-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบปัญหาการเกษตร 11 SEP *ปลูกอิทผลัม, ปลูก 3 ผักบำรุง ?
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบปัญหาการเกษตร 11 SEP *ปลูกอิทผลัม, ปลูก 3 ผักบำรุง ?
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบปัญหาการเกษตร 11 SEP *ปลูกอิทผลัม, ปลูก 3 ผักบำรุง ?

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 12/09/2014 12:11 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบปัญหาการเกษตร 11 SEP *ปลูกอิทผลัม, ปลูก 3 ผักบำรุง ? ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ทางรายการวิทยุ 11 SEP

AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็ม.แคล--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
.... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .........
.... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .........

-----------------------------------------------------------



จาก : (092) 492-0919 xx
ข้อความ : สวัสดีครับลุงคิม ปีใหม่ผมจะลาออกจากบริษัท กลับบ้านทำสวนที่ขอนแก่น อยากปลูกอินทผลัม มีวิธีการปลูก ดูแล ให้น้ำ ใส่ปุ๋ย ป้องกันโรคแมลง อย่างไรบ้างครับ และการปลูกเผือกหอม การปลูก การบำรุง ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ป้องกันโรคแมลง ดูแล หลังเก็บเกี่ยว อย่างไรบ้างครับลุง ช่วยตอบเช้าวันพุธที่ 10 ก.ย. 57 นี้ด้วยนะครับ และหนังสือเกษตรแจ๊คพ็อตของลุงคิม มีขายหรือยังครับ .... ขอบคุณลุงคิมที่เคารพ
ตอบ :
- ไม่ใช่คนแรก หรือรายแรก ที่มนุษย์เงินเดือนจะผันตัวเองมาเป็นเกษตรกร บางคนตั้งเป้าทำเป็นอาชีพใหม่ กับบางคนทำเป็นงานอดิเรกช่วงปลายชีวิต แต่ลุงคิมเองทำเพื่อค้นหาความจริงเอามานำเสนอ ทั้งเขียนและพูด กับทำเพื่อเป็นมรดกให้ลูกหลาน ทุกอย่างอยู่ภายไต้กรอบ ก.ทำกับมือ ม.อย่าเถียง

– การจะทำอะไร ทุกอย่างไม่ใช่แต่เกษตรเท่านั้น ต้องมีการ เป้าหมาย-วัตถุประสงค์-รูปแบบการเกษตร-แผนการบริหารจัดการ-ความรู้ทางวิชาการ-เทคโนโลยีวิชาการ-เทคโนโลยีชาวบ้าน .... อยู่ขอนแก่น เนื้อที่กี่ไร่, มีน้ำไหม, สาธารณูปโภคที่จำเป็น

- จับหลักปรัชญาการเกษตร
* การตลาดนำการผลิต,
*ทำงานทั้งปีได้ขายครั้งเดียว,
* ศึกษาปัญหาก่อน ศึกษาความสำเร็จทีหลัง,
*ประเทศไทยมีกิจกรรมเกษตรให้เลือกทำมากที่สุดในโลก แต่เกษตรกรไทยไไม่รู้จะปทำอะไร
* ทำตามคนที่ล้มเหลวจะล้มเหลวยิ่งกว่า ทำตามคนที่สำเร็จจะสำเร็จยิ่งกว่า,
* คิดเป็น ทำเป็น แปรรูปเป็น รวมกลุ่มเป็น ขายเป็น,
* โรงเรียนเกษตรที่ดีที่สุด คือ แปลงเกษตร ครูเกษตรที่ดีที่สุด คือ คนในกระจก,

@@ การปลูก อินทผลัม :
1. ต้นที่ปลูกจะใช้วิธีการแยกหน่อจากต้นใหญ่ (ตัวเมีย) โดยเลือกต้นแม่ที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป หน่อมีขนาดใหญ่ดีกว่าขนาดเล็ก เมื่อตัดจากต้นแม่แล้วจะมัดรวบใบไว้ก่อน (ควรใช้หน่อที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 นิ้ว ขึ้นไป) ราคาต้นพันธุ์ประมาณ 15-20 RO ขึ้นอยู่กับพันธุ์ (ประมาณ 1,500-2,000 บาท หรือ 1 RO = 100 บาท)

2. เมื่อปลูกแล้วประมาณ 3 ปี จะเริ่มให้ผลผลิต การปลูกจะขุดหลุม ขนาด 0.8 x 0.8 x 0.8 ม. ปลูกให้หน่ออยู่ลึกลงไปในหลุม และหน่อจะลึกลงไปในดินประมาณ 30 ซม. เพื่อให้สามารถเก็บน้ำไว้สำหรับต้นที่ปลูกใหม่ได้ดี ระยะปลูกใหม่ยังไม่ให้ปุ๋ย ให้เหลือเพียงแต่น้ำทุก 5 วัน เมื่อตั้งตัวแล้วประมาณ 1 เดือน จึงจะเริ่มให้ปุ๋ยคอก ต้นละประมาณ 2 กก. ในการปลูกระยะแรกจะยังคงมัดรวบใบไว้จนกว่าต้นจะฟื้นและตั้งตัวได้ จึงจะตัดเชือกที่ผูกออก วิธีการนี้จะใช้กับการย้ายต้นใหญ่ๆ ไปปลูกที่อื่นด้วย จะช่วยให้ต้นรอดตายมาก

การดูแลรักษา :
1. การปรับพื้นดิน : ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วทุกปี (ประมาณ ก.ย.) จะมีการใช้รถไถเดินตามไถพรวนพื้นที่ใต้ต้นซึ่งสภาพดินส่วนใหญ่จะเป็นทราย เป็นการกำจัดวัชพืชไปในตัว ขณะเดียวกันก็จะทำเป็นแนวร่องน้ำและคันกั้นน้ำแต่ละต้นไปด้วย เป็นตารางคล้ายคันนาขนาด กว้าง x ยาว 6 x 6 ม.

2. การให้น้ำ : น้ำที่ใช้จะถูกส่งมาตามรางคอนกรีต ซึ่งมาจากจุดให้น้ำของหมู่บ้าน มีเครื่องสูบน้ำมาเก็บไว้ มีหัวหน้าหมู่บ้านเป็นผู้ควบคุมดูแลการจ่ายน้ำ ซึ่งจะกำหนดจ่ายให้ทุกสวน ทุก 5 วัน และทุก 3 สัปดาห์ ในฤดูหนาว โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายน้ำ เมื่อไหลเข้ามาตามรางในสวนจะถูกปล่อยไปตามต้นต่างๆ ตามร่องที่เตรียมไว้

3. การใส่ปุ๋ย : หลังจากเก็บผลแล้วจะมีการใส่ปุ๋ยยูเรีย 1 ครั้ง ต้นละประมาณ 3 กก. หว่านทั่วใต้ต้น และให้ปุ๋ยคอกต้นละประมาณ 30 กก. (1 กระสอบ) 1 ครั้ง ต่อปี หลังจากให้ปุ๋ยยูเรียแล้วประมาณ 10 วัน

4. การตัดแต่งใบ : จะมีการตัดแต่งทางใบ โดยใช้เลื่อยที่มีลักษณะคล้ายเคียว ผู้ตัดจะปีนขึ้นบนต้นไปตัดทางใบที่แก่แล้วทิ้งไป ต้นละประมาณ 2-3 ทางใบ ทางใบที่ตัดออกมาจะใช้ในการทำรั้วหรือทำฟืน ขณะเดียวกันจะตัดหน่อที่แตกออกมาที่กลางต้น หรือใกล้ๆ ยอดออกด้วย ทำให้ต้นสะอาดเป็นการป้องกันแมลงศัตรูที่อาจมารบกวนได้ และทำให้การป้องกันสัตว์ที่มากัดกินผลได้ง่ายด้วย

5. การป้องกันกำจัดโรคแมลงและศัตรูอื่นๆ : ไม่มีการป้องกันกำจัดโรคแมลง เนื่องจากไม่มีการระบาดของศัตรูดังกล่าว แต่มีนกหรือหนู หรือกระรอกมารบกวนกัดกินผล โดยเฉพาะในช่วงที่ผลใกล้แก่ เกษตรกรจะใช้วิธีการยิงด้วยหนังสติ๊ก หรือปืนลม

การออกดอกติดผล :
1. การออกดอก :
เดือนมกราคมจะเริ่มออกดอก ต้นหนึ่งจะมีช่อดอกประมาณ 5-11 ช่อ และจะบานประมาณปลายเดือนมกราคมเป็นต้นไป โดยทยอยบานทุกๆ 5 วัน เกษตรกรจะนำเกสรตัวผู้โดยตัดจากช่อดอกตัวผู้ที่มีอยู่ในสวน ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้พันธุ์ Khori และ Bahani (สวนที่ดูงานจะมีต้นตัวผู้ 4 ต้น ก็เพียงพอสำหรับผสมกับต้นตัวเมีย ประมาณ 250 ต้น) ดอกตัวผู้สามารถเก็บไว้ใช้ได้โดยนำช่อดอกไปผึ่งแดดให้แห้ง เก็บใส่ถุงพลาสติกใส่ถังปิดฝาไว้ เก็บไว้ได้นานหลายเดือน จะผสมเกสรเสร็จประมาณเดือนมีนาคม หลังจากติดผลแล้ว 3 สัปดาห์ ทะลายที่ติดผลจะค่อยๆ โน้มห้อยลงมาใต้ทางใบ ทำให้ผลไม่เสียดสีกับหนามเมื่อลมพัด และสะดวกในการเก็บเกี่ยวด้วย ผลจะเริ่มแก่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม บางพันธุ์อาจแก่ก่อนนี้เป็นพันธุ์เบาซึ่งขายได้ราคาดี (เช่น พันธุ์ Battas) ปกติจะเก็บเกี่ยวมากๆ ในเดือนสิงหาคม ระยะตั้งแต่ติดผลจนถึงผลแก่ประมาณ 180-200 วัน แต่ละทะลายจะมีผลติดดกประมาณ 6-8 กิโลกรัม

2. การเก็บเกี่ยว :
เมื่อผลแก่จะมีสีแดง หรือเหลือง แล้วแต่พันธุ์ มีรสชาติมันและหวาน เกษตรกรจะปีนขึ้นไปโดยใช้เชือกที่ถักแบนๆ โอบรัดไปด้านหลังของเกษตรกรและพันรอบต้น แล้วค่อยๆ ขยับขึ้นไปโดยใช้เท้าเหยียบไปบนต้นที่มีโคนทางใบที่หลงเหลืออยู่จากการตัด ทำให้ขึ้นได้ง่ายมาก เมื่อตัดแล้ววางลงบนตะกร้า หย่อนเชือกลงมาด้านล่าง ผู้ที่อยู่ใต้ต้นจะเป็นผู้เก็บรวบรวมเป็นกอง ปกติต้นหนึ่งๆ จะให้ผลผลิตประมาณ 100-150 กิโลกรัม (ถ้าดูแลดี แต่โดยทั่วไปจะได้น้อยกว่านี้)

3. ราคาจำหน่าย :
เกษตรจำหน่ายผลอินทผลัมสดในช่วงต้นฤดูกาลประมาณ กิโลกรัมละ 10-15 RO แต่ในช่วงที่ผลผลิตออกมากจะขายได้ประมาณ 0.25-0.35 RO ผลแห้งในท้องตลาดจะจำหน่ายปลีกประมาณ กิโลกรัมละ 0.35 - 1.0 RO ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสินค้า

4. การแปรรูป :
เกษตรกรจะนำผลไปผึ่งแดด ประมาณ 7-10 วัน จนผลแห้ง (เนื้อที่เป็นแป้งจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลทั้งผล) แล้วนำไปล้างน้ำตากแห้งอีกเพียง 1 วัน แล้วบรรจุภาชนะเพื่อจำหน่ายต่อไป การคัดคุณภาพของผลแห้งจะแยกเป็นชนิดที่แยกเป็นผลเดี่ยวๆ ได้จะมีราคาแพง ส่วนผลที่ค่อนข้างจะติดกันจะตักขายเป็นก้อน ราคาจะถูกลง ส่วนชนิดที่เละมากจะนำไปกวนเป็นน้ำหวานสำหรับปรุงอาหาร สำหรับผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพ เกษตรกรจะนำไปผึ่งแดดเก็บไว้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงวัว

ข้อคิดเห็นจากการศึกษาข้อมูลในการปลูกต้นอินทผลัม :
1. ต้นอินทผลัมเป็นไม้ผลเมืองร้อนแบบทะเลทราย ที่มีความทนทานต่อสภาพภูมิอากาศที่แห้งแล้งได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพจะต้องมีการดูแลรักษาสวนที่ดีด้วย เช่น การให้น้ำจะต้องมีอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอและพอเพียง

2. ผลอินทผลัมสดเมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นผลอินทผลัมแห้งที่มีคุณภาพตาม ธรรมชาติ จะต้องอาศัยสภาพอากาศที่ร้อนและแห้ง (ซึ่งเป็นสภาพของอากาศโดยทั่วไปของกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง) หากเป็นประเทศที่มีความร้อนชื้นเหมือนบ้านเราจะทำให้การเปลี่ยนแปลงไม่ สมบูรณ์ จะเกิดเชื้อราขึ้นและเน่าในที่สุด

3. ต้นอินทผลัมเป็นต้นไม้ที่มีดอกตัวเมียและตัวผู้แยกอยู่คนละต้น ในการปลูกเพื่อมีการติดผลที่ดีจะต้องปลูกทั้งต้นตัวผู้และต้นตัวเมียไว้ในสวนเพื่อประโยชน์ในการผสมเกสร แต่บางพันธุ์อาจมีการติดผลและมีการพัฒนาของผลได้ดีโดยไม่ต้องมีการผสมเกสร เช่น Naghal แต่ผลที่ได้เนื้อจะบาง

4. เมล็ดของผลอินทผลัมที่ได้หลังจากบริโภคเนื้อแล้ว (โดยการซื้อผลอินทผลัมแห้งจากตลาดทั่วไป) สามารถนำไปเพาะเป็นต้นเพื่อปลูกได้ โอกาสที่จะได้เป็นต้นตัวผู้และต้นตัวเมียมีอย่างละ 50% แม้จะได้ต้นตัวเมียไปปลูกแต่คุณภาพก็จะไม่เหมือนกับต้นแม่ (คุณภาพของเนื้ออาจจะไม่ดีเท่ากับที่เราซื้อมา) เนื่องจากผลอินทผลัมแห้งที่มีจำหน่าย เป็นผลที่ได้จากการผสมเกสรข้ามต้น จึงถือว่าเมล็ดที่ได้เป็นพันธุ์ลูกผสม ซึ่งไม่สามารถเรียกชื่อเดียวกับต้นแม่ได้

5. สำหรับประเทศไทยมีหลายจังหวัดที่มีสภาพภูมิอากาศและสภาพดินที่สามารถปลูกต้น อินทผลัมได้ดี แต่ในช่วงที่ผลผลิตแก่ (เดือน ก.ค. - ส.ค.) เป็นฤดูฝนจะทำให้เกิดปัญหาผลเน่า ดังนั้น แนวทางที่จะผลิตเป็นการค้าสำหรับบ้านเรา คือการคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมจะจำหน่ายผลสด ลักษณะดังกล่าวควรจะมีผลขนาดโต เนื้อกรอบ รสชาติ มันหวาน เช่น พันธุ์ Hilali, พันธุ์ Khalas เมื่อผลแก่จัดสามารถตัดส่งไปจำหน่ายได้เลย ปัจจุบันมีผู้บริโภครู้จักการบริโภคผลอินทผลัมสดมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย (ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมมีความคุ้นเคยกับการบริโภคผลอินทผลัมสดอยู่ แล้ว) นอกจากนั้น หากผู้ผลิตที่มีเครื่องอบผลไม้ไม่ว่าจะเป็นเครื่องอบพลังแสงอาทิตย์ หรือตู้ความร้อนจากไฟฟ้า หรือแก๊ส ก็สามารถใช้ผลิตผลอินทผลัมแห้งได้ดี ผลอินทผลัมแห้งที่ได้จะมีคุณภาพเช่นเดียวกับที่มาจากประเทศกลุ่มอาหรับด้วย

6. ต้นพันธุ์อินทผลัมที่ดี ควรเป็นต้นที่แยกหน่อจากต้นแม่ที่รู้จักชื่อพันธุ์ และมีประวัติการให้ผลผลิตที่ดี แต่การจะสั่งต้นพันธุ์ดังกล่าวจากประเทศผู้ผลิตเข้ามาปลูกอาจจะยุ่งยาก ปัจจุบันมีต้นพันธุ์ที่ผลิตด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue culture) เพื่อการจำหน่ายแล้วในหลายประเทศ เช่น อิสราเอล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สามารถสั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ตได้ การขนส่งทางไปรษ ณีย์ทำได้สะดวกและรวดเร็ว จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับเกษตรกรไทยที่จะได้ทดลองผลิตพืชใหม่ที่อาจจะ เป็นพืชที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทยในอนาคตก็เป็นได้

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ โทร. 0-2940-6116

-------------------------------------------------------------



จาก : (092) 702-46xx
ข้อความ : คุณลุงคะ หนูทำเกษตรแนวคุณลุง เนื้อที่ 10 ไร่ ปลูกชะอม 3 ไร่ ผักหวานบ้าน 3 ไร่ มะกรูดตัดใบ 4 ไร่ ปลูกได้เดือนกว่าแล้ว คิดว่าอีก 1 เดือน คงเริ่มเก็บผลผลิตได้ เร็วดีจังค่ะ อยากถามคุณลุง วิธีการบำรุงผักแต่ละอย่าง ต้องทำอย่างไรบ้าง .... สาวสุพรรณ
ตอบ :
- เมื่อเอ่ยถึงการบำรุงพืช พืชอะไรก็แล้วแต่ หลายคนมักมุ่งไปที่ “ปุ๋ย” แต่เพียงอย่างเดียว ปุ๋ยสูตรไหน ยี่ห้อไหน ก่อน น้อยคนนักที่จะคิดถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปุ๋ย นั่นคือ ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สายพันุ์-โรค ซึ่งหากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งในทั้ง 5 ปัจจัยนี้ไม่เหมาะสม สารอาหารหรือปุ๋ยที่ให้ไปก็ไม่เกิดประโยชน์ หรือเกิดประโยชน์ไม่เต็มร้อย หรือดีกว่าไม่ได้ให้หน่อยหนึ่งเท่านั้น นี่คือความสูญเสียที่หลายคนมองข้าม

- พืชต้องอาศัยปัจจัย 6 เหมือนคนที่ต้องอาศัยปัจจัย 4 เพื่อการดำรงชีวิต
* “ดิน” .... ดินต้องมาก่อนดินต้องมาก่อน ดินคือที่กินที่อยู่ของพืช เหมือนบ้านเป็นที่กินที่อยู่ของคน บ้านปลูกยังไม่เรียบร้อยคนเข้าไปอยู่แล้วต่อเติมได้ ดินยังเตรียมไม่ดีปลูกพืชซะแล้ว ใส่ เสริม/เติม/เพิ่ม ภายหลังได้

ปัญหาจริงๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องดิน คือ “ไม่เชื่อ” ซะมากกว่า กรณีของคุณสาวสุพรรณ ปลูกไปแล้ว 1 เดือน ต้นเริ่มโตแล้ว ไม่รู้ว่าก่อนลงมือปลูกได้เตรียมดินเตรียมแปลงหรือเปล่า ....

ถ้าเตรียมแล้ว เตรียมอย่างไร ทำอย่างไร เพราะถ้าดินไม่ O.K. ใส่ปุ๋ยให้น้ำลงไป ยังไงๆก็ได้ผลแค่ระดับหนึ่งเท่านั้น อันนี้เปรียบเสมือนปลูกบ้านยังไม่เสร็จ เข้าไปอยู่ซะแล้ว ก็ต้องสร้างต่อเติมอีก นั่นคือ ดินแปลงปลูก ทุกผักที่ปลูก ณ วันนี้ จงใส่ ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกบดิบ ผสมกัน หว่านทั่วแปลง วางแผนใส่ 3-4 เดือน/ครั้ง พร้อมกับพรวนดินพูนดินโคนต้น, รดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 เดือนละครั้ง, ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น, กำจัดวัชพืชด้วยการถากถาง ห้ามใช้ยาฆ่าหญ้าเด็ดขาด

* “น้ำ” .... ติดสปริงเกอร์ หม้อปุ๋ยหน้าโซน เนื้อที่ 10 ไร่ แบ่งเป็น 10 โซน ๆละ 1 ไร่ ใช้ปั๊ม 3 แรงม้า ไฟบ้านธรรมดาๆ .... ให้ “น้ำ + ปุ๋ย + ยาสมุนไพร” โซนละ 10 นาที เท่ากับ 100 นาที หรือ 1 ชม.ครึ่ง ด้วยแรงงานคนเดียว ... ให้ “ยาสมุนไพร”

* “ปุ๋ย” .... ชะอม หวานบ้าน มะกรูดใบ เป็นพืชกินใบกินยอด ใช้ปุ๋ยสูตรเดียวกัน ทั้งทางใบทางราก .... ทางใบ : ให้ ไบโออิ + ยูรีย จี. .... ทางราก : ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10

* “โรค” .... ทั้ง 3 พืช โรคเดียวกัน ทั้งทางใบทางดิน ป้องกันและกำจัดแบบเดียวกัน สูตรรวมมิตร ฉีดประจำๆ ฉีดบ่อยๆ ไปกับสปริงเกอร์นั่นแหละสะดวกที่สุด

* การเก็บเกี่ยวผลผลิต ตัดยอดแล้วเรียกยอดใหม่ เหมือนกันอีก
หมายเหตุ :
- ผักหวานบ้านชอบพิเศษ ไบโออิ + เหล็ก คีเรต
- มะกรูดตัดใบชอบพิเศษ น้ำมะพร้าวอ่อน

--------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©