-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-การปรับคีเลต
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - การปรับคีเลต
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

การปรับคีเลต

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 08/03/2010 9:50 pm    ชื่อกระทู้: การปรับคีเลต ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


ที่มาภาพไม่ทราบครับ (ก๊อปปี้มาจากพี่มงคล นาคอ่อน)

ลุงคิมครับลุงเคยบอกว่าลุงใช้กรดอะมิโน ในการปรับคีเลต(Chelated) แต่จากกราฟจะเห็นว่าการใช้ Amino Acids ปรับคีเลต
อัตราการละลายจะต่ำและถูกจำจำกัดด้วยค่า pH

หากใช้ EDTA ปรับคีเลตอัตราการละลายจะดีกว่ามาก และการถูกจำกัดด้วยค่า pH ก็น้อยกว่าด้วย แต่ลุงกับบอกว่าไม่ได้ใช้แล้ว

คำถาม ทำไมลุงถึงใช้กรดอะมิโนปรับคีเลตครับ

อ๊อดครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/03/2010 10:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อะมิโน แอซิด. เป็นสารอาหาร (ราคาถูก ซื้อง่าย ไม่ต้องตอบคำถามคนขาย)
อีดีทีเอ. ไม่ใช่สารอาหาร (ราคาแพง ซื้อยาก คนขายซักถามมาก)

ตรวจสอบการใช้ทั้ง 2 ตัวแล้วเปรียบเทียบค่า พีเอช. ไม่เปลี่ยนแปลง การละลายก็ไม่ต่างกันด้วย

ข้อมูลงานวิจัยในเว้บเรานี่แหละ (กระทู้ไหนจำไม่ได้) ระบุชัดเจน อะมิโน แอซิด.ปรับค่าคีเลตได้

แล้วอย่างไหนดีกว่ากันล่ะ..... ถ้าไม่มั่นใจ ใส่ทั้ง 2 ตัว ซะก็สิ้นเรื่อง....ว่าไหม ?


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 09/03/2010 5:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจาก http://www.kasate.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6

จุลธาตุ คีเลท(คีเลต) และ EDTA เกี่ยวข้องกันอย่างไร ความหมายของคำเหล่านี้



Idea คีเลต(chelate)
คีเลต(chelate) เป็นคำที่ได้มาจากภาษากรีกซึ่งมีความหมายว่า "กรงเล็บ" (claw) ดังนั้นถ้าพิจารณาจากรากศัพท์จะเห็นได้ว่า
สารคีเลตชนิดต่างๆน่าจะเป็นสารที่มีแนวโน้มที่จะยึดแคไอออนบางอย่างซึ่งโอกาสอยู่ร่วมกันอย่างเหนียวแน่น
และไม่ยอมให้พวกแคตไอออนเหล่านั้นไปทำปฏิกิริยากับสารอื่นๆ ซึ่งมักจะทำให้พวกแคตไอออนเหล่านั้นตกตะกอน
เช่นการทำปฏิกิริยาของจุลธาตุอาหารที่เป็นบวกกับไฮดรอกซิลหรือฟอสเฟตไอออน

Idea กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือพวกจุลธาตุอาหารที่เป็นบวกซึ่งมักจะตกตะกอนได้ง่ายเมื่อ pH สูงขึ้น
และเมื่อมีฟอสเฟตหรือซัลไฟด์มากขึ้นแต่จะไม่ตกตะกอนเมื่อไปรวมตัวเป็นโลหะคีเลตที่เหมาะสมบางตัว
ภายใต้สภาวะเดียวกันกับที่กล่าวไว้แล้ว
ดังนั้นความเป็นประโยชน์ของจุลธาตุอาหารเมื่อเกิดขบวนการคีเลชัน(chelation) จึงมากขึ้นตามไปด้วย

Idea จึงพอจะกล่าวได้ว่า สารคีเลต(chelating agent) ก็คือสารอินทรีย์เคมีซึ่งสามารถจะรวมและคุ้มกันไม่ให้มีการตกตะกอน
ของพวกแคตไอออนบางชนิด รวมทั้งจุลธาตุอาหารที่เป็นบวกทั้งสี่ คือเหล็ก แมงกานีส ทองแดง และสังกะสีด้วย
ปฏิกิริยาการรวมนี้เรียกว่า chelation และผลที่ได้จากปฏิกิริยาคือ คีเลต(chelate) โดยสารคีเลตจะห้อมล้อมแคตไอออน
ของธาตุที่เป็นโลหะ(metallic cation) เข้าไว้จนไม่เปิดโอกาสให้อนุมูลอื่นๆยื่นมือ(bond)
เข้าไปเกาะกับโลหะธาตุที่เป็นประจุบวกนั้นได้
(ดูภาพข้างล่างนี้ประกอบ) และทำให้โลหะธาตุที่เป็นองค์ประกอบของคีเลตอยู่ในสารละลายที่มี pH สูงกว่า
เมื่อโลหะธาตุเหล่านั้นเป็นแคตไอออนอยู่ในสารละลายธรรมดา กล่าวง่ายๆก็คือโลหะธาตุในโครงสร้างคีเลต
ได้รับการคุ้มครองจึงเกิดการตกตะกอนเป็นไฮดรอกไซด์ของโลหะได้ยากขึ้น จึงเป็นประโยชน์ต่อพืชได้มากขึ้น




Idea อนึ่ง น่าจะกล่าวไว้ในที่นี้ด้วยว่าเสถียรภาพของโลหะคีเลต(stability of metal-chelate)แต่ละตัวนั้นมีไม่เท่ากัน
การใช้เหล็กคีเลตจะประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจตราบใดที่ pH ของดินไม่สูงจนเกินไป ในกรณีที่ดินเป็นด่างจัด
การใส่ปุ๋ยเหล็กโดยพ่นให้ทางใบอาจมีประสิทธิภาพดีกว่า
(ดูจากแผนภูมิกราฟด้านล่างและภาพเปรียบเทียบความคงทนหรือถูกดูดซึมเข้าพืชที่แปรผันกับค่า pH ประกอบ)





Idea นอกจากโลหะคีเลตจะคงอยู่ในสภาพของสารละลายได้นาน และคงทนต่อสภาพแวดล้อมทางเคมีสูงกว่าไอออนของโลหะ
ในสารละลายธรรมดาแล้ว ยังมีผู้พบอีกว่าจุลธาตุอาหารคีเลตที่สังเคราะห์ขึ้นมานั้นพืชสามารถดูดเอาไปใช้อย่างสะดวก
ดังนั้นตราบใดที่จุลธาตุอาหารเหล่านั้นยังคงสภาพเป็นโลหะคีเลตอยู่ น่าจะถือได้ว่าโลหะคีเลตเหล่านั้นเป็นรูปที่เป็นประโยชน์
ต่อพืชได้ที่แท้จริง

Idea การใช้โลหะคีเลตเพื่อแก้ไขอาการขาดจุลธาตุอาหาร ได้รับความสนใจกันมากในสหรัฐอเมริกา มีผู้ประมาณว่าเมื่อปี
พ.ศ.2497 มีการซื้อขายปุ๋ยจุลธาตุอาหารเพื่อใช้ในการเกษตรประมาณห้าแสนกิโลกรัม และมากกว่าครึ่งของปุ๋ยจุลธาตุอาหารนี้
ถูกนำไปใช้แก้อาการขาดธาตุอาหารในพืชตระกูลส้มในมลรัฐฟลอริดา แม้ว่าโลหะคีเลตยังไม่อาจแทนการใช้เกลือหรือออกไซด์
หรือซัลไฟด์ ของจุลธาตุอาหารซึ่งนิยมใช้กันมากเพราะราคาถูกกว่า แต่การใช้โลหะคีเลตก็ยังมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นไปอีกมาก
โดยเฉพาะในที่ๆมีปัญหามากๆ และคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงยังคงมีการค้นคว้าและวิจัยทั้งทางด้านการใช้ทางการเกษตร
และการผลิตสารอินทรีย์เคมีใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา

IdeaIdeaIdeaสำหรับในประเทศไทย ปุ๋ยจุลธาตุอาหารประเภทคีเลตมีราคาแพงเกินกว่าที่จะนำมาใส่ทางดินเพื่อแก้ปัญหา
การขาดจุลธาตุอาหารได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากเนื้อเยื่อพืชส่วนเหนือดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบและ
กิ่งก้านพืชสามารถดูดโลหะคีเลตที่พ่นในรูปสารละลายเจือจางไปใช้ประโยชน์ได้ดี
เกษตรกรไทยจึงนิยมใช้ปุ๋ยคีเลตทางใบเพื่อเสริมจุลธาตุอาหารในกรณีที่ดินมีธาตุเหล่านั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช

สารคีเลตสังเคราะห์(synthetic chelating agent) ที่เฉพาะเจาะจงกับจุลธาตุอาหารบางธาตุที่ผ่านการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพ
พอสรุปได้ดังนี้



===================================================================
ที่มา : หนังสือปฐพีวิทยาเบื้องต้น โดยคณาจารย์ภาควิชาปฐพี คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,พิมพ์ครั้งที่9, กุมภาพันธ์2544, 2000เล่ม หน้า351-353
===================================================================
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©