-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - สตรอเบอรี่
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

สตรอเบอรี่

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 16/03/2010 6:24 pm    ชื่อกระทู้: สตรอเบอรี่ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ภาวิณีย์ เจริญยิ่ง

สตรอเบอรี่ปลอดสาร เกษตรกรฝางยิ้ม กำไรอื้อ

แต่ก่อนเป็นคนที่ชอบสตรอเบอรี่คนหนึ่ง ครั้นพอได้ยินใครต่อใครพูดว่า อย่าไปกินเยอะ เพราะมี
แต่ยา เลยตัดสินใจกินน้อยลง และถ้าไม่เกิดความอยากจริงๆ ก็จะไม่แตะ แต่พอไปทำข่าว
โครงการหลวง ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช
กุมารี มีพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมเกษตรกรในลุ่มแม่น้ำงอนปลูกสตรอเบอรี่ โดย
ในปีนี้ทางเทสโก้ โลตัส รับซื้อมาขาย เพื่อให้ผลผลิตสดออกสู่ตลาดทั่วประเทศ ทำให้ได้รู้ว่ามี
เกษตรกรหลายรายหันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี ซึ่งนอกจากจะปลอดภัยแก่ผู้บริโภคและตัว
เกษตรกรเองแล้ว ยังส่งผลในการลดต้นทุนการผลิตด้วย เรียกว่าดีกับทุกๆ ฝ่าย

วันนั้นทางโครงการหลวงชวนไปดูไร่สตรอเบอรี่ของ คุณสมศักดิ์ สิทธิกัน ที่บ้านห้วยห้อม ตำบลแม่
งอน อำเภอฝาง ในเนื้อที่ 20 ไร่ แต่แบ่งมาปลูกสตรอเบอรี่เพียง 1 ไร่ นอกนั้นปลูกมะม่วง และใน
อนาคตจะปลูกลิ้นจี่อีกด้วย

เดิมคุณสมศักดิ์ปลูกสวนส้มทั้งหมด แต่ก็ต้องล้มทิ้ง เพราะประสบปัญหาขาดทุน ซึ่งก็เหมือนกับ
เกษตรกรจำนวนนับไม่ถ้วนในอำเภอฝางที่นิยมปลูกส้มสายน้ำผึ้ง เพราะช่วงนั้นประมาณ ปี 2546
ส้มสายน้ำผึ้งได้ราคาดี มีกำไรนับล้านบาท แต่ต่อมาเจอโรคแมลง กำไรก้อนโตที่เคยได้หดหาย
กระทั่งไม่คุ้มทุน จนต้องล้มสวนส้มกันเป็นแถว

สาเหตุที่คุณสมศักดิ์เปลี่ยนมาเป็นมะม่วง เพราะเห็นว่าต้นทุนต่ำ และไม่ต้องดูแลมาก ขณะที่
เกษตรกรหลายรายหันไปปลูกลิ้นจี่แทน

จุดเด่นไร่สตรอเบอรี่ของสมศักดิ์ก็คือ เป็นแปลงที่ปลอดสารพิษจริงๆ ใช้แต่ปุ๋ยอินทรีย์และสาร
ชีวภาพ ไม่ใช้สารเคมีใดๆ

ถามคุณสมศักดิ์ว่า ทำไม ปลูกแค่ไร่เดียว เขาตอบอย่างตรงไปตรงมา เคยได้ยินคนพูดว่าสตรอเบอ
รี่ปลูกยาก ปีนี้อยากจะลองดู โดยทำเป็นแปลงตัวอย่างปลอดสารพิษจริงๆ ไม่มีปุ๋ยเคมีเลย ใช้แต่
ปุ๋ยอินทรีย์สำเร็จรูป ซึ่งพรรคพวกใช้กันอยู่ จึงนำมาใส่บ้างก็ให้ผลผลิตดี ใช้สะดวกเป็นแบบฉีดพ่น
ภายใน 7 วัน

สตรอเบอรี่นั้น เป็นพืชอายุสั้น เก็บเกี่ยวเร็ว ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ไร่ของคุณสมศักดิ์เริ่มปลูก
ตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา เป็นพันธุ์ 329

ช่วงเดือนมกราคมก็เริ่มมีลูกเก็บได้เรื่อยๆ วันหนึ่งเก็บได้ 1-2 กิโลกรัม โดยจะมีพ่อค้ามารับไป
ขายนักท่องเที่ยวอีกต่อหนึ่ง เพราะบ้านห้วยห้อม เป็นเส้นทางผ่านไปยังดอยอ่างขาง แหล่งท่อง
เที่ยวสำคัญอีกแห่งของเชียงใหม่

ทั้งนี้ ในช่วงต้นฤดูประมาณเดือนมกราคมถึงต้นกุมภาพันธ์ ราคาขายต่อกิโลกรัมจะดีมาก ตก
ประมาณ 80 บาท ในส่วนพ่อค้าแม่ค้าจะขายให้ผู้บริโภคถึงกิโลกรัมละ100-200 กว่าบาทก็มี ใน
เดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมสตรอเบอรี่จะออกมากที่สุด วันหนึ่งๆ สามารถเก็บได้ 100 กิโลกรัมขึ้น
ไป แต่ราคาจะถูกลง

สำหรับการลงทุนนั้น คุณสมศักดิ์ บอกว่า ต่อไร่ประมาณ 40,000 บาท จะขายได้ประมาณ
100,000 กว่าบาท

จากการสอบถามตัวเกษตรกรและหน่วยงานต่างๆ พบว่า ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำงอนนั้นมีเกษตรกรจำนวน
มากที่หันมาปลูกสตรอเบอรี่กันมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม มีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่ยังใช้สาร
เคมีกันอยู่ เพราะชาวบ้านเคยชินกับการปลูกแบบเก่า และเห็นว่าจะทำให้พืชเจริญเติบโตเร็ว

ในขณะที่ คุณสมศักดิ์ มองว่า การใช้ปุ๋ยเคมีก็มีผลเสียหลายอย่าง อาทิ ถ้าดินเป็นกรด หรือเดิน
เสีย ทำให้การเจริญเติบโตไม่ดี เพราะรากพืชจะดูดกินอาหารไม่ได้

อย่างที่คุณสมศักดิ์บอก ปีนี้คาดว่าจะขายสตรอเบอรี่ได้ประมาณ 100,000 กว่าบาท ซึ่งถือเป็น
รายได้ดีทีเดียวถ้าเทียบกับการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ดังนั้น ในปีหน้าคุณสมศักดิ์ตั้งใจว่าจะปลูกเพิ่มขึ้น
เป็น 10 ไร่ เพราะมีประสบการณ์แล้วว่า การใช้ปุ๋ยชีวภาพสามารถควบคุมโรคพืชได้แน่นอน เพราะ
ไม่มีแมลงสักตัว

ถ้าใครไปเห็นแปลงปลูกสตรอเบอรี่อาจจะมองไม่ออกว่า พืชตัวนี้ปลูกยากอย่างไร ในฐานะ
เกษตรกรตัวจริงเสียงจริง คุณสมศักดิ์แจกแจงให้ฟังว่า เริ่มตั้งแต่ยกแปลงเริ่มปลูก จะต้องใช้คน
งานช่วย แต่หลังจากปลูกเสร็จตนและคนในครอบครัวทำเองหมดทุกอย่าง โดยใช้ระบบน้ำหยดเปิด
ตอนเช้า-เย็น ทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง นอกจากนั้น ก็ต้องถางแปลงอย่าให้หญ้าขึ้น และต้อง
เอาใจใส่ดูแลแมลงต่างๆ

คุณสมศักดิ์ แจกแจงอีกว่า สตรอเบอรี่ปลอดสารพิษนั้นรสชาติจะดีกว่าที่ใช้สารเคมี จึงอยากแนะ
นำให้เกษตรกรได้แสวงหาสิ่งที่ดีๆ เพื่อจะมาช่วยเรื่องเพิ่มผลผลิต พร้อมๆ กับการลดต้นทุน

ถ้าใครไปแถวดอยอ่างขางอยากชมไร่สตรอเบอรี่ปลอดสารพิษของคุณสมศักดิ์ ก็ โทร.ไปสอบถาม
เส้นทางได้ ที่ โทร. (080) 031-1513

ฟังเกษตรกรพูดกันไปแล้ว ลองมาดูในมุมมองของนักวิชาการบ้าง คุณราชันย์ จันทรากาศ เกษตร
อำเภอฝาง ให้ข้อมูลว่า พื้นที่อำเภอฝางส่วนใหญ่เหมาะสมปลูกพืชเศรษฐกิจแทบทุกชนิด ไม่ว่าจะ
เป็นส้ม ลิ้นจี่ ลำไย หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่ง เนื่องจากอากาศดี อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 18 องศา พืช
ผลไม้ที่ปลูกมากๆ ได้แก่ ส้ม แต่ว่าส้มเป็นพืชที่ลงทุนสูง ต้องใช้สารเคมีตลอดเวลา เกษตรกรที่
ไม่มีทุนมักจะผลิตไม่ได้มาตรฐาน จึงล้มสวนส้มกันเป็นจำนวนมาก หันไปปลูกพืชอื่นที่มีตลาดดี
กว่า เช่น สตรอเบอรี่ และลิ้นจี่พันธุ์จักรพรรดิ อย่างไรก็ตาม คุณราชันย์ มองว่า ถ้าเกษตรกรไม่ปลูก
ส้มกันเพิ่มขึ้นและระดับมาตรฐานยังอยู่แบบนี้ ราคาส้มจะดีไปอีก 6 ปี เป็นอย่างน้อย ซึ่งตอนนี้
เฉลี่ยขายกิโลกรัมละประมาณ 15 บาท ต้นทุนการผลิตจะตกอยู่ 11 บาท

เกษตรอำเภอฝางบอกว่า การปลูกส้มจริงๆ แล้ว หากส้มที่มีอายุ 15 ปี มักจะต้านทานโรคไม่อยู่
แต่ถ้าล้มและปลูกใหม่แล้วปรับปรุงดินให้ดีขึ้น จะทำให้เกษตรกรสามารถอยู่ได้

สาเหตุที่เกษตรกรหันมาปลูกสตรอเบอรี่นั้น เหตุผลหลักคือ ใช้เวลาสั้นแค่ 6 เดือน ก็สามารถเก็บ
ผลผลิตได้แล้ว ลงทุนต่อไร่ประมาณ 40,000-47,000 บาท ได้กำไรไม่ต่ำกว่าไร่ละ 100,000 บาท

สำหรับปัญหาหนักของสตรอเบอรี่นั้น คุณราชันย์ อธิบายว่า หากเกษตรกรไม่มีความรู้ในเรื่องการ
จัดการกับศัตรูพืช เช่น แมลงหรือโรคต่างๆ ไปทำตามคำแนะนำ หรือเชื่อตามโฆษณาของยาต่างๆ
จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูง สองเป็นการเพิ่มเติมให้โรคดื้อยา เห็นได้จากหลายๆ พื้นที่ เกษตรกร
ปลูกสตรอเบอรี่แล้วล้มเลิกไป คือเมื่อปลูกได้ระยะหนึ่งโรคและแมลงจะมีความต้านทานต่อยา
มากขึ้น

ทั้งนี้ พื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำงอนในโครงการพระราชดำรินี้ ได้นำปัญหาจากพื้นที่อื่นแล้วมาแก้ไข
เช่น สอนให้เกษตรกรผลิตเชื้อจุลินทรีย์เอง คือเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ไม่ว่าจะเป็นเชื้อราใดเพื่อแก้
ปัญหาโรคโคนเน่า รากเน่า

อีกอันหนึ่ง คือ บิวเวอร์เรีย เชื้อราตัวนี้ป้องกันและกำจัดพวกเพลี้ยไฟ ไรแดง และหนอน ส่วน
สมุนไพรอื่น อย่างสะเดา ตะไคร้หอม ใช้ไล่แมลงได้ผลดีมาก

คุณราชันย์ แจงว่า ปีที่ผ่านมาเกษตรกรในอำเภอฝางนิยมปลูกสตรอเบอรี่พันธุ์ 329 ที่มีลักษณะ
เรียวๆ ยาวๆ มาในปีนี้ได้ส่งเสริมให้ปลูกอีกพันธุ์ คือ เบอร์ 80 ที่ลักษณะคล้ายหัวใจ สวยกว่า
หวานกว่า แต่กลิ่นหอมสู้ 329 ไม่ได้ ทั้งนี้ พันธุ์ 329 โดยธรรมชาติจะหอม รสชาติจะหวาน อม
เปรี้ยว กลิ่นหอม

เกษตรอำเภอฝางแนะนำว่า โดยปกติ สตรอเบอรี่ 1 ไร่ จะใช้คนดูแลประมาณ 3 คน การปลูก
สตรอเบอรี่จะต้องดูแลรักษามากทุกวัน ไม่ใช่วันเว้นวัน โดยเฉพาะเรื่องโรค เรื่องแมลง จะต้องใช้
มือบี้ให้ตาย ถ้าปล่อยไม่ดูแล สัก 3-4 วัน จะเอาไม่อยู่ แล้วหากเกษตรกรดูแลทุกวัน แทบไม่จำ
เป็นจะต้องใช้สารเคมีเลย

นี่ถ้าเกษตรกรที่ปลูกสตรอเบอรี่ได้ยินได้ฟังแบบนี้ พร้อมกับเห็นตัวอย่างของผลสำเร็จในการเลิก
ใช้สารเคมี อันจะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง เชื่อว่าอีกหน่อยเกษตรกรทั้งหลายคงหันมาใช้ปุ๋ย
อินทรีย์แทนแน่นอน เพราะไม่มีใครอยากเสียเงิน พร้อมๆ กับเสียสุขภาพแน่


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/03/2010 4:05 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/03/2010 9:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กระทู้ยกมา.....
------------------------------------------------------------


สวัสดีครับเพื่อนๆทุกท่านและลุงคิม

สตรอเบอรี่ปลอดสาร เกษตรกรฝางยิ้ม กำไรอื้อ *
ผมไม่อยากเชื่อครับ ใช้แต่ปุ๋ยชีวภาพแล้วมันจะได้ผลดีเช่นข่าวนี้ เพราะผมทดลองแค่ไม้ดอกคือ มะลิ แล้วผลคือดอกมันเล็กขายไม่ได้ แล้วนี่มันเป็นไม้ยืนต้นและเป็นไม้ผล ที่น่าต้องการสารอาหารบำรุงมากกว่าไม้ดอก มันจะไหวเหรอ นี่ถ้าผมไม่ได้ลองทำด้วยตัวเองคงเชื่อหมดสงสัยแน่ๆๆ

ขอบคุณครับผม
KRITSADALAMPANG
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 18/03/2010 9:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การผลิตสตรอเบอร์รี่ด้วยต้นไหลคุณภาพดี

สัมฤทธิ์ เกียววงษ์ :
หน่วยบริการเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

สตรอเบอร์รี่ (Strawberry, Fragaria x ananassa) จัดเป็นไม้ผลสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งในภาคเหนือที่มีศักยภาพสูงในการส่งออก ดังจะเห็นได้จากผลผลิตกว่าร้อยละ 60 ได้ถูกส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ ที่สำคัญคือ ญี่ปุ่น ส่วนที่เหลือถูกนำมาใช้เพื่อการแปรรูปเป็นแยมและบริโภคสดในประเทศ ซึ่งยังมีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด โดยเฉพาะตลาดเพื่อการบริโภคสดที่มีแนวโน้มความต้องการเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี สตรอเบอร์รี่มีพื้นที่ปลูกสำคัญอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย เนื่องจากมีสภาพอากาศหนาวเย็นเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและติดดอกออกผล โดยเกษตรกรจะเริ่มปลูกสตรอเบอร์รี่ในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม และไปเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนธันวาคมถึงเมษายนของปีถัดไป ได้ผลผลิตรวมกันประมาณ 7,000 – 8,000 ตันต่อปี ทำรายได้เข้าประเทศไม่ต่ำกว่าปีละ 120 ล้านบาท

ปัญหาสำคัญของการปลูกสตรอเบอร์รี่ คือ การขาดแคลนต้นไหลคุณภาพดี ทำให้เกษตรกรใช้ต้นไหลเท่าที่จัดหาได้มาปลูกทั้งๆ ที่มีคุณภาพต่ำ มีอัตราการเจริญเติบโตต่ำ อ่อนแอต่อโรคและแมลงศัตรู ผลที่ตามมาก็คือการดูแลรักษายุ่งยากขึ้น ทั้งการพ่นสารเคมี การให้น้ำ ใส่ปุ๋ย แต่ปริมาณผลผลิตต่อไร่กลับลดลง ท้ายที่สุดเกษตรกรต้องทำการปลูกซ่อมแซมสูงถึงร้อยละ 20 – 30 อีกทั้งยังได้ผลผลิตเพียง 2.5 – 3.0 ตันต่อไร่เท่านั้น ขณะที่ประเทศที่มีการพัฒนาระบบการปลูกแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศในยุโรป ได้ผลผลิตสูงถึง 7 – 9 ตันต่อไร่ หรือแม้แต่ประเทศคู่แข่งสำคัญของไทย เช่น เกาหลีใต้ จีน และไต้หวัน ต่างก็มีผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่าประเทศไทยทั้งสิ้น

ในต่างประเทศที่มีการปลูกสตรอเบอร์รี่เป็นอุตสาหกรรม เช่น ประเทศในแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ได้ให้ความสำคัญกับการผลิตต้นไหลคุณภาพดีเป็นอย่างมาก โดยได้พัฒนาวิธีการขยายพันธุ์ต้นไหลด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และการจัดการเขตกรรมอย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้ต้นไหลแม่พันธุ์ที่มีคุณภาพดี สมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากการปนเปื้อนของโรคแมลงศัตรู รวมทั้งมีกลไกการรับรองคุณภาพต้นไหลแม่พันธุ์จากหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วย ยกตัวอย่างเช่น การผลิตต้นไหลในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งบริษัทหรือเกษตรกรที่ผลิตต้นไหลเพื่อการจำหน่ายจะเลือกผลิตบนพื้นที่สูง มีอุณหภูมิหนาวเย็น และห่างไกลจากแหล่งปลูกสตรอเบอร์รี่เพื่อการผลิตผลสด เพื่อลดการเข้าทำลายของโรคและแมลง ในขณะที่เกษตรกรในประเทศไทยยังนิยมขยายต้นไหลโดยการคัดเลือกไหลที่เจริญออกมาจากต้นสตรอเบอร์รี่ในแปลงปลูกที่กำลังให้ผล แล้วนำไปปลูกบนดอยซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป เพื่ออาศัยสภาพอากาศที่หนาวเย็นในตอนกลางคืนและช่วงวันสั้นช่วยกระตุ้นการสร้างตาดอก อีกทั้งเกษตรกรมักนิยมปลูกต้นไหลในถุงพลาสติก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว ซึ่งบรรจุดินที่มีธาตุอาหารต่ำและอัดกันแน่น… จึงไม่เป็นที่น่าประหลาดใจเลยว่าเหตุใดประเทศไทยจึงได้ต้นไหลที่มีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ อ่อนแอ ต้นเล็ก ไม่แข็งแรง และมีระบบรากไม่สมบูรณ์ รวมทั้งมีการสะสมโรคต่างๆ ไว้มากมาย เมื่อเกษตรกรนำต้นไหลเหล่านี้ไปปลูกจึงทำให้ได้ผลผลิตต่ำ และมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

นอกจากวิธีการผลิตแล้ว แหล่งพื้นที่เพาะปลูกก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคุณภาพการผลิตของต้นไหล อาทิเช่น พื้นที่ผลิตไหลกับแปลงปลูกเพื่อการผลิตผลสดอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกันหรืออยู่ในพื้นที่เดียวกัน เป็นสาเหตุให้เกิดการสะสมของโรคและแมลงศัตรูต่างๆ มากขึ้น

สิ่งที่กล่าวมาทั้งหลายเหล่านี้คือตัวอย่างของปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการพัฒนาการผลิตต้นไหลคุณภาพดีในประเทศไทย ที่ผ่านมาคณะทำงานวิจัยและพัฒนาสตรอเบอร์รี่ มูลนิธิโครงการหลวง ร่วมกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้วางแนวทางการวิจัยและพัฒนาการผลิตต้นไหลสตรอเบอร์รี่คุณภาพดี ในการที่จะปรับเปลี่ยนระบบการผลิตต้นไหลของเกษตรกรจากแบบดั้งเดิม มาใช้ต้นไหลแม่พันธุ์ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และส่งเสริมให้เกษตรกรทั่วไปใช้ต้นไหลคุณภาพดี โดยการแทรกแซงในระบบการผลิตแบบเดิม ซึ่งมีปริมาณการใช้ปีละ ประมาณ 25 - 30 ล้านต้น ผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ ดังนั้นหากต้องการจะให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามที่วางไว้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการผลักดันแผนงานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากหน่วยงานที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี นักวิจัย นักถ่ายทอดเทคโนโลยี พ่อค้า ผู้ประกอบการ และตัวเกษตรกรเอง เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตสตรอเบอร์รี่ของประเทศให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป



ที่มา : สวทช
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©