-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-พืชใดบ้างที่ หุบ-บาน ? ?
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - พืชใดบ้างที่ หุบ-บาน ? ?
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

พืชใดบ้างที่ หุบ-บาน ? ?

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
knack
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 23/02/2010
ตอบ: 2

ตอบตอบ: 23/02/2010 9:41 pm    ชื่อกระทู้: พืชใดบ้างที่ หุบ-บาน ? ? ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


พอดีจะทำงานวิจัยเกี่ยวกับการ "หุบ-บาน" ของดอกไม้ค่ะ

จึงอยากทราบว่าดอกไม้ชนิดใดบ้างในประเทศไทยที่มีลักษณะ
การหุบๆ บานๆ ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ เช่น แสง อุณหภูมิ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 23/02/2010 10:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


"ทานตะวัน"
ช่วงก่อนผสมเกสร ดอกจะหันเข้าหาดวงอาทิตย์ เมื่อเกสรผสมแล้วจึง
เลิกหันตามดวงอาทิตย์

"บานเช้า"
ช่วงแสงแดดยามเช้าซึ่งยังไม่ร้อนนัก ดอกจะบาน ครั้นถึงยามสายหรือแสง
แดดเริ่มร้อนดอกจะหุบ

"บานสาย"
ช่วงแสงแดดยามสายเริ่มร้อน ดอกจะเริ่มบาน ครั้นตอนบ่ายแก่ แดดร้อน
ขึ้นดอกจะหุบ

"บานเย็น"
ดอกบานช่วงตอนเย็นถึงค่ำ

"กะดังงา"
ตอนกลางคืน อากาศเย็น ดอกจะส่งกลิ่นหอมแรงกว่าตอนกลางวัน หรือแม้
แต่นำดอกกะดังงามาลนไฟอ่อนๆ กลิ่นดอกก็จะหอมแรงขึ้นได้

"พุดตาน"
ตอนเช้าสีขาว .... ตอนเที่ยงสีชมพู .... ตอนบ่ายแก่ๆสีบานเย็น

"คุณนายตื่นสาย"
ตอนเช้าบาน ตอนสายๆแดดเริ่มร้อนจะหุบ

"ดอกทุเรียน - ดอกแก้วมังกร"
พร้อมผสมเกสรช่วงกลางคืน (19.00 - 21.00)

ทั้งหมดนี้น่าจะมี "อุณหภูมิ" เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยนะ แต่จะเกี่ยวแบบไหนตามหลักสรีระวิทยาพืช
ข้อนี้เรียนตามตรงว่า "ไม่ทราบ"

ลุงคิมครับผม
ป.ล.
เอ้า..... พวกเราใครมีข้อมูลมากกว่านี้ช่วยเพิ่มเติมด้วย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 23/02/2010 10:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจาก http://thaigoodview.com/node/39954

1.5 การตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อม

By msw6990 เมื่อ อังคาร, 29/09/2009 - 16:00 | แก้ไขล่าสุด อังคาร, 29/09/2009 - 16:00
รูปภาพของ msw6990

1.5 การตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อม จากที่กล่าวมาแล้วเป็นการตอบสนองของพืช
ต่อสิ่งแวดล้อมภายใน นอกจากนี้พืชยังสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยสิ่งแวด
ล้อมภายนอกต่างๆ ได้ สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปและกระตุ้นให้พืชตอบสนองนี้ เรียกว่า สิ่ง
เร้า โดยทั่วไปปัจจัยกระตุ้นจะชักนำให้กระบวนการในพืชดำเนินไป แม้ ว่าปัจจัยกระตุ้นนั้นอาจไม่
อยู่ในสภาพเริ่มต้น หรือหมดไปแล้ว เช่น ปลายยอดจะเจริญโค้งเข้าหาแสงแม้ว่าแสงที่กระตุ้นใน
ช่วงแรกนั้นจะไม่มีแล้ว การตอบสนองของพืชต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกจะมี
กระบวนการเช่นเดียวกับกระบวนการสื่อสารระหว่างเซลล์ที่นักเรียนทราบมาแล้วดังนี้ การรับ
สัญญาณ คือ การที่พืชหรือส่วนของพืชรับสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายใน และปัจจัย
ภายนอกที่มากระตุ้น เช่น กลไกการรับแสงของสารสีในกระบวนการตอบสนองต่อทิศทางของ
แสง เป็นต้น การส่งสัญญาณ คือ การที่กลไกรับสัญญาณในพืชส่งสัญญาณที่รับได้ไปให้
เซลล์ในส่วนของพืชที่ตอบ สนองต่อปัจจัยกระตุ้นนั้น ในช่วงศตวรรษนี้นักวิจัยได้พยายามศึกษา
ลักษณะของสัญญาณที่ส่งไป ซึ่งรวมทั้งกระแสไฟฟ้า และสารเคมีต่างๆ เช่น ฮอร์โมนพืช เป็น
ต้น การตอบสนองของพืช คือ การเปลี่ยนแปลงส่วนต่างๆของพืชที่ทำให้เกิดการตอบสนอง
ต่อปัจจัยกระตุ้น พืชตอบสนองต่อปัจจัยกระตุ้นในหลายรูปแบบ ซึ่งรวมทั้งการตอบสนองทาง
ชีวเคมี สรีรวิทยา สัณฐานวิทยา เป็นต้น แต่การตอบสนองที่สามารถสังเกตได้ง่ายที่สุดคือ การ
เคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวของพืชชั้นสูง สามารถแบ่งลักษณะการตอบสนองต่อปัจจัย
กระตุ้นได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

1. ทรอปิกมูฟเมนต์ (tropic movement) เป็นการเคลื่อนไหวของพืชที่เกิดจากการเจริญ
เติบโตอย่างมีทิศทาง โดยทิศทางของการเคลื่อนไหวของพืชถูกกำหนดโดยทิศทางของปัจจัยภาย
นอกที่มา กระตุ้น เช่น การตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของโลก (gravitropism) การตอบสนอง
ต่อทิศทางของแสง ในกรณีที่พืชเคลื่อนไหวเข้าหาปัจจัยกระตุ้นจะเรียกว่า โพสซิทิฟโทรพิซึม
(positive tropism) ส่วนกรณีที่พืชเคลื่อนไหวออกจากปัจจัยกระตุ้นจะเรียกว่า เนกะทิฟโทรพิ
ซึม (negative tropism)

การตอบสนองต่อการสัมผัสสิ่งเร้า (thigmotropism) เช่น การเจริญของมือเกาะของตำลึง
กะทกรก หรือพืชตระกูลแตง เมื่อสัมผัสกับสิ่งเร้า การตอบสนองตอความชื้นจากน้ำ
(hydrotropism) เช่น การงอกเข้าหาน้ำของราก (positive hydrotropism) การตอบ
สนองต่อสารเคมี(chemotropism) เช่น การงอกของหลอดละอองเรณูไปยังรังไข่ของพืชดอก
เพื่อเข้าหาสารเคมีที่เป็นสิ่งเร้า

2. แนสติกมูฟเมนต์ (nastic movement) เป็นการตอบสนองของพืชที่ทิศทางของการ
เคลื่อนไหวของพืชไม่ถูกกำหนดโดยทิศทางของปัจจัยภายนอกที่มากระตุ้น เช่น การ หุบและการ
บานของดอก เป็นต้น ปัจจัยภายนอกที่สำคัญ ได้แก่ แสงและอุณหภูมิ และกลไกการตอบสนอง
ของพืชอาจเกิดได้จากการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันของส่วน ต่างๆ หรืออาจเกิดจากการเปลี่ยน
แปลงความเต่งของเซลล์พิเศษ

การหุบของดอกบัวในตอนกลางคืนและบานในเวลากลางวัน หรือการหุบของดอกกระบอง
เพชรในเวลากลางวัน และบานในเวลากลางคืนเพราะเป็นการตอบสนองต่อแสงซึ่งเป็นสิ่งเร้า การ
ที่ดอกไม้หุบหรือบานได้นั้น เนื่องจากกลุ่มเซลล์ด้านนอก และด้านในของกลีบดอกมีการขยาย
ขนาดได้ไม่เท่ากัน การ บานของดอกไม้เกิดจากกลุ่มเซลล์ด้านในของกลีบดอกขยายขนาด
มากกว่าด้านนอก และดอกไม้จะหุบเมื่อกลุ่มเซลล์ด้านนอกของกลีบดอกขยายขนาดมากกว่าด้านใน


นอกจากนี้พืชยังมีการตอบสนองต่ออุณหภูมิของอากาศได้ เช่น ดอกมะลิ จะบานเมื่อ
อากาศอบอุ่น จะหุบเมื่ออากาศเย็น พืชบางชนิดสามารถตอบสนองต่อการสัมผัสได้เร็ว โดย
การสัมผัสจะไปทำให้มีการเปลี่ยนแปลงแรงดันเต่งภายในเซลล์ซึ่งเป็นไปอย่างรวดเร็วแต่ไม่
ถาวร เช่น ใบของต้นไมยราบแตะเพียงเบาๆ ใบจะหุบเข้าหากันอย่างรวดเร็ว


เมื่อนำโคนก้านใบของไมยราบมาศึกษา พบว่า ที่โคนก้านใบมีลักษณะพองออกเป็น
กระเปาะเรียกว่า พัลไวนัส (pulvinus) ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ผนังบางมีความไว
สูงต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น เช่น การสัมผัส การกระตุ้นดังกล่าวจะมีผลทำให้แรงดันเต่งของเซลล์
กลุ่มนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คือ เซลล์ จะสูญเสียน้ำให้กับเซลล์ข้างเคียงใบจึงหุบทันที เมื่อ
เวลาผ่านไปน้ำจากเซลล์ข้างเคียงจะแพร่กลับเข้ามาในเซลล์อีกครั้งหนึ่ง ทำให้เซลล์เต่ง และใบ
กางออกดังเดิม นอก จากต้นไมยราบแล้วยังมีพืชที่มีความไวต่อการสัมผัส ได้แก่ กาบหอย
แครง จะมีกลุ่มเซลล์ที่ไวต่อสิ่งเร้าอยู่ทางด้านในของใบ เมื่อแมลงบินมาถูกก็จะตอบสนองโดยหุบ
ใบในทันทีพร้อมทั้งปล่อยเอนไซม์ออกมา ย่อยแมลงแล้วดูดซึมธาตุอาหารที่พืชต้องการไปใช้
ได้ ในพืชตระกูลถั่ว เช่น จามจุรี กระถิน แค ผักกระเฉด ถั่วต่างๆ มีความไวต่อการเปลี่ยน
แปลงต่อความเข้มของแสงจึงพบว่า ใบจะหุบในเวลาพลบค่ำที่เรียกว่า ต้นไม้นอน และกางใบ
ออกเวลารุ่งเช้าที่มีแสงสว่าง การเคลื่อนไหวของพืชที่ไม่เกี่ยวข้องกับแรงดันเต่งของเซลล์
พืช เช่น การหมุนแกว่งของยอดพืชขณะที่มีการเจริญเติบโตที่ปลายยอดพืช อันเนื่องมาจาก
ปลายยอดมีการแบ่งเซลล์สองด้านของลำต้นไม่เท่ากัน เรียกการเคลื่อนไหวแบบนี้ว่า นิวเทชันมูฟ
เมนต์ (nutation movement) ยอดพืชทุกชนิดมีการเคลื่อนไหวแบบนี้ แต่จะเห็นได้
ชัดเจนในพืชที่มีลำต้นพันหลัก จากการศึกษาการตอบสนองของพืชคงพอจะทำให้นักเรียน
เข้าใจถึงการปรับตัวในการดำรงชีวิตของพืช เพื่อสามารถในการเจริญเติบโตอยู่ในสิ่งแวดล้อม
ต่างๆ ได้เป็นอย่างดีนั่นเอง
»
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 23/02/2010 10:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจาก http://www.oknation.net/blog/somchoke101/2008/05/25/entry-1

ทึ่งในความสวยงามของดอกโบตั๋น

โดย...ว่าที่ร.ต.สมโชค เฉตระการ

ครูเชี่ยวชาญ วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด

ที่บ้านมีต้นไม้ที่มีรูปร่างแปลก ๆ ต้นหนึ่ง ไม่รู้ว่ามาได้อย่างไร จำได้ว่าไม่เคยเอาต้นไม้อย่าง
นี้มาปลูก ถาม ใครในบ้านก็ไม่ทราบเช่นเดียวกัน เอาเถอะไหน ๆ เธอก็มาอยู่กับเราแล้วเห็นแปลก
ดี ปลูกเอาไว้ไม่เสียหลาย ปลูกดูใบก็แล้วกัน เพราะไม่เคยเห็นดอก

ลักษณะของลำต้น เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณเท่ากับเหล็กเส้นขนาด 4 หุน ใบบาง ๆ เหมือน
แผ่นกระดาษ ความกว้างของใบจากแกนใบข้างละ 3 เซนติเมตร รวมแล้วก็ประมาณ 6-7
เซนติเมตร ความยาวของใบประมาณ 30-40 เซนติเมตร ลำต้นจะต้องมีไม้ยึดไว้ เนื่องจากมี
ความอ่อนตัว ไม่สามารถประคองลำต้นได้ บริเวณลำต้นจะเจริญเติบโตเป็นลำ แยกเป็นใบออกไป
ทางด้านข้างลำต้น ทั้งซ้ายและขวา ลักษณะใบที่เรียวและยาว จะทำให้ใบที่มีแกนใบอ่อนตัวลง

ผมดูแล้ว มันมีลักษณะเป็นต้นไม้แปลก ๆ ก็เลยเลี้ยงไว้ ไปซื้อกระถางดินเผาขนาดเส้นผ่า
ศูนย์กลาง 16 นิ้ว นำต้นไม้ดังกล่าวย้ายไปลงในกระถาง นำท่อนอลูมิเนี่ยมมาปักเพื่อยึดลำต้นให้
ตรง นำไปวางไว้ในพื้นที่มีแสงแดด ปลูกไว้ทั้ง ๆ ที่ยังไม่รู้เลยว่ามันคือต้นอะไร เพื่อน ๆ มาเยี่ยมที่
บ้าน ถามว่าต้นอะไร เขาก็ไม่รู้เหมือนกัน...ก็ไม่เป็นไร ปลูกไว้อย่างนั้นไปก่อน อยู่มาวันหนึ่งมัน
ก็มีดอกขึ้นมา 1 ดอก ดูเป็นดอกตูมขนาดใหญ่ ก็คิดว่ามันน่าจะบานเต็มที่ในวันพรุ่งนี้ตอนเช้า
และน่าจะอยู่ได้หลายวัน พรุ่งนี้ค่อยมาดูใหม่

ตอนเช้า ก่อนเดินทางไปวิทยาลัย ฯ เดินไปดูสักหน่อยว่า ลักษณะดอกเป็นอย่างไร สวย
แค่ไหน แต่พอไปดูปรากฏว่าดอกเหี่ยวเสียแล้ว ยังบ่นว่าน่าเสียดาย ดอกอะไรก็ไม่รู้ กลางวันไม่
บาน ดันไปบานเอาตอนกลางคืน เลยไม่เห็นความสวยงามของดอกไม้แปลกที่ว่านี้. หรือว่าเธอจะ
อายก็ไม่รู้ ก็เลยหลบ ๆ ออกดอกเวลากลางคืน

ผมมารู้ชื่อของต้นไม้ดังกล่าว เมื่อไม่กี่วันว่าเธอชื่อ "ดอกโบตั๋น" แล้วผมก็มาเห็นต้น
โบตั๋นออกดอกอีกแล้วเมื่อวานนี้เอง มีจำนวน 3 ดอก ส่วนบนมี 1 ดอก ที่โคนต้นจำนวน 2 ดอก
จากนั้นผมก็พยายามดูความเจริญรุ่งเรืองของดอกโบตั๋น จากดอกตูม ๆ ค่อย ๆ โตขึ้น ลักษณะ
ของดอกตูม ยึดติดกับแกนดอกยาวประมาณ 15 เซนติเมตร โคนแกนดอกเชื่อมติดกับข้างใบ ที่มี
แกนของใบ แยกออกมาจากแกนกลางของใบอีกที ความยาวของดอกประมาณ 10 เซนติเมตร
เส้นรอบดอกประมาณ 10 เซนติเมตร

คืน นี้คาดว่าดอกจะต้องบานเต็มที่อย่างแน่นอน เพราะมันเริ่มดูหลวม ๆ แล้ว มีกลีบดอก
สีขาวโพลนแพลมออกมา เลยบอกลูก ๆ ตั้งหน้าตั้งตารอดูความสวยงาม ผมติดไฟฟ้า 1 หลอด
เรียกว่าตั้งใจจะชมโฉมให้ชื่นใจ...ดอกเริ่มบานเวลาประมาณ 3 ทุ่มและจะบานไปเรื่อย ๆ เวลา
22.30 น.ฝนเริ่มพร่ำลงที่ดอก ยิ่งเพิ่มความสวยงามยิ่งขึ้น ผมเห็นดอกโบตั๋นที่บานเต็มที่แล้ว
สวยงามจริง ๆ ครับ กลีบดอกขาวโพลนตลอด มีจำนวนมากโดยรอบ ผมจะพยายามไปนับจำนวน
ของกลีบดอกว่ามีกี่กลีบ แต่ฝนตกเลยไม่สะดวกในการนับ เพียงแต่ยลโฉมของดอกที่สวย

ลักษณะของดอก ความกว้างหรือรัศมีของดอกประมาณ 12 เซนติเมตร ใจกลางของดอกมีแกน
ยึดเกสรจำนวนมากเป็นเส้นเล็ก ๆ เกสรสีเหลืองติดที่ปลายแกน เมื่อดมดูแล้วมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
กลิ่นหอมจะกระจายโดนรอบไม่ไกลนักประมาณ 1.00 ม. ตั้งใจว่าจะคอยดูตอนที่ดอกเหี่ยวว่าจะ
เหี่ยวเวลาใด แต่ดอกก็ยังบานอย่างสวยงามอยู่ เริ่ม ง่วงนอนแล้วครับ ถามจะมีใครอยู่ดูไหม ทุก
คนขอนอนดีกว่า ผมก็ง่วงเช่นกัน คิดว่าของีบก่อนเอาไว้ประมาณตี 4 หรือตี 5 แล้วค่อยมาสังเกต
ใหม่ แต่ปรากฏว่ามาตื่นเอาเวลา 7 นาฬิกา ลุกขึ้นจากที่นอนรีบลงมาดู ดอกโบตั๋น แต่ไม่ทันเสีย
แล้วครับ ดอกโบตั่นเหี่ยวแล้วครับ ไม่รู้เหี่ยวตั้งแต่เวลาเท่าใด เลยอดเห็นตอนที่ดอกเหี่ยว ทั้ง ๆ ที่
เมื่อคืนดอกใหญ่สีขาวโพลน แต่พอวันรุ่งขึ้น ก็ไม่หลงเหลือความสวยงามให้เห็นเลย

ผมรู้สึกทึ่งในความมหัศจรรย์ของ ดอกโบตั๋น ทั้งทึ่งทั้งแปลกครับ ผมคิดว่าน้อยคนที่จะ
ได้เห็นดอกโบตั๋นบาน เพราะเธอไปบานตอนกลางคืน บรรยากาศมืด ๆ แล้วใครจะเฝ้าดูหละครับ
ถ้าไม่ตั้งใจดูจริง ๆ จะไม่เห็นความงามของ ดอกโบตั๋น เลย ครับ เคยได้ยินมีคนบอกว่า คนที่เป็น
โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ท่านบอกว่าให้สูดดมกลิ่นหอมของดอกโบตั๋น (เป็นเรื่องที่ยังหา
ข้อพิสูจน์ไม่ได้ เพียงเป็นเรื่องเล่าเท่านั้น) และอีกอย่างเขาเชื่อกันว่า ถ้าดอกโบตั๋นออกดอก บ้าน
นั้นจะมีโชคลาภ (เป็นเรื่องจริงแต่กับบางท่าน) กำลังจะคอยดูครับ

การ ขยายพันธ์ต้นโบตั๋นง่ายมากครับ เพียงแต่ท่านเด็ดที่โคนใบ ที่เป็นใบแขนง แล้วเสียบลง
ในดิน ลดน้ำธรรมดาเช้าเย็น เท่านั้นแหละครับ เราจะค่อย ๆ เห็นใบใหม่เริ่มผลิออกมาให้เห็น จาก
นั้นก็ดูความ เจริญเติบโต และจะได้เห็นดอกโบตั๋นที่สวยงามครับ (ดูรูปที่กระถางนะครับ ผมเด็ดกิ่ง
แขนงมาเสียบไว้ ตอนนี้ติดเรียบร้อยแล้วครับ ต่อไปก็แยกลงกระถางอื่น ไม่นานหรอกครับ จะได้มี
มหกรรม “คืนแห่งการชมความงามของดอกโบตั๋น” อย่างแน่นอนครับ



แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 24/02/2010 12:54 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 23/02/2010 10:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ดอกโสน(สะ-โหน)..บานเช้า ดอกคัดเค้า.... บานตอนเย็น



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 24/02/2010 7:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ดอกบัว ช่วงเช้าๆ จะบาน สายๆ จะหุบ

ดอกเบี้ย ต้นมากดอกจะบาน ต้นน้อยดอกหุบ อ้าวไม่เกี่ยวไปดีกว่า ฟิ้วววว

ott_club




ดอกปุ๊กล่ะ บานตอนไหน.....คนแก่ (ลุงคิม)สงสัยครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 24/02/2010 1:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ตั้งคณะตลกดีกว่าละมั้ง



เห็นด้วย....
อ้อดอกสะเดา. โอเชิญยิ้ม. อ๊อดดอกมะดัน....คิมดอกประดู่....
ลุงคิมเป็นหัวหน้านะ ไม่งั้นไม่เล่นด้วย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 24/02/2010 1:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

http://www.thaigoodview.com/node/16888?page=0%2C2

ดอกไม้ในวรรณคดี

ดอกกรรณิการ์



“…กรรณิการ์ ก้านสีแดงสด
คิดผ้าแสดติดขลิบนาง
เห็นเนื้อเรื่อโรงราง
ห่มสองบ่าอ่าโนเน่…”
วรรณคดี : กาพย์ห่อโคลง “นิราศธารโศก”
ผู้ประพันธ์ : เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง)

ชื่อพฤกษศาสตร์ : Nyctanthes arbor – tristis
ชื่อสามัญ : Night Jasmine
ชื่อวงศ์ : Verbenaceae


กรรณิการ์เป็นพุ่มไม้ขนาดเล็ก สูงประมาณ ๑ - ๒ เมตร ใบสากคาย ขอบใบเป็นจักตื้น ๆ และใบ
ออกทิศทางตรงข้ามกัน

ดอกสีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ลักษณะคล้ายดอกมะลิ แต่มีขนาดกลีบแคบกว่า ปลายกลีบ
มี ๒ แฉก ขนาดไม่เท่ากัน

โคนกลีบติดกันเป็นหลอดสีส้มสด ดอกบานส่งกลิ่นหอมในเวลากลางคืน
และจะร่วงในเช้าวันรุ่งขึ้น

ผลมีลักษณะกลมแบน ขณะอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีดำ

การขยายพันธุ์ ใช้ตอนกิ่ง

ทางด้านสมุนไพร เปลือกให้น้ำฝาด เปลือกชั้นในเมื่อผสมกับปูนขาวจะให้สีแดง ดอกมีน้ำมัน
หอมระเหยที่กลั่นได้เช่นเดียวกับมะลิ ส่วนของดอกที่เป็นหลอด สกัดเป็นสีย้อมผ้าไหม ใบใช้
แก้ไข้และโรคปวดตามข้อ น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาระบาย และเป็นยาขมเจริญอาหาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 24/02/2010 1:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทีมา http://www.kaweeclub.com/b22/t2594/

ซ่อนกลิ่น



ซ่อนกลิ่น (Polianthes tuberosa Linn.) ซ่อนกลิ่นเป็นไม้ล้มลุกหลายฤดู ขึ้นเป็นกอเล็กๆ มี
หัวใต้ดิน

ใบสีเขียวนวลหนาและเรียวยาว รูปแถบปลายแหลม เมื่อออกดอกจะแทงช่อรวมเป็นก้านกลมตั้ง
ตรงขึ้นกลางกอ ยาว ๖๐-๙๐ ซม.

ดอกเป็นช่อ ๒-๓ ดอก เรียงสลับ ตามแกนช่อรวม ดอกตูมเป็นสีขาวอมชมพูเรื่อๆดอกบานสีขาว มี
ทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน ทยอยบานจากโคนไปหาปลายช่อ ซึ่งกว่าจะบานหมดทั้งช่อจะใช้
เวลา ๕-๗ วัน ดอกจะเริ่มบานและมีกลิ่นหอมตั้งแต่ตอนเย็นเรื่อยไป
ตลอดทั้งคืน โดยเฉพาะกลางคืนยิ่งหอมมาก
การที่ดอกมีกลิ่นหอมเฉพาะ
ตอนกลางคืนทำให้มีผู้สันนิษฐานว่าชื่อซ่อนกลิ่น นั้น มาจากการที่ซ่อนกลิ่นไม่มีกลิ่นหอมในเวลา
กลางวันนั่นเอง

ชวลิต ดาบแก้ว เขียนไว้ในหนังสือ ดอกไม้ในวรรณคดี ว่าซ่อนกลิ่นชนิดดอกซ้อน เรียกว่า ซ่อนชู้
ส่วนชนิดดอกชั้นเดียวเรียกว่า ซ่อนกลิ่น แต่ในเอกสารอ้างอิงอื่นๆ ไม่มีเล่มใดระบุถึงเลย

ในวรรณคดีไทยกล่าวถึงซ่อนกลิ่นและซ่อนชู้ควบคู่กันไป เสมอ และมักใช้ในเนื้อความเกี่ยวกับ
ความรักที่ไม่เปิดเผยดังที่สุนทรภู่กล่าวไว้ ใน นิราศพระประธม ดังนี้

เห็นซ่อนกลิ่น ซ่อนชู้ อดสูจิต
คิดถึงมิตร มักมาก ยากนักหนา
ทำซ่อนชู้ รู้ชัด ตัดตำรา
ไม่คบหา สืบสาย จนวายวาง

ซ่อนกลิ่นเป็นไม้พื้นเมืองของ เม็กซิโก มีปลูกในไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา หรือก่อนหน้านั้นเชื่อ
กันว่าชาวจีนหรือชายฝรั่งเศสเป็นผู้นำเข้ามาคนไทยสมัย ก่อนใช้ดอกซ่อนกลิ่นทั้งช่อบูชาสิ่ง
ศักดิ์สิทธิ์ในโอกาสต่างๆ ตามแบบคนจีนต่อมาอาจเป็นเพราะใช้กันเป็นประจำในงานศพ ทำให้เกิด
ธรรมเนียมความเชื่อว่าเป็นดอกไม้ที่ไม่เป็นมงคล ไม่ควรนำมาใช้ในงานมงคลต่างๆ

กลิ่น ของดอกซ่อนกลิ่นเป็นกลิ่นที่หอมแรงและหอมนาน จึงมีการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากดอก
ไปใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอมและเครื่องสำอาง เรียกว่ากลิ่นทิวเบอโรส (Tuberose) จัดเป็นน้ำ
หอมชั้นดีชนิดหนึ่ง

ในวรรณคดีเรื่องขุนช้าง ขุนแผน บรรยายถึงกลิ่นหอมของดอกซ่อนกลิ่นไว้อย่างไพเราะยิ่ง ดังนี้

ซ่อนชู้ ชูช่อ อรชร
เหมือนเราซ่อน เป็นชู้ คู่แฉล้ม
ซ่อนกลิ่น ส่งกลิ่น ประทิ่นแกม
เหมือนกลิ่น แก้มโฉมยง เมื่อส่งตัว
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©