-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบปัญหาการเกษตร 14 SEP *ดินเหนียวปลูกอะไร, *ปูนขาว/ขี้เถ้า, *กระเจี๊ยบแดง, *สวนผักในบ้าน, *กล้ามะม่วงไม่โต, *ปลูกกล้วยหอม, *ปลูกผักในต้นกล้วย, *เพลี้ยนาข้าว, *ทาน ตะวัน, *ไรซ์เบอร์รี่/มะลิแดง ขายที่ไหน
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบปัญหาการเกษตร 14 SEP *ดินเหนียวปลูกอะไร, *ปูนขาว/ขี้เถ้า, *กระเจี๊ยบแดง, *สวนผักในบ้าน, *กล้ามะม่วงไม่โต, *ปลูกกล้วยหอม, *ปลูกผักในต้นกล้วย, *เพลี้ยนาข้าว, *ทาน ตะวัน, *ไรซ์เบอร์รี่/มะลิแดง ขายที่ไหน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบปัญหาการเกษตร 14 SEP *ดินเหนียวปลูกอะไร, *ปูนขาว/ขี้เถ้า, *กระเจี๊ยบแดง, *สวนผักในบ้าน, *กล้ามะม่วงไม่โต, *ปลูกกล้วยหอม, *ปลูกผักในต้นกล้วย, *เพลี้ยนาข้าว, *ทาน ตะวัน, *ไรซ์เบอร์รี่/มะลิแดง ขายที่ไหน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/09/2014 9:54 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบปัญหาการเกษตร 14 SEP *ดินเหนียวปลูกอะไร, *ปูนขาว/ขี้เ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ทางรายการวิทยุ 14 SEP

AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็ม.แคล--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
.... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .........
.... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .........

-----------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00/อาทิตย์)
ข้อความ : ดินรอบบ้าน เป็นดินเหนียว ปลูกไม้อะไรดี....?
ตอบ :
- “ดินรอบบ้าน” ถามหน่อยว่า ดินตรงนี้เป็นดินเดิมหรือดินใหม่เอามาถมที่สร้างบ้าน ถ้าเป็นดินเดิมคงไม่ต้องทำอะไรมากนัก ใส่อินทรีย์วัตถุลงไปแล้วปลูกได้เลย ถ้าเป็นดินใหม่เอามาถมที่ก็ต้องใส่อินทรีย์วัตถุเหมือนกัน แต่อาจจะต้องใช้ระยะเวลาให้จุลินทรีย์ช่วยปรับสภาพดินนานหน่อย ส่วนจะนานเท่าไหร่นั้นตอบไม่ได้ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสภาพดินเดิมที่แท้จริง เหมือนคนไข้ เป็นโรคเดียวกัน รักษาแบบเดียวกัน ใช้ยาตัวเดียวกัน แต่หายไม่พร้อมกันก็เพราะภูมิต้านทานภายในร่างกายของแต่ละคน

- คำตอบเบื้องต้นฟันธง “กล้วยน้ำว้า” เพราะกล้วยน้ำว้าชอบดินเหนียว รองลงมาพอลุ้น คือ กล้วยหอม ส่วนกล้วยไข่ ดินเหนียวปลูกแล้วลูกจะเป็น “ตินเต่า” ที่มีผลขนาดเล็ก ผลละคำ แต่เนื้อแน่น บางคนชอบ

- ลงกล้วย (ทุกกล้วย) ไปแล้ว ใส่โคนต้น ผักปอด (สดแห้งได้ทั้งนั้น) หว่านทับด้วยปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่) อาจจะเสริมด้วยยิบซั่ม กระดูกป่น เล็กน้อย ใส่ครั้งเดียวตอนปลูกครั้งแรก ใส่แล้วปลูกต่อรุ่นหน้า รุ่นต่อไปได้อีก หรือจะเปลี่ยนเป็นพืชอื่นก็ได้ เพราะในดินมีทั้งอินทรีย์วัตถุที่ใส่ และรากกล้วยช่วยปรับสภาพดินให้แล้ว

- กล้วยทุกกล้วย ตอบสนองต่อน้ำหมักชีวภาพดีมากๆ ให้เดือนละครั้ง ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีก็อยู่ได้ โตได้ ดีด้วย

------------------------------------------------------------



จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00/อาทิตย์)
ข้อความ : ปูนขาว ขี้เถ้า ผสมปุ๋ยคอก อย่างไหนดีกว่ากัน....?
ตอบ :
- “ปูนขาว” ปกติเขาใช้ผสมปูนซิเมนต์สำหรับก่อสร้าง ชาวสวนเรียกว่า “ปูนร้อน” เพราะล้วงลงไปจะรู้สึกร้อนมือ ร้อนมากด้วย .... ในปูนขาวมี แคลเซียม คาร์บอเนต. ธาตุอาหารตัวนี้พืชเอาไปกินทันทีไม่ได้ ต้องผ่านกระบวนการจุลินทรีย์ย่อยสลายก่อน หรือรอเวลาข้ามปีพืชจึงจะเอาไปใช้ได้ .... ปูนขาว มีค่า พีเอช, = 14 นั่นคือ “ด่างจัด” ใส่ปูนขาวเพื่อแก้ดินที่เป็นกรดจัด ดินเป็นกรดเท่าไหร่ก็ใส่เท่านั้นตามอัตรา มิฉะนั้น จากดินที่เป็นกรดก็จะกลายเป็นดินด่าง ใช้ปลูกพืชไม่ได้อยู่ดี

(.... ปูนมาร์ล. โดโลไมท์. ก็อีหร็อบเดียวกัน มีแคลเซียม คาร์บอเนต ต้นพืชยังเอากินไม่ได้ ต้องรอเวลาข้ามปี, ค่า พีเอช. = 14, ใส่ดินเพื่อแก้ดินกรดเท่านั้น ....)

ออสเตรเลีย แคนนาดา สหรัฐ เกาหลี ญี่ปุ่น ทุกประเทศรอบบ้านไทยสั่งนำเข้า “ยิบซั่ม” ไปใช้กันทั้งนั้น แต่ประเทศไทยยังยึดติดอยู่กับ ปูนมาร์ล. โดโลไมท์. ปูนขาว. เท่านั้น

เหมืองยิบซั่มที่สุราษฎร์ธานี ส่งออกตั้งแต่เริ่มเปิดกิจการ ส่งออกเกาหลี ญี่ปุ่น ขึ้นเรือที่เกาะสีชังจนถึงปัจจุบันนี้ เขาเอาไปทำฟิลเลอร์ปุ๋ย ... เคยถามว่า ทำไมไม่วางขายในประเทศไทย ? คำตอบหน้าตาเฉย คือ เกษตรการไทยไม่เอา

- “ขี้เถ้า” ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจในเรื่องของการใช้ภาษาเพื่อเข้าใจกันก่อน เพราะคนไทยมักใช้ภาษาผิดเพี้ยนจนความหมายเปลี่ยนไปบ่อยๆ .... ตัวนี้คือสิ่งที่ได้จากการเผาไม้ จากไม้ปกติเผาแล้วได้ถ่าน จากถ่านเอามาเผาต่อได้ขี้เถ้า .... ถ่านสีดำ ไม่ลายลายน้ำ มีคาร์บอน. แต่พืชกินไม่ได้ .... ขี้เถ้าสีขาวอมเทา ละลายน้ำ ไม่มีสารอาหารสำหรับพืช

– ตัวอย่าง “แกลบ” .... ออกมาจากโรงสีใหม่ๆ เรียกว่า “แกลบดิบ หรือ แกลบขาว” .... ปล่อยนานข้ามปี เรียกว่า “แกลบเก่า” .... แกลบดิบหรือแกลบเก่า เอามาเผาแล้วยังเป็นชิ้นๆ ถ้ายังคงรูปแกลบเหมือนเดิม เรียกว่า “แกลบดำ” ถ้าละเอียดเป็นผง ไม่ละลายน้ำเหมือนกัน เรียกว่าอะไรไม่รู้ หรือแล้วแต่จะเรียกกันไป .... แกลบดำเป็นชิ้น 1 ส่วน + แกลบดำเป็นผง 3 ส่วน ใช้เป็นวัสดุปลูกไม้ในถุงได้เพาะชำ

- แกลบดำเป็นชิ้นๆ แกลบดำเป็นผง ค่า พีเอช. = 14 (ด่างจัด) ลดค่า พีเอช.โดยแช่น้ำไหล 3-4 เดือน หรือแช่น้ำนิ่ง เปลี่ยนน้ำเป็นครั้งคราวนาน 6 เดือน จึงจะนำไปใช้งานด้านเกษตรได้

- แกลบดำเป็นชิ้นๆ แกลบดำเป็นผง ลดค่า พีเอช.จนเป็นกลางแล้ว ใช้เป็นเพียงวัสดุอุ้มน้ำธรรมดาๆเท่านั้น เพราะไม่มีสารอาหารพืช

- “ขี้เถ้า” ที่ถามมา ขอถามย้อนก่อนว่า มันคืออะไร ? ทำมาจากอะไร ? เพราะแต่ละรูปแบบของตัวมันเองต่างกัน ใช้ประโยชน์ก็ต่างกันด้วย จึงเท่ากับไม่มีคำตอบ

-------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00/อาทิตย์)
ข้อความ : กระเจี๊ยบแดง มีแต่ใบ ไม่มีดอก แก้ไขอย่างไร....?
ตอบ :
- นี่คืออาการ “บ้าใบ” สาเหตุมาจากต้นได้รับ N. มากเกิน ทั้งที่มีอยู่ในดินเป็นทุนเดิม,จากปุ๋ยคอก (มูลสัตว์กินพืช) น้ำจากฝน, และจากปุ๋ยเคมีที่ใส่มี N. มากจนเกิน

* แก้ไข :
- ทางใบ : ให้ฮอร์โมนไข่ที่มีส่วนผสม 0-52-34 + 13-0-46 ทุก 7 วัน 2 รอบ แล้วสลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ

- ทางราก : ใส่ยิบซั่ม กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ตอนเตรียมดินเตรียมแปลง, ปลูกไปแล้วพรวนดินพูนดินโคนต้น เดือนละครั้ง, ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรที่มีสารอาหารทำจากสัตว์ทะเล +8-24-24 (ครึ่ง กก./ไร่) เดือนละครั้ง, ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม แค่นี้ก็พอแล้ว

หมายเหตุ :
- กระเจี๊ยบแดง 1 ไร่ ปลูกได้ 1,000-1,200 ต้น แค่ 3 ไร่ก็พอ เก็บดอกทำ น้ำกระเจี๊ยบ แยมกระเจี๊ยบแดง แกงส้มดอกกระเจี๊ยบ ดอกกระเจี๊ยบยำ ดอกกระเจี๊ยบแช่อิ่ม ดอกกระเจี๊ยบชุบแป้งทอด ขายส่งขายปลีกได้เป็นเงินได้เชียวแหละ

-------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00/อาทิตย์)
ข้อความ : เนื้อที่จอดรถได้ 4 คัน อยากปลูกผักไว้กิน บางส่วนขาย เลือกผักอะไร....?
ตอบ :
- สัจจธรรม....ปลูกกิน ถามคนในบ้าน ปลูกขาย ถามคนซื้อ .... พื้นที่น้อยๆ ปลูกกินเอง ซื้อกินถูกกว่า ปลูกขาย ได้ครั้งไม่มากพอ ไม่คุ้มทุน

- เปลี่ยนใจใหม่เถอะ ไม่ขายผัก (ผลผลิต) แต่เปลี่ยนมาขายบรรยากาศแทน นั่นคือ
ออกแบบทำเป็นสวนผักเพื่อการพักผ่อน แล้วขาย กาแฟ/เครื่องดื่ม/ของว่าง/ของชำร่วย/ของที่ระลึก/ขายปุ๋ย/ขายยาสมุนไพร สำหรับคนในละแวกใกล้เคียงที่รักการปลูกต้นไม้ หรือมาเที่ยวใช้บริการ

- ไปดูตัวอย่างสวนดาดฟ้าบนหลังคาตึกที่ สนง.เขตหลักสี่ ดูแล้ว “คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ” เอาหลักการมา “ต่อยอด/ขยายผล/ปรับแก้" ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและวัตถุประสงค์ของตัวเอง

- ศิลปะไม่มี LIMIT ทุกอย่างอยู่ที่การออกแบบโดยมี ชนิดพืช (ต้น/ใบ/ดอก/ผล/เถา/หัว), ภาชนะปลูก, เรียงตามพื้น ราบ/เอียง หรือเป็นชั้นๆ, เทคโนโลยี สมัยใหม่/สมัยโบราณ, ความนิยม ของไทย/ของต่างประเทศ, ความสะอาดปลอดภัย, ฯลฯ เป็นพื้นฐานเบื้องต้น

--------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00/อาทิตย์)
ข้อความ : กิ่งมะม่วง 6 เดือน ไม่โต ใบเป็นจุดดำ แก้ไขอย่างไร....?
ตอบ :
- มะม่วงถือว่าเป็นไม้ผลที่มีความ “อึด” ที่สุดในบรรดาไม้ผลด้วยกัน ปัญหานี้ฟันธงได้เลยว่า “ดินกับน้ำ” ไม่เหมาะสม .... ดินที่หลุมปลูก เป็นดินแบบไหน สภาพโครงสร้างเป็นอย่างไร .... น้ำที่ให้ มากหรือน้อย ช่วงนี้หน้าฝน น้ำขังค้างในหลุมปลูกหรือไม่

- ความคิดหนึ่งของคนปลูกต้นไม้ คือ ปลูกปุ๊บใส่ปุ๋ยปั๊บ (รองก้นหลุม แต่งหน้า) เหมือนเด็กจะให้กินน้ำหริกแล้วประมาณนี้

- เกษตรกรบ้านจัดสรรมักใจร้อน ซื้อกล้าไม้มาปุ๊บนำลงปลูกปั๊บ ไม่ได้เฉลียวใจแลยว่าระหว่างขนย้ายมานั้น ต้นกล้าได้รับความกระทบกระเทือนอะไร อย่างไรบ้าง วิธีแก้ปัญหาคือ ซื้อมาแล้วอย่าเพิ่งนำลงปลูกทันที แต่ให้วางไว้ในร่มก่อน รอให้แตกใบอ่อน 1-2 ชุดแล้วค่อยนำลงปลูกจะดีกว่า

--------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00/อาทิตย์)
ข้อความ : กล้วยหอมทอง บำรุงตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยว บำรุงอย่างไร....?
ตอบ :
- เหมือนคำตอบตอนต้นรายการ .... คำถามนี้สั้นแค่คำตอบเขียหนังสือได้เป็นเล่มๆ เวลาที่นี่ตรงนี้ไม่พอ แนะนำว่าให้ไปร้านเช่าอินเตอร์เน็ตที่เด็กๆไปเล่นเกมส์ ให้ทางร้านปรินท์เป็นเอกสารเรื่องกล้วยหอมโดยเฉพาะ หรือจะเอาเรื่องพืชอื่นด้วยก็ได้ มีทุกเรื่องทุกพืช .... วันนี้เอาแซมเปิ้ลเรื่องกล้วยหอมไปก่อน ฟังกันเพลินๆ

@@ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกล้วยหอม :
* คุณลักษณะเฉพาะ :
- มีหลายสายพันธุ์ เช่น แกรนเนน. หอมจันทร์. หอมทองไต้หวัน.
- สายพันธุ์นิยมมี 2 สายพันธุ์ คือ หอมทอง. หอมเขียว.
- ปลูกลึกมิดเหง้าแล้วคลุมทับด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ
- ลงมือปลูกช่วงปลายฝนต่อต้นหนาวจะช่วยให้ต้นโตเร็ว
- การปฏิบัติขณะขุดแยกจากต้นแม่ การขนย้าย ระวังเหง้าและรากติดเหง้า เหมือนกล้วยไข่
- ค่อนข้างอ่อนแอต่อน้ำขังแฉะ แนวทางปฏิบัติและแก้ไขเหมือนกล้วยไข่

- อายุต้นหลังปลูก 3-4 เดือนจะเริ่มแทงหน่อ เมื่อหน่อสูง 50-80 ซม.ให้ตัดหน่อเหลือตอสูงจากพื้น 15-20 ซม. และตัดซ้ำทุกครั้งที่หน่อสูง 50-80 ซม. โดยให้รอยครั้งหลังสูงกว่ารอยตัดครั้งก่อน 5-10 ซม.เสมอ จนกระทั่งต้นแม่อายุ 7-8 เดือนให้เลือกหน่อชิด 1-2 หน่อที่อยู่คนละด้านกับต้นแม่ เพื่อแทนต้นแม่หลังจากตัดเครือและล้มต้นแม่แล้ว หน่อที่เลือกไว้นี้ไม่ต้องตัดต้นต่อไปอีก ส่วนหน่อตามหรือหน่ออื่นๆให้ตัดต้นตามปกติแล้วขุดแยกออกไปหลังตัดเครือต้นแม่

- การไว้หน่อเพื่อแทนต้นแม่หลังตัดเครือแล้วสำหรับรุ่นปีต่อไปนั้น หน่อแต่ละรุ่นควรมีอายุห่างกัน 4-5 เดือนเสมอ

- อายุต้น ตั้งแต่เริ่มปลูกถึงแทงปลี 7-8 เดือน และตั้งแต่แทงปลีถึงเก็บเกี่ยว 70-80 วัน หรือตั้งแต่เริ่มปลูกถึงตัดเครือ 10 เดือนครึ่ง

- ผลผลิตทั่วๆไปอกสู่ตลาดช่วงเดือน ส.ค.- พ.ย.
- ช่วงที่ยังไม่ออกเครือให้เลี้ยงใบไว้ทั้งหมด แต่ช่วงที่ออกเครือแล้วให้ไว้ใบ 9-10 ใบ จะทำต้นไม่เฝือใบ ไม่โทรม และให้ได้ผลผลิตดี

- หลังจากตัดปลีแล้ว 20-30 วัน ให้ห่อเครือด้วยถุงโปร่งแสงขนาดใหญ่ เปิดก้นถุง เพื่อให้ลมผ่านและอากาศถ่ายเท หรือห่อด้วยใบของเขาเอง

- กล้วยหอมปลูกตื้น ระบบรากมีน้อย ไม่อาจรับน้ำหนักเครือขนาดใหญ่ได้จึงจำเป็นต้องใช้ไม้ค้ำต้นเพื่อป้องกันต้นล้ม

- หลังจากห่อผล 30 วัน ใบบางส่วนจะเริ่มแห้ง ผลกลมไม่มีเหลี่ยม แสดงว่าผลแก่จัดเก็บเกี่ยวได้
- กล้วยหอมแจ็คพอต หมายถึง กล้วยหอมที่แก่จัดใกล้สุก (ห่าม) หรือสุกพอดีตรงหรือก่อนเล็กน้อยกับช่วงวันสารทจีน. ตรุษจีน. ไหว้พระจันทร์. หรือเชงเม้ง. การปลูกกล้วยหอมให้ได้ผลผลิตตรงกับช่วงเทศกาลดังกล่าวสามารถทำได้โดยการนับระยะอายุจากวันตัดเครือย้อนหลังมาถึงวันที่หน่อยืนต้นได้ 10 เดือนครึ่ง ให้ลงมือปลูกหน่อกล้วยก่อนวันยืนต้นได้ 2-3 เดือน เพื่อจะได้มีโอกาสตัดต้น 1-2 รอบสำหรับสร้างเหง้าให้ใหญ่ ซึ่งการตัดต้นครั้งสุดท้ายตรงกับวันเริ่มนับอายุปลูก (ยืนต้น) ก็ได้ จากนั้นให้ปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนปกติ กล้วยหอมต้นนั้นก็จะมีเครือให้ตัดได้ในอีก 10 เดือนครึ่งต่อมาพอดี

-------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00/อาทิตย์)
ข้อความ : ปลูกผักในต้นกล้วย ปลูกอย่างไร....?
ตอบ :
- กล้วยเป็นพืชอวบน้ำ ในต้นกล้วยมีน้ำเรียกว่า “น้ำเลี้ยง” ซึ่งก็คือสารอาหารของต้นกล้วยนั่นเอง .... สารอาหารพืช คือ สารอาหารพืช นั่นคือ น้ำเลี้ยงในต้นกล้วยก็เป็นสารอาหารสำหรับพืชได้ทุกชนิด

– กล้วย 1 ต้น ขณะยืนต้นอยู่ มีอายุตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยวตัดเครือ 8-10 เดือน .... หลังตัดต้น ล้มลงนอนกับพื้นแล้ว ยังอุ้มเก็บน้ำไว้ได้อีก 6-8 เดือน หรือจนกว่าต้นนั้นแห้งสนิท

* วิธีปลูกผักในต้นกล้วย :
- บนต้นกล้วยยังยืนต้น : ลอกกาบนอกซึ่งเป็นกาบแก่ออกทิ้งไป 1 ชั้น ใช้ไม้เสียบลูกชิ้นแทงลงบนกาบลึก 1/4-1/2 ซม. หยอดเมล็ดพืชลงไปให้มิด แล้วกดกาบปิดเมล็ดไว้ .... ปลูกผักต้นเล็ก น้ำหนักน้อย ไม่สูงหรือยาวมากนัก เช่น ผักกาด ผักคะน้า ผักชี ฯลฯ เมื่อผักโตขึ้นให้ใช้เชือกปอพลาสติกผูกโยงให้ลำต้นของผักตั้งขึ้น แม้ไม่ได้ 90 องศา แค่ 45 องศาก็อยู่ได้ ซี่งผักจะโตดีกว่าปล่อยให้สูงหรือยาวแล้วชี้ลงล่างตามแรงดึงดูดของโลก

- บนต้นกล้วยที่ล้มต้นแล้ว : จัดระเบียบซากต้นกล้วย 1-2-3 ต้น ให้เรียงชิดกัน ขนาดกว้างยาวตามอัทธยาศรัย ปักหลักยึดซากต้นกล้วยป้องกันการเคลื่อนย้ายตามความจำเป็น ทำแล้วรูปร่างคล้ายแปลงผักปกติ ไม่ต้องลอกกาบนอกออก ใช้ไม้เสียบลูกชิ้นเจาะเป็นรูลึก 1/4-1/2 ซม.เหมือนหยอดเมล็ดบนต้นที่ยังยืนต้น ทุกประการ .... ปลูกผักต้นเล็ก หรือผักพุ่ม เช่น กระเพา โหระพา แมงลัก พริก มะเขือ ฯลฯ เทคนิคการปลูกเหมือนปลูกบนพื้นดินปกติ ถ้าเป็นพืชเถาก็ให้ทำค้างสำหรับเลื้อย

- บริเวณที่ปลูก .... บนต้นกล้วยที่ยังยืนต้น ผักที่ปลูกจะได้รับแสงแดดเพียง 50% เพราะถูกใบกล้วยบัง ส่วนผักที่ปลูกบนต้นกล้วยที่ล้มแล้ว จัดพื้นที่ให้ได้รับแสงแดด 50% หรือ 100% อยู่ได้ทั้งนั้น

– การบำรุง : เน้นการบำรุงต้นกล้วยเป็นหลัก โดยไม่ต้องบำรุงต้นผักที่ปลูก เพราะผักที่ปลูกได้รับสารอาหารจากน้ำเลี้ยงในต้นกล้วยอยู่แล้ว ... หากต้องการบำรุงผักนั้นโดยเฉพาะ ใช้วิธีให้ทางใบแทน

– นอกจากผักแล้ว พืชอายุสั้นฤดูกาลเดียวประเภทไม้ดอกไม้ประดับก็ทำได้
- การป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช ให้ปฏิบัติการเหมือนปลูกผักบนพื้น

--------------------------------------------------------------


จาก: สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00/อาทิตย์)
ข้อความ : นาข้าว 5-6 แปลง เพลี้ยกระโดด แก้ไขอย่างไร....?
ตอบ :
- เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Nilaparvata lugens (Stål) เป็นแมลงจำพวกปากดูด ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลปนดำ มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว (macropterous form) และชนิดปีกสั้น (bracrypterous form) ชนิดมีปีกยาวสามารถเคลื่อนย้ายและอพยพไปในระยะทางใกล้และไกล โดยอาศัยกระแสลมช่วย ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่วางไข่ที่กาบใบข้าว หรือเส้นกลางใบ โดยวางไข่เป็นกลุ่ม เรียงแถวตามแนวตั้งฉากกับกาบใบข้าว บริเวณที่วางไข่จะมีรอยช้ำเป็นสีน้ำตาล ไข่มีลักษณะรูปกระสวยโค้งคล้ายกล้วยหอม มีสีขาวขุ่น ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ระยะตัวอ่อน 16-17 วัน ตัวเต็มวัยเพศเมียชนิดปีกยาวมีขนาด 4-4.5 มิลลิเมตร วางไข่ประมาณ 100 ฟอง เพศผู้มีขนาด 3.5-4 มิลลิเมตร เพศเมียชนิดปีกสั้นวางไข่ประมาณ 300 ฟอง ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ ในหนึ่งฤดูปลูกข้าวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัย (generation)

ลักษณะการทำลายและการระบาด :
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลส์ท่อน้ำท่ออาหาร บริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้งลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวกแห้งตายเป็นหย่อมๆ เรียก"อาการไหม้"(hopperburn) โดยทั่วไปพบอาการไหม้ในระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวงซึ่ง ตรงกับช่วงอายุขัยที่ 2–3 (generation) ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวนาข้าวที่ขาดน้ำ ตัวอ่อนจะลงมาอยู่ที่บริเวณโคนกอข้าวหรือบนพื้นดินที่แฉะมีความชื้น นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส โรคใบหงิก(rice raggedstunt) มาสู่ต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวมีอาการแคระแกร็นต้นเตี้ยใบสีเขียวแคบและสั้นใบแก่ช้ากว่าปรกติ ปลายใบบิด เป็นเกลียว และ ขอบใบแหว่งวิ่น

วิธีการปลูก :
ปลูกข้าวแบบนาหว่านน้ำตมมีปัญหาการระบาดมากกว่านาดำเพราะนาหว่านมจำนวนต้นข้าวหนาแน่นทำให้อุณหภูมิและความชื้นในแปลงนาเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ประกอบกับนาหว่านเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถทำลายข้าวได้อย่างต่อเนื่อง

การใช้ปุ๋ย :
การใช้ปุ๋ยอัตราสูง โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ทำให้การเพิ่มจำนวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว มีแนวโน้มมากขึ้น เนื่องจากปุ๋ยไนโตรเจน ทำให้ใบข้าวเขียว หนาแน่น ต้นข้าวมีสภาพอวบน้ำเหมาะแก่การเข้าดูดกิน และขยายพันธุ์ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

การควบคุมน้ำในนาข้าว :
สภาพนาข้าวที่มีน้ำขังในนาตลอดเวลา ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่ม จำนวนได้มากกว่าสภาพที่มีการระบายน้ำในนาออกเป็นครั้งคราว เพราะมีความชื้นเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

การใช้สารฆ่าแมลง :
การใช้สารฆ่าแมลงในระยะที่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นตัวเต็มวัยชนิดปีกยาว หรือช่วงที่อพยพเข้าในนาข้าวใหม่ๆ (ข้าวระยะ 30 วันหลังหว่าน) ศัตรูธรรมชาติจะถูกทำลายและสารฆ่าแมลงก็ไม่สามารถทำลายไข่ของเพลี้ยกระโดดสี น้ำตาลได้ ทำให้ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่มีโอกาสรอดชีวิตสูง

ศัตรูธรรมชาติที่มีบทบาทในการควบคุมประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล :
มวนเขียวดูดไข่ :
เป็นตัวห้ำในอันดับ Hemiptera วงค์ Miridae เป็นตัวห้ำที่สำคัญทำลายไข่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยการดูดกินของเหลวภายในไข่มักพบแพร่กระจายในภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ และอพยพเข้ามาพร้อมกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ซึ่งถ้าพบมวนชนิดนี้ในนามากกว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล2-3เท่ามวนชนิดนี้ สามารถควบคุมการเพิ่มปริมาณของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยไม่ก่อให้เกิดความ เสียหายแก่ผลผลิตข้าวได้

แมงมุมสุนัขป่า :
เป็นตัวห้ำที่มีบทบาทมากที่สุด ในการควบคุมปริมาณตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว เนื่องจากสามารถเคลื่อนย้ายไปมาในพื้นที่ต่างๆ ในนา โดยจะเคลื่อนย้ายเข้าในนาระยะหลังหว่านข้าวและจะเพิ่มปริมาณสูงในระยะข้าว แตกกอ

การบริหารจัดการเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล :
1) ปลูกข้าวพันธุ์ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 90 สุพรรณบุรี 60 ปทุมธานี 1 พิษณุโลก 2 ชัยนาท 1 ชัยนาท 2 กข29 และ กข31 และไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน4ฤดูปลูก ควรปลูกสลับกันระหว่างพันธุ์ต้านทานสูงกับพันธุ์ทนทานหรือพันธุ์อ่อนแอ ปานกลาง โดยพิจารณาอายุเก็บเกี่ยวให้ใกล้เคียงกัน เพื่อลดความเสียหายเมื่อเกิดการระบาดรุนแรง

2) ในแหล่งที่มีการระบาด และควบคุมระดับน้ำในนาได้ หลังปักดำหรือหว่าน 2-3 สัปดาห์จนถึงระยะตั้งท้องควบคุมน้ำในแปลงนาให้พอดินเปียก หรือมีน้ำเรี่ยผิวดินนาน 7-10 วัน แล้วปล่อยขังทิ้งไว้ให้แห้งเองสลับกันไป จะช่วยลดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

3) เมื่อตรวจพบสัดส่วนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวเต็มวัยต่อมวนเขียวดูดไข่ ระหว่าง 6 :1- 8 :1 หรือตัวอ่อนวัยที่ 1-2 เมื่อข้าวอายุ 30-45 วัน จำนวนมากกว่า 10 ตัวต่อต้นให้ใช้สารฆ่าแมลง บูโพรเฟซิน (แอปพลอด 10% ดับบลิวพี) อัตรา 25 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้สาร อีโทเฟนพรอกซ์(ทรีบอน 10% อีซี) อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ บูโพรเฟซิน/ไอโซโพรคาร์บ (แอปพลอด/มิพซิน 5%/20% ดับบลิวพี) อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อพบแมลงส่วนใหญ่เป็นตัวเต็มวัย จำนวนมากกว่า 1 ตัวต่อ 1 ต้นและไม่พบหรือพบมวนเขียวดูดไข่น้อยมาก ให้ใช้สารอีโทเฟนพรอกซ์ (ทรีบอน 10% อีซี) อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์โบซัลแฟน (พอสซ์ 20% อีซี) อัตรา 110 มิลลิลิตร /น้ำ 20 ลิตร หรือไอโซโพรคาร์บ (มิพซิน 50% ดับบลิวพี) อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟีโนบูคาร์บ (บีพีเอ็มซี 50% อีซี) อัตรา 60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ในระยะข้าว ตั้งท้องถึงออกรวง เมื่อพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 10 ตัวต่อกอ หรือ 1 ตัวต่อ 1 ต้น และพบมวนเขียวดูดไข่จำนวนน้อยมากให้ใช้สารไทอะมิโทแซม (แอคทารา 25% ดับบลิวพี) อัตรา 2 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไดโนทีฟูเรน (สตาร์เกิล 10% ดับบลิวพี) อัตรา 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือโคลไทอะนิดิน (เด็นท๊อช 16% เอสจี) อัตรา 6-9 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออิทิโพรล (เคอร์บิกซ์ 10% เอสซี) อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์โบซัลแฟน (พอสซ์ 20% อีซี) อัตรา 110 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

4) ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงที่ทำให้เกิดการเพิ่มระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (resurgence) หรือสารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น แอลฟาไซเพอร์เมทริน ไซเพอร์เมทริน ไซแฮโลทริน เดคาเมทริน เอสเฟนแวเลอเรต เพอร์เมทริน ไตรอะโซฟอส ไซยาโนเฟนฟอส ไอโซซาไทออน ไฟริดาเฟนไทออน ควินาลฟอส และเตตระคลอร์วินฟอส เป็นต้น
http://www.brrd.in.th/rkb/disease%20and%20insect/index.php-file=content.php&id=46.htm

ประสบการณ์ตรง :
- เพราะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงประเภทปากกัดปากดูด การที่มันกัดกินน้ำเลี้ยงในต้นข้าวเพราะชอบรสชาดของน้ำเลี้ยงของต้นข้าว นั่นคืออาหารของมัน หากเปลี่ยนรสชาดในน้ำเลี้ยงนั้นมันคงไม่กิน แนะนำว่า ฉีดพ่นสมุนไพร “เผ็ดจัด + ร้อนจัด” ที่ต้นข้าว ฉีดโชกๆ โดยเฉพาะบริเวณลำต้น

- เพราะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเกาะกินต้นข้าว ณ จุดเหนือผิวน้ำ 1-5 ซม.เสมอ เพื่ออาศัยอาศัยความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ แก้ไขโดยการสูบน้ำออกให้หน้าดินแห้ง หรือถึงหน้าดินแตกระแหง

- กันก่อนแก้ โดยฉีดพ่นสมุนไพร “เผ็ดจัด+ร้อนจัด” ล่วงหน้าก่อนเกิดการระบาด ทุก 7 วัน หากแปลงข้างเคียงเริ่มเกิดการระบาดให้ฉีดพ่นถี่ขึ้น ช่วงแรกอาจจะวันต่อวันซัก 3 รอบ แล้วฉีดวันเว้นวัน หรือวันเว้นสองวัน อีก 3 รอบ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในแปลงข้างเคียงรู้ว่าข้าวในแปลงนี้รสาดไม่ดีก็จะไม่เข้ามา ทั้งนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีอายุขัยเพียง 7-10 วันเท่านั้น

*** ขอให้ตระหนักอยู่เสมอว่า :
- ข้าวเป็นพืชที่มีศัตรูพืชมากที่สุดในบรรดาพืชทุกชนิด มากถึง 200 รายการ
- ไม่มีสารเคมียาฆ่าแมลงในโลกนี้ ไม่มีสารสมุนไพรในโลกนี้ สามารถทำให้ส่วนของต้นข้าวที่ถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายไปแล้ว ฟื้นคืนดีอย่างเก่าได้ เรียกว่า เสียแล้วเสียเลยนั่นแหละ

- การฉีดพ่นสารสมุนไพรแบบแบบถี่ๆ วันต่อวัน หรือวันเว้นสอง รวมแล้วเพียง 4-5 รอบ หากทำไม่ได้หรือไม่ได้ทำ ลงท้ายจะไม่ได้ผลผลิตข้าวเลย

- เทคนิค “กันก่อนแก้” โดยการฉีดพ่น “สารสมุนไพร + ปุ๋ยทางใบ” ทุก 7 วัน ล่วงหน้าก่อนการเข้ามาของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล นอกจากจะได้ตัวยาป้องกันศัตรูพืช (เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล รวมถึงศัตรูพืชอื่นๆ) แล้ว ยังได้สารอาหารบำรุงต้นข้าวให้สมบูรณ์แข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคและแมลง และได้ผลผลิตที่ดีอีกด้วย

--------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00/อาทิตย์)
ข้อความ : ทานตะวัน แรกๆออกดอกดี ปลูกใหม่รุ่นนี้ไม่ออกดอก แก้ไขอย่างไร...?
ตอบ :
- ทานตะวันคือพืชไร่ .... เกษตรกรที่ทำการเกษตรแบบทำลายดินกลุ่มใหญ่ที่สุด คือ ชาวไร่ เพราะพื้นที่ปลูกพืชไร่เป็นพื้นที่ห่างน้ำ ทุกครั้งที่ปลูกต้องอาศัยแต่น้ำฝนเท่านั้น ชาวไร่ไม่ยอมรับหลักการธรรมชาติว่า “ไม่มีพืชใดในโลกนี้ไม่ต้องการน้ำ” ทั้งๆที่พืชไร่ต้องการน้ำเพียงระดับ “ชื้น” (ชื้น ชุ่ม โชก แฉะ แช่) เท่านั้น กับชาวไร่บางคนยังหลง (เน้นย้ำ....หลง) คิดว่า ถ้าให้น้ำแล้วจะเกิดต้นเน่า ก็น่าแปลกใจที่ฝนตก ตกหนัก ไม่ถึงท่วมขังค้างหลายๆวัน นอกจากต้นพืขไร่ไม่ตายแล้ว ยังเจริญเติบโตดีอีกด้วย ชาวไร่กลับไม่รู้ ไม่รู้ก็ไม่คิดอีกด้วย

- ฟันธงได้เลยว่า “ดิน – น้ำ” ไม่เหมาะสม ทบทวนความทรงจำซิว่า ที่ผ่านมา 1-2-3 รุ่น ได้ใส่อะไรลงไปในดินบ้าง สิ่งที่ใส่ลงไปนั้นบำรุงดินหรือทำลายดินกันแน่

– เชื่อหรือรู้หรือไม่ว่า ....
*ปุ๋ยเคมีที่ต้นทานตะวันไม่ได้เอาไปกิน เพราะความแห้งแล้งของเนื้อดิน ปุ๋ยเคมีเหลือตกค้างอยู่ในดินทำให้ดินเป็นกรด

* ยาฆ่าหญ้า ทำลายจุลินทรีย์ ทั้งที่ผิวดินและไต้ดิน
* สารเคมียาฆ่าแมลงเป็นกรดจัด ลงไปอยู่ในดิน สะสมมากๆ เข้าก็ทำให้ดินเป็นกรดได้
* แดดเผา ไฟเผา เป็นตัวการใหญ่ที่ทำลายจุลินทรีย์

- แนวทางแก้ไข ณ วันนี้ ....
* หว่านยิบซั่ม บางๆ และรดด้วยน้ำหมักชีวภาพ เพื่อละลายยิบซั่ม ให้น้ำ เพิ่มจุลินทรีย์ และบำรุงจุลินทรีย์ประจำถิ่น

* หว่านเมล็ดถั่วไร่ (แดง ดำ เหลือง เขียว) ระหว่างแถวปลูก เมื่อต้นถั่วเริ่มออกดอกให้ล้มต้นถั่ว เพื่ออาศัยบังแดดเผาหน้าดิน

* ให้ฮอร์โมนไข่ ทางใบ บ่อยๆเท่าที่ทำได้ ฉีดพ่นให้เปียกโชกจากใบลงถึงพื้นโคนต้น จะช่วยให้ออกดอกดี

ปลูกทานตะวันแบบบูรณาการ :
- หยุดปลูกทานตะวันก่อน 1-2 รุ่น แล้วปลูกถั่ว (แดง ดำ เหลือง เขียว) เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วไถกลบเศษซากลงดิน ทำซ้ำ 2 รุ่น จะได้อินทรีย์วัตถุชั้นดี นอกจากเป็นสารอาหารอินทรีย์สำหรับทานตะวันหรือพืชทุกชนิดแล้ว ยังทำหน้าที่เสมือนฟองน้ำ ช่วยกักเก็บน้ำไว้ไต้ดินยามฝนแล้งได้นานนับเดือนอีกด้วย

- ปลูกทานตะวัน เก็บเกี่ยวแล้วไถกลบเศษซากลงดิน
– ปลูกทานตะวันลงไปแล้ว หว่านเมล็ดถั่วไร่ (แดง ดำ เหลือง เขียว) ระหว่างแถวปลูก เมื่อต้นถั่วเริ่มออกดอกให้ล้มต้นถั่วลง นอกจากช่วยบังแดดเผาหน้าดินแล้ว ยังกลายเป็นปุ๋ยบำรุงดิน บำรุงทานตะวันอีกด้วย

----------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00/อาทิตย์)
ข้อความ : ว่านหนุมาณ กับว่านวานร ตัวเดียวกันหรือเปล่า ..... ?
ตอบ :
- ไม่กล้าให้คำตอบ เพราะภาษาไทยเอาแน่ไม่ได้ ใครใคร่ตั้งชื่อก็ตั้ง ว่ากันมั่วไปไปหมด

--------------------------------------------------------------


จาก : (080) 229-37xx
ข้อความ : อยู่อุบล อยากปลูกข้าวมะลิแดง แข่งกับข้าวไรซ์เบอร์รี่ คนอิสานไม่กินข้าวมะลิแดง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ก็ไม่กิน ปลูกแล้วจะเอาไปขายที่ไหนครับ .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
- รู้ได้ไงว่าคนอิสานไม่กินข้าวมะลิแดง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีแต่คนอุบลแหละมั้ง คนอุบลก็คุณคนเดียวด้วยที่ไม่กิน วันก่อนคนอุดรถามหา “ข้าวบาสมาติ” มีขายที่ไหน ราคาเท่าไหร่ ดูซิจะอร่อยเท่าข้าวกล่ำไทยอิสานไหม

- เทคโนโลยีที่ยากที่สุด คือ เทคโนโลยีการตลาด ข้าวประเภทนี้ราคาแพง คนมีเงินเท่านั้นที่กล้าซื้อกิน

- ตลาดไม่มาหาเรา เราก็ไปหาตลาด ตลาดรับซื้ออยู่ที่ ...
1) ร้านขายข้าวสารพร้อมหุงบรรจุถุงทั่วราชอาณาจักร ประเทศเพื่อนบ้าน ที่ถุงจะมีชื่อบริษัทผู้ผลิต ที่อยู่ พร้อมเบอร์โทร บอกไว้ .... ร้านหน้าวัดเขาช่อง มีขายกว่า 10 ยี่ห้อ
2) ในอินเตอร์เน็ต มีบริษัทขายข้าวบรรจุถุงนับร้อย
3) ร้านค้าสหกรรณ์ในหมู่บ้าน หรือใกล้เคียง
4) แหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ ทั่วประเทศ
5) ห้างใหญ่ จัสโก้ โลตัส เซนทรัล
6) เปิดร้านขายเอง ขายทั้งของตัวเอง และรับมาขายต่อ
- รู้แหล่งรับซื้อแล้ว เจรจาซื้อขายแบบ “พันธะสัญญา” โดยตรง

@@ เกษตรพันธะสัญญา :
คลิก : http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=4506&sid
=7b107cf0b414c2900c04d3eb5f0b0089
ไรซ์เบอร์รี่พันธะสัญญา....

- เรื่องนี้เรื่องใหญ่ ตัวอย่างมีให้เห็นเยอะแยะ หลายรายเข็ดขยาดไปตามๆกัน ก็เพราะสัญญาแล้วไม่ทำตามสัญญา อันนี้ต้องทำความตกลง ระหว่างคนซื้อ (บริษัท) กับคนขาย (เรา) ให้แน่นอนก่อนว่า ต้องมีหลักเกณฑ์หลักการอะไรบ้าง แค่วาจาที่พูดคุยกันอาจไม่แน่นอน ต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรไหม ต้องดูเอาเอง .... เรื่องทำนองนี้ ดูเหมือนเกษตกรเรามักจะเสีย เปรียบบริษัทรับซื้อเอยู่เรื่อยๆ

- เงื่อนไขที่ต้องตกลงกัน ได้แก่ พันธุ์, ปริมาณ, คุณภาพ, รูปแบบการปลูก, ฯลฯ
- ก็มีนะ เงื่อนไขพิเศษจากผู้รับซื้อบางเจ้า ได้แก่ ซื้อเมล็ดพันธุ์, ซื้อปุ๋ย, ซื้อสารเคมีฆ่าแมลงหรือสารสมุนไพร, รถดำ/รถเกี่ยว, ฯลฯ

- ข้าวนิยม : นอกจากไรซ์เบอร์รี่และมะลิแดงแล้วยังมีอีกหลากหลายสายพันธุ์ที่น่าสนใจ ได้แก่ หอมนิล สุโขทัย ลืมผัว สินเหล็ก สังข์หยด หอมดอย ชลสิทธิ์ หอมมะลิ ขาวมะลิ ผัวหลง หอมกอเดียว หอมปทุม จีไอ. ข้าวญี่ปุ่น

(.... ทำไมต้องขายแต่ ข้าวเปลือก/ข้าวสีพร้อมหุง .... โรงสี/บริษัท .... ปลีก/ส่ง เท่านั้น ในเมื่อยังมีทางเลือกอย่างอื่นอีก....)

@@ คิดเป็น ทำเป็น แปรรูปเป็น ขายเป็น :
** ข้าวผสมธัญพืช :
- ตระกูลข้าว : ข้าวกล้อง ข้าวหอมนิล ข้าวมันปู ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวโอ๊ต หรืออาจพิจารณาข้าวสมุนไพรเป็นอีกหนึ่งทางเลือก (ข้าวสมุนไพร ใช้สารสกัดจากสมุนไพรไทยเคลือบบนเมล็ดข้าว เช่น สารสกัดจากใบเตย อัญชัน ขมิ้น กระเจี๊ยบ ดอกคำฝอย ฯลฯ เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหาร)

- ประเภทถั่ว : ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลืองซีก คุณค่าทางโภชนาการของถั่ว แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ คือ ชนิดที่มีไขมันสูง และชนิดที่มีโปรตีนสูง

1. ชนิดที่มีไขมันสูง : ถั่วเหลือง ถั่วลิสง สะสมพลังงานในรูปไขมัน จัดเป็นพืชน้ำมัน จึงสามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันปรุงอาหารได้

2. ชนิดที่มีโปรตีนสูง : ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วแดงหลวง จัดเป็นกลุ่มโปรตีนสูงและไขมันต่ำ สะสมพลังงานในรูปของคาร์โบไอเดรต


** ข้าวอบธัญพืช 5 สี :
ส่วนผสม :
- ข้าวสาร 150 กรัม
- กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ
- แครอท 50 กรัม
- ถั่วลันเตา 50 กรัม
- ลูกเดือย 40 กรัม
- แปะก๊วย 50 กรัม
- ถั่วแดง 50 กรัม
- เห็ดหอม 3 ดอก
- กุนเชียง 50 กรัม
- ซอสเห็ดหอม 2 ช้อนโต๊ะ
- ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
- ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลทราย 2 ช้อนชา
- พริกไทยป่น 1/4 ช้อนชา
- น้ำมันงา 1 ช้อนชา
- น้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำซุป 150 มิลลิลิตร

วิธีทำ :
1. ซาวข้าวให้สะอาด
2. ผสมซอสเห็ดหอม ซีอิ๊วขาว ซอสปรุงรส น้ำตาลทราย พริกไทยป่น น้ำมันงา คนให้เข้ากัน
3. ตั้งกระทะใส่น้ำมันพืช พอร้อนใส่กระเทียม ผัดให้หอม ใส่เห็ดหอมลงผัด ตามด้วยข้าวสารที่ซาวไว้
4. นำข้าวที่ผัดแล้วใส่ภาชนะนึ่ง ใส่น้ำซุป ตามด้วยส่วนผสมในข้อ 2 คนให้เข้ากัน จากนั้นใส่ถั่วแดง แปะก๊วย ลูกเดือย กุนเชียง แครอท และถั่วลันเตา นึ่งประมาณ 35 นาทีหรือจนสุก
5. จัดเสิร์ฟ


** ข้าวเหนียวมูล 5 สี :
By: Chef Naam

รายละเอียดสูตรอาหาร :
ข้าวเหนียวมูน 5 สี (วิธีการมูนข้าวเหนียวห้าสี) ขนมไทยที่ใช้ข้าวเหนียวเป็นส่วนประกอบก็ต้องนึกถึงข้าวเหนียวมูน เป็นข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วมามูนกับน้ำกะทิผสมน้ำตาล ทำให้มีสีสันต่างๆ นำมาทานกับผลไม้หรือของหวานทำให้น่าทานมากขึ้น

วัตถุดิบ :
ข้าวเหนียวมูน สีขาว :
1. สีขาว .... ข้าวเหนียวเม็ดงามๆ (แช่น้ำ 3-4 ชม.) 250 กรัม
2. มะพร้าวขูดขาว 250 กรัม 1 1/2 ถ้วย
3. น้ำตาลทราย 1 ถ้วย (180 กรัม)
4. เกลือป่น (เกลือละเอียดมากลด 1/2 ชช.) 1-2 ช้อนชา

ข้าวเหนียวสี ผสมสีในน้ำกะทิใช้อัตราส่วนด้านบน :
5. สีม่วงน้ำเงิน .... ดอกอัญชัญ 20 ดอก (คั้นน้ำ-กรอง) หรือสีผสมอาหาร 4-6 ช้อนโต๊ะ
6. สีเหลือง .... ดอกกรรณิการ์ (แช่น้ำ) หรือสีผสมอาหาร ถ้าใช้ขมิ้นให้ผสมแช่ข้าวเหนียว 4-6 ช้อนโต๊ะ
7. สีเขียว ..... น้ำใบเตยข้นๆ 1/4 ถ้วย
8. สีแดง ...... ข้าวเหนียวขาว 200 กรัม ข้าวเหนียวดำ 50 กรัม (แช่น้ำ 3-4 ชม.รวมกัน) 250 กรัม

วิธีทำ :
1. ข้าวเหนียวขาว – แช่น้ำให้ท่วมทิ้งไว้ 3-4 ชม.
2. ข้าวเหนียวดำ แช่กับน้ำเดือดจัด พออุ่น ใส่ข้าวเหนียวขาว เติมน้ำให้ท่วม ทิ้งไว้ 3 ชม.
3. น้ำกะทิสำหรับมูนข้าวเหนียว (ถ้าเป็นสีต่างๆ ให้ผสมสีไปด้วย ต้องการใส่สีมากแค่ไหนให้ตักน้ำกะทิออกเท่านั้น เช่น ใส่สี 1/4 ถ้วย ให้ตักกะทิออก 1/4 ถ้วย)
3.1 สีขาว .... ผสมกะทิ 1 1/2 ถ้วย น้ำตาลทราย เกลือ ตั้งไฟกลาง คนให้พอเดือด (กันเสีย) ยกลงพักไว้
3.2 สีม่วงน้ำเงิน .... กะทิ 1 1/2 ถ้วย (ตักออก 4-6 ชต) น้ำตาลทราย เกลือ น้ำดอกอัญชัญ (4-6 ชต.) ตั้งไฟกลาง คนให้พอเดือด ยกลงพักไว้
3.3 สีเหลือง .... ผสมกะทิ 1 1/2 ถ้วย น้ำตาลทราย เกลือ น้ำดอกกรรณิการ์หรือขมิ้นชัน ตั้งไฟกลาง คนให้พอเดือด ยกลงพักไว้
3.4 สีเขียว .... ผสมกะทิ 1 1/2 ถ้วย (ตักออก 1/4 ถ้วย) น้ำตาลทราย เกลือ น้ำใบเตย (1/4 ถ้วย) ตั้งไฟกลาง คนให้พอเดือด ยกลงพักไว้
3.5 สีแดง (สีของข้าวเหนียวดำ-ขาว) .... ผสมกะทิ 1 ถ้วย น้ำตาลทราย เกลือ ตั้งไฟกลาง คนให้พอเดือด (กันเสีย) ยกลงพักไว้

4. เตรียมลังถึง น้ำ 2/3 ของลัง ตั้งไฟแรงให้น้ำเดือด ล้างข้าวเหนียวใส่ผ้าขาวบางห่อไว้ให้ระอุ นึ่งให้สุกใช้เวลาประมาณ 25 นาที เทให้หม้อ
5. หม้อใส่ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกร้อนๆ เติมน้ำกะทิ (สีที่ต้องการ) ใช้พายคนเร็วๆ ให้เข้ากัน ปิดฝาทิ้งไว้จนเย็นแห้งประมาณ 30–40 นาที เปิดฝาออกซุยให้กระจาย
6. จัด – ใส่ข้าวเหนียวในกระทง อย่าให้ล้น กดให้ตรงกลางบุ๋มเล็กน้อย ตักหน้าใส่ตามต้องการ โดยหน้าขนมของข้าวเหนียวแต่ละสีมีตามนี้


ข้าวเหนียวมูน 5 สี หน้าขนมที่ใช้ :
สีขาว ............... กะทิ, หน้าปลาแห้ง
สีม่วงน้ำเงิน ......... สีดอกอัญชัน. ไข่แมงดา/หน้าจาวตาล/สาเกเชื่อม
สีเหลือง ............. สีดอกกรรณิการ หรือขมิ้นชัน, หน้ากุ้ง
สีเขียว .............. สีใบเตย. หน้าสังขยา
สีแดง ............... ข้าวเหนียวดำรวมกับขาว, หน้ากระฉีก

--------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©