-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - วิเคราะห์พืชเป็นแนวทางใส่ปุ๋ยมังคุด
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

วิเคราะห์พืชเป็นแนวทางใส่ปุ๋ยมังคุด

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 14/03/2010 8:00 pm    ชื่อกระทู้: วิเคราะห์พืชเป็นแนวทางใส่ปุ๋ยมังคุด ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.trf.or.th/research/abstract/Thai/RDG4420005.txt

ชื่อโครงการ : การวิเคราะห์พืชเพื่อเป็นแนวทางในการใส่ปุ๋ยในมังคุด

นักวิจัย :
รศ.ดร. สุมิตรา ภู่วโรดม.....ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระ
จอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พรทิวา กัญยวงศ์หา..........ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระ
จอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
นุจรี บุญแปลง...............ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระ
จอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ปัญจพร เลิศรัตน์.............คณะเทคโนโลยีการเกษตร ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี
นุกูล ถวิลถึง..................ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระ
จอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

E-mail Address : ktnukoon@kmitl.ac.th
ระยะเวลาโครงการ : ธันวาคม 2543 - พฤศจิกายน 2546


การใช้ค่าวิเคราะห์ใบพืชเพื่อเป็นแนวทางในการวินิจฉัยอาการขาดธาตุอาหารและการใส่ปุ๋ย
ในไม้ผลเริ่มได้รับความสนใจจากเกษตรเพิ่มขึ้นในระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเริ่มต้นจาก
ทุเรียน ซึ่งเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของไทย ทำให้มีความตื่นตัวในหมู่เกษตรกรที่จะ
วิเคราะห์ไม้ผลอื่นด้วย อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะสามารถนำค่าวิเคราะห์มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ จำ
เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีวิธีมาตรฐานในการเก็บตัวอย่างใบ และค่ามาตรฐานธาตุอาหารในใบที่เชื่อ
ถือได้ก่อน

การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ
1) ให้ได้วิธีมาตรฐานในการเก็บตัวอย่างใบมังคุด
2) สร้างค่ามาตรฐานธาตุอาหารสำหรับมังคุด
3) สามารถนำค่ามาตรฐานที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการแนะนำปุ๋ยแก่เกษตรกรได้

ในปีที่ 1 ทำการสำรวจความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบมังคุดจากสวนเกษตรกร 3 แห่ง
และแปลงปลูกมังคุดของศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี 1 แปลง แต่ละแห่งเก็บตัวอย่างใบจากมังคุด
จำนวน 15 ต้น เดือนละครั้ง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2543 ทำการศึกษาอิทธิพลของตำแหน่งทิศ
และตำแหน่งกิ่งที่อยู่ส่วนกลางและส่วนล่างของลำต้น ตำแหน่งใบ (ใบที่แตกออกมารุ่นปัจจุบัน
และรุ่นก่อนนั้นประมาณ 4-5 เดือน) และใบที่มาจากกิ่งที่มีผลและไม่มีผล ที่มีผลต่อความเข้มข้น
ของธาตุ N, P, K, Ca, Mg, Fe, Mn, Cu, Zn และ B โดยศึกษาตำแหน่งทิศเฉพาะเดือน
แรก ส่วนใบที่มาจากกิ่งที่มีผลและไม่มีผล ทำการศึกษาเพียง 2 สวนในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 มี
การติดตามการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารในใบมังคุดจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2544 ผลการทดลอง
ปรากฏว่า ตำแหน่งทิศและตำแหน่งกิ่งมีอิทธิพลต่อปริมาณธาตุอาหารในใบมังคุดค่อนข้างน้อย แต่
ใบจากกิ่งที่มีผลมีปริมาณ N สูงกว่า แต่มี Ca ต่ำกว่ากิ่งที่ไม่มีผล ส่วนปริมาณธาตุอื่น ๆ ไม่แตก
ต่างกัน สำหรับอิทธิพลของอายุใบพบว่า เมื่อใบมีอายุมากขึ้น ความเข้มข้นของ P และ K ลดลง
แต่ Ca, Fe, Mn และ B เพิ่มขึ้น ส่วน N และ Mg ค่อนข้างคงที่ สำหรับ Cu และ Zn มีความ
ผันแปรค่อนข้างมากตลอดระยะเวลาการเก็บตัวอย่าง เนื่องจากเกษตรกรมีการฉีดพ่นจุลธาตุและ
สารปราบศัตรูพืช อย่างไรก็ตาม ความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบมังคุดเปลี่ยนแปลงค่อนข้าง
น้อยหลังจากที่ใบมีอายุประมาณ 5 เดือน แต่เมื่อพิจารณาความสะดวกของการเก็บตัวอย่างใบเพื่อ
วิเคราะห์ คณะผู้วิจัยเสนอให้ใช้ใบที่มีอายุ 8-10 เดือนเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บตัวอย่าง
ใบเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหาร

วิธีมาตรฐานในการเก็บตัวอย่างใบมังคุดสำหรับวิเคราะห์คือ เก็บตัวอย่างใบคู่แรกจากยอด (ใบที่
1) เมื่ออายุประมาณ 8-10 เดือน หรือหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนมิถุนายน- สิงหาคม
โดยเก็บจากทุกทิศรอบทรงพุ่ม ทิศละ 1 ใบ ในระดับที่มือเอื้อมถึง โดยกำหนดช่วงค่ามาตรฐาน
ธาตุอาหารในใบมังคุด เป็นดังนี้

1.10-1.40% N, ........ 0.05-0.08% P, ......... 0.6-1.1% K,
1.00–1.40% Ca, ...... 0.12–0.18% Mg, ...... 50-150 mg
kg-1 Fe, .................. 50-250 mg ............... kg-1 Mn,
5-15 mg .................. kg-1 Cu, .................. 15-35 mg
kg-1 Zn. .................. 25-45 mg ................. kg-1 B

ในปีที่ 2 ทำการติดตามการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบมังคุดทั้ง 4 แปลง
ต่อจากปีที่ 1 โดยเก็บเฉพาะใบที่แตกออกมาใหม่ในปีที่ 2 ผลการติดตามพบว่า ทั้ง 2 ปีที่เก็บตัว
อย่าง ธาตุอาหารในใบมังคุดมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคล้ายกัน และมีความเข้มข้นของธาตุ
อาหารส่วนใหญ่ใกล้เคียงกัน แต่ความเข้มข้นของ Mg ในใบปีที่ 2 ต่ำกว่าปีที่ 1 จนน่าจะเกิดการ
ขาดแคลนเมื่อพิจารณาข้อมูลของทั้ง 2 ปีแล้ว คณะผู้วิจัยมีความเห็นว่า ไม่มีความจำเป็นต้องปรับ
ปรุงค่ามาตรฐานที่กำหนดเอาไว้ในปีที่ 1 นอกจากนั้น ในปีที่ 2 ยังได้ทำการสำรวจความเข้มข้น
ของธาตุอาหารในใบมังคุดจากสวนเกษตรในจังหวัดจันทบุรีเพิ่มอีก 26 สวน รวมทั้งสิ้นเป็น 30
สวนแต่ละสวนเก็บตัวอย่างใบมังคุด 10 ต้น โดยแบ่งสวนออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีความ
สมบูรณ์ของต้นมังคุดดี ปานกลาง และไม่ดี ปรากฏว่า สวนทุกกลุ่มมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงธาตุ
อาหารคล้ายกัน และมีความเข้มข้นของธาตุอาหารไม่แตกต่างกันมากนัก ถึงแม้ว่าสวนกลุ่มดี จะมี
ปริมาณธาตุ Ca และ Mg ต่ำกว่ากลุ่มไม่ดี เนื่องจากมีการใส่ปุ๋ย K ในอัตราสูงกว่า ทำให้เกิด
ปฏิปักษ์ต่อกัน (antagonism)ระหว่างธาตุ K, Ca และ Mg แต่ในสวนทุกกลุ่มจะมีความสมดุล
ของธาตุอาหารแตกต่างกันไป สำหรับธาตุอาหารที่มีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐาน ตามลำดับจากมากไป
หาน้อยคือ Mg, Ca, Cu และ K เมื่อนำข้อมูลความเข้มข้นของธาตุอาหารมาหาความสัมพันธ์
กับผลผลิตพบว่า ไม่มีความสัมพันธ์ในทางสถิติ ซึ่งเป็นปกติสำหรับไม้ผล แต่เมื่อใช้วิธีเส้นขอบ
เขต (boundary line) ในการหาความสัมพันธ์พบว่า ธาตุ N, P, K, Ca, Mg, Mn, Zn และ
B สามารถแสดงความสัมพันธ์ด้วยเส้นสหสัมพันธ์ 2 เส้น ซึ่งข้อมูลบนเส้นสหสัมพันธ์สามารถใช้
ระบุความเข้มข้นของธาตุอาหารในระดับขาดแคลน ต่ำ และเหมาะสม โดยใช้ผลผลิตในช่วง
<60, 60-80 และ 80-100% ตามลำดับ ทำให้การแปลผลค่าวิเคราะห์แม่นยำกว่าค่ามาตรฐาน
ธาตุอาหารที่กำหนดโดยช่วงเวลาที่ธาตุอาหารมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดการทดลองในปีที่ 3
และ 4 (แต่เดิมนั้น มีการวางแผนการทดลองไว้สำหรับปีที่ 3 เพียงปีเดียว แต่เนื่องจากมีข้อผิด
พลาดในการใส่ปุ๋ย จึงได้ขยายระยะเวลาการทดลองออกไปอีก 1 ปี) เป็นการศึกษาอิทธิพลของ
การใส่ปุ๋ย N (1,000, 1,500 และ 2,000 กรัม N/ ต้น) และ K (1,500 และ 2,500 กรัม
K2O/ต้น) ต่อการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของธาตุอาหารและผลผลิตในใบมังคุด วางแผนการ
ทดลองแบบ factorial in RCBD จำนวน 6 ซ้ำ ผลการทดลองปรากฏว่า การใส่ปุ๋ย N และ K
ทุกอัตรามีผลต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารต่าง ๆ ค่อนข้างน้อย ส่วนผลผลิตนั้น พบว่าในฤดูการ
แรกที่ศึกษา สวนสงวนมีความแตกต่างกันทางสถิติระหว่างตำรับการทดลอง แต่ในฤดูการที่ 2 ผล
ผลิตไม่แตกต่างกัน และเมื่อนำผลผลิตทั้ง 2 ปีมารวมกัน พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติเช่น
เดียวกัน ถึงแม้ว่าตำรับการทดลองที่ N2 K1 จะให้ผลผลิตรวม 2 ปีสูงกว่าตำรับการทดลองอื่นถึง
20กก./ต้นก็ตาม อย่างไรก็ตาม ควรจะต้องมีการศึกษาผลของการใส่ปุ๋ยต่อไปอีก เนื่องจากโดย
ทั่วไปแล้ว การตอบสนองของไม้ผลต่อปุ๋ยที่ใส่จะค่อนข้างช้า และอาจต้องใช้เวลาหลายปี

ในปีที่ 4 นี้ ได้ทำการศึกษาเบื้องต้นถึงผลของการใส่ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต อัตรา 500, 1,000
และ 1,500 กรัม/ต้น ต่อปริมาณธาตุอาหารในใบมังคุด โดยทำการทดลองเพียง 3 ซ้ำ ในสวน 3
แห่ง ผลการทดลองปรากฏว่า การใส่ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟตทั้ง 3 อัตรา ทำให้ความเข้มข้นของ
Mg ในใบเพิ่มขึ้นกว่าต้นมังคุดที่ไม่ใส่ปุ๋ยเพียงเล็กน้อย ถึงแม้ว่าใบมังคุดจะมีอาการขาดแคลน
Mg ก็ตาม การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารในใบในไม้ผลเกิดได้ช้าและ
อาจต้องใช้เวลาหลายปี

คำสำคัญ : มังคุด
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/03/2010 10:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

งานวิจัย คือ งานวิจัย
คำว่า “วิจัย” แปลความตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานว่า “การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่
ถ้วนตามหลักวิชา” หาหากแปลตามภาษาชาวบ้านก็ว่า “เพื่อหาคำตอบสุดท้ายว่า คือ ใคร ?
อะไร ? ที่ไหน ? เมื่อไร ? อย่างไร ? ทำไม ? และ ใช่หรือไม่ใช่ ?

งานวิจัยชิ้นนี้และทุกชิ้นถือเป็น “ผลงานที่ดีมาก” ไม่ต่างจากงานวิจัยชิ้นอื่นๆ ที่ทำให้รู้คำตอบ
ว่า “ใช่ หรือ ไม่ใช่” โดยแท้....... งานวิจัยก็คืองานวิจัย มีคำตอบเพียงทำให้ได้ “รู้” เท่านั้น
แต่ไม่อาจแปลงไปสู่ “การปฏิบัติ” โดยชาวบ้านที่มีพื้นฐานความรู้ระดับรากหญ้าได้ ......หากจะ
วิเคราะห์ความเป็นชิ้นงาน ถือว่ายัง “ไม่สมบูรณ์แบบ” เพราะยังขาดขั้นตอนการแปลงไปสู่การ
ปฏิบัติ และขั้นตอน “การเผยแพร่” ในอันที่จะทำให้วัตถุประสงค์ไปสู่เป้าหมายอย่างแท้จริงของ
งานวิจัยได้ ก็คงไม่ผิดนัก


ประสบการณ์ตรง :
1..... ลุงคิมมีเอกสาร “สรุปรวมผลงานวิจัย ประจำปี” ของทุกกรม ในสังกัดกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์โดยเฉพาะ ขนาด 700-750 หน้า พิมพ์ 2 หน้า กระดาษ เอ-4 ราว 4-5 เล่ม (4-5
ปี) ทุกชิ้นงานวิจัยนำเสนอ “บทคัดย่อ” เหมือนกันทั้งหมด ไม่มีการแปลงข้อมูลไปสู่การ
ปฏิบัติ และไม่การเผยแพร่ตรงถึงเกษตรกรหรือผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผลงานวิจัย
นั้น รวมไม่มีการเผยแพร่สู่สาธารณะ อีกด้วย

2..... เมื่อครั้ง คุณกร ทัพรังสี. ดำรงตำแหน่ง รมต.ก.วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี. ให้
สัมภาษณ์ว่า ได้ไปที่จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย แล้วพบว่ามีผลงานวิจัยที่เป็นเอกสารอยู่ในตู้
เอกสารจำนวนมากมายมหาศาล จึงคิดโครงการนำงานวิจัยนั้นมาใช้ประโยชน์ แต่ยังไม่ได้ดำเนิน
การก็ต้องลงจากตำแหน่งเสียก่อน จากนั้นความคิดนี้ก็เงียบหายไป รมต.คนใหม่ไม่ได้ให้ความ
สนใจเรื่องนี้ กระทั่งปัจจุบัน

3..... เมื่อ 4-5 เดือนที่ผ่านมา รายการเสวนาทาง ทีวี. เอ็มซีโอที-1 โดยนักวิชาการจากสถา
บันศึกษาหลายสถาบัน มีแผนทำงานวิจัย ชื่อ “นำงานวิจัยลงจากหิ้ง” แสดงว่า วันนี้บ้านเมือง
เรามีผลงานวิจัยที่ผ่านการรับรองแล้วเก็บไว้เฉยๆ โดยไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์จำนวนมากนั่นเอง

4..... รอบๆ มหาวิยาลัยในไต้หวันจะมีบริษัทเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ คอยรับซื้อ
ผลงาน (ลิขสิทธิ์) ที่ผ่านการรับรองแล้วจากอาจารย์ในมหาวิยาลัยนั้นๆ นักวิชาการยินดีขายผล
งานเพื่อให้ได้เงินมาพัฒนาต่อยอดผลงานชิ้นเดิมให้ดียิ่งขึ้น นั่นหมายความว่า จากผลงานชิ้นที่ 1
(ขายลิขสิทธิ์ไปแล้ว) ได้พัฒนาเป็นผลงานชิ้นที่ 2 (ขายลิขสิทธิ์ครั้งที่ 2) และอาจจะพัฒนา
เป็นชิ้นที่ 3 – 4 - 5 ไม่จบสิ้น เพราะยิ่งคิดค้นยิ่งวิจัย ยิ่งได้เงิน หรือได้เงินมาแล้วใช้เป็นทุนคิด
ค้นวิจัยงานชิ้นใหม่ได้ การที่ผู้รับซื้อลิขสิทธิผลงาน (บริษัทข้างๆ มหาวิยาลัย) กับ นักวิชาการ (อยู่
ในมหาวิทยาลัย) อยู่ใกล้ชิดกัน ทำให้เกิดประสานงานและประสานผลประโยชน์ในอันที่จะไปสู่
ความสำเร็จอย่างสูงได้

5..... สารคดีดิสคัพเวอรี่ นำเสนอเทคนิคการทำให้แอปเปิ้ลออกดอกติดผลด้วยผลงาน
วิจัย “ปัจจัยเพื่อการออกดอกติดผล” เหมือนผลงานวิจัยข้างต้น (ของไทย) ทุกประการ ปรากฏ
ว่าแอ๊ปเปิ้ลต้นนั้นออกดอกติดผลดีมาก...... ฉากหนึ่งในสารคดีถ่ายภาพแบบมุมกว้างให้เห็นพื้นที่
ทั่วแปลง พบว่ามีแอปเปิ้ลเพียง 3 ต้น ในจำนวนทั้งแปลงนับ 1,000 ต้น เท่านั้น ที่ออกดอกติด
ผล แสดงให้เห็นว่าในเชิงปฏิบัติเรื่อง “เทคนิคบำรุงพืชด้วยงานวิจัยสารอาหารพืช” ไม่สามารถทำ
ให้ครบทุกต้นหรือทั้งแปลงได้ แต่ที่เห็นนั้นเป็นสิ่งยืนยันว่าในเชิงทฤษฎีคือสิ่งที่เป็นไปได้นั่นเอง

6.... ดร.ปลอดประสพฯ (ดร.แท้ ไม่ใช่ ดร.กิติมศักดิ์) อดีตอธิบดีหลายกรม ทำการวิจัยเพื่อ
เป็นวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาเอก ของมหาวิทยาลัยของรัฐในสหรัฐอเมริกา (จำชื่อเม่ได้) โดย
ทำงานวิจัยเรื่อง "บึงบอระเพ็ด" ทำในเมืองไทย ทำแล้วส่งไปตรวจสอบเพื่อขอการรับรองที่
สหรัฐอเมริกา ผลการตรวจสอบผ่านเกรด ดีมาก. ถามว่างานนี้ "ไทยได้อะไร - สหรัฐได้
อะไร" ....... วันนี้ สหรัฐนำแนวทางจากงานวิจัยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในแหล่งน้ำ ไปแก้ปัญหา
แม่น้ำมิสซูรี่ ได้ผลดีมาก แต่ไทยไม่มีแนวคิดนำข้อมูลจากงานวิจัยนั้นมาแก้ปัญหาบึงบอระเพ็ด
เลย วันนี้บึงบอระเพ็ดจึงแย่ลงๆ อย่างที่เห็น


ที่นี่ประเทศไทย
ลุงคิมครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/03/2010 7:43 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/03/2010 1:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถึงจุดนี้ เมื่อนำ "หลักวิชาการ" มาใช้ไม่เป็น (เน้นยำ ....ใช้ไม่เป็น - ไม่ใช่ ใช้ไม่ได้) แล้วน่า
จะมอง "ประสบการณ์" ดูบ้าง...... อย่างที่ว่า "วิชาการ คู่ ประสบการณ์" นั่นแหละ

ใครมี IDAE อะไร อย่างไร แบ่งปันกันหน่อยเป็นไร


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/03/2010 7:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

xx
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©