-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-การจัดการธาตุอาหารพืชในไม้ผล
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - การจัดการธาตุอาหารพืชในไม้ผล
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

การจัดการธาตุอาหารพืชในไม้ผล

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 30/11/2009 4:44 am    ชื่อกระทู้: การจัดการธาตุอาหารพืชในไม้ผล ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.chumphon.doae.go.th/sara/tat.doc

การจัดการธาตุอาหารพืชในไม้ผล

โดยทั่วไป ในดินที่ปลูกพืชไปได้ ระยะหนึ่ง ดินจะเริ่มเสื่อมความสมบูรณ์ลง กล่าวคือ ธาตุอาหารในดินมีปริมาณน้อยลง สาเหตุเพราะ
1) ติดไปกับผลผลิตที่นำออกจากสวนไปจำหน่าย
2) ติดไปกับใบและกิ่งก้านสาขาที่ร่วงหล่นและตัดแต่งลงมา
3) สูญเสียไปกับน้ำที่ไหลบ่าไปตามผิวดินหรือซึมลึกลงสู่ใต้ดินเลยระดับรากพืช
4) สูญเสีย เนื่องจากปฏิกิริยายาเคมีของดิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับ การใช้ปุ๋ยที่ไม่ถูกต้องทำให้สภาพความเป็นกรดด่างของดินไม่เหมาะสม หรือทำให้มีธาตุอาหารบางชนิดตกค้างในดินมากเกิน จนมีผลให้ธาตุอาหารอื่นตกตะกอนอยู่ในรูปที่พืชดูดไปใช้ไม่ได้ ฯลฯ

การจัดการธาตุอาหารพืชจึงควรยึดหลักการที่สำคัญ คือ ต้องพิจารณาว่า ในแต่ละรอบปี ได้นำเอาธาตุอาหารพืชออกจากดินไปในปริมาณเท่าใด จะต้องใส่กลับคืนไปให้กับดินทั้งหมด ซึ่งจะต้องใส่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียต่างๆที่กล่าวไว้ข้างต้นด้วย และที่สำคัญควรจะต้องทราบด้วยว่าในดินมีธาตุอาหารพืชอยู่แล้วอย่างไร

ทั้งนี้มีประเด็นสำคัญที่ชาวสวนไม้ผลมักจะละเลยคือ ชิ้นส่วนของพืชจากการตัดแต่งกิ่งในแต่ละปี ใบที่ร่วงหล่นเพราะหมดอายุขัย และวัชพืชที่ตัดออกไป ล้วนแต่มีธาตุอาหารพืชที่ดูดมาจากดินเป็นองค์ประกอบอยู่ทั้งสิ้น ดังนั้น การเผาทำลายทิ้งหรือนำออกไปจากสวนจึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แต่ควรทิ้งไว้ในสวนให้ย่อยสลาย เพื่อปลดปล่อยธาตุอาหารพืชกลับคืนสู่ดินดังเดิม

การที่จะทราบได้ว่าในรอบปีหนึ่งๆ ไม้ผลแต่ละชนิดได้นำเอาธาตุอาหารพืชออกจากดินไปในปริมาณเท่าใดนั้น ต้องให้ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องนี้โดยตรงทำการศึกษาวิเคราะห์ออกมา ในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยมีข้อมูลธาตุอาหารพืชที่ค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว ใน ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ องุ่น และมะม่วง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลงานวิจัยของนักวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำหรับไม้ผลอื่นก็จะมีการวิจัยตามลำดับต่อไป


1. มะม่วงและองุ่น

ศ.ดร.นันทกร บุญเกิด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้ทำการวิจัยและเผยแพร่ข้อมูลเรื่อง การจัดการธาตุอาหารพืชกับมะม่วงและองุ่น สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
เกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลมักมีการปรับปรุงบำรุงดินและใส่ปุ๋ยในอัตราสูงโดยไม่คำนึงว่า ดินที่ปลูกมีระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินเดิมอยู่แล้วมากน้อยเพียงใด จึงเป็นเหตุให้เกิดความไม่
สมดุลย์ของธาตุอาหารพืชและเสียค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็น

องุ่น
นอกเหนือจากผลผลิตที่เก็บเกี่ยวออกไปแล้ว องุ่นเป็นไม้ผลที่ต้องมีการตัดแต่งกิ่งเป็นระยะๆ การตัดแต่งกิ่งแต่ละครั้งหมายถึงการสูญเสียธาตุอาหารพืช เว้นเสียแต่ว่าเกษตรกรจะนำส่วนที่ตัดกลับคืนสู่ดิน ณ ที่เดิม ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่มักจะไม่ปฏิบัติ ดังนั้นการจัดการธาตุอาหารพืชในองุ่น ต้องสอดคล้องกับธาตุอาหารที่สูญเสียไป ผลงานวิจัยซึ่งแสดงถึง ปริมาณธาตุอาหารพืชที่ องุ่น สูญเสียไปกับการตัดแต่งกิ่งและผลผลิต เป็นดังนี้

- ผลองุ่น น้ำหนัก 1 กิโลกรัม มีไนโตรเจน 2 กรัม ฟอสฟอรัส 0.6 กรัม โพแทสเซียม 5 กรัม

- องุ่นทั้งต้น น้ำหนัก 1 กิโลกรัม มีไนโตรเจน 12 กรัม ฟอสฟอรัส 2.0 กรัม โพแทสเซียม 11 กรัม
หรือสรุปว่า สัดส่วนของ ไนโตรเจน : ฟอสฟอรัส : โพแทสเซียม ขององุ่นทั้งต้น = 6: 1.0 : 5.5
ของผลองุ่น = 3 : 1.0 : 8.0
กล่าวคือ ถ้าสามารถผลิตองุ่นได้ไร่ละ 5 ตัน/ปี จะมีการสูญเสียธาตุอาหารพืชจากดินต่อพื้นที่ 1 ไร่ ดังนี้
- สูญเสียไปกับผลองุ่น : ไนโตรเจน 10 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส 3 กิโลกรัม โพแทสเซียม 25 กิโลกรัม
- สูญเสียไปกับการตัดแต่งกิ่ง :ไนโตรเจน 16 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส 3 กิโลกรัม โพแทสเซียม 14 กิโลกรัม
รวมธาตุอาหารพืชที่สูญเสียไปทั้งสิ้น คือ ไนโตรเจน 26 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส 6 กิโลกรัม โพแทสเซียม 39 กิโลกรัม


มะม่วง
การผลิตมะม่วงเป็นสวนเชิงการค้า ในปัจจุบันจะมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมขนาดทรงพุ่ม และควบคุมอายุของยอดเพื่อการบังคับการออกดอก ดังนั้น การนำเอาธาตุอาหารพืชออกไปจากดินก็ขึ้นกับปริมาณผลผลิตและน้ำหนักของกิ่งที่ตัดแต่งออกไป ผลการวิจัย ในโครงการจัดการธาตุอาหารพืชในมะม่วง เพื่อต้องการทราบว่ามะม่วง 1 ต้น จะนำธาตุอาหารจากดินไปใช้ในปริมาณเท่าใด เป็นดังนี้

- มะม่วงทั้งต้น (เฉลี่ย ทั้ง ใบ กิ่ง ก้าน และทุกๆส่วนของราก) น้ำหนัก 1 กิโลกรัม มีไนโตรเจน 5.8 กรัม ฟอสฟอรัส 1.5 กรัม และ โพแทสเซียม 4.5 กรัม

- ผลมะม่วงสด น้ำหนัก 1 กิโลกรัม มีไนโตรเจน 5.78 กรัม ฟอสฟอรัส 15.0 กรัม และโพแทสเซียม 45 กรัม

ซึ่งสรุปได้ว่า สัดส่วนของ ไนโตรเจน : ฟอสฟอรัส : โพแทสเซียม
ของมะม่วงทั้งต้น = 4.5: 1.0 : 3.8
ของผลมะม่วง = 6.7 : 1.0 : 6.5

กล่าวโดยสรุปว่า องุ่นและมะม่วง มีความต้องการธาตุอาหารหลักคล้ายคลึงกัน คือ ต้องการฟอสฟอรัสในปริมาณที่น้อยกว่า ไนโตรเจนและโพแทสเซียม ดังนั้น จึงไม่ควรใส่ฟอสฟอรัสในปริมาณสูง เพราะพืชเอาไปใช้น้อยทำให้เหลือสะสมในดินจนถึงระดับที่เป็นอันตรายแก่พืช ทำให้ ต้นไม้ไม่เจริญเติบโตและให้ผลผลิตต่ำ การพิจารณาปริมาณปุ๋ยที่ให้แต่ละครั้งต้องพิจารณาถึงการสูญเสียธาตุอาหารจากการตัดแต่งกิ่ง ผลผลิต และปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่แล้วในดิน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 30/11/2009 4:56 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 30/11/2009 4:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

2. ลิ้นจี่
ดร.นันทรัตน์ บุญเกิด ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ได้ทำการวิจัยธาตุอาหารลิ้นจี่และเผยแพร่ข้อมูล สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

ลิ้นจี่เป็นพืชที่มีการออกดอกติดผลที่ปลายยอดที่เจริญเติบโตเต็มที่ ตายอดต้องผ่านการ พักตัวระยะหนึ่งจึงจะมีการพัฒนาเป็นตาดอกเมื่อกระทบอากาศเย็นในฤดูหนาว ( ประมาณ 15 องศาเซลเซียสนานติดต่อกันประมาณ 2 สัปดาห์ ) ผลการวิจัย เรื่อง ธาตุอาหารพืชในลิ้นจี่ พบว่า ธาตุอาหารส่วนใหญ่จะอยู่ที่ใบลิ้นจี่มากกว่าส่วนอื่น ซึ่งเป็นไปได้ว่า กิ่งที่ปลายยอดและใบจะเป็นแหล่งสะสมอาหารสำหรับการเจริญของช่อดอกและผลลิ้นจี่ ทั้งนี้ ปริมาณธาตุอาหารพืชที่ลิ้นจี่ใช้เพื่อการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านสาขา ( สร้างช่อใบใหม่ ) และปริมาณธาตุอาหารพืชที่ลิ้นจี่ใช้เพื่อการสร้างผล เป็นดังนี้

- ปริมาณธาตุอาหารที่ลิ้นจี่ต้องการใช้ในการเจริญเติบโตของใบ 1 ชุด ( 1ช่อใบ )
ไนโตรเจน 151.2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 15.2 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 98.9 มิลลิกรัม
เมื่อพิจารณาในรูปสัดส่วนของปุ๋ย N : P2O5 : K2O จะมีค่าประมาณ 4 : 1 : 3
- ปริมาณธาตุอาหารที่ลิ้นจี่ต้องการใช้ในการเจริญเติบโตของผล 1 ใบ น้ำหนัก 1 กิโลกรัม
ไนโตรเจน 2.37 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 0.32 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 2.53 มิลลิกรัม
เมื่อพิจารณาในรูปสัดส่วนของปุ๋ย N : P2O5 : K2O จะมีค่าประมาณ 3 : 1 : 4


3. ทุเรียน
รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ทำการวิจัยเรื่อง การจัดการธาตุอาหารพืชกับทุเรียน ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

- แนวทางในการใส่ปุ๋ยไม้ผลที่ให้ผลดีที่สุด ควรใช้ค่าวิเคราะห์พืชและค่าวิเคราะห์ดินมาเป็นเครื่องมือช่วยตัดสินใจในการใส่ปุ๋ย เนื่องจาก ค่าวิเคราะห์พืชบอกให้ทราบถึงความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบพืช ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสามารถในการดูดธาตุอาหารของพืช ส่วนค่าวิเคราะห์ดิน บอกให้ทราบว่า ดินมีธาตุอาหารพืชอยู่แล้วมากน้อยเพียงใดและมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะทำให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์หรือไม่ ถ้าไม่เหมาะสมจะปรับปรุงดินอย่างไร เพื่อให้ธาตุอาหารพืชที่มีอยู่แล้วในดินรวมทั้งปุ๋ยที่จะใส่เพิ่มให้กับดินอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมากที่สุด
- ผลการวิจัยเรื่อง การจัดการธาตุอาหารพืชกับทุเรียน พบว่า ค่ามาตรฐานธาตุอาหารของทุเรียน ( หมายถึง ความเข้มข้นของธาตุอาหาร ที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของทุเรียน ) วัดจากใบทุเรียนในตำแหน่งที่ 2 –3 ซึ่งมีอายุประมาณ 5 – 7 เดือน เป็นดังนี้
ไนโตรเจน (N) 2.0 - 2.3% ฟอสฟอรัส (P) 0.15 - 0.25%
โพแทสเซียม (K) 1.7 – 2.5 % แคลเซียม (Ca) 1.5 – 2.5 % แมกนีเซียม (Mg) 0.35 – 0.60 %
เหล็ก (Fe) 50 -120 ส่วนในล้านส่วน (ppm.)
แมงกานีส (Mn) 40 – 100 ส่วนในล้านส่วน (ppm.)
ทองแดง (Cu) 10 – 25 ส่วนในล้านส่วน (ppm.)
สังกะสี (Zn) 10 – 30 ส่วนในล้านส่วน (ppm.)
โบรอน (B) 35 – 60 ส่วนในล้านส่วน (ppm.)
ซึ่งถ้าวิเคราะห์ใบแล้วพบว่า ความเข้มข้นของธาตุอาหารพืชต่ำกว่าค่ามาตรฐาน แสดงว่าพืชขาดธาตุอาหารนั้น แต่ถ้าพบว่าความเข้มข้นของธาตุอาหารพืชสูงกว่าค่ามาตรฐานแสดงว่า ธาตุอาหารเป็นพิษ ทำให้การเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืชลดลงได้
- มีการวิจัยพบว่าดินในสวนไม้ผลภาคตะวันออกส่วนใหญ่ มักจะขาด ไนโตรเจน โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก แมงกานีส และสังกะสี โดยจะพบอาการขาดสังกะสีมากที่สุด ส่วนธาตุฟอสฟอรัสนั้น สวนไม้ผลส่วนใหญ่ใส่ปุ๋ยชนิดนี้มากเกินกว่าความต้องการของพืช แต่มิได้หมายความว่าสวนไม้ผลทั้งหมดจะขาดธาตุดังกล่าวที่กล่าวมาข้างต้น เพราะดินแต่ละแห่งมีธาตุอาหารที่พืชจะดูดไปใช้ได้ไม่เท่ากัน สวนแต่ละสวนมีประวัติการใส่ปุ๋ยและการจัดการดินที่แตกต่างกัน
- การจัดการธาตุอาหารพืชให้เหมาะสมจึงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและสลับซับซ้อน การจัดการที่ไม่ถูกต้อง นอกจากจะสิ้นเปลืองเงินค่าปุ๋ยแล้ว ยังทำให้เกิดผลเสียในระยะยาวต่อพืช วิธีที่ดีที่สุดคือ การใช้ค่าวิเคราะห์ดินและพืชมาช่วยในการวางแผนและตัดสินใจ


4. ลำไย
นาย ยุทธนา เขาสุเมรุและคณะ สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้ศึกษาปริมาณธาตุอาหารในใบลำไยที่มีอาการต้นโทรมเปรียบเทียบกับต้นที่มีความมบูรณ์มีประวัติการให้ผลผลิตดี พบว่า

- อายุใบและตำแหน่งใบที่เหมาะสมที่จะใช้เป็นมาตรฐาน คือ ใบรวมในตำแหน่งที่ 3,4 ที่มีอายุ 6-8 สัปดาห์ หลังจากเริ่มแตกใบ เนื่องจากค่าที่ได้มีความคงที่และมีการเปลี่ยนแปลงน้อย
- ปริมาณธาตุอาหารในใบรวมตำแหน่งที่ 3 , 4 ที่มีอายุ 6 – 8 สัปดาห์ ที่เหมาะสมของลำไย คือ
ไนโตรเจน (N) 1.88 – 2.42 % ฟอสฟอรัส (P) 0.12 – 0.22 %
โพแทสเซียม (K) 1.27 – 1.88 % แคลเซียม (Ca) 0.88 – 2.16 มก./กก. แมกนีเซียม (Mg) 0.20 – 0.31 มก./กก.
เหล็ก (Fe) 68.11 – 86.99 ส่วนในล้านส่วน (ppm.)
แมงกานีส (Mn) 47.00 – 80.46 ส่วนในล้านส่วน (ppm.)
ทองแดง (Cu) 16.32 – 18.45 ส่วนในล้านส่วน (ppm.)
สังกะสี (Zn) 16.99 – 24.29 ส่วนในล้านส่วน (ppm.)
โบรอน (B) 22.30 – 45.58 ส่วนในล้านส่วน (ppm.)
2.) ปริมาณธาตุอาหารที่ลำไยใช้ในการแตกช่อใบ ขึ้นกับขนาดของทรงพุ่ม โดยทรงพุ่มที่มีขนาดใหญ่ จะมีจำนวนยอด ( ช่อใบ ) มากกว่าทรงพุ่มขนาดเล็ก ซึ่งปริมาณธาตุอาหารที่ลำไยใช้ในการแตกช่อใบ เป็นดังนี้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 01/12/2009 8:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรื่องนี้ยังไม่จบ ลองคลิกไปที่ "ที่มา....." ที่หัวกระทู้ซิครับ แล้วจะรู้ว่า "เกษตร ยากกว่า วิศวะ" จริงอย่าง
ที่ลุงคิมพูด

คลิกย้อนไปเว้บ "ที่มา....." แล้ว อ่านข้อมูลผลงานของ รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม. วิเคราะห์ธาตุอาหารพืชในทุเรียน ฯลฯ ซึ่งเมื่อรู้แล้วจึงใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ นอกจากจะช่วยประหยัดเงินต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีแล้ว ยังช่วยสร้างคุณภาพและปริมาณผลผลิตอีกด้วย

อ่านแล้ว "ออกความเห็น" หน่อยก็ดีนะ




ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 02/12/2009 12:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เข้าไปอ่านมาแล้วครับ อ่านแล้วคิดได้แค่การทำเกษตรของเมืองไทยคง "ยังอีกยาวไกลนัก"
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 02/12/2009 5:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แม้ไม่ง่ายอย่างที่คิด แต่เชื่อเถอะว่า ไม่ยากอย่างที่กลัว.....วิชาการ คือ วิชาการ ทฤษฎี คือ ทฤษฎี....

ที่น่าสังเกตุก็คือ เอกสารตำราด้านการเกษตรในบ้านเมืองเรา ส่วนใหญ่แปลมาจากตำราเกษตรเมืองหนาว ส่วนที่เป็นตำราไทยแท้ๆ จากงานวิจัยไทย ที่เกี่ยวกับพืชเมืองร้อนก็พอมีอยู่บ้าง.....

ประเทศไทยตั้งอยู่ในโซนภูมิศาสตร์โลกที่มีการเจริญทางชีวภาพมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก เหมือนกับมาเลเซีย. อินโดเนเซีย. แล้วก็ดูจะเหนือกว่า พม่า. อินเดีย. ลาว. กัมพูชา. เวียดนาม. ซึ่งตั้งอยู่ในโซนใกล้เคียงกัน.....

ดูง่ายๆ.....ข้าว. เรามีนับ 1,000 สายพันธุ์......ทุเรียน. มะม่วง. ขนุน. มีนับ 1,000 สายพันธุ์.....ผลไม้กินได้ เรามีนับ 1,000 ชนิด สายพันธุ์ต่างๆเหล่านี้ล้วนแต่เกิดเองตามธรรมชาติทั้งสิ้น......ในขณะที่อเมริกา ก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพระดับไหน ปลูกทุเรียนได้แต่กินไม่ได้ทั้งๆที่ได้สายพันธุ์ไปจากไทย ทำสับปะรดกินสดไม่ได้ เพราะเนื้อหยาบ ต้องทำสับปะรดกระป๋องเท่านั้น ทำข้าวหอมมะลิไม่ได้ อย่างดีก็แค่ JAZZ MAN ตรานิโกร หลุยส์ อาร์มสตรอง.เป่าทรัมเป็ต. ผลไม้กินได้ของอเมริกามีสักกี่ชนิด

นั่นเป็นเพราะ "มนุษย์ยังเอาชนะธรรมชาติไม่ได้" ยังไงล่ะ.....แม้แต่ NAZA ที่ว่าแน่ๆ มากไปด้วยนักวิทยาศาสตร์ระดับหัวกะทิของโลก ก็ยังเอาชนะธรรมชาติไม่สำเร็จ ไม่ใช่หรือ

ระบบการเกษตรเฉพาะพืชของเราวันนี้ หากยึดแนว "อินทรีย์นำ (นำเต็มที่) เคมีเสริม (เสริมเล็กน้อย) ตามความเหมาะสมต่อพืชแต่ละชนิด" ก็น่าจะพอเพียงแล้ว มิใช่หรือ

เพราะธรรมชาติช่วยมากเกินไป เลยทำให้คนไทยไม่ยอมช่วยตัวเอง.....วันนี้สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไป อนาคตประเทศไทยอยู่ในกำมือของ "คนรุ่นใหม่" อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้......คนรุ่นใหม่ในที่นี้ มิใช่คนอายุน้อยๆ แต่หมายถึงคนที่มี "แนวคิด" แบบใหม่


คน ไทย หรือ เปล่าาาาา
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©