-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-แมลงผีเสื้อกลางคืน บินสูงเท่าไหร่
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - แมลงผีเสื้อกลางคืน บินสูงเท่าไหร่
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

แมลงผีเสื้อกลางคืน บินสูงเท่าไหร่

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
bombon
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/07/2009
ตอบ: 68

ตอบตอบ: 09/11/2009 1:26 pm    ชื่อกระทู้: แมลงผีเสื้อกลางคืน บินสูงเท่าไหร่ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ว่าจะคิดเทคิคป้องกันแมลงหน่อยนะครับ จะลองเอา ซาแลนมา กั้นดู สักไร่ นึง เพื่อที่จะป้องกันแมลงไม่ให้เข้าไปวางไข่ในแปลงดาวเรือง โดยไม่ต้องปิดด้านบนนะครับ ไม่รู้ว่าเวิร์ค หรือเปล่า ถ้ากันได้สัก 50 เปอร์เซ็นต์ก็คงดี
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 09/11/2009 1:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.pantown.com/board.php?id=3402&area=4&name=board4&topic=1243&action=view

การใช้แสงไฟสีเหลืองในการควบคุมแมลงศัตรูพืชพวกผีเสื้อกลางคืนในประเทศญี่ปุ่น
การใช้แสงไฟในการควบคุมศัตรูพืชเป็นวิธีการป้องกันกำจัดแมลงทางฟิสิกส์โดยสามารถ นำมาใช้ในการควบคุมศัตรูพืชแบบผสมผสาน วิธีการนี้ไม่ต้องการแรงงานที่มีความชำนาญ มากนัก สามารถลดการใช้สารฆ่าแมลง ใช้ได้กับแมลงหลายชนิด ไม่ก่อให้เกิดปัญหาแมลงเกิดความต้านทานสารฆ่าแมลง และไม่ก่อให้เกิดปัญหาพิษตกค้างในสภาพแวดล้อม

ผลของการใช้แสงไฟสีเหลือง(yellow fluorescentlamp,YFLs) กับผีเสื้อกลางคืนที่มีพฤติกรรมว่องไวในตอนกลางคืนคือ เมื่อผีเสื้อเข้ามาเจอกับแสงไฟสีเหลือง ที่มีความยาวคลื่น 580 นาโนเมตร ตารวมของผีเสื้อจะเปลี่ยนสภาพจากการปรับตัวตอนกลางคืนมาเป็นสภาพการปรับตัว ตอนกลางวัน การ ใช้แสงไฟสีเหลือง ติดตั้งในไร่นาตลอดคืนตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกจนถึงดวงอาทิตย์ขึ้น ทำให้ผีเสื้อกลางคืนอยู่ในสภาพเฉื่อยชา ไม่คล่องแคล่วว่องไว ไม่ค่อยมีกิจกรรมใดๆ และสามารถขับไล่ผีเสื้อ ออกจากแปลงปลูกได้ จึงเป็นการยับยั้งการผสมพันธุ์วางไข่ของแม่ผีเสื้อ และสามารถลดผลผลิตพืชถูกทำลายจากหนอนผีเสื้อลงได้ แต่แสงไฟดังกล่าวไม่มีผลต่อการทำลาย หนอนผีเสื้อกลางคืน ถ้ามีการระบาดของแมลงในระยะหนอนอย่างรุนแรง การใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพร่วมกับการใช้แสงไฟจะได้ผลดียิ่งขึ้น

ปี ค.ศ. 1970 มีการใช้แสงไฟสีเหลืองนี้ในสวนลูกแแพร์ สวนแอปเปิ้ล และสวนองุ่น เพื่อควบคุมผีเสื้อหนอนเจาะผล Adris tyrannus, Oraesia excavata และ Raesia emarginata มีรายงานว่ามีการใช้แสงไฟสีเหลือง ในประเทศญี่ปุ่นครั้งแรกในสวนแตงโม และคาร์เนชั่น ปรากฎว่าสามารถไล่ผีเสื้อหนอนกระทู้หอม(Spodoptera exigua) ออกจากโรงเรือนได้ การใช้แสงไฟสีเหลืองตลอดคืนในแปลงปลูก perilla ไม่เพียงแต่ลดการทำลายของหนอนกระทู้ผัก(Spodoptera litura) แต่ยังมีผลยับยั้งการแตกตาดอกของ perilla ด้วย นอกจากนี้พบว่าการใช้แสงไฟสีเหลืองตลอดคืนรอบๆแปลงปลูกข้าวโพดหวาน สามารถลดการทำลายเกสรตัวเมียของหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด (Ostrinia furnacalis)ได้ดี

ในปี ค.ศ. 1994 การปลูกคาร์เนชั่นบนเกาะ Awaji ในประเทศญี่ปุ่น เกิดการระบาดของหนอนเจาะสมอฝ้าย (Helicoverpa armigera) หนอนกระทู้หอม และหนอนกระทู้ผัก ทำลายอย่างหนัก จึงมีการแนะนำให้ใช้แสงไฟสีเหลืองเปิดตลอดทั้งคืน และสามารถลดการระบาดของผีเสื้อกลางคืนเหล่านี้อย่างได้ผล เกษตรกรญี่ปุ่นเห็นถึงประสิทธิภาพ ของการใช้แสงไฟสีเหลืองจึงเริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลายในแปลงปลูกคาร์เนชั่น ทั่วประเทศ และยังพบว่ายังให้ผลดีใแปลงปลูกไม้ดอกขนาดใหญ่ ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกผัก ไม้ผล เริ่มหันมาใช้วิธีการนี้ในสวนของตัวเองบ้าง นอกจากนี้ยังพบว่าวิธีการนี้ใช้ได้ผลกับผีเสื้อที่ว่องไวตอนกลางคืนหลายชนิด ยกเว้นแมลงบางตัว เช่น cabbage webworm (Helilula undalis) cotton caterpillar (Diaphania indica ) เป็นต้น

ความเข้มของแสงไฟสีเหลือง ในพื้นที่ต้องอยู่ที่ระดับ 1 ลักซ์(lux) หรือมากกว่าจึงได้ผลในการป้องกันการทำลายของหนอนผีเสื้อกลางคืน และจำเป็นต้องให้แสงสว่างในช่วงเวลาที่เหมาะสม รวมทั้งใช้อุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่นขาตั้งหลอดไฟ ก็ต้องเหมาะสมดว้ยเช่นกัน สำหรับหลอดไฟที่แนะนำให้ใช้โดยทั่วไปคือ หลอดไฟ YFL ขนาด 40 วัตต์ ในสวนลูกแพร์ใช้ 7 หลอด ในโรงเรือนปลูกคาร์เนชั่น ใช้ 12-15 หลอด ในแปลงปลูกข้าวโพดใช้ 8 หลอด และในแปลงปลูกดอกเบญจมาศ ใช้ 10-20 หลอด

ปัจจุบันในประเทศญี่ปุ่น มีการใช้แสงไฟสีเหลืองกันอย่างแพร่หลาย เพื่อควบคุมหนอนผีเสื้อกลางคืนที่มีความต้านทานสารฆ่าแมลง ในแปลงผักและไม้ดอก แมลงศัตรูเหล่านี้ได้แก่ หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก และหนอนเจาะสมอฝ้าย

การศึกษาทางนิเวศวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการใช้แสงไฟสีเหลืองเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบินของแมลงกับสภาพภูมิอากาศ เช่นสภาพอุณหภูมิสูง สภาพที่มแสงอาทิตย์เล็กน้อย การศึกษาทางด้านความสัมพันธ์ของแสงไฟกับพฤติกรรมการผสมพันธ์ของแมลง ความสัมพันธ์ระหว่างการปรับสภาพของตารวมของผีเสื้อกลางคืน และผลของแสงไฟสีเหลือง กับพฤติกรรมของแมลงศัตรูชนิดอื่นๆ เช่น พวกมวน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ สามารถนำมาสนับสนุนการใช้แสงไฟสีเหลือง ในการป้องกันการเข้าทำลายของผีเสื้อกลางคืนเหล่านี้ได้ และที่สำคัญคือต้องศึกษา ผลของแสงไฟสีเหลืองต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกของพืชด้วยเช่นกัน

กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม กลุ่มงานวิจัยแมลงศัตรูพืชสวนอุตสาหกรรมกองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©