-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - พันธุ์ยางพารา
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

พันธุ์ยางพารา

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 16/03/2010 2:24 pm    ชื่อกระทู้: พันธุ์ยางพารา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พันธุ์ยางพาราของไทย

"ทำไมประเทศไทยถึงไม่ต่อยอด นำสายพันธุ์ยางพาราที่มีเกษตรกรเก่งๆ เขาพัฒนาพันธุ์ใหม่ที่ให้
ผลผลิตต่อไร่สูง มาเผยแพร่สู่เกษตรกร เพื่อให้เมืองไทยมีสายพันธุ์ยางพาราที่หลากหลาย"

ประเด็นคำถามที่จุดขึ้น โดย คุณอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานกิตติมศักดิ์สมาคมสหพันธ์ชาวสวน
ยางพาราแห่งประเทศไทย กล่าวทิ้งท้ายไว้หลังจากการเดินทางไปเยี่ยมชมแปลงพันธุ์ยางพาราพันธุ์
ดีที่เกิดจากการคัดเลือกสายพันธุ์ของเกษตรกรในจังหวัดตรัง

สิ่งที่ถาม จึงกลายเป็นมาสิ่งที่ต้องค้นหาคำตอบว่า ในประเทศไทยมียางพันธุ์ดีที่คุณภาพทัดเทียม
หรือดีกว่า กับสายพันธุ์ยางพาราของต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศมาเลเซีย ที่มีการ
พัฒนาสายพันธุ์ยางพาราและมีพันธุ์ใหม่ๆ ออกมาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ แม้ว่าในปัจจุบัน ประเทศไทยจะกลายเป็นผู้ผลิตยางพาราได้เป็นอันดับหนึ่งของโลก มีผล
ผลิตมากกว่า 3.000 ล้านตัน แต่ในมุมมองของประธานกิตติมศักดิ์สมาคมสหพันธ์ชาวสวน
ยางพาราแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับสายพันธุ์ยางพาราที่เกษตรกรปลูกกันทั่วประเทศ รวมพื้นที่
16.74 ล้านไร่นั้น เป็นสายพันธุ์ที่ล้าสมัยและให้ผลผลิตต่ำมาก เหมือนเปรียบเทียบกับประเทศ
เพื่อนบ้าน

ทั้งนี้ สายพันธุ์ยางพาราที่ส่งเสริมในปัจจุบัน จะประกอบด้วย พันธุ์ RRIM 600, RRIT 251,
BPM 254 และ RRIT 226

"แม้จะเป็นพันธุ์ยางชั้น 1 ที่ให้ผลผลิตสูง แต่ก็เป็นพันธุ์ที่ส่งเสริมให้ปลูกกันมานาน อย่าง พันธุ์
RRIM 600 มีมาเกือบ 40 ปีแล้ว ทุกวันนี้ก็ยังเป็นพันธุ์เดิม ที่ให้ผลผลิตได้ไม่เกิน 270
กิโลกรัม ต่อไร่ ต่อปี ขณะที่มาเลเซียเขาพัฒนาไปเป็นพันธุ์ RRIM 2027 แล้วให้ผลผลิตถึง
500 กิโลกรัม ต่อไร่ ต่อปี" คุณอุทัย กล่าว

สิ่งที่ประธานกิตติมศักดิ์สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางพาราแห่งประเทศไทย ต้องการในเวลานี้คือ

"หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ยังไม่มีการพัฒนาพันธุ์ใหม่ที่ให้ผล
ผลิตสูงเหมือนกับมาเลเซียเผยแพร่ไปสู่เกษตรกรอย่างเป็นทางการ ทั้งที่มีงบประมาณจากเงิน
Cess ที่ได้จากการส่งออกยางพาราไปต่างประเทศ ได้ถูกจัดสรรลงไปในเรื่องการพัฒนาพันธุ์ยาง
โดยได้ให้กับสถาบันวิจัยยางตามมาตรา 18 (1) ไปดำเนินการปีละเกือบ 200 ล้านบาท วัตถุ
ประสงค์เพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกร"

"แต่ที่ผ่านมาผลงานยังมีความล่าช้า ดังนั้น หากเกษตรกรมีความสามารถในการพัฒนาพันธุ์ยางใหม่
ขึ้นมาได้ในพื้นที่แปลงปลูกของเกษตรกรเองก็ไม่ควรปิดกั้นโอกาส และที่สำคัญควรมีการต่อยอด
และผลักดันนำยางพาราพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีศักยภาพเหล่านั้น มาเผยแพร่สู่เกษตรกรในวงกว้าง ทั้งนี้ควร
ลดข้อจำกัดหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความล่าช้าลงด้วย ซึ่งจะส่งผลดีและเป็นการช่วย
พัฒนาพันธุ์ยางพาราไทยให้รุดหน้า เพราะปัจจุบันในต่างประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซียนั้นมีความ
ก้าวหน้าในเรื่องการพัฒนาพันธุ์ยางพาราพันธุ์ใหม่ๆ ล้ำหน้าไปหลายเท่า" คุณอุทัย กล่าว

หากสามารถดำเนินการได้ตามข้อเรียกร้องดังกล่าว สิ่งที่จะตามมานั้น คุณอุทัยบอกว่า หากให้พันธุ์
ยางพาราพันธุ์ใหม่ ซึ่งมีอยู่หลายสายพันธุ์ของเกษตรกรที่มีอยู่แล้วได้มีการเผยแพร่ไปสู่เกษตรกร
ในวงกว้าง เพื่อเป็นพันธุ์การพัฒนาพันธุ์ยางให้โตเร็ว ให้ผลผลิตต่อไร่สูง เกษตรกรไทยจะได้ไม่
ต้องเพิ่มพื้นที่ปลูกมากนัก และทำให้ยางพาราของประเทศไทย ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งของโลกจะได้ไม่
ถูกประเทศอื่นแซง และสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกรไทยด้วย

สำหรับสายพันธุ์ยางพาราที่เป็นพันธุ์ดี ให้ผลผลิตสูง มีความต้านทานโรค อันเป็นสายพันธุ์ของ
เกษตรกร ซึ่งได้มีการเข้าไปเยี่ยมชมนั้น อยู่ที่สวนของ คุณขำ นุชิตศิริภัทรา นายกสมาคมชาวสวน
ยางจังหวัดตรัง และที่สวนของ คุณลุงชิ้ม หรือ คุณเฉลิม ชัยวัฒน์

ซึ่งทั้ง 2 สายพันธุ์ ที่เกษตรกรทั้ง 2 ปลูกนั้น ต่างยืนยันตรงกันว่า เป็นสายพันธุ์ที่โตเร็ว และให้ผล
ผลิตสูงมากกว่า 500 กิโลกรัม ต่อไร่

โดยสายพันธุ์ยางของคุณลุงขำ นั้นได้เล่าให้ฟังว่า สำหรับสายพันธุ์ที่ปลูกนี้มีชื่อว่า พันธุ์ เคที 311
เกิดจากการผสมคือ อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 เป็นพันธุ์แม่ พีบี 235 เป็นพันธุ์พ่อ ซึ่งนำเข้ามาจาก
ประเทศมาเลเซีย เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว และได้มีการปลูกเพื่อกรีดเอาน้ำยางและทำพันธุ์ขายให้
กับเกษตรกรมาโดยตลอด

คุณสมบัติเด่น คือ ไม่มีโรคใบร่วง ให้ผลผลิตสูงกว่าไร่ละ 500 กิโลกรัม ต่อปี และอาจสูงถึงไร่ละ
570 กิโลกรัม ต่อปี ได้ในบางพื้นที่

"ตอนนี้ที่เราขายให้เกษตรกรที่สนใจไปปลูกนั้นอยู่ที่ต้นละ 35 บาท ส่วนยางที่กรีดได้ของเราเอง
นั้นมีประมาณ 200 ไร่"

ส่วนของคุณลุงชิ้มนั้น ได้เล่าให้ฟังถึงสายพันธุ์ยางพาราของตนเองว่า เป็นสายพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งเดิม
เรียกว่าพันธุ์ตาคล่อม เพราะเป็นคนแรกที่นำมาปลูก และเพื่อนบ้านไปเห็นว่า ให้น้ำยางดี จึงนำมา
ปลูกต่อกัน และสืบต่อมาถึงลูกหลาน

ซึ่งในปัจจุบันนั้น สำหรับสายพันธุ์ยางพาราดังกล่าวนี้ ในพื้นที่อื่นได้ถูกตัดโค่นลงไปหมด จึงทำให้
เหลืออยู่แต่ที่สวนลุงชิ้มที่เดียว สาเหตุเพราะต้องเปลี่ยนไปปลูกยางพันธุ์ใหม่ตามที่ราชการส่งเสริม

"ทุกวันนี้ผมปลูกไว้ 50 ไร่ ให้ผลผลิตไร่ละกว่า 500 กิโลกรัม ต่อปี โดยแปลงปลูกที่มีอายุมาก
ว่า 36 ปี ก็ยังกรีดอยู่ และให้น้ำยางมากเป็นปกติ" คุณลุงชิ้ม กล่าว

ซึ่งสำหรับในส่วนสายพันธุ์ยางพาราของคุณลุงชิ้มนั้น ด้วยมีคุณสมบัติที่เด่นมากในเรื่องของน้ำยาง
จึงได้รับการติดต่อจากบริษัทเอกชน นำไปต่อยอด ขยายพันธุ์จำหน่ายให้เกษตรกร ในชื่อ JVP80

จากตัวอย่างของเกษตรกรทั้ง 2 ท่านนี้ จึงเป็นเครื่องยืนยันได้อย่างหนึ่งว่า ในประเทศไทยนั้นก็มี
ยางพาราพันธุ์ดีอยู่เช่นกัน ซึ่งในโอกาสที่จะเกิดการพัฒนาต่อยอดนำมาซึ่งพันธุ์ดีๆ ขยายไปสู่
เกษตรกรอื่นหรือไม่นั้น คงต้องเป็นการตัดสินใจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะดำเนินการอย่างไร
ต่อไปในอนาคต

แต่สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกยางและคนไทยแล้ว สิ่งหนึ่งที่มีแน่นอนในวันนี้ คือความภาคภูมิใจที่
ประเทศไทยของเราก็มีสายพันธุ์ยางพาราดีๆ เหมือนกัน...


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©