-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-Contract farming
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - Contract farming
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

Contract farming

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 22/10/2009 2:13 pm    ชื่อกระทู้: Contract farming ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Contract_farming

Contract farming
From Wikipedia, the free encyclopedia
Jump to: navigation, search

Contract farming can be defined as agricultural production carried out according to an agreement between a buyer and farmers, which establishes conditions for the production and marketing of a farm product or products.[1] Typically, the farmer agrees to provide established quantities of a specific agricultural product, meeting the quality standards and delivery schedule set by the purchaser. In turn, the buyer commits to purchase the product, often at a pre-determined price. In some cases the buyer also commits to support production through, for example, supplying farm inputs, land preparation, providing technical advice and arranging transport of produce to the buyer’s premises. Another term often used to refer to contract farming operations is ‘out-grower schemes”, whereby farmers are linked with a large farm or processing plant which supports production planning, input supply, extension advice and transport. Contract farming is used for a wide variety of agricultural products.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 22/10/2009 2:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.itd.or.th/files/voices/5/090520.pdf

การเกษตรแบบมีพันธสัญญา (Contract Farming) ของไทยใน GMS
การเกษตรแบบมีพันธสัญญา หรือ Contract Farming หมายถึง การทำการเกษตรที่รวมถึงการเพาะปลูกพืชและการเลี้ยงปศุสัตว์ ที่มีการทำสัญญาซื้อขายกันระหว่างกัน โดยสัญญาซื้อขาย จะประกอบด้วยคู่สัญญา 2 ฝ่าย คือ "ผู้ผลิต" ซึ่งเป็นเกษตรกร ฝ่ายหนึ่ง และอีกฝ่ายหนึ่ง คือ "ผู้ซื้อผลผลิต" ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทหรือโรงงานแปรรูปต่างๆ

รายละเอียดในสัญญาจะมีการกำหนด "ราคา" ซื้อขายผลผลิต มีการกำหนด "มาตรฐาน" และ "คุณภาพ" ของผลผลิตที่จะซื้อขายระหว่างกัน ซึ่งประโยชน์ของพันธสัญญาดังกล่าว คือ เกษตรกรผู้ผลิตจะได้ราคาตามที่ได้มีการตกลงกันไว้แล้วล่วงหน้า ส่วนบริษัทหรือโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรก็มั่นใจได้ว่า จะมีวัตถุดิบส่งเข้าโรงงานได้ตามปริมาณและเวลาที่กำหนด

นอกจากนี้ ข้อตกลงในสัญญาส่วนใหญ่ยังระบุถึงการจัดหาปัจจัยสนับสนุนการผลิตต่างๆ ตลอดจนให้ความรู้ และคำปรึกษาด้านเทคโนโลยีในการผลิตให้กับผู้ผลิตหรือเกษตรกรอีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจในมาตรฐานของผลผลิตให้เป็นไปตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้สำหรับการเกษตรของไทย

ไทยได้เล็งเห็นศักยภาพและโอกาสในการย้ายฐานการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจบางชนิดไปยังประเทศเพื่อนบ้านใน GMS โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พม่า. สปป.ลาว และกัมพูชา. ที่ยังมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และมีพื้นที่จำนวนมากยังไม่ถูกใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เหมาะแก่การพัฒนาให้เป็นฐานการผลิตวัตถุดิบที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ เพื่อใช้เป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลการเกษตรของไทย

เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องดังนั้น การทำการเกษตรแบบมีพันธสัญญาระหว่างไทยกับประเทศใน GMS นอกจากจะทำให้เกิดความมั่นใจในการซื้อขายระหว่างกันแล้ว ยังช่วยให้เกิดการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกในประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้เกิดการจ้างงานและลดการย้ายถิ่นของแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่จะเข้ามาในไทย รวมทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกันในอนุภูมิภาค เปิดโอกาสให้มีการกระจายความรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน อันเป็นการช่วยพัฒนาศักยภาพการเกษตรของประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Pitipol
เว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์


เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009
ตอบ: 332
ที่อยู่: 114/2 ม.11 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง

ตอบตอบ: 22/10/2009 10:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Aorrayong บันทึก:
ที่มา http://www.itd.or.th/files/voices/5/090520.pdf

การเกษตรแบบมีพันธสัญญา (Contract Farming) ของไทยใน GMS
การเกษตรแบบมีพันธสัญญา หรือ Contract Farming หมายถึง การทำการเกษตรที่รวมถึงการเพาะปลูกพืชและการเลี้ยงปศุสัตว์ ที่มีการทำสัญญาซื้อขายกันระหว่างกัน โดยสัญญาซื้อขาย จะประกอบด้วยคู่สัญญา 2 ฝ่าย คือ "ผู้ผลิต" ซึ่งเป็นเกษตรกร ฝ่ายหนึ่ง และอีกฝ่ายหนึ่ง คือ "ผู้ซื้อผลผลิต" ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทหรือโรงงานแปรรูปต่างๆ

รายละเอียดในสัญญาจะมีการกำหนด "ราคา" ซื้อขายผลผลิต มีการกำหนด "มาตรฐาน" และ "คุณภาพ" ของผลผลิตที่จะซื้อขายระหว่างกัน ซึ่งประโยชน์ของพันธสัญญาดังกล่าว คือ เกษตรกรผู้ผลิตจะได้ราคาตามที่ได้มีการตกลงกันไว้แล้วล่วงหน้า ส่วนบริษัทหรือโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรก็มั่นใจได้ว่า จะมีวัตถุดิบส่งเข้าโรงงานได้ตามปริมาณและเวลาที่กำหนด

นอกจากนี้ ข้อตกลงในสัญญาส่วนใหญ่ยังระบุถึงการจัดหาปัจจัยสนับสนุนการผลิตต่างๆ ตลอดจนให้ความรู้ และคำปรึกษาด้านเทคโนโลยีในการผลิตให้กับผู้ผลิตหรือเกษตรกรอีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจในมาตรฐานของผลผลิตให้เป็นไปตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้สำหรับการเกษตรของไทย


เป็นหลักการที่ดีมากๆ ครับ

หากเกษตรกรอยากได้ "ราคา" ดีต้องผลิตสินค้าให้มี "คุณภาพ" ที่ได้ "มาตรฐาน" หากผู้บริโภคต้องการสินค้าที่มี "คุณภาพ" ที่ได้ "มาตรฐาน" ก็ต้องยอมจ่ายใน "ราคา" สูง

หลักการนี้จะทำให้ผู้ผลิต(เกษตรกร)มีการพัฒนาให้ดีขึ้น ไม่ใช่ย่ำอยู่กับที่แบบที่เป็นอยู่นี้ เมื่อเกษตรกรทั้งหลายได้พัฒนาตนเองได้แล้ว ประเทศไทยก็จะมีสินค้าที่ "คุณภาพ" ที่ได้ "มาตรฐาน"สามารถส่งออกสินค้าได้มากขึ้น นำเงินเข้าประเทศมากขึ้น ประเทศไทยก็จะยิ่งใหญ่ไม่แพ้ชาติไหนเหมือนกับที่ลุงคิมพูดว่า ประเทศไทยต้องเป็น NAC ไม่ใช่ NIC ในรายการวิทยุเป็นประจำ



Aorrayong บันทึก:
ที่มา http://www.itd.or.th/files/voices/5/090520.pdf
ไทยได้เล็งเห็นศักยภาพและโอกาสในการย้ายฐานการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจบางชนิดไปยังประเทศเพื่อนบ้านใน GMS โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พม่า. สปป.ลาว และกัมพูชา. ที่ยังมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และมีพื้นที่จำนวนมากยังไม่ถูกใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เหมาะแก่การพัฒนาให้เป็นฐานการผลิตวัตถุดิบที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ เพื่อใช้เป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลการเกษตรของไทย

เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องดังนั้น การทำการเกษตรแบบมีพันธสัญญาระหว่างไทยกับประเทศใน GMS นอกจากจะทำให้เกิดความมั่นใจในการซื้อขายระหว่างกันแล้ว ยังช่วยให้เกิดการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกในประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้เกิดการจ้างงานและลดการย้ายถิ่นของแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่จะเข้ามาในไทย รวมทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกันในอนุภูมิภาค เปิดโอกาสให้มีการกระจายความรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน อันเป็นการช่วยพัฒนาศักยภาพการเกษตรของประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต


แต่ข้องใจกับ 2 ย่อหน้านี้ ทำไมถึงคิดที่จะไปทำอะไรที่ประเทศเพื่อนบ้านเร็วขนาดนั้นแค่พื้นที่ในประเทศที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรเลยก็มากมายเหลือคณานับ

เวลาขับรถออกต่างจังหวัดก็เห็นได้ตลอดเส้นทาง หญ้าขึ้นรก โดนขี้บุหรี่ก็ไฟไหม้แม้จะเป็นพื้นที่ทำการเกษตรก็ตาม เจ้าของพื้นที่ก็ไม่ได้ทำให้พื้นที่ของตนก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปลูกทิ้งปลูกขว้าง ได้ผลแค่ไหนก็แค่นั้น ไม่มีการเพิ่มคุณภาพ เพิ่มมูลค่า

ในประเทศเยอรมันซึ่งมีพื้นที่ใหญ่กว่าประเทศไทยแต่เขาก็สามารถทำให้ทุกพื้นที่มีประโยชน์ไม่มีปล่อยว่างไว้เลยเพราะฉะนั้นคำพูดที่บอกว่า พื้นที่เพาะปลูกของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องนั้น คงจะเป็นการ "มักง่ายของคนไทย" ซะมากกว่า
_________________
เกษตรกรฝึกหัด
โอ ระยองครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ MSN
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 23/10/2009 8:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจาก http://www.focusweb.org/thailand/html/modules.php?op=modload&name=News&file=article&sid=111&mode=thread&order=0&thold=0

เกษตรพันธสัญญา: จากไร่นาสู่ห่วงโซ่อาหารจานด่วน และซูเปอร์มาร์เก็ต

โดย อิซาเบล เดลฟอร์ช*

ร้านอาหารจานด่วนเคเอฟซีต้องการไก่ที่มีน้ำหนักตัว 2 กิโลพอดีเพราะจะได้สับแบ่งเป็นชิ้นขนาดมาตรฐานได้ ซูเปอร์มาร์เก็ตในญี่ปุ่นบางแห่งต้องการกระเจี๊ยบเขียวที่มี 5 กลีบ บางแห่งต้องการ 7 กลีบ ข้าวโพดฝักอ่อนที่ส่งออกไปยุโรปต้องมีขนาดความยาว 4-7 เซนติเมตรเท่านั้น ในตลาดอาหารระดับโลก รูปร่างและสีสันต้องได้มาตรฐานจึงจะขายได้และมาตรฐานด้านสุขอนามัยก็มีแต่จะ เข้มงวดขึ้น
การ ที่จะผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานเหมือนกันหมด และให้มีปริมาณและคุณภาพเท่าที่ต้องการเพื่อป้อนตลาดดังกล่าว จึงเป็นธุรกิจที่ทำกันเป็นล่ำเป็นสัน บริษัทธุรกิจการเกษตรบางส่วนลงทุนทำการเกษตรแบบอุตสาหกรรมและทำไร่ขนาดใหญ่ ด้วยตนเอง แต่กิจการที่บริษัทธุรกิจทำมากขึ้นเรื่อย ๆ คือ การว่าจ้างให้เกษตรกรเป็นผู้ดำเนินการผลิตแทนที่จะผลิตเอง โดยมีสัญญาว่าจ้างที่ระบุชัดเจนว่าต้องการผลผลิตลักษณะใด จำนวนเท่าใด ต้องใช้วิธีการผลิตอย่างไร ภายในกำหนดเวลานานเท่าใด และจะรับซื้อในราคาเท่าใด

องค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) นิยามการเกษตรพันธสัญญา หรือคอนแทรคฟาร์มมิ่ง (contract farming) ดังกล่าวว่า "เป็นการตกลงกันระหว่างเกษตรกรกับบริษัทแปรรูป หรือค้าขายสินค้าเกษตรเพื่อที่จะทำการผลิตและจัดหาผลิตภัณฑ์เกษตรภายใต้ข้อ ตกลงซื้อ-ขายล่วงหน้า ซึ่งมักจะกำหนดราคาไว้ด้วย ข้อตกลงดังกล่าวมักจะเกี่ยวข้องกับการที่ผู้ซื้อจัดหาปัจจัยมาสนับสนุนการ ผลิตในระดับหนึ่ง เช่น ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ และคำปรึกษาทางด้านเทคนิค"

ในสหรัฐอเมริกา เจ้าของฟาร์มกว่าหนึ่งในสิบมีรายได้จากการทำเกษตรภายใต้พันธสัญญาเช่นที่ว่า นี้ และมูลค่าโดยรวมของการผลิตภายใต้พันธสัญญาคิดเป็นร้อยละ 36 ของการผลิตสินค้าเกษตรทั้งหมดของประเทศ เนื้อไก่และไข่เกือบทั้งหมดที่ผลิตได้เป็นการผลิตในระบบพันธสัญญา นอกจากนี้ ระบบนี้ยังแพร่หลายในการทำฟาร์มหมู ผลไม้ โคนม ฝ้าย และผักชนิดต่าง ๆ ด้วย

การเกษตรพันธสัญญามีข้อที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งหลายประการสำหรับประเทศกำลัง พัฒนา เช่น ประเทศไทย และประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย ซึ่งเกี่ยวพันกับความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และอำนาจควบคุมของบรรษัท

ไทยมีบทบาทนำในเอเชีย

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศแรก ๆ ที่บุกเบิกเรื่องเกษตรพันธสัญญาในทวีปเอเชีย ส่วนใหญ่เป็นเพราะบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ซึ่งเป็นผู้นำด้านธุรกิจการเกษตรในประเทศไทย ได้เริ่มใช้ระบบนี้ในการทำฟาร์มเลี้ยงไก่มาตั้งแต่ทศวรรษ 2510 ในปี 2513 บริษัทซีพีร่วมทุนกับบริษัทอาร์เบอร์ เอเคอร์ ของสหรัฐฯ นำเข้าพันธุ์ไก่เนื้อ และไก่ไข่ที่โตแล้วจากอเมริกา และริเริ่มการเลี้ยงไก่แบบอุตสาหกรรมขึ้นในประเทศไทย ต่อมาในช่วงทศวรรษ 2520 การส่งเสริมเกษตรพันธสัญญาอย่างแข็งขันของรัฐบาล ทำให้ระบบนี้แผ่ขยายไปอย่างรวดเร็ว ในปี 2535 งานวิจัยหนึ่งรายงานว่า ในบรรดาประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย ประเทศไทยคงจะมีประสบการณ์ด้านเกษตรพันธสัญญามากที่สุด และมีผลผลิตที่หลากหลายที่สุดจากระบบนี้

แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลสถิติว่าจำนวนเกษตรกรที่ทำการเกษตรพันธสัญญามีทั้งหมด เท่าไร ผู้สังเกตการณ์จากกรมปศุสัตว์ จากอุตสาหกรรมการเกษตร และองค์การเอฟเอโอ รวมทั้งจากองค์กรพัฒนาเอกชน ประมาณกันว่า วิถีการผลิตแบบนี้กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับความทะเยอทะยานของประเทศไทยที่จะตั้งตนเป็น "ครัวของโลก" โครงการจัดการศัตรูพืชอย่างผสมผสานขององค์การเอฟเอโอพยากรณ์ว่า "การปลูกพืชภายใต้พันธสัญญาจะกลายเป็นระบบหลักของการผลิตเพื่อการส่งออก"

ส่วนบริษัทซีพีนั้น ระบุว่า ปัจจุบันมีพันธสัญญากับเกษตรกรเลี้ยงไก่ 12,000 ราย เกษตรกรเลี้ยงหมู 5,000 ราย เกษตรกรปลูกข้าว 10,000 ราย และเกษตรกรปลูกข้าวโพด 10,000 ราย แต่ทว่า ยังมีบริษัทอื่น ๆ อีกที่ดำเนินกิจการเกษตรพันธสัญญาเช่นกัน ในปี 2546 คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ได้ทำการศึกษาเรื่อง "ตลาดข้อตกลง (contract farming)" และรายงานว่าในประเทศไทยมีบริษัทธุรกิจการเกษตร 14 บริษัท ที่ใช้ระบบเกษตรพันธสัญญาในการดำเนินธุรกิจของตน (ซึ่งในรายงานการศึกษาครั้งนี้ ใช้คำว่า "ตลาดข้อตกลง" เป็นคำแปลของคอนแทรคฟาร์มมิ่งโดยตลอด) โดยที่ธุรกิจแต่ละรายมีสัญญาข้อตกลงในการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรจำนวนไม่ น้อยกว่าหนึ่งพันราย

การเชื่อมร้อยเกษตรกรรายย่อยเข้ากับระบบอาหารโลก

ในยุคสมัยของการเปิดเสรีทางการค้า โลกาภิวัตน์ และการขยายตัวของธุรกิจการเกษตร มีอันตรายอยู่ที่เกษตรกรรายย่อยจะประสบความยากลำบากที่จะเข้าร่วมในระบบ เศรษฐกิจแบบตลาด

เกษตรพันธสัญญาเป็นรูปแบบการผลิตที่สามารถช่วยเกษตรกรรายย่อยเชื่อมประสาน เข้ากับระบบอาหารระดับโลกได้ รายงานของเอฟเอโอระบุว่า "การเปลี่ยนแปลงนิสัยการบริโภค เช่น การที่มีร้านขายอาหารจานด่วนเพิ่มขึ้น การที่ซูเปอร์มาร์เก็ตมีบทบาทเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ และการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการค้าผลิตภัณฑ์อาหารสด และแปรรูประหว่างประเทศในโลก ล้วนผลักดันให้การผลิตในรูปแบบนี้มีพัฒนาการกว้างไกลยิ่งขึ้น"

รายงานฉบับเดียวกันนี้อธิบายว่า "ในยุคสมัยของการเปิดเสรีทางการค้า โลกาภิวัตน์ และการขยายตัวของธุรกิจการเกษตร มีอันตรายอยู่ที่เกษตรกรรายย่อยจะประสบความยากลำบากที่จะเข้าร่วมในระบบ เศรษฐกิจแบบตลาด" เกษตรพันธสัญญาเป็นรูปแบบการผลิตที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถเชื่อมร้อยเข้า กับระบบทั้งเบื้องหลังและเบื้องหน้า เช่นได้รับคำแนะนำส่งเสริม บริการด้านการปรับไปใช้เครื่องจักรกล เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และสินเชื่อ รวมทั้งมีหลักประกันว่าจะมีตลาดรองรับผลผลิต "รูปแบบนี้เปิดโอกาสอย่างมีนัยสำคัญให้ผู้ผลิตรายย่อยสามารถทำการเกษตรเชิง พาณิชย์ได้ ในทำนองเดียวกัน ผู้ลงทุนก็จะมีโอกาสที่จะเข้าถึงแหล่งผลิตสินค้าที่มีการรับประกันในแง่ของ ทั้งปริมาณและคุณภาพได้ แท้จริงแล้ว รายงานของเอฟเอโอฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะเสนอคำแนะนำให้แก่บริษัทธุรกิจ ที่ดำเนินธุรกิจเกษตรพันธสัญญาอยู่แล้ว และกำลังคิดที่จะเริ่มดำเนินการ รวมทั้งเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐที่ต้องการจะส่งเสริมและติดตามการเกษตรพันธสัญญา แต่ดูเหมือนว่าเอฟเอโอจะยังไม่ได้คิดที่จะผลิตคู่มือลักษณะเดียวกันนี้ให้ แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมในระบบนี้

ประเภทของพันธสัญญา

แน่นอน สัญญาหรือข้อตกลงระหว่างบริษัทกับผู้ผลิตไม่ได้เหมือนกันทั้งหมด แสดงว่ามีรูปแบบของการดำเนินการอยู่หลากหลาย แบบรวมศูนย์ (centralized model) เป็นรูปแบบที่ประสานกันครบวงจร คือ บริษัทรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรจำนวนมาก แล้วนำมาแปรรูป บรรจุหีบห่อ และวางขายในตลาด ในประเทศไทยรูปแบบนี้แพร่หลายครอบคลุมด้านการเลี้ยงไก่ การปลูกผักบางชนิด และการปลูกอ้อย ตัวอย่างเช่น ในปี 2540/2541 เกษตรกร 200,000 ราย ปลูกอ้อยภายใต้พันธสัญญากับโรงงานน้ำตาลของเอกชน 46 แห่ง

บริษัทซีพีดำเนินกิจการในรูปแบบนี้เช่นกันสำหรับการเลี้ยงไก่เนื้อ เกษตรกรรายย่อยเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่แบบปิดที่ใช้ระบบทำ ความเย็นด้วยการระเหยของไอน้ำ (evaporation cooling system) และซีพีจัดหาลูกไก่ อาหารและยามาให้ (โดยไม่เก็บเงิน) เกษตรกรต้องทำตามคำแนะนำของซีพีอย่างเคร่งครัดในการเลี้ยงไก่ เมื่อน้ำหนักของไก่ได้ที่ ซีพีก็จะมาต้อนและขนไก่ไปเข้าโรงงานชำแหละของตนเอง และจ่ายเงินค่าตอบแทนการเลี้ยงไก่ให้แก่เกษตรกรตามผลงานด้านประสิทธิภาพที่ มีเกณฑ์กำหนดระดับค่าตอบแทนกำกับไว้ ซึ่งหลัก ๆ ก็คือ อัตราการแลกเนื้อ (feed conversion ratio) และอัตราการตาย

สัญญาแบบไม่เป็นทางการ โดยปกติจะเป็นการผลิตเฉพาะฤดูกาล เป็นการตกลงกันด้วยปากระหว่างผู้ประกอบการ (เถ้าแก่) หรือบริษัทธุรกิจขนาดเล็ก และมักจะเป็นการปลูกผักสด หรือผลไม้ ที่ไม่จำเป็นต้องแปรรูปมากนัก ตัวอย่างเช่น การปลูกดอกเบญจมาศ และผักสดในภาคเหนือของประเทศไทยเพื่อส่งขายตลาดในตัวเมืองเชียงใหม่ และกรุงเทพฯ

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การจ้างเหมาช่วงเพื่อปลูกพืชไร่ที่เรียกว่า พันธสัญญาแบบมีตัวกลาง (intermediary contract farming model) เป็นแบบที่ปฏิบัติกันทั่วไป ในประเทศไทย บริษัทแปรรูปอาหารและผู้ประกอบการค้าผักสดขนาดใหญ่จะซื้อผลผลิตจากพ่อค้าคน กลาง ซึ่งแต่ละคนจะทำหน้าที่รวบรวมผลผลิตจากเกษตรกรกลุ่มหนึ่งที่ตนมีความ สัมพันธ์เชิงธุรกิจด้วยอย่างไม่เป็นทางการ อุตสาหกรรมผักแช่แข็งของภาคเหนือของไทยมี 2 บริษัทที่ว่าจ้างพ่อค้าคนกลางให้เป็นผู้ไปจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรประมาณ 30,000 ราย ให้ปลูกถั่วเหลือง ถั่วแขก และข้าวโพดฝักอ่อน เพื่อส่งออกไปขายในประเทศญี่ปุ่น

เกษตรพันธสัญญาอีกรูปแบบหนึ่งคือ แบบพหุภาคี (multipartite model) ซึ่งมีองค์กรหลายประเภทเกี่ยวข้องกันอยู่ รวมถึงบริษัทเอกชน หน่วยงานของรัฐ และเกษตรกร ตัวอย่างของลักษณะนี้ในเมืองไทยอาจจะเป็นการเลี้ยงโคนม เพื่อส่งป้อนโรงงานแปรรูปโดยมีสหกรณ์โคนมของเกษตรกรเป็นผู้รวบรวมรับซื้อนม จากสมาชิก และเป็นผู้ทำสัญญาข้อตกลงกับโรงงานภายใต้การดูแลของกรมส่งเสริมสหกรณ์

รูปแบบสุดท้ายคือ แบบนิวเคลียส (nucleus model) ซึ่งหมายความว่าบริษัทมิเพียงแต่จ้างเหมาช่วงให้เกษตรกรเป็นผู้ผลิตเท่านั้น แต่ยังดำเนินการผลิตขนาดใหญ่ด้วยตนเองที่ตรงศูนย์กลาง ซึ่งในแบบนี้พันธสัญญาจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในโครงการโยกย้ายหรืออพยพผู้คน จากถิ่นที่อยู่เดิม

วิกฤตของเกษตรกรรายย่อย

เราได้เงินน้อยมากจากที่ทำมาเดิม เราต้องการหาทางหาเงินรายได้
ให้มันพอที่จะอยู่ได้อย่างดีขึ้นหน่อย ให้ลูกเราได้เรียนหนังสือได้
และพอจ่ายค่ารักษาพยาบาลของครอบครัว

สำหรับเกษตรกรหลาย ๆ คนแล้ว เกษตรพันธสัญญาเป็นทางเลือกที่มีเสน่ห์มาก แทนการทำเกษตรแบบอิสระที่ทำกันมาแต่เดิม งานวิจัยของโครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา (โฟกัส) แสดงให้เห็นว่ารายได้ที่แท้จริงของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในประเทศไทยไม่ได้ เพิ่มขึ้นเลยตั้งแต่ปี 2510 แถมในบางปี รายจ่ายในการเกษตรยังสูงกว่ารายได้จากการขายผลผลิตด้วยซ้ำไป รายงานนี้จึงยืนยันความรู้สึกที่เกษตรกรส่วนใหญ่รู้ดีอยู่แก่ใจ นั่นคือ สถานะของเกษตรกรรายย่อยเลวลงกว่าเดิมในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้เกษตรกรไทยพยายามแสวงหาทางเลือกใหม่ ๆ ที่ให้รายได้พอเพียงและมั่นคงกว่ามาตลอด

เมื่อบริษัทธุรกิจมองหาเกษตรกรที่ทำสัญญาด้วย ก็จะเสนอข้อดีของการเกษตรรูปแบบนี้ในแง่ของความมั่นคงจากการที่มีตลาดรองรับ ผลผลิตอยู่แล้ว และมีราคาที่รับประกันไว้ จึงไม่น่าแปลกใจที่เกษตรกรจำนวนมากมีความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการ เมื่อถูกถามถึงเหตุผลของการเข้าร่วมเกษตรพันธสัญญา เกษตรกรมักจะให้เหตุผลหลัก 2 ประการ คือ "เราได้เงินน้อยมากจากที่ทำมาเดิม เราต้องการหาทางหาเงินรายได้ให้มันพอที่จะอยู่ได้อย่างดีขึ้นหน่อย ให้ลูกเราได้เรียนหนังสือได้ และพอจ่ายค่ารักษาพยาบาลของครอบครัว" ปัญหาการขาดเงินทุนเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ "เราไม่มีเงินซื้อเมล็ดพันธุ์ ลูกไก่ และปัจจัยอื่น ๆ สำหรับการเลี้ยงไก่ บางครั้ง เราจะกู้เงินจากธนาคารไม่ได้ ถ้าไม่มีสัญญาที่ทำกับบริษัทไปแสดงเป็นหลักฐานประกอบ"

แม้ว่าเกษตรพันธสัญญาจะดูมีเสน่ห์สำหรับเกษตรกร และสำหรับบริษัทเอกชนด้วย แต่ระบบนี้มีข้อที่น่ากังวลอย่างยิ่งหลายประการ ในด้านของความยุติธรรม ด้านสังคม ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม และอำนาจควบคุมของบริษัทธุรกิจ บ่อยครั้ง แทนที่จะเป็นข้อตกลงที่มีแต่ได้กับได้ (วิน-วิน) ดังคำมั่นสัญญา กลับกลายเป็นวิธีการเอารัดเอาเปรียบเกษตรกรรายย่อยแบบละเอียดซับซ้อนอย่าง หนึ่ง

การขูดรีดเกษตรกร และการกุมอำนาจของบรรษัท

ในช่วงวิกฤตไข้หวัดนกระบาดในประเทศไทยปี 2547
ส่วนหนึ่งของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ภายใต้พันธสัญญากับบริษัทซีพีต้องหยุด เลี้ยงเพราะไม่ได้รับลูกไก่จากบริษัทเป็นเวลานานกว่า 6 เดือน โดยไม่ได้รับค่าชดเชยอะไรเลยจากบริษัท แม้แต่คำชี้แจงถึงสาเหตุของความล่าช้าก็ไม่ได้รับ

แม้ว่าสัญญาที่ทำกับบริษัทธุรกิจน่าจะสร้างหลักประกันความมั่นคงและแน่นอน ให้กับเกษตรกรได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่หาไม่พบในตลาดเสรี แต่ก็มีการปฏิบัติหลายอย่างที่เป็นไปในทางเอารัดเอาเปรียบเกษตรกร ซึ่งบั่นทอนศักยภาพของระบบการผลิตแบบพันธสัญญา

ตามปกติเกษตรกรรายย่อยที่อยู่โดดเดี่ยวจะไม่อยู่ในฐานะที่จะเจรจาเพื่อให้ ได้ข้อตกลงที่เป็นธรรมจากบรรษัทขนาดใหญ่ที่ดำเนินกิจการข้ามชาติ ซึ่งมีตัวแทนขาย มีพนักงานเทคนิค และมีทนายความของตนเองเพียบพร้อม รายงานการศึกษาการทำเกษตรพันธสัญญาในประเทศไทยของสุขปาล ซิงห์ ตั้งข้อสังเกตว่า สัญญาที่เกษตรกรลงนามไปนั้นส่วนใหญ่ลำเอียงเข้าข้างบริษัทธุรกิจแทบทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น ในสัญญาของบริษัทฟริโตเลย์ ประเทศไทย เกษตรกรตกลงที่จะขายผลผลิตให้แก่บริษัทแต่เพียงเจ้าเดียว แต่ในทางตรงกันข้าม บริษัทไม่ผูกพันที่จะต้องซื้อผลผลิตจากเกษตร เกษตรกรพันธสัญญาของบริษัทซีพีไม่ได้ถือสำเนาของสัญญาที่ลงนามไปไว้ในมือ ด้วยซ้ำ คณะกรรมาธิการของวุฒิสภาที่ทำการศึกษาเรื่องนี้ก็มีข้อสรุปที่คล้ายคลึงกัน นี้ แม้ว่ารายงานของคณะกรรมาธิการดังกล่าวจะตระหนักถึงศักยภาพของเกษตรพันธสัญญา ในอันที่จะพัฒนาภาคเกษตรของไทยให้ทันสมัยขึ้น แต่ก็ยอมรับว่า "สัญญาข้อตกลงส่วนใหญ่เกษตรกรในฐานะผู้ผลิตมักจะถูกเอารัดเอาเปรียบและตก เป็นผู้รับตามข้อเรียกร้องในเงื่อนไขของสัญญา"

รายได้ต่ำ เป็นปัญหาใหญ่อีกอันหนึ่งที่เกษตรกรร้องเรียนมา ผู้ที่เลี้ยงไก่เนื้อภายใต้สัญญากับบริษัทซีพีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ไทยมีรายได้สุทธิเพียง 1,700 บาทต่อเดือนต่อคน เมื่อหักค่าใช้จ่ายในการผลิตและหักเงินส่งชำระหนี้ที่มีกับบริษัท ธนาคาร หรือนายทุนเงินกู้ออกแล้ว ซึ่งยังต่ำกว่ารายได้ขั้นต่ำที่ควรได้ตามกฎหมายคือ 2,720 บาท ต่อ 20 วันทำงานใน 1 เดือน เสียอีก เกณฑ์การคิดคำนวณค่าตอบแทนการเลี้ยงไก่ที่บริษัทใช้มีความซับซ้อนมาก แปรผันไปตามองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ประสิทธิภาพ คุณภาพ และขนาดของไก่ที่ผลิตได้ และมักจะมีการปรับตามราคาตลาดอีกด้วย สูตรการคำนวณแบบนี้ทำให้ยากที่เกษตรกรจะคาดการณ์ได้ว่าจะได้รายได้เท่าใดใน ที่สุด และยากที่จะตรวจสอบได้ว่าเป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาหรือไม่

ผลกระทบที่ค่อนข้างร้ายแรงจากระบบการผลิตแบบพันธสัญญาอีกอย่างหนึ่ง คือ การเพิ่มพูนภาระหนี้สินให้แก่เกษตรกร เห็นได้ชัดว่าการลงทุนทำการเกษตรเชิงอุตสาหกรรมเช่นนี้อยู่ในระดับสูงกว่า การทำการเกษตรแบบดั้งเดิมมาก ในการสัมภาษณ์กลุ่มเกษตรกร 17 รายที่เลี้ยงไก่ของซีพีเมื่อเดือนตุลาคม 2547 พบว่า จำนวนหนี้สินโดยเฉลี่ยต่อครัวเรือนคือ 231,000 บาท ยิ่งถ้าเป็นการเลี้ยงหมู เกษตรกรจะต้องลงทุนสูงกว่านี้อีกมาก สถิติของประเทศไทยแสดงให้เห็นว่าในปี 2542/43 ครัวเรือนเกษตรกรมีหนี้สินโดยเฉลี่ยเพียง 37,231 บาท เกษตรกรหลายคนแสดงความกังวลว่าจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดเนื่องจากราย ได้ที่ได้รับต่ำกว่าที่คาดไว้ และบริษัทยังเรียกร้องให้ลงทุนเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ทว่าตราบใดที่ยังมีหนี้ ตราบนั้นก็เป็นเรื่องยากมากที่เกษตรกรจะถอนตัวออกจากโครงการ

เกษตรพันธสัญญายังโยกย้ายความเสี่ยงส่วนใหญ่ในการผลิตไปให้เกษตรกรเป็นผู้ แบกภาระ ในการเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรต้องเป็นผู้ลงทุนสร้างโรงเรือนสมัยใหม่ด้วยเงินกู้ระยะยาว (5-10 ปี) แต่สัญญาการผลิตที่ทำกับบริษัทยากที่จะหาที่มีอายุเกิน 1 ปี หากบริษัทไม่ต่อสัญญาเมื่อใด เกษตรกรก็จะถูกทิ้งให้แบกหนี้อยู่โดดเดี่ยว ความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติและผลผลิตล้มเหลวก็ล้วนแต่เป็นภาระของเกษตรกรฝ่าย เดียว ตัวอย่างหนึ่งคือ ในช่วงวิกฤตไข้หวัดนกระบาดในประเทศไทยปี 2547 ส่วนหนึ่งของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ภายใต้พันธสัญญากับบริษัทซีพีต้องหยุด เลี้ยงเพราะไม่ได้รับลูกไก่จากบริษัทเป็นเวลานานกว่า 6 เดือน โดยไม่ได้รับค่าชดเชยอะไร แม้แต่คำชี้แจงถึงสาเหตุของความล่าช้าก็ไม่ได้รับจากบริษัท การลดความเสี่ยงลงให้เหลือน้อยที่สุดเป็นข้อได้เปรียบอีกอย่างหนึ่งของฝ่าย บริษัทธุรกิจ ที่เอฟเอโอชี้แนะไว้ในรายงานเรื่องเกษตรพันธสัญญา "การผลิตจะเชื่อถือได้มากกว่าการซื้อหาเอาในตลาดเปิด และบริษัทที่เป็นผู้อุปถัมภ์จะเผชิญกับความเสี่ยงน้อยลงเนื่องจากไม่ต้องรับ ผิดชอบต่อการผลิต"

นอกจากนี้ เกษตรกรยังมีปัญหาขัดแย้งกับบริษัทในเรื่องของคุณภาพของอาหารสัตว์และปัจจัย อื่น ๆ ที่บริษัทจัดหาให้ ความล่าช้าในการจ่ายเงินค่าตอบแทน ระยะเวลาที่ต้องหยุดพักการผลิตระหว่างช่วงการผลิต ฯลฯ ไม่มีช่องทางใดเปิดให้เกษตรกรต่อรอง และไม่มีหน่วยงานที่เป็นกลางช่วยไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้ง ในรูปแบบรวมศูนย์ เกษตรกรภายใต้พันธสัญญามีสถานภาพเสมือนคนงานของบริษัท ("งานของเราคือรับจ้างเลี้ยงไก่ของซีพี เราสร้างโรงเรือนขึ้นมาและมีหน้าที่ทำตามที่ซีพีบอกให้ทำ") แต่บริษัทไม่ต้องมีพันธะที่จะต้องดำเนินการใดตามหน้าที่ของนายจ้างในสัญญา ว่าจ้างปกติ เช่น จ่ายค่าแรงไม่ต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ อนุญาตให้ลาป่วยได้ และจ่ายค่าชดเชยเมื่อบอกเลิกสัญญาจ้าง

ในหลายกรณี เกษตรพันธสัญญานำไปสู่การใช้ยาฆ่าแมลงเพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม บริษัทเป็นผู้กำหนดปริมาณและประเภทของสารเคมีที่จะต้องใช้ ในเมื่อบริษัทไม่มีข้อผูกพันใดกับเกษตรกรในระยะยาว จึงมีความโน้มเอียงที่จะขูดรีดเอาประโยชน์จากที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติที่ มีอยู่ในทางที่ไม่ยั่งยืน นอกจากนี้ การใช้เมล็ดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่พัฒนาขึ้นสำหรับการเกษตรแบบ อุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างแพร่หลายย่อมเป็นการคุกคามสิ่งแวดล้อม เป็นการบั่นทอนความหลากหลายทางชีวภาพ เนื่องจากพันธุ์พื้นเมืองจะถูกเบียดขับจนสูญพันธุ์ไป

โดยพื้นฐานแล้ว เกษตรพันธสัญญาเป็นรูปแบบการผลิตที่บรรษัทข้ามชาติใช้ในการแผ่ขยายอำนาจควบ คุมของตนเหนือทรัพยากรในท้องถิ่น และบังคับให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนแบบแผนการผลิตจากวิถีดั้งเดิมไปสู่วิถี อุตสาหกรรม รายงานของเอฟเอโอกล่าวอ้างถึงเรื่องนี้ไว้ว่า "เกษตรพันธสัญญาเปิดโอกาสให้เข้าถึงการปลูกพืชบนที่ดินที่โดยปกติแล้วบรรษัท จะไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ โดยมีข้อได้เปรียบอีกอย่างหนึ่งด้วยคือไม่ต้องลงทุนซื้อที่ดินดังกล่าว" เมื่อองค์การระหว่างประเทศ เช่น เอฟเอโอและรัฐบาลของแต่ละประเทศต่างสนับสนุนเช่นนี้ เกษตรพันธสัญญาย่อมจะนำไปสู่การแปรรูปบริการส่งเสริมการเกษตรจากเดิมเป็นของ รัฐไปเป็นของธุรกิจเอกชน เจ้าหน้าที่ของบริษัทจะเป็นผู้เสนอแนะเทคโนโลยีและปัจจัยการผลิต และช่วยจัดหาสินเชื่อและตลาดให้แก่เกษตรกร ซึ่งอาจจะมีการติดตามตรวจสอบใกล้ชิดมากกว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่เทคโนโลยีที่ส่งเสริมย่อมจะตอบสนองความต้องการของบริษัทโดยเฉพาะ ซึ่งอาจจะแตกต่างจากสิ่งที่เกษตรกรต้องการไปอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ เกษตรกรรายย่อยจำเป็นที่จะต้องหาวิธีการผลิตที่ราคาถูกและอยู่ภายใต้การควบ คุมของชุมชนท้องถิ่นเอง

สิทธิของเกษตรกรพันธสัญญา และสิทธิที่จะทำการผลิตอย่างอิสระ
อนาคตของเกษตรกรรายย่อยมีแต่จะต้องล้มละลายตายจากไป เขาเหล่านี้จึงอยู่ในสภาพล่อแหลมและเป็นรองอย่างมากในการที่จะเจรจาต่อรอง กับบริษัทธุรกิจการเกษตร การปรับปรุงสภาพการทำมาหากินของเกษตรจะส่งผลดีต่อทั้งเกษตรกรพันธสัญญาและ เกษตรกรอิสระทั้งหลายพร้อมกันไป

เนื่องจากเกษตรพันธสัญญามีแนวโน้มที่จะแพร่ขยายและครอบคลุมเกษตรกรรายย่อย จำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเนื่องจากมันเป็นกลไกหลักที่จะเชื่อมโยงผู้ผลิตรายย่อยเข้ากับภาคธุรกิจ การเกษตร บรรดาองค์กรชาวไร่ชาวนาและขบวนการสังคมที่ต่อสู้เพื่ออธิปไตยของปวงชน และคัดค้านการเปิดตลาดและการปล่อยให้บรรษัทแข่งขันกันอย่างเสรีในการผลิต อาหารและการเกษตร จึงได้ชูประเด็นคำถามที่สำคัญบางประการเกี่ยวกับเกษตรพันธสัญญา จากการถกเถียงและอภิปรายที่ผ่านมา พอที่จะมองเห็นวาระทางการเมืองร่วมกันอยู่บ้างแล้ว
ประการแรก สิทธิของเกษตรกรพันธสัญญาควรจะเป็นประเด็นแกนหลักที่จะต้องยึดถือในการ รณรงค์และปฏิบัติการใด ๆ นี่เป็นเรื่องที่ท้าทายเราอย่างยิ่ง เพราะเกษตรกรพันธสัญญามักจะไม่มีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นสมาพันธ์เพื่อ ประโยชน์ในการต่อรองแต่อย่างใด สถานภาพก็ไม่เหมือนกับคนงานที่ได้รับการว่าจ้างทั่วไป ซึ่งอาจรวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงานได้ และก็ไม่ใช่ผู้ประกอบการผลิตอิสระที่อาจจะมารวมตัวเป็นองค์กรเกษตรกร นักพัฒนาคนหนึ่งกล่าวว่า "เขาเหล่านี้เป็นเสมือนสุนัขที่ไม่มีชื่อบนปลอกคอ" เกษตรกรหลายรายดูเหมือนจะยินดีรวมตัวกันเรียกร้องบางเรื่อง แต่ก็จะพบปะกันได้ที่เดียวคือในการประชุมที่บริษัทเป็นฝ่ายจัดขึ้น

ประการที่สอง ประเด็นเกษตรพันธสัญญาจะพิจารณาแก้ไขโดยแยกออกจากปัญหาวิกฤตของภาคเกษตรกรรม ของโลกมิได้ ในสถานการณ์ที่นโยบายการผลิตเพื่อส่งออกเป็นนโยบายหลักของประเทศกำลังพัฒนา และบทบาทของรัฐในการสนับสนุนและปกป้องภาคเกษตรของประเทศกำลังถูกลดทอนลง อย่างมากภายใต้การเจรจาข้อตกลงการเปิดเสรีทางการค้าในองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) และในการเจรจาการค้าเสรีแบบทวิภาคี (เอฟทีเอ) อนาคตของเกษตรกรรายย่อยมีแต่จะต้องล้มละลายตายจากไป เขาเหล่านี้จึงอยู่ในสภาพล่อแหลมและเป็นรองอย่างมากในการที่จะเจรจาต่อรอง กับบริษัทธุรกิจการเกษตร การปรับปรุงสภาพการทำมาหากินของเกษตร (ด้วยมาตรการด้านราคาผลิตผล ภาษีศุลกากร และการส่งเสริมวิถีการผลิตที่ยั่งยืน) จะส่งผลดีต่อทั้งเกษตรกรพันธสัญญาและเกษตรกรอิสระทั้งหลายพร้อมกันไป

ประการสุดท้าย การปกป้องสิทธิที่จะ "ไม่เป็นเกษตรกรพันธสัญญา" และสิทธิที่จะทำการผลิตอาหารในวิถีที่ "ไม่ใช่อุตสาหกรรม" ดูเหมือนจะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในประเทศไทย การส่งเสริมเกษตรพันธสัญญาทวีความเข้มข้นขึ้นจนกระทั่งการทำการเกษตรขนาด เล็กตามวิถีดั้งเดิมแทบจะทำไม่ได้ หรือกลายเป็นเรื่องผิดกฎหมายไป ตัวอย่างเช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะจัดหาแรงจูงใจด้านการเงินให้แก่เกษตรกร โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องทำสัญญาผูกพันกับบริษัทใดบริษัทหนึ่ง มาตรฐานทางด้านคุณภาพที่บริษัทระบุไว้ในสัญญามีแต่จะซับซ้อนและเข้มงวดมาก ขึ้นทุกปี จนเกษตรพันธสัญญากำลังกลายเป็นวิธีการเดียวที่จะบังคับให้ผู้ผลิตปฏิบัติตาม มาตรฐานเหล่านั้นได้ เกษตรกรบางส่วนกำลังสรุปกันว่าพวกเขาแทบจะกลายเป็นพวกนอกกฎหมายหากไม่ได้ทำ สัญญาผูกพันกับบริษัทใด

ธุรกิจการเกษตรของประเทศไทยมีบทบาทเป็นผู้บุกเบิกส่งเสริมการเกษตรพันธสัญญา ในภูมิภาคเอเชีย เกษตรกรหลายรายได้รับประสบการณ์ตรงจากการเข้าร่วมในวิถีการผลิตแบบใหม่นี้ และกำลังพัฒนาข้อวิเคราะห์ของตนเองเกี่ยวกับศักยภาพและข้อจำกัดของระบบเกษตร พันธสัญญา ความหลากหลายและพลวัตของประชาสังคมและกลุ่มองค์กรประชาชนในประเทศไทย จึงเป็นกำลังสำคัญและเป็นทัพหน้าในการตั้งคำถามต่อระบบการผลิตดังกล่าว พร้อมกับการพัฒนาทางเลือกและส่งเสริมสิทธิของเกษตรกรและคนงานไปโดยปริยาย


* อิซาเบล เดลฟอร์ช เป็นนักวิจัยของโครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา (โฟกัส)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©