-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-เกษตรสัญจร 12 GMO โจรปล้นชาติ 3 - อุ๊แม่เจ้า พริกหยวก GMO
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เกษตรสัญจร 12 GMO โจรปล้นชาติ 3 - อุ๊แม่เจ้า พริกหยวก GMO
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เกษตรสัญจร 12 GMO โจรปล้นชาติ 3 - อุ๊แม่เจ้า พริกหยวก GMO
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
noo-ring
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 24/06/2013
ตอบ: 64

ตอบตอบ: 19/09/2015 8:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
.
.

"GMO" มีสถานะเป็น แก๊ซ หรือเชื้อโรค หรือรังษี จึงใส่เสื้อผ้าป้องกันแบบนี้

มันเหมือนเป็นสงครามระหว่าง "คนส่งเสริม GMO" กับ "คนต่อต้าน GMO"
ที่พูดกันคนละเวที คนละครั้ง ที่มุ่งผลประโยน์ตัวเองเป็นหลัก .... ประมาณนั้น

ไม่ได้ต่อต้านใคร ไม่ได้ส่งเสริมใคร แต่มันสงส้ย สงสัยมานานแล้ว....ว่ะ




.




สวัสดีจ้าลุง....

หนูหริ่งจ้า







ไก่ที่ตัดต่อพันธุกรรม หรือไก่ GMO หรือไก่ไร้ขน จ้าลุง....ถ้าเห็นทั้งตัวแบบนี้ ใครจะกล้ากินจ้า แต่ถ้าแร่มาเป็นชิ้น ๆ หรือทำมาในรูปแบบของลูกชิ้นไก่ล่ะจ้า.....ไม่รู้ ไม่เห็น กินกันเข้าไปเท่าไหร่แล้วไม่ทราบจ้าลุง.....

ก็มันอร่อยน่ะจ้า.....




ขอบคุณจ้า
.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 19/09/2015 8:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

noo-ring บันทึก:
kimzagass บันทึก:
.
.

"GMO" มีสถานะเป็น แก๊ซ หรือเชื้อโรค หรือรังษี จึงใส่เสื้อผ้าป้องกันแบบนี้

มันเหมือนเป็นสงครามระหว่าง "คนส่งเสริม GMO" กับ "คนต่อต้าน GMO"
ที่พูดกันคนละเวที คนละครั้ง ที่มุ่งผลประโยน์ตัวเองเป็นหลัก .... ประมาณนั้น

ไม่ได้ต่อต้านใคร ไม่ได้ส่งเสริมใคร แต่มันสงส้ย สงสัยมานานแล้ว....ว่ะ



สวัสดีจ้าลุง....

หนูหริ่งจ้า







ไก่ที่ตัดต่อพันธุกรรม หรือไก่ GMO หรือไก่ไร้ขน จ้าลุง....ถ้าเห็นทั้งตัวแบบนี้ ใครจะกล้ากินจ้า แต่ถ้าแร่มาเป็นชิ้น ๆ หรือทำมาในรูปแบบของลูกชิ้นไก่ล่ะจ้า.....ไม่รู้ ไม่เห็น กินกันเข้าไปเท่าไหร่แล้วไม่ทราบจ้าลุง.....

ก็มันอร่อยน่ะจ้า.....




ขอบคุณจ้า
.






"ตีโจทย์ไม่แตก...."
ว่าด้วยสรีระวิทยา หรือพันธุวิทยา ในไก่ตัวนี้ คนหรือสัตว์ (รวมทั้งจุลินทรีย์ด้วย) กินหรือรับเข้าสู่ร่างกาย สารหรือธาตุอันเกิดจาก จีเอ็มโอ อาจทำให้ร่างกายของคนหรือสัตว์ (รวมทั้งจุลินทรีย์ด้วย) เกิดการเปลี่ยนแปลง ทาง - หรือ + ก็ว่ากันไป

จีเอ็มโอ คือพันธุกรรมที่ได้รับการตัดแต่งขึ้นมาใหม่ ตามความประสงค์ของคน
พันธุกรรม คือ ยีนส์ หรือโครงสร้างทางร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่สร้างขึ้นมาใหม่

คำถามคือ :
ในเมื่อ จีเอ็มโอ ไม่ใช่แก๊ส เข้าสู่ร่างกายคนทางระบบหายใจ....
ไม่ใช่เชื้อโรค (สัตว์เซลล์เดียว) เข้าสู่ร่างกายคนโดยหารกินหรือหายใจ หรือเข้าผ่านแผล.....
ไม่ใช่รังสี (เอ็กซ์เรย์ แกรมม่า อุลตร้าไวโอเลต) เข้าสู่ร่ายกายคนทางผิวหนังหรือสายตา ....
แล้วทำไมคนต้องใส่เสื้อคลุมหัวเหมือนป้องกัน เชื้อโรค แก๊ซน้ำตา สายตา ด้วยล่ะ

คนที่ทำงานกับไก่ตัวนี้ แค่สวมถุงมือ ผ้าอนามัยปิดจมูก ก็น่าจะพอมั้ง
ส่วนการกิน กินเข้าสู่ร่างกายโดยตรงหรือโดยอ้อม นั่นก็ไปอีกเรื่องหนึ่ง




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Sombutt
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2011
ตอบ: 84

ตอบตอบ: 19/09/2015 10:08 pm    ชื่อกระทู้: เกี่ยวกับเรื่อง GMO GMM Mutation(การกลายพันธุ์) และ ฯลฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
สวัสดีครับลุง ....ทิดแดง ไอ้ตู่ ไอ้หริ่ง และเพื่อน ๆ สมาชิกทุกท่านครับ

สมบัติ - เชียงรายครับ

ผมไม่ได้เข้ามาคุยในเว็ปลุงนานทีเดียว(เสียงยังแหบเหมือนเดิมครับ)........แต่ติดตามอ่านอยู่ตลอดครับ.....ขออนุญาตลุงครับ

หากเพื่อน ๆ อยากศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง GMO GMOs Mutation(การกลายพันธุ์) DNA RNA....หรือเรื่องอื่น ๆ ฯลฯ ที่เกี่ยวกับ เทคโนโลยีชีวภาพ (ผมและกลุ่มคนบ้า ติดตามอ่านมาเป็นปี ๆ แล้วยังไม่มีทีท่าว่าจะหมดเลยครับ ยิ่งอ่าน ก็คิดว่า ตัวเองใกล้จะบ้าเข้าไปทุกที ปวดหัวอีกต่างหาก)

ที่นี่มีคำตอบ ......แหล่งรวมความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพ (น่าจะทั้งหมดทุกเรื่อง) คลิกเลยครับ


หัวข้อความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพ >

http://www.thaibiotech.info/

http://www.thaibiotech.info/what-is-genetics-engineering.php#more-26



ขอบคุณครับ



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 21/09/2015 4:06 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 พืช และสัตว์ GMO หรือ GMOs ที่ขายในไทย มีอะไ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
สวัสดีครับลุงคิม ...ไอ้ทิดบัติ และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 12 พืช และสัตว์ GMO หรือ GMOs ที่ขายในไทย มีอะไรบ้าง

ภาค 2 (1) หยุด GMO ในประเทศไทย



ไอ้ทิดบัติ

ตาม Link ที่เอ็งนำเสนอ มันยาวมาก แต่ละเรื่องอ่านแล้วปวดตับ เอาเป็นสั้น ๆ ...อยากถามว่า ในปัจจุบัน พืช และสัตว์ GMO หรือ GMOs ที่วางขายแล้วในท้องตลาดหรือตามห้างใหญ่ ๆ น่ะ มีอะไรบ้าง



ที่รู้ เห็นมีไอ้นี่อย่างนึงละ แล้วก็มะละกอ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 21/09/2015 6:01 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.






ที่ไม่รู้และที่อยากรู้ คือ ....

- อะไร "ใน" จีเอ็มโอ หรืออะไรใน "ความเป็น" จีเอ็มโอ ที่เป็นพิษต่อคน โดยตรงหรือโดยอ้อม

วิเคราะห์จากภาพ :
- ใส่เสื้อคลุมแบบนี้ เพื่อป้องกัน "แก๊ซ" ไม่ใช่เหรอ ถ้างั้น จีเอ็มโอ ก็คือแก๊ซ น่ะซี.....ใช่มัย ?
- ส่ถุงมือจับข้าวโพด เพื่อป้องกันเชื้อโรค ไม่ใช่เหรอ ถ้างั้น จีเอ็มโอ ก็คือเชื่้อโรคน่ะซี....ใช่มั้ย ?

* ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ โครโมโซม ฯลฯ จะส่งผลต่อคนก็ต่อเมื่อ คนรับเข้าสู่ร่างกายโดยการกินเท่านั้น .... ไม่ใช่หรอ ?


หมายเหตุ :
- ทั้งคนที่ส่งเสริม และคนที่ต่อต้าน ล้วนผลประโยชน์ส่วนตนทั้งนั้น
- แต่ที่นี่ ต้องการ "เหตุผล" ที่ชัดเจนกว่านี้

- ถามจริง ไม่เข้าใจโจทย์ หรือตอบแบบเลี่ยงบาลี



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 21/09/2015 11:00 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
http://www.geneticsociety.or.th

อาหาร จีเอ็มโอ กินแล้วอันตรายจริงหรือ



COMMENT :
ก็ยังไม่ได้คำตอบว่า จะเล่นกับ จีเอ็มโอ ทำไมต้องใส่ "หน้ากาก-ถุงมือ" ด้วย


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/12/2015 5:40 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 21/09/2015 11:28 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 ภาค 2 – เรื่อง GMO คงต้องคุยยาว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 12 ภาค 2 – เรื่อง GMO คงต้องคุยยาว

ภาค 2 (4.2) จาก GMO ถึง Mutation และ ....Go Ahead….

ระยะนี้ฝนฟ้าไม่ได้ตกต้องตามฤดูกาล อะไร ๆ มันก็ดูอึมครึม วุ่นวายไปหมด..... หยุดอ่านซักนิดครับ


(1) คำสอนหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระอรหันต์ชั้นป.4


(2) บารมีพระมากพ้น รำพัน


(3) พระพิทักษ์ยุติธรรม์ ถ่องแท้


(4) บริสุทธิ์ดุจดวงตะวัน ส่องโลก ไซร้แฮ


(5) ทวยราษฎร์รักบาทแม้ ยิ่งด้วย บิตุรงค์........
ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ


(6) ผมคือไทย พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด เทียด ทอด แทด ของผมคือไทย หาใช่คนที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร แล้วมาก่อกวนความไม่สงบสุขของคนไทยไม่....(ลุงคิมชอบพูดถึง พระเจ้าพีล่อโก๊ะ โก๊ะล่อฝง สมัยนั้นใช้ธงแบบไหนครับลุง)


เข้าเรื่องเลยนะครับ.....
ลุงบอกว่า..- ถามจริง ไม่เข้าใจโจทย์ หรือตอบแบบเลี่ยงบาลี
ตอบจริงครับว่า......โจทย์น่ะ ผมกับทิดบัติ เข้าใจครับ

ส่วนที่ว่า - หรือตอบแบบเลี่ยงบาลี
ตอบว่า.....คงมั๊งครับ.....เพราะมันมีเคยตัวอย่างมาแล้ว กัมมุนา วัตะตี โลโก - สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
ความจริง เป็นสิ่งที่ไม่ตาย แต่คนพูดความจริง ตายทั้งเป็น เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง


ทิดบัติมันมีครอบครัว มีเมีย มีลูกยังไม่โต แถมมีแม่ยายอีกคนที่ต้องดูแล เป็นไรไปมันก็เดือดร้อน

ส่วนผม หัวเดียวกระเทียมลีบ กลีบเดียวกระเทียมปาย ลูกเต้าแตกกระสานซ่านกระเซ็น แยกย้ายกันไปคนละทิศละทาง

ผมก็เลยบอกมันว่า มึงคอยดูแก้ไขข้อมูล กูแสดงเอง เป็นไรไป...ข้าวผัดใบกระเพรากับโอเลี้ยง ไม่เอา ขอข้าวผัดปู กับโอเลี้ยง คาเฟ่เดอฟิน พอ.....

มีรูปแยะ แต่กั๊กเอาไว้ตอนท้ายครับ เอาเนื้อเรื่องก่อน...ว่ากันเป็นฉาก ๆ ไปเลยนะครับ ผิดถูกยังไง ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว (พูดยังก๊ะ ท่านจอมพลสฤษดิ์แน่ะ)

ยังไง ๆ ก็ไม่โดนคนเดียวหรอกนะ เพราะ ข้อมูลได้จาก

http://www.thaibiotech.info/



อันว่า พืช GMOs หรือ พืชดัดแปลงพันธุกรรม คือ พืชที่ได้รับการคัดเลือกให้มาผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม(Genetic Engineering) เพื่อที่จะให้พืชชนิดนั้นมีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่จำเพาะเจาะจงตรงตามความต้องการ

เช่น พืชที่ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่ไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโต, พืชที่มีความสามารถต้านทานแมลงศัตรูพืชได้, พืชที่มีสารอาหารทางโภชนาการหรือสารชีวโมเลกุลบางชนิดที่เพิ่มขึ้น เช่น มี โปรตีน หรือ วิตามิน หรือ ไขมัน ที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น

พืช GMO หรือ GMOs หรือ พืชดัดแปลงพันธุกรรม ถือว่าเป็น จีเอ็มโอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) หรือ สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ประเภทหนึ่ง ซึ่งพืชที่ผ่านการตัดต่อยีน(Gene)แล้วจากกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) มีอีกชื่อเรียกหนึ่งที่มักเรียกกัน นั่นคือ “Transgenic Plant”

ก็มีคำใหม่โผล่เข้ามา พันธุวิศวกรรม(Genetic Engineering)

คำถามที่ตามมาคือ พันธุวิศวกรรม คือ อะไรล่ะ (What is genetic engineering ?)

พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) คือกระบวนการที่ได้นำความรู้ต่างๆที่ได้จากการศึกษาชีววิทยาระดับโมเลกุล หรือ อณูชีววิทยา (molecular biology) นำมาประยุกต์ใช้ใน การปรับเปลี่ยน, ดัดแปลง, เคลื่อนย้าย, ตรวจสอบ สารพันธุกรรม[ดีเอ็นเอ (DNA)], ยีน(gene) และผลิตภัณฑ์ของสารพันธุกรรมอย่างพวกอาร์เอ็นเอ(RNA)และโปรตีนของสิ่งมีชีวิต เพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์

โดยปกติแล้ว พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) จะเป็นการตัดต่อยีน(gene)หรือเป็นการเคลื่อนย้ายยีน(transgenesis)จากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ใส่เข้าไปกับยีน(gene)ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง

อ่านแล้วเข้าใจตรงนี้มั๊ยครับ

นั่นคือทำให้เกิดการถ่ายทอดของยีน(gene)และลักษณะที่ยีน(gene)นั้นได้ทำการควบคุมอยู่ เพื่อให้สิ่งมีชีวิตที่ถูกนำยีน(gene)ใส่เข้าไป มียีน(gene)ที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ

โดยอาจทำการเพิ่มปริมาณยีน(gene)ขึ้นอีกเพื่อให้มีปริมาณที่มากเพียงพอที่จะนำไปทำให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพที่ดีขึ้น และทำให้ได้ปริมาณของผลผลิตที่สูงขึ้นอีกด้วย โดยที่พันธุวิศวกรรม (genetic engineering)อาจจะทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่(novel)ที่อาจไม่เคยปรากฏในธรรมชาติมาก่อน

ตัวอย่างที่ทำพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) เช่น การใส่ยีน(gene)ที่สร้างฮอร์โมนอินซูลิน(insulin)เข้าไปในแบคทีเรียหรือยีสต์ เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเหล่านี้สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน(insulin)ได้ แล้วทำการเพาะเลี้ยงสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ให้ได้ในปริมาณที่มากเพื่อจะได้ผลิตฮอร์โมนอินซูลิน(insulin)ได้มากตาม โดยสามารถนำมาทำการสกัดให้บริสุทธิ์เพื่อใช้ทำการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานได้ เป็นต้น

สิ่งมีชีวิตที่ได้จากพันธุวิศวกรรม (genetic engineering)ที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายยีนเรียกว่า สิ่งมีชีวิตเคลื่อนย้ายยีน (transgenic organisms) อย่างในกรณีของพืชก็จะถูกเรียกว่า transgenic plants (พืชเคลื่อนย้ายยีน หรือ พืชดัดแปลงพันธุกรรม)

แต่มักจะเรียกสิ่งมีชีวิตที่ได้จากพันธุวิศวกรรม (genetic engineering)รวมๆโดยทั่วๆไปว่าเป็น สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม หรือ สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (genetically modified organisms, GMOs)

โดยที่มีการกล่าวกันว่าการเกิดพันธุวิศวกรรม(genetic engineering)คือการปฏิวัติครั้งใหญ่ในด้านการเกษตร และการแพทย์ ที่เรียกว่า Genomic revolution

(ซึ่งเป็นวิวัฒนาการทำให้เกิดการกลายพันธุ์ )


การกลายพันธุ์ >
การกลายพันธุ์ หรือ มิวเทชั่น (mutation) คือ อะไร (What is mutation ?)

การกลายพันธุ์ หรือ มิวเทชั่น (mutation) คือ สภาพของสิ่งมีชีวิตที่เกิดมีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ทำให้พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่เกิดการกลายพันธุ์ (มิวเทชั่น,mutation)นั้น เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยเป็น หรือ แตกต่างไปจากประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น โดยเฉพาะ การเปลี่ยนแปลงของยีน(gene)ของสิ่งมีชีวิตนั้น

การกลายพันธุ์ (มิวเทชั่น, mutation) จัดว่าเป็นกลไกหนึ่งของการวิวัฒนาการ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม หรือ แย่ลงกว่าเดิมก็ได้ หรือ อาจจะทั้งไม่ดีขึ้นและไม่แย่ลงเลยก็ได้

ถ้าดีกว่าเดิมอาจทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีการกลายพันธุ์ (มิวเทชั่น,mutation)นั้นอยู่รอดในธรรมชาติได้ดีกว่าเดิม(เกิดวิวัฒนาการที่ดีขึ้น) หรือ

ถ้าแย่กว่าเดิมอาจทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีการกลายพันธุ์ (มิวเทชั่น, mutation)นั้นเกิดโรค หรือ ภาวะต่างๆที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตก็ได้(เกิดการวิวัฒนาการที่ไม่ดี)

การกลายพันธุ์ (มิวเทชั่น, mutation)ที่เซลล์ร่างกาย(somatic cell)และเซลล์สืบพันธุ์

- การกลายพันธุ์ (มิวเทชั่น, mutation)ที่เซลล์ร่างกาย (somatic cell)

จะเกิดกับยีน(gene)ในเซลล์ต่างๆของร่างกาย อาจมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของส่วนของร่างกายไปจากเดิม เช่น เกิดเนื้องอก โรคมะเร็ง เป็นต้น

- การกลายพันธุ์ (มิวเทชั่น, mutation)ที่เซลล์สืบพันธุ์
จะเกิดกับยีน(gene)ในเซลล์สืบพันธุ์ อาจทำให้ยีน(gene)หรือแอลลีล(allele)มีความผิดปกติ และสามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ อาจส่งผลภาวะผิดปกติในรุ่นลูกรุ่นหลานได้

ระดับของการกลายพันธุ์ (มิวเทชั่น, mutation) ที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตมีอยู่ 2 ระดับ คือ
- การกลายพันธุ์ในระดับโครโมโซม (chromosomal mutation) คือ เป็นการกลายพันธุ์ (มิวเทชั่น, mutation)ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซม(chromosome) อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของโครโมโซม(chromosome)หรือการเปลี่ยนแปลงจำนวนของโครโมโซม(chromosome)
- การกลายพันธุ์ในระดับยีนหรือโมเลกุลของดีเอ็นเอ (DNA gene mutation)
คือ เป็นการเปลี่ยนแปลงของยีน(gene) หรือ เปลี่ยนแปลงของนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลของดีเอ็นเอ(DNA)


สาเหตุของการกลายพันธุ์ (มิวเทชั่น, mutation)
- เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ (spontaneous mutation) หรือ เกิดจากสิ่งก่อกลายพันธุ์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น

ในการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication) อาจมีการนำเบสที่ไม่ถูกต้องใส่เข้าไปในดีเอ็นเอ(DNA)สายใหม่, รังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ โดยที่ไม่ได้เกิดจากมนุษย์ใช้สารเคมีหรือรังสีเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์ (มิวเทชั่น, mutation)

- เกิดจากการเหนี่ยวนำ (induced mutation) เป็นการกลายพันธุ์ (มิวเทชั่น,mutation)

ที่มนุษย์ใช้สารเคมีหรือรังสี ทำให้ดีเอ็นเอ(DNA) หรือ ยีน(gene) หรือ อาร์เอ็นเอ(RNA) ของสิ่งมีชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลงและเกิดลักษณะแปลกใหม่ที่กลายพันธุ์ไปจากเดิม สารเคมีหรือรังสีที่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ (มิวเทชั่น, mutation)นี้ เรียกว่า “สิ่งก่อกลายพันธุ์ (มิวทาเจน, mutagen)”


Data from.-
http://www.thaibiotech.info/



(7) จับเมล็ดธรรมดา ไม่ต้องใส่ถุงมือ แต่จับเมล็ด GMO ใส่ถุงมือทไม คิดซีจ๊ะ ถ้าไม่อันตราย มึงกลัวอะไร.....ในรูปมีคำว่า Pesticides แปลว่า เต็มไปด้วยยาฆ่าแมลง มันหลีกเลี่ยงคำว่า Insecticides ซึ่งคำ ๆ นี้ใคร ๆ ก็รู้ แปลว่ายาฆ่าแมลงตรง ๆ ตัว


(8 ) ชุดที่ไม่เคยมีใครเคยเห็น....มนุษย์จากเมืองหมอกมั๊ง


(9 ) ชายผู้นี้ เคยทำหนังสือ คนค้นคน หรือ ค.ตน....ดันไปจี้ ซิฟฟิลิส หรือต่อมอะไรของใครเข้าก็ไม่รู้ เอาเรื่องข้าวไม่บริสุทธิ์ออกมาขาย...ข้าวตราที่พระรามพระลักษมณ์สรวมหัวน่ะ ไม่ติดคุก แต่ต้องยอมปิดหนังสือ ...ถึงได้บอกว่า ความจริงเป็นสิ่งที่ไม่ตาย แต่คนพูดความจริง ตายทั้งเป็น.....

แต่ก่อนข้าวตรานี้ปิดประกาศทั่วบ้านทั่วเมือง แต่ตอนนี้หายไปแล้ว น่าจะขายต่อ....อย่าลืมนะครับ ข้าวผัดปูกับกาแฟเดอฟืน


(10)

(11)
(10 - 11) ปัจจุบันชายดังกล่าว ไปขายข้าวอินทรีย์คุณธรรม ของกลุ่ม ตุ๊หล่าง ขายดิบขายดีจนไม่พอขาย โดยเฉพาะ ข้าวกล้องพื้นเมือง 150 สายพันธุ์


(12) ปลานิลที่ดูธรรมดา แต่ไม่ธรรมดา


(13) ปลาทับทิมที่ไม่ธรรมดา
(12 - 13) คนเลี้ยงปลาทั้งสองชนิดนี้ ถ้าไม่เลี้ยงด้วยหัวอาหาร......ปลาไม่มีวันโต.....อีกหน่อยนะ ปลานิลพันธุ์แท้ ที่พระจักรพรรดิ์ อากิฮิโต้ ถวายให้ในหลวง
จะไม่มี จะมีแต่ปลานิลแบบเนี๊ยะ....แบบไหน....คิดเอาเองครับ


(14) ปลาแซลมอน GMO ที่นิตยสาร NGO เอามาลงตีพิมพ์ เอาความจริงมาเผย ไม่เห็นมีใครกล้าปิดเลยว่ะ


(15)

(16)

(17)
(15 - 17) อ่านรายละเอียดดูเอาเองครับ


(18 ) คนนี้ครับลุง ที่เคลื่อนย้ายพันธุกรรม เอาหน่อกล้วยไข่จาก RKK ไปปลูกที่ปาย


(19) รออัศวินม้าขาวมาแก้สถานะการณ์ครับ

ไหนๆ ก็ไหนๆ ต่อให้จบเลยนะครับ.....ของจริงจากข้างสวนผมเอง

เอามะละกอ GMO มาปลูก.....สบายแฮไปเลย



(1)

(2)

(3)

(4)

(5)

(6)

(7)
(1 - 7) ปลูกใหม่ๆ มันงามซะไม่มีละ พอออกลูกมันก็เหี่ยว เกษตรอำเภอมาดู ..พูดสั้นๆ คำเดียว มะละกอ GMO เจ้าของสวน งง ไม่รู้เรื่อง ถามว่า จะให้ทำไง ใช้ยาอะไรฉีด คำตอบคือ ห้ามกิน ห้ามขาย ให้ตัดทิ้ง ทำลายให้หมด เดี๋ยวเป็นมะเร็ง ....แค่นี้แหละ ดุจไฟลามทุ่ง รู้กันไปทั่งทั้ง 5 ตำบล.....
โอละเห่ โอละหึก แม่นาคลุกมาตอนดึกมานั่งกล่อมลูก โหววววว...



(8 ) ไม่มีคำอธิบายครับ


อยากรู้มั๊ยครับว่า ใครคือโจรปล้นชาติ.......


คราวหน้าแล้วกันครับ .....

ฝากไว้นิด
คนเรานะครับ จะรู้สึกว่าตัวเองมีเกียรติอันสูงยิ่ง จากการดูถูกเพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้อย่างไร

อยู่ให้คนสาปแช่ง ดีกว่าสาปแช่งตอนไม่อยู่


ขอบคุณครับลุง


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 29/09/2015 11:19 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO#2 (5) (6) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 13 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO#2 (5) (6) (7) (8 )

บทที่ 2 – (5) ..... Propaganda ….เรื่องจริงที่ไม่ใช่อิงนิยาย


(5) เหล่าบรรษัท บริษัททั้งหลายนำโดยมอนซานโตที่ร่วมกันลงขันโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านการลงคะแนนเสียงให้ Prop 37 ติดฉลากจีเอ็มโอ
........กลัวว่าอีกไม่นานบริษัทฝั่งขวาจะโดนซื้อกิจการหรือไม่ก็โดนฟ้องหมด

ความคิดเห็น
1 ..........ตอนนี้พืชเอ็มจีโอที่อเมริกาเจออากาศแปรปวนตายเสียหายมาก แต่พืชธรรมชาติรอด ในอนาคตเอ็มจีโอจะแพ้ธรรมชาติ ไม่มีอะไรชนะธรรมชาติได้ ธรรมชาติยิ่งใหญ่เสมอ

2 .........ท้ายสุด คนปลูกก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะรับสิ่งที่เขาทำ เพราะเมื่อเขาทำ ใจเขา กายเขาก็ทุกข์และรับกรรมจากการกระทำของเขา เพราะสารทั้งหลายแหล่ มันก็อยู่ในแปลงที่เขาทำนั่นแหละ

3 ............หนับหนุนฝั่งเขียว


บทที่ 2 – (6) ..... มหา(บรร)ลัย ขายตัว


(6) หยุดมอนซานโต้ทดลองข้าวโพด GMOs ในเขตมหาวิทยาลัยนเรศวรและจังหวัดพิษณุโลก — กับ ปารีส ฝรั่งเศส

case Study ของบริษัทเหรี้ยนี่มีเยอะแยะ แต่ทำไมมันยังเข้ามาได้อีก น่าคิดนะครับเนี่ย ส่งสัยโดนเงินฟาดหัวกันมึนไปหมด

เรียน ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ครับ ประเทศไทยห้ามทดลองห้ามปลูกพืช GMO ขอให้ท่านดำเนินการตามกฎหมายไทยกับผู้ที่ฝ่าฝืนด่วนที่สุดครับ ไม่งั้นผลกระทบอนาคตรุนแรงต่อการเกษตรไทย

บทที่ 2 – (7) ..... ระบบเกษตรที่คนไทยต้องการ


(7) จัดไปตามนั้น

บทที่ 2 – (8 ) ..... ไม่น่าจะไปรอด....


(8 ) ประเทศไทยโดนเอาเปรียบหรือเปล่า


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 12/11/2015 11:59 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO 2 ตอนที่ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 13 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO # 2 (9 - 16)


บทที่ 2 – (9) .....ตาอิน กะ ตานา....





(9) ดูจากรูปนี้แล้ว ประเทศไทยเหมือนโดนล่าอาณานิคมทางปัญญา
…… ยิ่งคนไทยร้องเพลงตาอินกะตานา แล้วยังไม่รู้สึกสำนึก เฮ่อ...ตาอยู่ซำบาย 555


หรือจะต้องร้องเพลง.....พี่รู้สึกตัวก็สายเสียแล้ว......
ความเห็นส่วนตัว ผมดู ๆ แล้ว.....อาเซี่ยน จะไปไม่รอดครับ......


บทที่ 2 – (10) .....ขอยืมคำพูดของ(อ้าย) ประชา นอกพรหม มาพูดหน่อย...เอาอยู่ แต่น้ำท่วมเกือบมิดหัว....(คำว่า อ้าย – ภาษาเหนือแปลว่า พี่ชาย นะคร้า)





(10) เอาซี้ๆๆ เข้ามาเลย ตั้งรับอยู่
………. อาการน่าเป็นห่วง ต้นทุนเราสูงจริงๆ ต่อไปไม่ต้องทำนา ซื้อข้าวจากประเทศอื่นมากิน งานนี้ชาวนาไทย จบเลย

………. มีของดีต้องเปิดให้คนอื่นหมดกระนั้นหรือ? แม้กระทั่งของรักของหวงของจำเป็นสำหรับเราคนไทย?

ยางพันธุ์ดี....เอาไปให้ญาติที่เมืองจีน ปั่นตา ปลูก(เป็นล้านไร่แล้วมั๊ง...ราคายางในประเทศเลยตกฮวบ) และยังมีอื่น ๆ อีกแยะ..ฯลฯ ขายชาติชัด ๆ




บทที่ 2 – (11) .....มันจะเปิดเสรีอะไรกันนักกันหนา






(11) อยากจะถามว่า มันจะเปิดเสรีอะไรกันนักกันหนา เตรียมตัวตายเถอะพี่น้องไทย



บทที่ 2 – (12) .....ให้มันรวยซะให้เข็ด





(12) ให้มันรวยซะให้เข็ด ก่อนที่มันจะไม่มีอะไรเหลือ ไม่งั้น อาณาจักรโรมัน ก็อยู่มาถึงป่านนี้น่ะซี




บทที่ 2 – (13) .....AEC ใครได้ผลประโยชน์





(13) งานนี้ ใครบ้างที่ได้ผลประโยชน์ และใครบ้างที่โดนผลกระทบ




บทที่ 2 – (14) เตรียมตัว ตายทั้งเป็น





(14) เตรียมตัว ตายทั้งเป็น




บทที่ 2 – (15) กลุ่มทุนไทย ที่ไปลงทุนในอาเซี่ยน





(15) มีใครบ้าง ดูเอาเองเด๊อหล่า


15 ขออนุญาติถามน่ะคะ จากภาพ คือ จะเห็นได้ว่า สิงค์โปร์เป็นประเทศเดียวที่บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ไม่ได้เข้าไปลงทุน โดนกีดกันรึป่าวค่ะ???

Biothai สิงคโปร์ก็มีกลุ่มทุนไทยไปลงทุน แต่ปริมาณน้อยถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆ

- คนที่จะได้ประโยชน์ในแง่การลงทุนของอาเซียน ไม่น่าจะเป็นเพียงแต่บริษัทใน diagram เหล่านี้ และไม่เชื่อว่าจะเป็นทุนไทย ควรตามไปดูการลงทุนของกลุ่มประเทศ + 3 หรือ + 6 แล้วกลับไปทบทวนเรื่องแนวคิดการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2030-2050 ที่มีนักวิชาการหลายสำนักวิเคราะห์ไว้ก่อนหน้านี้ จะได้ภาพที่มีกรอบใหญ่กว่า และจะเห็นถึงโลกทั้งใบมากกว่า

Biothai แผนภาพนี้เน้นที่กลุ่มนักลงทุนไทยเท่านั้นก่อน ภาพการลงทุนทั้งภูมิภาคค่อยทยอยเอามาลงต่อไป

ที่เวียดนาม ก็ มีห้าง บิกซี ค่ะ แต่ทำไมในนี้ ไม่มีลงไว้ค่ะ

บิ๊กซ๊มันของ คนไทยเต็มตัวที่ไหน ของ ฝรั่งเขา

ค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่เป็นของต่างชาติทั้งนั้นค่ะ



บทที่ 2 – (16) พร้อมกันหรือยัง





(16) การเตรียมความพร้อม ไทยเรา ทำกันไปถึงไหนแล้ว.....เงียบฉี่



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 13/11/2015 10:55 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 ภาค 2 GMO คนไทยตายแบบผ่อนส่ง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 12 ภาค 2 GMO คนไทยตายแบบผ่อนส่ง

ภาค 2 (4.3) – งานนี้ พังพาบ ยิ่งกว่าใช้ปุ๋ยชีวภาพ.....
.


เรามาถึงจุดนี้กันได้อย่างไร

ยุคสมัยที่พ่อค้าใส่ยาพิษในอาหารให้คนกินได้อย่างเสรี

ยุคสมัยที่นายทุนทำร้ายได้แม้กระทั่งเด็ก

ยุคที่คนกินต้องระวังของกินของตัวเอง


ดูจากรูป...ไม่ต้องมีคำอธิบาย เพื่อน ๆ คงเข้าใจนะครับ


(1)

(2)

(3)

(4)

(5)

(6)

(7)

(8 )



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 01/12/2015 9:37 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 13 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO#2 (17 - 2 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 13 ไม่อยากเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ หยุด GMO#2 (17 - 20)

บทที่ 2 – (17) 3 ลด 3 เพิ่ม

(17) 3 ลด 3 เพิ่ม.....เรื่องนี้ ลุงคิมเคยพูดถึงนะ นานมาแล้วด้วย รู้สึกว่าจะลงรูปไว้ในเรื่องข้าว (โดนโปรแกรมลบไปหรือยังไม่รู้เหมือนกัน)

ด๋ำ ได๋ เด่า ดิ้นกะด๊อก กะแด๊ก กำเอิน กำอิเนไก๊หยี่.....กำเอิน หมักคงก๊อเตี่ยน ....

เราใจร้อน จึงเดือดร้อนภายหลังเสมอ

เกษตรกรรม หรือกรรมของเกษตรกร นี่แหละเมืองไทยเฮ้อ)

รัฐบาลมีนโยบายทำร้ายเกษตรกร....กระทรวงเกษตรพึ่งไม่ได้..และนักวิชาการไม่กล้าชน..ประชาชนไร้ที่พึ่ง..ผังเมืองอ้างต้องพัฒนาส่งเสริมอุตสาหากรรมทำลายแหล่งอาหาร...ถ้ารัฐคิดแบบนี้ ตายแน่ๆ ประเทศไทย..

เราจะเดินหน้ากันแบบผิดๆๆๆๆหรืออย่างไร

ปลูกข้าว ปลูกผักไว้กินเองเถอะครับ


บทที่ 2 – (18 ) บทเรียนจากชาวไร่ข้าวโพดเม็กซิโก


(18 )
บทที่ 2 – (19 ) แบ๊ะ ๆๆๆๆ


(19) ข้อมูลเหล่านี้น่าส่งให้อาจารย์ ม.นเรศวร สำเนียกบ้างนะ..
หรือเงินปิดปาก ปิดหู ปิดตา อยู่ครับ



บทที่ 2 – (20) .....มันจะเกินไปหรือเปล่า


(20) เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกเองก็โดนฟ้อง..เฮ๊ย ...มันจะเกินไปหรือเปล่า




ใครคือโจรปล้นชาติ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
boonsue
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 04/07/2013
ตอบ: 36

ตอบตอบ: 03/12/2015 7:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

สวัสดีค่ะลุงคิม น้าแดง และสมช.ทุกท่านค่ะ

อ่านแล้วรู้สึกหดหู่ น่าสงสารประเทศไทยค่ะ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 12/12/2015 9:01 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 (6) คนไทยทั่วประเทศต่อต้าน พรบ.GMOs(1 - Updat ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 12 (6) คนไทยทั่วประเทศต่อต้าน พรบ. GMOs(1)


ภาค 2 (5)– งานนี้ พืช ผัก ผลไม้ เมืองไทยจะพังพาบ ยิ่งกว่าใช้ปุ๋ยชีวภาพ.....


บทความนี้ ยาวหน่อยครับ แต่มีประโยชน์มาก ๆ ต่อการเกิดหรือการเป็นโรคร้ายกับตัวคุณและครอบครัว รวมทั้งคนใกล้เคียง (คนปลูก คนทำ มันยังไม่กล้ากิน แต่มันปลูก มันทำ แล้วเอามาให้พวกคุณกิน ร้านสะดวกซื้อนั่นแหละ ตัวแสบ GMOs เลวระยำจริง ๆ)

ผมได้นำเสนอเรื่อง GMOs มาหลายตอนแล้ว มีใครสำเหนียกกันบ้างหรือเปล่า ตอนนี้คนไทยกำลังตื่นตัวเรื่องสินค้า ออร์แกนนิก(Organics) และเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ ซึ่งไอ้พวกนิยม GMOs ไม่ชอบ มันก็เร่งให้ภาครัฐออกกฎหมาย ให้ปลูกพืช และขายสินค้า GMOs ได้เสรีในประเทศไทย โดยมีนักวิชาการขายตัว ออกมาบอกว่า พืช GMOs กับพืชปกติ อยู่ด้วยกันได้.....

เถียงกันก็ไม่จบ ทางที่ดี ให้ไอ้พวกสนับสนุน GMOs ให้มันกินอาหาร GMOs ติดต่อกันทุกมื้อ ทุกวัน ซักสองสามปีดูซิว่า ยีนส์ในตัวมันผู้นั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร


ฟังความข้างเดียวก็จะไม่เป็นธรรม ลองไปฟังจากผู้สนับสนุน GMOs ในประเทศไทยกันก่อน





(1) กลุ่มสนับสนุนจีเอ็มโอในประเทศไทย เค้าบอกว่า พืช GMOs กับพืชทั่วไปอยู่ร่วมกันได้

หลังจากสวทช.ได้เผยแพร่อินโฟกราฟฟิคดังกล่าวได้ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งในเพจของสวทช. เอง และในเพจของ BIOTHAI

คือว่า เค้าใช้ "มะละกอ" เป็นพืชนำร่องในการผลักดันจีเอ็มโอในประเทศไทย หลังจากล้มเหลวจากการผลักดันฝ้ายบีทีเมื่อปี 2542 เนื่องจากปัญหาการปนเปื้อนทางพันธุกรรมจากแปลงทดลองของราชการ

ทั้งนี้โดยโหมประโคมสร้างความชอบธรรมในการผลักดันมะละกอจีเอ็มโอ โดยครั้งแรกเมื่อปี 2550 ได้ใช้วิธีลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันว่ามะละกอกำลังหมดประเทศจากโรค ปั้นข้อมูลเท็จเรื่องพื้นที่ปลูกลดลง

และต่อมาตั้งแต่ปี 2556-2558 ได้ทำคลิปวีดีโอและเดินสายบรรยาย อ้างว่า “โรคไวรัสใบด่างจุดวงแหวนได้ทำลายพื้นที่ปลูกมะละกอในประเทศไทยจนแทบปลูกไม่ได้ ราคามะละกอแพงมาก จนแม่ค้าต้องหันมาใช้แครอทผสมในส้มตำเกือบครึ่งจาน และทางออกเดียวในการแก้ปัญหาคือจีเอ็มโอ ฯลฯ” มีสถาบันวิทยาศาสตร์ของรัฐสนับสนุน

(http://nstdachannel.tv/20150424-vittaya/) และนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงบางคนเป็นกระบอกเสียงเผยแพร่ข้อมูลซึ่งไม่เป็นความจริงดังกล่าว

ตัวอย่างเช่น การจัดทำคลิปเผยแพร่ "วิทยาตาสว่าง ตอนมะละกอจีเอ็มโอ" (นาทีที่ 2.30 https://www.youtube.com/watch?v=XuZRBCAkI7w )

คลิปคนไทยถูกหลอกให้กลัวจีเอ็มโอ
(นาทีที1.18 https://www.youtube.com/watch?v=CK1Y9pzv0cc#t=57)

รายการ "คมชัดลึก"ออกอากาศในเนชั่นทีวี วันที่ 22 ตุลาคม 2557
( นาทีที่ 14.35 โดยประมาณ
https://www.youtube.com/watch?v=oLSMQCGH5to


แต่ในความเป็นจริง

1)ผลผลิตมะละกอของประเทศไทยย้อนหลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 195,373 ตันในปี 2007 เพิ่มขึ้นเป็น 215,000 ตันในปี 2012 (FAO)

2) ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของมะละกอในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 1,576 ก.ก./ไร่ เพิ่มขึ้นเป็นระหว่าง 2,714-2,850 ก.ก./ไร่ ในช่วง 2001-2011 (FAO)

3) ราคามะละกอดิบถูกกว่าแครอทมาก เช่น ตั้งแต่มกราคมถึงธันวาคม 2558 มะละกอมีราคาเฉลี่ย 9.1 บาท ต่อกิโลกรัม ในขณะที่ราคาแครอทนอกมีราคา27.2 บาท/กิโลกรัม หรือแพงกว่า 3 เท่าตัว(ส่วนแครอทที่ปลูกในประเทศไทยซึ่งผลิตได้ค่อนข้างน้อยนั้นราคาสูงกว่าแครอทนอก) การที่แม่ค้าหรือผู้ปรุงส้มตำใส่แครอทลงไปในจานจึงมาจากเหตุผลอื่นมิใช่จากมะละกอมีราคาแพงแต่อย่างใด

(ที่มาhttp://www.taladsimummuang.com/dmma/Portals/PriceListYear.aspx?cate=01&year=2558)

4) การอ้างว่าการแก้ปัญหาโรคไวรัสใบด่างจุดวงแหวนมีทางออกเดียวคือการใช้จีเอ็มโอก็ไม่เป็นความจริง ดังที่ เม็กซิโก บราซิลกัวเตมาลา และมาเลเซีย เพื่อนบ้านซึ่งมีพรมแดนติดกับประเทศไทยสามารถส่งออกมะละกอมากที่สุดเป็นอันดับ 1-4 ของโลกโดยไม่ต้องพึ่งพามะละกอจีเอ็มโอแต่ประการใด

น่าเสียดายที่หน่วยงานของรัฐกลับเป็นผู้เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงเสียเอง โดยนำคลิปวีดีโอดังกล่าวมาเผยแพร่ในเว็บไซท์สื่อสารของหน่วยงาน

(http://nstdachannel.tv/20150424-vittaya/)

คลิป "วิทยาตาสว่าง" ซึ่งประสงค์จะให้คนไทยได้ใช้หลักการและข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์เพื่อการใช้ชีวิตด้วยความรู้ กลับกลายเป็นการเผยแพร่ข้อมูลเท็จเพียงเพื่อผลักดันจีเอ็มโอ เป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของสถาบันวิทยาศาสตร์ของสังคมไทย และนักวิทยาศาสตร์ผู้เผยแพร่คลิปดังกล่าวเสียเอง

ไบโอไทยได้ท้วงติงเรื่องนี้มาตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2014 แต่ก็ยังไม่เห็นมีการแก้ไขคลิปดังกล่าว และยังไม่มีการถอดคลิปดังกล่าวจากเว็บไซท์ของหน่วยงาน

คนที่ตั้งตนตัดสินคนที่คัดค้านจีเอ็มโอโดยกล่าวหาผู้อื่นว่า บิดเบือนบ้าง ลวงโลกบ้าง แต่กลับเผยแพร่ข้อมูลเท็จเสียเอง ไม่หันมามองตัวเองบ้างเลยหรืออย่างไร ?

มาตรฐานของวิทยาศาสตร์ต้องไม่ใช่สองมาตรฐาน กรณีคลิป "เกษตรพันธสัญญา" ซึ่งข้อมูลบางประการกระทบต่อภาพจน์ของบรรษัทอาหารยักษ์ใหญ่ ท่านกลับไปเป็นพยานเพื่อให้ตำรวจนำผู้เผยแพร่มาแสดงความรับผิดชอบ แต่คลิปที่ท่านผลิตเอง มีข้อมูลและหลักฐานยืนยันชัดเจน มีผู้ทักท้วงแล้วว่าข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง แต่กลับไม่นำพาแก้ไข ไม่แสดงสปิริตกล่าวขอโทษที่เผยแพร่ข้อมูลเท็จ หรือเป็นเพราะคลิปหลังนี้เป็นประโยชน์ต่อบรรษัท ?

นี่คือตัวอย่างรูปธรรมของ "วิทยาศาสตร์บรรษัท" ซึ่งเป็น "วิทยาศาสตร์จอมปลอม" ที่น่ากลัวที่สุด วิทยาศาสตร์ประเภทนี้กลืนกินจิตวิญญาณของนักวิทยาศาสตร์มานักต่อนักแล้วทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว






(2) การปนเปื้อนที่ไม่อาจควบคุม

ตีแสกหน้า สวทช. 'คำแนะนำปลูกจีเอ็มโออยู่ร่วมกันได้' ล้มเหลว


ตามที่ สวทช.หรือ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้ เผยแพร่อินโฟกราฟฟิคเพื่อบอกว่าการปลูกพืชจีเอ็มโอร่วมกับพืชอื่นเป็นไปได้ โดยเสนอให้มีการปลูกพืชเหลื่อมเวลา และการปลูกต้นไม้ใหญ่เป็นแนวกันชนนั้น

มูลนิธิชีววิถีได้เผยแพร่คำอธิบายโต้แย้งผ่านเพจ BIOTHAI ระบุว่า ข้อแนะนำดังกล่าวของ สวทช. หน่วยงานที่เป็นสถาบันทางวิทยาศาสตร์ของประเทศเป็นคำแนะนำที่ล้มเหลวยากที่จะปฏิบัติได้ เพราะเกษตรกรไทยมีพื้นที่เกษตรเฉลี่ยอยู่ที่ 15-20 ไร่เท่านั้น

การปลูกพืชเหลื่อมเวลาทำได้ยากมากเพราะการปลูกพืชไร่เป็นการปลูกพืชที่อาศัยน้ำฝน เมื่อถึงฤดูเกษตรกรจะปลูกพืชพร้อมกัน ไม่สามารถจัดการให้เหลื่อมเวลาเพื่อป้องกันการปน

ข้อเสนอของนักวิทยาศาสตร์บางคนที่เสนอให้ทำแนวกันชนแบบต่างประเทศก็เป็นข้อเสนอที่ยิ่งกว่าล้มเหลว เพราะการทำแนวกันชนระหว่างแปลงที่ระยะ 200 เมตร ซึ่งเป็นคำแนะนำทั่วไปนั้น จะทำให้เกษตรกรไม่เหลือพื้นที่ปลูกพืชที่ต้องการปลูกได้เลย (พื้นที่ 15 ไร่มีขนาดประมาณ 155 X 155เมตร การเว้นระยะ 200 เมตรรอบพื้นที่เกษตรเป็นไปไม่ได้)


ที่สำคัญงานศึกษาล่าสุดในยุโรปงานวิจัยล่าสุด โดย Frieder Hofmann และคณะซึ่งศึกษาประสบการณ์การปลูกจีเอ็มโอของยุโรป โดยใช้เวลายาวนานในการติดตามถึง 10 ปี (2001-2010) ศึกษาในพื้นที่ 216 แห่งในเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และเบลเยี่ยม พบว่าเกสรข้าวโพดสามารถปลิวไปผสมข้ามได้ไกลถึง 4.5 กิโลเมตร

โดยในระยะห่างดังกล่าวยังมีโอกาสพบเกสรของข้าวโพดตั้งแต่หลายพันจนถึง 10,000 เกสร (ข้าวโพดหนึ่งต้นมีเกสรมากถึง 5-50 ล้านเกสร)

ผู้วิจัยได้เสนอให้การปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอต้องมีระยะห่างจากแปลงข้าวโพดทั่วไปหรือพื้นที่ที่ไม่ต้องการให้เกสรจากพืชจีเอ็มโอมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่น(เช่นแมลงที่ไม่ใช่เป็นศัตรูพืช)เป็นหลักกิโลเมตร แทนที่จะมีระยะห่างเพียง 200 เมตร ดังที่เป็นอยู่ในหลายประเทศ

ข้อเสนอของนักวิทยาศาสตร์บางคนและอินโฟกราฟฟิคของสวทช.จึงเป็นภาพสะท้อนความล้มเหลวของวิทยาศาสตร์ที่เหินห่างกับความเป็นจริง ไม่เข้าใจสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ประเภทนี้แหละที่ผลักดันหัวชนฝาให้ประเทศไทยปลูกพืชจีเอ็มโอ โดยไม่ได้มองมิติทางนิเวศเกษตร และเศรษฐกิจสังคมของประเทศตัวเอง

อนึ่ง หลังจากสวทช.ได้เผยแพร่อินโฟกราฟฟิคดังกล่าวได้ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งในเพจของสวทช. เอง และในเพจของ BIOTHAI





(3) งานวิจัยล่าสุด โดย Frieder Hofmann และคณะซึ่งศึกษาประสบการณ์การปลูกจีเอ็มโอของยุโรป โดยใช้เวลายาวนานในการติดตามถึง 10 ปี (2001-2010) ศึกษาในพื้นที่ 216 แห่งในเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และเบลเยี่ยม พบว่าเกสรข้าวโพดสามารถปลิวไปผสมข้ามได้ไกลถึง 4.5 กิโลเมตร

โดยในระยะห่างดังกล่าวยังมีโอกาสพบเกสรของข้าวโพดตั้งแต่หลายพันจนถึง 10,000 เกสร (ข้าวโพดหนึ่งต้นมีเกสรมากถึง 5-50 ล้านเกสร)

ผู้วิจัยได้เสนอให้การปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอต้องมีระยะห่างจากแปลงข้าวโพดทั่วไปหรือพื้นที่ที่ไม่ต้องการให้เกสรจากพืชจีเอ็มโอมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่น(เช่นแมลงที่ไม่ใช่เป็นศัตรูพืช)เป็นหลักกิโลเมตร แทนที่จะมีระยะห่างเพียง 200 เมตร ดังที่เป็นอยู่ในหลายประเทศ

งานศึกษานี้ชี้ว่า เป็นเรื่องยากที่จะควบคุมการปนเปื้อนทางพันธุกรรมอันเนื่องมาจากพืชจีเอ็มโอได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยซึ่งเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดเป็นเกษตรกรรายย่อยมีพื้นที่ปลูกเฉลี่ยเพียงไม่กี่ไร่เท่านั้น

ดาวน์โหลดงานวิจัยนี้ได้จาก http://www.enveurope.com/content/26/1/24





(4)



(5)
(4 - 5) ข้าวดัดแปลงพันธุกรรม ถ้าเกสรข้าวจากนาแปลงนี้ โดยแมลงเป็นพาหะ หรือปลิวไปตกใส่เกสรข้าว ของนาข้างเคียง ผลจะเป็นฉันใด ใครบอกได้บ้าง คนที่สนับสนุน GMOs ตอบได้มั๊ย






(6) ถ้าเอายินส์ของผีเสื้อ มาฉีดใส่ยินส์ในข้าว...กินข้าว GMOs ซักปีสองปี ผมคงมีปีกงอก อุ๊ยตายว๊ายกรี๊ด...กูบินได้แล้วโว๊ย....

#ThailandNoGMO

มีท่านผู้ชม Comments. ครับ

……

ขอเอาไว้ต่อคราวหน้าครับ


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 25/12/2015 8:37 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 24/12/2015 9:19 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 คนไทยทั่วประเทศต่อต้าน พรบ. GMOs (1 ตอน 2) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 12 คนไทยทั่วประเทศต่อต้าน พรบ. GMOs (1 ตอน 2)


ภาค 2 (5) – Comments จากท่านผู้ชม.....






(1) No GMOs

บทความนี้ ยาวหน่อยครับ แต่มีประโยชน์มาก ๆ ต่อการเกิดหรือการเป็นโรคร้ายกับตัวคุณและครอบครัว รวมทั้งคนใกล้เคียง
(คนปลูก คนทำ มันยังไม่กล้ากิน แต่มันปลูก มันทำ แล้วเอามาขายให้พวกคุณกิน ร้านสะดวกซื้อนั่นแหละ GMOs ตัวแสบ เลวระยำจริง ๆ)

ผมได้นำเสนอเรื่อง GMOs มาหลายตอนแล้ว มีใครสำเหนียกกันบ้างหรือเปล่า ตอนนี้คนไทยกำลังตื่นตัวเรื่องสินค้า ออร์แกนนิค(Organics) และเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ ซึ่งไอ้พวกนิยม GMOs ไม่ชอบ มันก็เร่งให้ภาครัฐออกกฎหมาย ให้ปลูกพืช และขายสินค้า GMOs ได้เสรีในประเทศไทย โดยมีนักวิชาการขายตัว ออกมาบอกว่า พืช GMOs กับพืชปกติ อยู่ด้วยกันได้.....

เถียงกันก็ไม่จบ ทางที่ดี ให้ไอ้พวกสนับสนุน GMOs ให้มันกินอาหาร GMOs ติดต่อกันทุกมื้อ ทุกวัน ซักสองสามปีดูซิว่า ยีนส์ในตัวมันผู้นั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร







(2) หนูไม่เอา GMOs





(3) ปัญหาการปนเปื้อนทางพันธุกรรมของพืชจีเอ็มโอไปปะปนกับพืชทั่วไป

ทำให้เกิดปัญหาการส่งออกอย่างหนักในกรณีมะละกอจีเอ็มโอ โดยนับตั้งแต่เกิดปัญหาการหลุดลอดของมะละกอจีเอ็มโอจากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 ส่วนแยกพืชสวนท่าพระ จ.ขอนแก่น เมื่อปี 2547 ส่งผลให้ประเทศนำเข้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งยุโรปและญี่ปุ่นเฝ้าระวังปัญหาการนำเข้ามะละกอจากประเทศไทยเป็นพิเศษ และนำไปสู่การตีกลับมะละกอจากประเทศไทยเป็นจำนวนมาก

สถิติการส่งออกมะละกอจากประเทศไทยเคยสูงสูดประมาณ 2, 681 ตันในปี 2545 และรองลงมาในปี 2547 (2,417 ตัน) ได้ลดลงเหลือเพียง 549 ตันในปี 2556 คิดเป็นการลดลงประมาณ 4-5 เท่าตัว เนื่องจากปัญหาการปนเปื้อนดังกล่าว

ยุโรปพบการปนเปื้อนของมะละกอจีเอ็มโอครั้งแรกจากประเทศไทยเมื่อปี 2549 จำนวน 1 ตัวอย่าง ปี 2552 จำนวน 3 ตัวอย่าง ปี 2555 จำนวน 11 ตัวอย่าง และเพิ่มขึ้นเป็น 26 ตัวอย่างในปี 2556 โดยตรวจพบมะละกอจีเอ็มโอทั้งที่เป็นผลดิบและผลิตภัณฑ์มะละกออบแห้ง

สำหรับในกรณีญี่ปุ่นนั้น นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2556 กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการของญี่ปุ่น ได้สั่งให้ตรวจเข้มผลิตภัณฑ์มะละกอจากประเทศไทยมากขึ้น โดยสุ่มตรวจเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 ของการนำเข้าทั้งหมด พร้อมทั้งขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยตรวจหาสาเหตุของการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์มะละกอของไทย หลังจากตรวจพบว่าผลิตภัณฑ์มะละกออบแห้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากมะละกอจีเอ็มโอ ซึ่งไม่ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัย ขัดต่อกฎหมายสุขอนามัยอาหาร (Food Sanitation Act) ของญี่ปุ่น

การหลุดออกไปปนเปื้อนของมะละกอจีเอ็มโอเกิดขึ้นจากความบกพร่องของหน่วยงานราชการ และปัญหาดังกล่าวได้ขยายออกไปจนส่งผลกระทบต่อการค้าเนื่องจากการปล่อยปละละเลยของหน่วยงานรัฐ

ภายใต้ร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งเพิ่งผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมาจะไม่ช่วยให้มีการควบคุมการทดลองและการปลูกพืชจีเอ็มโออย่างมีประสิทธิภาพแต่ประการใด เนื่องจากเปิดช่องให้เจ้าของพืชจีเอ็มโอและหน่วยงานผู้รับผิดชอบไม่ต้องรับผิดชอบและชดใช้ความเสียหาย โดยอ้าง “เหตุสุดวิสัย” (กรณีอยู่ระหว่างการทดลองในสภาพควบคุมและการทดสอบภาคสนาม) และไม่บัญญัติให้ต้องชดใช้ความเสียหายในกรณีพืชจีเอ็มโอที่อนุญาตให้ปลูกเชิงพาณิชย์แล้ว

หากรัฐบาลเดินหน้าผลักดันพ.ร.บ.จีเอ็มโอฉบับนี้ และเปิดให้มีการทดสอบพืชดัดแปลงพันธุกรรมเช่น ข้าวโพดจีเอ็มโอ หรือข้าวจีเอ็มโอ เชื่อแน่ว่าจะเกิดปัญหาอย่างรุนแรงต่อเกษตรกรและผู้ประกอบการ และจะเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจที่ประเมินค่ามิได้ยิ่งไปกว่ามะละกอจีเอ็มโอ (ดังที่กระทรวงพาณิชย์ได้ท้วงติงเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบกฎหมายดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา) โดยไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและผลทางเศรษฐกิจสังคมอื่นๆ

ที่มา
https://www.facebook.com/biothai.net/photos/a.467826533255873.100128.183063271732202/1006664646038723/?type=3&theater



สรุปความคิดเห็นส่วนบุคคลในเรื่อง GMOs


1.- จนท.รัฐเคยรับผิดชอบอะไรบ้างกับความเสียหายมหาศาล????


2.- ขอถามนิดนึงนะครับ...
1.) ถ้าแครอทแพงกว่ามาก ทำไมแม่ค้าถึงได้เอาแครอทมาใส่ด้วยละครับ เพิ่มต้นทุนการผลิตไปมากเลย เท่าที่อ่านตามรายงานคือครึ่งต่อครึ่ง...ผมว่ามันไม่สนเหตุสมผลนะครับ

2.) ถ้าผมจำไม่ผิดบราซิลนี่ตัวดีเลยหรือเปล่าครับในเรื่องการผลิตพืช GMOs นะครับแล้วมะละกอของเขาไม่เป็น GMOs เหรอครับ ถ้าไม่เป็นแล้วเขาใช้วิธีไหนมาแก้ไขปัญหาโรคใบด่างจุดวงแหวนหรอครับ คือถ้ามีข้อมูลตรงนี้ก็จะสามารถยันได้ว่า GMOs ไม่มีความจำเป็นจริงๆ ต่อการป้องกันหรือกำจัดโรคนี้นะครับ


3.- นักวิทยาศาสตร์ที่คุณก็รู้ว่าใครคนนี้ เน้นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจากการฟังข้อมูลที่เล่าต่อมาอีกที่หนึ่ง และนำมาเผยแพร่จากความน่าเชื่อถือในเรื่องอื่นๆที่เคยนำเสนอทำให้สังคมสับสนกับข้อมูลจริงและเท็จที่ผสมกัน


4- หลักฐานที่เด่นชัดที่สุดคือGMO ไม่มีข้อพิสูจน์ว่าปลอดภัย แต่มีข้อมูลมากมายที่บ่งชี้ว่าGMOอันตราย และตราบใดที่ไม่มีข้อพิสูจน์ว่าปลอดภัย ก็มิควรจะอนุญาตให้นำเข้ามาในประเทศไทยเด็ดขาด ไม่ว่าจะเข้ามาเพื่ออะไรก็แล้วแต่ จนกว่าประเทศไทยจะมีระบบธรรมาภิบาลที่ประจักษ์และไม่มีการโอนอ่อนต่อเรื่องทุจริตหรืออำนาจเงินโดยเด็ดขาด


5.- ขนาดคนใหญ่ คนโต ประเทศใหญ่ ใหญ่ คนมาก มาก อย่างจีน ยังยอมรับGMos เราสงสัยว่า ถ้ามันไม่ปลอดภัยทำไม จีนเขายอมรับละครับ

http://www.manager.co.th/Columnist/ViewNews.aspx...
(ภาค 1)

http://www.manager.co.th/Columnist/ViewNews.aspx...
(ภาค 2)


6.- ในข่าวยังบอกด้วยว่าผู้ได้ประโยชน์คือบริษัทที่ผูกขาด นั่นแสดงด้วยว่าเรามิควรจะอนุญาตให้มีการปลูกGMOโดยเด็ดขาดเพราะนั่นจะทำลายเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เกษตรกรกลายเป็นทาสบริษัทจากสหรัฐ ซึ่งกฏหมายเลิกทาสเรามีมาร้อยกว่าปีแล้ว มันสมควรหรือที่จะให้คนไทยกลายเป็นทาสไปอีก ดังนั้นGMO ต้องคัดค้านโดยเด็ดขาด

และยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่าปลอดภัย ดังนั้นเราคงมิต้องการของที่ไม่รู้ว่าปลอดภัยหรือไม่ เฉกเช่นเราถูกหลอกให้กินน้ำมันพืชที่มีไขมันว่าดีกว่าน้ำมันหมู สุดท้ายตอนนี้เรารู้แล้วว่าถูกหลอกแต่ก็ผ่านมาแล้ว30-40ปี จนคนไทยเป็นสารพัดโรค


7.- GMO ทำให้ระบบการพึ่งตนเองถูกทำลาย เราต้องซื้อเมล็ดพันธุ์มาเพาะปลูกตลอดไป สำหรับผม ถ้าผมรู้ว่าไม่ใช่พืชผักจากธรรมชาติแท้ๆผมไม่อยากกิน ฉีดยาฆ่าแมลงผมไม่อยากกิน คุณลองถามตัวเองว่าคุณจะกินมั้ย





เพชรฆาตไร้เงา
8.- https://www.rt.com/.../324826-monsanto-hague-tribunal.../
Monsanto to face ‘tribunal’ in The Hague for ‘damage to human health and environment’


9.- มะละกอ สวนใหญ่ๆๆๆ เริ่มมีต้นที่ตัดต่อพันธุกรรมปลูกแล้วนะ แถว จ.นครสวรรค์ อ.ตาคลี
ถ้ามีคนปลูกถือว่าทำผิดกฏหมายเพราะยังไม่มีกฏหมายอนุญาต ควรจะแจ้งความเอาผิดทั้งผู้ปลูกและผู้ขายเมล็ดพันธุ์


ที่สำคัญผมก็ไม่เห็น เจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรจะเข้าไปตรวจสอบ สวนขนาดใหญ่ หรือบริษัทเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติ ในประเทศไทยสักเท่าไหร่


10.- สวทช ตั้งขึ้นด้วยเงินภาษีประชาชน แล้วก็มาแหกตาประชนเสียเอง
แทนที่ทำประโยชน์ให้ประเทศชาติและประชาชน เพียงเพื่อเศษเงินเล็กๆน้อยจากบรรษัทข้ามชาติ เสียดายปริณญา(Dog)โฮ้งๆว่ะ


11.-ใครนะเอาจีนเป็นตัวอย่างเพื่อสนับสนุน GMO?? แม้แต่นมผงสำหรับเด็กยังปลอม ไข่ก็ปลอม เกาลัดทำด้วยพลาสติก ฯลฯ เอายังงั้นหรือ


12.- https://www.rt.com/busi.../324605-russia-putin-healthy-food/


13.- เพื่อผลประโยชน์ทำได้ทุกอย่าง คนที่หนับหนุน ให้เขากินทุกอย่างที่เป็นGMOเขาจะยอมกินมั้ย ห้ามกินของปกติตลอดชีวิตเขาน่ะ


14.- ประมาณเมื่อ 5 ปีก่อน เกษตรกรรายหนึ่ง ได้พันธุ์มะละกอมาจากแถวขอนแก่น โดยไม่ทราบว่ามีการปนเปื้อน ปลูกไปหลายสิบไร่ ผลผลิตออกมาค่อนข้างดี แต่ส่งเข้าตลาดได้ช่วงแรกเท่านั้น ต่อมาไม่มีแม่ค้ารับซื้อเหลือทิ้งเสียหายหลายสิบตัน แม่ค้าบอกว่ารสชาดไม่ดี เหนียว ส้มตำไม่เอา เลยขายผลสดไม่ออก ตกลงผู้ปลูกเสียหายมาก เป็นข้อมูลหนึ่งไว้พิจารณา เพราะท้ายสุดทราบว่าสายพันธุ์มาจากทางท่าพระ ขอนแก่น เครือข่าย GMO


15.- ยุโรปเค้าปลูกนานแล้ว จนต่อต้านไล่เผาไร่มอนซานโตกันไปนานแล้ว ทั้งๆที่พวกนั้นเป็นเมืองหนาวปลูกพืชยากยังไม่เอาGMOเลย ไทยดันจะเอาเข้ามาทั้งๆเราปลูกพืชได้งอกงามดีอยู่แล้ว ไม่เข้าใจ


16.- Nation Tv กล่าวว่า

"ในระหว่างการร่างกฎหมายฉบับนี้ ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบในการร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ ของหน่วยงานรัฐ อย่างน้อย 2 - 3 คน ลาออกเพื่อรับตำแหน่งใน บริษัทเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติ"


https://www.youtube.com/watch?v=x5wp_zPDyPE
นาทีที่ 1:50


17.- เขาพยายามยกตัวอย่างเรื่องของส้มตำ ว่าทำไมส้มตำ 1 จาน ถึงมีแครอทผสมปนอยู่ด้วย ทำไมถึงไม่มีมะละกออย่างเดียวละ!

พูดง่าย ๆ ก็คือ เขาต้องการชี้ให้เราเห็นว่า มะละกอธรรมดา มันปลูกยาก ดูแลรักษายาก มีโรคมากโดยเฉพาะโรคไวรัสวงแหวนจึงทำให้เกษตรกรไม่อยากจะปลูก เป็นเหตุให้มะละกอขาดตลาด ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค พ่อค้าแม่ขายที่ขายส้มตำจึงใช้แครอทผสมกับมะละกอเพื่อตำส้มตำให้เรากินกัน

แล้วเขาก็โยงเข้าหามะละกอ GMO ที่เขาสนับสนุนอยู่ว่า มะละกอ GMO มันปลูกง่ายนะ ดูแลรักษาก็ง่าย รวมทั้งต้านทานโรคไวรัสวงแหวน และให้ผลผลิตสูงด้วย อะไรประมาณนี้ แล้วเขาก็สรุปของเขาเองว่า มะละกอ GMO จะตอบโจทย์กับปัญหานี้ /

พ่อแม่พี่น้อง ผู้เป็นบัณฑิต ผู้มีความรู้ ผู้มีสติปัญญาทั้งหลาย จงพิจารณาดูเองเถิดว่าเขาคนนั้น เขาต้องการอะไร? ทำไปเพื่ออะไร? และทำไปเพื่อใคร?



18.- ถ้าข้าว จีเอ็มโอ ยิ่งป้องกันไม่ได้เลย จะห้ามได้ไหมว่าชาวนาห้ามใช้รถเกี่ยวข้าวร่วมกัน ระหว่างข้าวปกติและข้าวจีเอ็มโอ และจะปนเปื้อนไปได้เร็วทั่วประเทศภายในปีเดียว สมมุติว่ารถเกี่ยวจีเอ็มโอที่ นครปฐม พอเกี่ยวหมดแถวนั้น รถเกี่ยวก็จะขึ้นมารับจ้างเกี่ยว แถวภาคอีสานและภาคเหนือ ข้าวที่ติดรถเกี่ยวมาก็จะมาร่วงหล่นแล้วแพร่กระจาย อย่างข้าวดีดข่าวเด้ง ก็เป็นลักษณะนี้

ขนาดข้าวดีดข้าวเด้ง นักวิทยาศาษต์ไทยยังไม่มีปัญญากำจัดได้ นับประสาอะไรจะกำจัด เอ็มโอ ที่ปนเปื้อนได้

19.- ถ้าละอองเกสรของพืช GMO ปลิวเข้ามาผสมกับเกสรพืชพื้นบ้านของผม มันจะทำให้เมล็ดพันธุ์ของพืชพื้นบ้านของผมกลายเป็น GMO หมดเลย ถามว่าเมื่อเกิดการปนเปื้อนอย่างนี้ใครรับผิดชอบ? / เมล็ดพันธ์ที่กลายเป็น GMO นั้น ผมก็ไม่สามารถเก็บทำพันธุ์ไว้ปลูกในฤดูกาลต่อไปได้อีกซ้ำถ้าผมเก็บเมล็ดพันธ์ที่เป็น GMO นั้นไว้ ผมก็จะโดนข้อหาละเมิดสิทธิบัตรอีกต่างหาก สุดท้ายผมต้องยอมจำนนให้กับบรรษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติที่ขายเมล็ดพันธ์ซึ่งเป็น GMO และราคาแพง อย่างนั้นหรือ? นี่เรากำลังจะตกเป็นทาส บนที่ดินไร่นาของตัวเราเอง อย่างนั้นหรือนี่?


20.- คนเกิดจากธรรมชาติ ไปกินของที่ไม่เป็นธรรมชาติ ของที่ตัดแต่งพันธุ์กรรม ที่จะย่อยสลายเป็นส่วนหนึ่งในร่างกายเราแล้วทีนี้ร่างกายเราจะเป็นยังไงต่อไป จะผิดปกติเหมือนสิ่งที่กินมั้ย ลูกหลานที่จะเกิดมาจะพิกลพิการมั้ย

คิดด้วยสามัญสำนึก ก็ไม่น่าจะยาก ว่าสิ่งที่สังเคราะห์ขึ้น สร้างขึ้น ตัดแต่งให้ผิดธรรมชาติ มันเคยมีสิ่งดีๆ มากกว่าสิ่งไม่ดีมั้ย ยิ่งเป็นสิ่งที่เราต้องกินทุกวัน อย่างอาหาร ที่ต้องดูผลกันยาวๆ เราจะเสี่ยงกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นหรือเปล่า

ประเทศเราไม่ได้แร้นแค้นขนาดต้องพึ่ง GMO ในการผลิตอาหาร เพื่อเลี้ยงคนในชาติ คงมีแค่คนไทยบางกลุ่มที่โดนเงินฟาดหัวถึงที่คิดขายแผ่นดินของชาติให้บริษัทต่างชาติเข้าแสวงหาผลประโยชน์ด้วยการปลูกพืช GMO เพื่อ ให้คนไทยตายผ่อนส่งกันหมดอนาคตลูกหลานเกิดมาก็ร่างกายสติปัญญาผิดปกติ เพราะพ่อแม่กินแต่อาหาร GMO ที่ตัดแต่งพันธุกรรม แทรกซึมอยู่ในร่างกายพันธุกรรมที่ส่งต่อไปยังลูกหลานก็ย่อมผิดปกติเป็นธรรมดา


21.- สำหรับผมเกี่ยวกับพืชGMOผมเปรียบเทียบแบบนี้ ยกตัวอย่างผักที่ขายตามตลาดเทียบกับผักออร์แกนนิคแล้วเป็นว่าผักออร์แกนนิค จะเป็นที่ต้องการมากกว่าทั้งที่ราคาต่างกันมากเพราะผู้ซื้อเขาต้องการผักที่ปลอดสารพิษเขาต้องการอาหารสุขภาพทุกวันนี้ผักตลาดต้องล้างหลายน้ำยังแค่ทำให้มันเจือจางเลย แล้วพืชGMOหละทุกวันนี้แม้แต่มาตรการรับรองป้องกันให้ประชาชนยังไม่มีเลยมีแต่จะยัดเยียดให้ว่ามันดีถ้าดีจริงทำไมยุโรป รัสเซีย ญี่ปุ่นฯ เขาจึงไม่เอาล่ะทั้งที่เทคโนโลยีเขาเกินเราเป็นสิบๆปี
อย่าเอาลูกกวาดผสมยาพิษมาหลอกเกษตรกรไทยนะเราไม่ได้โง่อย่างที่คุณคิด


22.- ครับ อาจารย์ GMOs ดีทุกอย่าง
ยกเว้น ชาวบ้านไม่ได้ขอให้ คุณไปทำให้ มะละกอเขาปนเปื้อน

ดีหมดทุกอย่าง แล้วถ้ากฎหมายนี้ผ่าน ไอ้ที่ปนเปื้อนอยู่นี่
เป็นสิทธิบัตรของใคร ? ใครเป็นเจ้าของ GMOs ในแปลง

แล้วตอนปนเปื้อนที่ถูกตีกลับ ใครรับผิดชอบ อาจารย์ช่วยหาคนรับผิดชอบหน่อย...เข้าทางเหมือนกัน

https://www.youtube.com/watch?v=KNItakCYxZY


23.- สิ่งที่นักวิชาเกิน GMO ไม่เคยบอกตรงๆ ก็คือ

ในเมล็ดพันธุ์ GMO นั้น... มียีนที่ทำให้ "เป็นหมัน"... นอกจากจะถ่ายทอดยีนนี้ปนเปื้อนไปสู่สิ่งแวดล้อม ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ !!!

แล้วอาจจะส่งผลต่อเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ในที่สุดนะคะ !!!


https://www.facebook.com/photo.php?fbid=930765073624637&set=a.523098951124635&type=3&theater


24.- เพิ่มเติมข้อมูลนะครับ

1) บริษัทเหล่านี้จดสิทธิบัตรยีนที่สามารถกำหนดให้พืชไม่ให้ผลผลิตหรือทำให้พืชไม่แสดงลักษณะบางอย่างได้ แต่ถูกคัดค้านจากองค์การระหว่างประเทศอย่างหนัก ขณะนี้พวกเขาเลยยังมิได้นำเทคโนโลยีนี้เข้ามาใช้กับจีเอ็มโอในเชิงพาณิชย์

2) พืชจีเอ็มโอที่ไม่สามารถเก็บพันธ์ไปปลูกต่อได้ เนื่องจาก การทำจีเอ็มโอจำนวนมาก พวกเขาทำในพืชประเภท Hybrid (จีเอ็มโอโดยตัวมันเองมีข้อจำกัดที่จะทำให้ผลผลิตต่อไร่สูง จึงใช้พืชประเภทลูกผสมในฐานในการดัดแปลงพันธุกรรม) ดังนั้นจึงไม่สามารถเก็บเมล็ดไปปลูกต่อได้

3) นอกเหนือจากนั้นบริษัทเหล่านี้ยังใช้กฎหมายสิทธิบัตร และ/หรือการทำสัญญาความตกลงกับเกษตรกร เพื่อบังคับไม่ให้เกษตรกรนำพันธุ์พืชของตนไปปลูกต่อด้วย






25.- การแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมในสัตว์ปีก จนนำไปสู่การกลายพันธุ์ของเชื้อหวัด !!! และติดต่อ "สู่คน" !!!...!!!....ไข้หวัดนก แม่นบ่
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=694978713869942&set=p.694978713869942&type=3&theater

.


ที่มา . - http://biothai.net/node/30455


ยังไม่จบครับ



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 25/12/2015 9:25 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 24/12/2015 12:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

http://www.komchadluek.net/detail/20150906/212846.html
ประเทศไทยบนทางสองแพร่ง เกษตรอินทรีย์หรือพืชจีเอ็มโอ?
หลากมิติเวทีทัศน์ : ประเทศไทยบนทางสองแพร่ง เกษตรอินทรีย์หรือพืชจีเอ็มโอ? :
โดย...วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ
------------------------------------------

http://www.greenpeace.org/seasia/th/news/865389/
ตลาดข้าวโลกประกาศจุดยืน “ไม่เอา” จีเอ็มโอ กรีนพีซผนึกกำลังสมาคมผู้ส่งออกข้าว
และเกษตรกรย้ำ “ประเทศไทยต้องปลอดจีเอ็มโอ”
-------------------------------------

http://www.econ.mju.ac.th/econroom/?p=1730
EU ออกกฎติด “โลโก้”ใหม่ บนฉลากสินค้าเกษตรอินทรีย์
------------------------------------------



เราไม่มี "ความรู้" เพราะไม่ได้เรียนมา
แต่เรา "รู้" ว่า ประเทศคู่ค้าสินค้าเกษตรกับประเทศไทย ไม่รับ จีเอ็มโอ

คนมี "ความรู้" แต่ "ไม่รู้" ว่า ผลิตออกมาแล้วไม่มีคนรับซื้อ ... คนไทยรึเปล่า ?
คน "ไม่มีความรู้" แต่ "รู้" ว่า ผลิตออกมาแล้วมีคนยินดีรับซื้อ .... คนไทยแน่ๆ

สรุป :
ผลิตขาย ตามใจคนซื้อ
ผลิตขาย ลูกค้า คือ พระเจ้า



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/12/2015 7:35 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 25/12/2015 9:35 am    ชื่อกระทู้: Link มันแยะครับลุง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
.
.
แดง....ใส่ LINK อ้างอิงด้วย....


.



สวัสดีครับลุงคิม

ขออภัยครับลุง Link มันแยะครับ อ้างอิงไว้ในเรื่องบางส่วนแล้วครับ

ขอยึด Linkนี้เป็นหลักนะครับ

ที่มา . - http://biothai.net/node/30455

เพราะเป็นแกนนำในเรื่องนี้


ผมแก้ไข เพิ่มเติม Update ทั้ง 2 ตอนแล้วครับ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 25/12/2015 4:42 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 (5.2) พืช ผัก ผลไม้ GMOs ที่ขายในเมืองไทย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 12 (5.2) พืช ผัก ผลไม้ GMOs ที่ขายในเมืองไทย
ภาค 2 (5.2) – กินเข้าไปตั้งเยอะแล้วครับ ท่านผู้ชม.....

สังเกตพืชผักผลไม้จากเมืองนอกกันหน่อยครับ.....


(1) เคยสงสัยถึงตัวเลขบนสติกเกอร์...ที่อยู่บนผลไม้ ที่มาจากเมืองนอกไหมค่ะ

ถ้ามีเลข 4 หลัก หมายความว่า เป็นการปลูกแบบปกติ ใช้ยา ใช่ปุ๋ย
ถ้ามีเลย 5 หลัก แล้วตัวแรกคือ 9 คือพวกออร์แกนิค ไร้สารค่ะ

แต่ถ้าเริ่มต้นด้วย 8 คือ GMOs มีการตัดต่อพันธุกรรมค่ะ



Data:- Saharat Siriarchawattana


(2) (19 ธค. 5Cool หนึ่งในโครงการวิจัยเพื่อสร้างความชอบธรรมในการส่งเสริมจีเอ็มโอคือข้าว Golden Rice เพื่อแก้ปัญหาภาวะขาดวิตามินเอ ซึ่งเป็นสาเหตุการตายและปัญหาตาบอดของเด็กๆในประเทศกำลังพัฒนา โดยสารสำคัญในอาหารที่จะเปลี่ยนไปเป็นวิตามินเอเมื่อเข้าสู่ร่างกายคือ Beta-Carotene ซึ่งมีมากในผักและผลไม้ แต่มีน้อยมากในข้าวและธัญพืช

โครงการเพื่อพัฒนาข้าวจีเอ็มโอได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อกว่าสิบปีที่แล้ว โดยความร่วมมือของบริษัทที่ผลักดันจีเอ็มโอ ร่วมกับสถาบันระหว่างประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ เช่น มูลนิธิบิล แอนด์ เมลินดา เกตส์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้โครงการดังกล่าวยังไม่บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ ทั้งจากปัญหาข้อจำกัดในการวิจัยเพื่อให้ปริมาณเบต้าแคโรทีนมากเพียงพอ การลดลงของสารดังกล่าวเมื่อนำไปใช้จริง ปัญหาการทดสอบเรื่องความปลอดภัยในระยะยาว ปัญหาสิทธิบัตรและการผูกขาดในระยะยาว ตลอดจนความกังวลปัญหาการปนเปื้อนทางพันธุกรรมเมื่อนำข้าวจีเอ็มโอไปปลูกในประเทศที่ มีความหลากหลายทางชีวภาพของข้าวพื้นบ้าน เป็นต้น

ทางเลือกในการวิจัยและพัฒนาระบบเกษตรกรรมและอาหาร มีแนวทางอื่นๆอีกมาก หากเราเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและนิเวศเกษตร (Agro-ecology) ของแผ่นดินเราเองมากกว่านี้



Comments :-
1) จำไม่ได้หรอ เมกามันหลอกเรื่องน้ำมันหมู ให้กินน้ำมันพืช จนมะพร้าวเราแทบโคนทิ้ง แล้วเราหันมากินน้ำมันถั่วเหลือง GMO ของมัน
ทั้งที่ปู่ย่า ตายาย กินน้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าวมาแต่โบราณ จะเดินตามก้นมัน คิดให้ดีๆเสียก่อน

2) อย่าให้โครงการนี่ผ่านเด็ดขาด ความคิดตื้นๆ เพิ่มวิตามินพ่อมันดิ
3) เวลากินข้าว ก็กินผัก ไปด้วยซิครับ จะมาตัดเเต่งพันธุกรรมให้มันเปลืองงบทำไม ทำชีวิตให้มันง่ายนะครับ ถ้ามันยากถือว่าผิด
4) ใครจะกินแต่ข้าว กินอาหารต้องให้ครบ ห้าหมู่สิครับ เด็กประถมยังรู้เลย
แล้วสิทธิบัตร เป็นของใคร ต่อไปจะปลูกข้าวต้องไปขออนุญาต เมกา หรือคับ(ครับ)

5) เค้าไม่ได้ผลิตมาใช้ในประเทศเราครับ มันเอาไว้แก้ปัญหาในพื้นที่ทุรกันดาร ที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการปลูกผักกิน อย่างพวกแอฟริกาที่เค้าปลูกผักพวกนี้ไม่ได้ เพราะพื้นดินทุกที่มันไม่ได้อุดมสมบูรณ์เหมือนกันหมด

ปล.ปีๆนึงคนทั่วโลกตายด้วยการขาดสารอาหารมากกว่าเป็นมะเร็งสะอีก ถ้ามันทำออกมาแล้วเป้าหมายมันเพื่อช่วยคนพวกนี้ ผมก็เห็นด้วยนะ


(ของไม่ดีเอาไปให้คนอื่นเค้ากินหรือครับ เอาให้ ญาติพี่น้องพ่อแม่คุณกิน คุณจะกินมั๊ยล่ะ หูย คิดได้ไงเนี่ย )

6) ยุโรปก็ยกเลิกเน้นปริมาณแต่ผลกระทบก็ตกมาสู่ผู้บริโภค เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะที่มากับพืชกับสัตว์คนบริโภคมากอายุขัยก็สั้นลงไปเรื่อย ป่วยนานขึ้นและ อีกอย่างระบบเกษตรพันธสัญญาก็ไม่มีอะไรดีกับเกษตรกรเลย ภัยใกล้ตัวที่คนบริโภคไม่ควรมองข้าม เกษตรกรต้องทำตามคำแนะนำของบริษัททุกอย่าง


(3) แถลงการณ์มูลนิธิชีววิถี กรณีรัฐบาลยกเลิกพ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ

มูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) ขอชื่นชมการเคลื่อนไหวคัดค้าน พ.ร.บ. ความปลอดภัยทางชีวภาพของภาคประชาชนและผู้ประกอบการเกษตรและอาหาร 125 องค์กร การเคลื่อนไหวของประชาชนและองค์กรท้องถิ่นใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ การรวมตัวกันรณรงค์ในสื่อสังคมออนไลน์ และกลุ่มนักวิชาการด้านการเกษตร กฎหมาย และเศรษฐศาสตร์ และสภาเกษตรกรแห่งชาติ ที่ได้แสดงออกเพื่อคัดค้านร่างกฎหมายร่วมกันอย่างเข้มแข็งจนนายกรัฐมนตรีได้ประกาศยุติการผลักดัน พ.ร.บ.ฉบับนี้แล้ว โดยมีมติให้ส่งเรื่องกลับไปให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาในมุมที่มีข้อทักท้วงเพิ่มเติมให้รอบคอบเสียก่อน

อย่างไรก็ตาม แรงผลักดันหลักเพื่อให้รัฐบาลไทยอนุญาตให้มีการปลูกพืช จีเอ็มโอ นั้น มาจากกลุ่มบรรษัทเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติ อุตสาหกรรมวัตถุดิบอาหารสัตว์ และบริษัทอาหารยักษ์ใหญ่ซึ่งกลุ่มเหล่านี้จะยังคงไม่ลดความพยายามจนกว่าจะบรรลุผล ทั้งนี้เชื่อว่ากลุ่มผลประโยชน์จาก จีเอ็มโอ จะหาช่องทางอื่นๆ เช่น การผลักดันให้มีการทดลอง จีเอ็มโอ ผ่านมติคณะรัฐมนตรี 25 ธันวาคม 2550 ไปจนถึงการผลักดันผ่านความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) เป็นต้น

เครือข่ายภาคประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจำเป็นต้องร่วมกันเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ จีเอ็มโอ ทั้งมิติทางเทคโนโลยี เศรษฐกิจ การเมือง และผลกระทบต่อสุขภาพ/สิ่งแวดล้อม รวมถึงการนำเสนอทางเลือกที่ดีกว่า เพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้เข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นในการตัดสินใจนโยบายเกี่ยวกับเกษตรกรรมและอาหารของประเทศ โดยไม่ปล่อยให้กลุ่มบรรษัทยักษ์ใหญ่เกษตรและอาหารเป็นผู้กำหนดทิศทางของประเทศผ่านรัฐบาลเหมือนที่ผ่านมา

เป้าหมายของการขับเคลื่อนของเรามิได้อยู่ที่การหยุด พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพที่เอื้ออำนวยต่อบรรษัท หรือการต่อต้าน จีเอ็มโอ ซึ่งไม่เป็นประโยชน์และไม่เหมาะสมกับประเทศไทยเท่านั้น แต่อยู่ที่การผลักดันให้มีกฎหมายและนโยบายที่คุ้มครองและส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ เกษตรกรรมเชิงนิเวศ และระบบอาหารเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่คำนึงถึงความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมระหว่างเกษตรกรรายย่อย ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค ให้กลายเป็นกระแสหลักของการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รออยู่เบื้องหน้า


มูลนิธิชีววิถีจะเป็นส่วนหนึ่งของความเคลื่อนไหวดังกล่าว จนกว่าเป้าหมายนั้นจะบรรลุผล
15 ธันวาคม 2558




(4) ถ้าปล่อยให้มันเข้ามา.....คงเป็นไปตามนั้น


ที่มา . - http://biothai.net/node/30455

ยังมีต่อครับ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 29/12/2015 6:15 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 (6) คนไทยทั่วประเทศต่อต้าน พรบ. GMOs (1 ตอน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 12 (6) คนไทยทั่วประเทศต่อต้าน พรบ. GMOs (1 ตอน 3)


ภาค 2 (5) – มาลองรู้จัก GMOs กันอีกซักครั้งคงไม่เสียหลาย


จีเอ็มโอ (GMOs) คืออะไร..ทำไมต้องรีบหยุด





(1) ทำไมต้องรีบหยุด ก่อนที่จะมาพร่ำบ่นภายหลังว่า.. ถ้า(กู)รู้ว่าจะเป็นอย่างนี้..(กู)ไม่รับเอามันเข้าบ้านตั้งแต่วันนั้นแล้ว ดังนั้น

วันนี้จะต้องมาทำความเข้าใจ ก่อนที่ชีวิตเราจะถูกกลืนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตครึ่งหุ่นยนต์ครึ่งชีวภาพ กลายเป็นเครื่องจักรทำงานผลิตเงิน เพื่อไปจ่ายกินอาหารดัดแปลงพันธุกรรมของนายทุนเกษตรอุตสาหกรรม

พอถึงวัยกลางคนเริ่มไปจ่ายค่าหมอค่ายาให้กับธุรกิจโรงพยาบาลที่เป็นของนายทุนกลุ่มเดิม เพื่อซ่อมสุขภาพที่ออกอาการผิดเพี้ยนจากปกติ จากการกินอาหารดัดแปลงสะสมมานาน อนาคตลูกหลานจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับการรู้เท่าทันอุตสาหกรรมอาหารของเราในวันนี้


จีเอ็มโอ หรือ GMOs ย่อมาจากคำว่า Genetically Modified Organisms หมายถึง

สิ่งมีชีวิต ดัดแปลง พันธุกรรม ที่เกิดจากการตัดเอายีนของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง มายิงใส่เข้าไปในยีนของ สิ่งมีชีวิต อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งปกติไม่เคยผสมพันธุ์กันได้ ในธรรมชาติ เพื่อให้เกิดสิ่งมีชีวิต ชนิดใหม่ ที่มีคุณลักษณะ ตามต้องการ



เช่น นำยีนทนความหนาวเย็นจากปลาขั้วโลก มาผสมกับมะเขือเทศ เพื่อให้มะเขือเทศ ปลูกในที่ที่อากาศหนาวเย็นได้

นำยีนจากแบคทีเรียชนิดหนึ่ง มาใส่ในยีน ของถั่วเหลือง เพื่อให้ถั่วเหลืองทนทาน ต่อยาปราบวัชพืช

นำยีนจากไวรัส มาใส่ในมะละกอ เพื่อให้ มะละกอต้านทานโรค ไวรัสใบด่างวงแหวนได้ เป็นต้น

พืชจีเอ็มโอที่มีขายตามท้องตลาดในปัจจุบัน ได้แก่ ถั่วเหลือง, ข้าวโพด, มันฝรั่ง, มะเขือเทศ, มะละกอ, ฝ้าย, คาโนล่า (พืชให้น้ำมัน)

ในการก่อกำเนิดสิ่งมีชีวิตต่างๆ ยีนและดีเอ็นเอถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ยีนเป็นตัวสร้าง สิ่งมีชีวิต ให้มีคุณลักษณะ และคุณสมบัติแตกต่างกันไป เช่น ยีนทำให้ผมดำ ยีนที่ทำให้ทนความหนาวเย็นได้ ยีนที่ทำให้มีปีก เป็นต้น กลไกการทำงานของยีน ในสิ่งมีชีวิตนั้น ซับซ้อน กว้างใหญ่ไพศาล และเป็นเครือข่ายที่เปราะบาง ยีนตัวเดียวกันแต่อยู่คนละตำแหน่งในสายยีน ก็อาจกำหนดคุณสมบัติ ที่แตกต่างกันได้ และยีนหนึ่งตัว ก็ไม่ได้มีหน้าที่เพียงอย่างเดียว

การดัดแปลงยีน (จีเอ็มโอ) คือการพยายามเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ของสิ่งมีชีวิต อย่างที่ไม่สามารถ เกิดจากธรรมชาติ ซึ่งจะส่งผลกระทบมหาศาล ต่อมนุษย์ สัตว์ และพืชทั้งหลายบนโลกใบนี้ เนื่องจาก มนุษย์ ไม่มีวันที่จะควบคุมมันได้

จากวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตนับล้านๆ ปีที่ผ่านมา

มะเขือเทศสามารถผสมพันธุ์กับมะเขือเทศ พันธุ์อื่นได้ แต่ไม่เคยเลยสักครั้ง ที่มะเขือเทศจะผสมพันธุ์ กับปลาหรือคางคก

ถั่วเหลืองอาจผสม ข้ามพันธุ์ ระหว่างถั่วเหลืองด้วยกันเอง แต่ไม่มีวันที่จะผสมพันธุ์ กับแบคทีเรีย

นี่คือกฎที่ธรรมชาติ สรรสร้างขึ้นเพื่อเป็นกำแพงกั้นให้สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด มีความแตกต่างหลากหลาย เพื่อความ อยู่รอด ของโลก

แต่การดัดแปลงพันธุกรรม (วิศวพันธุกรรม หรือจิเอ็มโอ) เป็นการละเมิดธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น การบีบบังคับ ให้ยีนของปลา เข้าไปผสมอยู่ใน สตรอว์เบอร์รี่ หรือยีนของแมงป่อง เข้าไปผสมกับ มะเขือเทศ

นักวิศวพันธุกรรมนำยีนแปลกปลอมเหล่านี้ใส่เข้าไปโดยใช้ไวรัสเป็นพาหนะหรือใช้ปืน ยิงยีนเข้าไป ในเซลล์ของพืช สัตว์ หรือมนุษย์ ที่ต้องการ ดัดแปลงพันธุกรรม การทดลองตัดต่อยีน เข้าไปแบบ สุ่มเสี่ยงนี้ บ่อยครั้งที่ล้มเหลว ส่วนครั้งที่ทำสำเร็จ ก็ไม่รู้ได้ว่ายีนใหม่ จะเข้าไปแทรกตัวอยู่ตรงไหน ของสายยีน และจะก่อให้เกิดผลกระทบอื่น นอกเหนือไปจากที่ต้องการหรือไม่

ตั้งแต่เกิดเทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรมขึ้นมา ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนใดกล้ายืนยันได้ว่า อาหาร ที่มี ส่วนประกอบของจีเอ็มโอ ปลอดภัยต่อการบริโภคในระยะยาว

การทดลอง ในสัตว์ทดลอง เป็นเพียง การทดลองระยะสั้นๆ เมื่อเทียบกับช่วงชีวิต ของมนุษย์ที่ยาวถึง ๖๐ - ๗๐ ปี การนำ อาหาร จีเอ็มโอ มาให้มนุษย์กิน ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ว่าปลอดภัยหรือไม่ จึงเท่ากับใช้มนุษย์ เป็นหนูทดลอง โดยที่พวกเราเอง ก็ไม่รู้ตัวว่ากินอาหารจีเอ็มโอ เข้าไปหรือไม่ ถ้าไม่มีฉลากที่ชัดเจน บอกไว้ และ หากเกิดผลร้าย ต่อสุขภาพขึ้นมาในอนาคต เราจึงไม่สามารถระบุได้ว่า ผลร้ายนั้น เกิดจากการ บริโภคอาหาร จีเอ็มโออย่างต่อเนื่องหรือไม่

ปัจจุบัน อันตรายต่อสุขภาพที่นักวิทยาศาสตร์พบว่าอาจเกิดขึ้นได้จากการบริโภคอาหารจีเอ็มโอ คือ โรคภูมิแพ้ ดังกรณีที่เกิดขึ้น ในอเมริกา คนที่แพ้บราซิลนัท และไปกินถั่วเหลืองจีเอ็มโอ ที่มียีน ของบราซิลนัทอยู่โดยไม่รู้ตัว จะเกิดอาการแพ้ถั่วเหลืองนั้นทันที

นอกจากนี้ การใส่ยีนแปลกปลอม ที่ไม่เคยมีมาก่อนเข้าไป อาจก่อให้เกิดโปรตีนพิษชนิดใหม่ ที่ร่างกายไม่รู้จัก และกระตุ้นให้เกิด โรคภูมิแพ้ได้

นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังเป็นห่วงว่าจีเอ็มโออาจกระตุ้นให้ร่างกายดื้อยาปฏิชีวนะ เนื่องจาก ในการทดลองจีเอ็มโอ ต้องใส่สารต้านทาน ยาปฏิชีวนะเข้าไป เพื่อเป็นตัวตรวจสอบว่า การทดลอง ครั้งนั้นประสบความสำเร็จหรือไม่ สมาคมแพทย์อังกฤษ เห็นพ้องต้องกันว่า ไม่ควรให้ใช้สาร ต้านทาน ยาปฏิชีวนะในจีเอ็มโอ

ประเทศในสหภาพยุโรป ได้ออกกฎหมายห้ามใช้สารต้านทาน ยาปฏิชีวนะ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ แต่พืชจีเอ็มโอที่นำมาผลิตเป็นอาหาร อยู่ใน ท้องตลาดขณะนี้ ยังคงมีสารต้านทานยาปฏิชีวนะ เป็นส่วนประกอบอยู่

จากการที่จีเอ็มโอเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถขยายพันธุ์และเผยแพร่พันธุ์ได้ง่าย เมื่อใดที่มันถูกปล่อย ออกไปสู่สภาพแวดล้อม เราจะไม่สามารถ จำกัดบริเวณ หรือเรียกมันกลับคืนมาได้ หากเราพบ ในภายหลัง ว่ามันมีอันตราย

ตัวอย่างนี้มีให้เห็นจากเรื่องของดีดีที สารเคมีกำจัดแมลง ที่มนุษย์ คิดค้นเมื่อ ๔๐ ปีที่แล้ว ในตอนนั้นไม่มีใครรู้ถึง อันตรายของมัน และนำดีดีทีมาใช้กันอย่าง กว้างขวาง หลังจากนั้นอีก ๓๐ ปี จึงค้นพบว่า ดีดีที เป็นตัวการทำให้พืช สัตว์และมนุษย์ ต้องล้มป่วย พิการ หรือเสียชีวิต โครงการสิ่งแวดล้อม แห่งสหประชาชาติ จึงออกประกาศ ห้ามใช้สารดีดีที นับแต่นั้นมา สารเคมีพิษเหล่านี้แม้จะปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมหรือในอาหารไปแล้ว แต่เมื่อหยุดใช้ไประยะหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นร้อยปีพันปี ก็จะย่อยสลายไปได้

แต่สำหรับจีเอ็มโอ อาจซ้ำร้ายกว่านั้น หากใน ๕๐ ปี ข้างหน้า เราพบว่ามันส่งผลเสีย ร้ายแรงกว่าที่พบในตอนนี้ เราคงไม่สามารถ หยุดยั้งการปลูกพืชจีเอ็มโอ หรือหาพืชพันธุ์พื้นเมืองที่ปลอดจีเอ็มโอมาปลูกได้ เพราะพืชหรือสัตว์จีเอ็มโอ ได้แพร่พันธุ์ กลืนกินพืช ที่ไม่ใช่จีเอ็มโอไปหมดแล้ว



[img]
http://upic.me/i/vd/2-3-2.jpg[/img]

(2) การครอบงำจากบริษัทข้ามชาติ

มีบริษัทข้ามชาติรายใหญ่ๆ เพียง ๔ - ๕ บริษัทเท่านั้นที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรในเทคโนโลยี การทำ จีเอ็มโอ รวมถึงตัวยีน และเมล็ดพันธุ์ จีเอ็มโอ ที่เพาะปลูกกันอยู่ ในโลกขณะนี้ ในการทดลองวิจัย บริษัทเหล่านี้อาจบอกว่า เป็นความช่วยเหลือ แบบให้เปล่า แต่หากต้องการปลูก เพื่อการค้า จะต้อง ทำสัญญาทางการค้า และจ่ายเงินแทนให้แก่บริษัท เกษตรกรในแคนาดาและสหรัฐอเมริกา จำนวนมาก ต้องตกเป็นทาส ในที่ดินของตนเอง เนื่องจากปลูกพืชจีเอ็มโอ หรือถูกพืชจีเอ็มโอ เข้ามาปนเปื้อน ในพืชผลของตน จีเอ็มโอจึงเป็นหนทางให้ บริษัทข้ามชาติเหล่านี้ เข้ามามีอิทธิพล และครอบครอง แหล่งเกษตรกรรมและแหล่งอาหารของเรา

กลุ่มผู้สนับสนุนอาหารจีเอ็มโอมักกล่าวว่าอาหารจีเอ็มโอที่วางขายในท้องตลาดผ่านการประเมิน ความปลอดภัยแล้วว่า ปลอดภัย เหมือนอาหารทั่วไป การกล่าวอ้างเช่นนี้ มาจากหลักการที่เรียกว่า หลักความเทียบเท่า (Substantail Equivalence)
ความเทียบเท่าจะเปรียบเทียบพืชจีเอ็มโอกับพืชชนิดเดียวกันที่ไม่ใช่จีเอ็มโอ เช่น ถั่วเหลืองจีเอ็มโอ กับถั่วเหลืองปกติ โดยดูจากรูปลักษณ์ภายนอก และองค์ประกอบพื้นฐานบางประการเท่านั้น ถ้าไม่แตกต่างกัน ก็ถือว่ามีความปลอดภัยเทียบเท่ากัน
แต่ในความเป็นจริงพืชจีเอ็มโอเกิดจากการตัดต่อยีนของพืชหรือสัตว์โดยใส่ยีนแปลกปลอมเข้าไป การเปลี่ยนแปลง ในยีนนี้ ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า การใช้หลักความเทียบเท่า ไม่ได้คำนึง ถึงการเปลี่ยนแปลงของยีน และไม่ได้ตรวจสอบ ความเป็นพิษ หรือสารก่อเกิดโรคภูมิแพ้ ชนิดใหม่ๆ ที่อาจเกิดจากยีนแปลกปลอมนั้นๆ

นอกจาก "หลักความเทียบเท่า" แล้ว ผู้ผลิตพืชจีเอ็มโอไม่เคยวิจัยทดสอบความปลอดภัย ของอาหาร อย่างเพียงพอ ก่อนที่จะนำมาผลิต เพื่อการค้า ยกตัวอย่างเช่น เมื่อบริษัทไบเออร์ ยื่นขออนุมัติปลูกข้าวจีเอ็มโอเพื่อการค้า ต่อองค์การอาหารและยา ของสหรัฐอเมริกา ไบเออร์ ทดสอบความปลอดภัย ทางอาหาร โดยนำข้าวจีเอ็มโอชนิดนี้ ให้ไก่กินเป็นเวลา ๔๒ วัน เมื่อพบว่า ไก่ไม่เป็นอะไร จึงถือว่าข้าวจีเอ็มโอนี้ ปลอดภัยต่อการบริโภค ซึ่งองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ก็ยอมอนุมัติให้ปลูกโดยไม่ได้ทำการทดสอบด้วยตนเอง แต่อย่างใด

ระบบการตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารจีเอ็มโอในปัจจุบัน ยังไม่สมบูรณ์ และข้ออ้างว่า อาหารจีเอ็มโอ ปลอดภัย ก็เชื่อถือไม่ได้ เพราะในความเป็นจริง อาหารจีเอ็มโอกับอาหารปกตินั้น แตกต่าง

จนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๗ ประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้ปลูกพืชจีเอ็มโอ เพื่อการค้า และ ยังมีมติ ครม. สั่งระงับการทดลองปลูกพืช จีเอ็มโอระดับไร่นา
ประเทศไทยนำเข้าวัตถุดิบจีเอ็มโอจำนวนมากเพื่อใช้ผลิตอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งถั่วเหลือง ซึ่งนำเข้ามาจาก สหรัฐอเมริกา และอาร์เจนตินา มากที่สุด (ทั้งสองประเทศนี้เป็นผู้ผลิตและส่งออก ถั่วเหลืองจีเอ็มโอ รายใหญ่ที่สุดในโลก โดย ๙๙% ของถั่วเหลือง ที่ปลูกในอาร์เจนตินา เป็นถั่วเหลือง จีเอ็มโอ และ ๘๐% ของถั่วเหลืองที่ปลูกในสหรัฐอเมริกา เป็นจีเอ็มโอ)

จากการ ตรวจสอบของ กรีนพีซพบว่า ผลิตภัณฑ์อาหาร สำเร็จรูปในท้องตลาด มีการปนเปื้อนถั่วเหลือง จีเอ็มโอ โดยไม่ได้ติดฉลาก ให้ประชาชนได้รับทราบ
กฎกระทรวงเรื่องการติดฉลากอาหารดัดแปรงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ของกระทรวงสาธารณสุข ที่บังคับใช้ ในวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖ นั้น เป็นกฎข้อบังคับ ที่หละหลวมมาก คือกำหนด เปอร์เซ็นต์การปนเปื้อนจีเอ็มโอ ไว้สูงถึง ๕% ถ้าต่ำกว่านั้นก็ไม่ต้องติดฉลากบอก

นอกจากนั้น ยังกำหนด ให้ติดฉลาก เฉพาะเมื่อมีถั่วเหลือง หรือข้าวโพดจีเอ็มโอ เป็นส่วนประกอบ ในสาม อันดับแรกเท่านั้น หากมีถั่วเหลืองหรือข้าวโพดจีเอ็มโอ อยู่ในระดับที่ ๔ ลงไป ก็ไม่ต้องติดฉลาก และถ้ามีวัตถุดิบอื่น ที่ไม่ใช่ถั่วเหลือง หรือข้าวโพด แต่เป็นจีเอ็มโอ เช่น มะละกอจีเอ็มโอ หรือ ข้าวสาลีจีเอ็มโอ ก็ไม่จำเป็นต้องติดฉลาก กฎกระทรวงฉบับนี้ จึงไม่ได้ให้ข้อมูลที่แท้จริง แก่ผู้บริโภค หรือให้สิทธิในการรับรู้ และปฏิเสธอาหารจีเอ็มโอ แก่ผู้บริโภคแต่ประการใด

บริษัทผลิตอาหารข้ามชาติบางบริษัทใช้มาตรฐานต่างระดับกับประชาชนชาวไทย โดยประกาศ นโยบายปลอดจีเอ็มโอ ในยุโรป แต่ยังยืนยันว่า จะใช้ส่วนประกอบอาหาร ที่มีจีเอ็มโอ สำหรับ ประเทศไทย เช่น บริษัท เนสท์เล่ ซึ่งกรีนพีซตรวจพบจีเอ็มโอ ในซีรีแล็ค อาหารเสริมสำหรับเด็ก และทารก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ยึดหลักการป้องกันไว้ก่อน โดยหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ตรวจพบว่ามีจีเอ็มโอ จนกว่าบริษัท ผู้ผลิต อาหารนั้นๆ จะมีนโยบาย และมีมาตรการ ปลอดจีเอ็มโอ ที่เป็นรูปธรรมและปฏิบัติได้จริง ตรวจสอบรายชื่อบริษัทที่มีนโยบายปลอดจีเอ็มโอ ได้จากคู่มือจ่ายตลาด สำหรับซื้ออาหาร ปลอด จีเอ็มโอ


ตั้งข้อสงสัยอาหารสำเร็จรูปที่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา หรือ แคนาดาซึ่งเป็นประเทศที่ เพาะปลูกพืชจีเอ็มโอ มากที่สุดในโลก

ตรวจสอบรายชื่อ บริษัทผลิตอาหารในสหรัฐอเมริกา ที่ใช้ส่วนประกอบจีเอ็มโอ ได้ที่เว็บไซต์ www.truefoodnow.org

ตรวจดูฉลากข้างกล่องว่า อาหารนั้นมีส่วนผสมของถั่วเหลืองและข้าวโพดและผลิตภัณฑ์ที่ทำ จากถั่วเหลือง หรือข้าวโพดหรือไม่ (เช่น ฟองเต้าหู้ แป้งถั่วเหลือง ใยถั่วเหลือง ผักสกัด ถั่วเหลืองสกัด โปรตีนถั่วเหลือง เลคซิตินจากถั่วเหลือง สารปรุงแต่งจากถั่วเหลือง น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันพืช แป้งข้าวโพด น้ำตาลข้าวโพด น้ำมันจากคาโนลา น้ำมันจากเมล็ดฝ้าย เป็นต้น) หากไม่ปรากฏ รายการส่วนผสมดังกล่าวนี้ ก็พอจะเชื่อมั่นได้ว่า อาหารสำเร็จรูปชนิดนั้น ปลอดจีเอ็มโอ

ซื้อผักผลไม้และอาหารที่ใช้วัตถุดิบที่ปลูกในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยยังคงห้าม การปลูกพืช จีเอ็มโอเพื่อการค้าอยู่ แต่หากท่านพบวัตถุดิบ ที่ปลูกในประเทศไทย เป็นจีเอ็มโอ แสดงว่ามีการละเมิดกฎหมาย ท่านสามารถแจ้งเบาะแส ให้แก่ทางการได้

บริโภคอาหารธรรมชาติที่เพาะปลูกโดยเกษตรกรรายย่อย และอาหารจากเกษตรอินทรีย์ โดยสังเกต ตรารับรอง จากสำนักงานมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ (มกท.) ซึ่งรับรองได้ว่าปลอด ทั้งสารเคมี และ จีเอ็มโอ



[img]
http://upic.me/i/0a/dq3-3.jpg[/img]

(3) อย่าวางใจ !

ในขณะที่นายกรัฐมนตรีแถลงว่า ไม่เคยคิด และไม่ต้องการจีเอ็มโอ และพร้อมจะให้มีการแก้ไขหลักการรวมทั้งรายละเอียดของกฎหมาย แต่ "นายเกษมสันต์ จิณณวาโส" ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลับแถลงในวันเดียวกันว่า ร่างกฎหมายจีเอ็มโอ "ถูกคัดค้านและตีความคลาดเคลื่อน จากภาคประชาชนที่เข้าใจผิดคิด" (http://www.posttoday.com/social/env/404119)

เครือข่ายภาคประชาชนและผู้ประกอบการด้านเกษตรและอาหารไม่ควรจะวางใจ จนกว่าจะมีกฎหมายความปลอดภัยชีวภาพของประชาชน ! ไม่ใช่กฎหมายที่ร่างขึ้นโดยหน่วยงานราชการที่ส่งเสริมจีเอ็มโอ กับกลุ่มคนที่มีผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องบริษัทเมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอ-สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือพวกที่ไม่ยอมรับความผิดพลาดบกพร่องของตนปัดสวะบอกว่าเป็นความเข้าใจผิดของประชาชน

นายกรัฐมนตรีประกาศไม่เห็นด้วยกับการปลูกพืชจีเอ็มโอ แต่กระบวนการทางกฎหมายจะเดินหน้าต่อไป โดยกลุ่มคนชุดเดิมที่เป็นผู้เสนอร่างกฎหมายนี้ และเป็นผู้พิจารณารับหลักการกฎหมายนี้ กลุ่มบุคคลที่เก็บงำร่างกฎหมายไว้เป็นความลับ ก่อนเผยแพร่ให้ประชาชนได้ทราบหลังครม.พิจารณารับหลักการกฎหมายนี้แล้วผ่านไป 2 วัน เป็นกลุ่มบุคคลที่ยืนยันว่ากฎหมายนี้ดีแล้ว ประชาชนล้วนเข้าใจผิด !

ใครคิดก็บ้าแล้ว! "บิ๊กตู่" ยัน ไม่เคยคิดให้มีจีเอ็มโอในประเทศไทย

วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เวลา 06:20:00 น.

เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 9 ธันวาคม ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีการต่อต้าน พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ว่า ตนหงุดหงิด ตนไม่เข้าใจ เพราะส่วนราชการชี้แจงไม่เข้าใจ แล้วก็มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยออกมาเยอะแยะไปหมด ทำเพื่ออะไรก็ไม่รู้ ในเมื่อตนบอกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ความปลอดภัยทางชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ พ.ศ. ....และร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียม ยังไม่ผลส่งไปที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)เลย

ในเมื่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาแล้ว ยังมีข้อขัดแย้ง ตนก็สั่งไปว่าจะทำได้ตรงไหน เพื่อที่จะรับประเด็นความขัดแย้งเข้าไปได้ด้วย นำไปแก้ในหลักการและเหตุผล ให้กว้างขึ้น ครอบคลุมสิ่งที่เขาเรียกร้องมา จะได้เอาทั้งหมดไปพิจารณาร่วมด้วย เพราะเดิมหากเขียนแค่นี้จะไปแปรญัตติอย่างอื่นไม่ได้ ตนให้โอกาสขนาดนั้น ไปแปรกันตรงนู้น ผ่านก็ผ่าน ไม่ผ่านก็ไม่ผ่าน ก็แค่นั้น ถ้าไม่ผ่านปัญหาพลังงานก็เกิดขึ้นในวันหน้า ไม่ได้ขู่ขี้เกียจพูดแล้ว ส่วนเรื่องจีเอ็มโอก็ยังไม่ได้เกิด เขาก็ไปแก้หลักการและเหตุผลให้ครอบคลุม ตนยืนยันว่า ไม่เคยคิดให้มีจีเอ็มโอในประเทศไทย ใครคิดก็บ้าแล้ว

http://www.matichon.co.th

Comments.-

1) ใช้วิธีการเกษตรกรรมตามแนวทางพระราชดำริวิเศษที่สุด
ไอ้พวกข้าราชการประจำรู้กันดีแต่ไม่ประชาสัมพันธ์เผยแพร่เท่าไร
เพราะไม่มีเรื่องปุ๋ย เรื่องเคมี ยาฆ่าแมลงเข้ามาเกี่ยว
รัสเซียเขาก็รู้ภัยพิบัติที่ ตต.จะเอาเข้ามาเขายังไม่เอาด้วยเลย.

2) อยากมีควายธนูครับ ใครที่คนส่วนใหญ่เขาลงความเห็นว่ามันชั่ว และพิสูจน์ได้อย่างแท้จริง ก็จะปล่อยให้ควายธนูไปจัดการมัน รอกฏหมายให้ลงโทษ โคตรยากเลยครับ คนชั่วเลยเพิ่มขึ้นเรื่อย จนจะเต็ม เมืองแล้ว

คิดได้ไงเนี่ย...จะเอาป่ะ ผมมีหลายโต....

3) ก็ไม่ต้องออกกฎหมายอะไรมากแค่เขียนว่าห้ามนำเข้าGMOทุกชนิดเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ผู้ละเมิดมีความผิดจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตแค่นั้นพอ จบ

4) นายกจะอยู่ข้างประชาชนหรืออยู่ข้างนายเกษมสันต์เดี๋ยวก็รู้



[img]
http://upic.me/i/fj/v94-3.jpg[/img]

(4) สำนักข่าวโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และสำนักข่าวออนไลน์เริ่ม โหมประโคมรายงานข่าวการเคลื่อนไหวของเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตรและอาหาร เครือข่ายผู้บริโภค และองค์กรภาคประชาสังคม ร่วมกับการเคลื่อนไหวของประชาชนใน 77 จังหวัดทั่วประเทศแล้ว#ThailandNoGMO #NoGMODays

PPTV สัมภาษณ์ไบโอไทย และจัดทำกราฟฟิคอธิบายผลกระทบจากการปนเปื้อนทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาออกเผยแพร่ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ตระหนักถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะร้ายแรงกว่าผลกระทบจากกรณีมะละกอจีเอ็มโอหลายเท่าทวีคูณ

ชมบทวิเคราะห์ขนาดยาวของ PPTV ได้ที่ http://www.pptvthailand.com/news/19767



[img]
http://upic.me/i/jy/5-3-3.jpg[/img]

(5) เป็นไปตามนี้


Center for Food Safety | Take Action
QR codes instead of mandatory, on-package labeling of
genetically engineered foods? No thanks. Tell your Senators
that QR codes are unjust and impractical! Knowing about the
foods you purchase…
CENTERFORFOODSAFETY.ORG
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก กองยาแผนไทยและสมุนไพร กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

.


ที่มา . - http://biothai.net/node/30455



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 30/12/2015 11:37 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 ภาค 2 ถ้าไม่อยากโดน.... ช่วยกันหยุด GMO (4) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 12 ภาค 2 ถ้าคนไทยไม่อยากโดน ช่วยกันหยุด GMO (4)


ภาค 2 (5.4 -1) – ช่วยกันเป็น แจ๊ค ผู้ ล้มยักษ์ กันหน่อย.....





(1) ถ้าไม่อยากโดน จงช่วยกันเป็น แจ๊ค ผู้ล้มยักษ์ กันหน่อย





(2) อธิบายจีเอ็มโอเป็นภาษาชาวบ้านๆ ให้เข้าใจแบบเร็วๆ ได้ว่า ...

เมล็ดพันธุ์ จีเอ็มโอ เปรียบได้กับไข่ที่นกกาเหว่าที่แอบเอามาวางไว้ในรังของนกอื่นที่ขยันเลี้ยงลูก ขยันหากิน

นกกระจิบเป็นหนึ่งในนกโชคร้ายที่รู้ไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมของนกอีวาบ (อีวาบเป็นนกนกกาเหว่าชนิดหนึ่ง) ซึ่งเป็นนกที่หาเลี้ยงลูกไม่เป็น แต่ฉลาดเป็นเหนี่ยง ในการเอาเปรียบนกอื่น มันจะแอบไปวางไข่ในรังของนกอื่นที่ขยัน

แต่... ไข่ของนกอีวาบจะฟักก่อน ทันทีที่ออกจากไข่สัญชาติญาณของผู้บุกรุกจะทำงานทันที มันจะเริ่มกำจัดไข่และลูกนกกระจิบไปทีละฟองๆ จนเหลือมันเพียงตัวเดียว พ่อแม่นกกระจิบต้องทำงานหนักขึ้นเป็นสิบเท่า เพื่อหาอาหารมาเลี้ยงสิ่งที่คิดว่าเป็นลูกที่กินไม่หยุดหย่อน จนลูกยักษ์ลูกมารตัวใหญ่กว่าพ่อแม่ถึง 3-4 เท่า จนโตคับรัง มันยังออกมาแหกปากขอกินอาหาร โดยไม่สนใจว่าพ่อแม่บุญธรรมของมันจะเป็นหรือจะตายยังไง

พอมันบินได้แล้ว มันก็บินจากไปเพื่อไปก่อกรรมทำเข็ญกับนกกระจิบตัวอื่นๆ ต่อไปอีก ทิ้งพ่อแม่นกกระจิบให้มองตากันปริบๆ


จึงไม่แปลกที่ท้องทุ่งในวันนี้จึงเต็มไปด้วยเสียงประกาศอาณาเขตของนกกาเหว่า ส่วนนกกระจิบยังคงต้องก้มหน้าก้มตาทำงานงกๆอยู่ตามพงหญ้า ธรรมชาติก็คือภาพสะท้อนชีวิตในสังคมของมนุษย์เรา ที่เราจะเห็นทั้งมุมของการอยู่ร่วมกันอย่างช่วยเหลือเกื้อกูล และแบบการเอารัดเอาเปรียบอย่างชั่วช้าสามานย์

เกษตรกรวันนี้ต้องกลับมาถามตัวเองว่า สิ่งที่เราทำอยู่วันนี้ เราทำเพื่อใคร เพื่อลูกของเรา หรือเพื่อให้ลูกของนายทุนปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า เมล็ดพันธุ์ต่างๆ เติบโต ร่ำรวยขึ้น

ขณะที่เราจนลง เป็นหนี้ สะสมโรคเอาไว้ในตัว แล้วที่เราเชื่อว่าลูกของเราได้ไปเป็นเจ้าคนนายคนนั้น แท้จริงได้เป็นจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงคนที่ได้อำนาจตำแหน่งมาชั่วคราว เพื่อให้ทำงานทำเงินให้กับนายทุน รับค่าจ้างมาพอผ่อนบ้านผ่อนรถและกินอาหารแบบรวกๆไปวันๆเท่านั้น


หยุด พ.ร.บ. จีเอ็มโอ ก่อนซ้ำเติมเกษตรกรไทยให้ตายคาแผ่นดินเกิด - ขอเชิญร่วมลงชื่อสนับสนุน

https://www.change.org/p/ หยุด-พ-ร-บ-จีเอ็มโอ-ก่อนซ้าเกินการ…





(3) ประธานาธิบดีปูติน สั่งห้ามนำเข้า และ เพาะปลูก สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมในดินแดนของรัสเซีย .. ทั้งนี้เขามีความปรารถนาที่จะทำให้รัสเซียกลายมาเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตรที่ปลอด GMO ที่ยิ่งใหญ่ของโลก จากเดิมที่รัสเซียเป็นประเทศที่ผลิตอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชากรในประเทศ แต่ปีที่แล้วรัสเซียส่งออกอาหารมีมูลค่ามากถึง 20 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณกว่า 7 แสนล้านบาท มากกว่าการส่งออกอาวุธเสียอีก

ประธานาธิบดีปูติน ยังได้กล่าวต่อหน้ารัฐสภาด้วยว่าในขณะที่ประเทศตะวันตกอื่นๆ กำลังสูญเสียความน่าเชื่อถือในเรื่องของการผลิตอาหาร นี่เป็นโอกาสของรัสเซียที่จะก้าวเข้ามาผลิตอาหารปลอดภัย เป็นมิตรต่อระบบนิเวศ และมีคุณภาพสูงทดแทน ซึ่งมูลค่าตลาดของสินค้าประเภทนี้ (ไม่ใช่จีเอ็มโอ) มีแต่จะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

รัสเซีย สั่งห้าม GMO เข้าประเทศตาม ภูฏาณไปอีกประเทศแล้วนะครับพี่น้อง !!


Credit : Many Thanks to .....
- Data and Picture from https://www.rt.com/busine…/324605-russia-putin-healthy-food/

ที่มา https://www.facebook.com
/smartfarmthailand/photos/a.328544480654029.1073741881.
118899624951850/330785867096557/?type=3


(4) 10 คำถามเรื่อง GMO โดยนักเศรษฐศาสตร์ (ที่มีความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์น้อยมาก)

เห็นนักวิทยาศาสตร์ นักกฎหมาย นักประชาสังคม และนักอื่นๆ ออกมาพูดคุยถกเถียงเรื่อง GMO กันอย่างออกรส

นักเศรษฐศาสตร์อย่างผมเลยต้องขอหาความรู้บ้าง ด้วยความที่เรียนวิทยาศาสตร์มาแค่ ม.ปลายสายวิทย์ครับ เลยไม่มีความรู้อะไรมาก ที่พอรู้อยู่บ้างก็เป็นเรื่อง Demand.. Supply เรื่องการเงิน และการค้าระหว่างประเทศอีกนิดหน่อย เลยมีคำถามเรื่อง GMO ให้คิดหาคำตอบหลายข้อครับ


1. อะไรคือ GMO?

GMO ย่อมาจาก Genetically Modified Organism สิ่งมีชิวิตที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมโดยกระบวนการ Genetic Engineering Techniques ต่างๆ ซึ่งทำได้ทั้งในสัตว์ และพืช ดังนั้น GMO ก็เลยเข้ามาอยู่ในกระบวนการผลิตภาคเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร

ทั้งนี้ก็ด้วยความหวังดีของนักวิทยาศาสตร์ที่อยากเห็นพืชที่ทนต่อโรค ทนต่อศัตรูพืชต่างๆ ได้ปศุสัตว์ที่แข็งแรงทนต่อโรค เติบโตได้ผลผลิตที่แข็งแรง ในปริมาณมาก โดยไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง ไม่ต้องใช้ปุ๋ย ไม่ต้องใช้เคมีเกษตรต่างๆ แต่ใช้การตัดต่อยีนในตัวพืชและ/หรือสัตว์แทน


2. ผลผลิตจำนวนมากดีจริงหรือ?

ในทางเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะในสินค้าเกษตรซึ่งเป็นสินค้าที่มีค่าความยืดหยุ่นของอุปทานต่ำ (Inelastic Supply)

นั่นหมายความว่า ต่อให้ราคาเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น ผู้ผลิตก็ไม่สามารถเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วเพื่อนำออกขาย ทั้งนี้เพราะสินค้าประเภทนี้ใช้ระยะเวลาในการผลิตยาวนาน เช่น ....

ต่อให้ข้าวราคาสูงขึ้น ชาวนาก็ไม่สามารถเพิ่มการผลิตข้าวได้ทันที เพราะกว่าข้าวจะเก็บเกี่ยวได้ก็ต้องใช้เวลามากกว่า 120 วัน ในทางตรงกันข้าม หากราคาสินค้าลดลง เกษตรกรก็ไม่สามารถเก็บสินค้าเกษตรไว้เพื่อรอขายในระยะเวลาที่ราคาเพิ่มสูงขึ้นได้เพราะกว่าจะถึงเวลานั้น ข้าวก็เน่าเสียหมดแล้ว ดังนั้นสินค้าเกษตรจึงมีความยืดหยุ่นต่ำ และ....

ในสินค้าที่ความยืดหยุ่นต่ำๆ หากสามารถผลิตเพิ่มขึ้นได้มากๆ โดยที่อุปสงค์หรือพฤติกรรมของคนซื้อไม่ได้เปลี่ยนแปลง ภาวะสินค้าล้นตลาดและราคาของสินค้าที่ต่ำลง กลับทำให้รายรับของเกษตรกรลดลงเสียด้วยซ้ำ

ดังนั้นความหวังดีของนักวิทยาศาสตร์ที่อยากเห็นผลผลิตการเกษตรจำนวนมากๆ อาจกลายเป็นฝันร้ายของเกษตรกรก็ได้ เพราะในความเป็นจริง สิ่งที่เกษตรกรต้องการไม่ใช่การปลูกอะไรได้มากๆ จนสินค้าล้นตลาด หากแต่พวกเขาต้องการรายได้จากการทำการเกษตรมากๆ ต่างหาก


3. แล้ว GMO ทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลงจริงหรือ?

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า รายได้ คือรายรับ หักลบ ด้วยต้นทุน

ดังนั้นการจะเพิ่มรายได้จึงเกิดจากการเพิ่มรายรับ และ/หรือ การลดต้นทุน หากแต่อย่างที่กล่าวมาแล้วในข้อ 2 ว่า GMO ทำให้รายรับลดลงเนื่องจากผลผลิตมากขึ้น

คราวนี้มาดูด้านต้นทุนบ้าง เราพบว่า กว่าจะได้เมล็ดพันธุ์พืช GMO มาแต่ละชนิด ต้องมีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ยุ่งยากซับซ้อน ต้องการการลงทุนทั้งในเรื่องของตัวนักวิจัย และห้องปฏิบัติการมูลค่ามหาศาล

ดังนั้นผู้ที่จะมีความสามารถในการลงทุนพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช GMO ได้จึงมักจะเป็นบริษัทการเกษตรข้ามชาติขนาดยักษ์ที่มีเงินทุนมหาศาล และเมื่อพัฒนาเมล็ดพันธุ์เหล่านี้ได้ พวกเขาก็จะเอาสิ่งที่ได้ไปจดสิทธิบัตร เพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่พวกเขาลงทุนไป นั่นทำให้บริษัทเกษตรข้ามชาติเหล่านี้สามารถผูกขาดการขายเมล็ดพันธุ์ GMO เหล่านี้ได้ และ.....

ตามหลักเศรษฐศาสตร์ เราเรียนเรื่อง Monopoly Market หรือตลาดที่ผูกขาดโดยผู้ขาย และผลที่เกิดขึ้นในตลาดลักษณะนี้คือกลไกตลาดจะถูกบิดเบือนทำให้สินค้าที่ขายมีจำนวนลดลงและมีราคาที่สูงขึ้น ดังนั้นราคาเมล็ดพันธุ์ที่สูงขึ้นก็กลับทำให้ต้นทุนของเกษตรกรเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งนั่นก็จะยิ่งซ้ำเติมเกษตรกรมากขึ้นอีกเนื่องจาก รายรับก็ลดลง แต่ต้นทุนกลับสูงขึ้น ซึ่งนั่นหมายถึงรายได้ลดลงหรือขาดทุนจากการทำการเกษตรนั่นเอง


4. นักวิทยาศาสตร์อาจจะบอกว่า อ้าว! ถึงจะมีต้นทุนเมล็ดพันธุ์ที่สูงขึ้น แต่เกษตรกรก็ลดการใช้ยาฆ่าแมลง ลดการใช้ฮอร์โมน ลดการใช้ปุ๋ยลงได้ ซึ่งก็จะทำให้ต้นทุนลดลงนี่นา แล้วจะกลัวทำไม?

คำตอบก็คือ แล้วเราจำเป็นต้องใช้ GMO เพื่อลดต้นทุนค่ายา ค่าปุ๋ย ค่าฮอร์โมนหรือไม่ ในเมื่อเราสามารถทำเกษตรอินทรีย์ (Organic Farming) ได้ โดยการเก็บเมล็ดพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีธรรมชาติ เลี้ยงสัตว์หรือปลูกพืชที่ช่วยในการกำจัดศัตรูพืช ทำปุ๋ยจากน้ำหมักชีวภาพ ใช้การเกษตรแบบผสมผสานเพื่อเพิ่มผลผลิต โดยที่เราไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเมล็ดพันธุ์ที่ผูกขาดโดยบริษัทการเกษตรก็ได้นี่ ที่สำคัญพืชผักออร์แกนิคก็ขายได้ราคาดีกว่า และกระบวนการผลิตก็เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและตัวเกษตรกรเองด้วย

5. นักวิทยาศาสตร์อาจจะบอกว่า งั้นเราแก้เรื่องรายรับลดลง โดยการทำพืชให้โตเร็วขึ้น และไม่เน่าเสียก็ได้โดยการตัดต่อพันธุกรรม ผลิตผลการเกษตรเหล่านั้นจะได้ไม่เป็นสินค้าที่มีความยืดหยุ่นสูง

คำตอบคือ ลองนึกดูว่าถ้ามีพืชผักที่โตได้ในชั่วข้ามคืน และเก็บไว้ ยังไงก็ไม่เน่า ถ้ามีพืชผักเช่นนั้นจริงๆ เราจะกล้ากินพืชผักเหล่านั้นหรือไม่ โดยเฉพาะ คนที่ทำการวิจัยทดลองออกมาน่ะ กล้ากินหรือไม่


6. เมล็ดพันธุ์ GMO ยังอันตรายกว่านั้นเสียอีก

เพราะบริษัทเกษตรยักษ์ใหญ่ย่อมอยากขายเมล็ดพันธุ์ในทุกรอบการเพาะปลูก และต้องการเพิ่มอำนาจผูกขาดให้ตนเอง ดังนั้นไหนๆ ตัดต่อพันธุกรรมได้แล้ว งั้นเราตัดต่อพันธุกรรมให้พืชเหล่านั้นเป็นหมันไปเลยละกัน นั่นคือ ออกผลได้ใน crop แรก แล้วใน crop ต่อไปหากเกษตรกรเก็บเมล็ดไว้ปลูก เพื่อจะได้ไม่ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่ในรอบการเพาะปลูกหน้า สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ เมล็ดเหล่านั้นจะงอกออกเป็นต้นครับ แต่มันจะไม่มีผล ไม่มีลูก เพราะมันเป็นหมันตามที่เขาตัดต่อยีนเอาไว้

คำถามคือ แล้วเกษตรกรจะทำอย่างไร ลงทุนลงแรงเพาะปลูกไปแล้ว จ่ายเงินค่าน้ำ ค่าแรง ค่าโน้นนี่นั่นไปแล้ว แต่พืชที่งอกกลับไม่ออกลูก แล้วจะเอาอะไรกิน นี่ยังไม่นับรวมค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ที่เกิดขึ้นจากการที่เขาไม่ได้เพาะปลูกพืชอื่นๆ แทนพืชเป็นหมันที่ยืนต้นแต่ไม่ออกลูกพวกนั้นด้วย แล้วพวกเขาจะไปเรียกร้องจากใคร ในเมื่อข้างซองเมล็ดพันธุ์ บริษัทเกษตรยักษ์ใหญ่ก็เขียนเตือนไว้แล้วว่า สามารถเพาะปลูกได้เพียงฤดูกาลเดียวเท่านั้น เผลอๆ โดยจับกุมดำเนินคดีตามกฎหมายอีกต่างหาก หากเกษตรกรรายย่อยพวกนั้นทำเกษตรแบบพันธะสัญญา (Contract Farming) ที่มีข้อตกลง ข้อกฎหมาย ระบุในการเพาะปลูก การซื้อเมล็ดพันธุ์ การส่งมอบผลผลิตที่อาจจะระบุถึงการห้ามเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ใน crop ต่อไป การเก็บไว้ใช้เพื่อหวังลดต้นทุน แล้วไม่สามารถส่งมอบผลผลิตได้ อาจหมายถึงการดำเนินคดีตามกฎหมาย



7. หลายๆ คนกลัวเรื่อง พืช GMO ที่จะทำลายพืชท้องถิ่น และทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ

ผมไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ ผมไม่รู้หรอกว่ามันจะเป็นอย่างนั้นหรือไม่ แต่นักเศรษฐศาสตร์อย่างผมรู้จัก Gresham's law ที่บอกว่า “Bad money drives out good money”


นั่นคือสภาวะที่หากเงินตรามูลค่าเท่ากันถูกผลิตด้วยโลหะมีค่า 2 ชนิด เช่น เงินมูลค่า 1 ดอลลาร์ถูกผลิตด้วยเหรียญจากทองแดง กับเหรียญจากทองคำ แน่นอนเหรียญจากทองคำมีมูลค่าในตัวมันเองมากกว่าเหรียญจากทองแดง ดังนั้นเหรียญทองคำจึงเป็น Good money (Under Value) ในขณะที่เหรียญทองแดงเป็น Bad money (Over Value)

เมื่อเป็นแบบนี้ ในที่สุดทุกคนที่ได้เหรียญทองจะเก็บเหรียญทองเอาไว้ (เพื่อเอาไปใช้ทำอย่างอื่นที่มีมูลค่าสูงกว่า เช่น หลอมทองไปทำเครื่องประดับ) และใช้กันแต่เหรียญทองแดง จนในที่สุดเหรียญทองคำก็จะหายหมดไปจากท้องตลาด เหลือแต่เหรียญทองแดงหมุนเวียนอยู่ในระบบ

นั่นคือ Bad money drives out good money ดังนั้นพืช GMO ที่กล้าแกร่งแต่มูลค่าสูงเกินจริง (Over Value) เพราะถูกสร้างขึ้นมาโดยมนุษย์ตัวเล็กๆ ที่อาจจะยังไม่รู้ผลดี-ผลเสียของมันเลยก็ได้ ก็ย่อมจะ Drives out พืชพันธุ์ท้องถิ่นซึ่งมีมูลค่า Under Value ให้สูญพันธุ์ไปได้ก็ได้ (ที่พืชพันธุ์ท้องถิ่นซึ่งมีมูลค่า Under Value หรือเราให้ค่าต่ำกว่าเนื้อแท้ของมัน เพราะมันขายไม่ได้ราคาดีทั้งที่พืชเหล่านั้นถูกจรรโลงขึ้นมาโดยสิ่งที่ค่าสูงที่สุดบนโลกใบนี้ นั่นคือ ธรรมชาติ)


8. นักวิทยาศาสตร์บอก ไม่เป็นไร พืชอันไหนที่สูญพันธุ์ไป เดี๋ยวเราก็ตัดต่อพันธุกรรมสร้างพืชแบบนั้นขึ้นมาก็ได้


ผมไม่รู้ว่าพวกเขาทำได้จริงหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ ผมยังไม่เห็นนักวิทยาศาสตร์คนไหนเอาสัตว์ เอาพืชที่สูญพันธุ์ไปแล้ว กลับคืนมาบนโลกนี้ได้สักที ของบางอย่างเสียแล้ว เสียเลยนะครับ และการสูญหายของสิ่งเหล่านี้มันส่งผลกระทบภายนอกที่บางที่เราอาจจะไม่ได้คำนึงถึงมูลค่ามหาศาลของมันในลักษณะ Externality Cost หรือ Externality Benefit ก็ได้


9. นักวิทยาศาสตร์บอกว่า GMO ไม่อันตราย กินได้ ปลอดภัย ภาพหนูทดลองมีเนื้องอกพวกนั้น ทำวิจัยไม่ถูกต้อง เพราะใช้หนูผิดสายพันธุ์ เอาหนูที่เป็นเนื้องอกง่ายด้วยตัวมันเองมาทดลอง เลี้ยงหนูนานเกินไป เขาเลี้ยงทดลองกันแค่ 90 วันอันนี้เลี้ยง 2 ปี ผลเลยเกินจริง กลุ่มตัวอย่างเล็กเกินไป เลี้ยงแค่ 10 ตัว จริงๆ ต้อง 50 ตัวจะได้ผลที่เชื่อถือได้ทางสถิติ


ขอโทษครับ ผมในฐานะคนกินอาหาร และพอมีความรู้ทางสถิติอยู่บ้างขอโต้แย้งครับ

ข้อแรก หนูไม่ใช่คนครับ อะไรที่เกิดขึ้นกับหนูไม่จำเป็นว่าจะเกิดขึ้นกับคนครับ นั่นหมายความถ้าหนูมีเนื้องอก คนอาจจะไม่มีเนื้องอก และในทางตรงข้าม หนูไม่มีเนื้องอก คนอาจจะมีเนื้องอกก็ได้ครับ

ร่างกายของหนูอาจจะมีส่วนคล้ายหรือมีคุณสมบัติทางชีววิทยาที่คล้ายคน แต่หนูก็ไม่ใช่คนครับ ดังนั้นตราบใดที่ยังไม่มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถติดตามผลของการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของ GMO ในมนุษย์ที่ติดตามเฝ้าดูกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน ว่ากันเป็น 10 ปี 20 ปี และสามารถควบคุมการกิน การอยู่ และสภาพแวดล้อมของคนเหล่านั้นได้ ตราบนั้น GMO ก็ยังเป็นสิ่งที่หลายๆ ประเทศไม่ไว้วางใจครับ

และเมื่อไม่ไว้วางใจ หลายๆ ประเทศก็ใช้มาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phyto-Sanitary: SPS) ในการควบคุมหรือแม้กระทั่งกีดกันทางการค้าสำหรับการนำเข้าสินค้าเกษตรที่ปนเปื้อน GMO ครับ เช่น ....

ข้าวสาลีส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น ตรวจพบการปนเปื้อนของ GMO ทำให้ข้าวสาลีถูกบรรจุใน Watch List ซึ่งหากตรวจพบอีกอาจนำไปสู่การห้ามนำเข้า เหล่านี้เป็นต้น

ดังนั้นหาก GMO ปนเปื้อนเมื่อไหร่ ซึ่งโอกาสเป็นไปได้มากขึ้นในทุกๆ วัน ประเทศไทยต้องระวังและมีโอกาสเผชิญหน้ากับมาตรการทางการค้าที่มิใช่มาตรการทางภาษี (Non-Tariff Measure: NTMs) เหล่านี้มากยิ่งขึ้น และมาตรการเหล่านี้องค์กรการค้าโลกอนุญาตให้ใช้ได้นะครับ เพราะมันไม่ใช่การกีดกันทางการค้าแบบ Non-Tariff Barriers: NTBs หากแต่เป็นการปกป้องประเทศนำเข้าเพื่อรักษาสุขอนามัย


10. ในขณะที่เรายังไม่มีผลการศึกษาเรื่องผลกระทบทางลบของ GMO ต่อสุขภาพของคนที่ศึกษาในระยะเวลาที่ยาวนานเพียงพอโดยวิธีการศึกษาที่เชื่อถือได้ ในขณะที่หลายๆ ประเทศยังกีดกันการค้าสินค้าที่ปนเปื้อน GMO และในขณะที่ยังไม่มีใครสามารถรับประกันผลกระทบที่เกิดจากการปนเปื้อนในสภาพแวดล้อมได้ แล้วทางออกคืออะไร?

ทางออกคือ Organic Farming เกษตรอินทรีย์ครับ ผมมีงานวิจัยทั้งทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมผู้บริโภค งานวิจัยทางการตลาด และงานวิจัยทางการแพทย์มากมายครับที่แสดงให้เห็นว่า Clean Food คืออาหารที่ปลอด GMO

อาหารที่มาจากเกษตรอินทรีย์ อาหารที่สะอาดปลอดภัย และมีการค้าขายอย่างเป็นธรรม หรือ Fair Trade คือกระแสแห่งอนาคต

คืออาหารที่ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนขาย คนปรุง และคนกิน คืออาหารที่ดีต่อสุขภาพ คืออาหารที่ผู้บริโภคยินดีจ่ายในราคาที่สูงขึ้นแม้จะซื้อได้ในปริมาณที่ลดลง คือการเพาะปลูกที่ในระยะยาวให้ผลผลิตดีขึ้นด้วยต้นทุนที่ลดลง รวมทั้งยังส่งผลดีต่อสุขภาวะของเกษตรกรอีกด้วย



ลองนึกภาพดูนะครับว่าถ้าประเทศไทยสามารถประกาศได้ว่า ต่อไปนี้ผลิตผลทางการเกษตรและอาหารทุกชนิดที่ผลิตจากจังหวัดศรีสะเกษ (สมมติ) เป็นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เป็นอาหารออร์แกนิค เป็น Clean Food

ผมคิดว่า คนซื้อจากทั้งโลกจะแห่มาซื้อสินค้าเกษตรจากศรีสะเกษ ไม่ใช่เพียงให้ราคาสูงเท่านั้น แต่ยังซื้อล่วงหน้าชนิดมีเท่าไหร่ก็เหมาหมด

ทั้งนี้เพราะปัจจุบัน Supply ของสินค้าเกษตรอินทรีย์ยังมีไม่เพียงพอกับ Demand ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องครับ นักวิทยาศาสตร์อาจจะบ่นว่า ประเทศไทยจะขาดโอกาสในการทำวิจัยและพัฒนาในเรื่องพันธุกรรม


พวกคุณก็มาวิจัยปรับปรุงวิธีการผลิตสินค้าเกษตรแบบเกษตรอินทรีย์แทนซิครับ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ลดการพึ่งพาเมล็ดพันธุ์และเคมีเกษตรจากต่างชาติ จากบริษัทยักษ์ใหญ่ ใช้ธรรมชาติส่งเสริมเกื้อกูลธรรมชาติ มีโจทย์วิจัยให้สร้างองค์ความรู้ได้อีกมากมาย และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอีกด้วย

และถ้าทำทั้งหมดนี้ได้ นั่นแหล่ะครับ แนวทางเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ และเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริห์ขององค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงสอนให้เราพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน ใช้ความรู้คู่คุณธรรมเพื่อพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ของชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม อย่างมั่นคง สมดุล และยั่งยืน ซึ่งผมเชื่อเหลือเกินว่า แนวทางเกษตรอินทรีย์ตอบโจทย์เหล่านี้ได้ ในขณะที่แนวทาง GMO ไม่ใช่คำตอบครับ


.


ที่มา https://www.facebook.com
/photo.phpfbid=10153716315292225&set=a.111723572224.
86230.625882224&type=3&theater


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 30/12/2015 11:37 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 หยุด พรบ.GMOs (5) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 12 หยุด พรบ.GMOs (5)


ภาค 2 (5.5) – คัดค้านร่าง พรบ.GMOs




[url=http://www.mx7.com
(1) เข้าร่วมเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ พร้อมนำป้ายผ้า แผ่นกระดาษเขียนข้อความ "ค้านพ.ร.บ.จีเอ็มโอ" "No GMO" พบกันเวลา 10.00 น. วันที่ 9 ธันวาคม 2558 หน้าทำเนียบรัฐบาล และศาลากลางจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อยื่นหนังสือขอให้ชะลอร่างกฎหมาย และให้แต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงร่างกฎหมายที่มีตัวแทนของภาคประชาชน และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ



[url=http://www.mx7.com

(2) (กลุ่มชนเผ่า)ถ่ายภาพตัวเอง คนในครอบครัว เพื่อนๆ ถือป้ายแสดงสัญลักษณ์ NO GMO หรือข้อความอื่นใดเพื่อปฏิเสธร่างกฎหมายจีเอ็มโอที่กำลังจะผ่านออกมาเป็นกฎหมาย และ เข้าร่วมลงชื่อคัดค้านร่างพ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ.....หยุด-พรบ.จีเอ็มโอ-ก่อนซ้ำเติมเกษตรกรไทยให้ตายคาแผ่นดินเกิด?




[url=http://www.mx7.com

(3) ร่วมกันเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องสิทธิอธิปไตย-ความมั่นคงทางอาหาร ทางเลือกของผู้บริโภค ได้แล้วร่วมกันทั่วประเทศ (กรุณาแชร์โพสต์นี้ออกไปอย่างกว้างขวาง) #ThailandNoGMO

ในกรณีที่ไม่มีรายชื่อของจังหวัดที่ท่านประสงค์จะเข้าร่วม กรุณาติดต่อกับผู้ประสานงานในแต่ละภาค เพื่อวางแผนดำเนินการในจังหวัดดังกล่าวได้เพิ่มเติม เพื่อให้ครบ 77 จังหวัดในวันที่ 9 ธันวาคม นี้ต่อไป



[url=http://www.mx7.com

(4) บิดเบือนข้อมูล เพื่อผลักดัน GMOs จากรายการ วิทยาตาสว่าง ตอนที่ 7 ว่าด้วย มะละกอ GMOs



[url=http://www.mx7.com

(5) สวทช.หรือ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

เพิ่งเผยแพร่อินโฟกราฟฟิคเพื่อบอกว่าการปลูกพืชจีเอ็มโอร่วมกับพืชอื่นเป็นไปได้ โดยเสนอให้มีการปลูกพืชเหลื่อมเวลา และการปลูกต้นไม้ใหญ่เป็นแนวกันชน ข้อแนะนำดังกล่าวเป็นคำแนะนำที่ล้มเหลวยากที่จะปฏิบัติได้ เพราะเกษตรกรไทยมีพื้นที่เกษตรเฉลี่ยอยู่ที่ 15-20 ไร่เท่านั้น


ข้อเสนอของนักวิทยาศาสตร์บางคนที่เสนอให้ทำแนวกันชนแบบต่างประเทศก็เป็นข้อเสนอที่ยิ่งกว่าล้มเหลว เพราะการทำแนวกันชนระหว่างแปลงที่ระยะ 200 เมตร ซึ่งเป็นคำแนะนำทั่วไปนั้น จะทำให้เกษตรกรไม่เหลือพื้นที่ปลูกพืชที่ต้องการปลูกได้เลย (พื้นที่ 15 ไร่มีขนาดประมาณ 155X155เมตร การเว้นระยะ 200 เมตรรอบพื้นที่เกษตรเป็นไปไม่ได้)

ที่สำคัญงานศึกษาล่าสุดในยุโรปงานวิจัยล่าสุด โดย Frieder Hofmann และคณะซึ่งศึกษาประสบการณ์การปลูกจีเอ็มโอของยุโรป โดยใช้เวลายาวนานในการติดตามถึง 10 ปี (2001-2010) ศึกษาในพื้นที่ 216 แห่งในเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และเบลเยี่ยม พบว่าเกสรข้าวโพดสามารถปลิวไปผสมข้ามได้ไกลถึง 4.5 กิโลเมตร

โดยในระยะห่างดังกล่าวยังมีโอกาสพบเกสรของข้าวโพดตั้งแต่หลายพันจนถึง 10,000 เกสร (ข้าวโพดหนึ่งต้นมีเกสรมากถึง 5-50 ล้านเกสร)

ผู้วิจัยได้เสนอให้การปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอต้องมีระยะห่างจากแปลงข้าวโพดทั่วไปหรือพื้นที่ที่ไม่ต้องการให้เกสรจากพืชจีเอ็มโอมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่น(เช่นแมลงที่ไม่ใช่เป็นศัตรูพืช)เป็นหลักกิโลเมตร แทนที่จะมีระยะห่างเพียง 200 เมตร ดังที่เป็นอยู่ในหลายประเทศ

ข้อเสนอของนักวิทยาศาสตร์บางคนและอินโฟกราฟฟิคของสวทช.จึงเป็นภาพสะท้อนความล้มเหลวของวิทยาศาสตร์ที่เหินห่างกับความเป็นจริง ไม่เข้าใจสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ประเภทนี้แหละที่ผลักดันหัวชนฝาให้ประเทศไทยปลูกพืชจีเอ็มโอ โดยไม่ได้มองมิติทางนิเวศเกษตร และเศรษฐกิจสังคมของประเทศตัวเอง

อ่านงานศึกษาเกี่ยวกับการปนเปื้อนทางพันธุกรรมเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com


อินโฟกราฟฟิคของสวทช.https://www.facebook.com
Comments.-
1.- ถ้าละอองเกสรของพืช GMO ปลิวเข้ามาผสมกับเกสรพืชพื้นบ้านของผม มันจะทำให้เมล็ดพันธุ์ของพืชพื้นบ้านของผมกลายเป็น GMO หมดเลย ถามว่าเมื่อเกิดการปนเปื้อนอย่างนี้ใครรับผิดชอบ? / เมล็ดพันธ์ที่กลายเป็น GMO นั้น ผมก็ไม่สามารถเก็บทำพันธุ์ไว้ปลูกในฤดูกาลต่อไปได้อีก ซ้ำถ้าผมเก็บเมล็ดพันธ์ที่เป็น GMO นั้นไว้ ผมก็จะโดนข้อหาละเมิดสิทธิบัตรอีกต่างหาก สุดท้ายผมต้องยอมจำนนให้กับบรรษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติที่ขายเมล็ดพันธ์ซึ่งเป็น GMO และราคาแพง อย่างนั้นหรือ? นี่เรากำลังจะตกเป็นทาส บนที่ดินไร่นาของตัวเราเอง อย่างนั้นหรือนี่?

2.- ณ ตอนนี้ มะละกอเกิดการปนเปื้อนแล้วนะ มีใครรู้บ้างหรือยัง มะละกอ GMO ปนอยู่กับมะละกอพันธุ์พื้นบ้าน

3.- นักวิชาการที่เร่าร้อนวิชาเพราะค้นคว้ามามากอยากขยายผลงาน อย่าคิดว่าท่านเก่งเหนือธรรมชาตินะค่ะ ความหายนะมักเกิดจากความอวดรู้อวดดีและ แทรกผ่าขบวนการของวิถีธรรมชาติ หมอไทย ไปเรียนจบทุนร็อคกี้เฟลเร่อร์จากเมกา กลับมาเป็นครูบาอาจารย์ ขยายผลให้ปชช.เลิกกินน้ำมันหมู น้ำมันจากมะพร้าว จนชาวสวนเจ๊ง โรงงานเลิกผลิต

เวลาผ่านไป เกือบ 40 ปี เพิ่งรู้ว่า โรคไขมัน คลอเรสเตอรอล ความดันสูง เบาหวาน หลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอ้วน ล้วนแล้วมาจากอาหารที่ใช้น้ำมันพืชที่มีขายในท้องตลาดทุกวันนี้ ส่วนน้ำมันที่ดีที่สุดที่บรรพบุรุษไทยใช้กินกันมาหลายร้อยปี ถูกลูกหลานหัวหมอ นักเรียนนอก ทำลายยับเยิน ก่อนที่จะเห่อ GMO ของฝรั่ง ขอให้ใส่หัวใจไทยให้มากๆ เรียนรู้ความผิดพลาดอย่างมหันต์ที่วงการแพทย์ โดยเฉพาะที่ เกิดจากมหาวิทยาลัยต่างพากันเงียบมากๆ แต่มันทำให้เกิดปัญหาหลักทางสุขภาพ ที่ชาติไทยสูญเสีย โดยเฉพาะอาชีพจากเกษตรสวนมะพร้าวที่ล้มหายตายจากไปมาก ใครล่ะที่มีแต่ได้กับได้ โรงพยาบาลเอกชนขยายกันใหญ่โต รพ.รัฐ บริการไม่ไหว ยานำเข้ามากมายจากต่างประเทศ บริษัทน้ำมันพืชจากถั่วเหลืองต้องนำวัตถุดิบจากต่างประเทศ และน่าจะเป็นพืชกลุ่ม GMO

คุณเห็นอะไรไหม การที่ คนเรียนเก่งๆ ของไทยได้รับทุนต่างชาติสารพัดไปเรียนนอก แล้วนำเข้าความคิดแบบนอก ๆ คือพัฒนา เจริญ อะไร ๆ ทำนองนี้ มาให้ชาวไทยผู้ซื่อ ๆ และยังไม่พัฒนา หลายคนติดความคิดที่ ดูถูก คนไทยไว้ในสมอง โดยอาจจะลืม อะไรๆที่เคยเป็นเหง้ามาก่อน มันคือปัญหา ที่มาจากความเร่าร้อนอยากเร่งพัฒนา โน่น นี่ นั่น จนตัวสั่น โดยอยากลองไปทุกเรื่องแบบเปะปะไร้ความไตร่ตรองขาดความสุขุม แบ่งแยกกันทำ แบบเก่งแยกส่วน อาจนำพาความเสียหายมากกว่าการคาดหมายผลอันเลิศตามที่ คิดไว้ ซึ่ง ยังจะต้องใช้ปชช.คนไทยและ ประเทศไทย เป็นที่ทดลองอีกหรือ ?
ขอแนะนำว่าช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม ให้ GMO มันไปโตที่อื่นก่อนเถิด จนชาวโลกเขาแซ่ซร้องสรรเสริญว่า อยากได้อยากกิน กันพร้อมเพรียง แล้ว ค่อยเชิญ มันเข้ามาในบ้านในเมืองไทย นะท่าน



[url=http://www.mx7.com

(6) อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ นำเอาแผนภาพของไบโอไทยไปนำเสนอในเพจของตัวเอง ใช้เครื่องหมายขีดฆ่า และใส่เครื่องหมายคำถามบนแผนภาพดังกล่าว พร้อมทั้งวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการ "พูดบิดเบือน" "พูดความจริงไม่ครบ" หรือ "การใส่ร้ายป้ายสีตัวบุคคล"

ไบโอไทยไม่ได้มองเห็น อ.เจษฎาในฐานะ "บุคคล" แต่เพียงอย่างเดียว แต่มองเห็นในฐานะ "ชุดความคิด" เกี่ยวกับประเด็นที่เราเห็นแย้งกัน เราจึงให้ความสำคัญของ"ข้อมูล" และ "ที่มาของความคิด" ของคู่สนทนาของเรา ตัวแทนของไบโอไทยจึงรับคำเชิญทุกครั้งเมื่อมีผู้จัดให้เกิดการถกเถียงระหว่างกัน เพื่อให้ผู้ชมได้กลับไปขบคิดเลือกรับหรือไม่รับกับสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายได้นำเสนอ

สถานีโทรทัศน์จัดให้มีดีเบทระหว่างเราอย่างน้อย 3 ครั้ง (นับ 3 ตอนของรายการเรื่องเด่นเย็นนี้เป็น 1 ครั้ง) และล่าสุดเมื่อ 2 วันที่ผ่านมา ช่องไทยพีบีเอสจะจัดอีกครั้งหนึ่ง แต่คู่ดีเบทเราปฏิเสธที่จะขึ้นเวที แต่กลับนำเอาเนื้อหาในเพจของเรามาวิจารณ์ในเพจของตัวเอง (ที่จริงก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่สงสัยว่าทำไมถึงไม่รับดีเบทกับไบโอไทย ทั้งๆที่สามารถจะเอาประเด็นที่ต้องการมาถกเถียงกันแบบเห็นหน้าเห็นตา และมีผู้ชมทั่วประเทศจะพิจารณาเอาเองว่าจะเลือกรับข้อมูลและความคิดเห็นผู้ใด)

หลายคนในไบโอไทยและเพื่อนๆชื่นชม อ.เจษฎา มากตอนทำเรื่อง GT200 เพิ่งซาๆไปบ้างก็ตอนหลัง แม้กระทั่งตอนที่อ.เจษฎากลายมาเป็นกระบอกเสียงของฝ่ายสนับสนุนจีเอ็มโอ เราก็ติดตามรับฟังข้อมูลและมุมมองในการนำเสนออยู่เสมอ

เราพบว่าข้อมูลบางอย่างที่เอามาตอบโต้ฝ่ายต่อต้านมีเหตุผลมีน้ำหนักเราก็รับฟัง แต่ในระยะหลังมานี้ เราพบว่าข้อมูลที่อ.เจษฎาเลือกเอามาใช้จำนวนมากกลับเป็นข้อมูลด้านเดียวจากกลุ่มบรรษัทที่ได้ผลประโยชน์จากจีเอ็มโอ ข้อมูลบางเรื่องเป็นการ "บิดเบือน" ซึ่งเมื่อพูดไปแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อบรรษัทแต่เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อย ผู้บริโภค และประชาชนส่วนใหญ่

เราเห็นว่าถ้าหากไม่อธิบายสิ่งที่อ.เจษฎากล่าวหาว่าเรา "บิดเบือน" และหากไม่ได้อธิบายต่อสาธารณชนได้ทราบว่าโพสต์อันไหน ข้อมูลใด หรือคำพูดใดของอ.เจษฎาที่เป็นการ "บิดเบือน" อาจเกิดผลเสียต่อไบโอไทยเอง และอาจเกิดผลเสียต่อประชาชนที่ได้ข้อมูลไม่ถูกต้อง จึงตัดสินใจทยอยนำเสนอ เพื่อให้ประชาชนได้นำเอาไปพิจารณาว่าจะเชื่อถือใครหรือไม่อย่างไร

การค้นพบของนักวิทยาศาสตร์หลายคนพาเราไปค้นพบความจริงบางอย่าง
แต่ "วิทยาศาสตร์" เองก็ไม่ได้ตั้งอยู่โดดเดี่ยวหากแต่อยู่ภายใต้ระบบเศรษฐกิจและสังคมที่มันสังกัดอยู่

เราเห็นว่าอ.เจษฎา (และนักวิทยาศาสตร์อีกจำนวนหนึ่ง) กำลังพาตัวเองเข้าไปใกล้ "วิทยาศาสตร์บรรษัท" หนังสือของเขาเรื่อง "หนึ่งทศวรรษพืชจีเอ็มโอในยุโรป" ซึ่งใช้ข้อมูลจาก CropLife และตีพิมพ์โดยเงินทุนจากสมาคมของบรรษัทจีเอ็มโอ/สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เป็นการนำเอา "วิทยาศาสตร์" ไปรับใช้ผลประโยชน์ของบรรษัท ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม

ไบโอไทยจะทยอยนำเสนอเนื้อหาเป็นตอนๆ เพื่อเปิด "สมรภูมิทางปัญญา" ในกรณีจีเอ็มโอ โปรดติดตาม



[url=http://www.mx7.com

(7) ช่วยกันแชร์ข่าวสารนี้ไปอย่างกว้างขวางด้วยครับ และโปรดกรุณาคลิกไลค์เพจ BIOTHAI เพื่ออับเดทข้อมูลข่าวสาร และเตรียมการเข้าร่วมเคลื่อนไหวใหญ่ร่วมกัน ซึ่งจะประกาศผ่านเพจนี้ เร็วๆนี้

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2558 ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สภาเกษตรกรแห่งชาติร่วมกับ 13 เครือข่ายภาคเกษตร เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมข้าวโพดหวาน.. สมาคมแป้งมันสำปะหลัง สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป สมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย กลุ่มผู้ส่งออกข้าว เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ เครือข่ายเกษตรทางเลือก เครือข่ายความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

มีมติเห็นชอบร่วมกันในการคัดค้านร่างพ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ เนื่องจากสาระสำคัญของกฎหมายล้มเหลวที่จะปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ เปิดช่องให้บริษัทจีเอ็มโอไม่ต้องชดเชยและเยียวยาความเสียหายในกรณีที่เกิดผลกระทบต่อเกษตรอินทรีย์ และอุตสาหกรรมอาหารที่ไม่ใช้จีเอ็มโอ ไม่คุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น

ทั้งนี้โดยจะยื่นหนังสือต่อรัฐบาลภายในหนึ่งสัปดาห์เพื่อขอให้คณะรัฐมนตรีชะลอการเสนอร่างกฎหมายไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยให้ตั้งคณะกรรมการที่มาจากกลุ่มที่เกี่ยวข้องจากทุกฝ่ายเพื่อปรับปรุงร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวเสียใหม่ นำข้อท้วงติงของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงพาณิชย์ และนำข้อเสนอจากภาคส่วนต่างของ 13 เครือข่ายภาคเกษตรที่จะได้รับผลกระทบเพื่อนำไปปรับปรุงร่างกฎหมายดังกล่าว

เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก และภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบจากร่างกฎหมายฉบับนี้ ได้ประกาศที่จะมีการเคลื่อนไหวคัดค้านในระดับจังหวัดทุกจังหวัดภายในสองสัปดาห์ โดยขณะนี้มีตัวแทนเกษตรกร กลุ่มผู้ประกอบการ ในจังหวัดต่างๆ 21 จังหวัดประสงค์จะเคลื่อนไหวใหญ่ร่วมกันแล้ว

อนึ่ง กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เตรียมเผยแพร่เอกสารชื่อ "ยี่สิบปีแห่งความล้มเหลว" และเตรียมปฏิบัติการเชิงสัญลักษณ์เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวของภาคเอกชนและประชาชนในประเทศไทยในระหว่างการเคลื่อนไหวข้างต้นด้วย

อ่านเนื้อหาข่าวจากสื่อมวลชนได้จากลิงค์ต่อไปนี้

กลุ่มเกษตร-อุตฯแปรรูป 77 จังหวัดยื่นหนึ่งสือด่วน "ประยุทธ์" เบรคกฎหมายจี
เอ็มโอ หวั่นกระทบส่งออกวูบหมื่นล้าน
http://www.prachachat.net

สภาเกษตรฯนำ 13 เครือข่ายจี้รัฐชะลอร่างพ.ร.บ.จีเอ็มโอเข้าสนช.
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000132828

ชาวเน็ตร้อง ยกเลิกพ.ร.บ.จีเอ็มโอเสรี หวั่นกระทบเกษตรไทย
จีเอ็มโอ-อำนาจเหนือคสช. ?
http://www.thaipost.net/?q=จีเอ็มโอ-อำนาจทุนเหนือคสช

สภาเกษตรกรฯจี้รัฐทบทวนร่างกม.จีเอ็มโอ หวั่นไม่เพียงทุบหม้อข้าว ยังเผา
บ้านตัวเอง
http://www.isranews.org

ตัวแทนสภาเกษตรกรแห่งชาติขอรัฐชะลอร่างกม.ความปลอดภัยทางชีวภาพ
http://news.thaipbs.or.th/content/ตัวแทนสภาเกษตรกรแห่งชาติขอรัฐชะลอร่าง-กมความปลอดภัยทางชีวภาพ

สภาเกษตรกรจัดเวทีสับจีเอ็มโอ จ่อเคลื่อนไหวคว่ำกฎหมายเอื้อบรรษัทข้ามชาติ
http://www.greennewstv.com/สภาเกษตรกร-จัดเวทีสับ/

หวั่นกม. GMO ทุบอุตฯอาหาร กระทบส่งออก รมต.อำนาจล้น
http://www.prachachat.net


ปชป.กังขารัฐบาลเร่งผ่านร่างกฎหมายพืชจีเอ็มโอ | เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/politics/363981

สภาเกษตรกรและ13เครือข่ายค้านพ.ร.บ.จีเอ็มโอ
http://www.krobkruakao.com


(8 ) ด้วยวัตถุประสงค์แอบแฝงของกลุ่มผู้ผลักดันร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ ทำให้กฎหมายฉบับนี้แทนที่จะปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพหรือความปลอดภัยทางชีวภาพกลับปกป้องประโยชน์ของบรรษัทยักษ์ใหญ่เมล็ดพันธุ์แทน จากการวิเคราะห์ นอกจากความบกพร่องอย่างร้ายแรงในมาตรา 46 ที่ไม่กำหนดการรับผิดชอบทางแพ่งแก่จีเอ็มโอที่ได้รับการปลดปล่อยต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังปรากฏในหลายมาตรา เช่น

มาตรา 26 กฎหมายไม่กำหนดให้มีการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมสำหรับจีเอ็มโอที่นำไปใช้ในสภาพควบคุมหรือในภาคสนาม อีกทั้งได้บัญญัติเปิดช่องไว้ในมาตรา 52 ที่บริษัทผู้ผลิตจีเอ็มโอไม่ต้องรับผิดชอบถ้าเกิดความเสียหายโดยอ้างว่าเป็น “เหตุสุดวิสัย” ได้ ในขณะที่ประสบการณ์ในต่างประเทศเมื่อเกิดหลุดลอด (leak)ไม่ว่าด้วยเหตุผลสุดวิสัยหรือไม่ ผู้เป็นเจ้าของจีเอ็มโอต้องรับผิดชอบ ดังกรณีข้าวจีเอ็มโอลิเบอร์ตี้ลิงค์ เป็นต้น

มาตรา 44 ให้อำนาจเกือบเบ็ดเสร็จแก่ “หน่วยงานผู้รับผิดชอบ” (ซึ่งเท่าที่ผ่านมาหน่วยงานดังกล่าวได้แก่ กรมวิชาการเกษตร และ BIOTEC ) เช่น สามารถตัดสินใจประกาศบัญชีจีเอ็มโอที่ปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมได้ด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการชำนาญการ หรือการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น นี่คือการมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐระดับอธิบดี หรือ ผู้อำนวยการหน่วยงาน เป็นผู้ตัดสินใจอนาคตของประเทศ

ประเด็นที่พึงกังวลไปมากกว่านั้นคือ ทั้งสองหน่วยงานเป็นผู้วิจัยและพัฒนาจีเอ็มโอหรือเทคโนโลยีชีวภาพโดยร่วมกับหน่วยงานและบริษัทข้ามชาติจากต่างประเทศด้วย แต่ร่างกฎหมายนี้กลับให้คนกลุ่มเดียวกันเป็นคนรับผิดชอบการควบคุมและตัดสินใจอนุญาตให้จีเอ็มโอชนิดใดๆปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมและปลูกในเชิงพาณิชย์ ขาดการถ่วงดุลย์ และอาจนำไปสู่ปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน

ในระหว่างการผลักดันให้มีการปลูกพืชจีเอ็มโอและระหว่างการร่างกฎหมายฉบับนี้ ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบ หรือเกี่ยวข้องกับการร่างกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพของหน่วยงานรัฐ (หน่วยงานที่คาดว่าจะเป็นผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนี้) อย่างน้อย 2-3 คน ได้ลาออกเพื่อเข้ามารับตำแหน่งสำคัญในบรรษัทเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติ และเข้าร่วมงานกับสมาคมที่ได้รับผลประโยชน์จากจีเอ็มโอ เพื่อทำหน้าที่เตรียมความพร้อมให้กับการปลูกพืชจีเอ็มโอเชิงพาณิชย์ของบรรษัท

บางทีนี่คือเหตุผลที่อธิบายว่า ทำไมร่างกฎหมายที่มีชื่อฟังดูดี ทั้งยังอ้างเหตุผลสวยหรูว่า “เพื่อควบคุมการดำเนินการเกี่ยวกับจีเอ็มโอให้สอดคล้องกับสากล” กลับมีเนื้อหาอัปลักษณ์ เหมือนที่เราเห็น

ดาวน์โหลดร่างพ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพได้ที่ http://biothai.net

หมายเหตุ : ร่างพ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพซึ่ง BIOTHAI ใช้ในการวิเคราะห์เป็นฉบับที่ปรับตามแนวทางของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เสนอผู้แทนฯ วันที่ 26 มิถุนายน 2556 ซึ่งมีเนื้อหาเกือบเหมือนกันทุกประการ กับ ร่างพ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 โดยแตกต่างกันตรงมาตรา 6 ในร่างพ.ร.บ.ฉบับล่าสุดที่เพิ่มคณะกรรมการจากหน่วยงานรัฐจาก 11 คน เป็น 12 คน (เพิ่มอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอีก 1 คน)

เรื่องแบบนี้ ต้องให้รู้กันเยอะๆ ว่าใครเป็นอย่างไร มีขบวนการผลักดัน กันอย่างไร

ใครจำพริก ข่า ตระไคร้ ได้ไหม ที่พวกมันบอกว่าเป็นวัตถุอันตราย มันยังกล้าออกมาพูดได้...คนไทยกินกันมาตั้งแต่พ่อแม่มันยังไม่เกิด



[url=http://www.mx7.com

(9) สภาพัฒน์ฯ และกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นหน่วยราชการสำคัญของประเทศ 2 หน่วยงาน ท้วงติงร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพด้วยถ้อยคำหนักแน่น (strong)ว่า "การส่งเสริมจีเอ็มโอจะเป็นการจำกัดตลาดของไทยให้แคบลง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อประเทศและเกษตรกรในทุกมิติ" และ "ที่ผ่านมามีการอนุญาตให้นำเข้ามาทดลองเป็นรายกรณี แต่ก็ยังมีการปนเปื้อนเข้าสู่ระบบนิเวศ ซึ่งจะกระทบต่ออาหาร พืชผลทางการเกษตร ความหลากหลายทางชีวภาพและจะสร้างความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินค่าได้" แต่คณะรัฐมนตรีกลับเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ แทนที่จะส่งกลับไปให้ทบทวนและปรับปรุง

รัฐบาลที่ไม่ฟังเสียงของประชาชน ไม่ฟังแม้แต่เสียงท้วงติงของหน่วยราชการ แต่กลับออกกฎหมายเพื่อเอื้อเฟื้อประโยชน์ต่อบรรษัทข้ามชาติ ทำลายรากฐานของอธิปไตยและความมั่นคงทางอาหารของประเทศและประชาชนส่วนใหญ่ จะมีอนาคตเช่นไร ?

ขอขอบคุณ "กรีนนิวส์ทีวี" ซึ่งดำเนินการโดย ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม ที่รายงานข่าวนี้โดยละเอียด ในขณะที่สื่อกระแสหลักแทบทั้งหมด นำเอาแค่คำพูดของโฆษกรัฐบาลมารายงานเท่านั้น ตามรายละเอียดข่าวและลิงค์ด้านล่าง
----------------
เมินส่วนราชการรุมค้าน "บิ๊กตู่" ลุยไฟผ่านร่างพ.ร.บ.จีเอ็มโอ

ส่วนราชการแสดงความกังวล ร่าง พ.ร.บ.จีเอ็มโอ สร้างผลกระทบมหาศาล ด้าน ครม.ไฟเขียวเห็นชอบกฎหมายแล้ว หากผ่าน สนช.มีผลบังคับใช้ 1 ปีให้หลัง

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 24 พ.ย.2558 มีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. … ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว

สำหรับสาระสำคัญของ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว จะใช้ดูแลสิ่งมีชีวิตที่มีการตัดต่อ ตัดแต่ง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรม หรือผสมผสานสารพันธุกรรมใหม่ ที่ได้จากวิธีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ หรือวิธีการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทั้งพืชและสัตว์ แต่ไม่รวมถึงการทดลองสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่เป็นยาสำหรับมนุษย์ หรือสัตว์ตามที่มีกฎหมายเฉพาะควบคุมอยู่

นอกจากนี้ กำหนดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งมีปลัด ทส. เป็นประธาน กรรมการโดยตำแหน่ง 12 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 10 คน มีเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นกรรมการและเลขานุการ ทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินการเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมมิให้ปล่อยสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมใดๆ สู่สิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ เว้นแต่สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมดังกล่าวได้ผ่านการควบคุม และทดสอบความปลอดภัยทางชีวภาพภาคสนามแล้ว การประเมินความเสี่ยงอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์หรือสัตว์และได้ขึ้นบัญชีสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่สามารถปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมได้แล้ว

ในส่วนของบทลงโทษ กำหนดให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ หากผู้รับใบอนุญาตฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของหน่วยงานรับผิดชอบตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ และผู้ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนระวางโทษปรับตั้งแต่ 1 หมื่นบาท ถึง 3 แสนบาท จำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 3 ปี

อย่างไรก็ตาม มีส่วนราชการได้ทำความเห็นประกอบวาระการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ โดยได้แสดงความวิตกกังวลถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น อาทิ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เห็นว่า ควรบัญญัติให้ชัดเจนในการห้ามมิให้ผลิต นำเข้า หรือส่งออกจีเอ็มโอ เว้นแต่รัฐมนตรีเห็นชอบโดยคณะกรรมการความปลอดภัยฯ จะได้ประกาศยกเว้น

นอกจากนั้น ยังเห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เกี่ยวข้องกับนโยบายจีเอ็มโอที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับหลายภาคส่วน โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรอินทรีย์ หากส่งเสริมจีเอ็มโอจะเป็นการจำกัดตลาดของไทยให้แคบลง และยังต้องแข่งกับผู้ผลิตที่มีเทคโนโลยีสูง เช่น สหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อประเทศและเกษตรกรในทุกมิติ

สศช. เสนอแนะอีกว่า หากเกิดความเสียหายจากการดำเนินการ ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบและต้องมีมาตรการคุ้มครองระบบเกษตรกร กรณีทำให้เกิดการปนเปื้อนกับเกษตรกร และหากจำเป็นต้องพัฒนาควรเป็นสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร เช่น กล้วยไม้ ปลาสวยงาม และระยะแรกควรทดลองในห้องทอดลองของส่วนราชการก่อน

ทางด้าน กระทรวงพาณิชย์ เสนอความเห็นว่า ที่ผ่านมามีการอนุญาตให้นำเข้ามาทดลองเป็นรายกรณี แต่ก็ยังมีการปนเปื้อนเข้าสู่ระบบนิเวศ ซึ่งจะกระทบต่ออาหาร พืชผลทางการเกษตร ความหลากหลายทางชีวภาพและจะสร้างความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินค่าได้

ขณะเดียวกัน ยังกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยและภาพลักษณ์สินค้าเกษตรอินทรีย์ ซึ่งปัจจุบันไทยมีนโยบายยกระดับสินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการออกกฏหมายลูกจะต้องรัดกุดกุม หรือกำหนดแนวปฏิบัติในการขนย้าย การเก็บรักษา การบรรจุ การปิดฉลาก และการทำเอกสารกำกับ เพราะการบังคับใช้กฎหมายควบคุมจีเอ็มโอทำได้ยากหากไม่มีแนวทางบังคับที่ชัดเจน

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ระหว่างการพิจารณาวาระนี้ ไม่มีเสียงคัดค้านและแสดงความเห็นใดๆ ซึ่งหากกฎหมายผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้กำหนดให้มีผลบังคับใช้ภายหลังประกาศในราชกิจจานะเบกษาไปแล้ว 1 ปี

นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี หรือไบไอโอไทย กล่าวว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้จะเปิดช่องให้ประเทศคู่ค้าบางประเทศใช้เป็นเหตุผลในการกีดกันทางการค้า มีข้ออ้างไม่รับซื้อพืชพันธุ์ทางการเกษตรของไทย เช่น ข้าวโพดหวาน มะละกอ ฯลฯ และยังทำให้เกิดการผูกขาด เนื่องจากพืชจีเอ็มโอเกือบทั้งหมดในตลาดอยู่ในมือบรรษัทยักษ์ใหญ่เพียงไม่กี่บริษัท

“จะทำให้ประเทศที่มีฐานความหลากหลายทางชีวภาพ และอาหาร ต้องปลูกพืชที่อยู่ภายใต้สิทธิบัตรของบริษัทยักษ์ใหญ่” นายวิฑูรย์ กล่าว

ลิงค์ข่าว :
http://www.greennewstv.com


[url=http://www.mx7.com

(10) ในวิถีเกษตรกรรมแบบพื้นบ้านทั้งในสังคมไทยและสังคมอื่นๆ เกษตรกรรมเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ เป็นวิถีการผลิตและความสัมพันธ์ทางสังคม ความหมายที่ครอบคลุมของคำว่า "นิเวศเกษตร" หรือ "Agroecology" จึงครอบคลุมตั้งแต่ฐานทรัพยากร การจัดการความสัมพันธ์ทางสังคม ไปจนถึงความเชื่อของผู้คนในชุมชน

"เกษตรกรรมแผนใหม่" ในยุคเทคโนโลยีพันธุวิศวพันธุกรรม สร้างระบบความสัมพันธ์แบบใหม่ ที่ฉุดกระชากฐานทรัพยากรพันธุกรรมออกจากการครอบครองของชุมชน

- ระบบการผลิตและแบบแผนการผลิต การบำรุงดิน การควบคุมศัตรูพืช ฯลฯ ถูกควบคุมโดยเจ้าของเทคโนโลยีจากเซนต์หลุยส์

- การแปรรูป การกระจายผลผลิตทางการเกษตร-อาหาร และการกำหนดรสนิยมในการบริโภคของคนในประเทศ อยู่ในห้องประชุมในสำนักงานของบริษัทยักษ์ใหญ่การเกษตรบนถนนสีลม

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้ความเข้าใจด้านนิเวศวิทยาที่ระบบเกษตรกรรมนั้นตั้งอยู่ถูกละทิ้ง ความรู้ขึ้นต่อบรรษัท ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ในระบบตลาดท้องถิ่น ถูกทำลายให้เกษตรกรและผู้บริโภคต้องไปขึ้นต่อบริษัทขนาดใหญ่

การผลักดันคำและแนวความคิด "นิเวศเกษตร" ของขบวนการเกษตรกรรายย่อย Via Campesina จึงมีความหมายมากกว่าชุดความรู้ด้านนิเวศวิทยาที่เกี่ยวข้องกับระบบเกษตร แต่เป็นเรื่องของระบบทั้งหมดที่เชื่อมโยงกัน

เป็นการกลับไปหาความรู้จากท้องถิ่น ผสานเข้ากับความรู้ความเข้าใจระบบนิเวศวิทยาสมัยใหม่ เพื่อนำระบบเกษตรกรรมกลับเข้ามาอยู่ในความสัมพันธ์ของระบบนิเวศอีกครั้ง พร้อมๆกับการสร้างความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมอย่างที่ควรจะเป็นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับธรรมชาติ

โพสต์นี้เกิดขึ้นเนื่องในโอกาสที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้จัดให้มีการประชุม Multistakeholder Consultation on Agroecology in Asia and the Pacific
ระหว่างวันที่ 24-26 พฤศจิกายน 2558 ที่กรุงเทพมหานคร โดยผู้เข้าร่วมการประชุมที่มาจากภาครัฐ นักวิชาการ องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรและเครือข่ายของเกษตรกรรายย่อยในเอเชียแปซิฟิค โดยไบไอไทยจะไปนำเสนอเรื่อง "Agroecology transition" ในเวที "Agroecological transitions in Asia for Food and Nutrition security, initiatives and policies to scale up Agroecology"

ขออนุญาตนำโพสต์ของ Chanuan Ratanawaraha อดีตรองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร / ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้อธิบายไว้เพิ่มเติมในแชร์ของท่านจากโพสต์นี้ ดังต่อไปนี้

การเกษตรในยุคที่เรียกว่า "เกษตรทันสมัย" "เกษตรปฏิวัติเขียว" ในช่วง 70-80 ปี ที่ผ่านมา จะแยก;วิชาการเกษตรออกเป็นส่วน ๆ เพราะต้องการให้มีผู้ที่รู้จริง รู้ลึก ในแต่ละเรื่อง เราจึงมีผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้าน เช่น ผู้เชี่ยวชาญ ด้าน.พืช ปศุสัตว์ ประมง ป่าไม้ ชลประทาน เศรษฐกิจ สหกรณ์ ฯลฯ และในแต่ละเรื่องก็ยังแยกลึกลงไปอีก เช่น พืช ก็แยกออกเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้าน ข้าว พืชไร่ ไม้ผล ยางพารา ฯลฯ โดยสรุปก็คือ การพัฒนาการเกษตร ขาดการมองการเกษตรแบบองค์รวมหรือที่เราเรียกว่า "ระบบเกษตร" "Agro-ecology" จึงนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างมากในการพัฒนาการเกษตรในปัจจุบัน เพราะเหตุแห่งปัจจัยของการเกษตรนั้นมีมากมายที่เชื่อมโยงและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันแบบองค์รวมแทบทั้งสิ้น

ฉะนั้น การจะแก้ไขปัญหาการเกษตร จึงควรต้องเอาผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาสุมหัวกันคิดแบบบูรณาการ ซึ่งเป็นเรื่องยากมากของคนไทยที่จะทำงานร่วมกันอย่างนั้น ที่สำคัญในระบบราชการเกษตรได้กำหนดหน้าที่ของแต่ละคนไว้แบบที่ไม่มีใครอยากจะไปก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกัน ทำให้การแก้ไขปัญหาในด้านการเกษตรของประเทศจึงไม่ค่อยจะสัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร

ปัญหานี้มิใช่เกิดขึ้นแต่เพียงในประเทศไทยเท่านั้น แต่เกิดขึ้นกับการเกษตรทั่วโลก จนกระทั่ง ครั้งหนึ่ง เมื่อเกือบ 30 ปีมาแล้ว ได้มีการพูดถึง Agro-ecology และ Sustainable Agriculture ซึ่งเน้นการมองการเกษตรแบบองค์รวมทุกสาขาวิชาหรือเรียกว่า "Interdisciplinary Approach" และได้มีการตั้ง "สถาบันวิจัยการทำฟาร์ม"ขึ้นในกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่ในที่สุด สถาบันนี้ก็ถูกยุบไปโดยการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของสำนักงานที่ดูแลเกี่ยวกับอัตรากำลังของทางราชการเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว ซึ่งเป็นที่น่าเสียใจจริง ๆ

ผมอยากให้ post ของประเด็นนี้ได้ไปถึงผู้บริหารของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาการเกษตรว่า ถึงเวลาที่เรา ควรจะทบทวนการบริหารและหลักสูตรการศึกษาให้มีการมองการเกษตรแบบองค์รวมให้มากขึ้นหรือยัง มิฉะนั้น การแก้ไขปัญหาการเกษตรของประเทศก็จะไม่ประสพผลสำเร็จอย่างที่เป็นมาและกำลังเผชิญอยู่ทุกวันนี้ ที่เราแก้ปัญหาแบบแยกส่วนตลอดมา.



ที่มา . - http://biothai.net/node/30455


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 07/01/2016 1:53 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 หยุด พรบ.GMOs (6 ตอน 1) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 12 หยุด พรบ.GMOs (6 ตอน 1)


ภาค 2 (5.6 - 1) – คัดค้านร่าง พรบ.GMOs





(1) ในที่สุดพ.ร.บ.จีเอ็มโอฉบับตัดต่อพันธุกรรมระหว่างบรรษัทกับคสช.ก็ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้วในวันนี้ (24 พฤศจิกายน 2558)

ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่ผ่านความเห็นชอบของสปช.(สภาปฏิรูปแห่งชาติ)และถูกคัดค้านจากภาคประชาชน กลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ และองค์กรภาคประชาสังคม เนื่องจากเปิดช่องให้เจ้าของจีเอ็มโอที่ที่ได้รับอนุญาตให้ "สามารถปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมได้แล้ว" ไม่ต้องรับผิดชอบเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น ทั้งๆที่ประสบการณ์จากทั่วโลกพบว่าความเสียหายที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ และการเกษตรทั่วไปที่เป็น non-GMO นั้น เกิดขึ้นเนื่องจากจีเอ็มโอที่ปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมแล้ว

หลังจากผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว คาดว่าพ.ร.บ.จีเอ็มโอฉบับที่เอื้ออำนวยต่อบรรษัทนี้จะผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากทั้งคณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติมาจากการแต่งตั้งโดยคสช. อีกทั้งกระบวนการออกกฎหมายที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าผู้ปกครองประเทศกลุ่มนี้หาได้รับฟังเสียงของประชาชนแต่อย่างใดไม่

ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ประเทศไทยเปิดให้บริษัทมอนซานโต้ปลูกทดลองพืชจีเอ็มโอเมื่อปี 2538 ยังไม่เคยมีรัฐบาลใด เปิดกว้างให้กับการปลูกพืชเจ้าปัญหาที่หลายประเทศทั่วโลกประกาศแบน มากเท่ากับรัฐบาลชุดนี้เลย

นี่คือการก้าวแรกของการนำพาสยามประเทศไปเป็นเมืองขึ้นทางการเกษตรและอาหารให้กับบรรษัทข้ามชาติ ในนามของกลุ่มบุคคลที่ประกาศว่าต้องการปกป้องอธิปไตยและความมั่นคงของประเทศ

ติดตามการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องอธิปไตยและความมั่นคงทางอาหารได้ที่นี่ !

[1] เมื่อ 24 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้

1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปประกอบการพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1) กำหนดให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

2) กำหนดสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่มีการตัดต่อ ตัดแต่ง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมหรือผสมผสานสารพันธุกรรมใหม่ที่ได้จากวิธีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่หรือวิธีการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

3) กำหนดให้พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่เป็นยาสำหรับมนุษย์หรือสัตว์ตามที่มีกฎหมายเฉพาะควบคุมอยู่แล้ว

4) กำหนดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการกลางในการกำกับดูแลการดำเนินการเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมโดยคณะกรรมการประกอบด้วย ปลัด ทส. เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนสิบสองคน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินสิบคน โดยมีเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการและเลขานุการ

5) กำหนดให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทส. ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ

6) กำหนดให้รัฐมนตรีผู้รักษาการมีอำนาจประกาศกำหนดให้หน่วยงานใดของกระทรวงหรือทบวงในราชการส่วนกลาง ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบ และกำหนดให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่

7) กำหนดหลักการควบคุมการดำเนินการเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมในลักษณะที่ห้ามมิให้มีการปลดปล่อยสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมใด ๆ สู่สิ่งแวดล้อม เว้นแต่สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมดังกล่าวจะได้ผ่านการใช้ในสภาพควบคุมและการใช้ในภาคสนามเพื่อทดสอบความปลอดภัยทางชีวภาพ การประเมินความเสี่ยงอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์หรือสัตว์ และได้มีการขึ้นบัญชีสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมนั้นเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่สามารถปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมได้แล้ว

Cool ในกรณีผู้ได้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบมีอำนาจแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตแก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด รวมทั้งได้กำหนดให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้หากผู้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของหน่วยงานรับผิดชอบตามพระราชบัญญัตินี้

9) กำหนดให้มีกระบวนการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองของหน่วยงานผู้รับผิดชอบตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้ผู้รับคำสั่งมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือเสนอต่อคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สิ้นสุด

10) กำหนดให้ผู้ประกอบกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สุขภาพของมนุษย์หรือสัตว์หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ความหลากหลายทางชีวภาพอันเป็นผลมาจากการประกอบกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่ไม่อยู่ในบัญชีปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายดังกล่าวเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้เสียหายนั้นเอง

11) กำหนดโทษทางอาญาทั้งโทษจำคุกและโทษปรับมาใช้บังคับแก่ผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้

12) กำหนดบทเฉพาะกาลให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการประกอบกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม หรือบุคคลใดที่ประกอบกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่ต้องขออนุญาต หรือต้องขอรับใบอนุญาต หรือต้องแจ้งตามพระราชบัญญัตินี้อยู่ก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้าประสงค์จะประกอบกิจกรรมนั้นต่อไป ให้มายื่นคำขอรับอนุญาตหรือคำขอรับใบอนุญาต หรือแจ้งต่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้

สรุป ขั้นตอนนี้ คือครม.ผ่านมติร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวนี้ ยังไม่ใช่การประกาศใช้กฎหมาย ยังต้องส่งเรื่องนี้ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาตัดสินต่อไป กฎหมายฉบับดังกล่าวยังไม่มีผลบังคับใดๆทั้งนั้น
จริงๆแล้วกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายสำหรับควบคุมดูแล gmo ไม่ให้มีการขยายแพร่หลายออกไปมากกว่าที่จะเป็นการสนับสนุนนะครับ เพราะว่าก่อนหน้านี้ก็มีกฎหมายในลักษณะที่อนุญาตให้มีการใช้ GMO ได้ตามที่กล่าวไว้ในข้อ “ 3 กำหนดให้พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่เป็นยาสำหรับมนุษย์หรือสัตว์ตามที่มีกฎหมายเฉพาะควบคุมอยู่แล้ว"
ถ้าไม่มีกฎหมายฉบับนี้ออกมาควบคุม อาจจะอันตรายมากกว่านี้ก็ได้ คราวนี้ก็อยู่ที่ สนช.ว่าจะมีมาตรการควบคุมกำกับดูแลพืชและสัตว์ GMO ได้ครอบคุมหรือปลอดภัยได้มากน้อยแค่ไหน เพราะว่าได้มีการอนุญาตให้ใช้ GMO ในประเทศไทยมาแล้วก่อนที่จะมีร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ซะอีก

The Eyes
เพจ: ปอกเปลือก ทรราช
https://www.facebook.com/fisont
https://vk.com/theeyesproject
01/12/2558

อ้างอิงจากเว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล:http://www.thaigov.go.th/…/news-summa…/item/97782-97782.html

สิ่งที่พลตรีสรรเสริญสรุป เป็นถ้อยคำที่ถอดมาจากสิ่งที่กลุ่มผลักดันกฎหมายนี้ต้องการให้ประชาชนเข้าใจ แต่ไม่ตรงกับผลของกฎหมาย

กลุ่มผู้สนับสนุนกฎหมายนี้คือบรรษัทข้ามชาติอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และหน่วยงานที่วิจัยผลักดันให้มีการใช้ GMO ในประเทศไทย

ถ้าประสงค์จะควบคุม GMO ขณะนี้มีมติครม.เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2550 ซึ่งเข้มงวดมากกว่า เช่น มีการทำ EIA/HIA ต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ต้องขอนุมัติต่อครม.เป็นกรณีๆ แต่กฎหมายนี้จะมอบอำนาจให้ "หน่วยงานรับผิดชอบ" ซึ่งคือหน่วยงานที่วิจัยและผลักดันให้มีการปลูกพืช จีเอ็มโอ เป็นผู้รับผิดชอบกระบวนการปลดปล่อยพืชจีเอ็มโอในประเทศไทย หน่วยงานทั้งสองหน่วยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสมาคมที่สนับสนุนโดยบรรษัทข้ามชาติ ซึ่งได้ประโยชน์จากธุรกิจสารเคมีและจีเอ็มโอ

โปรดอ่านhttps://www.facebook.com/biothai.net/photos/pb.183063271732202.-2207520000.1448978358./947887031916485/?type=3&theater

อยากทราบว่าผลของกฎหมายนี้จะนำไปสู่อะไร ให้อ่านควาเห็นของ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงพาณิชย์ ได้ที่ลิงค์
https://www.facebook.com/biothai.net/photos/a.467826533255873.100128.183063271732202/1001637769874744/?type=3&theater

บทวิเคราะห์ของดร.สมชาย รัตนชื่อสกุล คณะนิติศาสตร์ ม.หอการค้าไทย
https://www.facebook.com/biothai.net/photos/pb.183063271732202.-2207520000.1448977742./989500084421846/?type=3&theater

บทวิเคราะห์ของ BIOTHAI ซึ่งเป็นองค์กรแรกๆที่ผลักดันให้มีกฎหมายนี้มาตั้งแต่ปี 2542
https://www.facebook.com/biothai.net/photos/a.467826533255873.100128.183063271732202/1002547839783737/?type=3&theater

และความเห็นของสปช.บางท่าน ดร.ประเสริฐ ชิตพงษ์ และ ดร.วินัย ดะลันห์ ที่ได้ร่วมอภิปรายจนสปช.มีมติไม่รับร่างกฎหมายฉบับนี้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2558
https://www.facebook.com/prasert.chittapong/posts/489304557940354

https://www.facebook.com/biothai.net/photos/pb.183063271732202.-2207520000.1448978358./948933615145160/?type=3&theater

เบื้องหลังการอภิปรายของสปช.ที่ทำให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ตกไปhttp://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx...
ถ้าไม่ออกมาคัดค้านร่างนี้ผ่านแน่ๆครับ เห็นได้จาก

1) ร่างกฎหมายนี้เคยเสนอสู่สปช.แบบลัดขั้นตอน จนถูกตีตกมาก่อนหน้านี้

2) หน่วยงานราชการ เช่น สภาพัฒน์ และกระทรวงพาณิชย์ท้วงติงอย่างหนัก ควรจะถูกตีกลับ แต่กลับรับหลักการ

3) ไม่เปิดเผยร่างให้ประชาชนได้รับทราบเลย จนเมื่อผ่านครม.แล้วหลายวันเพิ่งเผยแพร่ร่างกฎหมาย

4) ลองดูตัวอย่างจริงเกษตรกรที่ได้รับผลจาก gmo แล้วกฎหมายจัดการอย่าไรในเรื่องนี้ครับ
https://m.youtube.com/watch?feature=share&v=58j4dIwImGQ





(2) Greenpeace International ได้เผยแพร่เอกสารชื่อ “ยี่สิบปีแห่งความล้มเหลว” (Twenty Years of Failure : Why GM crops have failed to deliver on their promises)
ซึ่งประมวลมายาคติและความเป็นจริงเกี่ยวกับเรื่องจีเอ็มโอรวม 7 เรื่องสำคัญ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา หนึ่งในเรื่องดังกล่าวคือปัญหาการปนเปื้อนทางพันธุกรรมซึ่งเกิดจากพืชจีเอ็มโอ Greenpeace Thailand

โดยจากข้อมูลเท่าที่รวบรวมไว้ มีกรณีการปนเปื้อนทางพันธุกรรมเกิดขึ้นถึง 396 เหตุการณ์ ระหว่างปี 1994-2013 โดยในหลายเหตุการณ์นั้นทำให้เกิดความเสียหายต่อเกษตรกรและเศรษฐกิจโดยรวมเป็นจำนวนมาก (Price, B., & Cotter, J. 2014) ตามแผนภาพ

อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ยักษ์ใหญ่ทราบดีว่า ปัญหาการปลูกพืชจีเอ็มโอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเขตร้อนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง พื้นที่ถือครองของเกษตรกรมีขนาดเล็กเพียงไม่กี่ไร่ และประกอบไปด้วยเกษตรกรรายย่อยเป็นจำนวนมากนั้น ไม่อาจควบคุมการผสมข้ามได้ พวกเขาจึงผลักดันให้ออกกฎหมายที่ทำให้ตนเองไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบในกรณีที่เกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็น

- การปนเปื้อนทางพันธุกรรมของพืชจีเอ็มโอ ไปสู่แหล่งทรัพยากรพันธุกรรมตามธรรมชาติ เช่น พันธุ์พืชป่าสายพันธุ์ต่างๆ
- การปนเปื้อนทางพันธุกรรมของพืชจีเอ็มโอกับสายพันธุ์พืชพื้นบ้าน
- การปนเปื้อนทางพันธุกรรมของพืชจีเอ็มโอกับพืชเศรษฐกิจอื่นที่เกษตรกรไม่ประสงค์จะใช้พืชจีเอ็มโอโดยเหตุผลทางเศรษฐกิจ สังคม หรือเหตุผลอื่นๆ
- การปนเปื้อนพันธุกรรมกับแปลงเกษตรอินทรีย์
- การปนเปื้อนในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์

ผลของการปนเปื้อนทางพันธุกรรมจะทำให้เกิดสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาได้หลายประการ เช่น

- ทำให้ยีนที่ถูกจดสิทธิบัตรไว้ผสมข้ามกับสายพันธุ์ของเกษตรกรที่ปลูกพืชทั่วไป เกษตรกรจะถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิบัตร และอาจถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย
- เกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์หรือพืชทั่วไปต้องรับภาระมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อทำแนวกันชน หรือต้องเว้นระยะการปลูกพืชเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผสมข้าม
- ยีนต้านทานสารเคมีปราบวัชพืชที่ปนเปื้อนไปสู่สายพันธุ์ทั่วไป เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อบริษัท เพราะเกษตรกรต้องซื้อสารเคมีปราบวัชพืชของบริษัท
- ผลผลิตที่ถูกปนเปื้อน ไม่สามารถขายหรือส่งออกไปในตลาดที่ผู้บริโภคปฏิเสธจีเอ็มโอ ซึ่งตลาดดังกล่าวนับวันจะยิ่งขยายเพิ่มขึ้นแม้แต่ในสหรัฐอเมริกาเอง
- ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบเพื่อรับรองว่าผลิตภัณฑ์ของตนไม่ใช่เป็นจีเอ็ม
- แหล่งพันธุกรรมตามธรรมชาติถูกปนเปื้อนด้วยยีนที่ไม่พึงปรารถนา สร้างปัญหาสำหรับการปรับปรุงพันธุ์พืชในระยะยาว

บรรษัทยักษ์ใหญ่เมล็ดพันธุ์จึงพยายามทุกวิถีทางในการเข้ามามีบทบาทในการกำหนดเนื้อหาของกฎหมายเพื่อที่เมื่อเกิดการปนเปื้อนทางพันธุกรรมขึ้น พวกเขาจะได้ไม่ต้องรับผิดชอบใดๆต่อความเสียหาย โดยเฉพาะความเสียหายบางด้านนั้น เป็นความเสียหายที่ยากจะเยียวยาหรือย้อนกลับให้เหมือนเดิมได้

สังคมไทยไม่ควรเดินไปตามเส้นทางแห่งความล้มเหลวดังกล่าว หรืออย่างน้อยที่สุดต้องมีกฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิของเกษตรกร ผู้บริโภค และภาคธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบในอนาคต
น่าเสียดายที่ดูเหมือนผู้มีอำนาจกำลังตัดสินก้าวเดินไปสู่เส้นทางแห่งความล้มเหลวดังกล่าวแล้ว จากการนำเสนอกฎหมายที่บรรษัทเป็นผู้ผลักดันไปสู่คณะรัฐมนตรี

ดาวน์โหลด Twenty Years of Failure : Why GM crops have failed to deliver on their promises ได้ที่
http://www.greenpeace.org/international/en/publications/Campaign-reports/Agriculture/Twenty-Years-of-Failure/





(3) กรุณาแชร์ข่าวสารและความเคลื่อนไหวนี้ไปอย่างกว้างขวางด้วยครับ

การเคลื่อนไหวต่อต้านพ.ร.บ.จีเอ็มโอ เอื้อประโยชน์บรรษัท ยกใหม่และอาจเป็นยกสุดท้ายได้เริ่มขึ้นแล้ว ? โดยหากพ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่านคณะรัฐมนตรีเป็นผลสำเร็จ รัฐบาลนี้จะเป็นรัฐบาลแรกที่เปิดเสรีการปลูกพืชจีเอ็มโอ ซึ่งจะมีผลกระทบต่ออธิปไตยและความมั่นคงทางอาหารของประเทศอย่างร้ายแรง และไม่มีมีรัฐบาลชุดใดในอดีตในรอบ 20 ปี ที่เลือกหนทางนี้ !

โดยเช้าวันนี้ (วันที่ 13 พฤศจิกายน 2558) หน้าทำเนียบรัฐบาล นางสาวนันทวัน หาญดี นายอุบล อยู่หว้า นางสาวกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา นายนิมิตร์ เทียนอุดม นายสามารถ สะกวี และนายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ ตัวแทนจากเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนรวม 9 องค์กร นำโดยเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายความมั่นคงทางอาหาร และกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน จำนวนประมาณ 150 คน ได้เดินทางไปยื่นหนังสือต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อคัดค้านร่างพ.ร.บ.จีเอ็มโอซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อบรรษัท รวมถึงการคัดค้านการเข้าร่วม TPP ซึ่งจะทำให้เกิดการผู้ขาดเมล็ดพันธุ์และผลกระทบอื่นๆที่เกิดจากการขยายสิทธิผูกขาดด้านทรัพย์สินทางปัญญา

ก่อนการยื่นจดหมาย เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนได้จัดแสดงกิจกรรมเพื่อแสดงออกเชิงสัญญลักษณ์ในการคัดค้าน โดยจัดให้มีชายแต่งตัวด้วยกางเกงทหารลายพรางใส่เสื้อสูทสีดำ สวมหมวกงอบชาวนาที่คาดด้วยสีธงชาติสหรัฐ แสดงท่าเหยียบย่ำพืชผลของเกษตรกร เพื่อสะท้อนถึงการเหยียบย่ำอธิปไตยและความมั่นคงทางอาหาร

หลังจากได้จัดแสดงการคัดค้านเชิงสัญญลักษณ์และการอภิปรายแสดงความไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับร่างกฎหมายดังกล่าว และรวมถึงการแสดงความเห็นคัดค้านการเข้าร่วมความตกลงยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค (TPP) แล้ว ตัวแทนของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน 9 องค์กรซึ่งประกอบด้วย เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, เครือข่ายความมั่นคงทางอาหาร
กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, มูลนิธิเข้าถึงเอดส์, มูลนิธิชีววิถี, มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี เอดส์ประเทศไทย, เครือข่ายเฝ้าระวังธุรกิจแอลกอฮอล์, เครือข่ายพลเมืองขับเคลื่อนสิทธิด้านสุขภาพ ได้ยื่นจดหมายคัดค้าต่อ นายสุขสวัสดิ์ สุวรรณวงศ์ หัวหน้าฝ่ายประสานมวลชน ทำเนียบรัฐบาล เป็นตัวแทนของรัฐบาลในการรับจดหมายดังกล่าว

นายสุขสวัสดิ์ แจ้งแก่ผู้ชุมนุมว่าจะได้จัดส่งจดหมายฉบับดังกล่าวไปยังเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

จดหมายที่ส่งไปยังนายกรัฐมนตรีมีข้อความดังต่อไปนี้

เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
912 ซอยงามวงศ์วาน 31 ซอยย่อย 7
ถนนงามวงศ์วาน อำเภอเมือง
จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 02-5911195

13 พฤศจิกายน 2558

เรื่อง ขอให้ชะลอการนำร่างพ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ และไม่เข้าร่วมกับความตกลง TPP

เรียน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ตามที่มีการเสนอร่างพ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ.... เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้จัดส่งร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวเพื่อขอความคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆเพื่อประกอบการพิจารณา ซึ่งหากคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวจะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อตราเป็นกฎหมายต่อไปนั้น

เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายความมั่นคงทางอาหารและภาคประชาสังคมกลุ่มต่างๆ ดังรายนามผู้ลงนามในจดหมายฉบับนี้ ซึ่งเป็นเครือข่ายของเกษตรกร ปราชญ์ชาวบ้าน และองค์กรสาธารณประโยชน์ ที่ได้ติดตามพัฒนาการและเนื้อหาของร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวมานับตั้งแต่ พ.ศ.2544 เห็นว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ มีเนื้อหาที่บกพร่องอย่างร้ายแรงทั้งในเชิงกระบวนการพัฒนากฎหมายและเนื้อหา ดังต่อไปนี้

1) สภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติถอนร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ออกจากการพิจาณาเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2558 เนื่องจากมีการรวบรัดส่งไปให้พิจาณาอย่างเร่งรีบ และมีเนื้อหาที่เขียนเปิดช่องให้บริษัทเมล็ดพันธุ์ไม่ต้องรับผิดชอบผลกระทบในกรณีที่เกิดความเสียหายจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) และคณะกรรมการยกร่างและกระบวนการร่างกฎหมายนี้ขาดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ที่จะได้รับผลกระทบจากพืชดัดแปลงพันธุกรรมอย่างไม่อาจยอมรับได้

2) ร่างกฎหมายนี้ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรียังคงมีความบกพร่องอย่างร้ายแรงซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหาร วิถีชีวิตเกษตรกร ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพและจะทำลายเศรษฐกิจการส่งออกผลผลิตการเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหารอย่างมิอาจประเมินมูลค่าได้ มีรายละเอียดดังนี้

2.1) มีเจตนาเพื่อเปิดเสรีพืชดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) โดยมิได้นำหลักการที่สำคัญ ‘หลักการที่ว่าด้วยความปลอดภัยไว้ก่อน’ ในอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคีมาปรับใช้ในการปกป้องความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการบริโภคพืชจีเอ็มโอ เช่น มะเร็ง ปกป้องทรัพยากรชีวภาพ รวมทั้งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม

2.2) เปิดช่องให้บริษัทเมล็ดพันธุ์สามารถปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมได้อย่างเสรี และไม่ต้องรับผิดชอบเมื่อเกิดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs)

2.3) มีเจตนาให้มีการทดลองพืชดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) อย่างแพร่หลาย ทำให้พืชจากเกษตรอินทรีย์อาจถูกปนเปื้อนจากพืชจีเอ็มโอ และทำให้สินค้าทางการเกษตรส่งออกของไทยต้องประสบปัญหาในการส่งออกในที่สุด

2.4) ทำให้ความหลากหลายของชีวภาพของแผ่นดินไทยตกอยู่ในการผูกขาดของอุตสาหกรรมเกษตรยักษ์ใหญ่ เกษตรกรไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลุกในฤดูกาลถัดไปได้ ต้องซื้อใหม่ทุกรอบการผลิต ที่สำคัญเกษตรกรไม่สามารถขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ แบ่งปันเชื้อพันธุ์ตามวิถีการผลิตที่เคยเป็นมาได้เลย ซึ่งเป็นการทำลายสิทธิเกษตรกรและซ้ำเติมชะตากรรมให้เลวร้ายขึ้นไปอีก

ข้าพเจ้าผู้มีรายนามท้ายจดหมายฉบับนี้ขอนำเรียน ฯพณฯ เพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการดังต่อไปนี้

1) หยุดการนำร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

2) จากนั้นมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำร่างพ.ร.บ.นี้ไปจัดรับฟังความคิดเห็นของเกษตรกรรายย่อย ภาคประชาสังคม นักวิชาการอิสระ และภาคธุรกิจที่อาจได้รับผลกระทบ เพื่อปรับปรุงร่างกฎหมายฉบับนี้ให้ดีขึ้น โดยนำหลักการป้องกันไว้ก่อน (Precaution Principle) การป้องกันผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคม การชดเชย และเยียวยาความเสียหายตามหลักผู้ก่อมลภาวะเป็นผู้จ่าย (Polluter Pay Principle) การป้องกันปัญหาการปนเปื้อนซึ่งจะกระทบต่อการทำเกษตรกรรมอินทรีย์ และทรัพยากรชีวภาพของชาติโดยภาพรวม ตลอดจนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย มาบรรจุในร่างกฎหมายฉบับนี้

3) ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพ ขอให้ ฯพณฯ มีบัญชาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 25 ธันวาคม 2550 มาเป็นแนวทางในการอนุญาตให้มีการทดลองพืชดัดแปลงพันธุกรรม ตามข้อเสนอของ "คณะทำงานศึกษาแนวทางการนำสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมและผลิตภัณฑ์มาใช้ในประเทศไทย" ได้มีมติอย่างเป็นเอกฉันท์ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2557
ทั้งนี้ การอนุญาตให้มีการทดลองพืชจีเอ็มโอในพื้นที่เปิดและการปลูกจีเอ็มโอในเชิงพาณิชย์ มีโอกาสจะสร้างผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อย เกษตรอินทรีย์ ส่งผลกระทบต่อการส่งออก และผลต่อความมั่นคงและอธิปไตยทางอาหารของประเทศดังที่ประเทศในสหภาพยุโรปมากกว่า 16 ประเทศประกาศแบน และผู้บริโภคส่วนใหญ่ทั้งในยุโรป(และมากกว่าครึ่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา) ปฏิเสธอาหารที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรม เป็นต้น

4) นอกจากนี้ ท่ามกลางการสร้างกระแสจากภาคธุรกิจส่งออกให้รัฐบาลพิจารณาเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) โดยอ้างว่า ไทยจะตกขบวนและเสียประโยชน์ทางการค้านั้น ซึ่งในความตกลงดังกล่าวมีเนื้อหาที่จะบังคับให้ไทยยอมรับการเปิดเสรีพืชจีเอ็มโอและเปิดช่องให้อุตสาหกรรมเกษตรยักษ์ใหญ่ผูกขาดเมล็ดพันธุ์ ขอให้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยุติการพิจารณาเรื่องนี้ จนกว่าประเทศไทยจะมีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์และมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

ขอแสดงความนับถือ

(นางสาวนันทวัน หาญดี)
ตัวแทนเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, เครือข่ายความมั่นคงทางอาหาร
กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ , มูลนิธิชีววิถี, มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย)
เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี เอดส์ประเทศไทย, เครือข่ายเฝ้าระวังธุรกิจแอลกอรฮอล์, เครือข่ายพลเมืองขับเคลื่อนสิทธิด้านสุขภาพ

(3) พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอต่อคณะรัฐมนตรี มี 9 ประเด็นสำคัญที่ชี้ว่า ผู้เสนอร่างกฎหมายนี้มีเจตนาที่ต้องการเปิดเสรีจีเอ็มโอ โดยไม่กำหนดผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนี้

ประเด็นที่ 1 ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ยึดหลักความปลอดภัยไว้ก่อน (Pre-Cautionary Principle)
ประเด็นที่ 2 ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้คำนึงผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม
ประเด็นที่ 3 ร่างกฎหมายฉบับนี้โดยหลักการคือการเปิดเสรีจีเอ็มโอ
ประเด็นที่ 4 ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้บังคับให้ต้องทำการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
ประเด็นที่ 5 ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้บังคับให้การขึ้นบัญชีปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมต้องทำการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ
ประเด็นที่ 6 ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้กำหนดผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดจากจีเอ็มโอในบัญชีปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม
ประเด็นที่ 7 ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่มีบทคุ้มครองเกษตรกรที่พืชผลถูกจีเอ็มโอปนเปื้อน
ประเด็นที่ 8 ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ระบุหลักประกันทางการเงินกรณีเกิดความเสียหายจากจีเอ็มโอ
ประเด็นที่ 9 ร่างกฎหมายฉบับนี้ขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างรุนแรง

อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม "พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ: เปิดทางจีเอ็มโอหรือปกป้องประโยชน์สาธารณะ" ซึ่งถอดจากคำบรรยายของ ผศ.ดร.สมชาย รัตนชื่อสกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เนื่องในงานสมัชชาความมั่นคงทางอาหาร เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2558 ตามรายละเอียดต่อไปนี้
http://www.biothai.net/node/30026





(4) ผลจากการเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศไทยกับจีนและอินเดีย รวมทั้งความตกลงเปิดเสรีสินค้า (ATIGA-Asean Trade in Goods)ภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำให้พริกราคาถูกจาก อินเดีย จีน และประเทศอื่นๆไหลทะลักเข้ามาในประเทศไทยจนส่งผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อย

เมื่อปี 2553 มีการนำเข้าพริกสดเพียงปีละ 0.5 ล้านกิโลกรัม แต่คาดว่าจะมีการนำเข้าเพิ่มเป็น 12 ล้านตันเมื่อสิ้นสุดปี 2558 ในขณะที่การนำเข้าพริกแห้งมีตัวเลข 22.5 ล้านกิโลกรัมในปี 2553 แต่คาดว่าสิ้นปี 2558 จะมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นสูงมากกว่า 2 เท่าหรือประมาณ 57.4 ล้านกิโลกรัม

ผลการนำเข้าพริกดังกล่าวส่งผลกระทบให้หลายพื้นที่ราคาพริกตกต่ำจากกิโลกรัมละ 40 บาทเหลือเพียง 8 บาท ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นต่อเนื่องและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นนับตั้งแต่ปี 2553-2554 ที่ผ่านมา

เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2558 กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกพริก จังหวัดตากได้ยื่นหนังสือต่อหน่วยงานราชการให้แก้ปัญหาการนำเข้าพริกสดผ่านด่านเชียงของ จ.เชียงราย จากจีน และประเทศเพื่อนบ้าน แต่ได้รับการปฏิเสธโดยอ้างว่าปริมาณและการนำเข้าไม่ได้เพิ่มขึ้น และการใช้มาตรการควบคุมการนำเข้าจะส่งผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้องและการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น (ดูจดหมายตอบจากหน่วยงานราชการได้ในโพสต์ความคิดเห็นที่ 1)

กระทรวงพาณิชย์ได้ให้คำมั่นต่อเกษตรกรระหว่างการเจรจาเอฟทีเอกับประเทศต่างๆว่า หากการนำเข้าสินค้าเกษตรจากต่างประเทศส่งผลกระทบต่อเกษตรกร รัฐบาลยังมีมาตรการเซฟการ์ดเพื่อปกป้องเกษตรกรรายย่อย โดยรัฐบาลได้ตรา “พระราชบัญญัติมาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น พ.ศ. 2550” เพื่อปกป้องผู้ผลิตในประเทศ มิให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงจากปริมาณการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ เพื่อเปิดโอกาสให้อุตสาหกรรมภายในดังกล่าวสามารถปรับตัวได้ทันกับสถานการณ์แข่งขันในตลาดโลก

ขณะนี้ผลกระทบจากการไหลทะลักของพริกจากต่างประเทศได้ส่งผลกระทบตามเงื่อนไขของกฎหมายหลายประการ เช่น ปริมาณของการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น ส่วนแบ่งตลาดของสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรขาดทุน และเกิดผลกระทบให้เกษตรกรต้องสูญเสียอาชีพ เป็นต้น

การล่มสลายของเกษตรกรรายย่อยที่ปลูกพริกมิได้สร้างความเดือดร้อนแก่เกษตรกรเท่านั้น แต่การสูญเสียอาชีพดังกล่าวจะนำไปสู่การสูญเสียทรัพยากรพันธุกรรมพริกพื้นเมือง การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมอาหารที่สัมพันธ์กับวัตถุดิบท้องถิ่น เกษตรกรรายย่อยและชุมชนท้องถิ่นสูญเสียโอกาสที่จะได้ประโยชน์จากความนิยมของอาหารไทย ฯลฯ

ทั้งๆที่การใช้มาตรการเซฟการ์ดสามารถดำเนินการได้ทั้งภายใต้องค์การค้าโลก ภายใต้ความตกลงการเปิดเสรีสินค้า และการมีกฎหมายภายในประเทศรองรับ แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับละเลยการปกป้องเกษตรกรรายย่อย

การเปิดเสรีการค้าและนโยบายทางเศรษฐกิจทั้งหลายเป็นเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ยิ่งไปกว่าคนเล็กคนน้อยจริงๆ ?

ดาวน์โหลด “12 คำถามน่ารู้เกี่ยวกับ พระราชบัญญัติมาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น พ.ศ. 2550 (Safeguard Measure)” ได้ที่
www.dft.go.th/AFTA/file/SGMeasure.doc

เมื่อพริกสดนครศรีธรรมราชราคาตก โดยขายได้เพียงกิโลกรัมละ 8 บาท จากปีที่แล้วกิโลกรัมละ 40 บาท
http://www.dailynews.co.th/agriculture/252042

พริกสกลฯราคาตกวอนช่วย
daily.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd2NtOHdNekl4TURZMU9BPT0%3D&sectionid=TURNeE13PT0%3D&day=TWpBeE5TMHdOaTB5TVE9PQ%3D%3D
----------------------
หมายเหตุ
สถิติของกรมศุลกากรในปี 2558 เป็นข้อมูลที่เก็บระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2558 ไบโอไทยคาดการณ์การนำเข้าเพิ่มเติมระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม 2558 โดยใช้ตัวเลขการนำเข้าเฉลี่ยของปี 2557 เพื่อคาดการณ์ตัวเลขขั้นต่ำของการนำเข้าในปี 2558 ทั้งปี





(5) ก่อนจะมาถึงวันเวลาที่รัฐบาล "ขอความร่วมมืองดทำนาปรัง" ควรทราบว่า การเปลี่ยนแปลงระบบการทำนาแบบดั้งเดิมมาเป็นการทำนาสมัยใหม่ที่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และระบบชลประทาน หรือที่เรียกกันว่า “การปฏิวัติเขียว-Green Revolution” นั้น เกิดขึ้นจากยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรกรรมของรัฐบาล ภายใต้แผนพัฒนาการเศรษฐกิจฉบับที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2504 โดยความช่วยเหลือและสนับสนุนจากธนาคารโลกและสหรัฐอเมริกา

รัฐบาลชุดแล้วชุดเล่าที่เข้ามาบริหารประเทศ หน่วยงานของรัฐและแม้แต่สถาบันการศึกษาต่างๆ ส่วนใหญ่ ล้วนแล้วแต่สืบทอดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศดังกล่าวมาโดยต่อเนื่อง แม้ในวันที่ผลพวงของการพัฒนาดังกล่าวได้เปิดเผยฟ้องประจานความล้มเหลวของมันทั้งระบบ

ในวันที่ผืนนาปนเปื้อนไปด้วยสารเคมี ผัก และปลาธรรมชาติหายไปจากผืนนา ผลผลิตเพิ่มขึ้นก็จริง แต่ก็ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนการผลิต และระบบชลประทานที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองแบบแผนการผลิตเชิงเดี่ยวไม่ได้ทำหน้าที่ของมันอย่างที่ควรจะเป็น แต่สังคมไทยได้ตั้งคำถามกับยุทธศาสตร์ของการพัฒนาเกษตรกรรมและอาหารของไทยจริงจังแค่ไหน ?

ดาวน์โหลดบทเรียนจากปฏิวัติเขียวและตั้งคำถามต่อทิศทางพันธุวิศวกรรมเกษตรที่เดินซ้ำรอยความล้มเหลวเดิม ในงานศึกษาวิจัยเรื่อง "จากปฎิวัติเขียวสู่พันธุวิศวกรรม : บทเรียนสำหรับอนาคตเกษตรกรรมไทย" ได้ที่
www.biothai.net/sites/default/files/green-revolution.pdf

หมายเหตุ : ข้อมูลเกี่ยวกับผลผลิตเฉลี่ยข้าวนาปรังในเขตชลประทาน ต้นทุนการผลิต และราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้ ได้จาก สารสนเทศ เศรษฐกิจการเกษตรรายสินค้า ปี 2557, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

Comments.-
1. - ดูเส้นทางแล้ว อื้อหือ มีหน่วยงานก็เหมือนมีสิ่งปลูกสร้างแต่ไม่มีคนอยู่ถึงมีคนอยู่ก็ง่อยเปลี้ยเสียขา(บางคนนะ)

2.- วิบากกรรมเกษตรกรไทย ภายใต้แผนการพัฒนาของรัฐ….ทั้งหมดเพราะระบบทุนนิยม..เริ่มต้นที่อเมริกา..ตอนนี้ในประเทศเราก็กำลังทำตามอเมริกานะ.บ.เจีย.... พืชผักตอบสนองต่อปุ๋ย และยา

3.- ได้ข่าวว่า น้ำแล้งนะครับ เลยให้งดทำนาปรังมั้ง ลุงตู่บอก ข่าวอื่นๆ ก็บอกมา
ให้เลิกทำนาปลัง เพราะน้ำน้อย แล้วไปปลูกอย่างอื่นที่ใช้น้อยแทน (อ่านข่าวทุกสำนัก)
งดหรือเลิกทำนาแล้วตูจะกินอะไรค่าน้ำค่าไฟต้องจ่ายเท่าเดิมหนี้ ธ.ก.ส.เดินตามปกติ เกษตรตำบลเกษตรอำเภอ เอาขี้ปากรัฐออกมาพูดให้ปลูกพื้ชใช้น้ำน้อย พอชาวนาย้อนถามว่าจะให้ปลูกอะไรปลูกอย่างไรทำให้ดูหน่อยได้ไหมแม่งเงียบตอบไม่ได้





(6) ถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีต่อประชาคมโลกเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการส่งเสริม "การทำเกษตรกรรมยั่งยืน เกษตรอินทรีย์ และการลดการใช้สารเคมี" เป็นเพียงวาจาสวยหรูที่ว่างเปล่า หรือ เป็นพันธกิจที่มีการดำเนินการอย่างจริงจัง ขึ้นอยู่กับมาตรการและกลไกในทางปฏิบัติของกระทรวงเกษตรฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

แนวโน้มการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทยกำลังเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารเคมีกำจัดวัชพืชที่มีสัดส่วนมากถึง 80% ของสารเคมีที่นำเข้ามาทั้งหมด) โดยที่

1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมิได้ตั้งเป้าหมายเพื่อลดตัวเลขการนำเข้าสารเคมีแต่ประการใด
2) ไม่มีการประกาศแบนสารเคมีอันตรายร้ายแรงที่หลายประเทศห้ามใช้
3) ไม่มีข้อเสนอเก็บภาษีกลุ่มธุรกิจที่นำเข้าสารเคมีที่มีมูลค่าการนำเข้า 22,000 ล้านบาท และมียอดขายมากกว่า 60,000 ล้านบาทต่อปี
4) ไม่มีการควบคุมการโฆษณาและส่งเสริมการขายสารเคมีอย่างจริงจัง ทั้งๆที่ละเมิดข้อกำหนด/เกณฑ์ทางจริยธรรมขององค์การระหว่างประเทศ (FAO Code of Conduct)
5) มีการแต่งตั้งบุคคลจากกลุ่มธุรกิจสารเคมีที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเป็นคณะกรรมการวัตถุอันตราย
6) ไม่ใส่ใจและไม่ให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลที่แท้จริงต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักและผลไม้
ฯลฯ

การพัฒนาที่ยั่งยืนเกิดขึ้นได้ด้วยการกระทำ ไม่ใช่วัดจากคำกล่าวสวยหรูของผู้นำประเทศในเวทีระหว่างประเทศ

หมายเหตุ
- สถิติข้อมูลปี 2556 ขาดความสมบูรณ์ เพราะมีการเก็บข้อมูลการนำเข้าไม่ครบ 12 เดือน
- ข้อมูลการนำเข้าระหว่างปี 2553-2555 มีความผันผวนเพราะความล่าช้าในกระบวนการขึ้นทะเบียนตามพ.ร.บ.สารเคมีกำจัดศัตรูพืชฉบับปรับปรุงแก้ไข แต่ถึงกระนั้นตัวเลขเฉลี่ยการนำเข้าสารเคมีใน 3 ปีดังกล่าวยังเฉลี่ยรวมกัน 138.8 ล้านกิโลกรัมซึ่งสูงกว่าการนำเข้าเมื่อปี 2552
- ขออภัย ! คำอธิบายกราฟในแผนภาพ สลับสีระหว่างสีบานเย็นกับสีแดง โดยสีบานเย็นคือสารเคมีกำจัดวัชพืช ส่วนสีแดงคือสารเคมีกำจัดแมลง

Comments
1 ผมชวนคิดเฉพาะวลีที่กล่าวว่า "การทำเกษตรกรรมยั่งยืน เกษตรอินทรีย์ และการลดการใช้สารเคมี"

ถ้านี่คือ นโยบายจากผู้นำประเทศ ผู้ปฏิบัติจะต้องเร่งตรวจสอบกระบวนการภายในอำนาจ เพื่อสอดรับกับนโยบายนี้

แต่ความเป็นจริง ผู้นำชุมชน ทั้ง ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต. เจ้าหน้าที่เกษตร และผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ ต่างก็เป็นตัวแทน ผู้จำหน่าย สารเคมี ปุ๋ยเคมี และสารพิษต่าง ๆ โดยลืมหน้าที่ของตัวเอง แต่กลับเป็นผู้สนับสนุนให้ เซลส์แมนขายปุ๋ย ขายยา สามารถเข้าถึงลูกบ้าน ประชาชน ได้ถึงหน้าบ้าน

เราลงไปตรวจสอบกันหน่อย หากห้ามไม่ให้ติดประกาศขายสารพิษต่าง ๆ เก็บภาษีจากป้ายโฆษณาตามท้องถนน เส้นทางเข้าออกหมู่บ้าน กระจายข่าวผ่านวิทยุชุมชน เคเบิ้ลทีวี ที่มีการโฆษณาชวนเชื่อ อย่างไร้เหตุผล

จะทำให้เกิดได้อย่างไร เพื่อไม่ให้เกษตรกรโดนหลอก ข้าราชการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อย่างขาดสติเช่นในปัจจุบัน





(7) ภายใต้ระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรปที่ให้อำนาจประเทศสมาชิกมีสิทธิในการแบนการปลูกพืชจีเอ็มโอได้ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจสังคมอื่นๆ ทำให้ขณะนี้ (3 ตุลาคม 2015) มีประเทศสมาชิกอียูรวม 16 ประเทศได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก โปแลนด์ ออสเตรีย กรีซ ลิธัวเนีย ลัตเวีย สโลเวเนีย ไซปรัส บัลแกเรีย ลักเซมเบอร์ก ฮังการี และโครเอชีย ประกาศแบนพืชจีเอ็มโอแล้ว รวมทั้งอีก 4 พื้นที่สำคัญคือ สกอตแลนด์ เวลส์ ไอร์แลนเหนือ (ในสหราชอาณาจักร) และ Wallonia (ในเบลเยี่ยม) ได้ประกาศแบนการปลูกพืชจีเอ็มโอเช่นกัน

ขณะนี้มีเพียง 5 ประเทศในอียูเท่านั้น (จากทั้งหมด 28 ประเทศ) ที่มีการปลูกพืชจีเอ็มโอได้แก่ สเปน (120,000 แฮกแตร์) โปรตุเกส (6,000 แฮกแตร์) สาธารณรัฐเช็ค (1,700 แฮกแตร์) สโลวาเกีย (400 แฮกแตร์) และโรมาเนีย (2.1 แฮกแตร์)

ประมาณ 93% ของพื้นที่ปลูกจีเอ็มโอทั้งหมดของอียูอยู่ในประเทศสเปนเพียงประเทศเดียว และมีเพียงข้าวโพดจีเอ็มโอ MON801 สายพันธุ์เดียวเท่านั้นที่มีการปลูก (ในสเปน เกษตรกรส่วนใหญ่ประมาณ 70% ยังคงปลูกข้าวโพดสายพันธุ์ทั่วไปที่ไม่ได้ดัดแปลงพันธุกรรม)

ข้อที่น่าสังเกตคือ พื้นที่การปลูกพืชจีเอ็มโอในยุโรปกำลังลดลงเป็นลำดับ ประเทศที่เคยปลูกจีเอ็มโอมาก่อน เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส และโปแลนด์ บัดนี้ได้ประกาศแบนแล้ว ทำให้ขณะนี้พื้นที่การปลูกจีเอ็มโอของอียูมีสัดส่วนน้อยมาก เหลือเพียง 0.07% ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด 176 ล้านแฮกแตร์เท่านั้น

นอกเหนือจากประเทศที่ประกาศแบนจีเอ็มโอดังที่ได้กล่าวแล้ว ประเทศที่เหลือส่วนใหญ่ที่เป็นสมาชิกอียูก็มิได้มีการปลูกจีเอ็มโอแต่ประการใด เช่น อังกฤษ สวีเดน ฟินแลนด์ ไอร์แลนด์ ฮังการี สโลเวเนีย เอสโตเนีย มอลตา

ประเทศนอกสหภาพยุโรป เช่น ยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างรัสเซีย ประเทศที่เป็นที่ตั้งของบรรษัทเทคโนโลยีชีวภาพชั้นนำ เช่นสวิตเซอร์แลนด์ รวมทั้งนอรเวย์ ก็ไม่มีการปลูกจีเอ็มโอเช่นเดียวกัน

โดยรัสเซียนอกเหนือจากต่อต้านการปลูกแล้วยังปฏิเสธการนำจีเอ็มโอมาใช้เป็นวัตถุดิบในผลิตภัณฑ์อาหารทุกชนิดของตนด้วย

19 ปีของการปลูกพืชจีเอ็มโอเชิงพาณิชย์ ทำให้ประชาชนและรัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลกลุกขึ้นมาแสวงหาทางเลือกที่ดีกว่า รวมทั้งประชาชนในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นศูนย์กลางการส่งออกเทคโนโลยีนี้ด้วย

ประเทศไทยต้องไม่กระโดดก้าวขึ้นรถไฟสายจีเอ็มโอที่จะนำพาประชาชนไปสู่หุบเหวแห่งการพึ่งพาบรรษัท ในขณะที่มีทางเลือกที่ดีกว่าให้ก้าวเดิน

ที่มา :

Over Half of EU Countries Are Opting Out of GMOs
http://time.com/4060476/eu-gmo-crops-european-union-opt-out/

EU-28 Agricultural Biotechnology Annual 2015
GAIN Report Number: FR9174 USDA

EU's harvest of genetically-modified corn falls
http://www.agrimoney.com/news/eus-harvest-of-genetically-modified-corn-falls--7864.html

Comments
1- การแบนจีเอ็มโอของยุโรปเป็นข่าวใหญ่ทั่วโลก แต่ไม่ปรากฎสื่อในประเทศไทยรายงานข่าวนี้ ?
สื่อบ้านเราสื่อเติมเงิน จรรยาบรรณอย่าไปถามถึง





(8 ) "นโยบายเกษตรกรรมยั่งยืน/เกษตรอินทรีย์" หากพิจารณาจากคำแถลงของรัฐบาลชั่วคราวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดูเหมือนจะทำให้ประชาชนหลงเข้าใจว่า "นโยบายเกษตรกรรมยั่งยืน/เกษตรอินทรีย์" คือนโยบายสำคัญของรัฐบาลนี้ แต่จากการวิเคราะห์เรากลับพบว่าการส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรรมยั่งยืน/เกษตรอินทรีย์เป็นเพียงเรื่องลมๆแล้งๆ เนื่องจากงบประมาณของกระทรวงเกษตรที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมอินทรีย์มีไม่ถึง 1% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2559 จำนวน 86,000 ล้านบาท ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์





(9) วาระเรื่องเกษตรกรรมอินทรีย์ปรากฎอยู่ในถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรี ซึ่งแถลงในที่ประชุมองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา ดังความตอนหนึ่งว่า
"ประเทศไทยสามารถยกระดับการพัฒนามาเป็นประเทศรายได้ปานกลางระดับสูงได้ ก็ด้วยการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยรัฐบาลได้ดำเนินการส่งเสริมการทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืน การทำเกษตรอินทรีย์ ลดการใช้สารเคมี ส่งเสริมตลาดชุมชน –ลดกลไกพ่อค้าคนกลาง – สร้างเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคม"
(http://www.thaigov.go.th/index.php?option=com_k2&view=item&id=95859%3Aid95859&Itemid=339&lang=th)

นโยบายเรื่องนี้ยังเป็นหนึ่งในเรื่องเร่งด่วน 5 เรื่องสำคัญของ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คนใหม่ เพราะ "เกษตรอินทรีย์ เป็นเรื่องที่ให้ความสนใจ เพราะถ้าเป็นเกษตรอินทรีย์จะเป็นการผลิตที่ได้มาตรฐาน ไม่มีสิ่งเจือปน ขายได้ราคาดี รวมทั้งการทำการเกษตรให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ตรงกับความต้องการของตลาด เพราะช่วงนี้ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ จึงควรผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการตลาด"
(http://www.moac.go.t/main.php?filename=policy_chatchai)

อีกทั้งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปี 2559-2564 โดยกำหนดวิสัยทัศน์ของประเทศไทย “เป็นศูนย์กลางการผลิต การบริโภค การค้า และ การบริการ เกษตรอินทรีย์ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล”
(http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=20865&filename=index)

ถ้อยคำสวยหรูเหล่านั้นขัดแย้งกับทิศทางของการจัดงบประมาณโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยจากการวิเคราะห์เราพบว่า งบประมาณที่เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์จาก "เอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 เล่มที่ 3" ซึ่งเสนอต่อสำนักงบประมาณนั้น มีงบประมาณซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในหลายหน่วยงานมียอดรวมกันเพียงประมาณ 600 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.7% ของงบประมาณทั้งหมดที่กระทรวงเกษตรฯได้รับเท่านั้น

งบประมาณดังกล่าวปรากฎอยู่ในงบประมาณของ กรมพัฒนาที่ดินประมาณ 500 ล้านบาท กรมวิชาการเกษตร 70 ล้านบาท กรมปศุสัตว์ 5 ล้านบาท กรมหม่อนไหม 10 ล้านบาท และหน่วยงานอื่นๆอีกประมาณ 80 ล้านบาท

เรายังพบว่า มีงบประมาณอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเชื่อมโยงกับนโยบายเกษตรอินทรีย์ได้(แม้จะไม่โดยตรง) คือโครงการที่เกี่ยวกับศูนย์ปราชญ์ พิพิธพันธ์เกษตร และเงินอุดหนุนเศรษฐกิจพอเพียง รวมกันประมาณ 300 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.3% ของงบประมาณทั้งหมดของกระทรวงเกษตรฯ

การจัดการงบประมาณดังกล่าวชี้ให้เห็นกระแสครอบงำของเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวและการผลิตขนาดใหญ่ที่ฝังรากลึกอยู่ในกระบวนการกำหนดนโยบายเกษตรกรรมและอาหารของประเทศ ตั้งแต่ผู้บริหารประเทศจนมาถึงองคาพยพต่างๆของหน่วยงานราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

หมายเหตุ :
1) การวิเคราะห์งบประมาณเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์อาจมีความคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากการตั้งหมวดงบประมาณที่อาจซ้ำซ้อนกันของหน่วยงาน และการตีความการใช้งบประมาณของหน่วยงาน ( เช่น ไบโอไทยประเมินงบประมาณตามโครงการเมืองเกษตรสีเขียวเพียง 80 ล้านบาทซึ่งน้อยกว่าความเป็นจริง จากงบประมาณปีละ 400 ล้านบาท เนื่องจากประเมินว่ากิจกรรมที่เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ในโครงการดังกล่าว สัดส่วนส่วนใหญ่เป็นการส่งเสริมการผลิตที่ปลอดภัย GAP แต่ในอีกด้านหนึ่งอาจเป็นการประเมินมากกว่าความเป็นจริงเนื่องจากงบประมาณ 400 ล้านบาท อาจเป็นการดึงงบประมาณของหน่วยงานต่างๆมาสมทบรวมกัน)

2) การวิเคราะห์นี้วิเคราะห์จากยอดงบประมาณ ไม่ได้ก้าวล่วงไปประเมินว่า งบประมาณเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ดังกล่าวเมื่อได้มีการดำเนินการโดยหน่วยงานต่างๆแล้วนั้น จะบรรลุเป้าหมายแค่ไหน เพียงไร หรือไม่

3) ดาวน์โหลดงบประมาณของกระทรวงเกษตรฯที่เสนอต่อสำนักงบประมาณ (ซึ่งใกล้เคียงมากกับงบประมาณที่ผ่านความเห็นชอบจากสนช.และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว) ได้ที่
www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/comm/1825/3.3.pdf

4) อ่านแนวทางเกี่ยวกับการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนจากข้อเสนอของเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนร่วมกับสภาพัฒน์ฯ ซึ่งควรที่กระทรวงเกษตรฯจะได้นำไปปรับใช้ได้ที่ https://www.facebook.com/biothai.net/photos/a.467826533255873.100128.183063271732202/975293915842463/?type=3&theater

Comments
1.- BIOTHAI ดูละเอียดในงบของกรมแล้วครับ ได้สรุปงบเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ตามรายละเอียดในโพสต์ ลองช่วยกันพิจารณาตามรายละเอียดนี้ก็ได้ครับwww.senate.go.th/w3c/senate/pictures/comm/1825/3.3.pdf





(10) อิตาลี ออสเตรีย และลิธัวเนีย เป็นอีก 3 ประเทศล่าสุดของอียูที่ประกาศแบนจีเอ็มโอแล้ว คลื่นสีเขียวกำลังโหมกระหน่ำกวาดล้างพืชจีเอ็มออกไปให้พ้นจากทวีปยุโรป

Virginija Baltraitienė รัฐมนตรีเกษตรของลิธัวเนียประกาศว่า “จนถึงขณะนี้เราไม่พร้อมสำหรับจีเอ็มโอ เราต้องเลือกระหว่างการส่งเสริมการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์หรือจะอนุญาตให้ปลูกจีเอ็มโอ เราแบนจีเอ็มโอเพราะยุทธศาสตร์ของลิธัวเนียคือเพิ่มผลิตภัณฑ์อาหารที่สะอาด และมีคุณภาพสูง”

Sabine Oberhauser รัฐมนตรีสาธารณสุขของออสเตรีย และ Gian Luca Galletti รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม Beatrice Lorenzin รัฐมนตรีสาธารณสุขของอิตาลีได้ประกาศอย่างเป็นทางการเพื่อแจ้งแก่คณะกรรมการยุโรปว่าทั้งสองประเทศได้ใช้สิทธิตามระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรปในการแบนพืชจีเอ็มโอ ทำให้ขณะนี้ สมาชิกในกลุ่มประเทศอียูทั้งหมด 9 ประเทศ ได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี ออสเตรีย กรีซ ลัตเวีย ลิธัวเนีย สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์เหนือ ได้ประกาศแบนการปลูกพืชจีเอ็มโออย่างเป็นทางการแล้ว

ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอีกหลายประเทศ เช่น โปแลนด์ ฮังการี โครเอเชีย เซอร์เบีย บอสเนีย บัลแกเรีย อัลบาเนีย และเวลส์ คาดว่าจะประกาศการแบนจีเอ็มโอก่อนวันที่ 3 ตุลาคม 2558 เนื่องจากกลุ่มประเทศดังกล่าวมีจุดยืนชัดเจนมาก่อนหน้านี้ที่จะไม่ปลูกพืชจีเอ็มโอ ด้วยเหตุผลผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และเหตุผลทางเศรษฐกิจ/สังคมอื่นๆ

นอกเหนือจากประเทศที่เป็นสมาชิกของอียู รัสเซีย นอรเวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ ล้วนปฏิเสธการปลูกพืชจีเอ็มโอ โดยรัสเซียนอกจากจะไม่ปลูกพืชจีเอ็มโอแล้วยังมีนโยบายอย่างชัดเจนที่จะขจัดผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอออกจากกระบวนการผลิตอาหารทั้งหมดของประเทศอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://sustainablepulse.com/2015/09/24/austria-and-italy-celebrate-bans-on-gm-crops-with-eu-opt-out/#.VgRkJZeCpMI
http://sustainablepulse.com/2015/09/21/lithuania-bans-gm-crops-as-green-wave-continues-to-sweep-across-europe/





(11) รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมไอร์แลนด์เหนือ Mark H Durkan ประกาศแบนการปลูกพืชจีเอ็มแล้ว เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา ด้วยเหตุผล "เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากในการจัดการการปนเปื้อนระหว่างพืชจีเอ็มกับพืชที่ไม่ใช่จีเอ็ม" และ "รักษาสิ่งแวดล้อมและความร่ำรวยทางชีวภาพของไอร์แลนด์เหนือ" ในขณะที่การปลูกพืชจีเอ็มโอจะทำลายภาพลักษณ์ของไอร์แลนด์เหนือซึ่งทั้ง "Green" และ "Clean"

ไอร์แลนด์เป็นประเทศที่ 6 ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่ประกาศแบนการปลูกพืชจีเอ็มโอ หลังจากก่อนหน้านี้ กรีซ ลัตเวีย สกอตแลนด์ เยอรมนี และฝรั่งเศส ได้ทยอยประกาศแบนพืชเจ้าปัญหานี้เป็นลำดับ

มอนซานโต้ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และผู้สนับสนุนจีเอ็มโอในประเทศไทยกำลังผลักดันอย่างหนักให้มีการอนุญาตปลูกพืชจีเอ็มโอให้สำเร็จภายใต้รัฐบาลชั่วคราว

ร่วมกันต่อสู้เพื่อปกป้องทรัพยากรชีวภาพ อิสรภาพของเกษตรกรรายย่อย สิทธิของผู้บริโภค และความมั่นคงทางอาหารของประเทศ

ที่มา
Environment Minister, Mark H Durkan today announced that he is prohibiting the cultivation of genetically modified (GM) crops in Northern Ireland. - http://www.northernireland.gov.uk/news-doe-

210915-durkan-bans-gm
GM crop-growing banned in Northern Ireland -
http://www.bbc.com/news/world-europe-34316778

Comments-
1.- ไทยก็ควรแบน เพราะปัจจุบันนี้มะละกออันเป็นผลไม้ตัวหนึ่ง ที่บรรจุในกระป๋อง ปัจจุบันมีปัญหามาก เรื่องการต้องรับรองว่า ไม่ใช่ GMO มิฉะนั้นประเทศญี่ปุ่น และยุโรปทั้งหมดไม่รับซื้อ และเท่าที่มีการนำไปตรวจสอบ พบว่ามันน่าจะเรียกว่าปนเปื้อนไปทั้งประเทศไทยแล้ว คนไทยก็เลยกลายเป็นหนูตะเภาให้ไอ้กัน คอยดูว่า อนาคตคนไทย ลูกหลานจะได้รับผลกระทบ เป็นต้นว่ากลายพันธุ์หรือไม่ เจ็บป่วยหรือไม่
ความจริงคือคนไทยหลงเชื่อฝรั่งโดยคิดว่าอะไรที่เป็นของฝรั่งดีไปหมด ค่านิยมแบบนี้เหละที่แย่ที่สุด ถูกฝรั่งหลอกแล้วยังเห็นว่ามันดีอีก

สรุปเพื่อลูกหลาน ควรแบนครับ



ที่มา . - http://biothai.net/node/30455
.
ยังมีต่อ ตอน(2) ครับ

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 14/01/2016 4:10 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 หยุด พรบ.GMOs (6 ตอน 2) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 12 หยุด พรบ.GMOs (6 ตอน 2)


ภาค 2 (5.6) – คัดค้านร่าง พรบ.GMOs





(12) สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน

หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน องค์กรสาธารณประโยชน์ และผู้นำเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์จากทั่วประเทศ เห็นชอบร่วมกันในการกำหนดเป้าหมายเพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ของประเทศจากที่มีอยู่เดิมประมาณ 200,000 -800,000 ไร่ ให้เป็น 15 ล้านไร่ภายในปี 2563

ปัจจุบันพื้นที่เกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองโดยสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์(มกท.) กระทรวงเกษตรฯ (มกอช.-Organic Thailand) มีอยู่ประมาณ 200,000 ไร่ แต่หากรวมพื้นที่เกษตรอินทรีย์ที่มิได้ขอการรับรองด้วยคาดว่าจะมีพื้นที่รวมกันประมาณ 800,000 ไร่ ซึ่งถือว่าน้อยมาก (0.1-0.5%)ของพื้นที่การเกษตรของประเทศ ในขณะที่ในหลายประเทศเช่น ประเทศในยุโรปมีพื้นที่เกษตรกรรมอินทรีย์ตั้งแต่ 5-20% ของพื้นที่การเกษตร

อย่างไรก็ตามประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาได้ในระดับสูงเนื่องจากมีพื้นที่ประมาณ 5.7% หรือ 8.5 ล้านไร่ซึ่งเป็นพื้นที่ซึ่งเกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนจากการใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และชีวภาพแล้วโดยไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมีเลย(และแทบไม่ได้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช) ดังนั้นการกำหนดเป้าหมายในการเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ให้ได้อย่างน้อย 10% ของพื้นที่เกษตรของประเทศ( 150 ล้านไร่) จึงมีความเป็นไปได้สูง แต่ต้องมีกลไกและมาตรการต่างๆในการรองรับทั้งวงจรตั้งแต่การผลิตไปจนถึงผู้บริโภค

ข้อสรุปของการประชุมซึ่งจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและจะถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อที่จะให้เป้าหมายดังกล่าวดำเนินได้จริงประกอบไปด้วย

- การจัดหา Green Credit ซึ่งรัฐบาลสนับสนุนเพื่อชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์สำหรับพื้นที่ 15 ล้านไร่ โดยใช้เงินเพียง 3,150 ล้านบาท/ปีเท่านั้น
- สนับสนุนการจัดซื้อข้าวและผักผลไม้อินทรีย์เพื่อใช้ในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน จากข้อมูลขณะนี้มีเด็กตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีทุพโภชนาการและขาดแคลนอาหารกลางวัน 5.8 ล้านคน การเพิ่มงบประมาณอีกเพียงเล็กน้อย (ประมาณ 25%) จัดทำให้เกิดการขยายการผลิตเกษตรอินทรีย์อย่างก้าวกระโดด ในขณะเด็กจะได้รับอาหารที่เพียงพอและปลอดภัยซึ่งจะดีต่อการพัฒนาสมองของเด็ก (ประเทศเดนมาร์กให้มาตรการนี้ในการเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์จาก 7% เป็น 14% ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น)

- พัฒนาตลาดท้องถิ่น ซึ่งจะทำให้เกษตรกรรมอินทรีย์เติบโตอย่างยั่งยืนโดยไม่พึ่งพาเฉพาะตลาดต่างประเทศเท่านั้น ทั้งนี้โดยการผลักดันระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS-Participatory Guarantee Systems) มาใช้ในการสร้างความเชื่อถือแก่ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ เพราะเสียค่าใช้จ่ายน้อยมาก และตอบสนองต่อตลาดท้องถิ่นมากกว่า

- พัฒนาศูนย์ปราชญ์และศูนย์ฝึกอบรม โดยการสนับสนุนข้อมูล/วิชาการ และทำกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม( PTD-Participatory Technology Development) ร่วมกับสถาบันวิจัยของรัฐ และสถาบันการศึกษา

- กลไกสำคัญที่จะถูกสร้างขึ้นเพิ่มเติมคือ การจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนซึ่งเป็นหน่วยงานขนาดเล็กที่เป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่ในการประสานงานกับภาคเอกชน ราชการ ชุมชน และองค์กรสาธารณประโยชน์ต่างๆ วิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมเกษตรกรรมยั่งยืน จัดทำข้อมูลและสถิติที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมและสนับสนุนระบบมาตรฐาน ติดตามและเสนอนโยบายเกี่ยวกับเกษตรกรรมเชิงนิเวศ ขับเคลื่อนเพื่อให้เป้าหมายที่วางไว้บรรลุผล

การขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน-เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย
ตลอด 3 ทศวรรษที่ผ่านมามีองค์กรสาธารณประโยชน์ เครือข่ายของเกษตรกร และชุมชนต่างๆ และภาคเอกชนกลุ่มเล็กๆ เป็นผู้บทบาทสำคัญ ในขณะที่รัฐและกลุ่มธุรกิจเกษตรและอาหารยักษ์ใหญ่เลือกหนทางอื่น

การผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนโดยเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ให้ได้ 10% ของพื้นที่การเกษตรของประเทศเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆของรัฐต้องแสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมว่าได้ดำเนินการเพื่อสนับสนุนกรอบเค้าโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนข้างต้นอย่างไร

รัฐบาลนี้อาจไม่ต้องควักเงินเลยสักบาทเดียวในการสร้างเกษตรกรรมและอาหารที่ปลอดภัยต่อทุกคน หากเก็บภาษีสัก 3-5% จากบริษัทปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งมีมูลค่าการนำเข้ารวมกันสูงถึง 88,000 ล้านบาท/ปี (มูลค่าตลาดสูงกว่านี้มาก) เพื่อนำมาใช้สนับสนุนเกษตรกรรมยั่งยืน

หมายเหตุ : แผนภาพและข้อมูลได้จากการประชุม ซึ่งจัดขึ้นโดย "คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน" สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 19-20 กันยายน 2558

Comments
ชอบมากๆ กับสองข้อนี้ เพราะเกษตรกรไม่มีลักษณะนิสัยพ่อค้าแม่ค้า จึงต้องทำตามนายทุนกำหนด ถ้าสองข้อนี้ทำได้ จะช่วยมาก โดยเฉพาะการขายผลิตผลให้โรงเรียน เพราะเกือบทุกหมู่บ้านต้องมีโรงเรียนอยู่แล้ว

- สนับสนุนการจัดซื้อข้าวและผักผลไม้อินทรีย์เพื่อใช้ในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน จากข้อมูลขณะนี้มีเด็กตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีทุพโภชนาการและขาดแคลนอาหารกลางวัน 5.8 ล้านคน การเพิ่มงบประมาณอีกเพียงเล็กน้อย (ประมาณ 25%) จัดทำให้เกิดการขยายการผลิตเกษตรอินทรีย์อย่างก้าวกระโดด ในขณะเด็กจะได้รับอาหารที่เพียงพอและปลอดภัยซึ่งจะดีต่อการพัฒนาสมองของเด็ก (ประเทศเดนมาร์กให้มาตรการนี้ในการเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์จาก 7% เป็น 14% ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น)

- พัฒนาตลาดท้องถิ่น ซึ่งจะทำให้เกษตรกรรมอินทรีย์เติบโตอย่างยั่งยืนโดยไม่พึ่งพาเฉพาะตลาดต่างประเทศเท่านั้น ทั้งนี้โดยการผลักดันระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS-Participatory Guarantee Systems) มาใช้ในการสร้างความเชื่อถือแก่ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ เพราะเสียค่าใช้จ่ายน้อยมาก และตอบสนองต่อตลาดท้องถิ่นมากกว่า





(13) สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำลังอยู่ระหว่างการจัดทำร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12
โดยการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาระบบเกษตรกรรมและอาหารจะเป็นเครื่องมือสำคัญของการกำหนดแนวทางการพัฒนาของประเทศ เกี่ยวข้องกับการดำเนินการและจัดสรรงบประมาณของหน่วยงานต่างๆ

ประเทศไทยต้องกำหนดเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาเกษตรกรรมไปสู่เกษตรกรรมเชิงนิเวศให้ได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของพื้นที่การเกษตร ทั้งนี้เพื่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภค ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศการเกษตร ลดการปล่อยแกสเรือนกระจก ลดต้นทุนการผลิต ลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกร เพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเอง เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ไปพร้อมๆกัน

นี่เป็นโอกาสสุดท้ายของประเทศไทย ที่จะเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงที่รออยู่ข้างหน้า





(14) รัฐบาลฝรั่งเศสโดย Ségolène Royal รัฐมนตรีกระทรวงนิเวศวิทยา การพัฒนาที่ยั่งยืน และพลังงาน และ Stéphane Le Foll รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร ได้แถลงอย่างเป็นทางการเพื่อแบนการปลูกจีเอ็มโอแล้วเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา

ภายใต้กฎหมายของฝรั่งเศสที่ออกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2557 ฝรั่งเศสยืนยันสิทธิของตนในการยุติการปลูกพืชจีเอ็มโอได้โดยเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อมนโยบายการเกษตร การใช้ที่ดิน ผลกระทบทางเศรษฐกิจ และความสงบเรียบร้อยของสังคม จุดยืนของฝรั่งเศสดังกล่าวสอดคล้องกับระเบียบใหม่ของอียูที่ให้แต่ละประเทศสามารถยกเลิกการปลูกพืชจีเอ็มโอได้ (opt-out) แม้ว่าพืชนั้นจะได้รับการอนุมัติให้ปลูกโดย European Food Safety Authority (EFSA) ก็ตาม

พืชและผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอนอกจากไม่ได้มีผลผลิตมากไปกว่าพืชทั่วไปแล้ว ยังถูกตัดต่อพันธุกรรมให้ต้องใช้สารเคมีปราบวัชพืชมากขึ้น ยังไม่มีข้อยุติว่ามีความปลอดภัยในระยะยาว และไม่มีใครสามารถรับประกันผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพได้

จับตา ! การเคลื่อนไหวระลอกใหม่ของมอนซานโต้ที่จับมือร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ยักษ์ใหญ่ของไทยและของโลก ผลักดันให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรคนใหม่อนุญาตให้มีการปลูกพืชจีเอ็มโอ และผลักดันให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติออกกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการปลูกพืชจีเอ็มโอในประเทศได้ โดยไม่ต้องรับผิดชอบในกรณีที่เกิดความเสียหายต่อประเทศ เกษตรกรรายย่อย และผู้บริโภค

อ่านคำแถลงเป็นทางการของรัฐบาลฝรั่งเศส(เป็นภาษาฝรั่งเศส) ได้ที่ http://agriculture.gouv.fr/mais-ogm-le-gouvernement-confirme-le-moratoire

รายงานข่าวของรอยเตอร์ที่http://www.reuters.com/article/2015/09/17/us-france-gmo-idUSKCN0RH1BV20150917

หรือเว็บไซท์สิ่งแวดล้อม http://sustainablepulse.com/2015/09/17/france-joins-green-wave-of-gm-crop-bans-in-europe/#.VfvygN-qqkq





(15) ไบโอไทยได้รับเชิญให้ไปบรรยายและแลกเปลี่ยนเรื่อง "Thai Conglomerates and Food chain" กับอาจารย์และนักศึกษานานาชาติจาก Graduate School of Economics มหาวิทยาลัยเกียวโต ภายใต้การนำของศาสตราจารย์ Shuji Hisano ตามคำเชิญของวิทยาลัยนานาชาติปรีดีพนมยงค์ ม.ธรรมศาสตร์

คำถามของนักศึกษาปริญญาเอกที่มาจากเม็กซิโก จีน เกาหลี และอินโดนีเซีย น่าสนใจมากทั้ง 5 ข้อ แอดมินขอสรุปคำถามและคำตอบมานำเสนอตามรายละเอียดข้างล่าง ผู้ใดสนใจอภิปรายหรือตอบคำถามในแนวอื่นขอเชิญแสดงความคิดเห็นได้เลยครับ

ถาม : บริษัทยักษ์ใหญ่อ้างว่าบริษัทของเขาทำให้คนไทยกินไก่ในราคาถูกกว่าในอดีต มันน่าจะดีต่อผู้บริโภคและคนมีรายได้น้อยไม่ใช่หรือ

ตอบ : การผลิตแบบขนาดใหญ่ของบริษัททำให้เนื้อไก่ถูกลงจริง และคนมีรายได้น้อยสามารถบริโภคเนื้อสัตว์ได้มากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับอดีต แต่มันอาจไม่ “ดี” จริง เพราะ
- การผลิตขนาดใหญ่ของบรรษัทต้องแลกกับเกษตรกรเลี้ยงไก่รายย่อยหลายแสนครอบครัวต้องสูญเสียอาชีพ
- เนื้อไก่ราคาถูกมาจากวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่กดราคารับซื้อจากเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพด ความไม่เป็นธรรมของเกษตรที่อยู่ภายใต้ระบบเกษตรพันธสัญญา รวมทั้งต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมจากการปลูกข้าวโพดในพื้นที่ป่า ไม่นับปัญหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ราคาถูกที่ได้จากประมงแบบทำลายล้าง และการใช้แรงงานทาส
- นักเศรษฐศาสตร์การเมืองอธิบายว่าราคาอาหารถูกกว่าที่ควรจะเป็นเป็นการเอื้ออำนวยให้อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานราคาถูกดำรงอยู่อย่างยาวนาน ภาคเกษตรต้องรับภาระในขณะที่ภาคแรงงานก็ไม่เข้มแข็ง
- คุณภาพและความปลอดภัยของอาหารในระบบอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นเนื้อไก่ที่เร่งการเจริญเติบโต หรือพืชผักที่ใช้ปุ๋ยและสารเคมีอย่างหนัก มีคุณภาพต่ำกว่าการผลิตแบบท้องถิ่น เกษตรกรรมเชิงนิเวศของเกษตรกรรายย่อย
- สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นต้นแบบการพัฒนาแบบนี้กำลังประสบปัญหาการการผลิตเชิงเดี่ยวที่มาจากการสนับสนุนทั้งโดยตรงและโดยอ้อมของรัฐ ทำให้ราคาอาหารบิดเบี้ยว เนื้อสัตว์จากอุตสาหกรรมมีราคาถูกลงแต่ผลไม้แพงขึ้น ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่แก้ไม่ตก คนจนกลับเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด


ถาม : มีความเห็นต่อการประยุกต์พุทธศาสนากับการทำงานในประเด็นเกษตรกรรมและอาหาร และความขัดแย้งทางการเมืองอย่างไร

ตอบ : การประยุกต์เรื่องพุทธศาสนากับการทำงานเกี่ยวกับระบบเกษตรกรรมและอาหารเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ตัวอย่างเช่น มีวิธีการประยุกต์ความเชื่อทางศาสนามาใช้ในการส่งเสริมเกษตรกรรมอินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอธิบายการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชว่าเป็นการฆ่าและทำลายล้างระบบนิเวศด้วยความโกรธ การเบียดเบียนชีวิตและธรรมชาติจะส่งผลกระทบย้อนมายังเกษตรกรในท้ายที่สุด เพราะยิ่งฉีดสารพิษแมลงและศัตรูพืชยิ่งระบาด คนฉีดกลับเจ็บป่วยและล้มตายเสียเอง

- มีข้อตั้งสังเกตว่า คนที่ควรประณามและกล่าวโทษว่าเป็น "นักฆ่า" ที่แท้จริงควรจะเป็นบริษัทผลิตและค้าขายสารพิษมากกว่าเกษตรกรรายย่อย เพราะการตัดสินใจใช้สารเคมีเป็นผลของระบบการเกษตรที่สนับสนุนทั้งโดยตรงและโดยอ้อมของหน่วยงานรัฐ การโฆษณาและสร้างมิจฉาคติโดยบรรษัท รวมทั้งข้อจำกัดทางเศรษฐกิจสังคม เช่น ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน เป็นต้น
- เท่าที่ทราบพระพุทธองค์วางสถานะของพุทธศาสนาไว้นอกระบบการเมืองและความขัดแย้งทางการเมือง ในพระไตรปิฎกกล่าวเอาไว้ว่าไม่มีใครปฏิบัติธรรมได้ขณะที่ไฟกำลังไหม้บ้าน และบ้านเมืองกำลังอยู่ในสงคราม การวางสถานะไว้เช่นนี้ของพุทธศาสนาอาจมองได้ว่าเป็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน ซึ่งคงต้องอภิปรายกันนาน
- หลักการทางศาสนาจำนวนมากเป็นศีลธรรมที่สามารถนำมาใช้ได้ในสังคมสมัยใหม่ แต่เราต้องตระหนักด้วยว่าศาสนาหรือหลักการทางศีลธรรมอย่างเดียวมีข้อจำกัดมากในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ความเหลื่อมล้ำ และความขัดแย้งทางการเมืองได้ ประเด็นสำคัญอาจอยู่ที่ว่าเราจะนำหลักทางศาสนามาใช้ในสถานการณ์ความขัดแย้งได้อย่างไรมากกว่า

ถาม CSR ของบรรษัทอาหารใช้ได้ไหม

ตอบ - CSR ของบริษัทอาหาร เช่น พาพนักงานไปปลูกป่าชายเลน แจกพันธุ์ไก่ให้นักเรียนเลี้ยง หรือการแจกจ่ายอาหารให้กับผู้เดือดร้อนช่วงเกิดภัยพิบัติ ไม่ได้แก้ปัญหาใจกลางที่เกิดจากการผูกขาดของบรรษัทและความไม่เป็นธรรมที่บริษัทปฏิบัติต่อเกษตรกรและผู้บริโภค

- แทนที่จะปลูกป่าชายเลนบริษัทควรยุติการส่งเสริมการขายเมล็ดพันธุ์และซื้อข้าวโพดที่ปลูกในพื้นที่ป่าต้นน้ำในภาคเหนือจะดีกว่า การแจกพันธุ์ไก่แก่นักเรียนและโรงเรียนไม่ได้ช่วยอะไรมาก เพราะพวกเขาต้องซื้ออาหารสัตว์ราคาแพงจากบริษัทอยู่ดี การแจกจ่ายจ่ายอาหารในช่วงภัยพิบัติทำให้ประชาชนรู้สึกดี แต่จะดีกว่าถ้าสามารถจัดการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดการรวมศูนย์/ผูกขาดของการผลิต การจัดจำหน่าย จนเมื่อเกิดอุบัติภัยขึ้นประชาชนกลับไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้ เพราะแหล่งผลิต ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า และระบบขนส่งได้รับความเสียหาย


ถาม : บทบาทของท้องถิ่นในการควบคุมค้าปลีกสมัยใหม่ จะทำอย่างไรได้บ้าง

ตอบ : กลุ่มค้าปลีกในท้องถิ่นเคยลุกขึ้นสู้การขยายตัวของค้าปลีกสมัยใหม่เมื่อทศวรรษที่แล้ว แต่ตอนนี้กลุ่มดังกล่าวอ่อนแรงลงไปมากแล้ว แต่ยังไม่สายเกินไป ประเทศไทยควรเรียนรู้จากประเทศอื่นๆในการสร้างกติกาไม่ให้ค้าปลีกสมัยใหม่กลืนร้านค้ารายย่อย
แต่ค้าปลีกท้องถิ่นต้องสร้างอัตลักษณ์ของสินค้า ไม่ใช่การรับสินค้าจากสายพานการผลิตแบบอุตสาหกรรมเช่นเดียวกันกับสินค้าที่อยู่ในร้านสะดวกซื้อ

สินค้าในร้านสะดวกซื้อส่วนใหญ่เป็นสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่เป็นมิตรต่อสุขภาพ ผลิตจากวัตถุดิบคล้ายๆกัน ไม่มีความหลากหลาย ร้านค้าจากท้องถิ่นต้องทำในทิศทางตรงกันข้าม ต้องขายผลผลิตที่มาจากท้องถิ่นและวิสาหกิจรายย่อย มีความหลากหลาย มีคุณค่าทางโภชนาการ และเป็นมิตรต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างเช่น ขณะนี้มีการจัดตั้งตลาดสีเขียวเกษตรกร เพื่อนำผลผลิตจากเกษตรกรรมเชิงนิเวศและสินค้าจากท้องถิ่น ในจังหวัดเชียงใหม่ ยโสธร ฉะเชิงเทรา และสงขลา รวมทั้งการพัฒนาระบบตลาดรูปแบบอื่นๆที่สร้างความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างเกษตรกรกับผู้บริโภค เป็นต้น

ถาม : เราจะมีความหวังได้มากน้อยแค่ไหนในการควบคุมบรรษัท


ตอบ : เราต้องมีความหวัง เพราะว่าการผูกขาดของบรรษัทและการดำเนินการของบรรษัทเกษตรและผูกขาดทำลายการแข่งขันซึ่งเป็นจุดแข็งของระบบทุนนิยมเสียเอง

บรรษัทได้ทำลายสิ่งแวดล้อมและเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพของประชาชน หลักการเรื่องความเป็นธรรม สิทธิมนุษยชน สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม เป็นเป้าหมายการพัฒนาและเป็นศีลธรรมสำหรับโลกยุคใหม่

เราเห็นประชาชนในต่างประเทศกดดันห้างค้าปลีกให้ติดฉลากสินค้าจีเอ็มโอ ต่อต้านผลิตภัณฑ์ที่กดขี่แรงงาน จนกลายเป็นมาตรฐานทางการค้าที่รัฐบาลต้องรับรอง

ในประเทศไทย เราเห็นประชาชนลุกขึ้นรณรงค์ไม่ใช้บริการของร้านสะดวกซื้อที่เอารัดเอาเปรียบผู้ประกอบการรายย่อย รวมทั้งผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดปัญหาหมอกควัน การบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อปลูกข้าวโพด และการใช้วัตถุดับอาหารสัตว์ที่มาจากการประมงแบบทำลายล้าง ฯลฯ

พลังเหล่านี้จะนำไปสู่การผลักดันกฎหมายต่อต้านการผูกขาด และการแสดงออกโดยตรงของผู้บริโภคและประชาชนในการต่อต้านสินค้าที่ไม่สอดคล้องกับหลักการของโลกยุคใหม่ สิ่งเหล่านี้เป็นไปได้ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆในภูมิภาคนี้






(16) การยอมรับและอนุญาตให้มีการปลูกพืชจีเอ็มโอ จะเป็นการเริ่มต้นนำระบบเกษตรและอาหารของประเทศไปอยู่ภายใต้บรรษัทข้ามชาติ "มอนซานโต้" ดังจะเห็นได้จากประสบการณ์ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มอนซานโต้บริษัทเดียวผูกขาดพันธุ์พืชจีเอ็มโอ ไม่ว่าจะเป็นฝ้าย ถั่วเหลือง และข้าวโพดเกือบทั้งหมด

บริษัทคู่แข่งของมอนซานโต้ไม่ว่าจะเป็นซินเจนทา ดาวอะโกร หรือดูปองท์ ซึ่งเป็นคู่แข่งก็ต้องซื้อเทคโนโลยีของมอนซานโต้เพื่อนำไปผลิตเมล็ดพันธุ์ขาย
(อ่านบทความชื่อ Monsanto and DuPont's GMO War and biotech Monopoly ได้ที่ http://www.seattleorganicrestaurants.com/vegan-whole-food/Monsanto-DuPont-GMO-war-monopoly.php)
ตลาดเมล็ดพันธุ์ภายใต้นโยบายของสหรัฐอเมริกาที่เปิดทางให้มีการปลูกพืชจีเอ็มโออย่างกว้างขวาง ค่อยๆกลายเป็นระบบการผูกขาดที่มอนซานโต้มีอำนาจการผูกขาดมากขึ้นๆเป็นลำดับ

ขณะนี้มอนซานโต้ครอบครองตลาดเมล็ดพันธุ์ของโลกประมาณ 26% โดยครอบคลุมพันธุ์พืชสำคัญ ทั้งที่เป็นพันธุ์พืชไร่ไปจนถึงพันธุ์ผัก เช่น มะเขือเทศ พริก หอม เป็นต้น

หากประเทศต่างๆหันมายอมรับจีเอ็มโอ ส่วนแบ่งตลาดเมล็ดพันธุ์ในมือของมอนซานโต้จะขยายจาก 26% ออกไปเป็น 90% ดังที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา

การยอมรับจีเอ็มไม่ได้หมายความว่าจะยอมรับแค่เมล็ดพันธุ์เท่านั้น แต่จะหมายถึงการยอมรับการใช้สารเคมีของบรรษัท (เพราะมากกว่า 85% ของเมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอตัดต่อพันธุกรรมให้ต้านทานสารพิษปราบศัตรูพืชของบรรษัท) อีกทั้งต้องยอมรับระบบสิทธิบัตร ซึ่งการนำพันธุ์ไปปลูกต่อ วิจัย แลกเปลี่ยน หรือใช้ประโยชน์อื่นใดไม่สามารถดำเนินการได้หากไม่ได้รับอนุญาต

ประเทศไทยอยู่บนทางสองแพร่งว่าจะเดินตามหลังสหรัฐอเมริกาแบบเดียวกับอาร์เจนตินา ฟิลิปปินส์ หรือจะลุกขึ้นสู้ แสวงหาจุดแข็งของตัวเองเพื่อพัฒนาระบบเกษตรกรรมและอาหารอย่างเป็นอิสระ เช่นเดียวกับเยอรมนี ฝรั่งเศส ออสเตรีย นอรเวย์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฯลฯ





(17) กลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป(อียู)ทยอยประกาศแบนจีเอ็มโอ
หลังระเบียบใหม่ของยุโรปประกาศใช้ โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา กรีซ และลัตเวียได้ยื่นต่อ EU Commission เพื่อใช้สิทธิไม่ปลูกพืชจีเอ็มโอ (opt-out) ตามสกอตแลนด์ และเยอรมนีที่ได้ประกาศความจำนงก่อนหน้านี้

ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2558 คาดหมายว่าจะมีประเทศสมาชิกอียูอีกหลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศส และออสเตรีย เป็นต้น จะเข้าร่วมยกเลิกการปลูกจีเอ็มโอ

ตามระเบียบใหม่ของอียูซึ่งผ่านความเห็นชอบของสภายุโรป (ด้วยคะแนนเสียง 480 ต่อ 159 และงดออกเสียง 5Cool อนุญาตให้ประเทศสมาชิกสามารถแบนจีเอ็มโอได้ด้วยเหตุผลพื้นฐานทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ-สังคม การป้องกันการปนเปื้อนของจีเอ็มโอในผลิตภัณฑ์อื่นๆ หรือด้วยวัตถุประสงค์ของนโยบายทางการเกษตรแต่ละประเทศ แม้ว่าจีเอ็มโอบางชนิดได้ผ่านความเห็นชอบจากการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจาก European Food Safety Authority (EFSA) ก็ตาม

ตามระเบียบของอียู บริษัทที่ผลักดันจีเอ็มโอมีสิทธิในการแย้งและสามารถแจ้งข้อกำหนดเกี่ยวกับการควบคุมพืชและผลิตภัณฑ์จีเอ็มโออย่างเข้มงวดเพื่อให้มีการทบทวนได้ แต่ประเทศสมาชิกของอียูมีสิทธิเด็ดขาดในการแบนได้โดยชอบอยู่ดี

อ่านคำแถลงของรัฐสภายุโรปได้ที่
http://www.europarl.europa.eu/news/en/news-room/content/20150109IPR06306/html/Parliament-backs-GMO-opt-out-for-EU-member-states

และข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์เกี่ยวกับกรณีกรีซและลัตเวียที่
http://www.reuters.com/article/2015/08/27/eu-agriculture-monsanto-idUSL5N1121GE20150827





(18 ) จากการประมวลงานศึกษาเปรียบเทียบที่ทำมาตั้งแต่ปี 1914 จนมาถึงปี 1997 โดยนักวิจัยเกี่ยวกับโภชนาการ พบว่าคุณค่าทางโภชนาการของผักและผลไม้ส่วนใหญ่มีแนวโน้มลดลง สวนทางกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของเกษตรกรรมแผนใหม่ที่มีการปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ ส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก เช่น ปุ๋ยเคมี และสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในปริมาณมาก

งานศึกษาเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมีหลายการศึกษา ซึ่งล้วนแล้วแต่ชี้ไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งงานศึกษาของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) โดย Donald Davis จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส ซึ่งตีพิมพ์ใน Journal of the American College of Nutrition

Donald ศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบสารอาหารของผักและผลไม้จำนวน 43 ชนิด ระหว่างปี 1950 กับปี 1999 พบว่าสารอาหารส่วนใหญ่มีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน โปรตีน แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไรโบฟลาวิน(วิตามินบี-2) และวิตามินซี นอกเหนือจากนี้ทีมนักวิจัยยังเชื่อว่าสารอาหารชนิดอื่นก็น่าจะมีแนวโน้มลดลงเช่นเดียวกัน เช่น แมกนีเซียม ซิงค์ วิตามินบี-6 และวิตามินอี เป็นต้น (แต่ด้วยข้อจำกัดของข้อมูลฐานในปี 1950 ที่มีจำกัดทำให้ไม่สามารถยืนยันทางวิชาการได้)

งานศึกษาโดย Kushi Institute พบว่าเมื่อเปรียบเทียบสารอาหารในผัก 12 ชนิด ระหว่างปี 1975 กับปี 1997 สารแคลเซี่ยมลดลง 27 เปอร์เซ็นต์ เหล็กลดลง 37 เปอร์เซ็นต์ วิตามินเอลดลง 21 เปอร์เซ็นต์ และวิตามินซีลดลง 30%

งานศึกษาในผัก 20 ชนิดที่อังกฤษโดย British Food Journal เปรียบเทียบระหว่างปี 1930 และปี 1980 พบว่าแคลเซี่ยมลดลง 19 เปอร์เซ็นต์ เหล็ก 21 เปอร์เซ็นต์ และโปตัสเซี่ยม 14 เปอร์เซ็นต์

สาเหตุที่สารอาหารในผักและผลไม้ลดลงมีสาเหตุสำคัญมาจากสองประการคือ คุณภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาจากการใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันในระบบอุตสาหกรรมการเกษตร และการพัฒนาสายพันธุ์พืชซึ่งในหลายทศวรรษที่ผ่านมา เป็นการพัฒนาสายพันธุ์ที่เน้นเชิงปริมาณ สีสันภายนอก หรือลักษณะเฉพาะเพื่อตอบสนองต่ออุตสาหกรรมอาหารมากกว่าจะคำนึงถึงคุณค่าสารอาหารภายในพืชผักและผลไม้

การฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ พันธุกรรมของผักและผลไม้พื้นเมือง และการส่งเสริมเกษตรกรรมเชิงนิเวศที่ให้ความสำคัญกับความอุดมสมบูรณ์ของดินและระบบนิเวศ จะเป็นคำตอบสำหรับเกษตรกรรมและระบบอาหารที่ควรจะเป็น มากกว่าการส่งเสริมอุตสาหกรรมและการผลิตเชิงเดี่ยวที่เน้นปริมาณเหมือนที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน

อ่านเรื่องราวโดยสรุปจากวารสาร Scientific America ได้จาก
http://www.scientificamerican.com/article/soil-depletion-and-nutrition-loss/
หรือสรุปงานวิจัยของ Donald Davis ได้ที่
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15637215





(19) ทำไมต้องจับตาการผลักดันจีเอ็มโอในช่วงรัฐบาลประยุทธ์ 3 ?

1) มอนซานโต้และสภาธุรกิจสหรัฐฯเพิ่งเข้าพบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา โดยมอนซานโต้เสนอให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตเมล็ดพันธุ์ของภูมิภาค และ "นายกรัฐมนตรียินดีให้การสนับสนุน" และย้ำว่าต้องเป็น "เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ มีราคาที่ไม่แพง มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี"

2) พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ เพิ่งเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แทนนายปิติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา โดยก่อนหน้านี้ พลเอกฉัตรชัย ดำรงตำแหน่ง "ประธานคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์เกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย" ซึ่งเป็นคณะกรรมการชุดแรกในสมัยรัฐบาลทหารที่เสนอให้มีการปลูกพืชจีเอ็มโอในประเทศไทย

ก่อนหน้านี้ มอนซานโต้และกลุ่มสนับสนุนจีเอ็มโอได้ผลักดันให้มีการปลูกพืชจีเอ็มโอในประเทศไทย ผ่าน 3 ช่องทางคือ

1) ผ่าน "ประธานคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์เกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจฯ" แต่มีเสียงคัดค้านจากประชาชน จนต้องจัดตั้ง "คณะทำงานศึกษาแนวทางการนำสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมและผลิตภัณฑ์มาใช้ในประเทศไทย" เพื่อหาข้อยุติ และต่อมาคณะทำงานมีความเห็นอย่างเป็นเอกฉันท์ให้กลับไปใช้มติครม.เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2550 ซึ่งมีการควบคุมการทดลองจีเอ็มโออย่างเข้มงวด

2) ประธาน ISAAA (International Service for the Acquisition of Agri-Biotech Application) ซึ่งเป็นองค์กรเคลื่อนไหวที่สนับสนุนโดยบรรษัทข้ามชาติเข้าพบเพื่อโน้มน้าวให้นายปิติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา เห็นชอบกับการปลูกพืชจีเอ็มโอเมื่อวันที่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 แต่นายปิติพงษ์พ้นตำแหน่งไปเสียก่อน

3) มอนซานโต้และสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์(ซึ่งสนับสนุนให้ก่อตั้งขึ้นโดย ISAAA และ CropLife) ผลักดันให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.)เห็นชอบ พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งมีเนื้อหาเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อมอนซานโต้ แต่สภาปฏิรูปแห่งชาติได้ถอนวาระการพิจารณาเรื่องดังกล่าวออกไปเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2558 เนื่องจากเห็นว่าเป็นการลักไก่เสนอวาระอย่างรีบเร่งและมีเนื้อหาที่เปิดช่องให้บริษัทจีเอ็มโอไม่ต้องรับผิดชอบในกรณีที่เกิดผลกระทบ

แนวทางการผลักดันเพื่อให้มีการทดลองและปลูกพืชจีเอ็มโอเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยที่เป็นไปได้มากที่สุดและต้องจับตามมองมากที่สุดคือ รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำร่างพ.ร.บ.ที่ถูกสปช.ตีตก นำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)เพื่อให้ความเห็นชอบออกเป็นกฎหมาย

จับตาว่าใครจะเป็นผู้เสนอร่างพ.ร.บ.จีเอ็มโอต่อสภาฯ เพื่อเปิดทางสะดวกให้มอนซานโต้ กลุ่มทุนสหรัฐ และยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์





(20) เมื่อเร็วๆนี้กลุ่มบุคคลที่ได้รับการสนับสนุนจากการสนับสนุนของบรรษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ที่มีผลประโยชน์จากพืชจีเอ็มโอและการค้าขายสารพิษกำจัดศัตรูพืช ได้ออกมาเผยแพร่และแถลงเกี่ยวกับความสำเร็จของการปลูกข้าวโพดในประเทศฟิลิปปินส์ ทั้งนี้เพื่อนำเอาข้อมูลดังกล่าวมาสนับสนุนให้มีการอนุญาตให้มีการปลูกพืชจีเอ็มโอในประเทศไทย

ข้อมูลดังกล่าวขัดแย้งโดยสิ้นเชิงจากการสำรวจของ MASIPAG องค์กรอิสระที่ตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของเกษตรกรและนักวิทยาศาสตร์ในฟิลิปปินส์

การศึกษาเชิงลึกโดยการสำรวจแลกเปลี่ยนกับเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดในพื้นที่สำคัญของประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีเกษตรกรทั้งหมด 166 คน จาก 12 พื้นที่ ในจังหวัด Luzon, Visayas, Mindanao, Isabela, Pangasinan, Bukidnon, Sultan Kudarat, และ South Cotabato พบว่าเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดจีเอ็มส่วนใหญ่ขาดทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรแทบทั้งหมดที่ต้องกู้ยืมเงินทุนมาเพื่อทำการเกษตร เนื่องจากต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และสารเคมีกำจัดศัตรูมีต้นทุนสูงถึง 40-48% ของต้นทุนทั้งหมด

ค่าเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดจีเอ็มโอในตอนแรกๆมีราคา 2,800 เปโซต่อ 1 ถุง( 18 กิโลกรัม) ซึ่งใช้สำหรับการปลูกในพื้นที่ 1 แฮกตาร์ บางปีราคาเมล็ดพันธุ์สูงถึงกิโลกรัมละ 4,600 บาท

คณะทำงานยุทธศาสตร์พืชเศรษฐกิจ 4 ชนิด ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรคนใหม่เป็นประธาน อาจมีกรรมการบางคนใช้ข้อมูลที่มาจากบรรษัทเพื่อผลักดันให้มีการปลูกพืชจีเอ็มโอโดยอ้างความสำเร็จจากประเทศฟิลิปปินส์

กรุณาดาวน์โหลดเอกสารการศึกษาตามลิงค์นี้ไปศึกษาเพิ่มเติม
http://masipag.org/wp-content/uploads/2013/05/MASIPAG-Book-low-res.pdf





(21) แมกซิโก คงโดน GMO เข้าไป อ่วม อรทัยเลยละมั๊ง





(22) บ้านอื่น เมืองอื่น เค้าเดินประท้วงไม่เอา GMO กันทั้งนั้นแหละแต่นักวิชาการเมืองไทยสนับสนุนกันจัง น่าจะเอาพืชหรืออาหร GMO มาให้พวกมันกินให้ดูทุก ๆ มื้อจังเลย....




ที่มา . - http://biothai.net/node/30455

ยังมีต่อนะครับ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 07/02/2016 2:51 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 มาแล้วครับ ยุง GMOs ตอน Zika’s Pandora Box ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 12 มาแล้วครับ ยุง GMOs ตอน Zika’s Pandora Box


ภาค 2 (5.6.3) – ไข้ซิกา กับกล่องแห่งหายนะ


ผมขอข้าม หยุด พรบ. GMO ตอนที่ 7 ไปก่อน เนื่องจากเรื่องนี้น่าจะสำคัญที่เพื่อน ๆ ควรรับรู้เกี่ยวกับ ยุง GMO






(1) มาแล้วครับ...ยุง GMOs…..สงครามล้างโลกด้วยเชื่อไวรัส จะตายกันหมดทั้งโลกซะละมั๊ง
ภาพประกอบ: Shhhh
เรื่อง.- กรรณิการ์ กิจติเวชกุล
4 Feb 2016


อีโบลาไปแล้ว เมอร์ส ก็น่ากำลังจะไป

แต่ต้นปี 2016 นี้โลกก็ต้องต้อนรับและทำความรู้จักกับ ไข้ซิกา (Zika)

เมื่อองค์การอนามัยโลก (WHO) จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อยกระดับความอันตรายของไวรัสซิกาเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขของโลก ซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตอบโต้

มาร์กาเร็ต ชาน ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก แถลงว่า นี่เป็นเหตุการณ์พิเศษที่จำเป็นต้องร่วมมือกันในการแก้ปัญหา โดยประกาศให้กลุ่มโรคศีรษะเล็กผิดปกติ และโรคผิดปกติอื่นๆ ที่เกี่ยวกับระบบประสาท ที่มีรายงานการแพร่ระบาดอยู่ในลาตินอเมริกา หลังโรคเดียวกันนี้ ระบาดในเฟรนช์โพลีนีเซีย ดินแดนของฝรั่งเศส ในปี 2014 เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขนานาชาติ เชื่อว่า ไวรัสชนิดนี้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กแรกเกิดมากถึง 4,180 คน ที่เกิดมาพร้อมกับภาวะสมองไม่พัฒนา และศีรษะเล็กผิดปกติ

บรรดาผู้เชี่ยวชาญมีความวิตกกังวลว่า ไวรัสซิกาซึ่งพบในผู้ป่วยที่ลาตินอเมริการายแรกเมื่อพฤษภาคมปีที่แล้ว จนขณะนี้มีผู้ติดเชื้อแล้วมากถึง 1.4 ล้านคน กำลังระบาดอย่างรวดเร็วและขยายวงกว้างเทียบเท่ากับแรงระเบิด อาจจะทำให้มีผู้ติดเชื้อในปีนี้มากถึง 4 ล้านคน ซึ่งจะสร้างความเสียหายอีกมหาศาล

ดังนั้น การประกาศให้เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขนานาชาติ จะทำให้มีความร่วมมือในการเฝ้าระวังการระบาด ควบคุมประชากรยุงที่เป็นพาหะ พัฒนาอุปกรณ์ตรวจ และวัคซีน เพื่อป้องกันประชาชนในกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การติดต่อของไข้ซิกาไม่ได้จำกัดแค่ยุงที่เป็นพาหะเท่านั้น จากเดิมที่คิดว่าการติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีโอกาสน้อย ก็มีรายงานผู้ป่วยที่ติดจากการมีเพศสัมพันธ์ที่เมืองดัลลัส ในสหรัฐแล้ว

มีการตั้งข้อสังเกตมากมาย เหตุใดการระบาดของไข้ซิกาในบราซิลครั้งนี้จึงมีความรุนแรง ตั้งแต่เหตุผลที่ว่า ในปัจจุบัน การเดินทางจากพื้นที่หนึ่งไปยังพื้นที่หนึ่งมีความสะดวกมากขึ้น พอๆ กับที่การระบาดของโรคจากพื้นที่ต่างซีกโลกก็เป็นไปได้ง่ายขึ้น ความแออัดของประชากร ความยากจน สภาวะโลกร้อน การตัดไม้ทำลายป่าในอัตราเร่งสูง การที่ความเป็นเมืองบุกรุกเข้าไปในผืนป่า การเกษตรเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ที่เหมาะกับการเพาะพันธุ์ของยุง จนถึงขั้นที่มีการโหมปั่นกระแสทำสงครามกับยุงลายตัวร้าย ด้วยยุงตัดแต่งพันธุกรรม หรือ ‘ยุง GMO’


สงครามยุง

การใช้ยุง GMO ไปกำจัดยุงธรรมชาตินั้น เริ่มมีการปลดปล่อยสู่ธรรมชาติในบราซิลหลายระลอก ตั้งแต่ ปี 2011 2012 และ 2015 ในมาเลเซีย สิงคโปร์ สหรัฐ ก็เคยคิดที่จะลองวิธีเดียวกันนี้ โดยสหรัฐอยู่ระหว่างขั้นตอนพิจารณา แต่ถูกกระแสล่ารายชื่อคัดค้านมากกว่า 160,000 คน ด้วยเหตุผลที่ว่า งานวิจัยทั้งด้านความสำเร็จและความปลอดภัยที่นำเสนอประกอบการพิจารณาล้วนออกมาหรือได้รับทุนสนับสนุนจาก Oxitec (Oxford Insect Technologies) บริษัทสัญญาติอังกฤษที่ดำเนินธุรกิจดัดแปลงพันธุกรรมแมลง

เช่นเดียวกับที่มาเลเซีย ทางรัฐบาลตัดสินใจยกเลิกไปเพราะกระแสการคัดค้านอย่างเข้มข้น ไม่มีข่าวคราวเพิ่มเติมจากฟากสิงคโปร์ แต่ในรายงานข่าวของ Oxitec หลายครั้งมีชื่อประเทศไทยอยู่ด้วยว่าดำเนินการบางอย่าง ซึ่งจากการเปิดเผยของ รศ.สุพัตรา ทองรุ่งเกียรติ นักวิจัยภาควิชากีฏวิทยาการแพทย์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กรณีการทำหมันยุงลายตัวผู้ และการตัดแต่งพันธุกรรมยุงลาย ที่ผ่านมามีการวิจัยในห้องปฏิบัติการในไทย แต่ยังไม่มีการปล่อยออกสู่ธรรมชาติ

จากการระบาดของไวรัสซิกา สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า องค์การอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) ต้องเร่งพิจารณาขั้นสุดท้ายที่จะให้มีการทดลองปล่อยยุง GMO ในพื้นที่ฟลอริดาคีย์ หลังจากที่ถูกคัดค้านมาหลายปี นิตยสารForbes ถึงขั้นมีรายงานเปรียบเทียบวิธีการต่างๆ ในการจัดการกับไข้ซิกาและโรคอื่นๆ ที่มียุงเป็นพาหะว่า การใช้ยุง GMO น่าจะเป็นทางออกที่น่าเลือกที่สุด ดีกว่าการใช้สารเคมีฆ่ายุงและแมลงต่างๆ เช่นเดียวกับหน้าบทความและความเห็นของอีกหลายสำนักพิมพ์ อาทิ The Guardian ก็มีผู้เขียนบทความเชียร์ให้เร่งใช้ยุง GMO จัดการปราบปรามยุงธรรมชาติ

แน่นอนว่า Oxitec บริษัทจากสหราชอาณาจักรเด้งรับกระแสนี้อย่างคึกคัก ด้วยการประกาศความพร้อมในการเร่งผลิตยุง GMO ให้ทันกับกระแสความต้องการทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะในบราซิลที่ได้รับการอนุมัติจากทางการให้ปล่อยยุง GMO เป็นการค้าได้ตั้งแต่ปี 2015 แล้ว

“ยุงของ Oxitec หรือที่รู้จักกันว่า ‘ยุงลายที่เป็นมิตร’ (Friendly Aedes aegypti) เป็นเครื่องมือที่มีความยั่งยืนทั้งในเชิงสิ่งแวดล้อม และเป็นการปฏิวัตินวัตกรรมที่แสดงให้เห็นว่า เราสามารถกำจัดยุงลายธรรมชาติได้ จากที่เคยเพียรพยายามมาหลายปีแต่ไม่เคยประสบความสำเร็จ และวิธีการนี้ยิ่งมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะเราไม่ได้มีแต่การระบาดของไข้เลือดออกเด็งกี (dengue fever) แต่ยังมีไวรัสซิกา ไข้ออกผื่นชิคุนกุนยาในบราซิล”
บริษัท Oxitec อ้างว่า ในพื้นที่แมนดาคารูที่มีการปล่อยยุง GMO สามารถลดประชากรยุงธรรมชาติได้ถึง 99 เปอร์เซ็นต์ และกำลังทดลองในอีกกว่า 10 ประเทศทั่วโลก

“เราได้รับคำขอความช่วยเหลือมาจากเทศบาลและรัฐบาลท้องถิ่นจำนวนมากเกี่ยวกับผลจากการระบาดของไวรัสซิกา ซึ่งขณะนี้เราพร้อมที่จะสนับสนุนเต็มที่” ฮาดีน พาร์รี่ CEO ของ Oxitec กล่าว


พันธุกรรมพิษจากยุง GMO

ยุงของ Oxitec หรือ OX513 เป็นยุงลายตัวผู้สายพันธุ์ Aedes aegypti ที่นำมาดัดแปลงพันธุกรรมให้มียีนที่มีพิษ เมื่อปล่อยเจ้ายุงตัวผู้พวกนี้สู่ธรรมชาติไปจับคู่กับยุงลายเพศเมียที่เป็นตัวเจาะดูดเลือดมนุษย์และสัตว์ ยีนมีพิษซึ่งใส่เข้าไปในยุงตัวเมียและส่งต่อไปถึงลูกของมันจะแผลงฤทธิ์ทำลายตัวอ่อน ซึ่ง Oxitec อ้างว่า สามารถทำให้ตัวอ่อนตายได้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ เมื่อกระแสโหมการตลาดรุนแรงจนผิดสังเกตเช่นนี้ ทำให้เริ่มมีกระแสตีกลับตั้งข้อสังเกตว่า การหาสาเหตุสำคัญของการระบาดของไวรัสซิกานั้น ใส่ใจต้นตอของการระบาดที่รุนแรงครั้งนี้น้อยไปหรือเปล่า โดยเฉพาะปัจจัยใหม่อย่างยุง GMO

แต่พบว่า ช่วงแรกการตั้งข้อสังเกตนี้ มาจากผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ Reddit ที่โยงพื้นที่ปล่อยยุง GMO กับพื้นที่ระบาดของไข้ซิกา ซึ่งทั้ง RT News ของรัสเซีย และ Daily Mirror สำนักข่าวหัวสีของอังกฤษ นำไปรายงานข่าวต่อ ทำให้ฝ่ายโปร GMO ออกมาสวนด้วยน้ำเสียงที่เย้ยหยันกับข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ทั้งพื้นที่ในบราซิลและปีที่ปล่อยยุงสู่ธรรมชาติ เทียบเท่าแค่เกรียนคีย์บอร์ด (redditors) เท่านั้น

“จะแนะอะไรให้นะ ถ้าคิดจะใช้ทฤษฎีสมคบคิดโดยดูจากความบังเอิญของสถานที่ ก็น่าจะเป็นความคิดที่ดี แต่จะดีกว่าถ้าเป็นสถานที่ที่ถูกต้อง” ดร.คริสตี วิลค็อก คอลัมนิสต์ประจำ Discover Magazine กล่าว เนื่องจากพื้นที่ปล่อยยุง GMO นั้น เป็นพื้นที่ริมการระบาดทางตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล ไม่ใช่ศูนย์กลางการระบาดตามแผนที่เปรียบเทียบ


ข้อสังเกตเรื่องการอัพเกรดไวรัส

น่าสังเกตว่า การตั้งข้อสมมุติฐานที่มีน้ำหนักและเป็นไปด้วยเหตุและผล ในบทวิเคราะห์ข่าวของนิตยสาร The Ecologistกลับไม่มีใครกล้าไปตอแย


เมื่อมีรายงานการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในไวรัส เราควรต้องพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะเกิดไวรัสพันธุ์ใหม่ที่รุนแรงมากขึ้น ความเป็นไปได้ที่ไวรัสจะเป็นสาเหตุของโรคจะไม่สามารถถูกตัดออกไปได้ จนกว่าจะมีการวินิจฉัยและพิสูจน์ด้านจุลพยาธิวิทยาจำนวนมากเพียงพอ และนี่คือคำถามสำคัญ ถ้าไวรัสซิกาเป็นสาเหตุของปัญหาจริงอย่างที่คิด ไวรัสที่ค่อนข้างรุนแรงตัวนี้ได้ความสามารถในการสร้างความผิดปกติที่ร้ายแรงในทารกมาได้อย่างไร

นี่คือจุดเริ่มต้นของรายงาน ‘Pandora’s box: how GM mosquitos could have caused Brazil’s microcephaly disaster’ ที่เขียนโดย โอลิเวอร์ ทิคเคลล์ ไล่เรียงเอกสารงานวิจัยจำนวนมากที่ล้วนแล้วแต่เป็นการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการแบบ peer review ที่อ้างอิงถึงด้านบนเป็นของโอลิเวียรา มีโล และคณะ ในวารสาร Ultrasound in Obstetrics & Gynecology ฉบับล่าสุดรวมทั้งเอกสารภายในของ Oxitec ที่นักวิชาการมาเลเซียได้มาประกอบการคัดค้านการทดลองปล่อยยุง GMO รวมถึงงานวิจัยบางชิ้นที่บริษัทกล่าวอ้างเองถึงวันเวลาต่างๆ จนได้สมมุติฐานความน่าจะเป็นที่น่าสนใจและน่ารับฟังเป็นขั้นเป็นตอนดังนี้

ยุง GMO หลายล้านตัวของ Oxitec ถูกปล่อยในพื้นที่ฮัวเซริโอตั้งแต่ปี 2011 และ 2012 ตัวอ่อนของมันรอดชีวิตอยู่ด้วยความช่วยเหลือของยาปฏิชีวนะ Tetracycline ในธรรมชาติ ซึ่งใช้กันมากในการเกษตรอุตสาหกรรมของบราซิล (ซึ่งอัตรารอดไม่ใช่แค่ 5 เปอร์เซ็นต์ อย่างที่บริษัทเปิดเผยต่อสาธารณะ แต่เอกสารภายในของบริษัทชี้ว่า สูงถึง 15 เปอร์เซ็นต์)

• ตัวอ่อนเหล่านั้นทั้งตัวผู้และตัวเมียผสมพันธุ์กับยุงในธรรมชาติต่อไป ทำให้ยีนใหม่ของมันกระจายออกไป

• การตัดแต่งพันธุกรรมที่ใช้เทคนิคยีนนำพา PiggyBac Transposon กระจายอยู่ในประชากรยุงลาย ซึ่งยีนนำพานี้จะมีศักยภาพในการนำพาสูงขึ้น และยักย้ายถ่ายเทยีน GMO ไปอยู่ที่ใดก็ได้ของยีนไวรัสซิกาทั้งหมด ซึ่งอาจทำให้เป็นหมันก็ได้ แต่โอกาสกลายพันธุ์ก็สูง

• ในกระบวนการกลายพันธุ์ของไวรัสซิกาจะมีกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ทำให้มันยิ่งทวีความรุนแรง และยิ่งเพิ่มศักยภาพในการเข้าไปจัดการกับดีเอ็นเอของมนุษย์

• จากตรงนี้เองที่มันมีศักยภาพเข้าไปจัดการกับตัวอ่อนของทารกในครรภ์ที่ทำให้เกิดโรคสมองเล็ก และบางส่วนมีรายงานว่ารูปร่างพิกลพิการผิดรูป ซึ่งตรงกับงานวิจัยก่อนหน้าที่เคยมีการเตือนว่า นี่เป็นเพียงยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น

• สาเหตุที่ทารกสมองเล็ก เชื่อว่า ยีนนำพา PiggyBac เข้าไปเชื่อมกับดีเอ็นเอของเด็กจากไวรัสที่อยู่ในมดลูก จนไปทำอันตรายต่อการพัฒนาของตัวอ่อน
โอลิเวอร์ ทิคเคลล์ แห่ง The Ecologist บอกว่า เขาไม่ได้กำลังบอกว่านี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง แต่อย่างน้อยนี่คือสมมุติฐานที่น่าเชื่อถือที่สุด และยิ่งไปกว่านั้น มันสามารถตรวจสอบกลับได้มากที่สุด ซึ่งใช้วิธีไม่ยากเย็น คือการตรวจสอบรหัสพันธุกรรมของน้ำคร่ำ เลือดของทารกที่สมองเล็ก, ยุงลายป่า, ไวรัสซิกา ว่ามีเจ้ายีนนำพา PiggyBac หรือไม่ด้วยเทคนิค PCR (Polymerase Chain Reaction)
หากพบว่าข้อสันนิษฐานนี้ถูกต้อง ต้องนำไปสู่หยุดการปล่อยยุงและแมลงตัดแต่งพันธุกรรมทั้งหมด รวมทั้งต้องหยุดการทดลองต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยียีนนำพาอย่างเดียวกันทันที จนกว่าจะมีการวางแผนที่รับมือกับความปลอดภัยขั้นสูงสุด อาทิ การทดลองตัดแต่งพันธุกรรมยุงให้ต้านมาลาเรีย (ซึ่งมูลนิธิ Gates ให้การสนับสนุนอยู่)

ในท้ายรายงานของ The Ecologist ชิ้นนี้ ราวกับจะบอกเป็นนัยว่า ข้อเขียนชิ้นนี้อาจไม่สามารถต้านกระแสการตลาดขายยุง GMO ที่อ้างว่านี่เป็นหนทางที่ดีที่สุดในการสู้ไวรัสซิกา

“หากสิ่งนั้นเกิดขึ้นจริง (ปล่อยยุง GMO เพื่อปราบไวรัสซิกา) ณ จุดนี้ พวกเราคงได้แต่คาดการณ์ว่า นั่นคงทำให้เกิดไวรัสกลายพันธุ์ขึ้นอีกจำนวนมากที่พวกมันจะมีศักยภาพในการทำลาย genome ของมนุษย์มากกว่านี้”



.


ที่มา . - http://biothai.net
http://waymagazine.org/itchyworldonline02/


อ้างอิงข้อมูลจาก:
The Ecologist / theecologist.org
RT News / rt.com
Bloomberg / bloomberg.com
AFP / afp.com
Huffington Post / huffingtonpost.com
The Conversation / theconversation.com
EnviroNews / environews.tv
change.org
Discover Magazine / discovermagazine.com
Forbes / forbes.com
ASTV ผู้จัดการ / manager.co.th


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 24/02/2016 10:37 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 12 มะละกอ GMOs จากไทย โดนตีกลับ (1) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน


เกษตรสัญจร 12 มะละกอ GMOs จากไทย (1)


ภาค 2 (5.8- 1)– มะละกอ GMO จากไทยโดนตีกลับ






(1) GMOs พืชสีเทา....ความหมายบอกไว้ชัดแจ่มแล้วนะครับ




(2)




(3)



(4)




(5)



(6)



(7)

(2 – 7) เพื่อน ๆ คงเคยเห็นมะละกอกันมาแล้วนะครับ...ไอ้นั่นมันมะละกอพื้นเมืองของไทย ๆ แต่โบราณกาล แต่....
ไอ้เจ้าในรูปนี่ คือ มะละกอ พันธุ์ที่ส่งผลผลิตไป ต่างประเทศแล้วโดนตีกลับ เพราะมันเป็นมะละกอ GMOs ที่เห็นนี่เค้าบอกว่าแค่กระป๊อยเดียวเองนะครับ ของจริงมันเป็นตู้ Containers….(เติม S เพราะมันหลายตู้)





(8 )



(9)




(10)



(11)




(12)




(13)



(14)



(15)



(16)



(17)



(18 )



(19)

(8 – 19) การเก็บตัวอย่าง... ใบมะละกอ เพื่อนำไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ...
วิเคราะห์-ตรวจสอบหาส่วนผสม "35S promoter" ที่ไม่ได้มีตามธรรมชาติใน DNA (สารพันธุกรรม) ของมะละกอ

และการตรวจว่ามะละกอนี้เป็นสายพันธุ์ SC หรือไม่ ซึ่งพบว่าสายพันธุ์นี้ยังไม่ได้รับการทดสอบอย่างเพียงพอว่า "ปลอดภัย" ต่อมนุษย์ !!!


ซึ่งประเทศทางยุโรป... ได้ยกเลิก-ห้ามการนำเข้า "มะละกอ" จากประเทศไทย !!!

เพราะตรวจพบส่วนผสม "35S promoter" นี้ ตั้งแต่ปี 2555 !!! (ตีกลับสินค้าจากไทยถึง 41 ครั้งแล้ว)





(20)




(21)



(22)




(23)



(24)

(20 - 24) การทดลองปลูก "มะละกอ GMO" ในแปลงเปิดของหน่วยงานรัฐ




(25)



(26)




(27)

(25 – 27) มะลกอ GMOs สร้าง "ความเสียหายอย่างมหาศาล" ต่อธุรกิจ-อุตสาหกรรมมะละกอส่งออก ที่ประเทศคู่ค้าไม่ยอมรับ เช่น ยุโรป และญี่ปุ่น

ผู้มีอำนาจตัดสินใจ... ไม่เคยรับรู้เลยหรือว่า "ละอองเกสร" ของพืชสามารถปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้ตลอดไป




(28 )



(29)



(30)

(28 - 30) เกษตรกร... ต้องทำลายต้นมะละกอที่ปนเปื้อน GMO ทิ้ง
เพราะไม่สามารถส่งออกเป็นจำนวนมากได้ ขายในประเทศเองก็ไม่ได้ราคา รวมทั้งเป็นการเพิ่มการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น หากยังปล่อยให้เติบโตต่อไป





(31)



(32)



(33)



(34)



(35)




(36)



(37)



(38 )



(39)




(40)




(41)




(42)




(43)




(44)




(45)



(46)



(47)

(31 – 47) ยังอยากจะทำลายอุตสาหกรรมพืชเกษตรตัวต่อไป....อย่างเช่น ข้าวโพด อ้อย ปาล์ม และมันสำประหลัง ให้มี "ชะตากรรม" เดียวกับมะละกออีกหรือ


ขอบคุณ ข้อมูลจาก Thai PBS

.




ยังมีต่อ ...



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 25/02/2016 2:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

จีเอ็มโอ คืออะไร...

ทำไมต้องรีบหยุด ไม่มีประโยชน์ที่จะมาพร่ำบ่นภายหลังว่า.. ถ้า (กู) รู้ว่าจะเป็นอย่างนี้...(กู) ไม่รับเอามันเข้าบ้านตั้งแต่วันนั้นแล้ว ดังนั้น วันนี้จะต้องมาทำความเข้าใจก่อนที่ชีวิตเราจะถูกกลืนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตครึ่งหุ่นยนต์ครึ่งชีวภาพ กลายเป็นเครื่องจักรทำงานผลิตเงิน เพื่อไปจ่ายกินอาหารดัดแปลงพันธุกรรมของนายทุนเกษตรอุตสาหกรรม พอถึงวัยกลางคนเริ่มไปจ่ายค่าหมอค่ายาให้กับธุรกิจโรงพยาบาลที่เป็นของนายทุนกลุ่มเดิม เพื่อซ่อมสุขภาพที่ออกอาการผิดเพี้ยนจากปกติ จากการกินอาหารดัดแปลงสะสมมานาน อนาคตลูกหลานจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับการรู้เท่าทันอุตสาหกรรมอาหารของเราในวันนี้

จีเอ็มโอ หรือ GMOs ย่อมาจากคำว่า Genetically Modified Organisms หมายถึง สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ที่เกิดจากการตัดเอายีนของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งมายิงใส่เข้าไปในยีนของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ซึ่งปกติไม่เคยผสมพันธุ์กันได้ในธรรมชาติ เพื่อให้เกิดสิ่งมีชีวิต ชนิดใหม่ที่มีคุณลักษณะตามต้องการ เช่น นำยีนทนความหนาวเย็นจากปลาขั้วโลกมาผสมกับมะเขือเทศ เพื่อให้มะเขือเทศปลูกในที่ที่อากาศหนาวเย็นได้ นำยีนจากแบคทีเรียชนิดหนึ่ง มาใส่ในยีนของถั่วเหลือง เพื่อให้ถั่วเหลืองทนทานต่อยาปราบวัชพืช นำยีนจากไวรัสมาใส่ในมะละกอ เพื่อมะละกอต้านทานโรค ไวรัสใบด่างวงแหวนได้ เป็นต้น

พืช จีเอ็มโอ ที่มีขายตามท้องตลาดในปัจจุบัน ได้แก่ ถั่วเหลือง, ข้าวโพด, มันฝรั่ง, มะเขือเทศ, มะละกอ, ฝ้าย, คาโนล่า (พืชให้น้ำมัน)

ในการก่อกำเนิดสิ่งมีชีวิตต่างๆ ยีน และ ดีเอ็นเอ ถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ยีนเป็นตัวสร้างสิ่งมีชีวิตให้มีคุณลักษณะ และคุณสมบัติแตกต่างกันไป เช่น ยีนทำให้ผมดำ ยีนที่ทำให้ทน-ความหนาวเย็นได้ ยีนที่ทำให้มีปีก เป็นต้น กลไกการทำงานของยีนในสิ่งมีชีวิตนั้น ซับซ้อนกว้างใหญ่ไพศาลและเป็นเครือข่ายที่เปราะบาง ยีนตัวเดียวกันแต่อยู่คนละตำแหน่งในสายยีนก็อาจกำหนดคุณสมบัติที่แตกต่างกันได้ และยีนหนึ่งตัวก็ไม่ได้มีหน้าที่เพียงอย่างเดียว การดัดแปลงยีน (จีเอ็มโอ) คือ การพยายามเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ของสิ่งมีชีวิตอย่างที่ไม่สามารถเกิดจากธรรมชาติ ซึ่งจะส่งผลกระทบมหาศาลต่อมนุษย์ สัตว์ และพืชทั้งหลายบนโลกใบนี้ เนื่องจากมนุษย์ไม่มีวันที่จะควบคุมมันได้

จากวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตนับล้านๆ ปีที่ผ่านมา มะเขือเทศสามารถผสมพันธุ์กับมะเขือเทศพันธุ์อื่นได้ แต่ไม่เคยเลยสักครั้งที่มะเขือเทศจะผสมพันธุ์กับปลาหรือคางคก ถั่วเหลืองอาจผสมข้ามพันธุ์ระหว่างถั่วเหลืองด้วยกันเอง แต่ไม่มีวันที่จะผสมพันธุ์กับแบคทีเรีย นี่คือกฎที่ธรรมชาติสรรสร้างขึ้นเพื่อเป็นกำแพงกั้นให้สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความแตกต่างหลากหลาย เพื่อความอยู่รอดของโลก แต่การดัดแปลงพันธุกรรม (วิศวพันธุกรรม หรือ จิเอ็มโอ) เป็นการละเมิดธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการบีบบังคับให้ยีนของปลาเข้าไปผสมอยู่ในสตรอว์เบอร์รี่ หรือยีนของแมงป่องเข้าไปผสมกับมะเขือเทศ

นักวิศวพันธุกรรมนำยีนแปลกปลอมเหล่านี้ใส่เข้าไปโดยใช้ไวรัสเป็นพาหนะหรือใช้ปืนยิงยีนเข้าไปในเซลล์ของพืช สัตว์ หรือมนุษย์ ที่ต้องการดัดแปลงพันธุกรรม การทดลองตัดต่อยีน เข้าไปแบบสุ่มเสี่ยงนี้ บ่อยครั้งที่ล้มเหลว ส่วนครั้งที่ทำสำเร็จก็ไม่รู้ได้ว่ายีนใหม่จะเข้าไปแทรกตัวอยู่ตรงไหนของสายยีนและจะก่อให้เกิดผลกระทบอื่น นอกเหนือไปจากที่ต้องการหรือไม่

ตั้งแต่เกิดเทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรมขึ้นมา ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนใดกล้ายืนยันได้ว่า อาหารที่มีส่วนประกอบของ จีเอ็มโอ ปลอดภัยต่อการบริโภคในระยะยาว การทดลองในสัตว์ทดลอง เป็นเพียงการทดลองระยะสั้นๆ เมื่อเทียบกับช่วงชีวิตของมนุษย์ที่ยาวถึง ๖๐-๗๐ ปี การนำอาหาร จีเอ็มโอ มาให้มนุษย์กิน ทั้งๆที่ยังไม่รู้ว่าปลอดภัยหรือไม่ จึงเท่ากับใช้มนุษย์ เป็นหนูทดลอง โดยที่พวกเราเองก็ไม่รู้ตัวว่ากินอาหาร จีเอ็มโอ เข้าไปหรือไม่ ถ้าไม่มีฉลากที่ชัดเจน บอกไว้และหากเกิดผลร้าย ต่อสุขภาพขึ้นมาในอนาคต เราจึงไม่สามารถระบุได้ว่า ผลร้ายนั้นเกิดจากการบริโภคอาหาร จีเอ็มโอ อย่างต่อเนื่องหรือไม่

ปัจจุบัน อันตรายต่อสุขภาพที่นักวิทยาศาสตร์พบว่าอาจเกิดขึ้นได้จากการบริโภคอาหาร จีเอ็มโอ คือ โรคภูมิแพ้ ดังกรณีที่เกิดขึ้นในอเมริกา คนที่แพ้บราซิลนัทและไปกินถั่วเหลือง จีเอ็มโอ ที่มียีนของบราซิลนัทอยู่โดยไม่รู้ตัว จะเกิดอาการแพ้ถั่วเหลืองนั้นทันที นอกจากนี้ การใส่ยีนแปลกปลอม ที่ไม่เคยมีมาก่อนเข้าไป อาจก่อให้เกิดโปรตีนพิษชนิดใหม่ ที่ร่างกายไม่รู้จักและกระตุ้นให้เกิด โรคภูมิแพ้ได้

นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังเป็นห่วงว่า จีเอ็มโอ อาจกระตุ้นให้ร่างกายดื้อยาปฏิชีวนะ เนื่องจาก ในการทดลอง จีเอ็มโอ ต้องใส่สารต้านทานยาปฏิชีวนะเข้าไป เพื่อเป็นตัวตรวจสอบว่า การทดลอง ครั้งนั้นประสบความสำเร็จหรือไม่ สมาคมแพทย์อังกฤษเห็นพ้องต้องกันว่า ไม่ควรให้ใช้สารต้านทานยาปฏิชีวนะใน จีเอ็มโอ ประเทศในสหภาพยุโรปได้ออกกฎหมายห้ามใช้สารต้านทานยาปฏิชีวนะ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๗ แต่พืช จีเอ็มโอ ที่นำมาผลิตเป็นอาหารอยู่ในท้องตลาดขณะนี้ยังคงมีสารต้านทานยาปฏิชีวนะเป็นส่วนประกอบอยู่

จากการที่ จีเอ็มโอ เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถขยายพันธุ์และเผยแพร่พันธุ์ได้ง่าย เมื่อใดที่มันถูกปล่อยออกไปสู่สภาพแวดล้อมเราจะไม่สามารถจำกัดบริเวณหรือเรียกมันกลับคืนมาได้ หากเราพบในภายหลังว่ามันมีอันตราย ตัวอย่างนี้มีให้เห็นจากเรื่องของ ดีดีที. สารเคมีกำจัดแมลงที่มนุษย์คิดค้นเมื่อ ๔๐ ปีที่แล้ว ในตอนนั้นไม่มีใครรู้ถึงอันตรายของมันและนำ ดีดีที.มาใช้กันอย่างกว้างขวาง หลังจากนั้นอีก ๓๐ ปี จึงค้นพบว่า ดีดีที. เป็นตัวการทำให้พืช สัตว์และมนุษย์ ต้องล้มป่วย พิการ หรือเสียชีวิต โครงการสิ่งแวดล้อม แห่งสหประชาชาติ จึงออกประกาศ ห้ามใช้สาร ดีดีที. นับแต่นั้นมา สารเคมีพิษเหล่านี้แม้จะปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมหรือในอาหารไปแล้ว แต่เมื่อหยุดใช้ไประยะหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นร้อยปีพันปีก็จะย่อยสลายไปได้ แต่สำหรับ จีเอ็มโอ อาจซ้ำร้ายกว่านั้น หากใน ๕๐ ปีข้างหน้า เราพบว่ามันส่งผลเสียร้ายแรงกว่าที่พบในตอนนี้ เราคงไม่สามารถหยุดยั้งการปลูกพืช จีเอ็มโอ หรือหาพืชพันธุ์พื้นเมืองที่ปลอด จีเอ็มโอ มาปลูกได้ เพราะพืชหรือสัตว์ จีเอ็มโอ ได้แพร่พันธุ์ กลืนกินพืช ที่ไม่ใช่จีเอ็มโอ ไปหมดแล้ว

การครอบงำจากบริษัทข้ามชาติ :
มีบริษัทข้ามชาติรายใหญ่ๆ เพียง ๔-๕ บริษัทเท่านั้นที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรในเทคโนโลยี การทำ จีเอ็มโอ รวมถึงตัวยีน และเมล็ดพันธุ์ จีเอ็มโอ ที่เพาะปลูกกันอยู่ ในโลกขณะนี้ ในการทดลองวิจัย บริษัทเหล่านี้อาจบอกว่าเป็นความช่วยเหลือแบบให้เปล่า แต่หากต้องการปลูก เพื่อการค้าจะต้องทำสัญญาทางการค้าและจ่ายเงินแทนให้แก่บริษัท เกษตรกรในแคนาดาและสหรัฐอเมริกาจำนวนมากต้องตกเป็นทาสในที่ดินของตนเอง เนื่องจากปลูกพืช จีเอ็มโอ หรือถูกพืช จีเอ็มโอ เข้ามาปนเปื้อน ในพืชผลของตน จีเอ็มโอ จึงเป็นหนทางให้บริษัทข้ามชาติเหล่านี้เข้ามามีอิทธิพลและครอบครอง แหล่งเกษตรกรรมและแหล่งอาหารของเรา

กลุ่มผู้สนับสนุนอาหาร จีเอ็มโอ มักกล่าวว่าอาหาร จีเอ็มโอ ที่วางขายในท้องตลาดผ่านการประเมินความปลอดภัยแล้วว่าปลอดภัยเหมือนอาหารทั่วไป การกล่าวอ้างเช่นนี้ มาจากหลักการที่เรียกว่า หลักความเทียบเท่า (Substantail Equivalence)

ความเทียบเท่าจะเปรียบเทียบพืช จีเอ็มโอ กับพืชชนิดเดียวกันที่ไม่ใช่ จีเอ็มโอ เช่น ถั่วเหลือง จีเอ็มโอ กับถั่วเหลืองปกติ โดยดูจากรูปลักษณ์ภายนอก และองค์ประกอบพื้นฐานบางประการเท่านั้น ถ้าไม่แตกต่างกันก็ถือว่ามีความปลอดภัยเทียบเท่ากัน

แต่ในความเป็นจริงพืช จีเอ็มโอ เกิดจากการตัดต่อยีนของพืชหรือสัตว์โดยใส่ยีนแปลกปลอมเข้าไป การเปลี่ยนแปลงในยีนนี้ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า การใช้หลักความเทียบเท่าไม่ได้คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของยีนและไม่ได้ตรวจสอบ ความเป็นพิษหรือสารก่อเกิดโรคภูมิแพ้ชนิดใหม่ๆ ที่อาจเกิดจากยีนแปลกปลอมนั้นๆ

นอกจาก "หลักความเทียบเท่า" แล้ว ผู้ผลิตพืช จีเอ็มโอ ไม่เคยวิจัยทดสอบความปลอดภัย ของอาหารอย่างเพียงพอก่อนที่จะนำมาผลิตเพื่อการค้า ยกตัวอย่างเช่น เมื่อบริษัทไบเออร์ ยื่นขออนุมัติป ลูกข้าว จีเอ็มโอ เพื่อการค้า ต่อองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ไบเออร์ ทดสอบความปลอดภัยทางอาหาร โดยนำข้าว จีเอ็มโอ ชนิดนี้ให้ไก่กินเป็นเวลา ๔๒ วัน เมื่อพบว่า ไก่ไม่เป็นอะไร จึงถือว่าข้าว จีเอ็มโอ นี้ปลอดภัยต่อการบริโภค ซึ่งองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ก็ยอมอนุมัติให้ปลูกโดยไม่ได้ทำการทดสอบด้วยตนเอง แต่อย่างใด

ระบบการตรวจสอบความปลอดภัยของอาหาร จีเอ็มโอ ในปัจจุบัน ยังไม่สมบูรณ์ และข้ออ้างว่า อาหาร จีเอ็มโอ ปลอดภัย ก็เชื่อถือไม่ได้เพราะในความเป็นจริง อาหาร จีเอ็มโอ กับอาหารปกตินั้นแตกต่าง

จนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๗ ประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้ปลูกพืช จีเอ็มโอ เพื่อการค้า และยังมีมติ ครม. สั่งระงับการทดลองปลูกพืช จีเอ็มโอ ระดับไร่นา

ประเทศไทยนำเข้าวัตถุดิบ จีเอ็มโอ จำนวนมากเพื่อใช้ผลิตอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งถั่วเหลือง ซึ่งนำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกา และอาร์เจนตินา มากที่สุด (ทั้งสองประเทศนี้เป็นผู้ผลิตและส่งออก ถั่วเหลือง จีเอ็มโอ รายใหญ่ที่สุดในโลก โดย ๙๙% ของถั่วเหลือง ที่ปลูกในอาร์เจนตินา เป็นถั่วเหลือง จีเอ็มโอ และ ๘๐% ของถั่วเหลืองที่ปลูกในสหรัฐอเมริกา เป็น จีเอ็มโอ) จากการ ตรวจสอบของกรีนพีซพบว่า ผลิตภัณฑ์อาหาร สำเร็จรูปในท้องตลาด มีการปนเปื้อนถั่วเหลือง จีเอ็มโอ โดยไม่ได้ติดฉลาก ให้ประชาชนได้รับทราบ

กฎกระทรวงเรื่องการติดฉลากอาหารดัดแปรงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ของกระทรวงสาธารณสุข ที่บังคับใช้ ในวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖ นั้น เป็นกฎข้อบังคับ ที่หละหลวมมาก คือกำหนด เปอร์เซ็นต์การปนเปื้อน จีเอ็มโอ ไว้สูงถึง ๕% ถ้าต่ำกว่านั้นก็ไม่ต้องติดฉลากบอก นอกจากนั้น ยังกำหนด ให้ติดฉลาก เฉพาะเมื่อมีถั่วเหลือง หรือข้าวโพด จีเอ็มโอ เป็นส่วนประกอบ ในสาม อันดับแรกเท่านั้น หากมีถั่วเหลืองหรือข้าวโพด จีเอ็มโอ อยู่ในระดับที่ ๔ ลงไป ก็ไม่ต้องติดฉลาก และถ้ามีวัตถุดิบอื่น ที่ไม่ใช่ถั่วเหลือง หรือข้าวโพด แต่เป็น จีเอ็มโอ เช่น มะละกอจีเอ็มโอ หรือ ข้าวสาลี จีเอ็มโอ ก็ไม่จำเป็นต้องติดฉลาก กฎกระทรวงฉบับนี้ จึงไม่ได้ให้ข้อมูลที่แท้จริง แก่ผู้บริโภค หรือให้สิทธิในการรับรู้ และปฏิเสธอาหาร จีเอ็มโอ แก่ผู้บริโภคแต่ประการใด

บริษัทผลิตอาหารข้ามชาติบางบริษัทใช้มาตรฐานต่างระดับกับประชาชนชาวไทย โดยประกาศ นโยบายปลอด จีเอ็มโอ ในยุโรป แต่ยังยืนยันว่า จะใช้ส่วนประกอบอาหาร ที่มี จีเอ็มโอ สำหรับ ประเทศไทย เช่น บริษัท เนสท์เล่ ซึ่งกรีนพีซตรวจพบ จีเอ็มโอ ในซีรีแล็ค อาหารเสริมสำหรับเด็ก และทารก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ยึดหลักการป้องกันไว้ก่อน โดยหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ตรวจพบว่ามี จีเอ็มโอ จนกว่าบริษัท ผู้ผลิต อาหารนั้นๆ จะมีนโยบาย และมีมาตรการ ปลอด จีเอ็มโอ ที่เป็นรูปธรรมและปฏิบัติได้จริง ตรวจสอบรายชื่อบริษัทที่มีนโยบายปลอดจีเอ็มโอ ได้จากคู่มือจ่ายตลาด สำหรับซื้ออาหารปลอด จีเอ็มโอ

ตั้งข้อสงสัยอาหารสำเร็จรูปที่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา หรือ แคนาดาซึ่งเป็นประเทศที่ เพาะปลูกพืช จีเอ็มโอ มากที่สุดในโลก ตรวจสอบรายชื่อ บริษัทผลิตอาหารในสหรัฐอเมริกา ที่ใช้ส่วนประกอบ จีเอ็มโอ ได้ที่เว็บไซต์ www.truefoodnow.org
ตรวจดูฉลากข้างกล่องว่า อาหารนั้นมีส่วนผสมของถั่วเหลืองและข้าวโพดและผลิตภัณฑ์ที่ทำ จากถั่วเหลือง หรือข้าวโพดหรือไม่ (เช่น ฟองเต้าหู้ แป้งถั่วเหลือง ใยถั่วเหลือง ผักสกัด ถั่วเหลืองสกัด โปรตีนถั่วเหลือง เลคซิตินจากถั่วเหลือง สารปรุงแต่งจากถั่วเหลือง น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันพืช แป้งข้าวโพด น้ำตาลข้าวโพด น้ำมันจากคาโนลา น้ำมันจากเมล็ดฝ้าย เป็นต้น) หากไม่ปรากฏ รายการส่วนผสมดังกล่าวนี้ ก็พอจะเชื่อมั่นได้ว่า อาหารสำเร็จรูปชนิดนั้น ปลอด จีเอ็มโอ

ซื้อผักผลไม้และอาหารที่ใช้วัตถุดิบที่ปลูกในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยยังคงห้าม การปลูกพืช จีเอ็มโอเพื่อการค้าอยู่ แต่หากท่านพบวัตถุดิบ ที่ปลูกในประเทศไทย เป็น จีเอ็มโอ แสดงว่ามีการละเมิดกฎหมาย ท่านสามารถแจ้งเบาะแส ให้แก่ทางการได้
บริโภคอาหารธรรมชาติที่เพาะปลูกโดยเกษตรกรรายย่อย และอาหารจากเกษตรอินทรีย์ โดยสังเกต ตรารับรอง จากสำนักงานมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ (มกท.) ซึ่งรับรองได้ว่าปลอด ทั้งสารเคมี และ จีเอ็มโอ


Center for Food Safety | Take Action
QR codes instead of mandatory, on-package labeling of genetically engineered foods? No thanks. Tell your Senators that QR codes are unjust and impractical! Knowing about the foods you purchase…
CENTERFORFOODSAFETY.ORG

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก กองยาแผนไทยและสมุนไพร กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

https://www.facebook.com/one.rai.one.san/posts/515159338659190


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3  ถัดไป
หน้า 2 จากทั้งหมด 3

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©