-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-มะปราง-มะยง ปลูกใหม่ใบสีซีด
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - มะปราง-มะยง ปลูกใหม่ใบสีซีด
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

มะปราง-มะยง ปลูกใหม่ใบสีซีด

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
porprang
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 18/07/2009
ตอบ: 5

ตอบตอบ: 20/02/2010 2:10 pm    ชื่อกระทู้: มะปราง-มะยง ปลูกใหม่ใบสีซีด ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พอดีไปซื้อต้นมะปรางหวานกับมะยงชิด (ร้านชาวสวนที่เพาะขายเอง) ที่งานเกษตรแฟร์บางเขน
ตอนซื้อใบไม้สีเขียวเข้มมันวาว แต่เมื่อนำมาปลูกแล้วใบไม่เขียวเข้มเหมือนเดิม(สีเขียวออ่น)
อยากทราบว่าเกิดจากอะไร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 20/02/2010 5:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1.... เปิดไปที่ "หน้าแรก - เมนูหลัก" ของเว้บนี้ แล้วคลิกที่ "ไม้ผล" จะพบสารบัญ ให้
คลิกต่อที่ "มะปราง - มะยง" อ่านรายละเอียดหัวข้อ "วิธีปลูก มะปราง-มะยง อย่างยั่งยืน" ก็จะรู้
ว่า มะปราง-มะยง ปลูกใหม่ ระยะกล้า ควรต้องมีไม้พี่เลี้ยง....ประมาณนั้น

2.... มะปราง-มะยง ที่ซื้อมา ได้ตรวจสอบก่อนหรือไม่ว่า "ระบบราก" ของเขาสมบูรณ์ แข็ง
แรง มากน้อย เพียงใด.... กล้ามะปราง-มะยง ควรผ่านการบ่มเลี้ยงในเรือนเพาะชำนานนับปี รอ
จนกระทั่งมีรากส่วนหนึ่งแทงออกมานอกถุงให้เห็นนั่นแหละ จึงจะดี

3.... ตลาดต้นไม้ประเภทจัดปีละครั้งแบบนี้ คนซื้อคือ "ลูกค้าขาจร" ซื้อมาแล้วมีปัญหาไม่
สามารถกลับไปต่อว่าคนขายได้ ..... โบราณสอนว่า "ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ดูให้แน่ต้องดู
ถึงยาย ซื้อต้นไม้ต้องไปให้ถึงสวน ไปให้เห็นต้นแม่ เห็นลูกบนต้น ได้ชิมกับปาก" เลยนั่นแหละ
ถึงจะชัวร์ ยิ่งเป็นไม้ผลยืนต้นอายุยืนนานนับร้อยปียิ่งต้องระวัง ปลูกไม้พันธุ์ผิดคิดจนวันตาย หรือ
ไม่ก็เสียความรู้สึกไปจนไม่ต้นไม้ก็คนปลูกนั่นแหละตายกันไปข้างหนึ่ง....จริงไหม ?

ถึงตรงนี้แล้ว เจ้าต้นที่คุณซื้อมาน่ะใช่พันธุ์ที่คุณต้องการจริงหรือไม่ ไม่แน่นะ มะปรางอาจเป็น
มะยง หรือ มะยงอาจเป็นมะปราง แค่นี้ยังดี ถ้าไม่ใช่ทั้งมะปราง ไม่ใช่ทั้งมะยง แต่เป็นมะปราง
เปรี้ยวละก็เป็นเรื่อง ..... เขาเรียกว่า "หลอก - ยัดไส้" ประมาณนั้น


ปัญหาและแนวทางแก้ไข :

1.... ต้นไม่สมบูรณ์แข็งแรงจริง โดยเฉพาะระบบราก.....ปลูกลงดินไปแล้วแก้ไขไม่ได้
2.... ไม่มีไม้พี่เลี้ยง ...... แนะนำให้ทำหลังคาซาแลนช่วยบังแดดให้เขาไปพรางๆก่อน พร้อมกับ
ปลูกกล้วยไม้พี่เลี้ยงเลย
3.... ขาดสารอาหารอย่างรุนแรง แนะนำให้บำรุงด้วย "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10"
4.... ต้นปรับตัวไม่ได้ เพราะฤดูหนาวกล้าไม้ยืนต้นไม่เจริญเติบโตช้าหรือหยุดการเจริญเติบ
โต.....แนะนำให้ใจเย็นรอต่อไป หมดหนาวแล้วอาจจะดีขึ้นก็ได้



มะปราง-มะยง ไม้ปราบเซียนนะ
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 20/02/2010 8:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จากคำบอกเล่าของชาวสวนที่ปลูกมะปรางและมะยงชิด โดยการซื้อกิ่งพันธุ์จากร้านขายกิ่งพันธุ์จาก
จังหวัดทีมีชื่อเสียงในการปลูกมะปรางและมะยงชิด บางคนลงมือปลูกมะปรางที่คนขายคุยนัก
คุยหนาว่าลูกใหญ่500 ต้นเฝ้าดูแลจนมะปรางออกลูก คงลุ้นมากว่าลูกจะใหญ่ขนาดไหน ปรากฏว่า
ลูกเท่ามะปริง เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา


เคยได้ยินแม่บ่นบ่อยๆว่า "ขยายพันธุ์ทาบกิ่งมะยงชิดไม่ใช่เรื่องง่ายๆ" มะยงชิดที่ปลูกทุกต้นแม่
ขยายพันธุ์เอง จากต้นแม่พันธุ์ต้นแรกที่สวนของป้า เมื่อแม่มั่นใจว่าเป็นพันธุ์ดี เริ่มจากการใช้เมล็ด
มะปริงเพาะต้นกล้า แล้วนำไปทาบกิ่งจากต้นแม่พันธุ์ ได้มาปลูกทั้งหมด 7 ต้น ปลูกจนต้นมะยงชิด
โต ก็ขยายพันธุ์เพื่อปลูกให้เต็มพื้นที่จากต้นพันธุ์ 7 ต้นนี้ ตอนนี้มีลูกค้าที่ติดใจรสชาติมะยงชิดที่
สวน ติดต่อขอซื้อกิ่งพันธุ์ ตอนแรกคิดว่าแม่ขยายพันธุ์เก่ง น่าจะทำกิ่งพันธุ์ขายให้ลูกค้าได้ แต่เอา
เข้าจริงๆ แม่บอกว่าต้นพันธุ์มะยงชิดที่ทาบกิ่งติดแล้ว ตัดมาอนุบาล เปอร์เซ็นต์รอดประมาณ
60% นั่นเป็นเพราะต้นพันธุ์ที่ตัดมาได้รับความกระทบกระเทือนจากการเคลื่อนย้าย อีกทั้งช่วง
เวลาที่ตัดกิ่งพันธุ์ลงมาจากต้นแม่พันธุ์ก็มีความสำคัญมาก ทั้งปริมาณน้ำที่มะยงชิดได้รับ ช่วงก่อน
หน้านี้และความอ่อนแก่ของใบกิ่งพันธุ์ก็มีผลเช่นกัน

ที่สวนปลูกโดยการใช้ต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์ปลูกลงดินเลย อีกวิธีหนึ่งคือปลูกต้นกล้าให้แข็งแรงก่อน
แล้วนำกิ่งพันธุ์ดีไปทาบ ส่วนกิ่งตอนแม่เคยปลูกเหมือนกันแต่จะล้มง่ายเพราะไม่มีรากแก้ว จึงไม่
นิยมใช้วิธีนี้

เคยเห็นแม่ล้อมต้นมะยงชิดสูงประมาณ 1.0-1.5 เมตร เพื่อย้ายที่ปลูก ต้นมะยงชิดรอดทั้ง 6 ต้น

ไม่น่าเชื่อ "นอกจะขยายพันธุ์ยาก ดูแลยาก ยังดูยากอีก(พันธุ์แท้หรือเทียม)"
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
NewFarmer
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 19/02/2010
ตอบ: 3

ตอบตอบ: 23/02/2010 7:08 pm    ชื่อกระทู้: มะยงชิด ลูกลาย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะยงชิดที่ขายในตลาดปีนี้ทำไมลูกถึงผิวไม่สวยเลยครับ เกิดจากสาเหตุอะไรครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 23/02/2010 9:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


เกิดจากเชื้อรา แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นเชื้อราประเภทใด ช่วงที่มะยงชิดออดอกและติดผล ที่ จ.ระยอง
น้ำค้างจะแรงมาก บางวันเหมือนฝนตก บางวันมีฝนตกลงมาช่วงเช้า พอสายๆแดดแรงมาก ทดลอง
ล้างน้ำค้างและน้ำฝนด้วยสปริงเกอร์แต่ก็เอาไม่อยู่ ถ้าหลักการที่ถูกต้องควรป้องกันตั้งแต่เริ่มติด
ผลขนาดเล็ก เพราะเมื่อผลมะยงชิดโดนเชื้อราเข้าทำลายแล้ว ไม่สามารถแก้ไขได้ ช่วงที่ผล
มะยงชิดยังเขียวอาจจะไม่แสดงอาการ จะแสดงอาการเมื่อมะยงชิดเริ่มสุก


เกษตรกรผู้ปลูกมะปราง-มะยงชิด จ.ระยอง วิเคราะห์ว่าสาเหตุส่วนหนึ่งอาจมาจากการปล่อยควัน
พิษของโรงงานอุตสาหกรรม ที่เป็นตัวการทำให้เกิดฝนกรด.........ก็อาจจะเป็นไปได้


วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการห่อผล ถ้าปลูกในปริมาณไม่มากนักสามารถทำได้ แต่ถ้าปลูกปริมาณ
มากๆ ต้นทุนจะค่อนข้างสูง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 23/02/2010 9:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจากhttp://www.doctorkaset.com/main/content.php?page=sub&category=5&id=10

โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
Plant Diseases Caused by Fungi

เชื้อรา เป็นจุลชีพในกลุ่ม Eukaryote โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นเส้นใยแตกกิ่งก้านได้โดยแต่ละ
เส้นใยเรียกว่า hypha ซึ่งมักรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า mycelium เชื้อรามีลักษณะแตกต่าง
จาก algae ตรงที่ไม่มี chlorophyll เป็นองค์ประกอบภายในเซลล์ ผนังเซลล์ของเชื้อราส่วน
ใหญ่มี cellulose, chitin หรือทั้ง 2 อย่างเป็นองค์ประกอบสำคัญ เส้นใยของเชื้อราอาจแบ่ง
ออกเป็นช่อง ๆ ด้วยเส้นกั้นแบ่งเซลล์ (septa) ภายในแต่ละช่องอาจมี nucleaus เพียง 1 อัน
หรือมากกว่า 1 อันก็ได้ แต่ราบางชนิดเส้นใยไม่มีผนังกั้นระหว่างเซลล์ (coenocytic hypha)
โดยทั่วไปเชื้อราจะแพร่พันธุ์โดยหน่วยขยายพันธุ์เรียกว่า สปอร์ (spores) ซึ่งแบ่งได้เป็น 2
ประเภท คือ

1. Asexual spores : เป็น หน่วยขยายพันธุ์ที่เกิดจากการแบ่งเซลล์ และแปรเปลี่ยนรูปร่าง
จาก vegetative cells โดยไม่มีการผสมพันธุ์ทางเพศ สปอร์ชนิดนี้อาจสร้างขึ้นบนเส้นใย
ธรรมดา โดยส่วนหนึ่งของเส้นใยเปลี่ยนไปเป็นก้านชูสปอร์ (conidiophore) และเรียกสปอร์นั้น
ว่า conidia สปอร์บางชนิดจะสร้างอยู่ในถุงหุ้ม เรียกว่า sporangium บางชนิดอาจสร้างอยู่ใน
อวัยวะรูปร่างคล้ายถ้วยหรือคนโฑ เรียกว่า pycnidia เชื้อราหลายชนิดอาจเปลี่ยนบางส่วนของเส้น
ใยให้มีผนังหนาขึ้น โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น สปอร์ที่เกิดในลักษณะนี้ เรียกว่า
chlamydospores

2. Sexaul spores : เป็นหน่วยขยายพันธุ์ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ทางเพศระหว่างเซลล์สืบ
พันธุ์เพศ เมีย (female gametangia) กับเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (male gametangia) เกิด
เป็นไซโกตที่มีชื่อเรียก ต่าง ๆ กัน การจัดแบ่งกลุ่มของเชื้อราโดยทั่วไปใช้ลักษณะของการผสม
พันธุ์ทางเพศ และชนิดของ สปอร์ที่สร้างขึ้นเป็นหลักในการจัดแบ่ง คือกลุ่มที่สร้างสปอร์จากการ
ผสมพันธุ์กันของเซลล์สืบพันธุ์ที่มีลักษณะ เหมือนกันเกิดเป็น Z ygospore คือ class
Zygomycetes , กลุ่มที่เซลล์สืบพันธุ์มีขนาดต่างกันและสร้าง Oospores จัดอยู่ใน class
Oomycetes กลุ่มที่สร้างสปอร์ในถุงหุ้ม (ascospores) จัดอยู่ใน Class Ascomycetes
และกลุ่มที่สร้างสปอร์บนก้านชูรูปกระบอง (basidiospores) จัดอยู่ใน class
Basidiomycetes

เชื้อราสาเหตุของโรคพืชที่มีความสำคัญในประเทศไทย
เชื้อราจัดเป็นสาเหตุที่สำคัญของ โรคพืช เนื่องจากมีเชื้อรามากกว่า 8,000 ชนิด ที่สามารถทำให้
เกิดโรคกับพืชได้ สำหรับในประเทศไทยพบว่า ราใน class เหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญของโรคพืช

1. Class Zygomycets เป็นเชื้อราชั้นต่ำในกลุ่ม Phycomycetes มีลักษณะสำคัญคือ เส้น
ใยเป็นแบบ coenocytic สร้าง asexual spores ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ในถุงหุ้ม เรียกว่า
sporangium และเรียกสปอร์ว่า sporangiospore สร้าง sexual spore ชนิด
zygospore ตัวอย่างของโรค ได้แก่ โรคส่าขนุนเน่า จากเชื้อ Rhizopus sp. โรคดอกเน่าของ
แตงชนิดต่าง ๆ จากเชื้อ Choanephora cucurbitarum

2. Class Oomycetes เป็นเชื้อราในกลุ่มเดียวกันกับ Zygomycetes ลักษณะทั่วไปคล้าย
กับ zygomycetes ยกเว้น asexual spores เป็นชนิดที่ว่ายน้ำได้ (zoospore) และสร้าง
sexual spores จากการผสมกันของ oogonium และ antheridium ซึ่งมีขนาดต่างกัน
เรียกว่า oospores เชื้อราใน class นี้มีหลายชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น
โรคราสนิมขาว (white rust) ของผักชนิดต่าง ๆ ที่เกิดจากเชื้อ Albugo spp. , โรคราน้ำค้าง
(downy mildews), โรคกล้าเน่า (damping off) จากเชื้อ Pythium spp. ,โรคไหม้ในมัน
ฝรั่ง (potato late blight) จากเชื้อ Phytophthora infestans เป็นต้น

3. Class Ascomycetes เป็นเชื้อราชั้นสูงแบ่งออกได้เป็นหลาย families ตามลักษณะ
ของอวัยวะขยายพันธุ์ ลักษณะที่สำคัญของราใน class นี้คือสร้าง sexual spores ในถุงหุ้มมี
จำนวนตั้งแต่ 2-8 สปอร์ซึ่งเรียกว่า ascospores เชื้อราใน class นี้จัดว่าเป็น class ที่สำคัญที่
สุด เนื่องจากทำความเสียหายให้กับพืชเศรษฐกิจหลายชนิด สำหรับในประเทศเขตร้อนมักไม่พบ
sexual stage แต่จะพบ asexual spores ซึ่งเมื่อนำมาเลี้ยงบนพืชหรือภายใต้สภาพการเลี้ยง
ที่เหมาะสมสามารถกระตุ้น ให้เชื้อสร้าง ascocarp และ ascospore ได้ กรณีที่ตรวจไม่พบ
sexual stage จะนิยมใช้ชื่อใน form class Deuteromycete แทน ตัวอย่างของโรคที่พบ
ในไทย ได้แก่ โรคเถาแตกยางไหล (gummy stem blight) ในแตงที่เกิดจากเชื้อ
Didymella bryoninae

4. Class Basidiomycetes เป็น เชื้อราชั้นสูงแบ่งออกได้เป็นหลาย families มีลักษณะที่
สำคัญคือสร้าง sexual spores ลักษณะคล้ายหยดน้ำตาเรียกว่า basidiospore บนก้านชู
รูปกระบอง เรียกว่า basidium ซึ่งอาจสร้างขึ้นบนเส้นใยโดยตรงหรือในอวัยวะที่เกิดจากการรวม
ตัวของเส้นใย เป็นรูปร่างต่าง ๆ กัน เช่น ดอกเห็ด อวัยวะดังกล่าวเรียกว่า basidiocarp เชื้อราใน
class นี้ส่วนใหญ่เป็นประโยชน์ คือใช้เป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์หลายชนิด ทำหน้าที่ย่อย
สลายเศษซากพืชเพื่อปลดปล่อยธาตุอาหารกลับสู่วงจรการใช้อาหาร แต่ก็มีหลายชนิดที่จัดเป็น
ศัตรูพืชที่ร้ายแรง ตัวอย่างเช่น เชื้อที่ทำให้เกิดโรคราสนิม (rust) , โรคราเขม่าดำ (smut),
โรคราเม็ดผักกาด (sclerotium stem rot) , โรคกาบใบแห้งของข้าว (Rhizoctonia
sheath blight) เป็นต้น การวินิจฉัยสาเหตุของโรคที่เกิดจากเชื้อใน class นี้นอกจากจะตรวจดู
จากลักษณะของสปอร์ หรือ resting stracture เช่น เม็ด sclerotium ซึ่งมีลักษณะเป็น
ก้อนกลมคล้ายเมล็ดผักกาดแล้ว ยังอาจพิจารณาดูจากลักษณะของเส้นใยที่มักมี clamp
connection เชื่อมระหว่างเซลล์ที่อยู่ติดกัน

5. Form-class Deuteromycetes เชื้อราใน form-class นี้คือเชื้อราในระยะที่ยังตรวจไม่
พบลักษณะการขยายพันธุ์แบบใช้เพศ การจัดแบ่งจึงถือเป็นการชั่วคราว อาจเรียกเป็น form
class Imperfect fungi ก็ได้ เนื่องจากใช้เฉพาะลักษณะของ asexual stage เป็นหลักใน
การแบ่งแยก ปัจจุบันพบว่าเชื้อราส่วนใหญ่ที่ได้ให้ชื่อในระยะ asexual stage นั้นเป็นเชื้อราใน
class Ascomycetes มีบางส่วนเป็นราใน class Basidiomycetes และมีน้อยชนิดมากที่อยู่
ใน class Zygomycetes หรือ Oomycetes สำหรับในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเขตร้อน
นั้น เชื้อราส่วนใหญ่โดยเฉพาะ Ascomycetes มักไม่มี sexual stage เนื่องจากไม่มีความจำ
เป็นที่เชื้อจะต้องอยู่ข้ามฤดูหนาว ชื่อเชื้อราที่ใช้หรือที่รู้จักจึงเป็นชื่อใน form class
Deuteromycetes ซึ่งอาจจัดแบ่งเป็นอันดับ (order) ได้ดังนี้

5.1 Hyphales (Moniliales) คือเชื้อราที่สร้าง asexual spores บนหรือระหว่างเส้นใย
ธรรมดา โดยไม่มีอวัยวะพิเศษ ตัวอย่างของเชื้อได้แก่ เชื้อโรคราแป้ง (Oidium, Oidiopsis,
Ovuliopsis) เชื้อ Cercospora (สาเหตุโรคใบจุดตากบของพืชหลายชนิด) เชื้อ
Pyricularia (สาเหตุโรคใบไหม้ของข้าว) เป็นต้น

5.2 Sphaeropsidales เป็นเชื้อที่สร้าง asexual spores ในอวัยวะที่เกิดจากการอัดตัว
กันแน่นของเส้นใยมีลักษณะเป็นรูปคนโฑ (pycnidia) ตัวอย่างได้แก่ Ascochyta สาเหตุโรค
ใบไหม้, ใบจุดของพืชหลายชนิด , Diplodia (สาเหตุโรคลำต้นแห้ง , กิ่งแห้ง) Phyllosticta
สาเหตุโรคใบจุดของพืชหลายชนิด, Phoma, Phomopsis สาเหตุโรคลำต้นเน่าของผัก และไม้
ยืนต้นหลายชนิด

5.3 Melanconiales เชื้อสร้าง asexual spores ในอวัยวะรูปร่างคล้ายถ้วยปากกว้าง
(acervulus) ตัวอย่างเช่น เชื้อ Colletotrichum สาเหตุของโรคอีบุบ (anthracnose) เชื้อ
Marssonina สาเหตุโรคใบจุดดำของกุหลาบ เป็นต้น

5.4 Myceliales หรือ Mycelia Sterilia (sterile fungi) เป็นเชื้อที่ไม่พบการสร้าง
asexual spores ที่มีลักษณะต่างไปจากเส้นใยปกติ การอยู่ข้ามฤดูจะสร้างโครงสร้างพิเศษเรียก
ว่า sclerotia ซึ่งเกิดจากกลุ่มเส้นใยที่มาอัดตัวกันแน่นลักษณะคลายเมล็ดผักกาด ตัวอย่างเช่น
เชื้อ Sclerotium สาเหตุโรครากและโคนเน่าของพืชหลายชนิด เชื้อ Rhizoctonia สาเหตุโรค
โคนเน่า เป็นต้น
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©