอาการอั้รนตาดอกดีและชัดเจนยิ่งขึ้น
ทางราก :
– ให้ “น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (มีธาตุรอง/ธาตุเสริม/ฮอร์โมนแล้ว) + 8-24-24
– ให้น้ำหน้าดินชุม ทุก 3-5 วัน
– เศษพืชแห้งคลุมหน้าดินโคนต้น


ระยะปรับ C/N RATIO
(บำรุงเพื่อให้ต้นมีสารอาหารกลุ่ม C มากกว่ากลุ่ม N หรือ ปรับเพิ่ม C ลด N) :

ทางใบ :
- ให้ “0-42-56 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม + แคลเซียม โบรอน + สารสกัดสมุนไพร” ทุก 7-10
วัน สลับด้วย “นม + กลูโคส” 1 รอบ.....ฉีดพ่นพอสัมผัสใบ ระวังอย่าให้โชกจนน้ำตกลงพื้นโคนต้น
ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น นำเศษพืชแห้งออกให้หมด
– งดน้ำเด็ดขาด ระวังน้ำใต้ดินโคนต้น ถ้าระดับน้ำใต้ดินตื้น ต้องพูนโคนต้นให้สูงพร้อมกับทำร่อง
รอบทรงพุ่ม กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อต้องสูบน้ำออก

ผลของการให้สารอาหารทางใบ และงดน้ำทางราก :
1.... การให้ "0-42-56. ธาตุรอง. ธาตุเสริม. แคลเซียม โบรอน. นม.กลูโคส." คือการให้สาร
อาหารกลุ่ม C โดยเฉพาะ ในขณะที่การงดน้ำทุกรูปแบบคือ การลดสารอาหารกลุ่ม N เทคนิคนี้
มีผลทำให้ปริมาณ C เพิ่มขึ้นและ N ลดลง โดยปริยาย
2.... จากเดิมที่ต้นเคยได้รับสารอาหารทั้ง 2 กลุ่มอย่างเต็มที่แล้วนั้น เมื่อต้นไม้ผลต้องถูกงดน้ำ
ในทุกรูปแบบแต่ใบยังคงคายน้ำอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นเหตุให้ N ภายในต้นลดปริมาณลงอย่างรวด
เร็ว พร้อมกันนั้นก็ได้มีการให้สารอาหารกลุ่ม C ทางใบอย่างต่อเนื่องจึงทำให้ปริมาณ C เพิ่มปริ
มาณขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน




หมายเหตุ :
1.... ปุ๋ยทั้งทางรากและทางใบที่ใช้มี “สารอาหารกลุ่ม C” (ธาตุรอง/ธาตุเสริม/ฮอร์โมน) เป็น
ส่วนผสมทุกสูตร

2.... การบำรุงทุกระยะพัฒนาการ ให้ “สารอาหารกลุ่ม C” (ธาตุรอง/ธาตุเสริม และ
ฮอร์โมน) ตั้งแต่เริ่มต้น (เรียกใบอ่อน) จนถึง เก็บเกี่ยวผลผลิต

3..... ด้วยเทคนิคบำรุงด้วย “สารอาหารกลุ่ม C” (ธาตุรอง/ธาตุเสริม) อย่างสม่ำเสมอนี้ เป็น
เหตุผลให้ต้นได้สะสมไว้ภายในต้นอย่างมากมาย เป็นผลทำให้ต้นไม่สามารถใช้ N. ในการสร้าง
ใบอ่อนจนเกิดผลเสียหายแก่ผล (ผลร่วง) ช่วงที่มีผลอยู่บนต้นได้

4..... เทคนิคการให้ “สารอาหารกลุ่ม C” (ธาตุรอง/ธาตุเสริม) เพื่อกด “สารอาหารกลุ่ม
สร้างใบ” (N) เมื่อช่วงวิกฤต (ฝน) มาถึงแล้วมักไม่ทันการจึงเป็นเหตุให้ N มากกว่า C

5…. ทุกเอกสารตำราต่างอ้างเหมือนกันว่า “ธาตุรอง/ธาตุเสริม” ไม่สำคัญ ไม่ต้องให้ก็ได้
เพราะต้นไม้ที่สมบูรณ์สามารถสร้างขึ้นได้เองตามธรรมชาติ นั่นหมายถึง ต้นไม้ผลที่เจริญเติบโต
หรือพัฒนาการในช่วงที่สภาวะอากาศปกติกับทั้งเกรด.หรือคุณภาพผลผลิตที่ได้ก็อยู่ในระดับปกติ
ตามธรรมชาติทางสายพันธุ์เท่านั้น แต่หากมีการให้ “ธาตุรอง/ธาตุเสริม/ฮอร์โมน และอื่นๆ”
เสริมหรือให้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดอายุปีการผลิต แม้ในสภาวะสภาพอากาศปกติ นอก
จากจะช่วยให้ต้นมีความแข็งแรง ต่อสู้กับสภาวะวิกฤตของสภาพอากาศได้แล้ว ยังส่งให้ผลผลิต
ได้เกรด.และคุณภาพที่ตลาดต้องการอีกด้วย


ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน และอิ่นๆ มีความจำเป็นและสำคัญต่อพืชเท่าๆ กัน
ลุงคิมครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/03/2010 7:21 am, แก้ไขทั้งหมด 9 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 05/03/2010 7:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจาก http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=56971&display=list_subject&q=%A1%D2%C3%E0%A8%C3%D4%AD%E0%B5%D4%BA%E2%B5

การเจริญเติบโตและการออกดอกของ "ลำไย" พันธุ์เพชรสาคร
ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช


Title Alternative... bVegetative and reproductive growth of longan (Dimocarpus
longan lour.) cv. petsakorn in Nakhon Si Thammarat province

Creator Name: อนงค์ หนูด้วง
Organization : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Subject keyword: ลำไย
ThaSH: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ - - สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร
Classification :.LCCS: SB379.L84
; ลำไย การเจริญเติบโต
; ลำไย พันธุ์เพชรสาคร
; วิทยานิพนธ์ - - ไทย - - 2546

Description Abstract: ทำการศึกษาการเจริญเติบโตในรอบปีของลำไยพันธุ์เพชรสาครที่มี
อายุ 5 ปี ซึ่งปลูกในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างปี พ.ศ. 2544-2545 วางแผนการ
ทดลองแบบสุ่มตลาด (completely randomized design) จำนวน 5 ซ้ำ พบว่าเจริญเติบโต
ทางด้านกิ่งใบ (vegetative flushing) เกิดขึ้นในระหว่างต้นเดือนกรกฏาคมถึงปลายเดือน
สิงหาคม โดยมีการแตกใบใหม่ทั้งหมดในช่วงดังกล่าว 98.05 เปอร์เซ็นต์ของกิ่งยอด หลังจากนั้น
ยอดมีการพักตัว และในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ถึงต้นเดือนมกราคม ซึ่งในขณะนั้นอุณหภูมิ
เริ่มลดลงตามลำดับ ลำไยออกดอกรวม 91.10 เปอร์เซ็นต์ โดยยอดทั้งหมดที่แตกเป็นดอก พบ
ว่ามีลักษณะเป็นดอกปนใบ (leafy panicle) ดอกบานและติดผลอยู่ในช่วงปลายเดือนมกราคม
ถึงต้นเดือนมีนาคม และในช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฏาคม มีผลแก่เก็บเกี่ยวได้
85.54 เปอร์เซ็นต์ของกิ่งยอดทั้งหมด

การเปลี่ยนแปลงปริมาณคาร์โบไฮเดรต (total nonstructuralcarbohydrate : TNC) และ
ไนโตรเจนของใบในช่วงการออกดอกและการเจริญเติบโตของผล พบว่าทั้งคาร์โบโฮเดรตและ
ไนโตรเจนมีปริมาณสูงในช่วง ออกดอก (95.95 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง และ 1.56
เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห่ง ตามลำดับ) หลังจากนั้นทั้งสองค่ามีปริมาณลดลงเป็นลำดับ และมีค่าต่ำ
สุดเมื่อผลแก่เก็บเกี่ยวได้ (51.10 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง และ 1.17 เปอร์เซ็นต์น้ำหนัก
แห้ง ตามลำดับ) สัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตต่อไนโตรเจน พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทำนองเดียว
กับการเปลี่ยนแปลงของคาร์โบไฮเดรตและ ไนโตรเจน โดยมีค่าสูงในช่วงออกดอกและลดลงตาม
ลำดับในช่วงการบาน ติดผล และการเจริญเติบโตของผลลำไยพันธุ์เพชรสาคร ที่อำเภอท่าศาลา
เริ่มแทงช่อดอกและพัฒนาจนกระทั้งดอกแรกเริ่มบานใช้เวลา 21 วัน และการบานของดอกทั้ง
หมดในแต่ละช่อใช้เวลา 29 วัน โดยมีดอกตัวผู้บานตลาดในช่วงดังกล่าว ดอกตัวเมียเริ่มบานหลัง
จากการบานของดอกตัวผู้ 13 วัน และมีช่วงการบานเพียง 12 วัน ทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียมี
จำนวนดอกบานสูงสุดในช่วงเดียวกันในวันที่ 15 หลังจากดอกแรกเริ่มบาน ในแต่ละช่อมีจำนวน
ดอกเฉลี่ย 314.66 ดอก โดยมีดอกตัวผู้ 220.27 ดอก และดอกตัวเมีย 94.64 ดอก มีสัดส่วน
เพศดอกตัวผู้ต่อดอกตัวเมียเท่ากับ 2.43:1 มีจำนวนผลแก่ต่อช่อเฉลี่ย 18.30 ผล ผลมีน้ำหนัก
เฉลี่ย 8.55 กรัม และมีจำนวนใบรวมต่อผลเฉลี่ย 2.76 ใบ ผลผลิตของลำไยเฉลี่ยต่อต้นเท่ากับ
31.46 กิโลกรัม จากการศึกษาพบว่าทิศมีผลต่อการออกดอก ติดผล และคุณภาพของผลผลิต
โดยเฉพาะทิศตะวันออกเฉียงใต้มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับทิศ อื่น คือ มีการออก
ดอก 98.60 เปอร์เซ็นต์ จำนวนผลต่อช่อหลังจากติดผล 1 เดือน 35.90 ผล และผลแก่เก็บ
เกี่ยวได้ 19.60 ผล โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางของผล 2.63 เซนติเมตร เนื้อมีความหนา 4.20
มิลลิเมตร น้ำหนักเนื้อ 5.76 กรัม ในขณะที่น้ำหนักเมล็ดน้ำหนักเปลือก และปริมาณของแข็งที่
ละลายน้ำได้ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ เนื่องจากลำไยพันธุ์เพชรสาครมีขนาดค่อนข้างเล็กและ
เนื้อบาง จากการทดลองการตัดปลายช่อผลของลำไยพันธุ์เพชรสาครที่ระดับต่างกัน คือ 0, 25,
50 และ 75 เปอร์เซ็นต์ของความยาวช่อผลทุกช่อในแต่ละต้นหลังการติดผล 1 เดือน วางแผน
การทดลองแบบสุ่มตลาด (completely randomized design) ทำการทดลองจำนวน 4 ซ้ำ
พบว่าการตัดปลายช่อผงทำให้ผลผลิตต่อต้นลดลง แต่ผลมีขนาดใหญ่และเนื้อมีความหนามากขึ้น
มีผลผลิตต่อต้นเท่ากับ 36.44, 29.71, 27.84, 24.78 กิโลกรัม ตามลำดับ ผลมีขนาดเส้น
ผ่านศูนย์กลาง 2.47, 2.52, 2.60 และ 2.91 เซนติเมตร ตามลำดับ เนื้อมีความหนา 3.63,
4.57, 5.36 และ 5.66 มิลลิเมตร ตามลำดับ เมล็ดมีน้ำหนัก 1.37, 1.40, 1.51 และ 2.18
กรัม ตามลำดับ โดยปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 06/03/2010 10:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บังคับลำไย ให้ออกนอกฤดู ทรมาณ V.S. บำรุง

นับจนถึงวันนี้เกือบจะเต็มเดือนแล้วครับ ที่ถูกเพรสซิ่งจากดีเปรสชั่นไม่รู้กี่ลูกต่อกี่ลูก จนโงหัว
แทบไม่ขึ้น ลำไยของผมซดไนโตรเจนจากฝนซะจนพุงกาง เลยทะลึ่งแตกใบออกมาเขียวไปทั้ง
สวน แปลงที่กะจะทำนอกฤดูต้องกลับมาเริ่มสะสมอาหารกันใหม่อีกรอบ

สภาพดินฟ้าอากาศ’ นับเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของเกษตรกร นอกเหนือไปจาก
ความเสี่ยงทางการตลาดจากราคาผลผลิตที่ขึ้นลงไม่แน่นอน

พูดถึงการบังคับให้ไม้ผลออกนอกฤดู เกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้วิธีทรมานต้นไม้ อาทิ การควั่นกิ่ง
เพื่อตัดท่อลำเลียงน้ำและอาหาร การรัดกิ่ง การรมควัน การงดน้ำ การสับราก ไปจนถึงการใช้สาร
เคมีราด-รดเพื่อทำลายราก หรือฉีดพ่นทำให้ใบร่วง ต่างๆ เหล่านี้ทำให้ต้นไม้รู้สึกว่ากำลังจะตาย
ต้องรีบออกดอกเตรียมสร้างผลเพื่อขยายพันธุ์

ลองมองในมุมกลับ ถ้าเราบำรุงให้ต้นไม้สมบูรณ์มากๆ ล่ะ ให้ต้นไม้รู้สึกอัดอั้น จนทนไม่ไหวต้อง
ผลิดอกออกมา ไม้ผลบางชนิดถ้าบำรุงดินดี ต้นสมบูรณ์ จะให้ผลตลอดปี เช่น ส้ม ทุเรียน จะมีผล
เล็กๆ ผลโต ผลแก่ คละกันในต้นเดียว เก็บเกี่ยวได้ตลอดปี ไม่มีฤดูกาล

ผมกำลังลองทำลำไยนอกฤดูแบบธรรมชาติอยู่ครับ ใช้การบำรุงต้นให้สมบูรณ์แทนการราดสารโป
แตสเซียมคลอเรต แต่เจอฝนชุดนี้ไปทำเอาจุกเลยทีเดียว ไม่ทันได้กระตุ้นตาดอกเจอฝนเข้าไป
กลายเป็นใบหมด ไม่เป็นไรเดี๋ยวเอาใหม่ เสียแค่เวลาเท่านั้น โดยทั่วไปไม้ผลจะออกดอกได้จะ
ต้องสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคแมลงรบกวน ได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอต่อเนื่อง มีอัตราส่วน
ระหว่างคาร์บอน (หรือคาร์โบไฮเดรต) ต่อไนโตรเจนที่ห่างมากๆ ที่เรียกว่า ซี-เอ็น เรโช (C/N
Ratio) และมีสภาพอากาศที่เหมาะสม

ลำไยเป็นไม้ผลที่ผลิดอกเมื่อช่อแก่ อาศัยหลักการนี้ ที่ผ่านมาผมเน้นสะสมธาตุอาหารในกลุ่มที่
สร้างตาดอกมากกว่าตาใบ ลดไนโตรเจนลงให้มากที่สุดเพื่อถ่างซี-เอ็น เรโชให้กว้างมากขึ้น แต่
ปัญหา คือ ความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ โดยเฉพาะฝนและความชื้นที่ทำให้ ปริมาณ N หรือ
ไนโตรเจนเพิ่มขึ้น จนเท่ากันหรือมากกว่า C หรือคาร์บอน เมื่อ C/N Ratio แคบลง เปอร์เซ็น
การออกดอกก็ลดลงด้วย

นอกจากความสมบูรณ์ของต้นจากการสะสมอาหารมาอย่างเต็มที่แล้ว ลำไยต้องกระทบหนาวครับ
ถึงจะออกดอก นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมการทำลำไยนอกฤดูจึงต้องราดสาร ในช่วงฤดูฝนอย่างนี้
ต้นไม้เกือบทุกชนิดจะเจริญเติบโตทางลำต้น กิ่ง ก้าน และใบ เป็นไปตามธรรมชาติ ในลำไย การ
ราดสารจะเป็นการทำลายราก (เหมือนโดนน้ำร้อนลวกหรือน้ำกรดสาด) ความสามารถในการดูด
ซึมอาหารและน้ำก็ลดลง ซึ่งจะส่งผลในการควบคุมการเจริญเติบโตของต้นลำไย จนติดดอกได้ใน
ที่สุด ไม่จำเป็นต้องผ่านหนาว

ส่วนตัวแล้วเห็นว่า การทรมานต้นไม้อาจจะมีผลดีในวันนี้ แต่ในระยะยาวไม่น่าจะดีนัก เหมือน
อาการดื้อยา ต้องเพิ่มปริมาณยา เปลี่ยนชนิดยาที่แรงขึ้น แม้อาการจะทุเลา แต่สุขภาพก็ทรุดโทรม
ลงเช่นกัน

ลองมาดูกันครับว่า การบังคับด้วยการบำรุงแทนการทรมาน ผลลัพภ์จะเป็นอย่างไร สำหรับผมแล้ว
ไม่มีอะไรเสียหาย ถ้าลองแล้วไม่สำเร็จ ไม่ติดดอก ไม่ออกผล ผมก็ยังจะได้ต้นลำไยที่ผ่านการ
บำรุงจนสมบูรณ์พร้อมสำหรับการออกดอกตามธรรมชาติในหน้าหนาวที่กำลังจะมาถึง แม้จะเป็น
ลำไยในฤดู แต่ถ้าทำคุณภาพได้ ลูกใหญ่ ไซซ์จัมโบ้ เกรด AA ก็อยู่ได้สบายๆ เป็นอีกโจทย์นึงที่
ต้องแก้ให้ตกต่อไป

ปัญหาของชาวสวนลำไยทุกวันนี้อยู่ที่ ‘การทำคุณภาพ’ ครับ เรื่องการทำนอกฤดู จะให้ออกช่วง
ไหน เวลาใด ออกมาก ออกน้อย ทำได้ กำหนดได้ ไม่เป็นปัญหา แต่ออกมาแล้วทำอย่างไรให้ได้
ขนาดที่ต้องการ นี่ต่างหากที่เป็นปัญหา ทำนอกฤดูแล้วยังขาดทุน ก็มาจากเหตุนี้เป็นสำคัญ

ที่ลองทำเพราะอยากรู้และอยากแสดงให้เห็นว่า เกษตรธรรมชาติจะสามารถบังคับให้ต้นไม้ออก
ดอกผลนอกฤดู รวมไปถึงช่วยทำคุณภาพให้กับผลผลิต ได้หรือไม่ … อย่างไร

"วิทยาศาสตร์’ แสดงให้เห็นแล้วว่า ไม่สามารถสร้างคุณภาพไปพร้อมๆ กับการลดต้นทุนการผลิต
ได้ แต่กับ ‘ธรรมชาติ’ จะตอบโจทย์นี้ได้หรือไม่ ยังเป็นเรื่องให้ต้องค้นคว้า เสาะหา และพิสูจน์กันต่อไป


ปล.๑
ผมไม่ปฏิเสธวิทยาศาสตร์ครับในบางกรณี คนเราขึ้นทางด่วนเพื่อย่นระยะเวลา ลำไยของผมก็น่าจะ
เหมือนกัน ต้นไม้ต้องสังเคราะห์แสงเพื่อปรุงอาหาร แต่ในภาวะที่มีแดดน้อยอย่างนี้ ผมต้องย่น
เวลาในการสะสมอาหารด้วยการเพิ่มปริมาณคาร์โบไฮเดรตให้เร็วที่สุด ต้นไม้ก็เหมือนคนที่ต้อง
เปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล จึงจะได้ประโยชน์จากสารอาหารได้เต็มที่ วิธีที่ง่ายและเร็วที่นิยมทำกัน คือ
พ่นน้ำตาลให้พืชโดยตรง ผมใช้ ‘กลูโคส’ ครับ เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือโมโนแซคคาไรด์
(Monosaccharides) พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้ทันที

ปล.๒
อยากจะเปรียบเทียบให้เห็นครับ เดิมผมเคยใช้ปุ๋ยเคมีทางดิน เสียค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย ๑๕ บาท/
ต้น/ครั้ง ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ค่าใช้จ่ายลดลงเหลือ ๘ บาท/ต้น/ครั้ง
ในส่วนปุ๋ยทางใบ ฮอร์โมน และยาฆ่าแมลงต่างๆ ตามท้องตลาดโดยเฉลี่ยราคาจะตกอยู่ประมาณ
๒๐๐-๓๐๐ บาท/ลิตร ที่สวนบางตัวเราหมักใช้เอง บางตัวจ้างเค้าหมักให้ หลักๆ ที่ใช้อยู่ก็มี ปุ๋ยปลา
หมัก ฮอร์โมนผลไม้สุก น้ำหมักสมุนไพร ทั้งหมดนี้ต้นทุนเฉลี่ย ๑๕-๒๐ บาท/ลิตร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©