-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-พันธุ์กระจับ
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - พันธุ์กระจับ
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

พันธุ์กระจับ

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 25/02/2010 6:41 pm    ชื่อกระทู้: พันธุ์กระจับ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ท่านหนึ่งได้เข้ามาศึกษาขั้นตอนการปลูกกระจับจากหัวข้อเมนูไม้ผล

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=20

และได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมแหล่งที่ขายพันธุ์

ที่มา คัดลอกจาก http://nsw-rice.com/index.php/component/content/article/271-ag-news-4

กระจับ...พืชเศรษฐกิจ
กระจับ...พืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่


นาย อรรถพร บุญประเสริฐ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอชุม
แสง จ.นครสวรรค์ เปิดเผยว่า เกษตรกรหญิงเก่ง คือ น.ส.ศุภลักษ์ ข่มอารมณ์ บ้านเลขที่
385/3 หมู่ 6 ต.ทับกฤช ซึ่งทำไร่นาสวนผสมโดยปลูกพืชที่หลากหลาย เพื่อลดความเสี่ยงจาก
ภัยธรรมชาติและราคาผลผลิตตกต่ำ เช่น ดอกไม้จีน กระจับ มะลิ จำปี มะม่วง ขนุนฯ พืชที่ปลูก
แล้วแตกต่างจากเกษตรกรรายอื่นและให้ค่าตอบแทนเป็นที่น่าพอใจ คือ กระจับ โดยได้พัฒนาการ
เรียนรู้มาจากเกษตรกร จ.ชัยนาท เริ่มปลูกกระจับพื้นที่ 4 ไร่ ช่วงปลายฤดูร้อน - ต้นฤดูฝน ในสระ
น้ำที่ลึกไม่เกิน 1.50 เมตร เป็นพันธุ์กระจับวัว (สีแดงคล้ำ) ซึ่งให้ผลผลิตสูงเมื่อปลูกไปแล้ว 2 -
3 เดือน ก็จะเห็นการเจริญเติบโตกระจายจนเต็มผิวน้ำ พอพลิกดูใต้ใบจะพบฝักแก่ที่เก็บได้โดยใช้
เรือเป็นพาหนะ จากนั้น ก็นำมาล้างแล้วต้มจนสุก นำออกจำหน่าย กก.ละ 25 บาท ทำให้มีรายได้
วันละ 500 - 1000 บาท ยังได้ทดลองนำไปเป็นส่วนผสมขนมไทย เช่น ขนมตะโก้และทำไส้ข้าว
เหนียวปิ้ง ก็มีรสชาติอร่อยชวนรับประทาน และยังได้ ปล่อยปลากินพืชลงในสระกระจับเพื่อเสริม
รายได้อีกทางหนึ่งด้วย

ก่อนที่เกษตรกรจะลงมือปลูกพืชชนิดใดก็ตามที ก็ต้องศึกษาเรียนรู้ดูงานแปลงที่ประสบความ
สำเร็จให้รอบด้าน เก็บข้อมูลให้ครบถ้วนเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจ โดยใช้การตลาดนำการ
ผลิต และต้องมีการศึกษาเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน เพราะพื้นที่ที่แตกต่างก็อาจจะทำให้
การผลิตแตกต่างกันได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร.089-957-4179 ”
น.ส.ศุภลักษ์ ข่มอารมณ์
กล่าว
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 25/02/2010 8:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อยากให้กระจับติดฝักดกๆ "ฮอร์โมนไข่" นี่แหละ นอกจากสารอาหารจาก "นม" จะช่วยบำรุง
ให้คุณภาพเนื้อดีแล้ว สารไซโตคินนินใน "น้ำมะพร้าว-ไข่ขาว" ยังช่วยบำรุงให้ฝักใหญ่อีกด้วย

สูตรนี้แปลงกระจับแถวๆ บางปะอิน ใช้แล้วบอกว่า "สุดยอด" ดีกว่ากระจับนักมวยอีกแน่ะ


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 25/02/2010 9:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณค่ะ....ลุงคิม

อยุธยาแหล่งใหญ่เลย Very Happy

ที่มา คัดลอกจาก http://kanchanapisek.or.th/oncccgi/text.cgi?no=21021

ชื่อ กระจับ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Trapa bispinosa Roxb. var. incisa Franch. & Sav

ชื่อสามัญ Water Chestnut, Water Calrops

ลักษณะทั่วไป
กระจับเป็นพืชลอยน้ำที่มีอายุเพียงปีเดียว รากมี ๒ แบบ คือ รากฝอยยึดพื้นดินใต้น้ำ และรากที่แตกตามข้อ
ของลำต้นใต้น้ำ ลำต้นเป็นสายกลมยาวตามระดับน้ำ เห็นข้อปล้องชัดเจน ความยาวของปล้องไม่เท่ากัน
ใบเดี่ยวมี ๒ ชนิด คือ ใบลอยน้ำ แผ่นใบเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม อีกชนิดหนึ่ง คือ
ใบใต้น้ำลักษณะแตกเป็นฝอยคล้ายรากแตกจากลำต้นตรงข้อ ๆ ละ ๒-๓ ใบ ดอกเดี่ยวขนาดเล็ก เมื่อได้
รับการผสมแล้ว ก้านดอกจะส่งผลไปเจริญใต้น้ำ ผลเดี่ยวแบบผลแห้ง ผลอ่อนสีม่วงแดง แก่แล้วเปลี่ยนเป็น
สีดำ ลักษณะผล คล้ายหน้าควายหรือวัว มีเขาแหลม ๒ ข้าง ซึ่งพัฒนามาจากกลีบเลี้ยง

แหล่งที่พบ
กระจับมักจะพบแถวจังหวัดในภาคกลาง และมีการปลูกเพื่อนำผลมาเป็นอาหาร สำหรับจังหวัดพระนครศรี
อยุธยาแหล่งที่ปลูกกระจับ คือ อำเภอผักไห่
โดยจะปลูกในทุ่งนา
ความสัมพันธ์กับชุมชนเนื้อในของฝักใช้รับประทานได้ แต่ต้องต้มให้สุก เพราะอาจมีพยาธิใบไม้
ส่วนของต้นนำมาประดับอ่างปลาได้

ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
กระจับเป็นของฝากจากอยุธยาอย่างหนึ่งซึ่งหาซื้อได้ตามตลาดหรือแหล่งท่อง เที่ยว โดยใส่เป็นชะลอมเล็ก ๆ
เป็นการสร้างรายได้ให้ผู้ปลูกกระจับและผู้ขายกระจับ ปัจจุบันที่ร้านขายของฝากในวัดพนัญเชิง มีร้านค้าที่นำ
กระจับต้มตากแห้งและกะเทาะเปลือกออกแล้วมาขายทำให้ผู้ซื้อ สามารถรับประทานได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้
นางอารี ชื่นประดู่ ซึ่งอยู่บ้านเลขที่ ๒๓ หมู่ ๗ ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เป็นผู้ที่ขายกระจับในน้ำแข็งใส่น้ำหวาน จนมีชื่อเสียงโดยประกอบอาชีพนี้มาเป็นเวลาประมาณ ๕๐ ปีแล้ว

เอกสารอ้างอิง
ข้อมูลมรดกศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: สำนัก
งานศึกษาธิการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ๒๕๔๑. (เอกสารอัดสำเนา)
สุชาดา ศรีเพ็ญ.พรรณไม้น้ำในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์, ๒๕๔๓.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©