-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - 13-0-46......มะม่วง/มังคุด
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

13-0-46......มะม่วง/มังคุด

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 04/09/2010 7:57 pm    ชื่อกระทู้: 13-0-46......มะม่วง/มังคุด ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://202.129.0.133/plant/mango/6.html

การเพิ่มผลผลิตมะม่วงนอกฤดู ด้วย 13-0-46

มะม่วงเป็นผลไม้ที่คนไทยให้ความนิยมชมชอบมากที่สุด เนื่องจากมีรสชาติดี ประกอบกับเป็นไม้ผลที่ปลูกได้ง่าย เจริญเติบโตได้ดีในสภาพพื้นที่ของประเทศไทย ในปัจจุบันนี้วิทยาการในการผลิตมะม่วงได้ก้าวหน้าไปมาก มีการใช้เทคโนโลยีและวิธีการใหม่ๆ เข้ามาเพื่อควบคุมการเจริญเติบโต การออกดอก การติดผลตลอดจนการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว และโดยเฉพาะในเรื่องของการออกดอกของมะม่วงนั้น ในขณะนี้ เราสามารถบังคับให้มะม่วงออกดอกได้โดยใช้สารเคมีบางประเภท ซึ่งนับได้ว่าเป็นการก้าวไปสู่ยุคใหม่ของการเกษตร วิธีการในการชักนำหรือกระตุ้นให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูนั้นได้รับการพัฒนาจาก นักวิชาการเกษตรหลายท่าน จนเป็นผลทำให้ขณะนี้ประเทศไทยเราสามารถผลิตมะม่วงนอกฤดูกาลกันได้มากขึ้น และเป็นที่คาดหมายกันว่าในอนาคตอันใกล้นี้ การค้นคว้า ทดลองของนักวิชาการเกษตรดังกล่าวคงจะก้าวหน้าต่อไปถึงขั้นที่สามารถกำหนด ปัจจัยในการบังคับให้มะม่วงมีการออกดอกติดผลได้มากจนถึงกับสามารถกำหนดระยะ เวลาของการใช้สารเคมีได้อย่างถูกต้องและแน่นอน และก้าวหน้าต่อไปในมะม่วงพันธุ์ต่างๆ

ปัจจัยที่มีผลต่อการชักนำให้มะม่วง ออกดอกนอกฤดูกาล
การบังคับหรือชักนำให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลจะประสบผลสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. สภาพความสมบูรณ์และการเตรียมพร้อมของต้นมะม่วง สภาพความสมบูรณ์ของต้นมะม่วงย่อมเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะเป็นตัวกำหนดในการออกดอก การติดผลของมะม่วง เมื่อใดก็ตามที่มะม่วงไม่มีความสมบูรณ์เพียงพอมะม่วงจะไม่มีการออกดอกติดผล หรืออาจจะมีการออกดอกติดผลบ้าง แต่ก็จะมีการร่วงหล่นหรือเหี่ยวแห้งไปในที่สุด ดังนั้นเพื่อที่จะให้มะม่วงมีความสมบูรณ์และเตรียมพร้อมเพื่อการออกดอก ชาวสวนมะม่วงจึงควรจะเริ่มทำตั้งแต่หลังจากเก็บเกี่ยวผลมะม่วงในปีที่ผ่านมา โดยทำการตัดแต่งกิ่งที่ไม่เหมาะสมออกให้หมด เช่น กิ่งกระโดง กิ่งที่เป็นโรคหรือกิ่งที่เห็นว่าไม่มีประโยชน์ เป็นต้น ต่อจากนั้นควรใส่ปุ๋ยคอกเพื่อบำรุงดินและต้นมะม่วงไปพร้อมกัน การใส่ปุ๋ยคอกโดยการโรยในแนวพุ่มใบ อัตราต้นละ 10-20 กิโลกรัม และควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือสูตรใกล้เคียงกันในอัตรา 1-2 กิโลกรัม หลังจากที่ได้ใส่ปุ๋ยลงไปแล้ว มะม่วงก็จะแตกใบอ่อนออกมา ในช่วงนี้ต้องคอยระวังไม่ให้แมลงเข้ามากัดกินทำลายใบโดยใช้ยาฆ่าแมลงฉีดพ่น และอาจพิจารณาฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่มีไนโตรเจนสูงควบคู่กันไป ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ใบมะม่วงสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ปกติแล้วใบมะม่วงชุดที่ 1 จะเริ่มแก่ในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม และใบอ่อนชุดที่ 2 ก็จะแตกตามมา ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะแก่การราดสารเคมีเร่งดอก

2. วิธีการให้สารที่ถูกต้อง ก่อนที่จะทำการราดสารลงไปนั้นควรตรวจสภาพดินบริเวณโคนต้นมะม่วงว่ามีความชื้นพอหรือไม่ เพราะถ้ามีความชื้นน้อยเกินไปจะทำให้สารที่ใช้มีประสิทธิภาพต่ำ นอกจากนี้ก่อนที่จะทำการราดสารนั้นควรมีการกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นมะม่วงออกให้หมด ทั้งนี้เพื่อให้ต้นมะม่วงได้รับประโยชน์จากสารนั้นอย่างเต็มที่ จากการทดลองและศึกษาของนักวิชาการเกษตรหลายท่าน ปรากฏว่า การให้สารที่มีประสิทธิภาพนั้นควรให้สารในระยะที่มะม่วงแตกใบอ่อน ออกมาแล้ว 2 ชุด และใบมะม่วงที่แตกออกมาครั้งหลังนั้นจะต้องอยู่ในระยะที่เรียกว่า ใบพวง

3. พันธุ์มะม่วง การบังคับให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาล นอกจากจะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว พันธุ์มะม่วงก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นตัวกำหนดว่าการ บังคับให้มะม่วงออกดอกได้มากน้อยแค่ไหน อาทิเช่น พันธุ์มะม่วงที่มีนิสัยการออกดอกง่าย ตัวอย่างเช่นพันธุ์น้ำดอกไม้ ฟ้าลั่น แห้ว หนองแซงและเจ้าคุณทิพย์ จะตอบสนองต่อสารเร่งการออกดอกได้ดี ส่วนพันธุ์มะม่วงที่ออกดอกค่อนข้างยากเช่น เขียวเสวย แรด หนังกลางวัน จะตอบสนองต่อสารเร่งการออกดอกได้ไม่ดีเท่าที่ควร

วิธีการบังคับหรือชักนำให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาล
การชักนำหรือกระตุ้นให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลนั้น สามารถกระทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ได้ผลค่อนข้างแน่นอน ได้แก่ การสุมไฟและการฉีดพ่นด้วยสารเคมี

ก. การสุมไฟ การสุมไฟหรือการรมควันให้กับต้นมะม่วงเป็นวิธีการกระตุ้นหรือชักนำให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าฤดูกาลปกติ โดยให้ควันไฟผ่านเข้าไปในพุ่มต้นมะม่วงเพื่อให้มะม่วงแตกตาดอกออกมา แต่วิธีการนี้มีข้อเสียอยู่บ้างกล่าวคือ ต้องใช้แรงงานมากและเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นข้อควรคำนึงก็คือ การเลือกต้นมะม่วงสำหรับสุมไฟต้องทำด้วยความระมัดระวัง ต้นมะม่วงที่สุมไฟแล้วจะออกดอกได้ดีนั้นจะต้องเป็นต้นที่มีกิ่งและใบแก่เต็มที่ ถ้าหากใบยังอ่อนอยู่หรือกิ่งยอดยังแก่ไม่พอก็ไม่สามารถบังคับให้ออกดอกด้วยวิธีนี้ได้ ดังนั้นเพื่อให้การบังคับด้วยวิธีนี้ได้ผลดียิ่งขึ้นจึงควรเลือกต้นมะม่วงที่มีใบสีเขียวแก่ ผิวด้านหรือสีน้ำตาลอมเขียว ใบเปราะง่าย (เมื่อขยำด้วยมือ) สภาพของต้นและตายอดต้องอยู่ในระยะพักตัว

วัสดุที่ใช้สุมไฟที่ดี ได้แก่ ใบไม้แห้ง หญ้าดิบ แกลบ กิ่งไม้และเศษวัสดุอื่นๆ ในการก่อกองไฟควรให้กองไฟอยู่เหนือลมเพื่อให้ควันไฟเข้าไปสู่พุ่มต้นได้ง่าย และอาจใช้แผงกั้นที่ทำจากทางมะพร้าวหรือไม้ไผ่มากั้นไว้เพื่อให้ควันไฟพุ่ง เข้าสู่พุ่มต้นได้ดียิ่งขึ้นและจำต้องให้กองไฟอยู่ห่างจากโคนต้นในระยะที่ ไม่เป็นอันตรายต่อต้นมะม่วง กล่าวคือ ถ้ากิ่งมะม่วงเป็นกิ่งที่มีอายุมากและผ่านการพักตัวมาแล้ว ระยะเวลาของการรมควันจะสั้นเข้า แต่ถ้าเป็นกิ่งที่มีอายุน้อย ระยะเวลาของการรมควันก็จะมากขึ้น นอกจากนี้แล้วในการสุมไฟต้นมะม่วงให้ทำทั้งกลางวันและกลางคืนเป็นเวลาหลายๆ วันติดต่อกันจนกระทั่งตาดอกเริ่มปรากฏให้เห็น แต่ถ้าตาดอกไม่เกิดหลังจากที่ได้สุมไฟไปแล้วประมาณ 9-15 วัน ก็ให้เลิกสุมไฟแล้วเริ่มไฟ หลังจากหยุดรมควันไปได้ 20-30 วัน และเมื่อตาเริ่มผลิออกมาให้เห็น ซึ่งในตอนนี้ยังไม่แน่ใจว่าตาที่ปรากฏออกมานั้นจะเป็นตาดอกหรือตาใบ ต้องรอจนกระทั่งตาขยายตัวขึ้น ถ้าตาที่ปรากฏเป็นตาดอกก็จะมีรูปร่างเป็นจงอย (งอโค้งเหมือนเดือยไก่) ส่วนตาที่เจริญเป็นกิ่งหรือเป็นใบ จะมีรูปร่างเป็นทรงยาวและตั้งตรง อย่างไรก็ตามการบังคับให้มะม่วงออกดอกด้วยวิธีการนี้ในปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากวิธีการยุ่งยากและมีวิธีอื่นที่สะดวกกว่าและได้ผลที่แน่นอนกว่า

ข. การฉีดพ่นด้วยสารเคมี การใช้สารเคมีเพื่อกระตุ้นหรือชักนำให้มะม่วงออกดอก เป็นวิธีที่กระทำกันมาช้านานแล้วคือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา ซึ่งมีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล สารเคมีที่ใช้ได้ผลก็มีหลายชนิดและได้พัฒนาให้ดีขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน สารเคมีที่ใช้บังคับให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลได้ค่อนข้างแน่นอนได้แก่

1. สารโปแตสเซียมไนเตรต ประเทศไทยได้นำผลการทดลองการใช้สารโปรแตสเซียมไนเตรทของฟิลิปปินส์มาใช้ในการเร่งออกดอกของมะม่วง ผลปรากฏว่าในครั้งแรกไม่ได้ผล แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะใช้ได้ผล จึงได้ปรับปรุงวิธีปฏิบัติรวมทั้งความเข้มข้นและตัวสารโปแตสเซียมไนเตรท จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2524 ผลปรากฏว่าสารโปแตสเซียมไนเตรทสามารถใช้เร่งให้มะม่วงออกดอกได้ โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้

1. ใช้โปแตสเซียมไนเตรท เกรดปุ๋ย สูตร 13-0-46 ที่มีความบริสุทธิ์มากกว่า 99.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีราคาถูก และยังให้ผลได้เท่าเทียมกับเกรดที่สูงกว่า แต่ไม่ควรนำดินประสิวมาบดให้ละเอียดแล้วละลายน้ำแทนการใช้โปแตสเซียมไนเตรท เพราะไม่สะดวกในการเตรียมสารและดินประสิวอาจมีสารเจือปนอื่นๆ ที่เป็นพิษกับพืช ซึ่งมีโอกาสทำให้ใบมะม่วงไหม้ได้

2. ใช้โปแตสเซียมไนเตรท น้ำหนัก 500 กรัม (1/2 กิโลกรัม) ผสมน้ำ 20 ลิตร ก็จะได้โปแตสเซียมเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก และควรผสมยาจับใบเพื่อให้สารละลายโปแตสเซียมไนเตรทจับกับผิวใบได้อย่างทั่วถึง ทั้งยังเพิ่มการดูดซึมสารละลายโปแตสเซียมไนเตรทเข้าสู่ตัวใบได้มากขึ้น

3. ควรทำการฉีดพ่นสารละลายโปแตสเซียมไนเตรทในตอนเช้ามืด ตอนเย็นช่วงเวลาที่ลมสงบ ซึ่งจะมีผลดี 2 ประการคือ เป็นการลดการไหม้ที่บริเวณปลายใบของมะม่วงซึ่งพบว่า หลังจากที่ได้ฉีดพ่นสารละลายไปแล้ว สารละลายจะไหลย้อนไปยังปลายใบมองเห็นเป็นหยดน้ำเกาะอยู่ ถ้าหากทำการฉีดพ่นในเวลาที่มีแดดจัดหรือความชื้นในอากาศมีน้อย จะทำให้น้ำระเหยอย่างรวดเร็วและคงเหลือแต่ปริมาณความเข้มข้นของโปแตสเซียมไนเตรทในอัตราที่สูง ตามบริเวณปลายใบของมะม่วง ซึ่งจะแสดงอาการเป็นพิษต่อเนื้อเยื่อของใบ ทำให้ปลายใบแห้ง ผลดีอีกประการหนึ่งก็คือ การฉีดพ่นในตอนเช้าหรือตอนเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูงจะเป็นการช่วยให้การดูดซึมสารละลายโป แตสเซียมไนเตรทเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

4. การฉีดพ่นสารเพียงครั้งเดียว ภายในระยะเวลา 20 วัน ถ้ามะม่วงยังไม่ออกดอก ก็ให้ฉีดสารดังกล่าวอีกครั้ง ในอัตราเดิม แต่โดยทั่วไปแล้วภายใน 15 วัน นับจากวันเริ่มฉีดสาร มะม่วงก็จะแทงช่อดอกออกมาให้เห็น

การฉีดพ่นสารโปแตสเซียมไนเตรทให้กับต้นมะม่วงเพื่อเร่งการออกดอก ถ้าปฏิบัติถูกต้องแล้วจะสามารถเร่งให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าปกติประมาณ 15-20 วัน โดยไม่เป็นอันตรายหรือมีผลเสียหายต่อต้นมะม่วงแต่ประการใด นอกจากนี้ถ้าคำนึงถึงเรื่องการลงทุนก็เป็นการลงทุนที่ถูกมาก เนื่องจากโปแตส เซียมไนเตรท เป็นสารเคมีที่มีราคาถูก ซึ่งเหมาะกับเกษตรกรที่ไม่ค่อยมีเงินทุนมากนัก



2. ฮอร์โมน เอ็น.เอ.เอ (N.A.A.)
ฮอร์โมนเอ็น.เอ.เอ. ที่ใช้เร่งการออกดอกของมะม่วงนี้ มีชื่อการค้าหลายอย่างเช่น แพลนโนฟิกซ์. แพลนนิโมนส์ฟิกซ์. แพนเตอร์. เป็นต้น หลักการทำงานของฮอร์โมนชนิดนี้คือ เมื่อฉีดไปที่ต้นมะม่วงแล้วจะส่งเสริมให้ มะม่วงมีการสังเคราะห์เอทธิลีน.ได้มากขึ้น และเอทธิลีน.นี้เองที่จะเป็นตัวไปกระตุ้นให้มะม่วงออกดอก

วิธีปฏิบัติ ให้ใช้ฮอร์โมนเอ็น.เอ.เอ. ที่มีชื่อการค้าว่า แพลนโนฟิกซ์ อัตรา 3-5 ซี.ซี. ผสมน้ำประมาณ 20 ลิตร และผสมกับโปแตสเซียมไนเตรทอัตรา 300-500 กรัม เมื่อผสมเสร็จแล้ว ให้ทำการฉีดพ่นใบมะม่วงตามธรรมชาติ (เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์) จะทำให้มะม่วงแทงช่อดอกให้เห็นภายหลังจากฉีดสารไปแล้วประมาณ 12 วัน วิธีการนี้จะทำให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าปกติถึง 30-40 วัน

3. สารพาโคลบิวทราโซล
เป็นสารในกลุ่มของสารชะลอการเจริญเติบโตของพืช ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ในขณะนี้มี 2 ชนิด คือ คัลทาร์. ซึ่งอยู่ในรูปของเหลวมีความเข้มข้นของเนื้อสาร 10 เปอร์เซ็นต์ และอีกชนิดหนึ่งคือ พรีดิคท์. มีอยู่ 2 รูป คือ ในรูปของเหลว ซึ่งมีความเข้มข้นของเนื้อสาร 25 เปอร์เซ็นต์ กับชนิดผงซึ่งมีความสูงในการยับยั้งการสร้างฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.ในต้นมะม่วง เป็นฮอร์โมนที่มะม่วงสร้างขึ้นมาได้เองและมีผลต่อการยืดตัวของเซลล์ทำให้กิ่งก้านยืดยาวออก และที่สำคัญคือเป็นฮอร์โมนที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตทางด้านกิ่ง ก้านและใบ แต่จะยับยั้งการออกดอก ดังนั้นในสภาพใดก็ตามที่ทำให้ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.ในต้นมากเกินไป ในสภาพที่ดินมีลักษณะชื้นหรือมีน้ำมาก หรือมีปุ๋ยไนโตรเจน.มากเกินไป และในลักษณะตรงกันข้าม หากสภาพดินเป็นดินที่แห้ง มีไนโตรเจน.น้อยหรือได้รับอากาศหนาวเป็นระยะเวลานานพอสมควร ก็จะมีผลทำให้ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.มีน้อยลง ซึ่งผลที่จะตามมาก็คือ การเจริญเติบโตทางด้านกิ่งและใบหยุดชะงักลง และมีการสร้างตาดอกขึ้นมาแทน จากหลักการนี้เองจึงได้มีผู้นำมาใช้ควบคุมการออกดอกของมะม่วง โดยหาทางลดปริมาณฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.ลงเพื่อให้มีโอกาสสร้างตาดอกได้มาก ขึ้น และสารพาโคลบิวทราโซล.ก็จัดได้ว่าเป็นสารหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการ สร้างฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.ได้ดี

ข้อควรคำนึงถึงในการใช้สารพาโคลบิวทราโซล. การใช้สารชนิดใดก็ตามควรที่จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับสารนั้นให้ถ่องแท้เสียก่อน ทั้งวิธีการใช้ อัตราที่ใช้ ผลกระทบจากการใช้สาร เป็นต้น สารพาโคลบิวทราโซล.ก็เช่นเดียวกัน เกษตรกรหรือชาวสวนที่จะใช้สารนี้ให้ได้ผลดีนั้น ควรที่จะได้มีการคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ
1. พันธุ์มะม่วง มะม่วงบางพันธุ์ที่มีการออกดอกค่อนข้างยากหรือเป็นมะม่วงพันธุ์หนัก การใช้สารก็ย่อมที่จะใช้ในอัตราความเข้มข้นสูงกว่ามะม่วงพันธุ์เบาหรือ มะม่วงที่ออกดอกได้ง่าย ในขณะที่มีขนาดของทรงพุ่มเท่าๆ กัน
2. ขนาดของทรงพุ่ม ต้นมะม่วงที่มีอายุมากหรือมีขนาดของทรงพุ่มใหญ่กว่าจะต้องใช้สารที่มีปริมาณ มากกว่าต้นที่เล็กกว่า และถ้าต้นมะม่วงยังมีทรงพุ่มที่เล็กเกินไปหรืออายุน้อย ก็ยังไม่ควรใช้สารกระตุ้น ต้องรอไปจนกว่ามะม่วงจะพร้อมต่อการออกดอก
3. ต้นมะม่วงที่ราดด้วยสารพาโคลบิวทราโซล.จะต้องมีความแข็งแรงสมบูรณ์ มีระบบรากดี ถ้าต้นมะม่วงยังไม่สมบูรณ์หรือระบบรากไม่ดี ต้องบำรุงรักษาต้นและระบบรากให้สมบูรณ์เสียก่อน ก่อนที่จะกระตุ้นด้วยสารนี้
4. กรณีที่ราดสารพาโคลบิวทราโซล.ให้กับต้นมะม่วงในขณะที่มีแต่ใบแก่ มะม่วงอาจจะแตกใบอ่อนขึ้นมาก่อนที่สารจะแสดงปฏิกิริยา ซึ่งผลดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดจากสารพาโคลบิวทราโซล.
5. ก่อนที่จะทำการราดสาร ควรปรับดินบริเวณโคนต้น รอบทรงพุ่ม รวมทั้งกำจัดเศษใบไม้ เศษหญ้าและวัชพืชออกให้หมด เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจจะดูดเอาสารพาโคลบิวทราโซล.เข้าไป ทำให้ต้นมะม่วงได้รับสารนี้น้อยเกินไป
6. ต้นมะม่วงที่ทำการราดสารพาโคลบิวทราโซล. ควรมีรูปทรงที่โปร่ง แสงแดดส่องได้อย่างทั่วถึง ซึ่งจะช่วยทำให้ช่อดอกของมะม่วงเจริญได้ดี
7. สวนมะม่วงที่ใช้สารพาโคลบิวทราโซล. จะต้องมีระบบการชลประทานอย่างดี และสามารถเปิดใช้ได้ทุกเวลาตามความต้องการ ส่วนในสวนมะม่วงที่มีปัญหาในเรื่องระบบชลประทานนั้น ควรพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน ก่อนที่จะใช้สารนี้

วิธีการใช้สารพาโคลบิวทราโซล. การใช้สารพาโคลบิวทราโซล.เพื่อผลิตมะม่วงนอกฤดูกาลนี้ จากการทดลองของนักวิชาการเกษตรทั้งหลายต่างลงความเห็นกันว่า วิธีที่เหมาะสมที่สุดก็คือ การรดสารลงบริเวณโคนต้นหรือรอบทรงพุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากสารนี้ถูกดูดซึมเข้าทางรากได้ดี ส่วนอัตราความเข้มข้นของการใช้สารนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุและขนาดของทรงพุ่ม กล่าวคือ ในต้นมะม่วงที่มีอายุมากและทรงพุ่มกว้างจะใช้สารมากกว่ามะม่วงที่มีอายุน้อย และขนาดของทรงพุ่มเล็กกว่า ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ภายหลังจากที่ได้ใช้สารไปประมาณ 2-3 เดือน มะม่วงก็จะเริ่มออกดอกโดยเฉพาะพันธุ์ที่ออกดอกง่ายหรือพันธุ์เบา เช่น น้ำดอกไม้ เจ้าคุณทิพย์ ฟ้าลั่น หนองแซงและศาลายา เป็นต้น แต่อาจจะมีบางต้นที่ไม่ออกดอกเนื่องจากมีการพักตัวนานเกินไปก็จำเป็น ต้องกระตุ้นการแตกตาดอกด้วยสารโปแตสเซียมไนเตรท ความเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์ (ใช้โปรแตสเซียมไนเตรท 500 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือกระตุ้นด้วยสารไทโอยูเรีย ความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้เกิดการแตกตาดอกได้พร้อมกันทั้งต้น ภายในระยะเวลา 2 อาทิตย์ หลังจากฉีดพ่นสารนี้ไปแล้ว

การใช้สารพาโคลบิวทราโซลนี้ สามารถที่จะกำหนดเวลาของการออกดอกและการเก็บเกี่ยวได้ตามความต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการให้มะม่วงออกดอกและเก็บเกี่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ (ประมาณวันที่ 25-30 ธันวาคม) ก็ต้องนับวันย้อนขึ้นไปเป็นขั้นตอนแล้วเริ่มใช้สารนี้ และเพื่อเป็นการสะดวกรวมทั้งง่ายต่อการปฏิบัติจึงได้เขียนแผนภูมิและกำหนด วันที่จะปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้

3. สารไทโอยูเรีย. หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ไทโอคาร์บาเมท. มีชื่อการค้าหลายชนิดเช่น ไทโอเม็ต. ไทโอแมกซ์.และคอมมานด์. เป็นต้น จัดเป็นสารเคมีชนิดใหม่ล่าสุดที่ได้นำมาทดลองเพื่อใช้เร่งการออกดอกและแตกใบ อ่อนของมะม่วง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการใช้สารโปแตสเซียมไนเตรท. และพาโคลบิวทราโซ ล.ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น และควรจะใช้เมื่อมีกรณีที่จำเป็นดังนี้คือ
1. มะม่วงบางพันธุ์อาจจะเกิดอาการใบไหม้ เมื่อฉีดพ่นด้วยสารโปแตสเซียมไนเตรท. หรือบางพันธุ์เร่งการออกดอกด้วยโปแตสเซียมไนเตรท.แล้วไม่ค่อยได้ผล ในลักษณะเช่นนี้ก็สามารถใช้สารไทโอยูเรีย.แทนได้
2. มะม่วงที่กระตุ้นด้วยสารพาโคลบิวทราโซล.แล้ว อาจจะไม่แตกใบอ่อนหรือมีสารพาโคลบิวทราโซล.ตกค้างอยู่ในต้นมากเกินไป จนทำให้ไม่สามารถแตกใบอ่อนได้ ในกรณีเช่นนี้สามารถแก้ไขได้โดยฉีดพ่นไทโอยูเรีย. 1-2 ครั้ง มะม่วงก็จะแตกใบอ่อนออกมา

สำหรับอัตราหรือความเข้มข้นของเนื้อสารที่ใช้ฉีดพ่นใบมะม่วงนั้น จากการทดลองของนักวิชาการเกษตรปรากฏว่า ใช้สารไทโอยูเรีย.ความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ จะให้ผลดีที่สุด โดยทำการฉีดพ่นให้ทั่วต้นมะม่วงในระยะที่ใบแก่จัด ซึ่งสามารถกระตุ้นให้มะม่วงแตกตาได้ภายในเวลา 2 สัปดาห์หลังจากใช้สาร แต่อย่างไรก็ตามสารไทโอยูเรีย.นี้จะมีคุณสมบัติช่วยในการกระตุ้นการแตกตาเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนช่วยในการสร้างตาดอกหรือตาใบแต่อย่างใด ดังนั้นถ้าตายอดของมะม่วงเป็นตาใบอยู่แล้ว เมื่อฉีดพ่นสารไทโอยูเรีย. มะม่วงก็จะแตกใบอ่อนออกมา แต่ถ้าตานั้นเป็นตาดอก มะม่วงก็จะแทงช่อดอกออกมา ฉะนั้นก่อนที่จะใช้สารชนิดนี้จะต้องศึกษาให้รอบคอบเสียก่อนทั้งวิธีการใช้ อัตราการใช้ สภาพท้องถิ่นที่จะใช้สารตลอดจนผลดี ผลเสียหรือผลตกค้างของสารชนิดนี้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 04/09/2010 8:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.chumphon.doae.go.th/sara/mungkud.html

การจัดการสวนมังคุดเพื่อผลิตมังคุดให้ได้คุณภาพ

ในการดำเนินการที่จะผลิตมังคุดให้ได้คุณภาพนั้นเกษตรกรจะต้องมีกระบวนการ ดูแลและเอาใจใส่ในการผลิตอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องตั้งแต่เก็บเกี่ยวผลผลิต เสร็จ โดยให้รีบตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ยบำรุงต้นเพื่อให้มังคุดแตกใบอ่อนในช่วงเวลา ที่เหมาะสม และเสริมสร้างความสมบูรณ์กลับคืนสู่ต้นมังคุดโดยเร็ว

สำหรับมังคุดในภาคใต้นั้น ควรที่จะแตกใบอ่อนในเดือน ตุลาคม - พฤศจิกายน เพื่อให้ใบมีอายุเหมาะสมพอดี เมื่อเข้าสู่ช่วงแล้งในเดือนมกราคม แต่เนื่องจากมังคุดแต่ละต้นมีสภาพภายหลังจากการเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกัน จึงต้องมีการปฏิบัติที่แตกต่างกันไปด้วย

กรณีที่ 1
ต้นที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์
- การตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ย ให้ตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ยบำรุงต้น โดยให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณ 2-3 กก./ต้น ร่วมกับปุ๋ยคอก ประมาณ 20-50 กก./ต้น ในต้นมังคุดที่ค่อนข้างสมบูรณ์ไม่จำเป็นต้องเร่งใส่ปุ๋ยทันทีหลังเก็บเกี่ยว เพื่อชะลอช่วงการแตกใบอ่อน โดยควรใส่ปุ๋ยในเดือนกันยายน
- การให้น้ำ ถ้าฝนทิ้งช่วงควรมี การให้น้ำด้วย
- การป้องกันกำจัดศัตรูพืช อย่าปล่อยให้ศัตรูพืชเข้าทำลายใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่เพราะจะ ทำให้ความสมบูรณ์ของต้นลดลง และถ้าใบอ่อนเสียหายมาก จะทำให้มังคุดอาจไม่ออกดอกในปีนั้น

ศัตรูที่สำคัญ คือ
หนอนกินใบ ในตอนกลางวันตัวหนอนจะทิ้งตัวมาหลบซ่อนอยู่ในดินหรือหญ้าใต้โคนต้น ให้จับหนอนมาทำลาย และถ้าระบาดมากให้ใช้สารคาร์บาริล
หนอนชอนใบ ให้เก็บใบอ่อนที่มีตัวหนอนเข้าทำลาย มาเผาทิ้งและถ้าระบาดมากให้ใช้สารคาร์บาริล

กรณีที่ 2 ต้นมังคุดที่มีสภาพค่อนข้างโทรม มักเป็นต้นที่ไว้ผลมากเกินไป หรือดูแลไม่ดี ในช่วงไว้ผลจึงต้องมีการจัดการเป็นพิเศษ โดย
- การตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ย เหมือนกรณีที่ 1 และควรเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยโดยการคลุกปุ๋ยเคมีด้วยกรดฮิวมิค อัตรา 30 ซีซี ต่อปุ๋ย 1 กก. หรืออาจใช้กรดฮิวมิคชนิดเม็ด อัตรา 200-500 กรัม/ต้น หว่านไปพร้อม ๆ กับปุ๋ยเคมี
- การเร่งการเจริญของราก โดยใช้เศษพืชคลุมบริเวณโคนต้นและใช้ปุ๋ยเกล็ด สุตร 15-30-15 หรือ 10-20-30 หรือ 20-20-20 ที่มีธาตุรองและธาตุปริมาณน้อย อัตรา 60 กรัม ผสมกรดฮิวมิค 100-200 ซีซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร ราดใต้ทรงพุ่ม สัปดาห์ละ 1 ครั้งติดต่อกัน 2-3 สัปดาห์ จะช่วยทำให้ต้นมังคุดมีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น
- การกระตุ้นการแตกใบอ่อน ถ้ามีการจัดการตามขั้นตอนต่าง ๆ แล้วมังคุดยังไม่แตกใบอ่อน ให้กระตุ้นการแตกใบอ่อน โดยฉีดพ่นปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 100-200 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วทั้งต้น แต่ถ้ายังไม่ยอมแตกใบอ่อนให้ฉีดพ่นด้วยไทโอยูเรียน อัตรา 20-40 กรัม ผสมน้ำตาลเดร็กซ์โตส 600 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยไม่ต้องผสมสารจับใบ

สารไทโอยูเรีย มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการแตกใบอ่อนสูง โดยมังคุดจะแตกใบอ่อนได้ภายใน 7 วัน แต่สารนี้มีความเป็นพิษต่อพืชสูงเช่นกัน อาจทำให้ใบแก่ร่วงประมาณ 2-15 % ดังนั้น จึงต้องใช้อย่างระวัง ต้องผสมน้ำตาลเพื่อลดความเป็นพิษของสาร และควรฉีดพ่นในตอนเย็น แต่ถ้าอากาศร้อน ความชื้นต่ำควรลดความเข้มข้นของสารลง
- การให้น้ำและป้องกันกำจัดศัตรูพืช ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับกรณีที่ 1

กรณีที่ 3 ต้นมังคุดที่ทรุดโทรมมาก
- ให้อาหารเสริมที่ต้นพืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที โดยฉีดพ่นใบด้วยอาหารเสริมสูตร "ทางด่วน ซึ่งประกอบด้วย : สารอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเป็นองค์ประกอบหลัก เช่น ครอปไจแอน โพลีแซค มอลตานิค และฟลอริเจนฯ อัตรา 20 - 30 ซีซี. (อาจใช้น้ำตาลกลูโคสหรือเดร็กซ์โตรส 600 กรัม)
: กรดฮิวมิค อัตรา 20 ซีซี.
: ปุ๋ยเกล็ดสูตร 15-30-15 , 20-20-20 หรือ 10-20-30 ที่มีธาตุอาหารรองและธาตุปริมาณน้อย อัตรา 40-60 กรัม
ส่วนผสมทั้งหมดผสมรวมกันในน้ำ 20 ลิตร ให้ผสมสารจับใบและสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา โดยฉีดพ่นใบให้ทั่วทุก 7 วันติดต่อกัน 1-2 ครั้ง
- การปฏิบัติอื่น ๆ เช่นเดียวกับกรณีที่ 2

การใส่ปุ๋ยเพื่อเตรียมออกดอก
ก่อนออกดอก 1-2 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตรที่มีตัวกลาง (ฟอสฟอรัส) สูง เช่น 8-24-24 หรือ 9-24-24 ประมาณ 2-3 กก./ ต้น

การจัดการให้มังคุดออกดอก
ต้นมังคุดต้องมีความสมบูรณ์และมีอายุตายอดไม่น้อยกว่า 9 สัปดาห์ เมื่อมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม คือ มีช่วงแล้งติดต่อกันอย่างน้อย 21-30 วัน และมีการจัดการน้ำเพื่อกระตุ้นการออกดอกอย่างถูกวิธี ต้นมังคุดจะออกดอก แต่ถ้าใบไม่แก่พอดีกับช่วงแล้ง หรือมีช่วงแล้งสั้น จำเป็นต้องจัดการเป็นพิเศษ เพื่อช่วยให้มังคุดออกดอก

กรณีที่ 1 เมื่อสิ้นสุดฤดูฝนแล้ว ต้นมังคุดในสวนมีอายุตายอดอยู่ระหว่าง 9-12 สัปดาห์พอดี ให้จัดการ ดังนี้
- งดน้ำให้ต้นมังคุดผ่านสภาพแล้งติดต่อกัน 21-30 วัน แต่ถ้าอากาศร้อนจัดและแห้งแล้งมาก ควรให้น้ำบ้าง แต่ต้องให้ในปริมาณน้อย
- หลังจากนี้เมื่อต้นมังคุดแสดงอาการใบตก ปลายใบปิด และกิ่งที่ปลายยอดเริ่มแสดงอาการเหี่ยวเป็นร่องให้จัดการน้ำเพื่อกระตุ้นการ ออกดอก โดยให้น้ำอย่างเต็มที่ ในปริมาณมาก จากนั้นให้หยุดดูอาการ 7-10 วัน เมื่อพบว่าก้านใบและกิ่งที่ปลายยอดเริ่มเต่งขึ้นก็ให้น้ำเป็นครั้งที่2 ในปริมาณครึ่งหนึ่งของครั้งแรก หลังจากนั้นอีก 10-12 วัน มังคุดจะผลิตตาดอกให้เห็น

กรณีที่ 2
เมื่อสิ้นสุดฤดูฝนแล้ว แต่ใบที่ปลายยอดยังไม่แก่ หรือมีอายุน้อยกว่า 9 สัปดาห์ ทำให้มังคุดออกดอกช้า ผลจะแก่เก็บเกี่ยวได้ช้าตรงกับที่มีฝนตกชุกพอดี มีโอกาสเป็นเนื้อแก้วและยางไหลได้มาก ดังนั้น จึงควรฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ 2-3 ครั้ง ควบคู่กับการให้น้ำ เพื่อช่วยเร่งให้ใบมังคุดแก่เร็วขึ้น จากนั้นเมื่อตายอดมีอายุตามต้องการแล้ว จึงเริ่มจัดการน้ำเช่นเดี่ยวกับกรณีที่ 1

กรณีที่ 3
ต้นมังคุดสมบูรณ์และใบที่ปลายยอดแก่พอดี คือ มีอายุระหว่าง 9-12 สัปดาห์ แต่สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมคือ มีช่วงแล้งสั้น การฉีดพ่นปุ๋ยโปแตสเซียมไนเตรท (13-0-46 ) อัตรา 150-200 กรัม ผสมสารสกัดจากสาหร่ายทะเล อัตรา 30-40 ซีซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อช่วยลดระยะเวลาที่ต้นมังคุดต้องการสภาพแล้งให้น้อยลงไปได้


หลังจากนั้น 7-10 วัน จึงเริ่มจัดการน้ำเพื่อกระตุ้นการออกดอกเช่นเดียวกับกรณีที่ 1
อนึ่ง เมื่อสิ้นสุดฤดูฝนแล้ว ถ้าต้นมังคุด มีใบแก่เกินไป หรืออายุตายอดมากกว่า 15 สัปดาห์ มังคุดต้นนั้นก็จะมีโอกาสแตกใบอ่อนมากกว่าออกดอก

การควบคุมปริมาณดอก
ถ้าปล่อยให้มังคุดออกดอกและติดผลมากเกินไป ผลที่ได้จะมีขนาดเล็ก และมีผลต่อความสมบูรณ์ของต้นในปีถัดไป จึงควรควบคุมให้มีปริมาณดอกเพียงร้อยละ 35-50 ของยอดทั้งหมด โดยหลังจากมังคุดออกดอกแล้วร้อยละ 10-15 ของยอดทั้งหมด ควรให้น้ำในปริมาณมาก ๆ ทุกวัน จนพบว่าในยอดที่ยังไม่ออกดอกเริ่มมียอดอ่อนแทนตาดอก จึงค่อยให้น้ำตามปกติ

การให้น้ำ
ต้องให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ ถ้าน้ำไม่เพียงพอ จะพบกับปัญหาผลเจริญช้า ผลเล็ก และก้นผลจีบ

การป้องกันกำจัดโรคแมลง
การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟและไรศัตรูพืชที่จะมาดูดกินน้ำเลี้ยงที่ดอกและผล อ่อนทำให้ดอกอ่อนร่วงหรือเจริญช้า และทำให้ผิวมังคุดมีรอยขรุขระเป็นขี้กลาก การฉีดพ่นน้ำ เพื่อเพิ่มความชื้นในทรงพุ่มจะช่วยลดการระบาดลงได้ แต่ถ้าพบการระบาดมากให้ฉีดพ่นสารเคมี
เพลี้ยไฟ ให้ฉีดพ่นด้วยสารคาร์โบซัลแฟน หรือฟิโปรนิล หรืออิมิลาโคลพริด ให้ทั่วทั้งภายใน และภายนอกทรงพุ่ม จากนั้น 5-7 วัน ถ้ายังพบว่ามีเพลี้ยไฟให้ฉีดพ่นซ้ำ แต่ต้องสลับชนิดสารเคมี
ไรศัตรูพืช ให้ฉีดพ่นด้วยกำมะถันผง หรือสารไดโคลโฟล

การใส่ปุ๋ย
หลังจากดอกบานประมาณ 2 สัปดาห์ หรือผลอ่อนมีขนาดเท่าหัวแม่มือ ให้ใส่ปุ๋ยบำรุงผล โดยใช้ปุ๋ยทางดินสูตร 13-13-21 ประมาณ 1-2 กก./ ต้น ส่วนการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบเสริมก็จะช่วยให้ผลมังคุด มีขนาดโตและสม่ำเสมอมากขึ้น
ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมปริมาณดอกได้ทำให้ต้นมังคุดมีจำนวนผลบนต้นมากเกิน ไป การใส่ปุ๋ยทางดินครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้งตั้งแต่เริ่มติดผลจนผลมีอายุ 8 - 9 สัปดาห์จะช่วยให้ผลโตขึ้น

การให้น้ำ
จำเป็นต้องให้น้ำในปริมาณที่มากเพียงพอและต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ผล มีพัฒนาการที่ดี

การเก็บเกี่ยว
- ให้เก็บเกี่ยวผลที่แก่พอเหมาะ เมื่อเปลือกเริ่มมีสายเลือด (เกิดจุดแต้มหรือจุดประสีชมพูกระจายทั่วผล)
- ใช้ตะกร้อผ้าเก็บเกี่ยวอย่างระมัดระวัง ห้ามเก็บเกี่ยวโดยวิธีเขย่ากิ่งหรือใช้ไม้สอยให้ร่วงหล่นกระทบพื้น
- เมื่อเก็บผลมังคุดแล้วให้รีบลำเลียงไปไว้ในที่ร่ม
- ทำความสะอาดผล คัดคุณภาพ และคัดขนาด ก่อนจำหน่าย



เรียบเรียงโดย : นายสุชาติ ทองรอด
หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาการผลิต
สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร
18 ตุลาคม 2545
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 04/09/2010 8:32 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Aorrayong บันทึก:
ที่มา http://www.chumphon.doae.go.th/sara/mungkud.html


กรณีที่ 3 ต้นมังคุดสมบูรณ์และใบที่ปลายยอดแก่พอดี คือ มีอายุระหว่าง 9-12 สัปดาห์ แต่สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมคือ มีช่วงแล้งสั้น การฉีดพ่นปุ๋ยโปแตสเซียมไนเตรท (13-0-46) อัตรา 150-200 กรัม ผสมสารสกัดจากสาหร่ายทะเล อัตรา 30-40 ซีซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อช่วยลดระยะเวลาที่ต้นมังคุดต้องการสภาพแล้งให้น้อยลงไปได้


ต้องเรียกว่า"เปิดตาดอกผ่าฝน "ด้วยฮอร์โมนไข่เปิด + 13-0-46
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 04/09/2010 8:46 pm    ชื่อกระทู้: Re: 13-0-46 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Aorrayong บันทึก:
ที่มา http://202.129.0.133/plant/mango/6.html



2. ฮอร์โมน เอ็น.เอ.เอ (N.A.A.) ฮอร์โมน เอ็น.เอ.เอ. ที่ใช้เร่งการออกดอกของมะม่วงนี้มีชื่อการค้าหลายอย่างเช่น แพลนโนฟิกซ์ แพลนนิโมนส์ฟิกซ์ แพนเตอร์ เป็นต้น หลักการทำงานของฮอร์โมนชนิดนี้คือเมื่อฉีดไปที่ต้นมะม่วงแล้วจะส่งเสริมให้ มะม่วงมีการสังเคราะห์เอทธิลีนได้มากขึ้น และเอทธิลีนนี้เองที่จะเป็นตัวไปกระตุ้นให้มะม่วงออกดอก

วิธีปฏิบัติ ให้ใช้ฮอร์โมน เอ็น.เอ.เอ. ที่มีชื่อการค้าว่า แพลนโนฟิกซ์ อัตรา 3-5 ซี.ซี. ผสมน้ำประมาณ 20 ลิตร และผสมกับโปแตสเซียมไนเตรทอัตรา 300-500 กรัม เมื่อผสมเสร็จแล้ว ให้ทำการฉีดพ่นใบมะม่วงตามธรรมชาติ (เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์) จะทำให้มะม่วงแทงช่อดอกให้เห็นภายหลังจากฉีดสารไปแล้วประมาณ 12 วัน วิธีการนี้จะทำให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าปกติถึง 30-40 วัน





ลุงคะ วิธีนี้ก็น่าทดลอง เปรียบเทียบกับไข่เปิด + 13-0-46
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 04/09/2010 9:04 pm    ชื่อกระทู้: Re: 13-0-46 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Aorrayong บันทึก:
ที่มา http://202.129.0.133/plant/mango/6.html


3. ควรทำการฉีดพ่นสารละลายโปแตสเซียมไนเตรทในตอนเช้ามืด ตอนเย็นช่วงเวลาที่ลมสงบ ซึ่งจะมีผลดี 2 ประการคือ เป็นการลดการไหม้ที่บริเวณปลายใบของมะม่วงซึ่งพบว่าหลังจากที่ได้ฉีดพ่นสาร ละลายไปแล้ว สารละลายจะไหลย้อนไปยังปลายใบมองเห็นเป็นหยดน้ำเกาะอยู่ ถ้าหากทำการฉีดพ่นในเวลาที่มีแดดจัดหรือความชื้นในอากาศมีน้อย จะทำให้น้ำระเหยอย่างรวดเร็วและคงเหลือแต่ปริมาณความเข้มข้นของโปแตสเซียมไน เตรทในอัตราที่สูง ตามบริเวณปลายใบของมะม่วง ซึ่งจะแสดงอาการเป็นพิษต่อเนื้อเยื่อของใบ ทำให้ปลายใบแห้ง ผลดีอีกประการหนึ่งก็คือ การฉีดพ่นในตอนเช้าหรือตอนเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูงจะเป็นการช่วยให้การดูดซึมสารละลายโป แตสเซียมไนเตรทเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว



ปีที่แล้ว ใช้ฮอร์โมนไข่สูตรสเปน (13-0-46 + ไธโอยูเรีย) เปิดตาดอกมะยงชิด ผลคือมะยงชิดใบร่วงเพราะพิษของไธโอยูเรีย และปลายใบไหม้เพราะ 13-0-46 จำได้ว่าพ่นช่วงเวลาประมาณ 10.00 น.-12.00 น.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©