-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 21APR *สารสมุนไพร (49), เลี้ยงมดแดง
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 21APR *สารสมุนไพร (49), เลี้ยงมดแดง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 21APR *สารสมุนไพร (49), เลี้ยงมดแดง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/04/2016 10:49 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 21APR *สารสมุนไพร (49), เลี้ยงมดแ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตทางรายการวิทยุ 21 APR

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)


----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

------------------------------------------------------------------------



สารสมุนไพร (49)

การทำ .... สมุนไพรกำจัดแมลงศัตรูพืช ! !

ยี่โถ :

ใช้ยี่โถ กำจัดด้วง แมลงปีกแข็ง มด และ แมลงปากกัด
ในเปลือกและเมล็ดของยี่โถจะมีสาร Glycocode neriodorin ซึ่งมีฤทธิ์ ในการกำจัดแมลง ปากกัดทุกประเภท มดชนิดต่างๆ ด้วง และ แมลงปีกแข็ง รวมทั้งหนอนกัดกินใบอีกหลายชนิด

การนำมาใช้ทางการเกษตร :
วิธีที่ 1 :
ให้นำดอกและใบยี่โถ 1 กก. มาบดให้ละเอียด นำไปแช่ในน้ำครึ่งปี๊บ นาน 2 วัน กรองเอากากออก แล้วนำน้ำกรองที่ได้ไปฉีดพ่นกำจัดแมลงและหนอนได้หลายชนิด
วิธีที่ 2 : นำใบและเปลือกไม้ยี่โถ ไปแช่น้ำอย่างน้อย 30 นาที แล้วนำน้ำแช่ที่ได้ไปฉีดพ่นมด และแมลงที่รบกวนในสวนไม้ผล
วิธีที่ 3 : นำใบยี่โถหั่นฝอย 30 กรัม นำมาคลุกเคล้ากับเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง 1 กก. จะทำให้เก็บเมล็ดถั่วเหลืองได้นานถึง 6 เดือน โดยไม่มีแมลงศัตรูในโรงเก็บเข้ารบกวน
-------------------------------------------------

ยูคาลิปตัส :

ใช้ ”ยูคาลิปตัส” กำจัดหนอน และแมลงวัน ป้องกันกำจัดศัตรูพืชประเภท ตัวหนอน และ แมลงวัน โดยใช้ในส่วนของ ใบ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงได้เป็นอย่างดี

การนำมาใช้ทางการเกษตร :
วิธีใช้ :
นำใบยูคาลิปตัสมาบดให้ละเอียด แล้วหมักกับน้ำ ในสัดส่วน ใบยูคาลิปตัส จำนวน 2 กิโลกรัม ต่อน้ำ 10 ลิตร หมักทิ้งไว้ 1 วัน แล้วกรองอาส่วนของสารละลายไปใช้ในการฉีดพ่น หรือ เทราดบริเวณที่มีหนอน หรือ แมลงวันเข้ามารบกวน
-------------------------------------------------

ประทัดจีน :

ใช้ประทัดจีน กำจัดเพลี้ยอ่อน หนอนผีเสื้อ และ ประทัดจีนมีฤทธิ์ในการป้องกันกำจัด เพลี้ยอ่อน หนอนใยผัก หนอนผีเสื้อ หนอนชอน ใบ หนอนแตงเทศ แมลงในแปลงผัก ด้วงเต่า และ ไรได้ผลดี มีสารคลาสซิน เป็นสารออกฤทธิ์ พบมากในส่วนของลำต้น ส่วนใบและรากจะมีสารชนิดนี้อยู่น้อย ซึ่งสารคลาสซินจะออกฤทธิ์แบบสัมผัสตาย และยับยั้งการทำงานของกระเพาะอาหาร หากแมลงกัดกินเข้าไป หากนำมาใช้ในการฆ่าตัวอ่อนของแมลงดังกล่าวจะให้ผลดีอย่างยิ่ง

การนำมาใช้เพื่อการเกษตร :
วิธีที่ 1 :
นำต้นประทัดจีนสดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ จำนวน 1 ขีด ไปต้มกับน้ำเปล่า จำนวน 1 ลิตร จนเดือดนาน 30 นาที จากนั้นกรองเอาน้ำต้มที่ได้พักไว้ให้เย็น ผสมกับน้ำสบู่เหลวจำนวน 30 กรัม แล้วนำไปผสมกับน้ำสะอาดจำนวนสามเท่าตัวให้เจือจาง ก่อนนำไปใช้ฉีดพ่นกำจัดแมลงในแปลงพืช

วิธีที่ 2 :
นำต้นประทัดจีนสดหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ จำนวน 5 ขีด น้ำสบู่เหลวจำนวน 5 ขีด และ น้ำเปล่าจำนวน 20 ลิตร ผสมเข้าด้วยกัน แช่ทิ้งไว้นาน 2 ชั่วโมง จากนั้นกรองเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำจำนวน 20 ลิตร ก่อนนำไปฉีดพ่น วิธีนี้จะได้สารละลายที่มีประสิทธิภาพต่อการกำจัดแมลงประเภทปากดูดโดยตรง โดยเฉพาะเพลี้ยอ่อนและมดดำ

วิธีที่ 3 :
นำต้นประทัดจีนสดหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ จำนวน 5 ขีด ต้มในน้ำเปล่าจำนวน 10 ลิตร ให้เดือดชั่วครู่ แล้วยกลง ตั้งทิ้งไว้ 1 วัน เมื่อครบกำหนดให้กรองเอากากทิ้ง แล้วนำน้ำสกัดที่ได้ไปละลายกับน้ำสบู่เหลว จำนวน 2 ขีด และ น้ำอีก 3 ลิตร แล้วเติมน้ำเปล่าเข้าไปเจือจางอีก ประมาณ 5 ปี๊บ ก่อนนำไปฉีดพ่นให้ทั่วแปลงพืช
-------------------------------------------------------

น้ำเต้า :

ใช้น้ำเต้า ในการป้องกันกำจัดเชื้อ ราดำ เพลี้ยแป้งในมะม่วง ถั่วฝักยาว และอื่นๆ โดยมีวิธีการนำมาใช้งาน ดังนี้
สูตรที่ 1 :
นำเอาเนื้อในผลแก่จัดของน้ำเต้าจำนวน 1 กิโลกรัม คั้นเอาเฉพาะน้ำ กรองด้วยตาข่ายเขียวและผ้าขาวบาง จากนั้นนำไปผสมกับน้ำเปล่าจำนวน 5 ลิตร นำไปใช้งานในอัตราส่วน 1 ลิตรผสมกับน้ำเปล่า 200 ลิตร ทำการฉีดพ่นเพื่อกำจัดราดำ และเพลี้ยในถั่วฝักยาว

สูตรที่ 2 :
นำน้ำผงซักฟอกที่ใช้ซักผ้า (น้ำแรก) จำนวน 10 ลิตร ผสมกับน้ำเปล่า 200 ลิตรนำไปฉีดพ่นในช่วงที่มีอากาศเย็น 1-2 ครั้ง สามารถกำจัดเพลี้ยแป้งได้

สูตรที่ 3 :
ใช้น้ำผงซักฟอกจำนวน 100 ซีซี. ผสมกับน้ำเปล่า 200 ลิตร แล้วนำไปผสมกับน้ำของน้ำเต้าที่กรองแล้วจำนวน 1 ลิตร สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดศัตรูพืชได้ดี

ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน คุณพ่อทอง สิงห์สุขุม ต.หนองพอก อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด
--------------------------------------------------------------------

จาก : (082) 627-15 xx
ข้อความ : ผู้พันครับ ขอวิธีเลี้ยงมดแดงในสวนมะม่วงด้วยครับ .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
- คำถามใหม่ คำตอบเก่า .... ที่นี่พืชอย่างเดียว เพราะมีแต่คนถามเรื่องพืช ทั้งๆ ที่ อยากพูด อยากนำเสนอ อยากส่งเสริม เรื่องเกษตรอื่นๆบ้าง แต่ไม่มีคนถามเลยไม่ได้พูด ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะ ครั้นจะพูดเรื่องที่ไม่มีคนถาม หรือเรื่องที่มีคนถามกลับไม่พูด มันก็ดูกระไรอยู่นะ ว่ามั้ย ....... (บ่น ตามประสาคนแก่)

- สวนมะม่วง ทำเลี้ยงมดแดงแฝงพวงมะม่วง เผลอๆ ไข่มดแดงขายเป็นของแถม
- มดแดงเป็นสัตว์สังคมชอบอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ๆ มีสังคมเชื่อมโยงกับรังข้างเคียง ชอบอยู่กับต้นไม้ใบกว้าง ลำไย ลองกอง เงาะ ชอบมะม่วงที่สุด เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มไม่เล็กจนเกินไป หรือให้มีแสงแดดส่องได้บ้างรำไรๆ ในต้นไม้ใหญ่ต้นเดียวอาจะมีมดแดงถึง 10-15 รัง เพราะถ้าไม้ผลัดใบมดจะย้ายรัง

- มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ถ้าไม่มีให้จัดหาน้ำใส่ภาชนะปากกว้างวางไว้ให้
- หากินไม่ไกลจากรังมากนัก
- ชอบเดินบนต้นไม้ กิ่งไม้ มากกว่าลงมาเดินบนพื้นดิน (ใช้เชือกผูกกิ่งไม้ให้ไต่)
- ใช้เวลาทำรัง 20-25 วัน
- หน้าฝนพื้นดินเปียกมดแดงไม่ชอบเดินทาง จึงควรมีอาหารวางไว้ให้ต้นไม้
- ห้ามก่อไฟโคนต้น ห้ามขี้เถ้าทาคนโต้น ห้ามใช้สารเคมีเด็ดขาด
- ป้องกันสัตว์อื่นเข้าไปกินอาหารมด
- ไม่ชอบมดชนิดอื่นและปลวกมาอยู่ใกล้

@@ อาหารมดแดง

- ปลาสด หอยเชอรี่ กุ้งฝอย เศษเนื้อสดทุกชนิด จิ้งจก ตุ๊กแก งูตาย หนอน แมลง สับละเอียด เศษอาหารเหลือจากคนกิน นมข้นหวาน .... มดแดงจะคาบอาหารไปเก็บในรังให้ลูกอ่อนกิน
- สูตรอาหารมดแดง ปลากระป๋อง 1 กระป๋อง น้ำตาลทรายแดงครึ่ง กก. บอแร็กซ์ 1 ช้อนชา น้ำส้มสายชู 1 ช้อนชา ขยำให้เข้ากันดี .... วางที่พื้นโคนต้น หรือคบไม้

@@ การเก็บไข่มดแดง

– มดแดงในแหล่งธรรมชาติเก็บไข่ได้ช่วงเดือน มี.ค. – เม.ย. ปีละ 1 ครั้ง แต่มดแดงที่เลี้ยงเก็บไข่ได้ตลอดปี รังใหญ่ๆ อาจได้ถึง 4-5 ขีด/รัง

- ใช้แป้งมันโรยที่กระด้ง ตัดรังมดแดงให้ตกลงบนกระด้ง ทำให้รังแตก มดแดงจะออกมาแล้วกลับขึ้นต้นไม้ ทิ้งไข้ไว้ในกระด้งให้เก็บ .... อย่าเก็บตัวแม่เป้ง (นางพญา) แต่ปล่อยให้กลับขึ้นต้นไม้ไป ให้สร้างครอบครัวใหม่

@@ การขยายพันธุ์

- เมื่อมดแดงกับแม่เป้งกลับขึ้นต้นไม้ไปแล้ว จัดการให้อาหารและน้ำเหมือนเดิม ไม่ช้าไม่นานมดแดงฝูงนั้นจะสร้างรังใหม่เอง
- การมีสภาพแวดล้อม อาหารและน้ำเหมาะสม มดแดงจะแยกวงไปสร้างรังใหม่เอง

@@ มดแดงกำจัดศัตรูพืช

– ที่ไร่กล้อมแกล้มไม่มีหนอน เพราะมดแดงทำรังเยอะมาก คอยจับหนอนกิน .... มดแดงมากนักก็จับโยนให้ปลากิน
– ป้องกันมดแดงขึ้นต้นไม้ ตัดกิ่งที่จะเป็นสะพานให้มดไต่ไปหาต้นอื่นก่อน แล้วใช้กาวเหนียว “มายฟิกซ์” ทาที่โคนต้น ทาครั้งหนึ่งอยู่ได้เป็นปี มดที่อยู่บนพื้นจะกลับขึ้นไปบนต้นไม่ได้ มดที่อยู่บนจะไต่ลงมาก็ไม่ได้ หนักๆเข้า มดบนต้นจะดิ่งพสุธาลงมาที่พื้น แล้วรวมกลุ่มกับพวกที่อยู่บนพื้น ย้ายไปอยู่ต้นอื่นแทน ....ไม่ต้องการให้มดขึ้นไม้ต้นไหน ก็ให้ตัดกิ่งสะพานกับใช้กาวเหนียวทาโคนต้น กับถ้าต้องการให้มดขึ้นต้นไหนก็ไม่ต้องทากาวเหนียว ไม่ต้องตัดสะพาน พร้อมกับเขียนป้ายบอก “ยินดีต้อนรับ” มดก็จะขึ้นไปเอง
----------------------------------------------------

เลี้ยงมดแดงอย่างมืออาชีพ

ปัจจุบัน “มดแดง” จัดเป็นแมลงเศรษฐกิจที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูง เนื่องจากตลาดมีความต้องการไข่มดแดงมากขึ้นอย่าง ต่อเนื่องและมีราคาค่อนข้าง แพง รศ.ดร.เดชา วิวัฒน์วิทยา จากภาควิชาวิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บอกถึงวิธีการเลี้ยงมดแดงดูเหมือนไม่ยุ่งยากเพียงแต่คอยให้อาหารและน้ำก็พอ แล้ว แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้วยังมี

ขั้นตอนต่าง ๆ อีกหลายประการที่ผู้เลี้ยงมดแดงจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตมดแดง ถึงจะสามารถทำให้การเลี้ยงประสบความสำเร็จ

สภาพพื้นที่ในการเลี้ยงมดแดงควรเป็นพื้นที่ราบและเปิดโล่ง มีต้นไม้ขนาดเหมาะสมคือไม่สูงและเล็ก (มีความสูงของต้นไม่เกิน 6 เมตร), เป็นไม้ยืนต้นที่ไม่ผลัดใบและมีเรือนยอดที่ไม่เบียดชิดหรือร่มทึบมากเกินไป จนแสงแดดส่องไม่ถึงพื้น เช่น มะม่วง ยอบ้าน หว้า ชมพู่ ส้มโอ จำปี เงาะลำไย ฯลฯ ควรเป็นพื้นที่ที่สามารถควบคุมได้หรือมีขอบเขตที่ชัดเจน เช่น ต้นไม้รอบบ้าน, ต้นไม้ในไร่ นาต่าง ๆ ฯลฯ ที่สำคัญควรมีแหล่งน้ำหรือใกล้แหล่งน้ำ

ในการเตรียมพื้นที่เลี้ยงมดแดงจะต้องมีการสำรวจและกำจัดศัตรูมดแดง ทำลายทางเดินของปลวกที่หุ้มลำต้น กำจัดวัชพืชรอบต้น ติดตั้งที่วางอาหารและแขวนที่ใส่น้ำสูงจากพื้นดินมากกว่า 1.50 เมตร ขึ้นไป (ขวดน้ำพลาสติกขนาดครึ่งลิตร) ตามลำต้นที่มีรัง นำมดแดงจำนวน 3-5 ตัว โดยใช้ไม้ให้มดแดงเกาะจากต้นหนึ่งไปปล่อยอีกต้นหนึ่ง บริเวณที่มีมดแดงเดินมากๆ ถ้ามดแดงกัดกัน แสดงว่าต่างอาณาจักรกัน แต่ละอาณาจักร และแต่ละต้นจะต้องทำเครื่องหมายให้ชัดเจนโดยใช้สีหรือตัวเลขกำกับ เช่น อาณาจักรที่ 1 ต้นที่ 1 อย่างนี้เป็นต้นจนครบทุกต้น

สำหรับพื้นที่ที่ไม่มีมดแดงอาศัยหรือมีต้นไม้ที่มีมดแดงอาศัยอยู่น้อย อาจจะทำได้โดยการนำรังมดแดงจากที่อื่นมาปล่อย แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ จะต้องแน่ใจว่ารังนั้นมีมดราชินี (มดราชินีเป็นมดขนาดใหญ่ที่สุด และมีตัวเดียวในรัง) วิธีการสังเกตว่าในรังมีมดราชินีหรือไม่ ให้ปล่อยเลี้ยงมดแดงไปประมาณ 1-2 เดือน ถ้าอาณาจักรล่มสลาย นั่นแสดงว่าไม่มีมดราชินีจะต้องไปหารังมดแดงมาปล่อยใหม่

มดแดงจะชอบกินอาหารสดมากกว่าอาหารสุกหรือแห้ง อาหารควรมีขนาดเล็กเพื่อความสะดวกและง่ายแก่การลากหรือคาบกลับรัง วางอาหารในภาชนะที่สร้างขึ้นหรือวางตามง่าม ต้นที่มีมดแดงเดินผ่าน แต่อย่าให้ถูกแสงแดด

ในการเก็บผลผลิตไข่มดแดงนั้นจะต้องเก็บให้ได้ผลผลิต คือ ตัวหนอน ดักแด้และแม่เป้งต่อรังให้มากที่สุด ใช้สวิงในการเก็บผลผลิตจะต้องไม่เก็บราชินีมดแดงและหลีกเลี่ยงการฆ่ามดแดง เมื่อเก็บได้แล้วต้องทำการแยกไข่มดแดง (ตัวหนอนและดักแด้) ใส่ถังน้ำ แล้วใช้ผ้าขาวบางหมุน มดงานและแม่เป้งจะติดกับผ้า ส่วนไข่มดแดงจะจมอยู่ก้นถัง

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลี้ยงมดแดง ติดต่อได้ที่ ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้โทร. 0-2579-0176.

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ
dailynews
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=5117.0
-----------------------------------------------------------------------

มดแดง :
แม่เป้งหรือนางพญา (Queen Caste)
มีรูปร่างขนาดใหญ่กว่ามดแดงธรรมดา มีขนาดเท่ากับตัวแตนหรือตัวต่อบางชนิด ลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล มีปีกสำหรับบิน มีหน้าที่ออกไข่คล้ายกับนางพญาผึ้ง เมื่อใดที่แม่เป้งเห็นว่าสภาพไม่เหมาะในการสร้างรังและวางไข่ แม่เป้งจะทิ้งรังเดิม แล้วบินไปหาแหล่งที่อยู่ใหม่ ที่มีน้ำ อาหารอุดมสมบูรณ์ ต้นไม้ที่มีใบดก เขียวชอุ่ม หนาทึบ และไม่มีศัตรูรบกวน

มดดำ หรือพ่อพญา หรือพ่อพันธุ์ (Male Caste) จะพบพ่อพญาในฤดูผสมพันธุ์ช่วงต้นฤดูฝน (เม.ย.- มิ.ย.) เนื่องจากพ่อพญาจะต้องผสมพันธุ์กับนางพญาหรือแม่เป้ง เพื่อให้แม่เป้งบินไปสร้างรังแล้ววางไข่ คล้ายการผสมพันธุ์ของผึ้ง เมื่อมดดำผสมพันธุ์กับแม่เป้งแล้ว ไม่นานก็จะตายจนกว่าจะถึงฤดูกาล มดดำจะถูกฟักออกมาอีกครั้ง มดดำจะมีปีกสำหรับบินได้ ลักษณะพิเศษนี้คล้ายแมลงเม่าของปลวก

มดแดงหรือมดงาน
คือ มดแดงที่พบเห็นกันโดยทั่วไป มีหน้าที่สร้างรัง หาอาหาร เลี้ยงดูตัวอ่อน ตลอดทั้งการป้องกันศัตรูผู้รุกราน มดแดงทุกตัวทำหน้าที่ทุกอย่างด้วยความขยันขันแข็งตลอดเวลา แม้ในเวลากลางคืน หากไม่มีอาหารที่สะสมไว้ในรัง มดแดงก็จะออกหาอาหาร โดยไม่หยุดพักผ่อนเลย

1. ไข่มาก
เป็นไข่ที่มีขนาดใหญ่กว่าไข่ธรรมดา สีขาว ใส สะอาด จะฟักออกมาเป็นแม่เป้ง หรือนางพญา สำหรับการออกไข่ขยายพันธุ์ จะมีมากในราว ม.ค. - เม.ย.

2. ไข่ฝาก
เป็นไข่ที่มีขนาดเล็ก ไม่โต ไม่เต่ง เหมือนไข่มาก จะฟักออกมาเป็นตัวมดแดงธรรมดา กลายเป็นมดงานซึ่งถือเป็นประชากรที่สำคัญมากในสังคมมดแดง หากมีประชา กรมดแดงมาก ย่อมหมายถึงการขยายประชากรเป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมดแดงหรือมดงานนี้ เป็นกำลังในการสร้างรัง หาอาหาร น้ำ เลี้ยงดูไข่หรือตัวอ่อน เพื่อให้เจริญเติบโตภายในเวลาอันรวดเร็ว

3. กระบวนการสร้างรังของมดแดง
มดแดงชอบทำรังอยู่ตามต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น ริมลำห้วย ลำธาร หนองน้ำ เนื่องจากมดแดงต้องการน้ำมาก เพื่อการดำรงชีวิต

ต้นไม้ที่มดแดงชอบทำรัง ได้แก่ ต้นไม้ที่มีใบอ่อน นุ่ม หนา ไม่ผลัดใบง่าย มีอัตราการคายน้ำ คายก๊าซออกซิเจนที่ดี เช่น ต้นหว้า ชมพู่ สะเม็ก มะม่วง ลำไย มะเฟือง มะไฟ ต้นจิก ต้นรัง ต้นพอก กะบก กะบาก เป็นต้น

ในฤดูฝน มดแดงจะสร้างรังอยู่ตามต้นไม้เล็กๆ ไม่สูงมากนักเนื่องจากการสร้างรังในที่สูง มดแดงจะประสบกับปัญหาจาก ลม ฝน พายุ ทำให้รังได้รับความเสียหาย จึงพากันสร้างรังขนาดเล็ก หลายๆ รัง ในที่ต่ำเกือบติดดิน เพื่อป้องกันความเสียหายดังกล่าว ดังนั้นหากมีใบของพืชประเภทไม้เลื้อย เช่น บวบ-ม้วนหมู-ตำลึง หรือไม้เถาพื้นบ้าน มดแดงจะสร้างรังอาศัยอยู่ทันที

อาหารของมดแดง

มดแดงชอบอาหารที่สะอาด ทั้งสดและแห้ง ที่สามารถจะกัด แทะได้ อาหารที่ชอบ คือ แมลง เศษอาหาร กระดูก ก้างปลา หัวปลา ปู กุ้ง จะคาบไปเก็บสะสมเอาไว้ในรัง ถ้าเป็นอาหารชิ้นใหญ่ที่ไม่สามารถจะคาบหรือ ลากไปเก็บในรังได้

การเตรียมสถานที่

ต้นไม้ที่มดแดงชอบสร้างรัง ได้แก่ ต้นไม้ที่มีใบหนา อ่อนนุ่ม เป็นมันวาว ใบดก ไม่ผลัดใบง่าย เช่น ต้นหว้า สะเม็ก ชมพู่ จิก รัง มะม่วง ลำไย เป็นต้น

การจัดทำที่ให้น้ำ ให้อาหารแก่มดแดง

น้ำมดแดงนั้นมีความสำคัญกว่าที่ให้อาหาร เนื่องจากมดแดงชอบกินน้ำมาก นำมาดัด แปลงตอกติดกับต้นไม้ สูงจากพื้นดินไม่เกิน 1.50 เมตร บรรจุน้ำ และนำกิ่งไม้หยั่งเอาไว้ มดแดงจะทยอยเดินทางมากินน้ำตลอดเวลา เมื่อเห็นว่าที่ให้น้ำมดแดงสกปรก ควรล้างทำความสะอาดอยู่เสมอ

การเลี้ยงมดแดงนอกฤดู

ติดสปริงเกอร์ ตลอดพื้นที่เลี้ยงมดแดง ฉีดน้ำในช่วงเดือน มี.ค. เพื่อหลอกว่าเป็นช่วงฤดูฝน พร้อมกับให้น้ำให้อาหารตามปกติ ประมาณ 1 เดือน ก็จะมีไข่มดแดงให้เก็บจำหน่ายได้

วิธีการสังเกตว่ามดแดงรังไหนมีไข่เก็บได้ ให้ดูจากรังว่าใหญ่อวบอ้วน มีใยสีขาวตามขอบรัง

http://tehcnic-framer2.blogspot.com/
http://www.qlf.or.th/Mobile/Details?contentId=694
นักวิชาการกะเทาะปัญหาโครงสร้างชาวนาไทย ทำนาแล้วไม่ได้นา
-----------------------------------------------------


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©