-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ระยองท่องเที่ยวเชิงอุตสาหกรรม
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ระยองท่องเที่ยวเชิงอุตสาหกรรม

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 16/08/2010 9:52 pm    ชื่อกระทู้: ระยองท่องเที่ยวเชิงอุตสาหกรรม ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9530000049116

ชงบอร์ด IRPC ไฟเขียว 3 โครงการ เม.ย.เร่งพัฒนาที่ดินเขตอุตฯเฟสแรก 400 ไร่


ชง บอร์ดไออาร์พีซี อนุมัติการลงทุนใหม่อีก 3 โครงการ เม.ย.นี้ เงินลงทุนรวม 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คาดกลางปีนี้เซ็นสัญญาร่วมกับ กนอ.พัฒนา 2 นิคมฯ ที่วังจันทร์ และบ้านค่าย จ.ระยอง มุ่งพัฒนาเป็นนิคมฯ เชิงนิเวศ ขณะเดียวกัน ก็เร่งพัฒนาที่ดินเขตอุตสาหกรรมติดโรงงานจำนวน 1.6 พันไร่ เพื่อให้เช่า โดยเฟสแรกปีนี้แค่ 400 ไร่ ล่าสุด มีลูกค้า 2-3 รายสนใจ

นายอธิคม เติบศิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายแผนธุรกิจองค์กร บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) เปิดเผยว่า บริษัทฯจะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติแผนการลงทุนใหม่ จำนวน 3 โครงการ มูลค่ากว่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 1.65 พันล้านบาท ในเดือน เม.ย.นี้ ซึ่งโครงการลงทุนดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการฟีนิกซ์ 19 โครงการมูลค่ารวม 6.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะช่วยผลักดันให้ไออาร์ซีพีจะเป็นบริษัทปิโตรเคมีครบวงจรชั้นนำของ เอเชียในปี 2557

โครงการลงทุนใหม่ดังกล่าว ประกอบด้วย
1.โครงการพัฒนาปรับปรุงเพื่อเพิ่มมูลค่าผลพลอยได้จากโรงน้ำมันหล่อลื่นพื้น ฐาน ใช้เงินลงทุน 31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โครงการดังกล่าวจะทยอยแล้วเสร็จในปี 2554

2.โครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเบนซินให้ได้ตามมาตรฐานยุโรป(ยูโร 4) กำลังผลิต 14,700 บาร์เรล/วัน ใช้เงินลงทุนไม่มากเพียง 17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คาดว่า จะแล้วเสร็จตามกฎหมายกำหนดบังคับใช้ในปี 2555 และ

3.โครงการอัพเกรดโพลีเอทิลีน เพื่อทำเป็น PIPE GRADE ใช้เงินลงทุน 8.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จะแล้วเสร็จในปี 2554 สำหรับแหล่งเงินเพื่อใช้ในการลงทุนโครงการดังกล่าวข้างต้นจะมาจากผลการ ดำเนินงานของบริษัท

นายอธิคม กล่าวถึงแผนการนำที่ดินว่างเปล่าของบริษัทฯจำนวน 1.5 หมื่นไร่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ว่า ในกลางปีนี้บริษัทจะลงนามสัญญาร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เพื่อร่วมพัฒนานิคมฯ 2 แห่งของไออาร์พีซี คือ นิคมอุตสาหกรรมที่วังจันทร์ จ.ระยอง พื้นที่ 3,500 ไร่ และนิคมอุตสาหกรรมที่บ้านค่าย จ.ระยอง พื้นที่ 2,500 ไร่โดยมุ่งเน้นพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (ECO Industrail Park ) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทำแผนแม่บทอยู่ โดยเบื้องต้นจะมุ่งเน้นให้นิคมฯที่วังจันทร์ รองรับการลงทุนด้านพลังงานทดแทนและนิคมฯบ้านค่าย รองรับการลงทุนด้าน Green Industry ทั้งนี้ เตรียมจัดทำผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)และสุขภาพ (HIA) คาดว่า จะแล้วเสร็จในปี 2555

ขณะเดียวกัน บริษัทมีแผนพัฒนาเขตอุตสาหกรรมที่ดินบริเวณใกล้เคียงที่ตั้งโรงงานไออาร์พี ซีที่เชิงเนิน จ.ระยอง ซึ่งมีที่ดินอยู่ 1.6 พันไร่ โดยเบื้องต้นจะพัฒนาเขตอุตสาหกรรมในปีนี้จำนวน 400 ไร่ ล่าสุดมีผู้ประกอบการ 2-3 รายสนใจเช่าที่ดินดังกล่าว ส่งผลให้กลางปีนี้บริษัทฯจะรับรู้รายได้เข้ามา

ขณะเดียวกัน บริษัทยังสนใจที่จะหาผู้ร่วมทุนในการพัฒนาโครงการด้านพลังงาน หรือดึงนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน โดยจะให้มาใช้พื้นที่ในนิคมฯดังกล่าวด้วย

นายบรรลือ ฉันทาดิศัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกปีนี้บริษัทฯมียอดขายและกำไรสุทธิปรับสูงขึ้นจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากอัตรากำไร ของธุรกิจปิโตรเคมีและธุรกิจโรงกลั่นสูงขึ้น รวมทั้งไม่มีการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นเหมือนปีที่แล้ว คาดว่าธุรกิจปิโตรเคมีที่มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาส 2 นี้ เนื่องจากความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะจีน

จากมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้อนุมัติแผนการออกหุ้นกู้วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการฟีนิกซ์ ซึ่งจะมีการประเมินสถานการณ์และภาวะตลาดก่อนนำหุ้นกู้ออกขาย คาดว่า ปีนี้จะทยอยออกหุ้นกู้ไม่เกิน 5 พันล้านบาท โดยจะมีการพิจารณาอีกครั้งว่าจะเป็นการออกหุ้นกู้ขายในประเทศ หรือต่างประเทศ

สำหรับแผนการควบรวมกิจการระหว่าง บมจ.ปตท.อะโรเมติกส์ (PTTAR) และ IRPC ขณะนี้ยังอยู่ในกระบวนการศึกษาที่ยังไม่แล้วเสร็จ โดยต้องติดตามดูสถานการณ์ และจังหวะที่เหมาะสม ซึ่งยอมรับว่าปัจจุบัน IRPC ยังมีผลประกอบการขาดทุนสะสมอยู่กว่า 18,000 ล้านบาท

แผนการลงทุน 5 ปีข้างหน้า จะมีโครงการลงทุนทั้งหมด 19 โครงการภายใต้โครงการฟีนิกซ์ ใช้เงินลงทุนรวม 6.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งได้รับการอนุมัติจากบอร์ดบริษัทไปแล้ว 4 โครงการเมื่อปี 2552 มูลค่า 135.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยแนวทางการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็อยู่ภายใต้โครงการฟีนิกซ์ด้วย

โดยแหล่งเงินทุนมาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 4 หมื่นล้านบาท ที่เหลือมาจากวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติแล้ว 5 พันล้านบาท และการออกหุ้นกู้ 2 หมื่นล้านบาท
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 16/08/2010 10:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วันนี้เพิ่งไปประท้วงมาเองครับ สดๆ ร้อนๆ เลย ห่างจากบ้านผมแค่ 3 ก.ม.

ตอนนี้ชาวบ้านป่ายุบใน จัดตั้งองค์กรชุมชนขึ้นสู้ครับ คอยดูต่อไปแล้วกันระหว่างชาวบ้านกับนายทุนจะจบลงอย่างไร หรือจังหวัดระยองจะไม่เหลือพื้นที่ ที่เป็นปอดไว้ให้ลูกหลานได้หายใจเลย...... เฮ้อ...

ไออาร์พีซี.รุกพื้นที่เกษตรแล้วนกกระจิบ 2 ต้นนี้จะปลูกที่ไหน

_________________
อ๊อด ระยอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 16/08/2010 10:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ott_club บันทึก:
วันนี้เพิ่งไปประท้วงมาเองครับ สดๆ ร้อนๆ เลย ห่างจากบ้านผมแค่ 3 ก.ม.

ตอนนี้ชาวบ้านป่ายุบในจัดตั้งองค์กรชุมชนขึ้นสู้ครับ คอยดูต่อไปแล้วกันระหว่างชาวบ้านกับนายทุนจะจบลงอย่างไร หรือจังหวัดระยองจะไม่เหลือพื้นที่ ที่เป็นปอดไว้ให้ลูกหลานได้หายใจเลย เฮ้อ...


อั้ยอ๊อดดดดดดดดดดดด......ทำไมไม่ชวนด้วย
วันนี้ตอน 19.00 น. IRPC นัดแนะเลี้ยงอาหารที่ศาลากลางหมู่บ้าน
คุณไพบูลย์ไปด้วย ได้ข่าวว่า มาสอบถามความคิดเห็นของชาวบ้าน เรื่องการขยายโรงงาน

จะมาถามทำไม(วะ)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
jee_ex15
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 25/10/2009
ตอบ: 41

ตอบตอบ: 17/08/2010 12:07 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถ้าที่ดินสวนของเราอยู่กลางวงล้อม จะทำอย่างไร.........
เราสามารถทนแรงเสียดทาน ได้เหมือน
ที่ดินแปลงหน้าห้างเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า หรือไม่?????

เป็นกำลังใจให้ครับ
จีรศักดิ์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
eawbo
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 03/03/2010
ตอบ: 52

ตอบตอบ: 17/08/2010 12:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เป็นกำลังใจให้ชาวระยองที่ต่อสู้กับอุตสาหกรรม ซึ่งมีมากเกินไปแล้วอากาศก็เสียสารพิษก็มาก

เรื่องมลภาวะทุกคนต้องมีส่วนร่วม ไม่ใช่แค่ที่ระยอง ทุกที่ก็ต้องต่อต้าน

ขอให้สู้..สู้ ... อย่าให้เขาเอามลภาวะและความเจ็บป่วยมาฝากเรา แต่เอาความมั่งคั่งของเขากลับเอาไป
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 17/08/2010 7:58 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Aorrayong บันทึก:
ott_club บันทึก:
วันนี้เพิ่งไปประท้วงมาเองครับ สดๆ ร้อนๆ เลย ห่างจากบ้านผมแค่ 3 ก.ม.

ตอนนี้ชาวบ้านป่ายุบในจัดตั้งองค์กรชุมชนขึ้นสู้ครับ คอยดูต่อไปแล้วกันระหว่างชาวบ้านกับนายทุนจะจบลงอย่างไร หรือจังหวัดระยองจะไม่เหลือพื้นที่ ที่เป็นปอดไว้ให้ลูกหลานได้หายใจเลย เฮ้อ...


อั้ยอ๊อดดดดดดดดดดดด......ทำไมไม่ชวนด้วย
วันนี้ตอน 19.00 น. IRPC นัดแนะเลี้ยงอาหารที่ศาลากลางหมู่บ้าน
คุณไพบูลย์ไปด้วย ได้ข่าวว่า มาสอบถามความคิดเห็นของชาวบ้าน เรื่องการขยายโรงงาน

จะมาถามทำไม(วะ)


ยังไม่ชวนเพราะมันเป็นการประชุมเพื่อจัดตั้งองค์กรหมู่บ้าน เพื่อเอาองค์กรนี้ต่อสู้ครับ เดี๋ยวประท้วงจริงจังปิดถนนเมื่อไหร่ ผมให้พี่เป็นแนวหน้าแน่นอน

ขอพูดคร่าวๆ เรื่องนี้นิดนึง ตอนนี้IRPC.เดินล้ำเราอยู่ 1 ก้าว ส่วนที่ดำเนินโครงการก็ทำไป ส่วนที่ออกมาพบประชาชนก็ทำไป พื้นที่อ.วังจันทร์จากเมื่อก่อนเป็นพื้นที่สีเขียว(พื้นที่เกษตรกรรมเท่านั้น) ปัจจุบันมันยังกลับกลายเป็นสีม่วงไปแล้ว(พื้นที่อุตสาหกรรมบางส่วน) เราชาวบ้านตาสีตาสาก็เพิ่งได้รับข่าวสารก็เมื่อเขาคิดว่าเขาจัดการได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ชาวบ้านก็แตกออกเป็น 2 กลุ่มทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ที่เห็นด้วยก็คือคนที่ไม่ได้อยู่ภาคเกษตรอยากได้ความเจริญเข้ามาสู่ชุมชน ลูกหลานจะได้ไม่ต้องไปทำงานไกล ผู้นำหมู่บ้านบางคนก็ถูกผลประโยชน์ครอบงำ เลยไม่รู้ว่าสุดท้ายจะเป็นอย่างไร เหนื่อย(ว่ะ)
_________________
อ๊อด ระยอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
meninblack
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/02/2010
ตอบ: 81

ตอบตอบ: 17/08/2010 8:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มรึงงสร้าง กรูเผา.... แต่ต้องหาคนไปประกันตัวนี่ซิ
.........


ที่บ้านค่าย คงจะเป็นบริเวณที่มีทุ่งทานตะวัน เขาว่าน่าจะเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน ชาวบ้านคงไม่ยอมแต่พวก อบต. อบจ. ไม่แน่ ผลประโยชน์เยอะครับ

แล้วมันจะเป็นอย่างไรต่อไปล่ะครับเฮียอ๊อด ต้องย้ายไปอยู่จันทบุรีซะละมั้ง
Very Happy
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 17/08/2010 12:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

meninblack บันทึก:
มรึงงสร้าง กรูเผา.... แต่ต้องหาคนไปประกันตัวนี่ซิ
.........


ที่บ้านค่าย คงจะเป็นบริเวณที่มีทุ่งทานตะวัน เขาว่าน่าจะเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน ชาวบ้านคงไม่ยอมแต่พวก อบต. อบจ. ไม่แน่ ผลประโยชน์เยอะครับ

แล้วมันจะเป็นอย่างไรต่อไปล่ะครับเฮียอ๊อด ต้องย้ายไปอยู่จันทบุรีซะละมั้ง
Very Happy


ไปจันทบุรี คิดว่าจะหนีพ้นเหรอ แม้แต่ตราดยังไม่รอด


ที่มา http://thairecent.com/Local/2010/678906/

เครือข่ายระยอง จันทบุรี และตราด ร่วมค้านตั้งนิคมฯเหล็ก


ระยอง - เครือข่ายระยอง จันทบุรี และตราด ค้านตั้งนิคมอุตสาหกรรมเหล็กและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ร.ต.ต.ปัญญวัฒน์ กระทุ่มเขต (นายตำรวจนอกราชการ) ประธานศูนย์ต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนภาคประชาชน (ศตจ.ปชช.)จ.จันทบุรี ผศ.ไพโรจน์ แสงจันทร์ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคตะวันออก นางอินทิรา ภู่สุวรรณ ที่ปรึกษาเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.จันทบุรี นายธีระ วงษ์เจริญ ประธานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติไม้แรด จ.จันทบุรี และนายชุมพล เลิศรัฐการ นักวิชาการอิสระ จ.ตราด ร่วมกันแถลงข่าวให้ยกเลิกการศึกษาในการใช้พื้นที่ จ.จันทบุรี ตั้งนิคมอุตสาหกรรมเหล็กและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จ.ตราด

นางอินทิรา กล่าวว่า สมัชชาสภาองค์กรชุมชน จ.จันทบุรีและเครือข่ายภาคประชาชน 58 องค์กร ทราบว่าขณะนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมมอบหมายให้สถาบันเหล็กกล้าไทยเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทที่ ปรึกษารวม 3 บริษัท ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเหล็ก ในพื้นที่ อ.แหลมสิงห์ และ อ.ขลุง จ.จันทบุรี เครือข่ายฯตระหนักจากบทเรียนนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง นิคมอุตสาหกรรม จ.ลำปาง ฯลฯ ล้วนก่อให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษคุกคามคุณภาพชีวิตสิ่งแวดล้อม

โดยเฉพาะ จ.จันทบุรี มียุทธศาสตร์ส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการค้าผลไม้ปลอดสารพิษ แหล่งค้าพลอยระดับโลก หากมีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเหล็กในพื้นที่ จ.จันทบุรี ย่อมส่งผลกระทบประชาชนในพื้นที่ พวกเราชาวจันทบุรีขอแสดงเจตนารมณ์ในการคัดค้านการจัดตั้งอุตสาหกรรมหนักทุก ประเภท ใน จ.จันทบุรี และพร้อมที่จะติดตามความเคลื่อนไหวอย่างถึงที่สุด คนจันทบุรียืนยันว่าเราขับเคลื่อนด้วยหัวใจของพี่น้องคนจันทบุรีที่ต้องการ จะรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองทั้งสิ้น แต่มีการเสนอข่าวบิดเบือนเอาไปโยงกับการเมือง

นายสุทธิ กล่าวว่า พร้อมจะขับเคลื่อนร่วมกับเครือข่ายประชาชน จ.จันทบุรีและ จ.ตราด โดยจะให้เวลารัฐบาล 1 เดือน นับตั้งแต่วันนี้ ให้ยกเลิกการศึกษาในการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเหล็ก จ.จันทบุรี และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด รวมทั้งที่จะมีการขยายอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นในภาคตะวันออก

ทั้งนี้ หากรัฐยังดึงดันที่จะตั้งอุตสาหกรรมเหล็กและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ พวกเราพร้อมจะมีการเคลื่อนไหวร่วมกันทั้ง 3 จังหวัด และในนามเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกร่วมกันคนมาบตาพุดจะยื่นฟ้องศาลปกครอง ระยอง ให้ระงับหรือให้มีการจัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เอชไอเอ ใหม่ ที่ทำผิดขั้นตอนรวมทั้งสิ้น 20 โรงงาน ในวันที่ 10 สิงหาคมนี้ รวมทั้งแผนลดและขจัดมลพิษ จะต้องมีการเติมเต็มให้มากที่สุด


ที่มา: ผู้จัดการ


http://www.onep.go.th/index.php?option=com_content&task=view&id=1771&Itemid=85

13 ก.ค. 53 คนตะวันออกผนึกต้านนิคมฯเหล็กจันทบุรี จี้รัฐยกเลิกโครงการก่อนร้องศาลปกครอง

ศูนย์ ข่าวศรีราชา-คนตะวันออก เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก และองค์กรเอกชน ผนึกร่วมค้านนิคมอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ ที่อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี หลังจากสถาบันเหล็ก และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ศึกษาพบจ.จันทบุรี เหมาะสมที่สุด ประกาศพร้อมต่อสู้ถึงที่สุดหลังพบบทเรียนนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หลายแห่งของ ประเทศไทย ล้วนสร้างปัญหามลพิษแก่ประชาชนและระบบนิเวศ ลั่นให้เวลารัฐ1 เดือนยุติโครงการก่อนจะหันพึ่งศาลปกครอง ที่มา : www.manager.co.th


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ในจ.จันทบุรี มีการเคลื่อนไหวคัดค้านของกลุ่มประชาชนจำนวนมาก กรณีที่มีข่าวว่า สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรอิสระในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี ให้เป็นเจ้าภาพหลัก ในการดำเนินโครงการได้คัดเลือกพื้นที่เหมาะสม ที่จะจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำรอบๆอ่าวไทยไว้ 4 พื้นที่ คือ
1.พื้นที่ชายฝั่งต. เกาะเปริด ปากแม่น้ำเวฬุ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี
2.พื้นที่ชายฝั่งหาดหมู่บ้านปรีชา ต.ตะพง อ.เมือง จ.ระยอง
3. พื้นที่ชายฝั่งบ้านหัวคุ้ง ท่าบอน อ.ระโนด จ.สงขลา และ
4.พื้นที่ชายฝั่งบ้านบางเก่า ปะเสยาวอ บางตาหยาด อ.สายบุรี จ.ปัตตานี

สำหรับ การเคลื่อนไหวล่าสุด วานนี้( 12 ก.ค.) นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ร.ต.ต.ปัญญวัฒน์ กระทุ่มเขต (นายตำรวจนอกราชการ) ประธานศูนย์ต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนภาคประชาชน (ศตจ.ปชช.)จ.จันทบุรี ผศ.ไพโรจน์ แสงจันทร์ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคตะวันออก นางอินทิรา ภู่สุวรรณ ที่ปรึกษาเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.จันทบุรี นายธีระ วงษ์เจริญ ประธานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติไม้แรด จ.จันทบุรี และนายชุมพล เลิศรัฐการ นักวิชาการอิสระ จ.ตราด ร่วมกันแถลงข่าวให้ยกเลิกการศึกษาในการใช้พื้นที่ จ.จันทบุรี ตั้งนิคมอุตสาหกรรมเหล็ก และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จ.ตราด

นาง อินทิรา ภู่สุวรรณ กล่าวว่า สมัชชาสภาองค์กรชุมชน จ.จันทบุรีและเครือข่ายภาคประชาชน 58 องค์กร ทราบว่าขณะนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมมอบหมายให้สถาบันเหล็กกล้าไทยเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทที่ ปรึกษารวม 3 บริษัท ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเหล็ก ในพื้นที่ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี เครือข่ายฯตระหนักจากบทเรียนนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง นิคมอุตสาหกรรมจ.ลำพูน ฯลฯ ล้วนก่อให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษคุกคามต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ จ.จันทบุรี มียุทธศาสตร์ส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการค้าผลไม้ปลอดสารพิษ แหล่งค้าพลอยระดับโลก หากมีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเหล็กในจ.จันทบุรี ย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผู้ศึกษาใช้อ้างว่า พื้นที่ อ. แหลมสิงห์ จ. จันทบุรี เหมาะต่อการสร้างโรงงานเหล็ก โดยอ้างว่าป่าชายเลนของจังหวัดถูกทำลายเพราะการทำนากุ้งไปแล้ว สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เอามาทำโรงถลุงเหล็กดีกว่า ซึ่งมองดูว่าไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไร

เครือข่าย ประชาชนภาคตะวันออก เช่น ระยอง จันทบุรี และตราด ร่วมต้านนิคมฯเหล็กกับคนจันทบุรีด้วย

ทำ ให้เกิดคำถามว่า ระหว่างป่าชายเลนเสื่อมโทรมกับโรงงานเหล็ก ที่จะต้องเอาถ่านหินมาเป็นเชื้อเพลิง ปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์เต็มฟ้า เมื่อลมตะวันตกพัดเข้ามามันก็พาฝนกรดเข้าหาเมืองแหลมสิงห์ เมืองจันท์ เมืองขลุง และเขาสระบาป ชุมชนเมือง และสวนผลไม้ จะเกิดผลกระทบอะไรอีกมากมาย อุตสาหกรรมใหญ่จะตามมา แรงงานเขมร กับแรงงานพม่าก็มาอยู่กันเต็มเมือง ท่าเรือขนส่งถ่านหิน ขนส่งแร่เหล็กที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศก็จะเกิดขึ้น

นอก จากนี้ หากเกิดเหตุการณ์อะไรในทะเล เช่น น้ำมันรั่ว สารพิษรั่วไหล ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะถูกพัดเข้าหาชายฝั่งที่เป็นป่าชายเลน ปากน้ำแหลมสิงห์ ปากน้ำเวฬุ ที่เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน แหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ก็จะล่มสลายตลอดชายฝั่ง อะไรมันร้ายกว่ากัน จังหวัดที่ไม่ควรมีท่าเรือน้ำลึก กับเขตอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเล คือ ตรัง สตูล จันทบุรี และตราด สภาพแวดล้อมที่คู่ควร คือ ป่าชายเลนที่ตรัง และจันทบุรี ขณะที่สตูล และตราด คือ เมืองท่องเที่ยวที่มีเกาะแก่ง ป่าชายเลน หญ้าทะเล และแนวปะการัง ล่าสุดพบว่าขณะนี้กลุ่มนายทุนได้เข้ามากว้านซื้อที่ดิน ใน 2 ตำบลของ อ.แหลมสิงห์ ไปกว่า 8,000 ไร่แล้ว เพื่อรองรับการทำนิคมอุตสาหกรรม

“พวก เราชาวจันทบุรีขอแสดงเจตนารมณ์ในการคัดค้านการจัดตั้งอุตสาหกรรมหนักทุก ประเภท ใน จ.จันทบุรี และพร้อมที่จะติดตามความเคลื่อนไหวอย่างถึงที่สุด คนจันทบุรียืนยันว่าเราขับเคลื่อนด้วยหัวใจของพี่น้องคนจันทบุรีที่ต้องการ จะรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองทั้งสิ้น”

นาย สุทธิ อัชฌาศัย กล่าวว่า ตนพร้อมจะขับเคลื่อนร่วมกับเครือข่ายประชาชน จ.จันทบุรีและ จ.ตราด โดยจะให้เวลารัฐบาล 1 เดือน นับตั้งแต่วันนี้ ให้ยกเลิกการศึกษาในการจัดตั้งอุตสาหกรรมเหล็ก จ.จันทบุรี และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด รวมทั้งที่จะมีการขยายอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นในภาคตะวันออก

ทั้งนี้ หากรัฐยังดึงดันที่จะตั้งนิคมอุตสาหกรรมเหล็กและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ พวกเราพร้อมจะมีการเคลื่อนไหวร่วมกันทั้ง 3 จังหวัด และในนามเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ร่วมกับคนมาบตาพุด จะยื่นฟ้องศาลปกครองระยอง ให้ระงับหรือให้มีการจัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เอชไอเอใหม่ ที่ทำผิดขั้นตอนรวมทั้งสิ้น 20 โรงงาน ในวันที่ 10 สิงหาคมนี้ รวมทั้งแผนลดและขจัดมลพิษ จะต้องมีการเติมเต็มให้มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเร็วๆนี้ ชาวบ้านตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ ร่วมกับสมัชชาสภาองค์กรชุมชนเครือข่ายภาคประชาชน 58 องค์กร นำโดย นายธีระ วงศ์เจริญ ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลพลับพลา ร้อยตำรวจตรีปัญญวัฒน์ กระทุ่มเขต ประธานศูนย์ต่อสู้ เพื่อเอาชนะความยากจนภาคประชาชนจังหวัดจันทบุรี อาจารย์สุเวช ภู่ระหงษ์ ประธานสื่อภาคประชาชนจังหวัดจันทบุรี และนายวีระ สุจิต นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ ได้รวมตัวกัน เพื่อติดป้ายขนาดใหญ่ ที่ระบุข้อความว่าชาวอ.แหลมสิงห์ไม่เอาโรงงานถลุงเหล็ก เพื่อเป็นการแสดงจุดยืนว่าชาวอ.แหลมสิงห์ และชาวจันทบุรี ไม่ต้องการให้มีการก่อสร้างโรงงานถลุงเหล็กในจ.จันทบุรี

นอกจากนั้น เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมา สมัชชาองค์กรชุมชนเครือข่ายภาคประชาชน 58 องค์กร ได้จัดเวทีปราศรัยคัดค้านโรงงานอุตสาหกรรมถลุงเหล็ก หรือนิคมอุตสาหกรรมเหล็ก โดยได้มีการเชิญนักวิชาการผู้มีความรู้มาบรรยายให้ความรู้แก่ชาวบ้านในหลาย จังหวัดที่เดินทางมาร่วมงานจำนวนนับพันคน ที่หน้าศาลากลางจังหวัดจันทบุรีด้วย

สำหรับ การศึกษาโครงการ จะแบ่งเป็นพื้นที่บนบกประมาณ 30,000 ไร่ และพื้นที่ทำการศึกษาในทะเลขนาด 10 x 25 ตารางกิโลเมตร และการศึกษาองค์ประกอบโครงการ จะประกอบด้วย อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำและอุตสาหกรรมสนับสนุน คือ โรงงานถลุงเหล็ก โรงงานผลิตเหล็กกล้า โรงงานผลิตถ่านโค้ก โรงงานออกซิเจน โรงงานผลิตไฟฟ้า โดยสถาบันเหล็ก จ้างบริษัทที่ปรึกษา คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี หรือ COT วงเงิน 30 ล้านบาท


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 17/08/2010 12:52 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 17/08/2010 12:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.spt-th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=2199:2010-07-22-17-12-03&catid=89:2009-11-11-04-30-07&Itemid=20

จากถนนเขาใหญ่ ถึงโรงเหล็กชายหาดจันทบุรี ถึงโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ชายหาดทรายแก้ว ตราด โรงงานไฟฟ้าปะทิว นิคมอุตสาหกรรมสิชล นิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลปัตตานี-ยะลา ฯลฯ จนถึง กระเช้าขึ้นภูกระดึง....ผลประโยชน์ของใคร????

เรียนอาจารย์เพี่อนพี่น้อง ทุกท่าน
นอกจากโครงการขนาดใหญ่รอบทะเลอ่าวไทย ถึงอันดามัน
ยังไม่จบ ก็ยัีงมีโครงการเขาใหญ่ ภูกระดึง และสารพัดเขื่อน
เกิดขึ้นราย ล้อมประเทศ เข้ามามากมายในเวลาเดียว
นี่มันอะไรกัน?????????

เราประชาชนกำลังจ้างใครมารับประทาน เงินเดือนจากภาษีของเรา
60%ของงบบริหารราชการแผ่นดินวันนี้ มาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม
หรือ VAT คือเงินเดือนข้าราชการจากเราทุกคน
แต่ฝ่ายบริหารที่เราจ้างกำลังทำ อะไรกับประเทศไทย????
ที่ปล่อยให้บริษัทธุรกิจเข้ามา หาประโยชน์จากแผ่นดินของเราเช่นนี้

เราขอตั้งประเด็น พร้อมกับรายงานความคืบหน้าต่างๆ ดังนี้


การชี้วัดความสำเร็จของฝ่ายบริหาร คือ GDP ของจังหวัด
และประเทศ ดังนั้นผู้ว่าทุกคนต้องสร้างตัวเลข GDP ใ้ห้เกิดขึ้น
ด้วยส่งเสริมการค้า การลงทุนในพื้นที่มากสุด โดยไม่ตระหนักถึง
ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพราะการมีป่าและทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์
ในพื้นที่ปกครองของตนเอง ไม่สามารถเอาไปอ้างความเจริญของ
จังหวัดตนเองเพื่อยกฐานะผู้บริหาร ที่มีความสามารถตามดัชนีชี้วัด
ของรัฐที่ว่าจ้างบริษัทต่างชาติ คือ ทริสต์ มาเป็นผู้รับเหมาการชี้วัด
ผลการทำงานของทุกจังหวัดทุกหน่วยงาน ทั่วประเทศ โดยเกณฑ์
ในการชี้วัดเป็นไปตามหลักสถิติทั้ง รายได้ประชาชาติ ความยากจน
ผลผลิตฯลฯ ไม่มีการชี้วัดว่า หากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือป่าไม้จังหวัด
คนใดรักษาป่าได้ดีจะมีคะแนน ผลงานเท่าไร? แต่ถ้าป่าหายทรัพยากร
ลดลงก็ตามจับฟ้องร้องจากนั้นก็หมด หน้าที่ไม่มีความผิดอันใด ไม่ว่า
การตัดป่าเกิดขึ้นเท่าไรป่าลดล งเท่าไร การฟ้องจะลงเอยอย่า่งไร
ผู้ว่าและเจ้าหน้าที่ป่าไม้ไม่เคยมีความผิดเลยใช่ไหม ??????????????
คือมีอำนาจ มีหน้า้ที่แต่ไม่ต้อง
รับผิดหรือรับชอบต่อผลทีเกิดขึ้น เพราะป่าและทรัพยากรธรรมชาติ
ไม่แสดงผลเป็นตัวชี้วัด GDP ตามหลักการของบริษัททริสต์ที่กำหนด
หลักการร่วมกับ กพ. ใช่ไหม?????


แทบทุกจุดที่จะเริ่มโครงการทำกันอ ย่างเงียบกริบ เช่น กรณีกระเช้าภูกระดึง
ที่กำหนดสร้างเดือนสิงหาคม 2553 ตามที่เป็นข่าวนี้ พวกเราเพิ่งทราบจากข่าว
ที่เผยแพร่และส่งต่อๆกันมา ไม่ต่างจาการจัดเวทีนิเคลียร์ที่ตราดและโรงงาน
เหล็กที่จันทบุรี ที่ประชาชนรู้ล่วงหน้าแบบกระชั้นชิดและไม่ทั่วถึง


ผู้มีอำนาจใช้วิธีการดำเนินการ ที่สร้างความหวาดระแวง เช่น
กรณีโรงงานเหล็กที่จันทบุรี ในการจัดเวทีวันที่ 21 มิถุนายน 2553 บริษัท
อิมเมจพลัส ผู้รับจ้างจากหน่วยงานรัฐได้เข้ามาในที่ประชุม ศตจ.
(ศูนย์ขจัดควายากจนและพัฒนา ชนบทตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง)
เพื่อชี้แจง
ความเป็นไปได้การจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ ที่ประชุมก็คัดค้าน
หลังจากนั้นอิมเมจพลัสจึงลงพื้นที่ ทำเวทีด้วยการให้ผู้นำในท้องที่จัดเวทีโดยให้ค่า
ตอบแทนผู้ เข้าร่วมเวทีย่อย คนละ 200-300 บาท โดยมิได้แจ้ง ศตจ.ในพื้นที่
ทราบอีกเลย ประชาชนก็เข้าร่วมเวทีต่างๆ เวทีละ 20-30 คน ซึ่งจัด 3 ครั้ง มีประ
ชาชนเข้ารวม ทั้ง 3 ครั้ง ประมาณ 100 คน จึงมีผู้ได้เห็นแผนที่ตั้งโรงงานซึ่งมีการ
กำหนดไว้แล้ว เป็นพื้นที่สีม่วงมีสีเหลืองล้อมรอบ บริเวณ ต.เกาะเปิด อ.แหลมสิงห์
แต่จะกระทบ ถึง ต.หนองชิ้ม ต.เกวียนหัก เขตอำเภอขลุง อ่าวคุ้งกระเบน อ.ท่าใหม่ด้วย
จากนั้น
บ.อิมเจพลัส ได้มอบหมายให้สมัชชาสภาองค์กรชุมชน จังหวัดจันทุบรี จัดเวที
ที่โรงแรมเท รวลอด์จ โดยให้เชิญผู้เข้าร่วม 100 คน โดยผู้จัดนำสมาชิกสภาองค์กร
ชุมชน 22 สภาฯในพื้นที่เข้าร่วม พร้อมกับสภาพัฒนาการเมือง พัฒนาชุมชน เกษตร
อุตสาหกรรม นายกอบต.พื้นที่ สจ.สส.พื้นที่ มาร่วมกันในวันนที่ 21 มิย.หลังจาก ศตจ.
ชี้แจงที่มา ที่ไปของเวทีแล้ว อิมเมจพลัสก็ขึ้นพูด โดยนายสุนทมร คุนชัยมัง ไ้ด้พูดถึง
แต่ด้านดีจาก ประเทศญี่ปุ่น บรรยากาศมีการแสดงความเห็นค้าน และการนิ่งเฉยของ
ผู้แทนหน่วย งานรัฐบางส่วน

เื่มื่อ บรรยากาศไปต่อไม่ไ่ด้ นักวิชาการม.ราชฏักฯก็แสดง
ความเห็น จากนั้นประชาชนในเวทีร่วมกันลงนามไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงงาน เหล็ก
ต้นน้ำที่จัง หัดจันทบุรี บนผ้่ขาวยาว ประชาชนเตรียมแถลงการณ์ตอนเที่ยง ทาง
อิมเมจพลัส จึงให้นักข่าวกลับไป ประชาชนจึงปิดเวทีไปกินอาหาร
จากนั้นช่วง บ่ายวันเดียวกันประชาประมาณ 200 คน เดินทางไปไปศาลากลางฯ
ยื่นหนังสือ คัดค้านฯถึงผู้ว่าฯ โดยมีรองฯ มานพ มารับหนังาสือแทน ประชาชนจึง
แยกย้ายกัน กลับ

หลังจากนั้น อิมเมจพลัส มีแผนลงพื้นที่เอง มีเป้าหมายที่โรงเรียนปากน้ำแหลมสิงห์
ประชาชนใน พื้นที่อ.แหลมสิงห์ ซึ่งเป็นพื้นที่มีสภาองค์กรชุมชน จึงร่วมกันนรณรงค์
ถือป้ายพร้อม รถแห่ มีประชาชนในพื้นที่มาร่วมกัน นำอาหารผลไม้มามอบให้กลุ่มรณรงค์
มีผู้เข้ารวม จำนวนมาก

หลังจากนั้น อีก 2 วัน จึงมีการจัดเวทีในพื้นที่แหลมสิงห์ โดยมีประชาชาในพื้นที่
ร่วมกันจัด เวทีคัดค้าน จนกระทั่งนายกเทศมนตรีเทศบาลปากน้ำแหลมสิงห์ประกาศ
ขอร่วมคัด ค้านด้วย แล้วร่วมกันจัดตั้งป้ายคัดเอาท์ขนาดใหญ่ คัดค้านการตั้งโรงงานฯ
ไ้ว้ที่ทาง เข้าปากน้ำแหลมสิงห์ ตรงทางแยกพริ้ว

จากนั้นมีการ จัดงานวันที่ 9 กค ที่ผ่านมา โดยสมัชชาสภาองค์กรชุมชนและเครือข่าย
เพื่อแสดง เจตนารมณ์ว่าคนจันทบุรีไม่เอาอุตสาหกรรมหนักทุกประเภทที่ทำลาย สิ่ง
แวดล้อม ณ ที่ศาลากลางจังหวัด จันทบุรี
แต่
เนื่องจากโครง สร้างโรงงานเหล็กต้นน้ำจันบุรี มีการเตรียมการไว้นานแล้ว จึงมีการซื้อ
ที่ดินรวมได้ จำนวน 8000 ไร่ ที่ ต.เกาะเปิด อ.แหลมสิงห์ ในนามของ ... ฝ่ายผู้ลงทุนที่จะเปิด
โรงงานเหล็ก ต้นน้ำ จึงเป็นข้อกังวลว่า เมื่อเป็นการสร้างภายในที่ดินเอกชน ประชาชน
จะสามารถคุ้ม ครองสิทธิชุมชนแ้ละสิ่งแวดล้อมไว้ได้อย่างไร แห่ลงปาพยูน หาดเจ้าหลาว
แหล่งปลาโลมา ป่าชายเลน มีนกเหยี่ยวแดง มากมายที่มาอาศัยอยู่ ต.ท่าสอน อ.ขลุง
และอ่าวคุ้ง เบน อ.ท่าใหม่ ชาวบ้านที่มีเรือขนาดเล็กทีมีอาชีพประมงตามชายฝั่ง
จะอยู่อย่างไร ทั้งสามอำเภอมีชาวบ้านจำนวนมากที่ทำประมงชายฝั่งตลอดทั้ง พื้นที่
รวมทั้งการ ท่องเที่ยว ในพื้นที่ที่ต้องรับผลกระทบอีกด้วย

เช่นเดียวกับเวทีที่ตราด ที่เคยเล่าไปแล้วว่า ในเวทีวันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมา
ป้ายหน้า้ห้องของการไฟฟ้าฯและ กระทรวงพลังงาน กล่าวถึงการให้ความรู้
แต่แบบสอบถาม กลับให้ตอบว่า เห็นด้วยที่จะให้ตั้งโรงงานไฟฟ้าหรือไม่?
เพราะอะไร? อีกทั้งเนื้อหาที่นพเสนอก็ให้แต่ผลด้าบวกล้วนๆ การตอบแบบ
สอบถามหลังจากได้รับข้อมูลเพียง ด้านเดียวเช่นนี้ ถือว่าเป็นกระบวนการที่
ปราศจากความจริงใจ ขาดธรรมาภิบาล และ เอาเปรียบประชาชนด้วยอำนาจ
ที่กุมข้อมูลข่าวสารและสื่อ โดยใช้เงินเป็นตัวตั้ง
ยังท้าทายว่า เวที ทีตำบลไม้รูด ในวันที่ 23 ก.ค.นี้จะออกมาอย่างไร
ประชาชนจะรับมืไหวมั้ย ทราบล่าสุดว่า ผู้นำพื้นที่บางคนเสียงอ่อนลง
หลังจากคนเลือดตราดผู้มีโอกาส ไปญี่ปุ่น ลงพื้นที่ต่อจากเรา และมีเป้า
หมายที่จะยึด พระในท้องถิ่นเป็นหัวใจของการเกลี้ยกล่อมประชาชน
เราจึงนึกได้ ว่า ตอนไป อบต. เห็นโปสเตอร์ของธรรมกายติดอยู่ข้างผนัง
หน้าที่ทำการ ด้วย ....... ท่า่นที่มีวิจารณญาณ ลองพิจารณาความเื่ชื่อม
โยงต่างๆ ระหว่าง อำนาจทุน อำนาจรัฐ อำนาจท้องถิ่น อำนาจวัฒนธรรม
และศาสนาที่ มากด้วยทุน กับ ศาสนาที่ปราศจากผู้นำท้องถิ่นที่บริสุทธิื
ด้วยศีลสมาธิ ปัญญา ... ว่าบริบทของการรุกรานประชาชนและทัรพยากร
นั้นมิได้ใช้ เครื่องมือเพียงรัยและทุน แต่ยังใช้ศาสนาและวัฒนธรรมความเชื่อ
เข้ามาใช้อีก ด้วย... อะไรคือทางที่เราจะดำเนินการเพื่อสร้างความเป็นธรรม
ขึ้นในสังคม ได้บ้าง ?????????????


คิดไปว่า หากแต่ละพื้นที่แต่ละประเด็นคิดถึงแต่เพียงเรื่องของตนเอง
สู้แต่เรื่องของตนเอง เห็นที่จะยากยิ่งกว่าการร่วมมือในทางกว้างแบบ
แนวราบร่วมกันสู้รวมกันขับเคลื่อน
เมื่อคืนที่ผ่านมาจึงหารือแกน นำที่จันทบุรีตั้งแต่หัวค่ำจนถึงเที่ยงคืนกว่า
เพื่อร่วมช่วยกันทั้งจันฯ ตราด ระยอง ชลฯ อย่า่งพร้อมเพรียง
หลังจากนั้น น่าจะมีการพบกันของแกนนำภาคตะวันออกทั้งหมด
แล้วจัดเวทีประชาชนภาคตะวันออก เรื่องการพัฒนากับทรัพยากรและ
วิถีชุมชนท้องถิ่น เพื่อส่งเสียงไปยังคณะปฏิรูปฯ ทุกคณะ รัฐบาล และ
ผู้ที่รับเงินเดือนจากพวกเราทุกคน ในนามข้าราชการและนักการเมือง
เพื่อรับรู้ถึงสิ่งที่ประชาชน กำลังคิดบนพื้นฐานความเป็นจริง เพื่อปรับ
เปลี่ยนทัศนะการทำงานของหน่วยงาน และคนของรัฐ โดยเฉพาะ
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ที่มีเจ้าหน้าที่ 500 คน
ใช้งบ 500 ล้านบาท ต้องเลิกนำเสนอแผนพัฒนาที่ทำตามโจทย์
การเมือง แต่ต้องทำตามโจทย์ของประชาชน ในท้องถิ่น เป็นสำคัญ
ปัญหาหลายอย่า่ง ดคีหลา่ยคดี ไม่มีความจำเป็นต้อเกิดขึ้น มาใช้งบ
ประมาณของชาติ หากการจัดการของรัฐเป็นไปเพื่อประชาชน โดยประ
ขาชน และเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
ระบบการวัดผลงานจ้ราชการด้วยตัวเลข GDP ต้องเปลี่ยนให้เหมาะ
สมกับความเป็นจริงบนความสุขของ ประชาชน ... สิ่งนี้จะเกิดได้เมื่อ
มีเงื่อนไขอะไร..........นอก จากตัวเราและ คน ที่มีอำนาจ
ที่มีความกล้าอย่า่งบริสุทธิจาก ผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง
ผู้นำที่เราต้องการ มิใช่ทำหน้าที่เพียงหัวหน้าคณะบริหาร
ขอให้ดูภาพยนตร์เรื่อง INVICTUS เราจะพบว่า ประเทศเราขาดผู้นำ
และเข้าใจชัดขึ้นว่า ทำไมคุณทักษิณจึงได้รับการยอมรับ ทั้งที่มีความเลวมากกว่า
ความดี เพราะเขามีความเป็นผู้นำแต่เป็นผู้นำที่เลวร้ายที่สุดคนหนึ่งของ
สังคมไทย...เราจึงถูกต้อนให้มา ถึงสภาพการเมืองที่อับจนมาถึงวันนี้
ด้วยจิตคารวะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Yuth-Jasmine
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010
ตอบ: 384

ตอบตอบ: 17/08/2010 3:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กระฎุมพี กิน แรง แก่ง แย่ง ช่วง ชิง
ทุก เข็ญ ย่อม ตก อยู่ กับ สู เจ้า ทั้ง หลาย
เรา นั้น มิ ได้ ต่าง อะ ไร จาก อา จม น่า รัง เกียจ
มี แต่ จะ ถูก ผลัก ไส ให้ พ้น ไป จาก แผ่น ดิน
สูญ สิ้น เผ่า พันธ์ ได้ ยิ่ง ดี

กระฎุมพี เหล่า นี้ หา เคย อ่าน ลิ ลิต โอง การ แช่ง น้ำ ก็ หา ไม่
จึง มิ ได้ รู้ สึก รู้ สา ใด ๆ ทั้ง สิ้น
ก้อน เนื้อ หยาบ ช้า เหล่า นี้ ล้วน พุ่ง เป้า ไป สู่ ผล ประ โยชน์ ล้วน ๆ

น่า เศร้า สำ หรับ ขวาน ทอง ของ เรา ยิ่ง นัก
อีก หน่อย คง เหลือ ไว้ แต่ คำ เล่า ขาน ว่า
เมือง ไทย เคย เป็น เมือง อู่ ข้าว อู่ น้ำ

เวร เวร เวร เวร เวร เวร เวร เวร เวร เวร เวร เวร
ตก แก่ ใคร หรือ

ยิน ดี ด้วย กับ ชะ ตา กรรม ที่ พี่ น้อง ชาว ระ ยอง ได้ รับ
เหล่า ท่าน ทั้ง หลาย จะ ได้ แข็ง แกร่ง ยิ่ง ขึ้น

ซื้อ "ฟัก" ตุน ไว้ มาก ๆ น่ะ เอา ไว้ แจก กระฎุมพี เหล่า นี้

ขอ โชค ชัย จง มี แก่ ท่าน เถิด พี่ น้อง เอ๋ย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 18/08/2010 2:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจาก http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000113813

ชาววังจันทร์ นับพันรวมตัวต้านนิคมฯไออาร์พีซี

ระยอง - ชาวป่ายุบ ในจ.ระยอง นับพันคน เลือกประธานสภาองค์กรชุมชน เตรียมค้านตั้งนิคมอุตสาหกรรมไออาร์พีซี

เย็นวันนี้( 16 ส.ค. ) ที่วัดป่ายุบใน หมู่ 5 ต.วังจันทร์ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง มีชาวบ้านป่ายุบในจำนวน 1,000 คนเดินทางมาลงชื่อคัดค้านการตั้งนิคมอุตสาหกรรมไออาร์พีซี วังจันทร์ และเข้าร่วมประชุมเพื่อสรรหาบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งประธานสภาองค์ชุมชน ต.ป่ายุบใน พร้อมด้วยรองประธานที่ปรึกษา และคณะกรรมการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีนายนวรานนท์ อนัณวรณกรณ์ ประธานสหกรณ์นิคมป่ายุบใน นายพสิฐ จิรฉัฐวัฒน์ กำนัน ต.ป่ายุบใน อดีตกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทั้ง 8 หมู่บ้านเข้าร่วมประชุม โดยให้ชาวบ้านเสนอชื่อประธานสภาฯ รองประธานสภาฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษาและคณะกรรมการ

ผลการเสนอชื่อลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ นายนวรานนท์ อนัณวรณกรณ์ เป็นประธานสภาองค์กรชุมชน ต.ป่ายุบใน มีนายภิรัตน์ พิทยานุรักษกุล และ น.ส.รุจจิรา ชุมแสงพันธุ์ เป็นรองประธานสภาฯ นายดำรงค์ศักดิ์ หรือเจ้าของฉายาหมอกุ ชุมแสงพันธุ์ เป็นที่ปรึกษา และคณะกรรมการอีกจำนวนหลายคน

นายนวรานนท์ ประธานสภาองค์กรชุมชน ต.ป่ายุบใน กล่าวว่าปัญหาเร่งด่วนในขณะนี้ ที่คณะกรรมการฯจะต้องร่วมมือกันหาข้อเท็จจริง เพื่อคัดค้านการก่อตั้งนิคมอุตสาหกรรมไออาร์พีซี(วังจันทร์ ) บนพื้นที่ 3,800 ไร่ ในพื้นที่ตำบลป่ายุบใน วอนพี่น้องประชาชน คณะกรรมการ คณะที่ปรึษาช่วยหาข้อมูลมาให้คณะกรรมการ เพื่อจะขับเคลื่อนองค์กรนี้เพื่อเป็นบทพิสูจน์ว่าพี่น้องป่ายุบในมีความ สามัคคีหรือไม่

พื้นที่ของไออาร์พีซี จำนวน 3,800 ไร่ กับพื้นที่ชาวบ้าน 87,000 ไร่ ถามว่าถ้าพวกเราขับเคลื่อนสู้เขาไม่ได้ ก็ต้องยอมเขา ความพร้อมเพรียงและความสามัคคีตำบลเราเท่านั้นและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ถึงจะขับเคลื่อนผลักดันสิ่งที่ไม่ดีให้พ้นจากตำบลป่ายุบใน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 18/08/2010 9:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บอกได้คำเดียวสงครามครั้งนี้คงยืดเยื้อแน่นอนครับ ระหว่างพลังเงินกับพลังประชาชน ถ้าชาวป่ายุบในไม่ร่วมใจกันต่อสู้ผมบอกได้เลยครับ ลูกหลานลำบากแน่นอน

ห่วงก็แต่ลูกแต่หลาน จริงไหมครับลุง
_________________
อ๊อด ระยอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 11/09/2010 9:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เปิดทุกมุม เคล็ดไม่ลับ คนของประชาชน


แม้ร่างกายจะเหนื่อยล้า แต่จิตวิญญาณยังแข็งแกร่ง... เปิดทุกมุม เคล็ดไม่ลับ คนของประชาชน

“ นักเคลื่อนไหวภาคประชาชนรุ่นใหม่ สุทธิ อัชฌาศัย ”



สำหรับท่านที่ติดตามข่าวทั้งในหน้าหนังสือพิมพ์ หน้าจอทีวี หรือวิทยุกระจายเสียง ทั้งระดับประเทศและระดับภูมิภาค ท่านคงเคยได้ยินชื่อ “ สุทธิ อัชฌาศัย ” นักต่อสู้ นักเคลื่อนไหว ภาคประชาชนที่ออกมาเดินหน้าชนกลุ่มทุนขนาดยักษ์ อย่างพวกทุนอุตสาหกรรมที่มีอยู่มากมายในจังหวัดระยอง สู้อย่างเด็ดเดี่ยว ทระนง โดยไม่ยอมที่จะก้มหัวให้ใครแม้แต่น้อย เขาเป็นใคร ทำไมถึงต้องออกมาสู้ มาเคลื่อนไหว เขาหวังอะไร ทำเพื่ออะไร ทำทำไม..? เราลองมาทำความรู้จักเขากันสักนิดดีกว่า


สุทธิ อัชฌาศัย เป็นคนรุ่นใหม่ อายุเพียง 30 ต้นๆ เป็นคนระยองโดยกำเนิด มีพี่น้อง 5 คน บรรพบุรุษเป็นเกษตรกรรม ชาวสวนผลไม้ เรียนจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นคนสุภาพ เรียบร้อยพูดจาให้เกียรติกับทุกๆคน ที่เขาสนทนาด้วยไม่เคยดูถูกคน จริงจังกับชีวิต มุมานะตามอุดมการณ์และฝันที่เขาตั้งใจทำให้เป็นจริง สถานภาพปัจจุบันสมรสและมีบุตร 1 คน ชอบอ่านหนังสือ ศึกษาตำราและนำมาประยุกต์สู่การปฎิบัติจริงได้อย่างเป็นผล และที่สำคัญเขาชอบสนทนากับผู้สูงอายุ ปราชญ์ชาวบ้านแล้วก็นำเคล็ด หรือเกร็ดความรู้ของทั้งตำรา ทฤษฎีกับภูมิปัญญาชาวบ้านมาผสมผสาน อย่างน่าทึ่ง จนนำไปสู่แนวทางปฏิบัติที่แสนเฉียบคมโดยตลอดเวลา



ปัจจัยสำคัญที่ สุทธิ อัชฌาศัย ออกมาต่อสู้เคลื่อนไหวภาคประชาชน อาจเพราะจากการหล่อหลอมในช่วงที่เขาศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในช่วงนั้นเขาเป็นนักกิจกรรมตัวยงในรั้วมหาวิทยาลัย ทำกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนา ชุมชนแออัดและชุมชนในชนบท มาโดยตลอดในช่วงที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย เกิดการซึมซับ และรู้ซึ้งถึงปัญหาของชาวชุมชน คนชายขอบ คนด้อยโอกาสในสังคมเป็นอย่างดี และพยายามตั้งเป้าหมายชีวิตว่า เมื่อเรียนจบปริญญาตรีแล้ว ต้องนำความรู้ของตนไปช่วยพัฒนาคนชายขอบ คนด้อยโอกาสเหล่านั้น เพื่อให้พวกเขามีโอกาสทางสังคมให้ได้ ไม่มากก็น้อย

หลังจากนั้น เขาก็ได้ผกผันตนเองเข้าสู่การทำงานในวงการ NGOs หรือองค์กรพัฒนาเอกชน ภายใต้ความมุ่งมั่นที่อยากจะทำงานใช้ความรู้ที่มีอยู่สู่การได้ช่วยเหลือคนร่วมสังคมด้วยกัน โดยเริ่มจากการทำงานกับกลุ่ม NGOs ที่ทำงานกับชุมชนแออัด หรือสลัมใน กทม. โดยมีพี่สุวิทย์ วัดหนู และพี่จำนงค์ จิตนิรัตน์ เป็นพี่เลี้ยง คอยแนะนำรูปแบบหรือวิธีการทำงานให้อย่างใกล้ชิด จนมีประสบการณ์และรู้ซึ้งถึงปัญหาโครงสร้างทางสังคมที่ซับซ้อนอย่างแตกฉานมากขึ้น จึงเริ่มออกเดินทางสู่ขบวนชนบทที่จังหวัดอุบลราชธานี จึงได้ไปพบกับพี่มด วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ และพี่น้องปากมูล รวมถึงมีโอกาสช่วยงานเล็กๆน้อยๆ ในขบวนการภาคประชาชนที่ชื่อว่าสมัชชาคนจนอยู่บ้างเป็นบางครั้ง...จนเกิดความรู้และเห็นช่องทางการเคลื่อนไหวภาคประชาชนผู้ประสบต่อปัญหาอย่างชัดเจน และตั้งเป้าหมายชีวิตอีกครั้งว่าจะกลับมาทำที่บ้านเกิดบ้าง จึงตัดสินใจนำประสบการณ์การต่อสู้จากที่เขาได้เรียนรู้มานำกลับมาสู่การสร้างองค์กรภาคประชาชนที่บ้านเกิด คือจังหวัดระยองนั่นเอง


สุทธิได้ศึกษาวิเคราะห์ดูสภาพปัญหาของจังหวัดระยอง รวมถึงภูมิภาคตะวันออก รวบรวมกลุ่มประชาชน รวบรวมกลุ่มปัญหา และจัดตั้งองค์กรภาคประชาชนขึ้น โดยใช้ชื่อองค์กรว่า “ เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก “ ภายใต้จุดมุ่งหมายคือ จัดสรร จัดการทรัพยากรอย่างเป็นธรรม เพราะภาคตะวันออกเป็นภูมิภาคแห่งการขยายโรงงานอุตสาหกรรมมีการเบียดบังแย่งชิงทรัพยากรของชาวบ้าน จากนายทุนอุตสาหกรรมอยู่ตลอดเวลา รัฐบาลทุกชุด ทุกยุคทุกสมัยก็เข้าข้างนายทุน มองแค่ตัวเลขGDP แต่คนภาคตะวันออกนี้ ต้องรับกรรม เสียทั้งทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพจากมลพิษอุตสาหกรรมอยู่ทุกวัน


สุทธิ อัชฌาศัย จึงเริ่มนำความรู้และประสบการณ์ที่เขาได้รับมา นำมาเคลื่อนไหวในบ้านเกิดของเขาที่จังหวัดระยอง ในนามผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก โดยเริ่มจากประเด็นคัดค้านการแย่งชิงทรัพยากรน้ำเมื่อปี 2548 เหตุผลที่ต้องออกมาช่วยชาวระยอง เพราะรัฐบาลสมัยนั้นคิดแต่จะเอาน้ำไปช่วยเหลือแต่ภาคอุตสาหกรรมอย่างเดียว ไม่สนใจภาคประชาชน ซึ่งควรดูประชาชนและเกษตรกรด้วย หลังจากนั้นก็มาทำเรื่องเปิดโปงปัญหามลพิษในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จากโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อปี 2549 โดยเป็นผู้ริเริ่มเสนอประเด็นเรียกร้องให้มีการประกาศมาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ จนรัฐบาลสุรยุทธ จุลานนท์ ต้องกำหนดแผนการแก้ปัญหามลพิษอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นมา 2550 -2554 และช่วงกลางปี 2550 ได้นำชาวระยองคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน IRPC ซึ่งสามารถนำประชาชนชาวระยองที่รักษ์ในผืนแผ่นดินถิ่นเกิดออกมาคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน IRPC ได้ถึงสามหมื่นคน จนทาง IRPC ยอมยกธงขาวล้มโครงการนี้ไป และในปัจจุบันนี้เขายังคงเดินหน้าคัดค้านการขยายอุตสาหกรรมปี่ 2551 ในพื้นที่นิคมมาบตาพุด และพื้นที่นิคมต่างๆของจังหวัดระยองต่อไป เพราะด้วยเหตุผลทางกายภาพที่ระยองไม่สามารถรองรับมลพิษได้อีก จากการปล่อยมลพิษเกินของโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งหมดนี้คือจุดเริ่ม และภาพปัจจุบันของสุทธิ อัชฌาศัย กับการเป็นผู้นำการเคลื่อนไหวภาคประชาชนในบ้านเกิดของเขา





สุทธิ รู้ดีว่าหนทางในการต่อสู้ยังอีกยาวไกล ชีวิตเขาถูกข่มขู่ คุกคามอยู่ตลอดเวลา เพราะการไปขัดผลประโยชน์หน่วยงานรัฐบาลที่เห็นแก่เงินบ้าง ไปขัดผลประโยชน์นายทุนที่เห็นแก่ได้บ้าง จึงถูกหมายหัว คิดดูก็น่าหวาดเสียวแทน เพราะว่ากำลังเดินชนกับทั้งรัฐฯและทุน ซึ่งมีขนาดใหญ่มหาศาล ทุนที่พร้อมจะจ่ายเงินฟาดหัว กรุยทางเพื่อให้ทุกคนสมยอมเขาได้เสมอ ทุนที่สามารถจัดการกับคนที่ไม่เห็นด้วยกับพวกเขาได้ด้วยวิธีการต่างๆตลอดเวลา แต่สำหรับสุทธิแล้ว ทุนทำอะไรเขาไม่ได้ เพราะด้วยความยึดมั่น ถือมั่นในอุดมการณ์ ความมั่นคงในความถูกต้อง เป็นสิ่งที่ฝังรากลึกจากประสบการณ์ ยากเกินกว่าที่เขาจะกลัวกับทุน และอำนาจ เขามักพูดเสมอว่า..” ถ้าต้องตายเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินถิ่นเกิด เขาก็ยอมตาย ดีกว่ายืนดูผืนแผ่นดินเกิดถูกรุกราน ถูกทำลายจนวอดวายไปต่อหน้าต่อตาจนหมด ” นี่คืออุดมการณ์อันยิ่งใหญ่ของเขา ที่เขาจะยึดหลักการนี้และจะเดินไปบนเส้นทางนี้จนหมดลมหายใจ นี่คือความหนักแน่นมั่นคง เป็นปณิธานที่เขาได้ให้ไว้กับสมาชิกเครือข่ายของเขาอยู่ตลอดเวลา


นอกจากบทบาทภาคประชาชนในส่วนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ที่เสนอออกมาในเรื่องของการ หยุดการเบียดบัง หยุดทุกข์ลาภจากการพัฒนาที่ไม่รู้จักจบสิ้นแล้ว เขายังเข้าร่วมเป็น 1 ในพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ร่วมขับไล่เผด็จการทุนนิยม ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ร่วมขบวนการปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปสังคม รวมถึงเฝ้าจับตาการบริหารงานของรัฐบาลชุดใหม่ร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยด้วย


นับว่า..สุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกคนนี้ เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีทั้งความสนใจ มุ่งมั่น สรรสร้างอะไรใหม่ๆให้กับสังคมไทย ได้ติดตามอยู่ตลอดเวลา ทั้งการเคลื่อนไหวในประเด็นสิ่งแวดล้อมในภาคตะวันออก การเคลื่อนไหวในเรื่องของการเมืองภาคประชาชน ล้วนแล้วแต่มีจังหวะลีลาที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เราทุกคนสามารถมีส่วนร่วมที่จะสร้างกำลังใจให้นักสู้คนนี้ได้ทำหน้าที่คนของประชาชนที่ดี และมีคุณค่าแก่สังคมไทยต่อไปได้ อย่าหยุดยั้ง ร่วมกันปลูกดอกไม้ในใจประชาชนด้วยกันต่อไป


ที่มา http://www.nakkhaothai.com/ngo.php?newsid=2
_________________
อ๊อด ระยอง


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ott_club เมื่อ 11/09/2010 9:54 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 11/09/2010 9:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พวกทุนนิยมเขาบีบเราให้ลุกขึ้นสู้แบบไม่มีทางเลือกครับ เมื่อวาน(10 ก.ย.53) ได้ไปรวมพลังที่โรงแรมสตาร์ระยองมาครับ ภายใต้เครือข่ายประชาชนปฎิรูปประเทศไทย อุตสาหกรรมมันรุกเกษตรกรรมเข้ามาเรื่อยๆ แล้วครับ หากเราไม่ช่วยกัน ลูกหลานพวกเราจะอยู่ได้อย่างไรครับพี่น้องเอ้ย(ไม่ใช่เสื้อเหลืองนะ)
_________________
อ๊อด ระยอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 11/09/2010 11:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.constitutionalcourt.or.th/index_answer.php?wcad=1&wtid=3255

เจตนารมณ์มาตรา67 ของรัฐธรรมนูญ ปี 50

ท่านกรุณาช่วยอธิบายเจตนารมณ์ มาตรา67 ของรัฐธรรมนูญ ปี 50 โดยเฉพาะวรรค 2 ว่าเป็นอย่างไร การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ตามมาตรานี้จะต้องเป็น โครงการหรือกิจกรรม ที่รัฐเป็นเจ้าของ(ตามประกาศสำนักนายกเรื่องรับฟังความคิดเห็นของประชน ปี4Cool เท่านั้นหรือไม่ หรือ โครงการที่เอกชนเป็นเจ้าของโครงการก็ต้องทำประชาพิจารณ์ด้วย

ยกตัวอย่าง ในการสร้างห้างโลตัส เทศบาล,อบต. บางที่ก็ออกใบอนุญาตก่อสร้างให้ แต่เทศบาล,อบต. บางท้องที่ ก็แจ้งว่าต้องทำประชาพิจารณ์ฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนที่จะออกใบอนุญาต ให้ได้ จริงๆแล้วการขออนุญาตก่อสร้างตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522,2535 ต้องมีเอกสารการทำประชาพิจารณ์แนบคำขออนุญาตก่อสร้างด้วยหรือไม่ตามที่ เทศบาล,อบต.นั้นอ้าง ถ้าต้องทำประชาพิจารณ์ในเรื่องดังกล่าวใครจะเป็นคนทำครับ เอกชนเจ้าของโครงการ หรือ เทศบาล,อบต. เป็นคนทำประชาพิจารณ์ ผมได้ไปเปิดเวปท่านอาจารย์มีชัยดู ท่านเขียนว่าให้ไปดูวรรค 3 เหมือนท่านจะบอกว่าการดำเนินการดังกล่าวน่าจะเป็นโครงการที่รัฐทำเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับเอกชนทำ ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกหรือไม่ครับ ช่วยกรุณาตอบข้อซักถามด้วยจะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

โดย : พงษ์นรินทร์ อินทวงศ์ - (20/01/2552 01:09:13) IP : 124.121.127.2




ความเห็นที่ 1
มาตรา67 อยู่ในหมวด3 (สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย) ส่วนที่12 (สิทธิชุมชน) กล่าวถึงสิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษา และการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ การคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้ เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย ดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงบัญญัติไว้ในมาตรา67 วรรคสองว่า การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของ ประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน ประกอบกับเมื่อพิจารณาในมาตรา67 วรรคสาม ที่ว่า สิทะของชุมชนที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่...ย่อมได้รับความคุ้มครอง แล้ว เห็นได้ว่าเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมุ่งคุ้มครองชุมชนจากผลกระทบที่เกิดจากการ ดำเนินโครงการหรือกิจกรรมของรัฐเท่านั้น ซึ่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548 ก็กำหนดไว้ชัดเจนว่าเป็นการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อให้เกิด ประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐและประชาชน โดยให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ"โครงการของรัฐ" อย่างกว้างขวาง ส่วนกรณีโครงการของเอกชนซึ่งอาจมีผลกระทบต่อชุมชนนั้น ในการก่อสร้างอาคาร จะต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเสียก่อน ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ซึ่งในขั้นตอนนี้เองที่ท้องถิ่นอาจไปกำหนดเป็นข้อบัญญัติของท้องถิ่นว่าการ ก่อสร้างอาคารประเภทใดหรือเพื่อกิจการใด ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อประชาชนในท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง จะต้องทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นเสียก่อน เพื่อประกอบการพิจารณาออกใบอนุญาตต่อไปก็ได้

โดย : saroj - (22/01/2552 10:56:22) IP : 203.121.163.2


ความเห็นที่ 2
ประเด็นคำถามตามกระทู้มีดังนี้
(1) เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 67 วรรคสอง มีอย่างไร
ตอบ
มาตรา ๖๗ วรรคสองบัญญัติว่า“การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของ ประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากร ธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว”

เห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 67 มีเจตนารมณ์ เพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลในการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ บำรุงรักษา และได้รับประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ โดยกำหนดให้บุคคลได้รับการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะเข้าร่วมกับรัฐหรือ ชุมชนหรือชุมชนท้องถิ่น ในการอนุรักษ์ บำรุงรักษา การได้รับประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ หรือในการคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติสุขและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ก่อให้ เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยสวัสดิภาพหรือคุณภาพชีวิต

นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังห้ามหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคลดำเนินโครงการหรือกิจกรรมของบุคคลใด หรือธุรกิจใด หรือองค์กรของรัฐ มิให้ก่อผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพหรือทรัพยากร ธรรมชาติ ตลอดจนกระทบต่อสุขภาพ สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของประชาชนเว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบรอบด้านต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์

โดยก่อนดำเนินโครงการหรือดำเนินกิจกรรมดังกล่าวต้องจัดให้มีการรับฟังความ คิดเห็นของชุมชน หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียที่จะได้รับผลกระทบโดยตรง รวมทั้งต้องรับฟังความคิดเห็นขององค์การอิสระที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากร ธรรมชาติโดยตรง ตลอดจนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติ ที่เกี่ยวข้องให้ความเห็นประกอบก่อนดำเนินโครงการหรือกิจกรรมดังกล่าว

ชุมชน ชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิฟ้องหน่วยราชการหน่วยงาน ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เพื่อให้ปฏิบัติการดังกล่าวได้ การใช้สิทธิฟ้องย่อมได้รับความคุ้มครองช่วยเหลือทางกฎหมายตามสมควรแก่กรณี

(ข้อมูลจาก เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญบันทึกเจตนารมณ์ จดหมายเหตุ และตรวจรายงานการประชุม

สำนักกรรมาธิการ ๓ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สภาร่างรัฐธรรมนูญ )
โดย : กลุ่มงานคดี 8 - (23/01/2552 09:16:50) IP : 203.121.163.2


ความเห็นที่ 3
(2) โครงการหรือกิจกรรมที่ต้องผ่านการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและ ผ่านการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ผู้มีส่วนได้เสีย หมายถึงโครงการประเภทใด หรือหมายถึงเฉพาะโครงการที่รัฐเป็นเจ้าของเท่านั้น หรือไม่
ตอบ

เมื่อพิจารณาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง แล้วจะเห็นว่ารัฐธรรมนูญกำหนดให้โครงการหรือกิจกรรมที่มีลักษณะที่อาจก่อให้ เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ” เท่านั้นที่ต้องผ่านการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ฯ มิได้บัญญัติว่าต้องเป็นโครงการหรือกิจกรรมของรัฐแต่อย่างใด แต่การที่หน่วยงานราชการใดมีหน้าที่อนุญาตให้เอกชนดำเนินโครงการหรืออาจ ดำเนินโครงการเอง รัฐก็ต้องกระทำการภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญมาตรานี้ มิฉะนั้นอาจ
ถูกฟ้องได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 67 วรรคสามที่บัญญัติว่า “สิทธิของชุมชนที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัตินี้ย่อมได้รับความคุ้มครอง”

โดย : กลุ่มงานคดี 8 - (23/01/2552 09:17:45) IP : 203.121.163.2


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 11/09/2010 11:15 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 11/09/2010 11:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทีี่มา http://ppvoice.thainhf.org/?module=article&page=detail&id=824

ถ้อยคำที่สำคัญในรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 67

คำสั่ง ของศาลปกครองสูงสุดที่สั่งระงับ 76 โครงการในเขตพื้นที่ ตำบลมาบตาพุด จังหวัดระยอง เป็นการชั่วคราว ถือเป็นรูปธรรมในการแผลงฤทธิ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 ได้เป็นอย่างดี แม้จะมีคำพิพากษาให้โครงการต่างๆ ดำเนินกิจการต่อไปได้ในเวลาต่อมา แต่การต่อสู้ในทางกฎหมายก็ดูจะเป็นหนังม้วนยาวที่ยากจะจบลงได้โดยง่าย

ดังนั้นคงจะเป็นการดีหากสังคมไทยจะพยายามทำ ความเข้าใจรัฐธรรมนูญมาตรานี้ให้ถ่องแท้ยิ่งขึ้น ซึ่งอาจารย์ศักดิ์ณรงค์ มงคล อดีตรองคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ได้หยิบยกเอาบางถ้อยคำที่สำคัญในมาตราดังกล่าวมาวิเคราะห์ไว้ดังนี้

จากหลักปรัชญาทางการเมืองของนักคิด ตั้งแต่สมัยโบราณที่ต่างก็ยึดถือ“ความ ยุติธรรม”เป็นสิ่งสำคัญสูงสุดประการหนึ่งในความสัมพันธ์ของสังคมมนุษย์ โดยรัฐและสถาบันต่างๆในสังคมต้องนำมาใช้ในการแบ่งสรรสิทธิ ผลประโยชน์ ภาระและหน้าด้านต่างๆแก่พลเมืองนั้น ทำให้พิจารณาได้ว่า เจตนารมณ์ในเบื้องลึกที่สุดของรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 66, 67 และ 290 (4) ซึ่งว่าด้วยสิทธิชุมชนโดยตรงนั้น คือการสร้าง“ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม” ให้เกิดขึ้นในสังคม

วลีที่สะท้อนเจตนารมณ์ดังกล่าวได้ ชัดเจนที่สุด ก็คือวลีที่ว่า “ย่อม ได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม” ตามมาตรา 67 วรรคหนึ่ง เพราะแสดงให้เห็นถึงการสร้างความสมดุลในการแบ่งสรรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียทั้งหลาย เพื่อทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ทุกฝ่าย

ตามบทบัญญัติวรรคหนึ่งนั้นได้แสดง นัยถึงผู้ทรงสิทธิ 3 ฝ่าย คือ บุคคล ชุมชน และรัฐ ซึ่งการแสวงหาจุดสมดุลของผลประโยชน์ที่มักขัดแย้งกันใน 3 ฝ่ายนี้ ต้องมาจากการชั่งน้ำหนักผลประโยชน์ของฝ่ายต่างๆ อย่างมีหลักการ ประกอบกับการพิจารณาถึงคุณค่าอื่นที่อยู่เหนือกว่าประโยชน์ของแต่ละฝ่าย เช่น ความคงอยู่หรือความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงของชาติ ความคงอยู่ของชุมชน เป็นต้น อีกทั้งต้องพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้ด้วย

นอกจากนี้ การที่จะได้รับความคุ้มครองอย่างเหมาะสมอันนำไปสู่การสร้างความยุติธรรมทาง สิ่งแวดล้อมได้นั้น การใช้อำนาจของหน่วยงานภาครัฐจำเป็นต้องผูกพันกับหลักความได้สัดส่วน ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ (1) หลักความเหมาะสม คือมาตรการนั้นต้องทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้ (2) หลักความจำเป็น คือมาตรการนั้นต้องแทรกแซงหรือกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลน้อยที่สุด และ (3) หลักความสมดุล คือ มาตรการที่ใช้ต้องมีความสมดุลระหว่างการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ กับประโยชน์หรือสิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคล

ขณะที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรคสอง ได้แสดงให้เห็นถึงการนำหลักการป้องกันล่วงหน้า มาใช้กับหน่วยงานภาครัฐในกระบวนการให้ความเห็นชอบ อนุมัติหรืออนุญาตให้ดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อ ชุมชนอย่างร้ายแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ โดยคำสั่งนั้นต้องมาจากหลักเกณฑ์ที่มีเหตุผล เป็นภววิสัย ยอมรับได้ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย และต้องกำหนดขึ้นภายใต้หลักความได้สัดส่วน

คำว่า “อย่างรุนแรง” ตามมาตรา 67 วรรคสองนั้น เป็นคำสั้นๆ ที่มีความสำคัญ เพราะหากโครงการหรือกิจกรรมใดอาจสร้างผลกระทบร้ายแรงต่อชุมชนแล้ว ก่อนเริ่มโครงการหรือกิจกรรมนั้นต้องมีการปฏิบัติ 3 ขั้นตอนนี้ คือ (1) ทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (2) การจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย (3) การให้องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมให้ความเห็น ซึ่งหากหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าโครงการหรือกิจกรรมใดอาจส่งผลกระทบร้ายแรง หรือไม่ ไม่ชัดเจนแล้ว นอกจากจะทำให้เกิดความล่าช้า สับสน เกิดภาระต้นทุนที่ต้องสูญเสียแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายแล้ว ยังอาจทำให้เกิดกรณีพิพาทขึ้นสู่ศาลโดยไม่จำเป็นอีกด้วย

สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณานั้น แม้ว่ายังไม่มีกฎหมายกำหนดรายละเอียดไว้อย่างชัดเจน แต่จากแนวทางการวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดในคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 592/2552 อาจพอสรุปได้ว่า ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ลงวันที่ 14 กันยายน 2552 ซึ่งกำหนดบัญชีประเภทโครงการที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งด้าน คุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ และร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งได้ทำการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชนในแต่ละภาคแล้วแต่ยังไม่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นแนวทางหลักที่ทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและศาลใช้ในการพิจารณา

ส่วนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA เป็นกระบวนการในการทำนายหรือคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งในแง่บวกและลบ ทั้งทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจและสังคม จากการดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อจะได้หาทางป้องกันผลกระทบในทางลบให้เกิดผลน้อยที่สุด มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้ง รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมยังใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจของนักบริหารว่า สมควรดำเนินโครงการหรือไม่

อย่างไรก็ตาม การทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมในอดีตที่ผ่านมา ยังไม่ได้ถูกใช้ให้เกิดประโยชน์ตรงตามวัตถุประสงค์อย่างเพียงพอ เนื่องจากปัญหาและข้อจำกัดในหลายๆด้าน เช่น การประเมินไม่อาจหาผลกระทบสะสมได้ ขาดการปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้อง ความไม่ถูกต้องของข้อมูล ขาดการศึกษาที่เพียงพอต่อผลกระทบเชิงสังคมและวิถีชีวิตของประชาชน เป็นต้น นอกจากนี้ กระบวนการประเมินยังขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งผลให้การประเมินนั้นไม่ได้ให้ความสำคัญกับมิติสุขภาพของประชาชนเท่าที่ ควร

การทำ EIA ที่ไม่บรรลุวัตถุประสงค์และไม่ครอบคลุมต่อความต้องการของประชาชนข้างต้น ทำให้เกิดการริเริ่มพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสุขภาพและกระบวนการจัดการเพื่อ ให้มีการศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพขึ้น จนนำไปสู่การผลักดันให้เกิดพระราชบัญญัติสาธารณสุขแห่งชาติ พ.ศ.2550 ซึ่งบัญญัติรับรองกระบวนการทำรายงานผลกระทบสุขภาพหรือ HIA ขึ้น

การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ หรือ HIA เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของสังคมในการวิเคราะห์และคาดการณ์ผลกระทบทั้ง ทางบวกและทางลบต่อสุขภาพของประชาชนที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบาย โครงการหรือกิจกรรม โดยมีการใช้เครื่องมือที่หลากหลายและมีกระบวนการการมีส่วนร่วมที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

EIA และ HIA มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันทั้งในแง่เทคนิคและเนื้อหาของการจัดการสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การออกแบบการดำเนินการประเมินของทั้งสองประเภทให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2552 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องจึงต้องคำนึงถึงความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องระหว่างหน่วย งานที่มีอำนาจทั้งสองฝ่าย ภาระของผู้มีส่วนได้เสีย และการบรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายด้วย

กล่าวโดยสรุปแล้ว ความหมายและเจตนารมณ์ของถ้อยคำในรัฐธรรมนูญมาตรา 67 นั้น หากคนในสังคมโดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ได้มีโอกาสเรียนรู้และทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ตัวบทในกฎหมายนั้นก็ย่อมกลายเป็นเครื่องมือในการจรรโลงความยุติธรรมให้เกิด ขึ้นกับสังคม อีกทั้งจะช่วยให้การพัฒนาประเทศเกิดขึ้นบนฐานของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พร้อมๆ ไปกับการอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืนสืบไป

เรียบเรียงโดย อชิชญา อ๊อตวงศ์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
linthai6611
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 09/09/2010
ตอบ: 1
ที่อยู่: 3695/2 ซอยสนุ่นสามัคคี ถ.รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กทม.10240

ตอบตอบ: 12/09/2010 3:16 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อย่ายอมให้เงินซื้อเสียงพี่น้องชาวระยองได้นะคะ.

สู้ๆต่อไปค่ะ..ใช้สื่อทุกวงการให้เป็นประโยชน์..รัฐบาลชุดนี้ถ้าออกสื่อก็จะโต้ตอบฉับพลัน..และอย่าให้เงินซื้อสื่อเพื่อให้ข้อมูลที่บิดเบือนไปได้

ควรมีทนายความเป็นที่ปรึกษาของกลุ่มด้วยค่ะ เพื่อต่อสู้จนกว่าระยองจะกลับคืนสู่ดินแดนแห่งสวนผลไม้ หาดทรายขาว น้ำทะเลสวย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo MSN
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 12/09/2010 6:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สิ่งที่พวกเขาทำ

ที่มา http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9520000151632

ระยอง-เกิดเหตุแก๊สรั่วที่นิคมมาบตาพุดอีก ยังหาโรงงานต้นตอไม่พบ คนงานได้กลิ่นแก๊สส่ง รพ. 6 ราย ด้าน ไออาร์พีซี ชัตดาวควันดำเต็มท้องฟ้า ส่งกลิ่นแก๊สฟุ้ง

เวลา 08.30น.วันนี้ (12 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งมีเหตุคนงานได้กลิ่นเหม็นแก๊สบริเวณใกล้โรงไฟฟ้าโกลว์ ถนนไอ 5 นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมืองระยอง มีการอพยพคนงานก่อสร้างรวมทั้งพนักงานโรงงานสยามแผ่นเหล็กวิลาศ และพนักงานโรงงานใกล้เคียงอพยพหนีกันจ้าละหวั่น มีคนงานก่อสร้างใกล้โรงไฟฟ้าโกลว์ได้รับกลิ่นเหม็นแก๊ส มีอาการแสบคอ วิงเวียนศีรษะ แน่นหน้าอก ต้องนำส่ง รพ.มาบตาพุด จำนวน 6 คน หลังแพทย์ตรวจอาการให้ยาเรียบร้อยก็อนุญาตให้กลับได้

นายวุฒิชัย รุ่งเรือง พนักงานโรงงานสยามแผ่นเหล็กวิลาศ กล่าวว่า ทางโรงงานได้ประกาศรวมพลเตรียมอพยพพนักงานออกจากโรงงาน เนื่องจากมีกลิ่นเหม็นแก๊สมาก จากนั้นพนักงานได้ขึ้นรถยนต์จำนวนหลายคันมารวมตัวกันที่ศูนย์ราชการ จ.ระยอง รวมทั้งพนักงานโรงงานอื่น ประมาณ 200 คน เพื่อให้พ้นกลิ่นเหม็นแก๊ส แต่ไม่ทราบว่ากลิ่นเหม็นมาจากโรงงานใด และเป็นที่น่าแปลกใจ ทำไมต้องมาเกิดเหตุการณ์แก๊สรั่วติดๆ กัน เรื่องนี้ไม่ทราบว่ามีอะไรแอบแฝงหรือไม่

นายแพทย์สุรทิน มาลีหวล ผอ.รพ.มาบตาพุด กล่าวว่ามีคนงานก่อสร้างจำนวน 6 ราย มีอาการเวียนศีรษะ แสบคอ แน่นหน้าอก หลังตรวจอาการให้ยาแล้วอนุญาตให้กลับได้

นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม รองผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่าได้รับรายงานว่าคนงานก่อสร้างใกล้กับโรงไฟฟ้าโกลว์ ถนน ไอ 5 นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมืองระยอง ได้กลิ่นเหม็นแก๊สจนมีอาการวิงเวียนศีรษะ แสบคอ แน่นหน้าอก เจ้าหน้าที่การนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดได้เข้าไปประสานในการอพยพคนงานก่อ วสร้างทั้งหมด ไปอยู่เหนือลมบริเวการเคหะแห่งชาติ ใกล้ สภ.ห้วยโป่ง พร้อมนำคนเจ็บส่ง รพ.มาบตาพุด 6 คน หลังแพทย์ได้ตรวจอาการแล้วอนุญาตให้กลับได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รองผู้ว่าการนิคมฯ พร้อมเจ้าหน้าที่ได้เข้าไปตรวจที่หน้าโรงงานปุ๋ยแห่งชาติก่อน เพราะโรงงานอยู่เหนือทิศทางลม และขอเข้าตรวจภายในโรงงาน ไม่พบสิ่งผิดปกติแต่อย่างใด ปัจจุบันนี้โรงงานปุ๋ยไม่ได้ประกอบกิจการมานานแล้ว จากนั้นก็ไปตรวจบริเวณโรงกลั่นน้ำมัน เออาร์ ก็ไม่พบกลิ่นผิดปกติ จากนั้นจึงได้แจ้งนายสยุมพร ลิ่มไทย ผวจ.ระยอง และสั่งการให้ตั้งทีมงานร่วมกันหลายฝ่ายเข้าตรวจสอบประกอบด้วยภาครัฐ หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่การนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยตั้งเป็น 3 ทีม พร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือเข้าตรวจสอบโรงงานที่ต้องสงสัยอีกครั้งเริ่ม ตั้งแต่เวลา 13.00 น.จนถึงเวลา 15.00 น.วันเดียวกัน เพื่อเตรียมสรุปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ เพราะขณะนี้ยังไม่ทราบว่าแก๊สรั่วเกิดจากโรงงานใด

นายธวัชศักดิ์ เกิดมณี เจ้าหน้าที่การนิคมอุตสาหกรรม กล่าวว่าหลังเกิดเหตุได้รับแจ้งจากโรงไฟฟ้า โกลว์ ว่ามีกลิ่นเหม็นแก๊สจึงพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบรอบบริเวณโรงไฟฟ้า โกลว์ บริเวณท่าเรือ ก็ไม้ได้กลิ่นเหม็น ชั่วครู่ได้รับแจ้งจากโรงไฟฟ้าโกลว์อีกครั้งว่ามีกลิ่นเหม็นก๊ส จึงนำเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบที่โกลว์อีกครั้งแต่ก็ไม่พบสิ่งผิดปกติ จากนั้นก็เข้าไปตรวจที่โรงงานปุ๋ยอีกครั้ง แต่ก็ไม่พบกลิ่นแก๊สแต่อย่างใด เนื่องจากหยุดการผลิตมา 4 ปีแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 10.00 น.วันเดียวกัน ชาวบ้านโทรศัพท์แจ้งว่าโรงงานบริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หมู่ 5 ต.เนินพระ อ.เมืองระยอง มีกลุ่มควันดำทะมึนลอยจับท้องฟ้ามืดมิด และมีกลิ่นเหม็นแก๊สฟุ้งกระจาย ทำให้ชาวบ้านแตกตื่น รวมทั้งผู้ที่ขับรถยนต์ผ่านไปมาบนถนนสุขุมวิทแวะจอดดูกันจำนวนมาก ไฟฟ้าภายในโรงงานไออาร์พีซีดับ ต่อมา รท.สุพล นวลมณี ตัวแทนโรงงาน ไออาร์พีซี ชี้แจงว่าเกิดจาก ไฟฟ้าระยอง 1 ส่งกระแสไฟมายังไออาร์พีซีไม่เต็ม ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้อง จึงต้องมีการชัตดาวในขบวนการผลิต ทำให้เกิดกลุ่มควันสีดำจำนวนมาก ขณะนี้เข้าสู่ภาวะเป็นปกติแล้ว

เวลา 16.00 น.วันเดียวกัน นายสยุมพร ลิ่มไทย ผวจ.ระยอง จะเดินทางมาแถลงข่าวที่สำนักงานการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด กรณีกลิ่นเหม็นแก๊สนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดพร้องเรียกเจ้าหน้าที่ ไออาร์พีซี มาชี้แจงด้วยกรณีเกิดกลุ่มควันดำเต็มท้องฟ้า และมีกลิ่นเหม็นแก๊สเช่นกัน

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 12/09/2010 8:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ระยอง - เครือข่ายประชาชนทั่วประเทศ พร้อมกดดันรัฐบาลทบทวนประกาศ 11 โครงการรุนแรง หากดื้อรั้นเตรียมชุมนุมใหญ่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 30 ก.ย.

วันนี้ (10 ก.ย.) ที่โรงแรมสตาร์ อ.เมือง จ.ระยอง นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก พร้อมด้วยบรรดาแกนนำและสมาชิก เครือข่ายประชาชนจากภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออก และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมประชุมวิเคราะห์สถานการณ์ และวางแผนการขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมสู่สังคมสุขภาวะ โดย นายสัญชัย สูติพันธ์วิหาร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นายวีระ ชมพันธ์ สภาทนายความ และ นายชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์ อนุกรรมการด้านสิทธิชุมชน มาร่วมให้ข้อมูลด้วย

นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ตัวแทนจากภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้ ร่วมกันแถลงข่าวเห็นพ้องต้องกันว่า ให้รัฐบาลยกเลิกประกาศประเภทโครงการหรือกิจการ ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพให้จัดทำใหม่ โดยให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เปิดเวทีรับฟังความเห็นให้ครบถ้วน รอบด้านจากองค์การพัฒนาเอกชนและนักวิชาการ ให้เอื้อต่อการใช้สิทธิตามมาตรา 67

นอกจากนี้ เครือข่ายประชาชนฯ จะไปจัดเวทีรับฟังความเห็นในแต่ละภาค นำข้อเสนอของแต่ละภาคมาสังเคราะห์ ที่มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม กรุงเทพฯ พร้อมยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลที่ทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 20 กันยายน เพื่อให้รัฐบาลทบทวน หากดื้อรั้นไม่มีท่าทีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วันที่ 30 กันยายน เครือข่ายประชาชนทั่วประเทศจะใช้พื้นที่มาบตาพุดเป็นที่ชุมนุมของพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ หากไม่มีการเปลี่ยนแปลง จะไม่มีการยุติการชุมนุม
นายสุทธิ กล่าวว่า มีมติกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้กำหนดพื้นที่ท่าเรือขนาดความยาวหน้าท่า 10,000 ตารางเมตร ต้องเป็นโครงการรุนแรง เว้นแต่เป็นท่าเรือโดยสารและท่าเรือสำราญเท่านั้น แต่เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ที่ผ่านมา มติคณะรัฐมนตรีไปเพิ่ม “ท่าเรือสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค” ไว้ด้วย เป็นการเติมข้อมูลหลังจากมีมติจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติไปก่อนหน้านี้แล้ว เป็นการแก้ไขดัดแปลงเอกสารโดยมิชอบ

นอกจากนี้ โครงการขุดลอกร่องน้ำ ระบุว่า 100,000 ลูกบาศก์เมตร ถือว่าเป็นโครงการรุนแรงตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ที่ผ่านมา แต่มติ ครม.เพิ่มเป็น 100,000 ตารางกิโลเมตร การที่มีการตัดแก้ถ้อยคำก่อนมีมติคณะรัฐมนตรี หน่วยงานที่แก้ คือ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ แล้วคณะรัฐมนตรีก็อนุมัติโดยไม่ได้อ่านถ้อยคำให้ละเอียด ถือว่าเป็นการปลอมแปลงเอกสาร

“เครือข่ายจะสอบถามไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ปล่อยให้คนในกระทรวงไปแก้มติ พร้อมมีคำถามถึงรัฐบาลว่า ได้อ่านถ้อยคำครบถ้วนหรือไม่ เพราะมีการแก้ไขถ้อยคำในนั้น”







ที่มา http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=953000012731
_________________
อ๊อด ระยอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 12/09/2010 9:41 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




_________________
อ๊อด ระยอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
meninblack
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/02/2010
ตอบ: 81

ตอบตอบ: 13/09/2010 12:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เมื่อหลายวันก่อนได้คุยกับพนักงาน ไออาร์พีซี เกี่ยวกับการตั้งนิคมฯวังจันทร์ เขาบอกว่ายังไม่สำเร็จอาจเพราะบริษัทไม่ได้เข้าถึงผู้มีอิทธิพลในแถบนั้น อีกทั้งชาวบ้านยังต่อต้านอยู่


ปล.ไปแสดงพลังอย่าลืมชวนผมบ้างนะครับเฮีย...
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©