-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ป้องกันการสูญเสียของข้าว
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ป้องกันการสูญเสียของข้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ป้องกันการสูญเสียของข้าว

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Pitipol
เว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์


เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009
ตอบ: 332
ที่อยู่: 114/2 ม.11 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง

ตอบตอบ: 07/01/2010 10:11 pm    ชื่อกระทู้: ป้องกันการสูญเสียของข้าว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการป้องกันการสูญเสียของข้าว
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 50
โดย จีรพร ศรีวัฒนานุกูลกิจ

ลดการสูญเสียก่อนการเก็บเกี่ยว
การดูแลรักษาให้พืชผลเจริญงอกงามดี เป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้ได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย ซึ่ง
เกษตรกรมีวิธีป้องกันและกำจัดโรคหรือศัตรูข้าวโดยไม่ใช้สารเคมีฉีดพ่น เช่น

การใช้พืช
นำผลส้มโอ(หรือเปลือก)หรือแตงโม มาฝานเป็นกลีบๆ เอาไปเสียบไม้ปักเป็น
ระยะๆ หรือเอาใบมะไฟหักเป็นก้านๆ เหน็บไม้แล้วเอาไปปักเรียงจากหัวนาไปหางนา หรือเอายาสูบ
ผสมน้ำใส่กระบอกฉีดไปทั่วๆ การระบาดของเพลี้ย-บั่วอาจจะหยุดได้ นอกจากนั้นถ้าข้าวเป็นโรค
ใบเหลืองแห้งตายใช้ลูกหมากหนัง(เป็นไม้ยืนต้น ผลมีรสเปรี้ยวจะออกผลในช่วงฤดูฝน) เอามาสับ
ให้ละเอียดนำไปหว่านหรือฝังเป็นจุดๆ ทั่วไร่

การใช้เสียง
นอกจากคนคอยส่งเสียงไล่แล้ว ยังมีเครื่องมือที่ใช้ไล่นก-หนู เช่น การทำ
เกราะไล่นกพลังลมนำไปแขวนไว้ตามกิ่งไม้ การเอาไม้ใส่ข้างในกระป๋องหรือปี๊บที่มีลักษณะคล้าย
ที่แขวนคอสัตว์ไปแขวนไว้ที่ทุ่งนา เมื่อมีลมพัดจะเกิดเสียงดัง หรือการนำไม้ไผ่มาผ่าแล้วอาจใช้
เชือกดึงหรือใช้มือง้างแล้วปล่อยให้กระทบกันเกิดเสียงดัง เป็นต้น

การใช้ปริมาณน้ำ
เมื่อมีเพลี้ยมารบกวนจะปล่อยน้ำให้ขังไว้ในนาจนกว่าเพลี้ยจะหมดไป ถ้าเกิดโรคใบไหม้จะงดให้น้ำ
ในแปลงที่เกิดโรค เพราะถ้างดน้ำแล้วจะทำให้โรคใบไหม้หายไป ต้นข้าวจะกลับมาดีเหมือนเดิม

การใช้เครื่องดักสัตว์
เครื่องมือดักสัตว์ที่ใช้มีหลายชนิด เช่น เกิ้งหรือแร้ว ด้วงหรือหล้วง ขะตั๊ม ขุบ ฯลฯ



การใช้กลิ่น
การเผาเศษไม้เพื่อให้มีกลิ่นควันไฟ หรือการเอากระดูกหมูหรึ่งมาเผา นอกจากข้าวจะงามแล้วยังใช้
ป้องกันแมลงได้ด้วย หรือเอาหน่อไม้ดองจำนวนเล็กน้อยวางกับพื้นดินเป็นจุดๆ ที่มด ปลวกกินหรือ
เจาะต้นข้าว

การใช้ควัน
ถ้ามีมด เพลี้ยหรือบั่ว หรือแมลงอื่นๆ จะก่อกองไฟหลายๆ กองให้มีควัน แมลงเหล่านั้นจะค่อยๆ
หายไปเอง

นอกจากนั้นยังมีวิธีการอื่นๆ อีก เช่น การจุดตะเกียงเจ้าพายุในตอนกลางคืน แล้วเอาใบตองกล้วย
มาทาน้ำมันมัดแขวนไว้ แมลงก็จะบินมาติดที่ใบตองนั้น บางคนใช้ไม้เสียบหนูให้ตายแล้วเอาไป
ปักที่นาหรือตามทางที่หนูเดิน หนูจะไม่มารบกวนอีก การทำหุ่นไล่กา การเอากระดาษหลากสีหรือ
แถบเทปคลาสเซทผูกกับเชือกไปแขวนไว้ เมื่อลมพัดกระดาษหรือแถบเทปจะปลิวไปมา นกจะบิน
หนีไป เป็นต้น

การป้องกันการกำจัดเศษฟางและข้าวลีบ
หลังจากที่นวดข้าวแล้ว ในกองข้าวเปลือกจะมีทั้งเศษฝุ่น เศษฟางข้าว และข้าวลีบปะปนอยู่ ก่อน
นำไปเก็บในยุ้งข้าวหรือในถุง เกษตรกรจะขจัดสิ่งที่ยังปะปนอยู่กับข้าวเปลือกออกไปก่อน ซึ่งเรียก
วิธีการนี้ว่า “พัดข้าว” การพัดข้าวมักจะทำโดยการตักข้าวแล้วโยนขึ้นไปบนอากาศ ในขณะเดียวกัน
ก็จะใช้เครื่องมือ เช่น พัดขนาดใหญ่ (ปัจจุบันมีการดัดแปลงเครื่องตัดหญ้าสะพายไหล่ โดยนำใบ
พัดของพัดลมไฟฟ้าไปติดตั้งแทนใบเลื่อยที่ใช้ตัดหญ้า แล้วเดินเครื่อง ใบพัดก็จะหมุนเป่าลมออก
มา) หรือพัดลมไฟฟ้า พัดให้สิ่งที่ปะปนอยู่นั้นซึ่งมักจะมีน้ำหนักเบาปลิวออกไป ส่วนข้าวเปลือกก็
จะตกลงยังพื้นที่รองรับ



ส่วนการพัดข้าวของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่บนดอยหลายกลุ่มมีวิธีการที่แตกต่างออกไป โดยจะอาศัย
แรงลมธรรมชาติช่วยพัดแทนการใช้เครื่องมืออื่นๆ คือเมื่อจะขจัดสิ่งที่ปะปนในข้าวเปลือกออกไป
จะตั้งเสาทำเป็นบันไดหรือการปีนขึ้นไปบนต้นไม้ วันไหนที่เห็นว่ามีลมพัดก็จะนำข้าวใส่กระบุง
แบกขึ้นไปบนบันไดหรือต้นไม้ แล้วเทข้าวลงมา ลมจะช่วยพัดสิ่งที่ปะปนอยู่กับข้าวเปลือกออกไป



การลดการสูญเสียจากการนวดหรือตีข้าว



ความก้าวหน้าของการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่โดยการใช้รถเกี่ยวข้าว ซึ่งจะเกี่ยวข้าวและแยกข้าว
เปลือกออกจากรวงไปในเวลาเดียวกัน แม้ว่าจะสะดวกและรวดเร็วกว่าวิธีที่เคยทำมาแต่ดั้งเดิม แต่
ในขณะเดียวกันเกษตรกรก็ต้องเสียค่าใช้จ่าย และมีโอกาสสูญเสียข้าวเปลือกในขณะเก็บเกี่ยว
ค่อนข้างมาก เนื่องจากพบว่ามีข้าวข้าวเปลือกจำนวนไม่น้อยที่ตกกระจัดกระจายทั่วไปในพื้นที่นา
หากเกษตรกรไม่ไปเก็บก็จะสูญเสียข้าวเปลือกจำนวนดังกล่าวไปได้

ในขณะที่การนวดหรือการตีข้าวในแบบดั้งเดิมจะทำในพื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง โดยใช้สิ่งใดสิ่ง
หนึ่งรองรับข้าวเปลือก เช่น การใช้ครุ การใช้เสื่อขนาดใหญ่(ปัจจุบันอาจใช้ผ้าใบแทน) ปูที่พื้น
การอุดรูรั่วของพื้นดินโดยการใช้มูลของวัว-ควายทาบริเวณที่จะนวดข้าว แล้วจึงนวดข้าว ข้าว
เปลือกก็จะตกอยู่บนสิ่งที่รองรับนั้น

วิธีการนวดข้าวแบบดั้งเดิมอาจใช้วัว-ควายหรือคนเหยียบย่ำ การใช้มือรูด หรือการฟาดข้าวไปบนสิ่ง
ที่นำมารองรับ เช่น เสื่อ ครุ แคร่ โดยใช้อุปกรณ์ที่หาได้ในท้องถิ่นช่วยทุ่นแรง เช่น การนำไม้ไผ่
หรือรากไม้ไผ่มาทำไม้ตีข้าว และเมื่อมีเศษรวงข้าวที่ยังมีข้าวเปลือกติดค้างอยู่ซึ่งจะตกอยู่ในพื้นที่
นวดข้าว ก็จะใช้ไม้ตีหรือการนำเค็ดมะพร้าวมาครูดให้ข้าวเปลือกหลุดออกไป ข้าวเปลือกที่ได้ก็จะ
ตกอยู่ในวัสดุที่ใช้รองรับนั้นหรือหากข้าวกระเด็นออกไปบ้างในขณะที่นวดข้าวก็เพียงเล็กน้อย



การลดการสูญเสียข้าวเปลือกจากเชื้อรา แมลง และหนู

หลายพื้นที่โดยเฉพาะบนดอยสูงสามารถปลูกข้าวได้เพียงปีละครั้ง แต่ละปีเกษตรกรหลายคนอาจ
เก็บเกี่ยวข้าวได้ไม่มากนัก ดังนั้นทำอย่างไรจึงจะเก็บรักษาผลผลิตข้าวไว้ให้ได้ปริมาณมากและ
นานวัน เพื่อให้มีข้าวเพียงพอต่อการบริโภคไปจนกว่าจะสามารถเก็บเกี่ยวข้าวใหม่ในปีต่อไป



สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกก็คือ การลดความชื้นของข้าว เพราะหากเก็บข้าวที่ยังมีความชื้นสูงจะทำให้
ข้าวขึ้นราได้ เริ่มจากการนำข้าวที่เกี่ยวแล้วไปตากแดดให้แห้ง โดยทั่วไปการตากข้าวมักจะวางตาก
บนตอข้าวตามทุ่งนาต่างๆ แต่ในบางพื้นที่จะทำราวไม้ไผ่เป็นชั้นๆ ขึ้นไป แล้วนำข้าวที่เกี่ยวแล้วมา
วางพาดบนราวนั้น วิธีการนี้นอกจากทำให้ข้าวเปลือกแห้งเร็วและใช้พื้นที่ไม่มากแล้ว ยังช่วย
ป้องกันไม่ให้หนูปีนขึ้นไปกินข้าวได้ การตากโดยใช้ราวนี้บางคนนำไปใช้ในการตากผลผลิตชนิด
อื่น เช่น ข้าวโพด เป็นต้น

พืชผักบางชนิดยังช่วยไม่ให้ข้าวเปลือกขึ้นราและไม่มีกลิ่นเหม็น เช่น ผักปิง เอาใบและดอกของ
ผักปิงแห้งขยี้ปนไปกับข้าวเปลือกในยุ้งหรือในถุงที่เก็บข้าวเปลือก ใบ “ก้อมก้อ” สดทั้งกิ่งและใบ
ใส่ในกองข้าว

นอกจากความชื้นและเชื้อราแล้ว สัตว์จำพวกมด มอด นกและหนูก็มีส่วนในการทำความเสียหายให้
กับข้าวปลือกเช่นกัน โดยทั่วไปในพื้นที่ชนบทภาคเหนือตอนบนเกษตรกรมักจะเก็บข้าวเปลือกไว้
ในยุ้งข้าว บางคนจะนำพริกแห้ง ใบสะเดา ข่า หรือใบจันหักเป็นก้านๆ ใส่ในยุ้ง เพื่อป้องกันแมลง
และมอด ส่วนยุ้งข้าวซึ่งมักสร้างเป็นอาคารยกพื้นสูง ควันจากการก่อไฟหุงต้มอาหารใต้ถุนยุ้งข้าว
จะช่วยไล่แมลงออกไปจากยุ้งข้าว หรือแม้กระทั่งเสาของยุ้งข้าวที่เป็นเส้นทางให้มดและหนูเข้าไป
ในยุ้งข้าวได้ บางคนใช้ยางไม้ตึงหรือน้ำมันขี้โล้ราดที่เสายุ้งข้าวเพื่อป้องกันไม่ได้สัตว์เหล่านั้นขึ้น
ไปบนยุ้งข้าว บางคนใช้ขี้เถ้าโรยรอบเสายุ้งข้าว หรือใช้เศษผ้าหรือสังกะสีหรือพลาสติกพันรอบเสา
แม้กระทั่งกาบไม้ไผ่ที่หาได้ในท้องถิ่นก็สามารถนำมาพันรอบเสาได้เช่นกัน เพราะความลื่นของ
กาบไม้ไผ่ทำให้มดหรือหนูไต่ขึ้นไปบนยุ้งไม่ได้ เป็นการนำสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้ให้เกิด
ประโยชน์ ทั้งยังประหยัดเงินแทนการไปหาซื้อวัสดุอื่นมาใช้



ที่มา : ผลการวิจัยโครงการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว โดย
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลัง
การเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
_________________
เกษตรกรฝึกหัด
โอ ระยองครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ MSN
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©