-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-พันธุ์ข้าว
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - พันธุ์ข้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

พันธุ์ข้าว

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Pum_NWF_Rayong
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/07/2009
ตอบ: 177

ตอบตอบ: 06/11/2009 10:41 am    ชื่อกระทู้: พันธุ์ข้าว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.thairice.org/html/aboutrice/about_rice1.htm

จุดกำเนิดและประวัติข้าวไทย

พันธุ์ข้าวที่มนุษย์เพาะปลูกในปัจจุบันพัฒนามาจากข้าวป่าในตระกูล Oryza gramineae สันนิษฐานว่า พืชสกุล Oryza มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นของทวีป Gondwanaland ก่อนผืนดินจะเคลื่อนตัวและเคลื่อนออกจากกันเป็นทวีปต่าง ๆ เมื่อ230-600 ล้านปีมาแล้วจากนั้นกระจายจากเขตร้อนชื้นของแอฟริกา เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ออสเตรเลีย อเมริกากลางและใต้ ข้าวสามารถเจริญเติบโตได้ตั้งแต่ความสูงระดับน้ำทะเลถึง2,500เมตรหรือมากกว่า ทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ทั้งในที่ราบลุ่มจนถึงที่สูง ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่เส้นรุ้งที่ 53 องศาเหนือถึง 35 องศาใต้ มนุษย์ได้คัดเลือกข้าวป่าชนิดต่างๆ ตามความต้องการของตน เพื่อให้สอดคล้องกับระบบนิเวศน์ มีการผสมพันธุ์ข้ามระหว่างข้าวที่ปลูกกับวัชพืชที่เกี่ยวข้อง เกิดข้าวพื้นเมืองมากมายหลายสายพันธุ์ ซึ่งสามารถให้ผลผลิตสูง ปลูกได้ตลอดปี ก่อให้เกิดพันธุ์ข้าวปลูกที่เรียกว่า ข้าวลูกผสมซึ่งมีปริมาณ120,000 พันธุ์ทั่วโลก ข้าวที่ปลูกในปัจจุบันแบ่งออกเป็นข้าวแอฟริกาและข้าวเอเชีย

ข้าวแอฟริกา (Oryza glaberrima) แพร่กระจายอยู่เฉพาะบริเวณเขตร้อนของแอฟริกาเท่านั้น สันนิษฐานว่าข้าวแอฟริกาอาจเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสตศักราช
ข้าวเอเชีย เป็นข้าวลูกผสม เกิดจาก Oryza sativa กับข้าวป่า มีถิ่นกำเนิดบริเวณประเทศอินเดีย บังคลาเทศ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปลูกกันอย่างแพร่หลายตั้งแต่อินเดีย ตอนเหนือของบังคลาเทศ บริเวณดินแดนสามเหลี่ยมระหว่างพม่า ไทย ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้

: ข้าวเอเชียแบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์ :

ข้าวสายพันธุ์แรกเรียกว่าสายพันธุ์ Senica หรือ Japonica ปลูกบริเวณแม้น้ำเหลืองของจีน แพร่ไปยังเกาหลีและญี่ปุ่น เมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ เป็นข้าวเมล็ดป้อม

ข้าวสายพันธุ์ที่สอง เรียกว่า Indica เป็นข้าวเมล็ดยาวปลูกในเขตร้อนแพร่สู่ตอนใต้ของอินเดีย ศรีลังกา แหลมมาลายู หมู่เกาะต่าง ๆ และลุ่มแม่น้ำแยงซีของจีนประมาณคริสต์ศักราช 200

ข้าวสายพันธุ์ที่สาม คือ ข้าวชวา (Javanica) ปลูกในอินโดนีเชีย ประมาณ 1,084 ปีก่อนคริสต์ศักราช จากนั้นแพร่ไปยังฟิลิปปินส์และญี่ปุ่น ในข้าวเอเชียแพร่เข้าไปในยุโรปและแอฟริกา สู่อเมริกาใต้ อเมริกากลาง เข้าสู่สหรัฐอเมริกาครั้งแรกประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยนำเมล็ดพันธุ์ไปจากหมู่เกาะมาดากัสกา

ชนิดของข้าว

การแบ่งชนิดของข้าวทำได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับมาตรการที่ใช้ในการแบ่ง เช่น

แบ่งตามประเภทของเนื้อแข็งในเมล็ดข้าวสาร
แบ่งได้เป็นข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ซึ่งมีต้นและลักษณะอย่างอื่นเหมือนกันทุกอย่าง แตกต่างกันที่ประเภทของเนื้อแข็งในเมล็ด เมล็ดข้าวเจ้าประกอบด้วยแป้งอมิโลส (Amylose) ประมาณร้อยละ 15-30 ส่วนเมล็ดข้าวเหนียวประกอบด้วยแป้งอมิโลเพคติน (Amylopectin) เป็นส่วนใหญ่และมีแป้งอมิโลสเพียงเล็กน้อยประมาณร้อยละ 5-7 เท่านั้น

แบ่งตามสภาพพื้นที่เพาะปลูก

ข้าวไร่ (Upland rice) เป็นข้าวที่ปลูกได้ทั้งบนที่ราบและที่ลาดชันไม่ต้องทำคันนาเก็บกักน้ำ นิยมปลูกกันมากใบบริเวณที่ราบสูงตามไหล่เขาทางภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ คิดเป็นเนื้อที่เพาะปลูกประมาณร้อยละ 10 ของเนื้อที่เพาะปลูกทั่วประเทศ

ข้าวนาสวนหรือนาดำ (Lowland rice) เป็นข้าวที่ปลูกในที่ลุ่มทั่ว ๆ ไปในสภาพที่มีน้ำหล่อเลี้ยงต้นข้าวตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งก่อนเก็บเกี่ยว โดยที่สามารถรักษษระดับน้ำได้และระดับน้ำต้องไม่สูงเกิน 1 เมตร ข้าวนาสวนนิยมปลูกกันมากแทบทุกภาคของประเทศคิดเป็นเนื้อที่เพาะปลูก ประมาณร้อยละ 80 ของเนื้อที่เพาะปลูกทั่วประเทศ

ข้าวขึ้นน้ำหรือข้าวนาเมือง (Floating rice) เป็นข้าวที่ปลูกในแหล่งที่ไม่สามารถรักษาระดับน้ำได้ บางครั้งระดับน้ำในบริเวณที่ปลูกอาจสูงกว่า 1 เมตร ต้องใช้ข้าวพันธุ์พิเศษที่เรียกว่า ข้าวลอย หรือ ข้าวฟ่างลอย ส่วนมากปลูกแถบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ลพบุรี พิจิตร อ่างทอง ชัยนาทและสิงห์บุรี คิดเป็นเนื้อที่เพาะปลูกประมาณร้อยละ 10 ของเนื้อที่เพาะปลูกทั่วประเทศ


แบ่งตามอายุการเก็บเกี่ยว
แบ่งเป็นข้าวเบา ข้าวกลางและข้าวหนัก ข้าวเบามีอายุการเก็บเกี่ยว 90-100 วัน ข้าวกลางมีอายุการเก็บเกี่ยว 100-120 วัน และข้าวหนักมีอายุการเก็บเกี่ยว 120 วันขึ้นไป อายุการเก็บเกี่ยวนับแต่วันเพาะกล้าหรือหว่านข้าวในนาจนเก็บเกี่ยว

แบ่งตามลักษณะความไวต่อช่วงแสง
ข้าวที่ไวต่อช่วงแสงจะมีอายุการเก็บเกี่ยวที่ไม่แน่นอน คือไม่เป็นไปตามอายุของต้นข้าว เพราะจะออกดอกในช่วงเดือนที่มีความยาวของกลางวันสั้นกว่ากลางคืน ในประเทศไทยช่วงดังกล่าวเริ่มเดือนตุลาคม ฉะนั้นข้าวพวกนี้ต้องปลูกในฤดูนาปี (ฤดูฝน) เท่านั้น ส่วนข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสงสามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล ข้าวขาวมะลิ 105 เป็นข้าวที่ไวต่อช่วงแสง ในขณะที่ข้าวปทุมธานี เป็นข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง

แบ่งตามรูปร่างของเมล็ดข้าวสาร
ข้าวเมล็ดสั้น (Short grain) ความยาวของเมล็ดไม่เกิน 5.50 มิลลิเมตร
ข้าวเมล็ดยาวปานกลาง (Medium grain) ความยาวของเมล็ดตั้งแต่ 5.51-6.60 มิลลิเมตร
ข้าวเมล็ดยาว (Long grain) ความยาวของเมล็ดตั้งแต่ 6.61-7.50 มิลลิเมตร
ข้าวเมล็ดยาวมาก (Extra-long grain) ความยาวของเมล็ดตั้งแต่ 7.51 มิลลิเมตรขึ้นไป


แบ่งตามฤดูปลูก
ข้าวนาปีหรือข้าวนาน้ำฝน คือ ข้าวที่ปลูกในฤดูการทำนาปกติ เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมและเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นล่าสุดไม่เกินเดือนกุมภาพันธ์
ข้าวนาปรัง คือ ข้าวที่ปลูกนอกฤดูการทำนาปกติ เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ในบางท้องที่จะเก็บเกี่ยวอย่างช้าที่สุดไม่เกินเดือนเมษายน นิยมปลูกในท้องที่ที่มีการชลประทานดี เช่น ในภาคกลาง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Pum_NWF_Rayong
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/07/2009
ตอบ: 177

ตอบตอบ: 06/11/2009 10:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา ที่มา http://www.thairice.org/html/aboutrice/about_rice1.htm

พันธุ์ข้าวไทยและการปรับปรุงพันธุ์

พันธุ์ข้าวเจ้า


ชื่อพันธุ์ข้าวและลักษณะดีเด่น

ขาวดอกมะลิ 105 ปลูกได้ในที่นาดอน ทนแล้ง ทนดินเปรี้ยว-ดินเค็ม คุณภาพการหุงต้มดี มีกลิ่นหอม รสชาติดี ต้านทานไส้เดือนฝอยรากปม

ปทุมธานี 60 ต้านทานโรคกาบใบเน่า โรคใบหงิก
กข7 ค่อนข้างต้านทานโรคใบไหม้ และโรคขอบใบแห้ง ค่อนข้างทนดินเค็ม

กข23 ต้านทานโรคไหม้ปานกลาง

กข27 ต้านทานโรคใบหงิก โรคกาบใบแห้ง โรคไหม้คอรวง ทนน้ำท่วมได้ดี

สุพรรณบุรี 60 ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง เพลี้ยจักจั่น

พิษณุโลก 60-2 ต้านทานโรคกาบใบเน่า โรคไหม้ โรคใบสีส้มในระดับสูง ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลปานกลาง

สุพรรณบุรี 90 ต้านทานโรคใบหงิก โรคใบสีส้ม โรคใบไหม้ และโรคขอบใบแห้ง ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

ชัยนาท 1 ต้านทานโรคใบหงิก โรคใบไหม้ ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว

เหลืองประทิว 123 ต้านทานโรคของใบแห้ง และโรคใบหงิก

ขาวตาแห้ง 17 คุณภาพการสี และการหุงต้มดี ต้านทานแมลงบั่วปานกลาง

นางพญา 132 ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว
แก่นจันทร์ ต้านทานโรคใบหงิก โรคใบขีดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นสีเขียว

พัทลุง 60 ต้านทานโรคขอบใบแห้ง

ลูกแดงปัตตานี ต้านทานโรคใบไหม้ ทนต่อดินเค็มและดินเปรี้ยว

เฉี้ยงพัทลุง ให้ผลผลิตสูง ปรับตัวได้ดีในที่นาดอนและลุ่ม คุณภาพการสีดี

ปิ่นแก้ว 56 ทนน้ำลึก และขึ้นน้ำได้ดี ไม่ต้านทานโรคใบไหม้ โรคใบสีส้ม โรคใบหงิก

เล็บมือนาง 111 ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล ทนแล้ง ทนน้ำลึก

หันตรา 60 เหมาะกับที่ราบลุ่มภาคกลาง ต้านทานโรคใบไหม้

พลายงามปราจีนบุรี ต้านทานโรคใบไหม้

ปราจีนบุรี 1 ต้านทานโรคใบไหม้ระยะกล้า โรคใบขีดโปร่งแสง ทนน้ำลึก ให้ผลผลิตและคุณภาพสูง ทนแล้ง ทนดินเปรี้ยว

ปราจีนบุรี 2 ทนน้ำลึก ให้ผลผลิตสูง

ดอกพะยอม ต้านทานโรคใบไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคใบขีดสีน้ำตาล

กู้เมืองหลวง เหมาะสำหรับปลูกพืชแซมยางหรือปลูกเป็นข้าวไร่ทางภาคใต้ ต้านทานโรคใบไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล

เจ้าฮ่อ เหมาะสำหรับปลูกในสภาพไร่พื้นราบและสภาพไร่เชิงเขาในภาคเหนือ ต้านทานโรคใบไหม้

น้ำรู เหมาะสำหรับปลูกในสภาพไร่ที่สูงมีอากาศหนาว
ต้านทานโรคใบไม้

สุพรรณบุรี 1 ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว โรคใบหงิก

สุพรรณบุรี 2 ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคขอบใบแห้ง โรคใบหงิก โรคใบสีส้ม

คลองหลวง 1 ให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 25 % ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดหลังขาวดีกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105

หอมสุพรรณบุรี ค่อนข้างต้านทานต่อโรคใบแห้ง เพลี้ยกระโดดหลังขาว

ปทุมธานี 1 ลักษณะคล้ายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาวโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง

พิษณุโลก 1 ให้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคใบหงิก

พิษณุโลก 2 ต้านทานโรคไหม้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

สุรินทร์ 1 ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยจักจั่น

น้ำสะกุย 19 เป็นข้าวเบาที่ทนแล้งและทนน้ำท่วมได้ดี ไม่ต้านทานแมลงบั่ว โรคไหม้และโรคใบสีส้ม

พิษณุโลก 60-1 ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคกาบใบแห้ง และโรคจู๋ ต้านทานแมลงบั่ว ไม่ต้านทานโรคไหม้ และโรคใบสีส้ม

ชุมแพ 60 ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ไม่ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง ทนดินเค็มปานกลาง

พิษณุโลก 1 ต้านทานโรคไหม้ปานกลาง

พิษณุโลก 3 ผลผลิตสูง ต้านทานโรคไหม้

กข 9 ปลูกได้ทุกฤดูกาล ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว และแมลงบั่วปานกลาง ต้านทานโรคใบหงิกในสภาพธรรมชาติ ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง

กข 15 ทนแล้งได้พอสมควร ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล

เล็บนกปัตตานี อายุหนัก ปลูกได้ในพื้นที่นาลุ่ม



พันธุ์ข้าวเหนียว


ชื่อพันธุ์ข้าวและลักษณะดีเด่น

สันป่าตอง 1 ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้งดี ให้ผลผลิตสูง สามารถปลูกได้ทั้งปี

สกลนคร เป็นข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสง ปรับตัวได้หลายสภาพ นาดอน นาชลประทาน และสภาพไร่นา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

หางยี 71 ทนแล้งปลูกเป็นข้าวไร่ได้ อายุเบา ต้านทานโรคไหม้และโรคใบจุดสีน้ำตาล ไม่ต้านทานโรค ขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว

กข 2 ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล ต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียวปานกลาง ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว

กข 4 ปลูกได้ทุกฤดูกาล ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล แมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่น สีเขียว ไม่ต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง

กข 6 ทนแล้ง ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว

กข 8 ทนแล้ง ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Pum_NWF_Rayong
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/07/2009
ตอบ: 177

ตอบตอบ: 06/11/2009 11:19 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.ricethailand.go.th/rice%20web/Introduce%20Rice/Introduce%20rice.pdf

-:- การตั้งชื่อพันธุ์ข้าว -:-

เมื่อดูจากชื่อพันธุ์ข้าวแล้วจะพบว่า การตั้งชื่อพันธุ์ข้าวพื้นเมือง นอกจากจะตั้งชื่อตามชื่อคน ชื่อสถานที่ และลักษณะตามธรรมชาติของข้าวซึ่งเป็นพืชชนิดหนึ่งแล้ว ชื่ออื่นๆ มักเป็นไปในทางดี เป็นมงคลทั้งนั้น ทั้งนี้เป็นเพราะคนไทยส่วนมากมีอาชีพในทางทำไร่ทำนาข้าวเป็นทั้งอาหารหลักและพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้แก่ชาวบ้าน พืชที่เพาะปลูกจึงถือว่าเป็นสิ่งดี เป็นมงคล เป็นคุณประโยชน์แก่ชาวบ้าน ความรู้สึกของชาวนาที่มีต่อข้าว จึงเป็นความรู้สึกสำนึกถึงบุญคุณของข้าวที่มีต่อวิถีชีวิตของตน เมื่อต้องการตั้งชื่อพืชที่มีความสำคัญยิ่งต่อตัวเอง จึงต้องตั้งชื่อที่ดีและเป็นมงคลเพื่อผลผลิตจะได้ดีตามไปด้วย

การตั้งชื่อพันธุ์ข้าวพื้นเมือง อาจจำแนกรูปแบบการตั้งชื่อได้ดังนี้

ตามชื่อของชาวนาหรือชาวบ้าน เช่น ขาวตาแห้ง ขาวตารัตน์ ขาวตาเป๋ ขาวตาเจือ เหลืองตากุยนายยวน เป็นต้น

ตามสถานที่ เช่น ขาวเพชรบูรณ์ ขาวสุพรรณ เหลืองร้อยเอ็ด สันป่าตอง เป็นต้น

ตามลักษณะเด่นของเมล็ดข้าว เช่น ขาวเมล็ดเล็ก ขาวมะลิ ขาวอำไพ ขาวคัด ขาวเม็ดยาว ข้าวหอมพระอินทร์ เป็นต้น

ตามธรรมชาติของการได้ผลผลิต คือ ข้าวหนักซึ่งได้ผลผลิตช้ากว่าข้าวเบาก็เรียกชื่อตามนั้น เช่น ขาวสะอาดหนัก เศรษฐีหนัก เจ๊กสกิด (หนัก) จำปาหนัก ห้าเหลืองเบา เบาหอม เป็นต้น

ชื่อที่มีความหมายในทางที่ดีเป็นสิริมงคล บ่งบอกถึงความร่ำรวย หรือการได้ผลผลิตมาก ๆ เช่น ขาวเศรษฐี ล้นยุ้ง ขาวหลุดหนี้ ก้อนแก้ว เกวียนหัก เหลืองควายล้า ขาวทุ่งทอง เป็นต้น

ตามธรรมชาติของพันธุ์ข้าว เช่น ขาวสูง เหลืองพวงล้า ข้าวใบตก เหลืองเตี้ย ขาวพวง เจ็ดรวงเบา พันธุ์เบื่อน้ำ หางหมาจอก สามรวง เป็นต้น

ตามสีที่เกี่ยวข้องกับพันธุ์ข้าวหรือเมล็ดข้าว เช่น เขียวนางงาม เหลืองปลากริม เขียวหนัก แก้วลาย รวงดำ เป็นต้น

ตามพืชชนิดอื่น เช่น ขาวดอกมะลิ จำปา ดอกพุด ขาวมะนาว จำปาทอง ดอกจันทร์ แตงกวา ไทรขาว อบเชย เป็นต้น

ชื่ออื่น ๆ เช่นข้าวจังหวัด ขาวห้าร้อย ขาวเกษตร เหลืองสองคลอง เหลืองไร่ นางงาม
นางเอก ตับบิ้ง หลวงแจก เป็นต้น


การตั้งชื่อพันธุ์ข้าวปรับปรุง เป็นดังนี้คือ

พันธุ์ข้าวที่พัฒนาจากพันธุ์พื้นเมืองที่เลือกสรรมาโดยการคัดเลือกพันธุ์ มักจะใช้ชื่อพันธุ์พื้นเมืองเป็นฐานแล้วใส่ตัวเลขที่ระบุถึงหมายเลขประกวด (เช่น นางมล s-4 ขาวตาแห้ง 17 เป็นต้น) หรือตัวเลขตามสายพันธุ์ ( เช่น ขาวดอกมะลิ 105 ปิ่นแก้ว 56 เล็บมือนาง 111 เป็นต้น)

พันธุ์ข้าวใหม่จากข้าวพันธุ์ผสม เช่น กข 1 กข 2 และกข 3 เป็นต้น "กข" มาจากกรมการข้าว ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มทำการผสมพันธุ์ข้าวเหล่านี้ ในปี 2512 โดยนำพันธุ์ข้าว IR8 จากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institute หรือ IRRI) มาผสมกับพันธุ์ข้าวเหลืองทองของไทย ลูกพันธุ์ผสมที่คัดเลือกได้เป็นสายพันธุ์ดีเด่น ก็คือ กข 1 และ กข3 ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวเจ้าที่ให้ผลผลิตสูง และมีความดีเด่นที่สามารถแก้ปัญหาการระบาดของเพลี้ยจักจั่นสีเขียว ซึ่งเป็นพาหะของโรคใบสีเหลืองส้ม ที่กำลังระบาดอยู่ในภาคกลาง ส่วนพันธุ์ข้าว กข 2 เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวต้นเตี้ยพันธุ์แรก ที่ให้ผลผลิตสูง และต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียว นั่นคือ เลขคู่จะบ่งถึงข้าวเหนียว และเลขคี่จะเป็นข้าวเจ้า วิธีการตั้งชื่อแบบนี้ ใช้มาจนถึงปี พ.ศ. 2524 ซึ่งออกพันธุ์ข้าว กข 27

ในปี พ.ศ. 2526 ได้มีระบบการตั้งชื่อใหม่ โดยให้เรียกชื่อพันธุ์พืชที่มาจากการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีการผสมพันธุ์ตามชื่อของศูนย์วิจัย หรือสถานีทดลองที่ทำการปรับปรุงพันธุ์พืชนั้นๆ ตัวเลขที่ตามหลังชื่อ ก็ไม่ได้กำหนดว่าเลขไหนเป็นข้าวเจ้า เลขไหนเป็นข้าวเหนียว ในปี พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นปีที่มีการเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ พันธุ์ข้าวที่ได้รับการรับรองพันธุ์ในปีนั้น จึงใช้เลข 60 ตามชื่อของศูนย์วิจัยหรือสถานีทดลองที่ทำการปรับปรุงพันธุ์นั้นๆ เช่น สุพรรณบุรี 60 ปทุมธานี 60 ชุมแพ 60 พัทลุง 60 หันตรา 60 เป็นต้น

ส่วนพันธุ์ข้าวพื้นเมืองหรือพันธุ์ท้องถิ่นที่นำมาทำการพัฒนา ก็จะใช้ชื่อเดิมพ่วงต่อกับชื่อของศูนย์วิจัย หรือสถานีทดลองข้าวที่ทำการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ เช่น เหนียวอุบล พลายงามปราจีนบุรี เล็บนกปัตตานี เฉี้ยงพัทลุง เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระชนมายุครบ 90 พรรษา ข้าวสุพรรณบุรี 90 ก็เป็นพันธุ์ข้าวเฉลิมพระเกียรติอีกพันธุ์หนึ่งที่ได้รับการรับรอง และแนะนำให้เกษตรกรปลูก
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©