-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ธาตุอาหารที่สำคัญของพืช และการขาดธาตุอาหาร
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ธาตุอาหารที่สำคัญของพืช และการขาดธาตุอาหาร

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 29/08/2009 10:02 pm    ชื่อกระทู้: ธาตุอาหารที่สำคัญของพืช และการขาดธาตุอาหาร ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.pantown.com/market.php?id=42761&name=market1&area=3&topic=2&action=view

รายละเอียด : ธาตุอาหารสำคัญสำหรับพืช
(ที่มา : ดัดแปลงมาจาก Devlin and Witham (1989))

ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต และอาการขาดธาตุอาหารในพืช

ธาตุ อาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่มีบทบาทต่อการเจริญเติบโต ความสม่ำเสมอ และคุณภาพของพืช นักวิชาการทางด้านธาตุอาหารพืช ต่างยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าธาตุที่จำเป็น สำหรับการผลิตพืชมีทั้งสิ้น 16 ธาตุ ในจำนวนนี้ประกอบด้วยธาตุที่พืชต้องการใช้ในปริมาณมาก (Major elements) 9 ธาตุ ได้แก่ ไฮโดรเจน คาร์บอน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน และธาตุที่พืชต้องการใช้ในปริมาณน้อยแต่ขาดมิได้ (Minor elements) 7 ธาตุ ได้แก่ เหล็ก แมงกานิส ทองแดง สังกะสี โบรอน โมลิบดินั่ม และคลอรีน ประโยชน์ บทบาทต่อการเจริญเติบโต คุณภาพ และอาการขาดธาตุอาหารในพืช

ธาตุอาหารหลัก

- ไนโตรเจน (N) เป็นองค์ประกอบของกรดอะมิโน โปรตีน คลอโรฟีลล์ กรดนิวคลีอิกและเอนไซม์ ทำหน้าที่ส่งเสริมการเจริญ เติบโตของลำต้น กิ่งก้านและใบ
หากขาดธาตุไนโตรเจน พืชโตช้า ลำต้นและรากแคระแกร็น ใบเล็กเหลืองซีด ร่วงง่าย แตกกิ่งก้านน้อย ถ้าขาดมากๆ จะเหลืองซีดไปทั้งต้นและอาจทำให้ตายได้

- ฟอสฟอรัส (P) ช่วยสังเคราะห์โปรตีนและสารอินทรีย์ ทำหน้าที่ถ่ายทอดพลังงาน ในกระบวนการต่าง ๆ เช่นการสังเคราะห์แสง และการหายใจ
หากขาดธาตุฟอสฟอรัส ต้นแคระแกร็น ใบเล็ก เหลือง ลำต้นเล็กลง ใบล่างเริ่มมีสีม่วงตามแผ่นใบ ดอกผลน้อย รากไม่เจริญ

- โปแทสเซี่ยม (K) ช่วยสังเคราะห์แป้ง น้ำตาล และโปรตีน ส่งเสริมความแข็งแรง และต้านทานโรคบางชนิด
หาก ขาดธาตุโปแทสเซี่ยม พืชอ่อนแอ โตช้า ใบแก่มีอาการไหม้เริ่มจากที่ปลายใบ แผ่นใบจะโค้งลงหรือม้วนจากปลายใบ ใบอ่อนจะมีจุดประสีแดงหรือเหลืองระหว่างเส้นใบ คุณภาพของดอกและผลลดลง

ธาตุอาหารรอง

- แมกนีเซียม (Mg) เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟีลล์ ช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมันและน้ำตาล และกระตุ้นการงอกของเมล็ด
หากขาดธาตุแมกนีเซียม ใบแก่มีสีเหลืองซีด ระหว่างเส้นใบมีสีขาวหรือเหลือง ใบร่วงเร็ว การเจริญเติบโตช้าลง ปริมาณและคุณภาพของดอกผลต่ำ

- กำมะถัน/ซัลเฟอร์ (S) เป็นองค์ประกอบของกรดอะมิโน โปรตีนและวิตามิน
หากขาดธาตุกำมะถัน พืชอ่อนแอ ใบยอดมีขนาดเล็ก สีเหลืองซีด เส้นใบยังคงมีสีเขียว

- แคลเซียม (Ca) ช่วยให้เอนไซม์ทำงานได้ดี กระตุ้นการแบ่งเซลล์ การงอกของเมล็ด และการผสมเกสร
หากขาดธาตุแคลเซียม ใบอ่อนบิดเบี้ยว ขอบใบม้วนลง ขอบใบไม่เรียบ ขาดและแห้ง ยอดอ่อนตาย รากสั้น

ธาตุอาหารเสริม และอื่นๆ

- คลอรีน (Cl) กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์
หากขาดธาตุคอลรีน ใบเหี่ยวง่าย เหลืองด่าง พืชทั่วไปมีคลอรีนพอเพียงจึงไม่พบปัญหาของการขาดคลอรีน

- โมลิบดินั่ม (Mo) ช่วยสังเคราะห์คลอโรฟีลล์ และแป้ง
หากขาดธาตุโมลิบดินั่ม ขอบใบโค้งหงิกงอ มีจุดเหลืองด่างตามขอบใบ ขณะที่เส้นใบมีสีเขียว รากสั้น

- สังกะสี (Zn) ช่วยกระตุ้นการแตกราก ใบอ่อน ขยายเซลล์ของลำต้น มีความต้านทานต่อโรค
หากขาดธาตุสังกะสี ใบอ่อนมีสีเหลืองซีดและปรากฏสีขาวประปรายตามแผ่นใบ ไม่ทนต่อสภาวะแดดร้อนจัดและหนาวจัด

- ทองแดง (Cu) ช่วยสังเคราะห์คลอโรฟีลล์ การหายใจ กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์
หากขาดธาตุทองแดง ใบอ่อนจะมีสีเหลือง ตาจะกลายเป็นสีดำ ยอดจะชะงักการเจริญเติบโตและตาย

- โบรอน (B) ช่วยกระตุ้นการออกดอก การผสมเกสรและการแบ่งเซลล์ ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายฮอร์โมน
หากขาดธาตุโบรอน ส่วนยอดมีสีเหลืองและแห้งตาย ลำต้นและใบบิดเบี้ยว ลำต้นไม่ค่อยยืดตัวและเปราะแตกง่าย

- แมงกานีส (Mn) เป็นประโยชน์ต่อการสังเคราะห์โปรตีน
หากขาดธาตุแมงกานีส ระหว่างเส้นใบจะขาดสีเขียวหรือเกิดจุดขาวเหลือง แต่เส้นใบยังมีสีเขียว ไม่ออกดอกผล

- เหล็ก (Fe) ช่วยสังเคราะห์คลอโรฟีลล์ และการหายใจ
หากขาดธาตุเหล็ก ยอดอ่อนมีสีเหลืองซีดจนกระทั่งเป็นสีขาวและแห้งตาย แต่เส้นใบยังคงมีสีเขียว

- ฮิวมิกซ์แอซิด ทำให้ดินโปร่ง กระจายเม็ดดินให้นิ่มขึ้น ปรับค่า pH ของดิน (-กรด7+ด่าง) ช่วยยืดเม็ดทรายให้ติดกัน

- กรดอะมิโน 18 ชนิด ช่วยทำให้ธาตุอาหารเข้าสู่ใบได้เร็ว นำพาวิตามิน โปรตีน เอนไซม์เข้าไปด้วย ช่วยเร่งการเจริญเติบโต

- เอนไซม์ - ช่วยเร่งการขยายเซลล์ , เร่งการเจริญเติบโต , ช่วยเร่งกระบวนการเคมีในต้นพืช

- ไคติน ช่วยทำให้เซลล์พืชแข็งแรง แมลงกัดกินได้ยากขึ้น

- ดีแลค ช่วยจับธาตุอาหารทั้งหมด , เพื่อให้พืชนำไปใช้ , ป้องกันการเสื่อมสภาพ ผสมกับอย่างอื่นได้ ไม่ตกตะกอน

- ไคโตซาน ช่วยยับยั้งสร้างความต้านทานโรคให้กับพืช , ต้านทานต่อโรคและแมลง , ช่วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน

อาการขาดธาตุอาหารในพืช

การสัง เกตุอาการผิดปกติ ของพืชจะทำให้รู้ว่า พืชได้รับธาตุ อาหารเพียงพอหรือไม่ และจะทำการแก้ไขอย่างไร แต่ก็มีข้อควรระวังในการสังเกตุ
- พืชต่างชนิดกัน ขาดธาตุอาหารชนิดเดียวกัน อาจแสดงอาการต่างกัน
- หากขาดธาตุอาหารไม่มาก พืชอาจไม่แสดงอาการ แต่ผลผลิตจะลดลง
- หากขาดมากกว่า 1 ธาตุ จะสังเกตุอาการผิดปกติได้ยากขึ้น
- ในพืชอายุสั้น การขาดธาตุอาหาร มันจะแก้ไขไม่ทัน
- อาการผิดปกติ ที่เกิดจากสาเหตุอื่น อาจจะมีลักษณะคล้าย ๆ กัน เช่น ขาดน้ำ ดินเค็ม โรค และแมลง ซึ่งอาจจะทำให้เข้าใจผิดได้

การแบ่งกลุ่มการขาด ธาตุอาหาร
1. ถ้าพืชแคระแกร็น มีอาการแสดงออกเฉพาะที่ใบแก่ ใบร่วงเร็ว แสดงว่าน่าจะขาดธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส หรือ โปแทสเซียม นอกจากนี้การขาด แมกนีเซียม ก็แสดงอาการที่ใบแก่เช่นกัน อย่างไรก็ตามในดินที่มีอินทรีวัตถุมากไม่น่าจะขาดไนโตรเจน ดินเหนียวไม่น่าจะขาดโปแทสเซียม และดินที่ไม่เป็นกรดน่าจะมี แมกนีเซียม เพียงพอ

2. ถ้าพืชแสดงอาการที่ส่วนยอดและลุกลามมายังใบที่โตเต็มที่แล้ว อาการแบบนี้มักจะเกิดจากการขาดธาตุ กำมะถัน ทองแดง สังกะสี โมลิบดินั่ม หรือ คลอรีน แต่โดยปกติคลอรีนมีมากในดินและน้ำ พืชจึงไม่ค่อยขาดคลอรีน อาการขาดธาตุพวกนี้จะคล้ายๆ กันคือใบพืชจะขาดสีเขียว ใบเหลืองด่างหรือขาวเหลือง ในดินที่เป็นด่างจะขาดทองแดงและสังกะสี

3. ถ้าพืชแสดงอาการเฉพาะที่ส่วนยอด ซึ่งมักจะเกิดกับพืชที่โตแล้วแสดงว่าพืชอาจจะขาดธาตุอาหารพวก แคลเซียม เหล็ก แมงกานีส หรือ โบรอน ซึ่งถ้าจะแยกว่าขาดอะไรให้ดูอาการและลักษณะของดินประกอบ เช่น ถ้าดินเป็นด่างไม่น่าจะขาด แคลเซียม ถ้าขาด เหล็ก ใบอ่อนจะเป็นสีขาวเหลืองแต่เส้นใบเขียวชัดเจน ถ้าขาดโบรอนอาจมีใบขาดวิ่นหรือต้น-หัวมีจุดสีน้ำตาล

ธาตุอาหารเสริม สารควบคุมการเจริญเติบโต(ฮอร์โมน) และ ฮิวมิคแอซิด แมกนีเซี่ยม(Mg) กำมะถัน(S) ทองแดง(Cu) เหล็ก(Fe) โบรอน(B) แมงกานีส(Mn) โมลิบดินั่ม(Mo) สังกะสี(Zn) นิเกิล(Ni) ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม ในรูปคีเลต ทำให้ดูดซึมเข้าสู่พืชอย่างรวดเร็ว ช่วยป้องกันการขาดธาตุอาหารของพืช ทำให้ปฎิกิริยาของขบวนการต่างๆ ในต้นพืช เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ พืชจึงเจริญเติบโตแข็งแรง ใบเขียวเข้ม ดอกสมบูรณ์ ติดผลดก ผลใหญ่ โตเร็ว เพิ่มความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ทำให้ใบอ่อน เป็นใบแก่เร็วขึ้น ลดการหลุดร่วงของดอกและผล จากสาเหตุการขาดธาตุอาหาร เร่งการเข้าสี เพิ่มคุณภาพ เหมาะสำหรับ ไม้ผล พืชไร่ พืชผัก พืชหัว ไม้ดอก ไม้ประดับ ทุกชนิด

สารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่ม ฮอร์โมน ไซโตคนิน อ๊อกซิน และ จิบเบอเรลิน ช่วยให้การเจริญเติบโต
ของพืชเป็นไปอย่างต่อเนื่อง การแตกหน่อแตกกอต่อเนื่อง ต้นโตเร็ว ระบบรากแข็งแรง

ฮิ วมิคแอซิด เป็นปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติ ที่เกิดจากเศษซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อยผุพังทับถมกันในดินมานานนับล้านปี จนเกิดเป็นชั้นของหิน เช่น ลีโอนาไดท์ เมื่อนำมาสกัด ก็จะได้สารอินทรีย์ สีน้ำตาล-ดำ เข้ม ฮิวมิคแอซิด ซึ่งมีประโยชน์ และจำเป็นอย่างยิ่งในการบำรุงรักษาดิน ปรับคุณภาพของดิน ซึ่งจะมีผลทำให้พืชที่ปลูกเติบโตเร็วแข็งแรง ออกดอกและผลดก ประโยชน์ของฮิวมิคแอซิด เป็นสารช่วยปรับโครงสร้างของดิน คืนความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน ทำให้ดินร่วนซุย ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งแก้ดินเป็นกรด เป็นตัวช่วยอุ้มน้ำ ปกป้องความชื้นในดินไม่ให้สูญเสียเร็วเกินไป ทำให้พืชทนต่อสภาวะแล้งได้ดี ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ให้แก่รากพืช เป็นสารคีเลต ที่มีคุณภาพสูงมากชนิดหนึ่ง ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับ โลหะหลายชนิด ทำให้อยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้ พืชจึงสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้ เป็นตัวสำคัญในการผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เช่น ไวตามิน อ๊อกซิน กรดอินทรีย์ และสารฆ่าเชื้อโรคของพืช

การขาดธาตุอาหารของกล้วยไม้
(ถอดความจาก Mineral Deficiency in Orchids ของ Susan Jones)
ร่าง กายของมนุษย์เรานั้นประกอบด้วยองค์ประกอบของน้ำระหว่างร้อยละ 50-65 แต่สำหรับกล้วยไม้นั้นมีองค์ประกอบของน้ำถึงร้อยละ 90 โดยประมาณ ทั้งนี้เป็นส่วนประกอบของเกลือแร่แค่เพียง 2% แต่ 2% นี้มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของกล้วยไม้

ธาตุ อาหารที่จำเป็นเหล่านี้ กล้วยไม้ได้รับจากทางปุ๋ย เครื่องปลูก และน้ำ หากกล้วยไม้ไม่ได้รับธาตุอาหารตามความต้องการอย่างสม่ำเสมอจะแสดงอาการขาด ธาตุ เช่นเดียวกับกล้วยไม้ที่ปลูกในเครื่องปลูกประเภทอนินทรีย์ เช่นหินภูเขาไฟ เม็ดดินเผา perlite หรือการใช้น้ำที่ไม่ดีพอก็ทำให้กล้วยไม้ไม่ได้รับธาตุอาหารในปริมาณที่เหมาะ สมเช่นกัน

ธาตุอาหารหลัก หรือ Macronutrients มีความจำเป็นมากต่อการพัฒนาของกล้วยไม้ หากขาดธาตุอาหารเหล่านี้จะทำให้กล้วยไม้ไม่สามารถเจริญเติบโต ผลิดอก ติดฝัก ต่อไปได้ตามปกติ ธาตุอาหารที่อยู่ในกลุ่มนี้มีไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปแทสเซียม (K) สัดส่วนของธาตุอาหารทั้ง 3 จะเรียงลำดับโดยปรากฏอยู่ให้เห็นที่เลข 3 ตัวของถุงปุ๋ย เช่น 13-13-13 ที่เหลือเป็นส่วนผสมเติมเต็มหรือธาตุอาหารอื่นเพื่อเติมเต็มให้ครบ 100 ส่วน หากขาดธาตุอาหารหลักทั้ง 3 จะทำให้กล้วยไม้ชะงักการเจริญเติบโตและตายในที่สุด

ไนโตรเจน เป็นโครงสร้างสำคัญที่ช่วยให้พืชเติบโตอย่างแข็งแรง และช่วยในกระบวนการ Metabolism หากขาดไนโตรเจน กล้วยไม้มักแสดงอาการเหลืองและหยุดเจริญเติบโต

ฟอสฟอรัส มีส่วนสำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสง ความสมบูรณ์แข็งแรงและการออกดอก การขาดธาตุฟอสฟอรัสทำให้การออกดอกผิดปกติ การพัฒนาของดอกหยุดก่อนบานเต็มที่

โป แทสเซียม เป็นธาตุอาหารที่จำเป็นในต่อการพัฒนาของราก การสร้างแป้งและน้ำตาล และช่วยให้พลังงานเพื่อให้กล้วยไม้ทนต่อความหนาวเย็นของอากาศได้ หากกล้วยไม้เริ่มแคระแกรนและแสดงอาการใบเหลืองก็อาจสันนิษฐานได้ว่าเกิดจาก การขาดโปแทสเซียม

ธาตุอาหารรอง (Micronutrients) และจุลธาตุ (Trace elements) ถือว่าเป็นธาตุอาหารสำคัญที่ทำให้พืชเจริญเติบโตอย่างแข็งแรง แม้กล้วยไม้ต้องการในปริมาณที่ไม่มาก แต่ก็ขาดไม่ได้เลย

แมกนีเซียม (Mg) เป็นโครงสร้างของ Chlorophyll และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในกระบวนการ Metabolism หากพืชขาดแมกนีเซียมจะแสดงอาการซีดที่ระหว่างเส้นใบ มีรอยจ้ำที่ใบและร่วงในที่สุด

แคลเซียม (Ca) เป็นตัวช่วยให้เซลแบ่งตัวอย่างปกติและแข็งแรง การขาดแคลเซียมของกล้วยไม้มักแสดงอาการให้เห็นว่าใบและลำต้นไม่พัฒนาต่อ ใบเหลือง และมีจุดสีดำที่แผ่นใบ ในที่สุดใบใหม่จะแห้งตายไป บางครั้งเรามักมองข้ามการขาดแคลเซียม เพราะระหว่างฤดูอบอุ่นหรือฤดูร้อน ใบพืชจะได้รับแสงมากขึ้น บางทีเราอาจสับสนว่าอาการเหี่ยวที่เห็นนั้นเกิดจากการให้ปุ๋ยเกินขนาดหรือ ไม่ ซึ่งการให้ปุ๋ยมากเกินไปนั้นจำทำให้ลำและใบอ่อนของกล้วยไม้เปลี่ยนเป็นสีดำ ซึ่งบางทีก็อาจทำให้ใบแก่ของกล้วยไม้กลายเป็นสีดำได้เช่นเดียวกัน ด้วยสาเหตุนี้ผลที่ติดตามมาคือระบบรากของกล้วยไม้จะเสียและตายในที่สุด

เหล็ก (Fe) มีความจำเป็นต่อ Enzyme พืช กระบวนการสร้าง Chlorophyll และช่วยให้ส่วนที่เจริญเติบโตขึ้นมาใหม่แข็งแรง หากขาดไอออน กล้วยไม้มักแสดงอาการเหลืองโดยเฉพาะในส่วนยอดอ่อน

แมงกานีส (Mn) มีความจำเป็นต่อกระบวนการสังเคราะห์แสง การหายใจ และ Metabolism การขาดแมงกานีสทำให้กล้วยไม้อาการใบซีด อาจเป็นจุดจ้ำๆ และใบร่วง

สังกะสี (Zn) สำคัญต่อกระบวนการ Metabolism หากขาดสังกะสี กล้วยไม้จะหยุดโต ยอดใหม่ตายแห้งๆ เหี่ยวหรือแกรน

ทองแดง (Cu) เช่นเดียวกันกับสังกะสี หากขาดทองแดง กล้วยไม้จะแกรน การเจริญเติบโตผิดปกติ และมีอาการตายที่ยอดใหม่

โบรอน (B) ช่วยในการสร้างผนังเซลและช่วยให้กล้วยไม้ดูดซึมแคลเซียมไปใช้ได้ดีขึ้น หากขาด จะทำให้การออกดอกไม่พัฒนาต่อและการพัฒนาของรากหยุดชะงัก

โมลิบดินั่ม (Mo) มีส่วนช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน หากขาดโมลิบดินั่มกล้วยไม้จะแสดงอาการใบซีดและม้วนงอ

กำมะถัน /ซัลเฟอร์ (S) ทำให้การสังเคราะห์โปรตีน การสังเคราะห์แสง และ Metabolism ในพืชปกติ หากขาดจะทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก ใบและยอดใหม่มีสีเหลือง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
mangotree
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 13/07/2009
ตอบ: 95

ตอบตอบ: 29/08/2009 10:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Laughing Laughing Laughing



น้ำหมักชีวภาพสูตรต่างๆของคุณอ้อจากตำราลุงคิมหมักมากี่ปีแล้วครับและใช้หมดไปกี่ถังแระ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©