-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - Learning by doing - ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

Learning by doing - ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 27/08/2009 12:30 pm    ชื่อกระทู้: Learning by doing - ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.kmutt.ac.th/organization/Education/Technology/tech_ed/constructionism/constructionism1.htm


ปัญหาการศึกษาไทย :



บทนำ :

ด้วยความกรุณาจากมูลนิธิศึกษาพัฒน์ ที่ให้โอกาสกับผมเข้าร่วมในการอบรมทฤษฎีConstructionism ที่
มูลนิธิจัดขึ้น จุดเริ่มต้นนี้เองทำให้ผมได้รู้จักกับทฤษฎี Constructionism โดยตลอดระยะเวลาที่ได้เข้าร่วม
อบรม ผมได้เรียนรู้และทำความเข้าใจทฤษฎีนี้จากการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยตนเองและรับ ฟังจากผู้รู้หลายท่าน
(บุคคลสำคัญท่านหนึ่งที่ให้ความรู้กับผมคือ อ.บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ ซึ่งท่านได้กรุณาอธิบายให้พวกเราผู้เข้า
ร่วมอบรมฟัง จนหลายๆคนเริ่มเข้าใจและปฏิบัติตามแนวทางของ Constructionis ได้) ซึ่งเมื่อได้สัมผัสมากๆ
เข้าก็เริ่มมองเห็นประโยชน์นานับประการ โดยมองว่าทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่พัฒนาคนในทุกๆด้านไม่เฉพาะสติ
ปัญญาเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมให้รู้จักตนเองและสังคมเพื่อจะได้ปรับตนเองให้เข้ากับสังคม ได้อย่างมีความสุข
ฝึกให้คิดเป็น , ทำเป็น , แก้ปัญหาเป็น ทฤษฎีนี้เหมาะกับคนไทยเพราะมีความยืดหยุ่นสูง ,ไม่ตีกรอบมากเกิน
ไป , เป็นทฤษฎีที่ตอบสนองความต้องการรายบุคคลของผู้เรียนได้ดี


ทฤษฎี Constructionism นั้น ถ้าจะศึกษาให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งควรจะลงมือปฎิบัติโดยเข้าไปสัมผัสด้วยตน
เอง (คล้ายกับการปฎิบัติธรรมะ) ซึ่งผมเองสังเกตว่าผู้เข้าร่วมอบรมส่วนใหญ่(ในช่วงแรกๆ)จะต้องใช้เวลาในการ
ปรับความคิดพอสมควร และเมื่อปฎิบัติจนเริ่มมองเห็นประโยชน์ของทฤษฎี Constructionism แล้ว หลายๆ
ท่านอยากจะนำทฤษฎีนี้ไปใช้กับการเรียนการสอนของตนเองแต่ยังไม่รู้ว่าจะ นำไปประยุกต์ใช้อย่างไร ด้วยเหตุ
นี้ผมจึงเขียนเอกสารนี้ออกมาโดยแยกแยะทฤษฎี Constructionism ออกเป็นหัวข้อย่อยๆ เพื่อเป็นแนวทางที่
ง่ายขึ้นสำหรับการทำความเข้าใจ การนำเสนอเนื้อหาจะแบ่งเป็นสองช่วง ในช่วงแรกจะเป็นการเสนอปัญหาการ
เรียนการสอนที่เราพบบ่อยๆ และปัญหานั้นนำไปสู่ปัญหาผลผลิตทางการศึกษาของเราที่ขาดคุณภาพ ส่วนใน
ช่วงที่สองจะเป็นการเสนอทฤษฎี Constructionism เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้ในเรียนการสอน


อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันดีในผู้ที่ศึกษาทฤษฎีนี้ว่าการเรียนรู้ของเราแต่ ละคนมีความแตกต่างกัน และเนื่อง
จากเอกสารนี้เขียนจากประสบการณ์การเรียนรู้ของตัวผู้เขียนเอง ดังนั้นผู้เขียนจึงไม่ได้หวังให้เอกสารนี้เป็น
แนวทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับ ผู้อ่านทุกท่าน แต่เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นซึ่งมาจากการทัศนะ (ได้
เห็น) ของผู้เขียนเอง เท่านั้น


ตอนที่ 1 ปัญหาการเรียนการสอนของไทย :

เมื่อ ปลายเดือนพฤษจิกายน(2541) ผมได้ดูรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งเป็นการแสดงของเด็กที่มีชื่อกลุ่มว่า
สมัชชาเด็ก เด็กเหล่านี้ได้แสดงละคร แสดงหุ่นกระบอก หนังตะลุง และแสดงสิ่งต่างๆ เพื่อถ่ายทอดความคิด
เห็นและความรู้สึกของพวกเขาเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการ สอนที่พวกเขาได้พบ เมื่อดูแล้วมีความรู้สึกว่าเด็กๆ
สะท้อนภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียนการ สอนได้อย่างดี ปัญหาการเรียนการสอนที่ทำให้เด็กไม่มีความสุข
ในการเรียนถูกถ่ายทอดออกมาหลาย เรื่อง เช่น สภาพการเรียนการสอนที่น่าเบื่อหน่าย คุณครูใจร้ายที่ไม่เข้า
ใจเด็กเฆี่ยนตีและดุเด็ก คุณครูที่ไม่ค่อยมาสอน คุณครูที่สั่งการบ้านมากเกินไปจนเด็กต้องทำงานดึก หรือคุณ
ครูขี้เมาที่มีกลิ่นสุราติดตัวเข้ามาสอน ในทางกลับกันเด็กๆอยากให้คุณครูรักและเข้าใจพวกเขามากขึ้นไม่ดุพวก
เขาและไม่ ทำโทษพวกเขา(จากสาเหตุที่เขายังเด็กเขายังไม่รู้) อยากให้คุณครูใจดีกับพวกเขา มีเทคนิคการ
สอนที่สนุกและอยากมีสภาพห้องเรียนที่พวกเขาเรียกว่าห้องเรียนใน ฝันเป็นห้องเรียนที่มีแต่ความสุขในการ
เรียนรู้

การเสนอปัญหาต่างๆเหล่านี้จากมุมมองของเด็ก ทำให้คนที่ดูหลายๆคนมีความเห็นพ้องกับเด็กๆเนื่องจาก
สมัยที่ตนเองเรียนก็เคย สัมผัสกับบรรยากาศเหล่านี้มาแล้ว จากสิ่งที่เด็กๆเสนอมาครูอาจารย์บางท่านอาจมี
ความรู้สึกคาดไม่ถึงว่าเด็กๆจะ สังเกตการสอนของครูโดยมองเห็นปัญหาและสะท้อนปัญหาเหล่านี้ออกมาได้
สิ่งที่เด็กๆเสนอออกมาทำให้ครูหลายๆคนเข้าใจความรู้สึกของเด็กๆมากขึ้น มีความรู้สึกว่าในการเรียนการสอน
ที่ผ่านมาคุณครูมักจะละเลยความรู้สึกของ เด็กๆเหล่านี้ และจากการได้เห็นสิ่งที่เด็กๆเสนอออกมาทำให้ครูบาง
ท่านเริ่มปรับเปลี่ยนการ สอนรวมทั้งหาวิธีการสอนที่เหมาะสมมาใช้กับวิชาที่ตนเองสอน เพื่อพยายามให้เกิด
ห้องเรียนในฝันอย่างที่เด็กๆต้องการ

พวก เราหลายคนอาจจะเคยสัมผัสกับปัญหาที่เด็กๆนำเสนอมาบ้าง ทั้งในบทบาทของครูเอง หรือบทบาทซึ่ง
ครั้งหนึ่งตนเองก็เคยเป็นนักเรียน สิ่งที่พบบ่อยในสมัยที่เราเป็นผู้เรียน คือ ความเบื่อหน่ายต่อการเรียน , ง่วง
และหลับในห้องเรียน , ลองนึกดูว่าในสมัยที่เราเป็นนักเรียนก็คงมีบางวิชาที่เราไม่ชอบและเปรียบ วิชานั้น
เสมือน "ยาขม" สำหรับเรา เมื่อเราไม่ชอบเราก็ไม่อยากเข้าเรียน ถ้าเข้าไปเรียนก็รู้สึกเบื่อเพราะเรียนไม่รู้เรื่อง ,
ไม่มีความสุขกับการเรียนวิชานั้น หรือถ้าเลือกได้เราก็คงไม่เรียนวิชาที่เปรียบเสมือน"ยาขม" สำหรับเรา แต่ใน
ทางกลับกันมีบางวิชาที่เรารู้สึกว่าเราชอบ "เราอยากเรียน เรามีความสุขกับการเรียนวิชานั้นมาก เมื่อถึงวันที่
มีวิชานี้เราจะรู้สึกดีใจ (แต่ถ้าวันไหนมีวิชาที่เราชอบอยู่ร่วมกับวิชาที่เป็นยาขมเราก็จะดีใจเพียง ครึ่งเดียว)
จากประสบการณ์ตอนเป็นผู้เรียน เราเคยสังเกตหรือไม่ว่าทำไมเราชอบวิชานี้หรือไม่ชอบวิชานี้ รวมทั้งบางวิชา
ที่เราชอบแต่เพื่อนๆกลับไม่ชอบ หรือบางวิชาที่เราไม่ชอบเพื่อนๆกลับชอบเรียน เป็นเพราะอะไร? คำตอบหนึ่งที่
สามารถอธิบายได้ คือ คนเราแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ในด้านต่างๆเช่น ความสนใจ ความสามารถ ความ
พร้อมและความต้องการ และสิ่งที่สำคัญคือคนเราแต่ละคนเรียนรู้ไม่เหมือนกันบางคนเรียนรู้ได้รวด เร็วในเรื่อง
หนึ่งแต่เรียนรู้ได้ช้าในอีกเรื่องหนึ่ง

นอกจากนั้นในเรื่องของความสนใจและความต้องการของผู้เรียนนั้นมีความสำคัญมาก กับการเรียนรู้ของแต่ละ
คน โดยอาจจะมองย้อนกลับไปในอดีตของเรา เราเองจะพบว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่เราเรียนรู้ได้เองโดยไม่ต้อง
มีคนสอนหรือ ต้องมานั่งเรียนในห้องเรียน นั่นคือเราเรียนรู้ได้เองจากความสนใจส่วนตัวหรือเรียนรู้ได้จากความ
ต้องการ ของเราเพราะเรารักและสนใจที่จะเรียนรู้สิ่งนั้นโดยไม่ต้องมีใครมาบอกหรือมา สั่งให้เรียน ถึงแม้ว่าบาง
ครั้งจะมีปัญหาเกิดขึ้นเราก็จะแสวงหาวิธีการแก้ปัญหานั้นด้วย ตัวเราเองจากแหล่งความรู้ต่างๆ จะเห็นว่าถ้าครู
จัดบรรยากาศการเรียนการสอนที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่าง บุคคลและทำให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญและ
เกิดความสนใจในเนื้อหาที่สอนจะทำให้ ผู้เรียนมีความชอบ และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง , แสวงหา
ความรู้ด้วยตนเองนอกเหนือจากการสอนในห้องเรียน

ใน ความเป็นจริงบรรยากาศการเรียนการสอนที่เราเคยสัมผัสหรือเคยเรียนนั้นไม่ได้ จัดการเรียนการสอนให้สอด
คล้องกับ หลักความแตกต่างระหว่างบุคคลมากนัก อาจจะเป็นเพราะว่ามีจำนวนนักเรียนมากขึ้น (หนึ่งห้องมีนัก
เรียนประมาณ 30 - 50 คน แถมในบางวิชามีการรวมห้อง จำนวนนักศึกษาก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 70 - 100 คน)
โอกาสที่ครูเองจะเข้าไปสัมผัสกับผู้เรียนเพื่อตอบสนองความต้องการราย บุคคลมีน้อยลง อีกทั้งการเรียนการ
สอนโดยมีครูเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เป็นวิธีที่ง่ายต่อ การสอนจึงเป็นเทคนิคที่นิยมนำมาใช้สอน ถ้าเรามองการ
สอนที่เราเคยพบสมัยที่เราเป็นผู้เรียน เทคนิคการสอนที่เราพบมากที่สุดคือการสอนแบบบรรยายโดยมีครูเป็น
ศูนย์กลาง กล่าวคือ ครูจะยืนอยู่หน้าชั้นเรียนสอนเนื้อหาสิ่งเดียวกันในเวลาเดียวกันต่อนักเรียน จำนวนมาก
และครูส่วนใหญ่ก็จะตั้งความหวังไว้ว่านักเรียนทุกคนจะต้องเรียนได้เท่าๆกัน ซึ่งขัดกับหลักจิตวิทยาว่าด้วย
ความแตกต่างระหว่างบุคคล ที่คนแต่ละคนมีความสนใจ ความสามารถ ความถนัด และมีวิธีเรียนรู้ที่แตกต่าง
กัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้เรียนแต่ละคนจะรับความรู้ที่ถ่ายทอดได้ไม่เท่ากัน การสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลาง
เพียงอย่างเดียวจะไม่ตอบสนองความแตกต่างราย บุคคลได้ครบทั้งหมด จึงทำให้ผู้เรียนบางส่วนเกิดความเบื่อ
หน่าย ไม่อยากเรียน และเกิดพฤติกรรมต่างๆที่ครูคิดว่าเป็นปัญหา


สภาพการศึกษาของไทยและปัญหาผลิตผลทางการศึกษา :

ถ้าเรามองการเรียนการสอนจากอดีตก่อนที่จะมีระบบโรงเรียน สมัยก่อนนั้นพ่อแม่จะเป็น "ครู" ผู้สั่งสอนลูก
โดยมุ่งสอนให้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง พ่อแม่มีอาชีพอย่างไรก็มักสั่งสอนอาชีพนั้นแก่ลูกของ
ตนเอง เช่น พ่อแม่มีอาชีพเกษตรกรก็สอนอาชีพนั้นแก่ลูกๆ เพื่อที่ลูกๆจะได้มีทักษะอาชีพติดตัวไปทำมาหากิน
ในอนาคต ในการสอนอาชีพก็คอยแนะนำทักษะต่างๆให้กับลูกโดยใกล้ชิด ส่วนลูกก็ได้ลงมือปฏิบัติงานจริง
ภายใต้สภาพแวดล้อมจริงที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และเมื่อมีปัญหาก็จะให้คำแนะนำกับลูกเป็นรายบุคคล หรือนำลูก
ไปฝากไว้ที่วัดหรือสำนักต่างๆ ซึ่งนอกจากจะได้เรียนสรรพวิชาต่างๆแล้วก็ยังมีการปลูกฝังคุณธรรมไปในตัว
ด้วย

ต่อ มาในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยเริ่มมีระบบโรงเรียน โดยทรงจัดตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเพื่อเตรียมคน
เป็นข้าราชการ ตั้งแต่นั้นมาชาวไทยก็ถือว่าการศึกษาเป็นวิถีทางหนึ่งที่จะยกฐานะทาง เศรษฐกิจและสังคม
ของตนเองหรือบุตรธิดาให้สูงขึ้น ชาวไทยมีทัศนคติที่ดีต่อการศึกษามาก พ่อแม่พยายามที่จะส่งลูกๆให้เข้าใน
ระบบโรงเรียนและส่งเสียให้ได้เรียนสูงๆ เมื่อเริ่มมีระบบโรงเรียนนักการศึกษาในสมัยนั้นก็รับแนวคิดการจัดหลัก
สูตรตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลต่อการศึกษาของไทย การสอนได้เปลี่ยนจากการสอนแบบเดิมที่มุ่งสอนให้นำ
ความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ อย่างแท้จริง จากเดิมมีครูสอนลูกศิษย์เพียง 2 - 3 คน เปลี่ยนมาเป็นการสอนที่มีครู
ยืนอยู่หน้าชั้นเรียนให้นักเรียน 30 - 50 คนนั่งฟังภายในห้องเรียนสี่เหลี่ยมและคอยจดตามคำสอน กลายเป็น
ภาพที่ติดแน่นมาจนถึงปัจจุบันอย่างยากที่จะลบเลือน

จากการที่บรรยากาศการเรียนการสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้มานานนับร้อยปี ส่งผลให้เกิด
ปัญหาทางการเรียนการสอนขึ้น กล่าวคือ ผลผลิตทางการศึกษาของเราขาดคุณลักษณะที่สำคัญ 6 ประการ คือ...

1) กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็นต่อชุมชน ......
2) สามารถตัดสินใจด้วยตนเอง ......
3) รู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ......
4) รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ......
5) มีความคิดในการพัฒนาและความคิดสร้างสรรค์ ......
6) มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม


ปัญหาต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? และเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนอย่างไร ?
ขออธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้

ใน บรรยากาศการเรียนการสอนที่เน้นให้ครูเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ด้วยความเชื่อที่มีมาแต่โบราณว่าครูจะต้อง
มีความรู้ดีกว่านักเรียน การเรียนการสอนส่วนใหญ่จึงเป็นลักษณะครูถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียน ส่วนผู้เรียนเป็น
ฝ่ายรับความรู้จากครู ในขณะที่ครูส่วนใหญ่มีความคิดที่ว่าจะต้องถ่ายทอดเนื้อหาให้กับผู้เรียนให้ มากที่สุด
เพราะเนื้อหาที่สอนนั้นมีประโยชน์กับตัวผู้เรียน ดังนั้นบรรยากาศการเรียนการสอนที่เราพบส่วนใหญ่ ครูจึงเป็นผู้
มีบทบาทอยู่ตลอดเวลา(เป็นพระเอกหรือนางเอก) นักเรียนไม่มีโอกาสได้พูดและแสดงความคิดเห็นเท่าใดนัก
(เป็นตัวประกอบ) ผลจึงปรากฏว่า เมื่อนักเรียนเติบใหญ่ขึ้น จึงไม่กล้าแสดงความคิดเห็นต่อชุมชน บางคนกล้า
แต่ไม่รู้จักแสดงความคิดเห็น ซึ่งการแสดงความคิดเห็นนั้นเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ต้องมีการฝึกฝน และควรจะมี
การปลูกฝังตั้งแต่เยาว์วัย ไม่ใช่เติบใหญ่ขึ้นมาแล้วจะกล้าแสดงความคิดเห็นโดยอัตโนมัติ นอกจากนั้นการ
เรียนการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลางที่ถ่ายทอดเนื้อหาให้นักเรียน แต่เพียงฝ่ายเดียว ยังทำให้นักเรียนขาด
โอกาสในการตัดสินใจด้วยตนเอง เพราะผู้เรียนมีโอกาสได้ปฏิบัติกิจกรรมที่ต้องตัดสินใจด้วยตัวเองน้อยมาก
เรื่องนี้ครูหลายท่านอาจจะมีประสบการณ์คล้ายๆกัน คือ พบว่านักศึกษาที่เรียนถึงระดับอุดมศึกษา แต่ตัดสินใจ
แก้ไขปัญหาด้วยตนเองไม่ได้

บรรยากาศการเรียนการสอนในห้องเรียนที่ครูต้องสอนเนื้อหาให้ทันตามหลักสูตร ซึ่งเต็มไปด้วยเนื้อหามาก
มาย เนื้อหาบางส่วนเปรียบเสมือน"ขยะ" คือ เนื้อหาที่ไม่มีความจำเป็นต่อหรือสัมพันธ์ต่อชีวิตของนักเรียน แต่
ด้วยหน้าที่ ทำให้ครูหลายๆท่านต้องพยายามสอนเนื้อหาให้ทัน เปรียบเสมือนการ"กรอก"ความรู้ให้กับนักเรียน
โดยไม่ตั้งใจ จากปัญหานี้ ทำให้ครูต้องรีบเร่งจนไม่มีเวลาที่จะเปิดโอกาสให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็น กลุ่ม
(กิจกรรมในห้องเรียน) เมื่อไม่มีการทำงานเป็นกลุ่มทำให้ขาดโอกาสในการรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น และ
ยังขาดความเคารพตนเองและคนอื่น ผลจึงปรากฏว่า คนไทยส่วนใหญ่ทำงานร่วมกันไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ขอ
ยกตัวอย่างเช่น การแก้ปัญหาการจราจรของกรุงเทพฯ มีหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องมากมาย ซึ่งหน่วยงาน
ต่างๆที่เกี่ยวข้องน่าจะมีการประสานงานกัน แต่ปรากฏว่าหน่วยงานต่างๆกลับแยกกันทำอย่างอิสระ ดังจะเห็น
ได้จากงานบางอย่างเกิดความซ้ำซ้อนในขณะที่งานบางอย่างไม่มีผู้ดูแล ครั้นเมื่อถึงเวลาที่จะต้องปรับปรุง
แก้ไขงานของหน่วยงานหนึ่งและงานนั้นจะ ต้องสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นด้วยกลับไม่มีการประสานงานกันเท่า
ที่ควร

การ สอนความรู้ที่ครูเป็นผู้ให้ด้วยความหวังดี แต่ผู้เรียนไม่เห็นความสำคัญของสิ่งที่ครูให้แต่จำเป็นต้องรับ
ความรู้นั้น ลักษณะนี้เปรียบเสมือนการกรอกความรู้ให้ผู้เรียน การสอนแบบนี้ผู้เรียนจะนั่งฟังครูหรือฟังและจด
ตามครูอย่างเดียว เมื่อผู้เรียนไม่เห็นความสำคัญรู้แต่ว่าจะต้องเรียน เป็นอย่างนี้นานเข้าๆจึงเคยชินกับการรอรับ
ความรู้จากครู (มองว่าครูคือผู้สอนหรือผู้นำความรู้มาให้ส่วนตัวผู้เรียนเองคือผู้รอรับ การสอน) เมื่อผู้เรียนคิดเช่น
นั้นจึงขาดการฝึกแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สังเกตได้จากครูสอนแค่ไหนผู้เรียนก็รู้แค่นั้นความรู้ไม่มีการ
ต่อยอดเพราะ สิ้นสุดแค่ในชั้นเรียน ผลจึงปรากฏว่ามีผู้เรียนหลายคนจบการศึกษาออกไปทำงานและได้เผชิญ
กับปัญหาจริง (โดยเฉพาะปัญหาที่จะต้องมีการแสวงหาแนวทางแก้ไข)แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เพราะ
ปรับตัวไม่ทัน เคยแต่เป็นผู้รับอย่างเดียวไม่เคยแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทำให้มองไม่เห็นปัญหาหรือถ้าเห็น
ปัญหาก็ละเลยต่อปัญหานั้น เพราะไม่เคยฝึกคิดหาทางแก้ปัญหามาก่อน นอกจากนั้นการเรียนการสอนที่เน้น
ทฤษฎีมากๆโดยไม่เน้นการปฏิบัติ(เน้นแต่ ทฤษฎีที่ครูเป็นผู้ให้อย่างเดียว)ทำให้นักเรียนขาดโอกาสในการ
ปฏิบัติงานขาด การลงมือทำด้วยตนเอง เมื่อผู้เรียนไม่ได้สัมผัสบรรยากาศในการเรียนรู้ด้วยตนเองทำให้ขาด
การเผชิญ ปัญหา(ไม่รู้ว่าอะไรคือปัญหา) ส่งผลทำให้ขาดการพิจารณาสาเหตุแห่งปัญหา(ไม่รู้ว่าสิ่งใดคือ
สาเหตุของปัญหา นั้น) ขาดการคิดหาแนวทางการแก้ปัญหา และขาดการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหานั้น เมื่อจบออก
ไปจึงไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานและปัญหาชีวิตได้ เท่าใดนัก

นอก จากนี้จะเห็นว่าผลผลิตทางการศึกษาของเราส่วนใหญ่ขาดความคิดในการพัฒนาและขาด ความคิดสร้าง
สรรค์ เพราะการเรียนการสอนที่ครูเป็นผู้ป้อนความรู้อย่างเดียวแถมยังตีกรอบให้ ปฏิบัติตาม ทำให้ผู้เรียนขาด
โอกาสในการคิดแสวงหาแนวทางอื่นๆนอกเหนือจากที่ครูป้อนให้ เช่น ครูสั่งให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมอะไรสัก
อย่างหนึ่งก็มักจะมีตัวอย่างหรือมี กรอบเพื่อให้ปฏิบัติตาม(การปฏิบัติงานดังกล่าวขอยกเว้นงานที่เสี่ยงต่อ
อันตรายหรือการเสียหายทางทรัพย์สินหรือกรณีอื่นๆตามที่ท่านเห็นควร) ถ้านักเรียนทำนอกเหนือจากที่ครูบอก
ถือว่าผิด เช่น การเรียนวิชาศิลปะในสมัยเด็ก ครูก็มักจะวาดรูปให้นักเรียนดูบนกระดานสมมุติว่าครูวาดรูปนก งาน
ที่ครูสั่งให้ทำก็คือวาดรูปนกตามที่ครูสอน ผู้เรียนส่วนใหญ่ก็จะวาดรูปนกตามครู ถ้าสมมุติว่าเด็กชายปรีชานำ
หลักที่ครูสอนเรื่องการวาดรูปนกมาวาดเป็น รูปกระต่าย เมื่อนำมาส่งก็อาจโดนครูตำหนิได้ การสอนลักษณะดัง
กล่าวทำให้ผู้เรียนขาดโอกาส"คิด"ในการออกแบบหรือพัฒนาสิ่ง ใหม่ๆ เพราะยึดติดกับกรอบที่ครูวางไว้จน
เคยชิน มีผลทำให้ผู้เรียนไม่สามารถประยุกต์ความรู้ที่เรียนมากับการแก้ปัญหาในการทำ งานหรือปัญหาชีวิตได้
เพราะถูกตีกรอบทางความคิดจนเคยชิน ยิ่งไปกว่านั้นผลจากการถูกตีกรอบทางความคิดจนเคยชิน ส่งผลทำให้
ความคิดต่างๆของผู้เรียนถูกตีกรอบโดยไม่รู้ตัว เมื่อคิดจะทำอะไรสักอย่างหนึ่งเขาก็มักจะตีกรอบทางความคิด
ขึ้นมาด้วยความเคย ชินว่าห้ามทำอย่างโน้น ไม่ควรทำอย่างนี้ ทำให้ขาดความคิดสิ่งใหม่ๆขาดการมองด้วยมุม
มองที่หลากหลาย หรือเรียกว่าขาดความคิดสร้างสรรค์นั่นเอง

ใน ด้านหน้าที่ของพลเมือง การเป็นสมาชิกที่ดีนั้นควรจะมีความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคมด้วย การเรียน
การสอนหน้าที่ของพลเมืองส่วนใหญ่มักจะสอนเนื้อหาเกี่ยวกับการเป็น พลเมืองที่ดี แต่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน
ได้ฝึก เป็นผลให้ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่มักดูดายต่อปัญหา ขาดความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
ปัญหานี้ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการสอนในชั้นเรียนที่มักจะมีบรรยากาศการเรียน การสอนที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการ
เรียนรู้ร่วมกัน ส่วนใหญ่จะมีบรรยากาศการเรียนการสอนที่เป็นวิชาการสูงเน้นทฤษฎีมากผู้เรียน ต้องนั่งเรียน
อย่างมีระเบียบ ทำให้มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันน้อยมาก ในทางกลับกันมีการแข่งขันกันเรียนมากขึ้น ส่งผล
ทำให้ผู้เรียนขาดความเอื้ออาทรต่อเพื่อน ขาดบรรยากาศที่เป็นกันเอง ทำให้เป็นแหล่งบ่มเพาะบุคลากรที่
มี "ความใจแคบ" ออกมาสู่สังคม ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและยากที่จะแก้ไขได้

จาก ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการเสนอเพื่อให้เห็นปัญหาที่เกิดจากการเรียนการสอนที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบัน
ซึ่งปัญหาบางส่วนนั้นเกิดจากระบบการศึกษา ความเชื่อและค่านิยมทางการศึกษาของคนไทยที่มีมาแต่อดีต
รวมทั้งบางส่วนมาจากวิธีการสอนที่ถ่ายทอดกันมาเป็นรุ่นๆ โดยครูมีบทบาทที่เป็นผู้ให้มากเกินไป(ด้วยความ
หวังดีหรือความเคยชิน) จนผู้เรียนขาดโอกาสในการเรียนรู้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามผมมิได้มีเจตนาที่จะชี้ให้
เห็นว่าการสอนที่มีครูเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้นั้นไม่ดี หรือควรจะยกเลิกการสอนแบบเดิมทั้งหมด จริงๆแล้ว
การสอนแบบครูเป็นศูนย์กลางมีประโยชน์ และเหมาะสมกับการสอนเนื้อหาหลายๆอย่าง แต่ผมมองว่าการเรียน
การสอนควรจะมีทางเลือกอื่นๆที่น่าสนใจและก่อให้เกิดการ เรียนรู้ได้ดีเช่นเดียวกันหรืออาจจะดีกว่า มีการใช้
เทคนิคการสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นหลัก ซึ่งจะมีทั้งทักษะการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลางและ
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางผสม ผสานกันไป โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมมากขึ้น ให้เขาได้ใช้ความสามารถ
ของเขาตามทางที่เขาถนัด

จากปัญหาและสาเหตุเหล่านี้ เราอาจจะตั้งคำถามถามตัวเองว่าควรให้โอกาสเหล่านี้กับนักเรียนของเราหรือ
ไม่ และถึงเวลาหรือยังที่เราจะหาวิธีการสอนวิธีอื่นๆเข้ามาเสริมการเรียนการสอน เพื่อตอบสนองความแตกต่าง
ระหว่างบุคคลมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีชีวิตชีวาและมีความสุขในการเรียน มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี ผู้
เรียนได้ฝึกคิด ฝึก


ปฏิบัติ ฝึกเผชิญปัญหาและหาทางแก้ไขด้วยตนเองมากขึ้น เมื่อสำเร็จการศึกษาออกมาก็จะเป็นทรัพยากร
บุคคลที่มีคุณภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจและสติปัญญา นอกจากนั้นยังฝึกให้เขาพร้อมที่จะไปอยู่ในสังคมได้
อย่างมีความสุข ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างใดก็ตาม เขาจะรู้จักแก้ปัญหาได้ด้วยตัวของเขาเอง

ทฤษฎี Constructionism เป็นทฤษฎีหนึ่งที่ผมขอเสนอให้เป็นทางเลือกอีกทาง (อาจจะนำมาใช้ประยุกต์กับ
การเรียนการสอนของท่านหรือไม่ก็ได้ เพราะเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งเท่านั้น) ในการนำมาใช้พัฒนาการเรียน
การสอน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 27/08/2009 6:56 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 27/08/2009 12:32 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.kmutt.ac.th/organization/Education/Technology/tech_ed/constructionism/constructionism2.html


ตอนที่ 2 รู้จักกับConstructionism


Constructionism คืออะไร ?
Constructionism เป็นทฤษฎีทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้นโดย Professor Seymour Papert แห่ง M.I.T.
(Massachusette Institute of Technology) ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม (Constructionism) หรือทฤษฎี
การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

ประสบการณ์ใหม่ / ความรู้ใหม่

+

ประสบการณ์เดิม / ความรู้เดิม

=

องค์ความรู้ใหม่/บุคคล



ทฤษฎี คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม มีสาระสำคัญที่ว่า ความรู้ไม่ใช่มาจากการสอนของครูหรือผู้สอนเพียงอย่างเดียว
แต่ความรู้จะเกิดขึ้นและสร้างขึ้นโดยผู้เรียนเอง การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ลงมือกระทำด้วยตน
เอง (Learning by doing) นอกจากนั้นมองลึกลงไปถึงการพัฒนาการของผู้เรียนในการเรียนรู้ซึ่งจะมี
มากกว่าการได้ลงมือปฏิบัติสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงปฏิกริยาระหว่างความรู้ในตัวของผู้เรียนเอง
ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมภายนอก หมายความว่า ผู้เรียนจะสามารถเก็บข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกและ
เก็บเข้าไปเป็นโครงสร้าง ของความรู้ภายในสมองของตนเอง ขณะเดียวกันก็สามารถเอาความรู้ภายในที่ตนเอง
มีอยู่แล้วแสดงออกมาให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อมภายนอกได้ ซึ่งจะเกิดเป็นวงจรต่อไปเรื่อยๆได้ คือ ผู้เรียนจะเรียนรู้
เองจากประสบการณ์ สิ่งแวดล้อมภายนอก แล้วนำข้อมูลเหล่านี้กลับเข้าไปบันทึกในสมองผสมผสานกับความรู้
ภายในที่มี อยู่ แล้วแสดงความรู้ออกมาสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก ดังนั้นในการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
(Learning by doing) จะได้ผลดีถ้าหากว่าผู้เรียนเข้าใจในตนเอง มองเห็นความสำคัญในสิ่งที่เรียนรู้และ
สามารถเชื่อมโยงความรู้ระหว่างความรู้ ใหม่กับความรู้เก่า(รู้ว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้าง) และสร้างเป็นองค์
ความรู้ใหม่ขึ้นมา ซึ่งทั้งหมดจะอยู่ภายใต้ประสบการณ์และบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ นั่นเอง

ซีมัวร์ พาร์เพิร์ท (Seymour Papert) ได้ให้ความเห็นว่า ทฤษฎีการศึกษาการเรียนรู้ ที่มีพื้นฐานอยู่บนกระบวน
การการสร้าง 2 กระบวนการด้วยกัน

สิ่งแรก คือ ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการสร้างความรู้ใหม่ขึ้นด้วยตนเอง ไม่ใช่รับแต่ข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาในสมอง
ของผู้เรียนเท่านั้น โดยความรู้จะเกิดขึ้นจากการแปลความหมายของประสบการณ์ที่ได้รับ

สังเกตว่าในขณะที่เรา สนใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่อย่าง ตั้งใจเราจะไม่ลดละความพยายาม เราจะคิดหาวิธีการ
แก้ไขปัญหานั้นจนได้

สิ่งที่สอง คือ กระบวนการการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากกระบวนการนั้นมีความหมายกับผู้เรียนคน
นั้น

การ เรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อ ได้รับประสบการณ์ตรงหรือลงมือทำด้วยตน
เอง (Learning by doing)
ได้มีส่วนร่วมในการสร้างที่มีความหมายกับตนเอง ทำให้ผู้เรียน
สามารถเชื่อมโยงผสมผสานความรู้ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้ ที่มีอยู่เดิมและสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา
การลงมือทำด้วยตนเองโดยการได้ทำสิ่งที่ตนเองชอบหรือสนใจ ซึ่งในขณะที่ทำสิ่งที่ตนเองสนใจหรือชอบก็จะ
ได้ความรู้จากกระบวนการที่ทำไป พร้อมๆกัน

จากสาระสำคัญดังกล่าว เมื่อเราสังเกตุตัวเองขณะที่เข้าร่วมอบรม จะเห็นว่ามีสาระสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้
ตามทฤษฎี Constructionism กล่าวคือ เราได้เรียนรู้โดยการลงมือทำด้วยตนเอง(Learning by doing) เรา
ทำสิ่งที่เราสนใจอยากจะทำและทำในสิ่งที่เราเป็นผู้คิดเองว่าจะทำอะไร(Jไม่มีใครบังคับ) ในขณะที่ทำเราก็จะ
เรียนรู้สิ่งต่างๆที่เป็นความรู้ไปพร้อมๆกัน

เราได้จัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางที่เหมาะสมของเราเอง เราเกิดความใส่ใจกับงานของเรา,เกิดความสุข
ในการทำงาน,เกิดความภาคภูมิใจ เมื่อทำสำเร็จในการทำสิ่งต่างๆที่เราคิดเอง แม้บางครั้งเมื่อเกิดปัญหาขึ้นเรา
ก็จะพยายามหาวิธีการแก้ไขปัญหาตามแนวทาง ที่เราถนัดและเป็นแนวทางที่เหมาะสมกับตัวเราเอง สังเกตว่า
ในขณะที่เราสนใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่อย่างตั้งใจเราจะไม่ลดละความ พยายาม เราจะคิดหาวิธีการแก้ไขปัญหา
นั้นจนได้

ลักษณะการเรียนรู้อย่างมีความสุขนี้ครูหลายคนอยากให้เกิดขึ้น แต่กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นได้อย่างไร?และมีวิธี
การอย่างไร? ปัญหานี้หลายๆท่านคงเคยคิดอยู่ในใจ ซึ่งเรื่องตัวนี้ผมเองก็เคยสังเกตจากการเข้าร่วมอบรมอยู่
หลายครั้ง และพบว่าการ อบรมส่วนใหญ่อยู่ภายใต้เงื่อนไข 3 ประการ คือ

1. ผู้เรียนได้ลงมือประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง (ได้สร้างงาน) ตามความสนใจ ตามความชอบหรือความถนัด
ของแต่ละบุคคล

2. ผู้เรียนได้อยู่ในบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่ดี มีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลาย
(Many Choice) และเหมาะสำหรับการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง อย่างมีความสุข

3. มีเครื่องมืออุปกรณ์ในการประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม โดยเครื่องมือนั้นจะต้องใช้สร้างงานอย่าง
สอดคล้องกับ2 ข้อที่ได้กล่าวมา คือ 1. มีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลาย (Many Choice) และ 2. การ
ได้สร้างสิ่งที่มีความหมายกับตนเองอันจะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ด้วย ตนเอง


สรุป

ทฤษฎี คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม(Constructionism) หรือทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เป็นทฤษฎีการ
เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองทฤษฎี คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม มีสาระสำคัญที่ว่า ความรู้ไม่ใช่
มาจากการสอนของครูหรือผู้สอนเพียงอย่างเดียว แต่ความรู้จะเกิดขึ้นและถูกสร้างขึ้นโดยผู้เรียนเอง การเรียนรู้
จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning by doing) มีพื้นฐานอยู่บนกระบวนการ
การสร้าง 2 กระบวนการด้วยกัน

สิ่งแรก คือ ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการสร้างความรู้ใหม่ขึ้นด้วยตนเอง ความรู้จะเกิดขึ้นจากการแปลความหมายของ
ประสบการณ์ที่ได้รับ หากเป็นประสบการณ์ตรงที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำด้วยตนเองจะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมี
ความหมาย

สิ่งที่สอง คือ กระบวนการการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากกระบวนการนั้นมีความหมายกับผู้เรียนคน
นั้น

ดังนั้นในกระบวนการสอนของครูจึงควรให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้จากสิ่งที่เขามีอยู่และพัฒนาต่อยอดไปด้วย
ตัวของเขาเอง การสอนแบบครูเป็นศูนย์กลางควรจะต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระและเน้นที่ตัวผู้
เรียนเป็นหลัก การสอนแบบยัดเยียดความรู้จะทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้น้อยกว่าการให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตน
เอง

อย่างไรก็ตามผมมีความคิดว่าครูควรจะต้องมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการสอนของตนเองแต่ละครั้งให้
ชัดเจน พิจารณาเนื้อหาสาระที่จะสอนและวิธีการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้
และควรให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุดหรืออย่างน้อยก็ได้มีโอกาสคิดพิจารณาด้วยตัวของเขาเอง เพื่อให้
ความรู้ที่สอนนั้นมีความหมายกับตัวผู้เรียนเอง


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 27/08/2009 8:37 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 27/08/2009 12:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.kmutt.ac.th/organization/Education/Technology/tech_ed/constructionism/constructionism3.html


ตอนที่ 3 แนวคิดพื้นฐานและหลักการ



Constructionism เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมากจากทฤษฎีของความรู้ (Theory of Knowledge) โดย ชอง
เปียเจีย์ (Jean Piaget) นักจิตวิทยาชาวสวิสผู้มีชื่อเสียงมาก มีความคิดว่าเด็กๆไม่ใช่ท่อที่ว่างเปล่าที่ผู้ใหญ่
จะเทข้อมูลและความรู้ ต่างๆเข้าไป เด็กคือผู้สร้างความฉลาดและการเรียนรู้ของเขาเอง จะเห็นว่าเด็กเป็นผู้มี
ความสามารถ มีพรสวรรค์ที่จะเรียนรู้ได้ตลอดเวลา เด็กเริ่มเรียนรู้จากประสบการณ์ในโลกนี้ตั้งแต่แรกคลอดและ
มีสิ่งเหล่านี้ ตั้งแต่ก่อนเข้าเรียนในโรงเรียนด้วยซ้ำ ซึ่งเรียกวิธีนี้ว่า เปียเจต์เลิร์นนิ่ง (Piagetion Learning)
คือ การเรียนรู้โดยไม่ต้องได้รับการสอน เช่น เด็กพูดได้โดยไม่ต้องจับมานั่งสอน หรือเด็กสามารถเรียนรู้รูปทรง
เรขาคณิตต่างๆจากสิ่งแวดล้อม

นอก จากนี้ เปียเจีย์ ยังอธิบายว่าพัฒนาการเกี่ยวกับความคิด ความเข้าใจของบุคคลนั้นเกิดจากการที่บุคคล
พยายามจะปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสม ดุลย์เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การปรับตัวนี้บุคคลจะใช้กระบวนการ
2 อย่าง คือกระบวนการที่ เปียเจีย์ เรียกว่า การดูดซึมหรือการกลมกลืน (assimilation) และการปรับความแตก
ต่าง (acommodation)

การดูดซึม(assimilation) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อได้พบหรือปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆที่ไม่มีอยู่ใน
สมองตนเอง บุคคลจะรับหรือดูดซึมเก็บเข้าไปไว้เป็นความรู้ใหม่ของตน

การ ปรับความแตกต่าง (acommodation) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อได้พบหรือปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
ใหม่ๆที่ สัมพันธ์กับความคิดเดิมที่มีอยู่ในสมอง บุคคลจะเริ่มปรับความแตกต่างระหว่างของใหม่กับความคิดเดิม
จนเกิดความเข้าใจ ว่าควรจะทำอย่างไรกับสิ่งใหม่นี้ และเมื่อใดที่บุคคลสามารถปรับความคิดเดิมให้สอดคล้อง
กับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆได้ บุคคลจะอยู่ในสภาวะสมดุล แต่เนื่องจากบุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอด
เวลา ดังนั้นกระบวนการทั้ง 2 อย่าง จึงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

จากที่กล่าวมา สามารถสรุปแนวคิดให้สอดคล้องกับ Constructionism ว่า เป็นการเรียนที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง
ความรู้ ไม่ใช่เป็นผู้รับอย่างเดียว ความรู้เกิดขึ้นจากการสร้างขึ้นด้วยผู้เรียนเองไม่ใช่เกิดขึ้นจากครูหรือผู้สอน
โดยความรู้ที่ดีนั้นจะต้องรวมถึงปฏิกิริยาระหว่างความรู้ในตนเอง ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมภายนอก หมาย
ความว่าบุคคลสามารถเก็บข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกและเก็บเข้าไปสร้างเป็นโครงสร้างของความรู้ใน
สมองตนเอง ขณะเดียวกันก็สามารถเอาความรู้ภายในที่มีอยู่แล้วแสดงออกมาให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอก
ได้ ซึ่งจะเป็นวงจรต่อไปเรื่อยๆ คือ บุคคลจะเรียนรู้เองจากประสบการณ์ สิ่งแวดล้อมภายนอก แล้วนำข้อมูล
เหล่านี้กลับเข้าไปในสมองผสมผสานกับความรู้ภายในที่มีอยู่ แล้วแสดงความรู้ออกมาสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก

ดังนั้นทฤษฎี Constructionism จึงให้ความสำคัญกับโอกาสและวัสดุที่จะใช้ในการเรียนการสอนที่ผู้เรียน
สามารถ นำไปสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นภายในตัวผู้เรียนเองได้ ไม่ใช่มุ่งการสอนที่เป็นการป้อนความรู้ให้กับผู้เรียน
แต่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้จากการลงมือทำผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ ดำเนินกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองมี
ทางเลือกที่มากขึ้นโดยการลงมือปฏิบัติหรือ สร้างงานที่ตนเองสนใจ และสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาเองโดยการ
ผสมผสานระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ ใหม่

จากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของบุคคลเมื่อได้รับประสบการณ์และสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ซึ่งจะสามารถ
สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน หลักๆ คือ

1. Explore คือ การสำรวจตรวจค้น ในขั้นตอนนี้บุคคลจะเริ่มสำรวจตรวจค้นหรือพยายามทำความเข้าใจกับสิ่ง
ใหม่ (assimilation) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อได้พบหรือ ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆที่ไม่มีอยู่ในสมองของตน ก็จะ
พยายามรับหรือดูดซึมเก็บเข้าไปเป็นความรู้ใหม่ พฤติกรรมเหล่านี้หลายท่านอาจจะเคยสัมผัสด้วยตนเองหรือ
เคยสังเกตเห็นจากการ เข้าร่วมกิจกรรมการต่อเลโก้ & โลโก้ จะเห็นว่าในวันแรกที่ได้พบกับอุปกรณ์ที่เป็นตัว
ต่อ หลายๆคนที่ไม่มีประสบการณ์เลยอาจจะเริ่มจากสำรวจชิ้นส่วนต่างๆว่ามีอะไรบ้าง และแต่ละตัวใช้ทำงาน
อะไร หรือนั่งมองคนอื่นๆต่อไปก่อน อาจจะสอบถามจากเพื่อนที่นั่งใกล้ๆ หรือบางคนอาจจะดูจากคู่มือที่มีอยู่
เพื่อพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งใหม่นั้น

2. Experiment คือ การทดลอง ในขั้นตอนนี้จะเป็นการทดลองทำภายหลังจากที่มีการสำรวจไปแล้ว เป็นการ
ปรับความแตกต่าง(acommodation) เมื่อได้พบหรือปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆที่สัมพันธ์กับความคิดเดิม
ที่ มีอยู่ในสมอง นั่นหมายความว่าเริ่มจะปรับความแตกต่างระหว่างของใหม่กับของเดิมจนเกิดความ เข้าใจว่า
ควรจะทำอย่างไรกับสิ่งใหม่นี้ เช่น ในการต่อเลโก้ & โลโก้ หลังจากที่สำรวจชิ้นส่วนต่างๆและเก็บเป็นความรู้ไว้
ในสมองแล้ว ต่อไปอาจจะเป็นการทดลองสร้างโดยอาจจะสร้างตามตัวอย่างในคู่มือ หรืออาจจะทดลองต่อเป็น
ชิ้นงานที่ตนเองอยากจะทำ หรืออาจจะทดลองต่อตามเพื่อนๆก็ได้ แต่บางคนก็พยายามที่จะปรับตนเองโดย
การสอบถามเพื่อนที่สามารถทำได้(ซึ่งจุด นี้เองเป็นจุดเริ่มต้นของการทำให้ทราบว่าคนเป็นแหล่งความรู้ที่
สำคัญอย่าง หนึ่งและการแสวงหาความรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว) ในขั้นตอนนี้อาจจะมีลองผิดลองถูกบ้างเพื่อ
จะเก็บเกี่ยวเป็นประสบการณ์และ สร้างเป็นองค์ความรู้เก็บไว้ในสมองของตนเอง อย่างไรก็ตามในขั้นตอนนี้จะ
เกิดทั้งการดูดซึม (assimilation) และ การปรับความแตกต่าง(acommodation) ผสมผสานกันไป


3. Learning by doing คือ การเรียนรู้จากการกระทำ ขั้นนี้เป็นการลงมือปฏิบัติกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ
การได้ปฏิสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อมที่มีความหมายต่อตนเอง แล้วสร้างเป็นองค์ความรู้ของตนเองขึ้นมา ซึ่งจะ
คาบเกี่ยวกับขั้นตอนที่ผ่านมา ขั้นนี้จะเกิดทั้งการดูดซึม (assimilation) และ การปรับความแตกต่าง
(acommodation) ผสมผสานกันไป เช่นเดียวกัน

4. Doing by learning คือ การทำเพื่อที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ขั้นตอนนี้จะต้องผ่านขั้นตอนทั้ง 3 จน
ประจักษ์แก่ใจตนเองว่าการลงมือปฏิบัติกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือการได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่มี
ความหมายนั้น สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้และเมื่อเข้าใจแล้วก็จะเกิดพฤติกรรมในการเรียนรู้ที่ดี รู้จักคิดแก้
ปัญหา รู้จักการแสวงหาความรู้ การปรับตนเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ฯลฯ นั่นก็คือเกิดภาวะที่เรียก
ว่า "Powerfull learning" ซึ่งก็คือเกิดการเรียนรู้ที่จะดูดซึม (assimilation) และ การปรับความแตกต่าง
(acommodation) อยู่ตลอดเวลาอันจะนำไปสู่คำกล่าวที่ว่า"คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น" นั่นเอง

อย่าง ไรก็ตามขั้นตอนที่กล่าวมาทั้ง 4 ขั้นจะเห็นได้ว่ามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน จนบางทีไม่สามารถแยก
ออกว่าพฤติกรรมที่เห็นนั้นอยู่ในขั้นตอนไหนเพราะมีการ ผสมผสานกันอยู่ตลอดเวลา และในการเริ่มต้นของแต่
ละบุคคลนั้นอาจมีความแตกต่างกันออกไป บางคนอาจจะเริ่มที่ Experiment หรืออาจจะเริ่มที่ Learning by
doing เลยก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรู้เดิมที่มีอยู่ในสมองของแต่ละบุคคลนั้นไม่เท่ากัน

จากที่กล่าวมาสามารถสรุปให้เป็นหลักการต่างๆที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ได้ดังนี้

1.หลักการที่ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หลักการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructionism คือ การสร้าง
องค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยให้ผู้เรียนลงมือประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือได้ปฏิสัมพันธ์ กับสิ่งแวด
ล้อมภายนอกที่มีความหมาย ซึ่งจะรวมถึงปฏิกิริยาระหว่างความรู้ในตัวของผู้เรียนเอง ประสบการณ์และสิ่งแวด
ล้อมภายนอก การเรียนรู้จะได้ผลดีถ้าหากว่าผู้เรียนเข้าใจในตนเอง มองเห็นความสำคัญในสิ่งที่เรียนรู้และ
สามารถเชื่อมโยงความรู้ระหว่างความรู้ ใหม่กับความรู้เก่า(รู้ว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้าง) และสร้างเป็นองค์
ความรู้ใหม่ขึ้นมา

และเมื่อพิจารณาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอนโดยปกติที่เกิดขึ้นในห้องเรียนนั้นสามารถจะแสดงได้
ดังรูป

ความรู้
ครู -------> ผู้เรียน

2.หลักการที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยครูควรพยายามจัดบรรยากาศการเรียนการสอน ที่เปิด
โอกาสให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองโดยมีทางเลือก ในการเรียนรู้ที่หลากหลาย(Many
Choice) และเรียนรู้อย่างมีความสุขสามารถเชื่อมโยงความรู้ระหว่างความรู้ใหม่กับความ รู้เก่าได้ ส่วนครูเป็นผู้
ช่วยเหลือและคอยอำนวยความสะดวก

3.หลักการเรียนรู้จากประสบการณ์และสิ่งแวดล้อม หลักการนี้เน้นให้เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ร่วมกัน
(Social value) ทำให้ผู้เรียนเห็นว่าคนเป็นแหล่งความรู้อีกแหล่งหนึ่งที่สำคัญ การสอนตามทฤษฎี
Constructionism เป็นการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมคนออกไปเผชิญโลก ถ้าผู้เรียนเห็นว่าคนเป็นแหล่งความ
รู้สำคัญและสามารถแลกเปลี่ยนความรู้กัน ได้ เมื่อเขาจบออกไปก็จะปรับตัวได้ง่ายและทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่าง
มี ประสิทธิภาพ

4.หลักการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือการรู้จักแสวงหาคำตอบจากแหล่งความรู้ต่างๆด้วยตนเองเป็นผลให้
เกิดพฤติกรรมที่ฝังแน่นเมื่อผู้เรียน "เรียนรู้ว่าจะเรียนรู้ได้อย่างไร (Learn how to Learn)"


ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน

เพื่อ ที่จะทำให้เกิดหลักการดังกล่าวครูควรจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ หรือได้สร้างสิ่งที่ผู้เรียนสนใจ
อยากจะทำด้วยตัวของเขาเอง โดยการมอบหมายงานให้เขาทำและให้โอกาสกับผู้เรียนในการตัดสินใจว่าเขา
จะทำ อะไร สิ่งนี่คือจุดเริ่มต้นที่สำคัญมากของกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางของ Constructionism เรื่องนี้
ผมเองเคยมีประสบการณ์ในการสอนเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน ซึ่งแต่เดิมจะใช้เทคนิค
การสอนแบบ Step by Step คือ ครูทำให้ดูและผู้เรียนทำตามทีละ Step ไปเรื่อยๆ วิธีการนี้ผมสังเกตว่าผู้เรียน
จะเรียนรู้เฉพาะเนื้อหาที่สอนเท่านั้นและบาง คนที่รู้คำสั่งเหล่านี้มาแล้วเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย แต่เมื่อนำ
หลักการของ Constructionismมาใช้ ผมได้ลองเปลี่ยนวิธีการสอน โดยเริ่มต้นจากการสอนด้วยวิธี Step by
Step เฉพาะพื้นฐานที่ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้ จากนั้นให้ผู้เรียนเขียนโปรแกรมที่เขาสนใจขึ้นมา 1 โปรแกรมโดย
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดเองว่าจะทำอะไรและยังเปิดโอกาสให้ผู้ เรียนซักถามกันเองได้(โดยการบอกกับผู้
เรียนก่อน) พฤติกรรมการเรียนรู้และ บรรยากาศในห้องเรียนที่ผมสังเกตเห็นก็คือ

* ผู้เรียนเริ่มคิดว่าจะเขียนโปรแกรมอะไรดี ซึ่งตอนนี้ผู้เรียนก็เริ่มมองตัวเองว่าอยากจะเขียนโปรแกรมอะไร
โดยพิจารณาควบคู่ไปกับคำสั่งที่เขารู้ในขณะนั้น

* ต่อมาไม่นานผู้เรียนก็คิดหัวข้อได้ทุกคน โดยบางคนคิดได้เองแต่บางคนก็เดินไปดูเพื่อนแล้วเกิดไอเดีย
(Idea) เมื่อเขาคิดหัวข้อได้แล้วก็เท่ากับว่าเขาได้สร้างเป้าหมายขึ้นด้วยตัวของเขา เองและนอกจากนั้นเขายัง
สามารถประยุกต์ทฤษฏีสู่การปฏิบัติจริงได้ เกิดกระบวนการปรับความแตกต่าง (acommodation) ผมสังเกตว่า
งานของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน และแต่ละคนก็เริ่มสร้างงานของตนเองด้วยความตั้งใจมาก จนผมรู้สึก
ประหลาดใจว่าพฤติกรรมของผู้เรียนโดยรวมแล้วจะมีความตั้งใจในการ เรียนรู้มาก ซึ่งบางครั้งตั้งใจมากกว่า
การสอนแบบเดิม(Step by Step)เสียอีก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่ามีแรงจูงใจภายในที่พยายามเอาชนะอุปสรรค์
ต่างๆเพื่อ ไปสู่จุดหมายที่ตนเองได้ตั้งไว้ก็เป็นได้

* ต่อมาในการเขียนโปรแกรมผู้เรียนบางคนเริ่มจะติดปัญหาบางอย่าง บางคนก็พยายามแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
จากการลองผิดลองถูกแต่บางคนก็ถามเพื่อน บรรยากาศในชั้นเริ่มมีการเดินไปถามเพื่อนๆ มีการสอนคำสั่ง
ใหม่ๆเกิดขึ้นโดยคนที่มีความรู้มากกว่าสอนหรือบอกเพื่อน(ห้อง เรียนเริ่มมีชีวิต) จุดนี้เองเป็นการเริ่มต้นที่ทำให้
ผู้เรียนรู้ว่าคนเป็นแหล่งความรู้อีกแหล่ง หนึ่งที่สำคัญ

* ในการเรียนการสอนแบบนี้ตลอดเวลาผมจะเข้าไปสัมผัสกับผู้เรียนและสอนคำสั่งบาง คำสั่งให้กับผู้เรียน
บางคน ที่อยากจะเขียนโปรแกรมแต่ไม่รู้คำสั่ง(บางคำสั่งที่ผมยังไม่เคยสอน) ต่อมาไม่นานคำสั่งนี้ก็ถูกถ่าย
ทอดไปให้กับผู้เรียนคนอื่นๆ และในบางช่วงผมสังเกตว่าผู้เรียนส่วนใหญ่ควรจะรู้คำสั่งเพิ่มเติม เพราะการเขียน
โปรแกรมเริ่มติดขัด ผมก็สอนคำสั่งต่างๆหน้าชั้นเรียนให้นักเรียนที่สนใจได้นำไปประยุกต์ใช้ในการ เขียน
โปรแกรม

* ในบางช่วงผมสังเกตว่ามีผู้เรียนบางคนเปลี่ยนหัวข้อที่ทำ โดยบางคนดัดแปลงงานทำอยู่ไปเป็นหัวข้ออื่น
แต่บางคนก็เปลี่ยนหัวข้อใหม่หมดเลย แต่หลังจากนั้นทุกคนก็เขียนโปรแกรมของตนเองได้สำเร็จตามความ
ต้องการของเขา

* ในการนำเสนองานเป็นขั้นที่สำคัญเพราะการนำเสนองานจะช่วยบอกว่า ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไรจากการปฏิบัติ
งานบ้าง ผมจะนั่งฟังเขาอธิบายถึงสิ่งที่เขาได้เรียนรู้ และรับทราบความคิดของผู้เรียนว่ามีกระบวนการคิดอย่าง
ไร และสิ่งที่สำคัญมากๆก็คือผมจะต้องคอยถามเพื่อดึงความรู้ของเขาออกมาให้ได้จน ผู้เรียนประจักษ์แก่ใจ
ด้วยตัวของเขาเอง สิ่งที่ผมถามก็เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้ง ไว้ ในขั้นตอนนี้เป็นขั้น
ตอนที่ไม่ง่ายนักสำหรับผู้สอนมือใหม่เพราะหากถามไม่ ชัดเจนอาจทำให้ไม่สามารถดึงความรู้ที่มีอยู่ในตัวเขา
ออกมาได้

* หลายๆคนอาจจะมีคำถามว่าทำไมต้องถามเพื่อดึงความรู้ของผู้เรียนออกมา ในเรื่องนี้ผมคิดว่า ในขั้นตอน
การปฏิบัติงาน ผู้เรียนจะใช้ความคิดพิจารณางานที่ตนเองทำ และในกระบวนการทำงานมีบางอย่างที่ผมพบก็
คือ ผู้เรียนสามารถทำได้แต่ไม่สามารถอธิบายถึงสิ่งที่เขาได้เรียนรู้ นั่นก็คือผู้เรียนไม่รู้ว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรไป
บ้าง หน้าที่ของผมก็คือถามเพื่อให้เขาประจักษ์แก่ใจตนเองว่าเขาได้เรียนรู้อะไร และนำไปใช้ประโยชน์อะไร
สัมพันธ์กับสิ่งอื่นอย่างไร และหากผู้เรียนได้ประจักษ์แก่ใจตนเองแล้วก็แสดงว่าความรู้นั้นได้เกิดขึ้น อย่างมี
ความหมารยกับผู้เรียนแล้ว และถูกเก็บเป็นองค์ความรู้ของคนๆนั้น

จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าสิ่งที่สำคัญและนับเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการก็คือ การให้โอกาสกับผู้เรียน
ในการสร้างงานด้วยตัวผู้เรียนเอง โดยให้เขาเป็นผู้สร้างเป้าหมายเองและเรียนรู้การไปสู่เป้าหมายนั้นด้วยวิธี
ของเขาเอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
uthanasamut
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 23/07/2009
ตอบ: 23
ที่อยู่: 366 ถ.ปัทมานนท์ อ.เมือง สุรินทร์

ตอบตอบ: 28/08/2009 10:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สงสัยว่าจะมีถึง 10 คนหรือไม่ที่อ่านจบ ... ผมอ่านไม่จบ 1 คน ขอบังอาจสรุปเองว่า
สังคม ต้องการคนฉลาด นอกนั้น คือ ผู้ถูกใช้แรงงาน...... (ไม่ต้องการคำตอบ)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©