-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบปัญหารายการวิทยุ24MAR ** อาการพืชเมื่อขาดธาตุอาหาร
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบปัญหารายการวิทยุ24MAR ** อาการพืชเมื่อขาดธาตุอาหาร
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบปัญหารายการวิทยุ24MAR ** อาการพืชเมื่อขาดธาตุอาหาร

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 27/03/2015 1:51 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบปัญหารายการวิทยุ24MAR ** อาการพืชเมื่อขาดธาตุอาหาร ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตรทางรายการวิทยุ 24 MAR

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์) และ
********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็ม.แคล--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
.... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .........
.... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .........

-----------------------------------------------------------



จาก : (093) 728-69xx
ข้อความ : ผู้พันบอกว่า ปุ๋ยมี 14 ตัว ทุกตัวสำคัญเท่ากันทั้งหมด ผมอยากให้ผู้พันพูดเรื่องพืชที่ขาดปุ๋ยว่า ขาดปุ๋ยตัวไหนพืชจะเป็นอย่างไง ผมจะบันทึกเสียงลงมือถือ...ขอบคุณครับ

ตอบ :

ปุ๋ย 14 ตัว ได้แก่ ธาตุหลัก N P K ธาตุรอง Ca Mg S ธาตุเสริม Fe Cu Zn Mn Mo B Si Na

เปรียบอาหารคน ธาตุหลัก คือ ข้าว, ธาตุรอง คือ กับข้าว, ธาตุเสริม คือ ของหวาน, อาหารที่พืชต้องการยังมีฮอร์โมนอีก 1 อย่าง ตัวนี้เปรียอาหารคนก็คือ ของว่าง ประมาณนี้

อาหารคน ข้าว-กับข้าว-ของหวาน-ของว่าง แต่ละอย่างควรมีอัตราส่วนมากหรือน้อยกว่ากัน แค่ไหน-อย่างไร-เพราะอะไร อาหารพืช ธาตุหลัก-ธาตุรอง-ธาตุเสริม-ฮอร์ โมน ก็เช่นเดียวกัน

ที่นี่ที่เดียวที่ส่งเสริมทั้ง หลัก-รอง-เสริม-ฮอร์โมน-อินทรีย์-เคมี-ซื้อ-ทำเอง ที่อื่นขายหลักส่งเสริมแต่หลัก ไม่ส่งเสริมรองเสริมฮอร์โมน บางที่ขายรองเสริม ส่งเสริมแต่รองเสริม ไม่ส่งเสริมหลัก ฮอร์โมน เหมือนกัน ขายปุ๋ยอินทรีย์ไม่ส่งเสริมเคมี ขายปุ๋ยเคมีก็ไม่ส่งเสริมอินทรีย์ ฉะนี้แล้ว เกษตรกรควรจะอยู่ตรงไหน ?

1. ธาตุไนโตรเจน :

ลักษณะที่พืชขาดธาตุไนโตรเจน
1. ใบจะเหลืองผิดปกติ โดยเริ่มจากใบล่างขยายไปสู่ยอดใบ
2. ลำต้นจะผอม, กิ่งก้านลีบเล็ก และมีใบน้อย
3. พืชบางชนิดจะมีลำต้นสีเหลืองหรืออาจมีสีชมพูปนด้วย
4. ใบพืชที่มีสีเหลืองปลายใบและขอบใบจะเริ่มแห้งแล้วลุกลามไปเรื่อยๆ จนใบร่วงจากลำต้น
5. พืชจะไม่เติบโต หรือโตช้ามาก

2. ธาตุฟอสฟอรัส

ลักษณะพืชขาดธาตุฟอสฟอรัส
1. พืชชะงักการเจริญเติบโต ต้นแคระแกรน พืชบางชนิดอาจจะมีลำต้นบิดเป็นเกลียว เนื้อไม้จะแข็งแต่ว่าจะเปราะและหักง่าย

2. รากจะเจริญเติบโตและแพร่กระจายช้ากว่าที่ควร ดอกและผลที่ออกมาไม่สมบูรณ์ บางครั้งจะหลุดร่วงจากขั้วได้ง่าย

3. ธาตุโปแตสเซียม

ลักษณะพืชขาดธาตุโปแตสเซียม
1. ขอบใบเหลืองและกลายเป็นสีน้ำตาลโดยเริ่มต้นจากปลายใบเข้าสู่กลางใบ ส่วนที่เป็นสีน้ำตาลจะแห้งเหี่ยว และมักจะเกิดจากใบล่างก่อนแล้วค่อยๆ ลามขึ้นไปข้างบน พืชที่เห็นอาการขาดธาตุโปแตสเซียมชัดเจนคือพืชจำพวก ข้าวโพด, มัน

2. ทำให้ผลลิตตกต่ำ พืชจำพวกธัญพืชจะมีเมล็ดลีบ น้ำหนักเบา พืชหัวจะมีแป้งน้อย ฝักจะเล็กรูปร่างผิดปกติ พืชพวกใบยาสูบจะมีคุณภาพต่ำ ติดไฟยา กลิ่นไม่ดี

4. ธาตุแคลเซียม

ลักษณะพืชที่ขาดแคลเซียมจะพบมากในบริเวณยอด และปลายราก ยอดอ่อนจะแห้งตาย และใบจะมีการการม้วนงอไปข้างหน้า และขาดเป็นริ้วๆ ซึ่งจะเกิดที่ใบอ่อนก่อน

5. ธาตุกำมะถัน

ลักษณะพืชที่ขาดกำมะถันจะมีเสียเขียวอ่อน หรือเหลือง คล้าย ๆ อาการขาดไนโตรเจน ใบขนาดเล็กลง ยอดของพืชจะชะงักการเจริญ เติบโต ลำต้นและกิ่งก้านลีบเล็ก อาการขาดธาตุกำมะถันจะมีอาการแตกต่างจากขาดธาตุไนโตรเจน คือ จะปรากฏที่ยอดอ่อนก่อน ส่วนใบล่างยังคงปกติ ถ้าอาการรุนแรงใบล่างก็จะมีอาการด้วยเช่นกัน ซึ่งจะตรงข้ามกับอาการของการขาดไนโตรเจน จะแสดงอาการที่ใบล่างก่อน

ดินที่มักพบเสมอว่าขาดธาตุกำมะถันคือ ดินทราย ซึ่งมีอินทรียวัตถุน้อย การเพิ่มกำมะถันในดิน นอกจากจะมีการใส่กำมะถันผงโดยตรงแล้ว การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสด ก็เป็นวิธีการแก้ปัญหาการขาดธาตุกำมะถันในดินได้เช่นกัน แต่ข้อควรระวังในการใส่กำมะถันก็คือ หากใส่มากเกินความจำเป็นจะทำให้ดินเป็นกรดได้ หรืออาจฉีดพ่นธาตุอาหารรองเสริมทางใบก็ช่วยลดอาการขาดธาตุนี้ได้เช่นกัน

6. ธาตุแมกนีเซียม

ลักษณะพืชที่ขาดแมกนีเซียมจะสังเกตได้จากใบพืชเหลืองซีดบริเวณเส้นกลางใบ ถ้าอาการขาดรุนแรงใบแก่จะมีอาการมากกว่าใบอ่อน การขาดธาตุแมกนีเซียม จะทำให้ผลผลิตลดน้อยลง และต้นพืชทรุดโทรมอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสาเหตุที่พืชขาดธาตุแมกนีเซียมนั้น เพราะปริมาณแมกนีเซียมที่อยู่ในดินถูกชะล้างลึกลงไปเกินกว่าที่รากพืชจะดึงดูดมาใช้ได้ และการที่มีปริมาณโปแตสเซียมสะสมในดินมากเกินไปก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญ

7. ธาตุเหล็ก

ลักษณะพืชที่ขาดธาตุเหล็กจะแสดงออกทั้งทางใบและทางผล อาการเริ่มแรกจะสังเกตพบว่าที่ใบอ่อนโดยเฉพาะบริเวณเส้นใบจะมีสีเขียวปกติ แต่พื้นใบจะเริ่มมีสีเหลืองซีด ส่วนใบแก่ยังคงมีอาการปกติ ระยะต่อมาจะเหลืองซีดทั้งใบ ขนาดใบจะเล็กลงกว่าปกติ กิ่งแห้งตาย ส่วนอาการที่เกิดขึ้นกับไม้ผล คือผลผลิตจะลดลง ขนาดของผลเล็กและผิวไม่สวย การขาดธาตุเหล็กยังมีผลทำให้ยอดอ่อนเจริญเติบโตได้ช้ากว่าปกติ

8. ธาตุทองแดง

ลักษณะพืชที่พืชที่ขาดธาตุทองแดง ใบพืชจะมีสีเขียวจัดผิดปกติ แล้วต่อมาจะค่อยๆ เหลืองลงโดยแสดงอาการจะแสดงที่ยอด เรื่อยลงมาจนถึงโคน อาการขาดธาตุทองแดงพบมากในเขตดินเปรี้ยว การใช้ปุ๋ยฟอสเฟตอาจช่วยได้ หรือฉีดพ่นด้วยธาตุอาหารเสริม (ที่มีทองแดงประ กอบ) ทางใบก็จะช่วยลดอาการนี้ได้

9. ธาตุสังกะสี

ลักษณะพืชที่ขาดธาตุสังกะสี จะให้ปริมาณฮอร์โมน IAA ในตายอดลดลง ทำให้ตายอดและข้อปล้องไม่ขยาย ใบออกมาซ้อนกัน นอกจาก นี้ยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำย่อยของพืชหลายชนิดในการสร้างอาหารและสังเคราะห์แสง จึงมีผลทางอ้อมในการสร้างส่วนสีเขียวของพืช

10. ธาตุแมงกานีส

ลักษณะพืชที่ขาดธาตุแมงกานีสใบจะออกสีเหลืองๆ ส่วนเส้นใบจะเขียวอยู่ปกติ โดย เฉพาะใบอ่อนอาจเกิดเป็นจุดขาว ๆ หรือจุดเหลืองที่ใบ ต้นโตช้า ใบไม่สมบูรณ์ พุ่มต้นโปร่ง

11. ธาตุโบรอน :

ลักษณะพืชที่ขาดธาตุโบรอน ส่วนที่จะแสดงอาการเริ่มแรกคืนยอดและใบอ่อน ส่วนที่ยอดและตายอดจะบิดงอ ใบอ่อนบางและโปร่งใสผิดปกติ เส้นกลางใบหนากร้าน และตกกระ มีสารเหนียว ๆ ออกมาตามเปลือกของลำต้น กิ่งก้านจะแลดูเหี่ยว ผลเล็กและแข็งผิดปกติ มีเปลือกหนา บางทีผลแตกเป็นแผลได้

12. ธาตุโมลิบดินัม

ลักษณะพืชที่ขาดธาตุนี้จะแสดงอาการที่ใบจะโดยใบจะมีจุดด่างๆ กระจายอยู่ทั่วใบ ในขนะที่เส้นใบยังเขียวอยู่ ถ้าขาดธาตุนี้รุนแรง ใบจะม้วนเข้าข้างใน ลักษณะที่ปลาย และขอบใบจะแห้ง ดอกร่วง และผลมีขนาดเคระแกรนไม่เจริญเติบโต

13. ธาตุคลอรีน

ลักษณะพืชที่ขาดธาตุคลอรีนใบจะซีด เหี่ยว และใบสีเหลืองบรอนซ์ ถ้ามีคลอรีนมากเกินไปจะทำให้ขอบใบแห้ง ใบจะเหลืองก่อนกำหนด

http://zen-hydroponics.blogspot.com/2013/02/blog-post_4.html


เทคนิคการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน และบูรณาการ :
หลักการและเหตุล :

ไม่ใช่ง่ายๆในการวิเคราะห์พืชเพียงด้วยสายตา ในธรรมชาติไม่มีตัวเลขและไม่มีสูตรสำเร็จ เรียกว่าไม่มีอะไร “เป๊ะเป๊ะ-ใช่เลย” การที่จะรู้ได้ถ่องแท้จริงๆต้องเข้าห้อง “แล็ป” ห้องปฏิบัติการเคมี ดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ พิสูจน์ด้วยน้ำยาเคมี เท่านั้น เพราะบ่อยครั้งที่ผลการวิเคราะห์ออกมา คือ ตัวนั้นตัวนี้ แต่จากวิเคราะห์ด้วยสายตาหกลับเห็นว่ารูปลักษณ์ไม่เหมือนกัน แล้วมันคือตัวนั้นตัวนี้ได้อย่างไร นี่แหละธรรมชาติ

การปฏิบัติ :

- บำรุงดินด้วยสารปรับปรุงบำรุงดิน (ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่ ใบไม้
แห้งหญ้าแห้ง จุลินทรีย์) หลีกเลี่ยงการใช้สารทำลายดิน (ยาฆ่าหญ้า สารเคมีฆ่าแมลง แดด เผา ไฟเผา ปุ๋ยเคมีเหลือตกค้าง) อย่างเด็ดขาด

- บำรุงพืชแบบ อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของพืช
- ให้ธาตุรอง ธาตุเสริม ทั้งทางใบและทางราก สม่ำเสมอ

- เปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรเป็น “อินทรีย์นำ เคมีเสริม .... ลดปุ๋ยเคมี เพิ่มปุ๋ยอิน ทรีย์ และสารปรับปรุงบำรุงดิน .... ลดธาตุหลัก เพิ่มธาตุรอง ธาตุเสริม และฮอร์โมน”

--------------------------------------------------------------




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©