-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-เจาะบาดาล ไต้คลอง-ไต้แม่น้ำ-ไต้บึง-ฯลฯ .... สู้ภัยแล้ง
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เจาะบาดาล ไต้คลอง-ไต้แม่น้ำ-ไต้บึง-ฯลฯ .... สู้ภัยแล้ง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เจาะบาดาล ไต้คลอง-ไต้แม่น้ำ-ไต้บึง-ฯลฯ .... สู้ภัยแล้ง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/04/2016 6:55 pm    ชื่อกระทู้: เจาะบาดาล ไต้คลอง-ไต้แม่น้ำ-ไต้บึง-ฯลฯ .... สู้ภัยแล้ง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

งบแก้ภัยแล้งล่าสุด 2 ก.พ.59 ไม่มีงบฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด เพราะอะไร ?

วันที่ 22 มกราคม 2559 นายกฯ ลุงตู่เดินทางไปตรวจเยี่ยมราษฎรในจังหวัดชัยนาทและนครสวรรค์

ในวันที่ 22 นั้น นายกฯลุงตู่ ได้อนุมัติให้ช่วยเหลือชาวชัยนาท ด้วยการฟื้นฟูสระเก็บน้ำบ้านหนองดู่และได้รับปากกับชาวนครสวรรค์ว่า จะ “ฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด” ตามที่หอการค้าและชาวบ้านเรียกร้อง

ผมจำแม่น เพราะวันเสาร์ที่ 23 มกราคม ผมได้นำไปพูดในรายการคุยกันเพื่อบ้านเมืองที่ วิทยุเนชั่นและตั้งใจไว้ว่าจะติดตามเรื่องนี้เพื่อนำมารายงานให้ชาวนครสวรรค์และคนไทยทั้งประเทศรับทราบ ซึ่งว่าไปแล้วท่านเพิ่งพูดผ่านไปไม่ถึง 10 วันทำการผมยังไม่น่าจะรีบทวงถามเรื่องนี้จากท่านนะครับ

แต่ต้องตัดสินใจ “ทวงถาม” เพราะในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 2 ก.พ. 59 ที่ผ่านมานั้น ครม.ของท่านได้อัดเงินงบประมาณถึง 2,260 ล้านบาทให้กระทรวงเกษตรฯ นำไปแก้ปัญหาภัยแล้ง

ผมเห็นพาดหัวข่าว ครม.เทงบสู้ภัยแล้ง 2.2 พันล้านแล้ว ดีใจมาก รีบเข้าไปอ่านอย่างละเอียดทันที เพราะคิดว่าในข่าวนั้น คงจะมีแผนฟื้นฟูภัยแล้งจากบึงบอระเพ็ดรวมอยู่ด้วย แต่อนิจจา – ไม่มีเลย

ครม.อนุมัติเงิน 2,260 ล้านบาทให้กระทรวงเกษตรฯเข้าไปสนับสนุนการ

ปลูกพืชน้ำน้อย 27 จังหวัด เป็นเงิน 152 ล้านบาท ,
ด้านการเกษตรอื่น ๆ 58 จังหวัด 1,218 ล้านบาท
กิจการนอกภาคเกษตร 58 จังหวัด 521 ล้านบาท

งบบริหารโครงการของกระทรวงเกษตร 130 ล้าน มหาดไทย 89 ล้านบาท

กราบเรียนถาม นายกฯ ลุงตู่ครับ ท่านลืมบึงบอระเพ็ดที่ท่านรับปากชาวนครสวรรค์เสียแล้วหรือครับ ผมจำได้ท่านเคยพูดหลายครั้งหลายหนว่ารัฐบาลจะหาที่ดินสาธารณะในจังหวัดต่างๆ เพื่อขุดสระ แต่ไม่มีข้าราชการในกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงมหาดไทยสักคนเลยหรือ ที่รายงานให้ท่านทราบว่า วันนี้นอกจาก บึงบอระเพ็ด ในนครสวรรค์จะตื้นเขินแล้ว ยังมีหนองน้ำอีกหลายแห่ง แห้งขอดอยู่

วานนี้ คุณชัยวัฒน์ สิงหะ ช่างภาพหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ได้ถ่ายภาพมาให้ดูชื่อภาพ แก้มลิงแห้ง เป็นภาพ บึงระมาณ บึงขี้แร้ง และ ยึงตะเคร็ง เนื้อที่ 1,800 ไร่ ที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก แห้งสนิทครับ ผมนำเรื่องนี้มารายงานให้ท่านทราบ (ส่วนท่านจะทราบหรือไม่ก็แล้วแต่เวรแต่กรรม) เพราะอยากเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอเงินงบประมาณไปเพื่อการขุดลอกห้วย หนอง บึง นะครับ ไม่ใช่ขอเงินไปเพื่อพัฒนาอาชีพและอื่น ๆ เพราะนั่นไม่ใช่การช่วยเหลืออย่างถาวร แต่ช่วยชั่วคราว

อาชีพของเกษตรกร คือ ทำไร่ ทำนา ทำสวนที่ต้องใช้น้ำหากท่านไม่พัฒนาแหล่งน้ำให้ทุกอย่างก็จบ

พอเถอะครับท่าน กับการให้เงินชาวบ้านเพื่อให้ชาวบ้านเอาเงินไปซื้อสินค้าของนายทุนกลุ่มต่าง ๆ

ขอกราบเรียนท่านนายกฯลุงตู่ ไว้ตรงนี้ว่า ผมจะติดตามการพัฒนาแหล่งน้ำของท่านอย่างต่อเนื่อง

หากยังไม่เห็นรัฐบาลของท่าน อนุมัติเงินงบประมาณเพื่อการนี้ ผมก็จะทำหน้าที่ทวงถามไม่หยุด !

http://www.oknation.net/blog/netmom/2016/02/04/entry-3



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/05/2016 5:45 am, แก้ไขทั้งหมด 39 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/04/2016 7:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
แห้งหมด ! แหล่งน้ำพะเยาทั้งกว๊าน ทั้งอ่างน้ำน้อย .... ผู้ว่าฯ สั่งเร่งเจาะบาดาลสู้แล้ง

พะเยา - ผู้ว่าฯ พร้อมส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ยกคณะดูแหล่งเก็บน้ำพะเยา วางแผนรับมือผู้ว่าฯ พร้อมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องยกคณะดูแหล่งเก็บน้ำพะเยา วางแผนรับมือภัยแล้ง สั่งการประปาส่วนภูมิภาคฯ หาทางยืดระยะเวลาการจ่ายน้ำประชาชน พร้อมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจแหล่งน้ำบาดาล แก้ไขยามฉุกเฉิน

นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ติดตามดูระดับน้ำในแหล่งกักเก็บน้ำที่สำคัญของพะเยา ซึ่งประกอบด้วยอ่างเก็บน้ำแม่ปืม อ.แม่ใจ, กว๊านพะเยา และอ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ ต.แม่กา อ.เมืองพะเยา ซึ่งมีปริมาณน้ำน้อยมากจนอาจจะเกิดวิกฤตเนื่องจากภาวะภัยแล้ง และฝนทิ้งช่วงนาน ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำสำรองที่มีอยู่ทั้งการผลิตน้ำประปา และน้ำที่ใช้ในการเกษตร

นายศุภชัยระบุว่า สถานการณ์ภัยแล้งพะเยาค่อนข้างวิกฤต เนื่องจากปริมาณน้ำในแหล่งกักเก็บมีน้อย และอาจจะส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปา และน้ำการเกษตรได้ ดังนั้น วัดรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้เตรียมพร้อมที่จะรับสถานการณ์ โดยเฉพาะในช่วงของฤดูแล้งที่จะมาถึงนี้ ถ้าหากฝนไม่ตกลงมาก็อาจจะทำให้กระทบต่อการผลิตน้ำประปาที่ใช้บริโภคได้

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องหาแหล่งน้ำสำรองหนุนน้ำต้นทุนที่มีอยู่ โดยการขุดเจาะน้ำบาดาล ซึ่งได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอำเภอต่างๆ ให้สำรวจแหล่งน้ำของตนเอง รวมถึงแหล่งน้ำบาดาล ซึ่งจังหวัดพะเยาได้ขอให้ทางสำนักงานทรัพยากรน้ำบาดาลเขต 1 ลำปาง ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาสำรวจ เพื่อเร่งขุดเจาะน้ำบาดาลแก้ไขในภาวะฉุกเฉินก่อน

ขณะเดียวกัน ได้ให้ทางการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดพะเยาเร่งทำแผนการจ่ายน้ำประปาให้แก่ประชาชนเพื่อยืดระยะเวลาให้พ้นวิกฤตแล้ง ก่อนที่การขุดเจาะน้ำบาดาล รวมถึงแผนระยะยาวในการแก้วิกฤตแล้งจะแล้วเสร็จ

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำในพื้นที่จังหวัดพะเยา พบว่ามีปริมาณน้ำที่สามารถใช้การได้น้อยมาก โดยอ่างเก็บน้ำแม่ปืม อ.แม่ใจ สามารถกักเก็บน้ำได้ 43,000,000 ลูกบาศก์เมตร แต่ปัจจุบันมีน้ำอยู่ที่ 7.8 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 18.51, อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ กักเก็บน้ำได้ 37 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันมีน้ำอยู่ที่ 19.2 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 53.59

ขณะที่กว๊านพะเยาสามารถกักเก็บน้ำได้ 33 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ปัจจุบันเหลือน้ำอยู่เพียง 16.37 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 48.43

ขณะที่ปีที่ผ่านมาในแหล่งเก็บน้ำสำคัญของจังหวัดพะเยาทั้ง 3 แห่งนี้สามารถกักเก็บน้ำได้มากกว่า 100% แทบทุกแห่ง และมีตกมากถึง 1,600 มิลลิเมตร

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9580000114035



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/04/2016 7:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
กรมชลฯ เตรียมแผนผันน้ำโขงบรรเทาภัยแล้ง

กรมชลประทานเดินหน้าผันน้ำโขงช่วยบรรเทาวิกฤตภัยแล้ง ตามมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ กนช.เร่งสร้างพนังกั้นน้ำ ตลอดแนวลำน้ำห้วยหลวง เพื่อผันน้ำโขงเข้าเขื่อนอุบลรัตน์

เส้นทางผันแม่น้ำโขงเข้าสู่เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ระยะทางกว่า 250 กิโลเมตร โดยจุดเริ่มต้นผันน้ำโขงจะเข้าสู่ลำห้วยหลวง อ.โพนพิศัย จ.หนองคาย แล้วสูบไปยังแม่น้ำสงคราม เข้าสู่ลำน้ำหนองหาร-กุมภวาปี และแม่น้ำลำปาว ก่อนจะผันน้ำไปเก็บไว้ในเขื่อนอุบลรัตน์ เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรรม 1.3 ล้านไร่ ในพื้นที่ 5 จังหวัด ประกอบด้วยหนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ และกาฬสินธุ์

ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน บอกว่า จะเร่งสร้างพนังกั้นน้ำและประตูระบายน้ำ ตลอดแนวลำน้ำห้วยหลวงตอนล่าง ความยาว 80 กิโลเมตรให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน เพื่อผันน้ำได้ ซึ่งได้ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2545 แล้วเสร็จกว่าร้อยละ 70 โดยไม่ต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการลุ่มน้ำโขง เพียงแจ้งให้ทราบเพราะใช้เพื่อช่วยบรรเทาภัยแล้ง

ส่วนการผันน้ำจากแม่น้ำสาละวิน โดยดึงน้ำจากแม่น้ำยวม เพื่อเพิ่มน้ำในเขื่อนภูมิพล ซึ่งศึกษามาแล้วกว่า 10 ปี แต่หลังจากนี้ต้องใช้เวลาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 ปี 6 เดือน เพื่อศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA การเลือกใช้เทคนิคที่เหมาะสมและทำความเข้าใจกับประเทศเพื่อนบ้าน ก่อนสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และตัวอุโมงค์ผันน้ำเข้าเขื่อนภูมิพลได้


http://www.krobkruakao.com



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/04/2016 7:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ลำตะคอง สันดอนทรายโผล่หลายจุด ปลาซักเกอร์ตายเกลื่อน

ภัยแล้งโคราชทวีความรุนแรง ขยายวงกว้าง ขณะที่ตลอดลำน้ำลำตะคอง น้ำลดฮวบจนเห็นสันทรายโผล่หลายจุด ปลาซักเกอร์นอนตายอื้อ ส่วนน้ำในเขื่อนลำตะคอง แม้ต่ำกว่าเกณฑ์ แต่ยังมีการส่งไปทำประปา วันละ 432,000 ลูกบาศก์เมตร ...

เมื่อช่วงเที่ยง วันที่ 19 มีนาคม นายสุทธิโรจน์ กองแก้ว ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง เปิดเผยถึงสถานการณ์ปริมาณน้ำที่เหลือใช้ ภายในเขื่อนลำตะคอง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ว่า ปริมาณน้ำล่าสุดขณะนี้อยู่ที่ 73 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 23 เปอร์เซ็นต์ ของความจุกักเก็บทั้งสิ้น 314.49 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งปริมาณน้ำที่เหลืออยู่ภายในเขื่อนลำตะคองถือได้ว่าเป็นปริมาณน้ำที่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่คาดการณ์ไว้

สันดอนทรายโผล่หลายจุด เนื่องจากระดับน้ำลดลง

อย่างไรก็ตาม ทางเขื่อนลำตะคอง ยังคงต้องมีการจัดส่งน้ำออกไปให้โรงประปาในพื้นที่ท้ายเขื่อนกว่า 100 แห่ง ในการผลิตน้ำอุปโภคบริโภคในเขตพื้นที่ 5 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอสีคิ้ว, อำเภอสูงเนิน ,อำเภอขามทะเลสอ, อำเภอเมืองนครราชสีมา และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ เฉลี่ยอยู่ที่วันละ 5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือประมาณวันละ 432,000 ลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ ปริมาณน้ำที่ได้มีการจัดส่งออกไปนั้นได้เป็นไปตามแผนบริหารจัดการระยะที่ 8 ที่ได้มีมติในที่ประชุมกับกลุ่ม JMC ในลุ่มน้ำลำตะคอง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธาน

ทั้งนี้ สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ยังคงทวีความรุนแรงและขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้ปริมาณน้ำภายในแหล่งน้ำและตามลำน้ำในพื้นที่ต่างๆ มีปริมาณน้ำที่ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สุดท้ายของลำน้ำลำตะคอง ก่อนที่จะเชื่อมเข้ากับลำน้ำมูลที่มีปริมาณน้ำที่ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว จนทำให้สภาพตามลำน้ำลำตะคองตลอดสายเริ่มที่จะเห็นสันทรายโผล่ขึ้นมาหลายแห่ง โดยเฉพาะที่บริเวณลำน้ำลำตะคอง บ้านด่านท่าแดง หมู่ที่ 6 ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ปริมาณน้ำภายในลำน้ำนั้นมีปริมาณที่ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่เคยมีน้ำเต็มลำคลองและมีความกว้างกว่า 10 เมตร

ล่าสุด ปริมาณน้ำลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องทำให้ลำน้ำลำตะคองเหลือความกว้างเพียงเล็กน้อย จนชาวบ้านสามารถเดินข้ามไปมาได้ นอกจากนั้น ยังพบว่าบริเวณสันทรายที่โผล่ขึ้นมาตามจุดต่างๆ ได้มีฝูงปลาซักเกอร์ ซึ่งเป็นปลาที่มีความอดทนสูง และสามารถปรับเปลี่ยนเข้ากับสภาพอากาศต่างๆ ได้ดี ได้นอนเกยตื้นตายอยู่ตามสันทรายที่โผล่ขึ้นมาอยู่เป็นจำนวนมาก.


http://www.thairath.co.th/content/593264



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/04/2016 6:57 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
อ่างเก็บน้ำ 16 แห่งศรีสะเกษยังไม่พ้นวิกฤตแล้ง วอน ปชช.ใช้น้ำอย่างประหยัด

ศรีสะเกษ - สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำของจังหวัดศรีสะเกษยังมีระดับต่ำ เผยปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั้ง 16 แห่งมีปริมาณน้ำรวม 58.5 เปอร์เซ็นต์ ยังไม่พ้นสภาวะวิกฤตแล้ง ทั้งยังต้องปล่อยน้ำหล่อเลี้ยงนาข้าวเกษตรกร วอนประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำในจังหวัดศรีสะเกษน่าห่วง หลังผลสำรวจปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำหลายแห่งมีปริมาณน้ำน้อยเกินคาด ทั้งที่ใกล้จะหมดหน้าฝนปีนี้แล้ว โดยที่อ่างเก็บน้ำห้วยศาลา ต.โคกตาล อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ปรากฏว่าขณะนี้ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำยังมีระดับที่ต่ำมาก แม้ว่าห้วงที่ผ่านมาจะมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ทำให้ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำแห่งนี้สูงขึ้นมากนัก

ขณะเดียวกัน ที่อ่างเก็บน้ำห้วยติ๊กชู ต.ห้วยติ๊กชู อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ติดชายแดนไทย-กัมพูชา ระดับน้ำสูงขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย มีชาวศรีสะเกษพากันมาเล่นน้ำคลายร้อนกันอย่างสนุกสนานท่ามกลางสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อนจัด

นายจำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ กล่าวว่า ขณะนี้อ่างเก็บน้ำทั้ง 16 แห่งของจังหวัดศรีสะเกษนั้นระดับน้ำยังคงต่ำมาก เฉลี่ยแล้วระดับน้ำของอ่างเก็บน้ำทั้ง 16 แห่งมีอยู่เพียง 58.5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ถือว่ายังไม่พ้นจากสภาวะวิกฤตของภัยแล้ง อีกทั้งขณะนี้มีการปล่อยน้ำเพื่อไปหล่อเลี้ยงต้นข้าวในนาข้าวของเกษตรกรที่อยู่ในเขตบริการของชลประทาน ทำให้ระดับน้ำในอ่างทุกแห่งลดลงเรื่อยๆ

“อยากฝากไปถึงประชาชนชาว จ.ศรีสะเกษ ว่าขอให้ช่วยกันใช้น้ำอย่างประหยัด และใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะหากไม่ช่วยกันประหยัดน้ำ อาจจะทำให้มีผลกระทบต่อปริมาณน้ำอุปโภคบริโภค ไม่พ้นฤดูแล้งนี้ก็อาจเป็นได้”


http://www.thaiday.com/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9580000103046&Html=1&TabID=3&



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/04/2016 7:13 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
แล้งวิกฤติหนัก ชาวบ้านจับปลาบึกน้ำหนักกว่า 80 โลฯ ขึ้นมาขาย

แล้งวิกฤติหนัก ชาวบ้านตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ลงจับปลาบึกในอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ น้ำหนักตัวกว่า 80 กิโลฯ หลังเลี้ยงมาร่วม 10 ปี นำขึ้นมาขายนำเงินเข้ากองทุนหมู่บ้าน หลังคณะกรรมการหมู่บ้านมีมติให้ช่วยกันจับ เผยปีนี้น้ำแห้งทิ้งไว้ไม่รอดแน่

วันที่ 7 เม.ย.59 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่โลกโซเชียลมีเดีย ได้มีการแชร์ภาพจากเพจสมาชิกในเฟสบุค ที่ใช้ชื่อว่า CMTT – รีวิวเชียงใหม่ ที่เป็นภาพเหตุการณ์ชาวบ้านและประชาชนในพื้นที่กำลังลงไปช่วยกันจับปลาบึกขนาดใหญ่ แล้วช่วยกันหามขึ้นหลังรถกระบะ โดยระบุข้อความในเพ็จว่า “ภาพล่าสุดเช้านี้ที่อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ 80 กว่ากิโล ปีนี้ไม่รอดแล้ว อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ จ.เชียงใหม่ถามชาวบ้านมา น้ำมันแห้งปล่อยไว้ก็ตาย ไม่มีที่เลี้ยง ขายเป็นเงินหมู่บ้าน

หนูเป็น น.ศ. เรียนสาขาประมงเลยสนใจ ขับรถผ่านไปเจอเลยลงไปถาม ไปช่วย ซึ่งเมื่อภาพดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไปก็มีคนในโลกออนไลน์ให้ความสนใจติดตามและวิพากษ์วิจารณ์ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยสาเหตุมาจากภัยแล้งที่คุกคามอย่างหนักในหลายพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ จนส่งผลให้ปริมาณน้ำในหลายพื้นที่ทั้งแม่น้ำสายหลักรวมไปถึงอ่างเก็บน้ำ และลำคลองเริ่มแห้งขอดจนส่งผลกระทบกับความเป็นอยู่ของชาวบ้านดังภาพที่เห็นดังกล่าว

ทั้งนี้ภายหลังทราบเรื่องดังกล่าว ทางผู้สื่อข่าวจึงได้ดำเนินการตรวจสอบก็ทราบว่า ภาพเหตุการณ์ที่ถูกแชร์กันในโลกออนไลน์นั้นเป็นภาพที่ถูกถ่ายบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านโปง ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยอ่างเก็บแห่งนี้ก่อนเคยเป็นจุดที่มีทั้งชาวบ้านในพื้นที่และผู้ที่อยู่ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ขณะเดียวกันจากการสอบถามชาวบ้านในพื้นที่ ได้ยืนยันว่าเหตุการณ์ที่ปรากฎในภาพนั้นเกิดขึ้นจริง สาเหตุเนื่องมาจาก ปีนี้แล้งจัดมากๆ ซึ่งการจับปลาบึกในครั้งนี้น่าจะเป็นการจับที่ง่ายที่สุดเท่าที่เคยทำมา เนื่องจากไม่ต้องออกแรงนั่งเรือ เพียงแค่เดินลงไปก็สามารถจับปลาได้แล้ว โดยปลาบึกที่จับขึ้นมาเหล่านนี้เป็นปลาที่ชาวบ้านได้เลี้ยงกันมาหลายปี เพราะถูกผลกระทบจากน้ำที่แห้งขอด และถือว่าภัยแล้งในครั้งนี้เป็นวิกฤติที่หนักที่สุดในรอบ 30 ปี

ขณะเดียวกันที่ผ่านมาเมื่อถึงช่วงฤดูแล้ง อ่างเก็บน้ำจุดนี้ยังพอมีน้ำเหลือให้ได้ใช้ประโยชน์อยู่บ้าง แต่พอมาปีนี้กลับพบว่ามีปริมาณน้ำน้อยมากและแล้งที่สุดในปีนี้ โดยกลุ่มผู้ที่ดำเนินการจับปลาออกจากอ่างคือกลุ่มคณะกรรมการหมู่บ้านและกลุ่ม ชรบ.ที่ช่วยกันร่วมกับชาวบ้าน นำปลาออกจากอ่างเก็บน้ำเพื่อนำไปขาย แล้วก็นำเงินที่ได้เข้ามาเป็นงบประมาณกองทุนหมู่บ้าน โดยการนำปลาออกไปขายก็มีคนสนใจซื้อไป สาเหตุที่ต้องทำเช่นนี้เนื่องจากหากทิ้งไว้ก็เกรงจะมีคนอื่นมาจับไป ทำให้ไม่เกิดประโยชน์ ครั้นจะทำการประมูลก็เป็นเงินไม่ถึงหลักแสนจึงตกลงกันว่าจับไปขายเป็นทางออกที่ดีที่สุด

สำหรับอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้แห่งนี้จริงๆ แล้วจะเปิดให้สามารถจับสัตว์น้ำได้ปีละครั้งเท่านั้น เพื่อนำรายได้มาเข้ากองทุนชุมชน แต่ในครั้งนี้จากการที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ส่งผลให้น้ำลดลงไปอยู่ระดับตื้นเขิน 10 กว่าปีที่เลี้ยงปลาบึกเหล่านี้มาจึงทำให้ปลาได้รับผลกระทบ เนื่องจากน้ำแห้งเกินไปจึงทำให้ปลาอยู่ไม่ได้หากปล่อยไว้ก็ตาย ทางคณะกรรมการหมู่บ้านจึงลงความเห็นและมีมติให้ทำการจับปลาไปขายหาเงินเข้ากองทุนหมู่บ้านเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป


(ขอบคุณภาพจาก : CMTT – รีวิวเชียงใหม่,‏@k_kanggg)
http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/472760



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/04/2016 7:23 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
มหาสารคาม - ภัยแล้งในจังหวัดมหาสารคามขยายวงกว้างออกไปอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด น้ำในอ่างเก็บน้ำทั้ง 17 แห่งของจังหวัดมหาสารคาม มีน้ำเหลือเพียงร้อยละ 26 คาดสถานการณ์จะยิ่งรุนแรงมากยิ่งขึ้น

นายสิทธิพล เสงี่ยม หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามขยายวงกว้างออกไปทุกพื้นที่ทั้ง 13 อำเภอ มี 9 อำเภอที่ประสบกับภัยแล้งรุนแรง ประกอบด้วย อำเภอวาปีปทุม พยัคฆภูมิพิสัย โกสุมพิสัย ชื่นชม กุดรัง ยางสีสุราช นาเชือก นาดูน และอำเภอบรบือ

ส่วนภาพรวมสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั้ง 17 แห่งพบว่า ปริมาณน้ำเหลือเพียงร้อยละ 26 ของปริมาณความจุอ่าง 81.42 ล้านลูกบาศก์เมตร ในจำนวนนี้มีอ่างเก็บน้ำจำนวน 7 อ่าง ที่มีปริมาณน้ำเก็บกักไม่ถึง 20% ประกอบด้วย

อ่างเก็บน้ำหนองกระทุ่ม อำเภอเมือง
อ่างเก็บน้ำหนองเทวราช อำเภอเชียงยืน
อ่างเก็บน้ำห้วยประดู่ ห้วยเชียงคำ เอกสัตย์สุนทร หนองคูขาด อ.บรบือ และ
อ่างเก็บน้ำห้วยค้อ อำเภอนาเชือก

ซึ่งคาดว่าสถานการณ์ภัยแล้งจะรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในช่วงเดือนเมษายน ประชาชนควรเก็บน้ำไว้สำหรับอุปโภคบริโภค และไม่ควรปลูกพืชทุกชนิด

http://manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?
NewsID=9560000038589



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/04/2016 7:25 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.


เอาหลักการนี้มาใช้.....?

คลิก
http://www.nationtv.tv/main/content/social/378496415/
"เดินเครื่องสูบน้ำ ใต้ดินไต้บึง ขึ้นมาเติมบึง บึงสีไฟ"


ทำไปเลย เจาะบาดาลแหล่งน้ำละ 20 จุด
ระดมสูบน้ำตลอด 24ชม. นาน 100วัน
งบประมาณ 10ล้าน คุ้มเกินคุ้มสำหรับประชาชน

คลิก
http://www.nationtv.tv/main/content/social/378496415/
"เดินเครื่องสูบน้ำใต้ดินไต้บึง ขึ้นมาเติมบึง บึงสีไฟ"

เชื่อมั้ยสิบล้าน....
คอร์รัปชั่น/คอมมิชชั่น/เปอร์เซ็นต์/เค้ก/ไต้โต๊ะ/ไต้เตียง/ฯลฯ
ก็มี นะ จะ บอก ให้







.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/04/2016 1:45 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/04/2016 7:55 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ชาวนานครพนมกำลังจะเก็บเกี่ยวข้าว ลงทุนเจาะน้ำบาดาลเอง เพื่อสูบน้ำรดให้ความชุ่มชื้น เพื่อยืดอายุนาข้าว ให้ได้เก็บเกี่ยว

สถานการณ์ภัยแล้งส่อวิกฤติรุนแรงขยายวงกว้าง หลังฝนทิ้งช่วงมาเดือนกว่า ทำให้ปริมาณน้ำตามอ่างเก็บน้ำต่างๆ แห้งขอดส่งผลกระทบพื้นที่นา ที่ชาวบ้านรอเก็บเกี่ยว เริ่มขาดน้ำเหี่ยวแห้ง เมล็ดข้าวลีบ บางต้นยืนต้นตาย โดยเฉพาะพื้นที่ บ้านนางัว หมู่ 1, 2 ต.นางัว อ.นาหว้า จ.นครพนม พื้นที่นาทั้งหมดกว่า 110,000 ไร่ คาดเสียหายพื้นที่ 3,000–4,000 ไร่ กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากปัญหาฝนทิ้งช่วง ซึ่งพื้นที่นากำลังออกรวง ชาวบ้านรอเก็บเกี่ยวแต่ขาดน้ำ ทำให้ ต้นข้าวลำต้นแห้งกรอบ เมล็ดรีบ บางต้นยืนต้นตาย เพราะขาดน้ำ

นายสงวน วะเศษสร้อย อายุ 44 ปี กล่าวว่า ทำนา 20 ไร่ ฝนทิ้งช่วงนานกว่า 2 เดือน นาข้าวที่กำลังรอเก็บเกี่ยว ต้นข้าวแห้ง กรอบ เมล็ดข้าวลีบ ยืนต้นตายเกือบทั้งหมด จึงเสียดายได้แต่ปล่อยให้วัวลงไปกินข้าว อีกส่วนที่ยังพอจะเก็บเกี่ยวได้ต้องสูบน้ำบาดาลต่อท่อยาวกว่า 100 เมตร ใช้น้ำมันวันละ 100-200 บาท วันละ 8-10 ชั่วโมง นานกว่า 1 เดือน รดน้ำให้ความชุ่มชื่น เพื่อประทังต้นข้าวที่ออกรวงหวังจะได้เก็บเกี่ยวไว้กินหลังหมดฤดูทำนา

นายคำเพอ นาโควงค์ อายุ 59 ปี ประธานบ้านนางัว หมู่ที่ 2 กล่าวว่า ตนทำนา 20 ไร่ ซึ่งเป็นความหวังของครอบครัวเพื่อจะได้ข้าวเก็บไว้กินหลังฤดูทำนา ตนจึงลงทุนเจาะน้ำบาดาลไว้ใกล้ที่นา 2 บ่อ ลงทุนไป กว่า 20,000 บาท พร้อมต่อท่อสูบน้ำใส่ต้นข้าวที่กำลังออกรวง ต่อสายยางยาวกว่า 200 เมตร เข้ารดที่นา เพื่อยืดอายุต้นข้าวที่กำลังออกรวงรอจะเก็บเกี่ยว วันละ 10-12 ชม. ทำมากว่า1เดือน วันเสียค่าน้ำมัน วันละ 100 บาท โดยต่อเข้ากับรถไถนา หวั่นเกรงจะไม่ได้ข้าวในปีนี้

จังหวัดนครพนม ได้ประสานหน่วยงานเกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลงพื้นที่ตรวจสอบหาทางช่วยเหลือเร่งด่วน ซึ่งคาดว่าปีนี้จะมีพื้นที่การเกษตรนาข้าว ได้รับผลกระทบจำนวนมาก และเสียหายอย่างหนัก เนื่องจากฝนหมดเร็วกว่าทุกปี ซึ่งทางจังหวัดนครพนม ได้ประกาศเตือนให้เกษตรกร งดทำการเกษตร และปลูกข้าว นอกเขตชลประทาน หันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแทน

http://www.bangkokbiznews.com/mobile/view/news/673616
---------------------------------------------------------------------


ชาวนาอุบลฯ เจาะบ่อบาดาลสูบน้ำรดผลผลิตสู้ภัยแล้ง


อุบลราชธานี - ชาวนาพื้นที่ดอน จังหวัดอุบลราชธานี ใช้เงินโครงการพัฒนาตำบลละ 1 ล้านบาท เจาะบ่อน้ำบาดาลใช้สู้ภัยแล้ง ไม่ให้ผลผลิตแห้งตายจากการขาดแคลนน้ำฝนมานานกว่า 1 เดือน คาดอนาคตสามารถใช้แก้ปัญหาภัยแล้งได้ระยะยาวด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์ภัยแล้งที่จังหวัดอุบลราชธานี ว่า วันนี้ ชาวบ้านหนองมะนาว ต.ขามใหญ่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ได้ช่วยกันนำเครื่องขุดเจาะบ่อบาดาลขุดเจาะหาน้ำเพื่อนำมารดผลผลิตที่กำลังขาดแคลนจากฝนทิ้งช่วง โดยใช้งบประมาณการขุดเจาะจากโครงการเงินอุดหนุนตำบลละ 1 ล้านบาท จำนวน 20 บ่อ ความลึกไม่เกิน 15 เมตร และมีน้ำสามารถใช้รดผลผลิตได้ประมาณ 10 ไร่ต่อ 1 บ่อ

นายธวัชชัย สายแวว ผู้ใหญ่บ้านหนองมะนาว กล่าวว่า สำหรับพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้านหนองมะนาว ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ดอน ต้องอาศัยน้ำจากน้ำฝนเพียงอย่างเดียว เมื่อเกิดสถานการณ์ภัยแล้ง และมีฝนทิ้งช่วง ทำให้ต้นข้าว และผลผลิตอื่นๆ ขาดแคลนน้ำ จึงต้องเจาะบ่อบาดดาลนำน้ำมาใช้รดผลผลิตไม่ให้ผลผลิตตายจากการขาดแคลนน้ำในขณะนี้

สำหรับโครงการขุดบ่อบาดาลเป็นการรวมกลุ่มของเกษตรกรที่มีความต้องการมีบ่อบาดาลไว้สูบน้ำรดผลผลิต โดยเกษตรกรที่ต้องการขุดบ่อเป็นผู้ออกค่าวัสดุอุปกรณ์ ส่วนโครงการเป็นผู้นำเครื่องมาขุดเจาะบ่อบาดาลให้

โดยตำบลขามใหญ่ จำนวน 26 หมู่บ้าน มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลทั้งสิ้นประมาณ 150 บ่อ เพื่อใช้แก้ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นขณะนี้ และในอนาคตด้วย

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9580000072747
----------------------------------------------------------------------


ชาวนา จ.โคราช ลงทุนขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อทำการเกษตร แก้ปัญหาภัยแล้ง หลังแหล่งน้ำธรรมชาติแห้งขอด


หลังจากที่ จังหวัดนครราชสีมา ได้ประกาศพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งแล้ว 10 อำเภอ โดยเฉพาะ อำเภอคง ซึ่งเป็นหนึ่งใน 10 อำเภอ ที่ถูกประกาศพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง เนื่องจากอยู่ห่างไกลจากอ่างเก็บน้ำหลักของจังหวัด ส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่ต้องหาขุดเจาะน้ำบาดาล เพื่อมาทำการเกษตรแทนน้ำในคลองธรรมชาติ เช่น

นายสมบูรณ์ นิ่มดี อายุ 64 ปี เกษตรกรบ้านตาจั่นนอก หมู่ 2 ต.ตาจั่น อ.คง ที่สูบน้ำบาดาลมาใช้ในที่นาประมาณ 30 ไร่ โดย นายสมบูรณ์ เปิดเผยว่า

ปัจจุบันพื้นที่บริเวณนี้ ไม่มีน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติเหลืออยู่ แม้แต่คลองที่รัฐบาลลงทุนขุดไว้สำหรับกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้ช่วงหน้าแล้ง น้ำก็แห้งไปทั้งหมด ทำให้ชาวบ้านไม่มีน้ำสำหรับทำการเกษตร หลายรายจึงปล่อยที่ดินทิ้งไว้ให้ว่างเปล่า ขณะที่บางรายก็พยายามขุดเจาะน้ำบาดาลมาใช้ ก็ไม่เป็นผล

ทั้งนี้ ตนได้ลงทุนกว่า 15,000 บาท เพื่อจ้างช่างมาขุดเจาะน้ำบาดาลเช่นกัน ซึ่งโชคดีที่ขุดเจอตาน้ำพอดี จึงทำให้สามารถสูบน้ำมาทำการเกษตรได้

ดังนั้น วันนี้จึงได้เร่งสูบน้ำใส่ที่นาซึ่งได้ทำการปรับไถไว้แล้วประมาณ 30 ไร่ เพื่อเตรียมเพาะปลูกพืชอายุสั้นหลายชนิด เช่น อ้อย, กระเทียม, ถั่วลิสง, หอม และพริก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าช่วงฤดูแล้งนี้ จะมีน้ำใช้ทำการเกษตรจนสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทั้งหมด หลังจากช่วงฤดูฝนก็จะกลับมาปลูกข้าวตามปกติ

http://www.innnews.co.th
---------------------------------------------------------------------


ข้าวขาดน้ำใกล้ตาย ชาวนาอ่างทอง เจาะบาดาลสู้แล้ง


ชาวนา จ.อ่างทอง เจาะบาดาลสู้ภัยแล้ง หลังข้าวกำลังออกรวง แห้งเหี่ยว ใกล้ตาย เสี่ยงลงทุน ชาวนาโอดถ้าไม่ทำนาจะไปทำอะไรกิน บางส่วนยอมแพ้ หลังเงินทุนเริ่มหมด-เจาะบาดาลไม่ขึ้น

เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 58 ชาวนาในทุ่ง หมู่ 2 ต.ตลาดใหม่ อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ต่างเร่งขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อนำมาหล่อเลี้ยงต้นข้าวในแปลงนา ที่กำลังออกรวงแห้งเหี่ยวไร้น้ำมานานใกล้ตาย หลังชลประทานชะลอการจ่ายน้ำ เกิดภาวะแล้งขยายวงกว้าง น้ำต้นทุนในเขื่อนเหลือน้อย ครม.ห้ามสูบน้ำเพื่อทำการเกษตร ใช้เพียงอุปโภคบริโภค ชาวนาจึงเร่งจุดเจาะบ่อบาดาลพร้อมทำความสะอาดเป่าล้างท่อบาดาลสำหรับเตรียมสูบน้ำ มีบางรายที่ต้องยอมแพ้ปล่อยข้าวตายไปเลยโดยรอความหวังเพียงน้ำฝน เนื่องจากในที่นาเจาะบาดาลไม่ขึ้นและบางส่วนไม่มีเงินลงทุนเพิ่ม จำต้องยอมปล่อยให้ข้าวยืนต้นตาย ยอมขาดทุน ถึงแม้จะใกล้เก็บเกี่ยวผลผลิตก็ตาม

ชาวบ้านเร่งเจาะบาดาล เพื่อหาน้ำมาช่วยต้นข้าว ที่กำลังแห้งตาย :

นายฉลวย ทองโอภาส อายุ 76 ปี ชาวนาบ้านเลขที่ 81/1 หมู่ 4 ต.ตลาดใหม่ กล่าวว่า ตนเองทำนาจำนวน 10 ไร่ เนื่องจากข้าวที่กำลังออกรวงขาดน้ำมานาน ทำให้รวงข้าวเริ่มลีบแห้งเหี่ยว หากปล่อยไว้นานอาจทำให้เสียหายทั้งหมด จึงต้องลงทุนจ้างขุดเจาะบ่อบาดาล จำนวน 2 บ่อ รวม 40,000 บาท เนื่องจากน้ำที่สูบขึ้นมาน้อย จำต้องเสี่ยงลงทุน เนื่องจากทำมาใกล้เก็บเกี่ยวหากได้ผลผลิตก็พอมีรายได้เลี้ยงครอบครัว เผย ชาวนาหากไม่ทำนาก็ไม่รู้จะทำอะไร

ต้นข้าวรอน้ำ ก่อนยืนต้นตาย :
ด้านนายคำรณ พูลประพันธุ์ อายุ 52 ปี ชาวนา บ้านเลขที่ 105/2 หมู่ 2 ต.ตลาดใหม่ ทำนาจำนวน 30 ไร่ ลงทุนไปแล้วกว่าแสนบาท ยอมลงทุนเจาะบ่อบาดาลจำนวน 1 บ่อ ราคา 25,000 บาท หลังลงทุนปลูกข้าวไปแล้ว กว่าแสนบาท ถ้าไม่ลงทุนเจาะบ่อบาดาลข้าวในนาที่กำลังตั้งท้องคงตาย และเป็นหนี้เพิ่มขึ้น หลังเจาะบ่อบาดาลสู้ภัยแล้งก็ได้ทุนคืนมาบ้าง ยังดีกว่าสูญทั้งหมด ต้องสู้ทำไปเพื่อครอบครัว

ส่วนนายฉลอง เกษดี อายุ 65 ปี ชาวนา บ้านเลขที่ 102/1 หมู่ 2 ต.ตลาดใหม่ เผยว่า ตนเองทำนา จำนวน 10 ไร่ ลงทุนไปกว่า 30,000 บาท ในระยะแรก สูบน้ำจากชลประทานได้มาสักระยะแต่ช่วงข้าวใกล้ท้องนั้นชลประทานหยุดจ่ายน้ำ ครม.ห้ามสูบน้ำทำนา ใช้สำหรับบริโภคอุปโภคเท่านั้น จำต้องยอมเจาะบ่อบาดาลจำนวน 10,000 บาท ไม่เช่นนั้นข้าวในนาคงตายหมดแน่นนอน ก็ต้องสู้หากมีหนทางดีกว่าปล่อยไปตามธรรมชาติ

ผู้สื่อข่าวรายงาน ในทุ่งนาหมู่ 2 ต.ตลาดใหม่ นั้นยังมีแปลงนาข้าวจำนวนมาก ปล่อยข่าวที่กำลังตั้งท้องยืนต้นตาย ด้วยปัญหา ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลแล้วไม่มีน้ำ และบางรายยอมแพ้เนื่องจากไร้เงินทุนจำต้องปล่อยให้ข้าวที่กำลังตั้งท้องยืนต้นตายไปในที่สุด

http://www.thairath.co.th/content/513418
-----------------------------------------------------------------------


อึ้งหนัก ! น้ำยม บางระกำ ขอดก้น...ชาวนาต้องเจาะบาดาลกลางแม่น้ำสู้แล้ง...


พิษณุโลก - ไม่น่าเชื่อ “แม่น้ำยม” แถบบางระกำขอดก้น ท้องน้ำแตกระแหงยาวเหยียด ขณะที่ชาวนา แห่ขุดบ่อบาดาลกลางแม่น้ำนับร้อยๆ ราย บอกขุดบนฝั่งไม่ไหวลึก และแพงเกิน ขณะบ่อกลางน้ำลึกแค่ 18 เมตรก็ใช้ได้แล้ว โชคดีราคาดีเซลถูกลง ช่วยลดต้นทุนสู้แล้งได้บ้าง

วันนี้ (20 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวนา อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ที่ทำนาริมแม่น้ำยม ต้องลงทุนว่าจ้างคนงานลง ขุดเจาะบ่อบาดาลกลางแม่น้ำยม ที่วันนี้อยู่ในสภาพที่แห้งขอด มีน้ำไหลรินกว้างไม่ถึงเมตร เพื่อสูบน้ำใต้ดินมาหล่อเลี้ยงนาข้าวกันแล้ว

นายวิรัตน์ พุทโกษา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก กล่าวว่า ได้จ้างคนงานมาขุดเจาะบ่อบาดาลจำนวน 5,000 บาทต่อบ่อ ซึ่งราคานี้จ้างได้เฉพาะค่าแรงการขุดบ่อในแม่น้ำยมเท่านั้น ไม่รวมค่าอุปกรณ์ท่อประปา เพื่อดึงน้ำจากใต้แม่น้ำที่ไม่ลึกนักไปหล่อเลี้ยงผืนนาป้องกันความเสียหายจากภัยแล้ง

นายวิรัตน์บอกว่า แม้กรมชลประทานประกาศให้ชาวนาหยุดการทำนา แต่ชาวนาที่บางระกำมีอาชีพหลักคือ ทำนา ถ้าไม่ให้ทำนาก็ไม่รู้จะไปทำอะไร ปีนี้ถือว่าแล้งมาก น้ำยมแห้งขอดยาวเหยียด จึงต้องใช้หาบ่อบาดาลกลางแม่น้ำยม

“ตอนนี้มีชาวนาไม่ต่ำกว่า 100 รายใช้วิธีนี้ ขุดแค่ 18 เมตรก็สามารถดึงน้ำมาใช้ได้แล้ว จะให้จ้างขุดบาดาลบนฝั่งไม่ไหว เพราะลึกและแพงมาก แต่ก็โชคดีช่วงนี้น้ำมันดีเซลราคาถูกลงมาก เป็นโอกาสดีที่เร่งจะได้เจาะบ่อบาดาลกัน”

น.ส.ชลิตา ชูทอง อายุ 40 ปี ชาวนาบางระกำ กล่าวว่า ได้ เปิดบ่อบาดาลกลางแม่น้ำยม ที่ขุดเจาะบ่อบาดาลไว้ตั้งแต่ปี 2558 แต่พอฤดูน้ำหลากก็จะใช้วิธีอุดปากบ่อไว้ กระทั่งวันนี้นำเครื่องยนต์มาติดตั้ง เติมดีเซลเพื่อดึงน้ำไปยังบ่อพักน้ำที่อยู่ห่างไป 100 เมตร จากนั้นจะดึงน้ำต่อจากบ่อพักไปอีกทอดหนึ่ง ซึ่งบ่อบาดาลตนเองนั้น สามารถช่วยผืนที่ทำนาคนอื่นอีกกว่า 100 ไร่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้จังหวัดพิษณุโลกได้ประกาศให้ 3 อำเภอเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้งแล้ว คือ อ.วัดโบสถ์ อ.บางกระทุ่ม และ อ.วังทอง ส่วน อ.บางระกำ เป็นพื้นที่เสี่ยง ยังไม่ได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัย แต่แม่น้ำลำคลองหลายสายก็แห้งขอดเป็นประจำทุกปี

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9590000006665

------------------------------ ---------------------------------------



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/04/2016 6:34 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/04/2016 1:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.


จำได้ ปี 54 น้ำท่วมหนักทั่วประเทศ "บางระกำ โมเดล" กำเนิดขึ้น
จากนั้นสารพัดโมเดลเกี่ยวกับน้ำทั่วประเทศก็ตามมา

น้ำหายท่วม กลายเป็นแล้ง... บางระกำ โมเดล กลายเป็น โมเดล ระกำ
กับสารพัดโมเดลทั่วประเทศ ก็หายไปกับอากาศธาตุ


ทีวี. ทำแต่ข่าวแห้งแล้ง ดินแตกระแหง เห็นแล้วมีแต่หดหู่ใจ .... นี่แหละข่าว "หมากัดคน"
ถ้าไม่ใช่เพราะอ่าน HIGHLIGHT ของข่าวไม่ออก ก็ทำข่าวเพื่อโจมตีรัฐบาลหรือราชการ

ทีวี. ทำข่าวคนเจาะบาดาลสู้แล้ง เอาความคิดนี้มาจากไหน .... นี่แหละข่าว "คนกัดหมา"
คนเห็นข่าวแล้วเกิดแรงบันดาลใจ คิดเองทันที เขาทำได้เราก็ทำได้ เขาทำได้เราต้องทำได้


------------------------------------------------------------------------
ไม่ได้หมายถึง คนกับหมา กัดกันจริงๆ แต่เป็นอุปมาอุปมัย ฉันใดก็ฉันนั้น
ว่ามั้ย แมลงวันไม่ตอมแมลงวัน ....
------------------------------------------------------------------------



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/04/2016 6:26 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/04/2016 3:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

ภัยแล้ง : ขอถามลุงตู่ ‘เอาอยู่’ ไหมครับ

“หายนะ” สำคัญที่รออยู่ข้างหน้า ซึ่งไม่ได้เลือกว่า คุณชอบรัฐประหารครั้งนี้แค่ไหน หรือ คลั่งไคล้ประชาธิปไตยจอมปลอม ไม่ได้สนใจว่าคุณเสื้อสีไหน อยู่ภูมิภาคใด มาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง รวยหรือจน และควรจะต่ออายุ 2 หรือเปล่า นั่นก็คือ “ภัยแล้ง”

อ.ศศิน เฉลิมลาภ โพสต์ภาพดินแตกระแหงของท้องทุ่งอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี แล้วตั้งข้อสังเกตว่า

ปี 2531 เราได้เห็นโคลนไหลถล่มครั้งแรก
ปี 2547 เราได้เห็นสึนามิครั้งแรก
ปี 2554 เราได้เห็นน้ำท่วมแบบสุดๆ ครั้งแรก
ปี 2557 เรารู้จักแผ่นดินไหว 6 ริกเตอร์ครั้งแรก
ปี 2558 หวังว่า จะไม่ใช่เรื่องใหญ่ขนาดนั้น



เอ... หรือจะได้บทเรียน และเรียนรู้เหมือนที่ว่ามาอีกเรื่อง ?
แนวโน้มภัยแล้งเวลานี้ น่ากลัวมากนะครับ หากไม่มีพายุน้ำฝนเข้ามาตกเหนือเขื่อนและในท้องที่เพาะปลูก ขณะที่ในเมืองใหญ่ ดึงน้ำจากภาคชนบทเข้ามาเพื่อการอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะการดึงน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองเข้ามาช่วยเจ้าพระยา “ไล่น้ำเค็ม” โดยให้คนในลุ่มน้ำเลื่อนการเพาะปลูกออกไปก่อน

ต้องไม่ลืมว่า ผู้คนในภาคการเกษตร เป็นจักรเฟืองสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเป็นผู้บริโภคและผู้จับจ่ายใช้สอย แต่นานมากแล้วที่คนกลุ่มนี้ “ขาดกำลังซื้อ” เราจึงขาดกำลังสำคัญในการหมุนเครื่องจักรเศรษฐกิจ จึงจะเห็นได้ว่า แม้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะใช้มาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการอัดฉีดเงินช่วยเหลือสู่ภาคเกษตรกร แต่ก็แทบไม่มีผล เพราะปัญหาหนี้ครัวเรือน ทำให้คนเหล่านั้นนำเงินไปใช้หนี้ แทนการนำไปจับจ่ายใช้สอย

คนเหล่านี้ ส่วนหนึ่งเจอ ปัญหาไม่ได้รับเงินจำนำข้าว อีกส่วนหนึ่งเป็นชาวสวนปาล์มและยางพารา

ชาวนาเจอปัญหาสะสมจากการไม่ได้รับเงินจำนำข้าว จนเกิดหนี้สินสะสม และมาเจอปัญหา “ภัยแล้ง” ซ้ำเข้าไปอีก จนบัดนี้มาเจอปัญหา “เลื่อนการทำนาปี” เพราะไม่มีน้ำออกไปอีก ลองจินตนาการถึงผลกระทบที่จะตามมา จากการที่รัฐต้องเข้าไปช่วยเหลือในอนาคต ซึ่งไม่ช่วยเหลือก็ไม่ได้นะครับ การช่วยเหลือเป็นหน้าที่ของรัฐและเราทุกคนที่จะต้องเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขให้แก่กันและกัน

ปัญหาเศรษฐกิจซบเซาเกิดขึ้นทั่วโลก และซ้ำเติมปัญหาเศรษฐกิจในบ้านเราอยู่ เงินงบประมาณมีอยู่จำกัด
รายได้เข้ารัฐลดลง ภาษีเก็บไม่ได้ตามเป้า ซึ่งหากเจอปัญหา “ภัยแล้ง” ซ้ำเข้ามาอีก ไม่รู้จะหนักหน่วงแค่ไหน


แล้วลุงตู่จะเอาอยู่หรือไม่ ?
ในประเทศไทย ภัยแล้งเกิดขึ้นนานแล้วครับ มันหนักหน่วงมาก แต่เป็นข่าวน้อยไป คนจึงไม่ตระหนัก

สำหรับคนชนบทในหลายพื้นที่ รับรู้ถึงปัญหานี้มานานหลายเดือน แต่คนเมืองยังไม่ได้รับรู้ถึงความรุนแรงของปัญหา อาจเพราะว่า มีปัญหาอื่นๆ ดึงความสนใจไปมากกว่า ประกอบกับภาครัฐ มิได้แจ้งเตือนถึงแนวทางการปฏิบัติของคนเมือง มีแต่คนชนบทหลายลุ่มน้ำ ที่ต้องยกเลิกการทำนาปรัง และขณะนี้ต้องเลื่อนการทำนาปีตามไปด้วย

ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ได้เกิดปรากฏการณ์ภัยแล้งอย่างกว้างขวางหลายพื้นที่และส่งผลกระทบในหลายจังหวัด

การคาดการณ์สถานการณ์ภัยแล้งจากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า ปริมาณน้ำฝนสะสม พ.ศ. 2557 ต่ำกว่าค่าปกติอย่างมาก เมื่อเทียบกับ พ.ศ. 2556 และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ กรมชลประทาน ได้สรุปว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลาง พ.ศ. 2557 น้อยกว่า พ.ศ. 2556 ถึง 5,310 ล้านลูกบาศก์เมตร (กรมชลประทาน 26 กันยายน 2557) จึงมีแนวโน้มสถานการณ์ภัยแล้งและภาวะฝนทิ้งช่วงใน พ.ศ. 2558 จะเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยอาจเกิดเร็วขึ้น และยาวนานขึ้น

ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือทั้งสิ้น 40,009 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 57 ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 16,596 ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยา อ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 11,850 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 48 โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 5,154 ล้านลูกบาศก์เมตร [ที่มา : สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)17 มีนาคม 2558] ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมา

อย่าลืมว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งโดยตรง คือ ชาวนาและเกษตรกรที่เคยเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง จำนวน 398,347 ราย พื้นที่ 11.97 ล้านไร่ แบ่งเป็น ในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา 345,161 ราย พื้นที่ 10.70 ล้านไร่ และในเขตลุ่มน้ำแม่กลอง 53,186 ราย พื้นที่ 1.27 ล้านไร่ ซึ่งจากการประเมินจนถึงขณะนี้คิดเป็นมูลค่าความเสียหายแล้วราว 5,600 ล้านบาท และชาวนาผู้ปลูกข้าวอาจสูญเสียรวมกว่า 14,000 ล้านบาท เมื่อสิ้นสุดฤดูร้อน นับเป็นมูลค่าความเสียหายมากที่สุดในค่าเฉลี่ยรอบ 5 ปีที่อยู่ที่ราว 11,900 ล้านบาท โดยสถานการณ์นี้จะยิ่งเป็นการฉุดกำลังซื้อภาคครัวเรือนในชนบท และส่งผลต่อเนื่องไปยังธุรกิจเกี่ยวเนื่อง

ซ้ำเติมภาวะยากลำบากอยู่แล้วให้แย่ลงไปอีก โดยเฉพาะหากภัยแล้งกินเวลายาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้

จากปริมาณน้ำฝนที่มีน้อยกว่าค่าปกติในเกือบทุกภาคของประเทศ ส่งผลต่อปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและเขื่อนขนาดใหญ่ของไทยที่ลดลง เมื่อคาดการณ์จากการวัดปริมาณน้ำในเขื่อน

ภาวะภัยแล้งในพ.ศ. 2558 นี้ นับว่าหนักที่สุดในรอบ 15 ปี โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีการใช้น้ำไปเพื่อการเพาะปลูกพืชเกษตรเป็นสำคัญ โดยเฉพาะข้าว ปริมาณน้ำต้นทุนที่ใช้การได้ในอ่างเก็บน้ำที่อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับปีก่อน หรือลดลงร้อยละ 16.9

บัดนี้ แม้จะเข้าหน้าฝนแล้ว แต่ฝนก็มิได้ตกต้องตามฤดูกาล หลายพื้นที่เพาะปลูกยังคงไม่มีน้ำ ไม่มีฝน เขื่อนสำคัญหลายเขื่อน น้ำแห้งขอดอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน สำนักฝนหลวงทำงานอย่างหนัก


สิ่งที่ควรจะเห็นในตอนนี้คือ
1) นายกรัฐมนตรีและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ต้องฉายภาพรวมของความแห้งแล้งให้คนทั้งประเทศเห็น เพื่อให้ตระหนักร่วมกันถึงความมีอยู่อย่างจำกัดของน้ำ ซึ่งต้องจัดสรรสำหรับกิน ใช้ เพาะปลูก ไล่น้ำเค็ม คมนาคม อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว

2) อย่ารอให้เกิด “สงครามแย่งน้ำ” ซึ่งส่ออาการแล้วในหลายพื้นที่


3) คำนวณปริมาณน้ำเท่าที่มี แล้วส่งสารถึง “คนเมือง” ว่าควรปฏิบัติตนอย่างไร เพื่อให้เกิดการใช้น้ำอย่างเป็นธรรมต่อคนชนบท เกิดการคำนึงถึงความเดือดร้อนของชนบท และเตรียมการรับมือราคาและความขาดแคลนของพืชผักและสินค้าทางการเกษตรร่วมกันทั้งระบบ

4) รัฐต้องพร้อมรับมือความเดือดร้อนของประชากรในภาคการเกษตรและชนบท ที่จะขาดอาชีพ ขาดรายได้ เพื่อเตรียมการรองรับ ทั้งด้านนโยบาย งบประมาณ และมาตรการให้ความช่วยเหลืออย่างทั่วถึง โดยไม่รอให้ถึงขั้น “เกิดภัยพิบัติ” แล้วใช้กลไกปกติ คือ ให้ผู้ว่าฯประกาศเขตภัยพิบัติ เบิกเงินมาช่วยเหลือ ซึ่งอาจไม่เพียงพอ ล่าช้า ไม่ทันการณ์ ไม่ทั่วถึง และมีการทุจริต

5) หลายประเทศเกิด “ภัยแล้งที่เกินความคาดคิด” ให้เห็นมาแล้ว อย่าได้ชะล่าใจว่าจะไปไม่ถึงจุดนั้น โดยไม่มีการสื่อสารให้คนรับรู้ และเตรียมการวางแผนจัดการตนเองล่วงหน้า บทเรียนจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ที่ไม่มีการ “ให้ความจริง” กับประชาชน เพื่อให้ประชาชนเตรียมตัวจัดการตนเอง ก็ชี้ให้เห็นมาแล้วว่า “หายนะ” เกิดขึ้นอย่างไร ความเสียหายที่ “เกินกว่าความจำเป็น” เกิดขึ้นอย่างมหาศาล เป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง

6) ควรถือโอกาสนี้ “ปฏิรูประบบน้ำ” ด้วยการเรียนรู้การจัดการพื้นที่การเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแนะให้ ทุกแปลงเกษตรต้องมีแหล่งน้ำของตัวเอง เราก็ขยายพื้นที่ให้ค่อยๆ กว้างขึ้น เช่น ทุกชุมชุมต้องมีแหล่งน้ำของตัวเอง กำนันผู้ใหญ่บ้านต้องสแกนพื้นที่ แล้วจัดหาแหล่งน้ำประจำกับแหล่งน้ำสำรอง ถัดมาก็เป็นนายอำเภอ อบต. อบจ. ผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องจัดหาแหล่งน้ำที่แน่นอนของพื้นที่เอาไว้เป็น “ภูมิคุ้มกัน” ด้วยการมองพื้นที่เสมือนที่นาหรือที่ทำการเกษตรแปลงหนึ่ง

การมีระบบชลประทานและน้ำประปา ทำให้คนทิ้งการพึ่งพาตนเองและทิ้งการจัดการในส่วนของตนเองไปเกือบหมดสิ้น บ่อน้ำเก่าๆ ปล่อยให้สิ้นสภาพ คลอง ลำราง ลำห้วย ถูกปล่อยปละละเลยให้ตื้นเขิน แคบ มีแต่กอสวะและสกปรก ขาดการจัดการมานานหลายปี

ผมจึงอยากเสนอว่า นับจากบัดนี้ ให้นับภัยแล้งว่าเป็น “สงคราม” ที่เราทั้งชาติต้องผนึกกำลังต่อสู้กันให้พร้อมเพรียง โดยไม่ชะล่าใจหรือประมาท

พล.อ.ประยุทธ์ ต้องเริ่มต้นชูธงรบ ให้ข้อมูลภาพรวม วางแผนจัดการ แล้วแจ้งเตือนถึงภารกิจที่ประชาชนทุกหมู่เหล่าต้องร่วมด้วยช่วยกันในทันที

หากโชคดี มีฝนตกมาเติมน้ำได้ทันก็รอด แต่หากโชคไม่ดีเช่นนั้น จะทำอย่างไรกันต่อไป

ลุงตู่จะ “เอาอยู่” หรือไม่ รีบตอบด่วนครับ


http://www.naewna.com/politic/columnist/18962


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/04/2016 3:00 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/04/2016 5:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ตราบใดที่น้ำไม่ท่วมอย่างปี 54 จะไม่มีน้ำเต็มเขื่อน....ว่ามั้ย :
- ปี 58 แล้งอนุบาล
- ปี 59 แล้งประถม
- ปี 60 แล้งมัธยม
- ปี 61 แล้ง อนุ ป.
- ปี 62 แล้ง ป.ตรี.
- ปี 63 แล้ง ป.โท
- ปี 64 แล้ง ป.เอก
- ปี 65 แล้ง ศ.ดร. ....

ลำพังฝนธรรมชาติ ฝนหลวง แก้แล้งได้แค่เฉพาะพื้นที่เล็กๆ มีให้เดือนละครั้ง มาทีได้น้ำแค่ตาตุ่มครึ่งหน้าแข้ง จะแก้แล้งอย่างสมบูรณ์แบบได้ต้องน้ำท่วมหนักแบบปี 54 จนน้ำเต็มเขื่อน เท่านั้น

ประเทศไทย พื้นที่ทำเกษตรอยู่ในเขตชลประทาน 23% นอกเขตชลประทาน 77%
ประเทศเวียดนาม พื้นที่ทำเกษตรอยู่ในเขตชลประทาน 77% นอกเขตชลประทาน 23%

ประเทศไทย 70% ของประชากรทั้งประเทศ เป็นเกษตรกร
ผลผลิตทางการเกษตรสร้างรายได้เข้าประเทศ 40% ของรายได้ทั้งหมด
เกษตรกร 10% เท่านั้น ที่มีฐานะยืนอยู่บนขาตัวเองได้
เกษตรกร 90% .............................. เป็นหนี้


ที่จริง เงินที่ได้จากประมูล กสทช. แสนล้าน จ่าย 3 งวด ๆละปี ๆละ 3-4 พันล้าน เอามาพัฒนาระบบน้ำ (เน้นย้ำ...ระบบ) เพื่อการเกษตรโดยเฉพาะ เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญเลย พรรคการเมืองไหนเข้ามาบริหารประเทศชาติ ห้ามแก้รัฐธรรมนูญมาตราที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบน้ำเพื่อการเกษตรอย่างเด็ดขาด .... เรื่องพรรคการเมืองแก้รัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของพรรคตัวเอง หรือเพื่อทุจริตเชิงนโยบายนั้น ต่อไปนี้ ถ้าจะแก้รัฐธรรมนูญมาตราใดต้องผ่านประชามติโดย “คณะกรรมการแก้รัฐธรรมนูญจังหวัด (กกธ)” ทุกจังหวัดก่อน (เหมือน กกต. คณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัด) โดย ถ้าประชามติเห็นด้วยก็แก้ไขได้ แต่ถ้าประชามติไม่เห็นด้วย นอกจากแก้ไม่ได้แล้ว พรรคการเมืองนั้นต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในการทำประชามติด้วย .... นี่คือ ประชาชนเป็นใหญ่ที่แท้จริง ไง


หลายคนตื่นตัวแก้ปัญหาแล้งกันแล้ว เจาะบ่อบาดาลส่วนตัว พร้อมกับ ปรับ/เปลี่ยน ทัศนคติ จาก...
ปลูกพืชแปลงใหญ่ๆ เอาปริมาณมากๆ คุณภาพเกรดฟุตบาท ..... มาเป็น
ปลูกพืชแปลงเล็กๆ เอาปริมาณน้อยๆ แต่คุณภาพสูง มิดีกว่ารึ ?


----------------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 25/04/2016 10:45 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:



อึ้งหนัก ! น้ำยม บางระกำ ขอดก้น...ชาวนาต้องเจาะบาดาลกลางแม่น้ำสู้แล้ง...

* ชาวนา แห่ขุดบ่อบาดาล "กลาง" แม่น้ำนับร้อยๆ ราย บอกขุดบนฝั่งไม่ไหวลึก และแพงเกิน ขณะบ่อกลางน้ำลึกแค่ 18 เมตรก็ใช้ได้แล้ว


* ลงทุนว่าจ้างคนงานลง ขุดเจาะบ่อบาดาล "กลาง" แม่น้ำยม ที่วันนี้อยู่ในสภาพที่แห้งขอด มีน้ำไหลรินกว้างไม่ถึงเมตร เพื่อสูบน้ำใต้ดินมาหล่อเลี้ยงนาข้าวกันแล้ว


* ชาวนาบางระกำ กล่าวว่า ได้ เปิดบ่อบาดาล "กลาง" แม่น้ำยม ที่ขุดเจาะบ่อบาดาลไว้ตั้งแต่ปี 2558 แต่พอฤดูน้ำหลากก็จะใช้วิธีอุดปากบ่อไว้




....... WHAT'S THIS & WHAT'S THAT ? ......


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/04/2016 6:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
สถานการณ์แล้งในเมืองไทย ต้องแก้ปัญหาแบบองค์รวม ไม่ใช่แค่รอฝน


หากจะบอกว่า แล้งปีนี้ อาจไม่มากเท่าแล้งปีหน้า...
นี่คือ ส่วนหนึ่งของการพยากรณ์จากผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ ซึ่งคาดคะเนจากข้อมูลหลายส่วน โดยสิ่งที่เขาตระหนักรู้และย้ำเสมอ ก็คือ ต้องมีการบริหารความเสี่ยงในเรื่องการจัดการน้ำ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม คนไทยก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจ รับกับภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการ ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์พยากรณ์เรื่องน้ำ โดยพยายามใช้ข้อมูลรอบด้านในการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ เพื่อให้เกิดการคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด เพราะปัญหาน้ำครึ่งปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเรื่องการจัดการน้ำและการให้ข้อมูลประชาชน ได้สร้างความสับสนไม่ใช่น้อย

จากข้อมูลที่อาจารย์ศึกษาวิเคราะห์หลายมุม เพื่อพยากรณ์น้ำ อาจารย์เสรีบอกว่า "ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ปี2559 จะเริ่มมีปัญหาการใช้น้ำ ถ้าคนไทยไม่ประหยัดน้ำ อาจต้องสูบน้ำกร่อยเข้ามา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยังไม่อาจคาดการณ์ได้เต็มร้อย" แล้วความเสี่ยงในเรื่องการจัดการน้ำ ต้องทำอย่างไร ลองตามอ่าน...

ในความเห็นของอาจารย์ ต้องบริหารความเสี่ยงอย่างไร ?
ต้องเข้าใจก่อนว่า เมื่อมีภัยแล้งในฤดูฝน พอฝนทิ้งช่วง น้ำที่เป็นต้นทุนที่เรามีอยู่ ก็จะถูกดึงมาใช้ การดึงมาใช้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นเหตุให้เกิดวิกฤติแล้งหนัก ถ้าไม่ดึงน้ำมาใช้ก็ไม่แล้ง กรมอุตุนิยมเคยรายงานว่า ช่วงเวลานั้นฝนจะตก กรมชลฯ ก็บอกให้ชาวนาปลูกข้าวได้ เมื่อฝนไม่ตก กรมชลฯ ก็ต้องดึงน้ำมาช่วยเหลือเกษตรกรร้อยเปอร์เซ็นต์ แทนที่จะอาศัยน้ำฝนปกติ โดยทั่วไปการใช้น้ำ จะมีการแบ่งเป็นปริมาณน้ำฝน 70 เปอร์เซ็นต์ และน้ำจากเขื่อน 30 เปอร์เซ็นต์ ปรากฎว่า เราต้องดึงน้ำมาใช้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ปัญหาก็เกิดขึ้น แต่กลายเป็นว่า ประชาชนไม่รู้จะฟังใคร ไม่ว่าฝนจะตกหรือไม่ตก หน้าที่ของรัฐบาลคือ บริหารความเสี่ยง การประเมินเรื่องน้ำ สำคัญมากอีกอย่าง ผมคิดว่า หลายหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับการจัดการน้ำ มีปัญหาเรื่องการให้ข้อมูล

ถ้าจะบอกว่า แล้งเพราะการบริหารจัดการน้ำได้ไหม ?
การคาดการณ์ พยากรณ์ หรือการให้ข้อมูลไม่มีทางที่จะถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์หรอก รัฐบาลต้องมีผู้เชี่ยวชาญบริหารความเสี่ยง แต่หน่วยงานรัฐบริหารความเสี่ยงไม่เป็น ซึ่งต่างจากหน่วยงานเอกชนสามารถบริหารจัดการตรงนี้ได้ ผมขอยกตัวอย่างการบริหารความเสี่ยง ถ้าฝนไม่ตกตามที่ประเมินไว้ อาจตกน้อยกว่า 10 20 หรือ 30 40 ...เปอร์เซ็นต์ แล้วจะดำเนินมาตรการอย่างไร ต้องคิดไปเลยว่า ถ้าฝนไม่ตกหรือฝนตก จะมีปริมาณน้ำเหลือให้ใช้อยู่แค่ไหน เพื่อให้คนในพื้นที่ท้ายน้ำได้รู้ว่า ถ้าฝนตก จะระบายน้ำเท่าไหร่ เพราะอาจมีบางพื้นที่น้ำท่วม

เมื่อเกิดปัญหาน้ำแล้งในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฝนไม่ตกตามฤดูกาล น้ำในอ่างไม่มี พอถึงฤดูฝน เป็นธรรมดาที่ฝนอาจจะตกหนักในบางพื้นที่ หน่วยงานดังกล่าวต้องประเมินปริมาณน้ำที่จะใช้หน้าแล้งให้ได้ ประชาชนที่อยู่เหนืออ่างไม่มีปัญหาน้ำท่วม แต่ประชาชนท้ายอ่าง จะเจอปัญหาน้ำท่วมบางพื้่นที่ อาทิ พระนครศรีอยุธยา ไม่ใช่เรื่องยากที่จะจัดการ แต่ผมไม่เห็นหน่วยงานที่จะตัดสินใจเรื่องนี้ และทราบมาว่า รัฐได้ตั้งคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติแล้ว เมื่อตั้งมาแล้ว การบริหารจัดการ ก็ต้องจัดลำดับความสำคัญของปัญหา

เป็นไปได้ไหม ไม่มีการจัดลำดับความสำคัญ ?
ขณะนี้่คือ แล้งในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา เป็นปัญหาอันดับหนึ่ง แล้วพื้นที่ปลูกข้าวกี่ล้านไร่ของเกษตรกรที่กำลังจะเสียหาย รัฐต้องรีบแก้ไข ก่อนหน้านี้รัฐบอกว่า ห้ามใช้น้ำชลประทาน ทำให้ชาวบ้านเกิดแรงต้าน แต่ละคูคลองที่ปลูกข้าวก็ต้องมีผลผลิต เพราะข้าวตั้งท้องแล้ว เกษตรกรก็ต้องสูบน้ำ จะไปห้ามเขาสูบน้ำไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้เกษตรกรก็ตั้งคำถามว่า น้ำเป็นของใคร

ตอนนี้รัฐก็ไฟเขียวแล้ว ถ้าบอกว่า ไม่ให้ใช้น้ำทางการเกษตร แล้วเอาน้ำมาให้คนกรุงเทพฯใช้ มันไม่ใช่ การใช้น้ำต้องเป็นธรรม รัฐต้องศึกษาว่า จะมีพื้นที่เกษตรที่ไม่ได้ใช้น้ำปริมาณกี่ไร่ และพื้นที่ที่ใช้น้ำปริมาณกี่ไร่ ไม่ต้องมาแย่งน้ำกัน ไม่ใช่เหมารวมว่าต้องเยียวยาทั้งหมด เพราะข้าวเกษตรกรตั้งท้องแล้ว พวกเขาก็จะมีรายได้ไร่ละ 7,500 บาท มากกว่าที่จะเยียวยาไร่ละ 1,000-2,000 บาท แต่ตอนนี้ก็มีการปล่อยน้ำให้เกษตรกรแล้ว

ปัญหาเร่งด่วนที่ต้องทำตอนนี้คือเรื่องใด ?
รัฐต้องตรวจสอบอย่างละเอียดว่า
1. ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีพื้นที่ไหนที่ปลูกข้าวแล้วต้องให้น้ำ สามารถช่วยเหลือให้เกษตรกรอยู่รอดบนพื้นที่กี่ไร่ และพื้นที่ไหนไม่ได้น้ำ ซึ่งกรณีนี้มีทั้งการแก้ปัญหาระยะสั้น แล้วรัฐจะช่วยเหลือเยียวยายังไง

2. รัฐต้องให้ความมั่นใจว่า น้ำอุปโภคบริโภคที่จะส่งมาให้คนท้ายน้้ำมีเพียงพอไหม ต้องยอมรับว่า หน่วยงานรัฐบริหารจัดการจากปริมาณน้ำฝนตกที่ตกลงมา ไม่ได้บริหารจัดการจากปริมาณน้ำที่มีอยู่ มันเป็นการบริหารที่เปราะบาง รอฝนอย่างเดียว มันไม่ได้ ปกติการพยากรณ์ธรรมชาติว่า ฝนจะตกหรือไม่ตก พยากรณ์จากข้อมูลได้ไม่เกิน 3 วัน จึงกลับมาที่ประเด็นการบริหารความเสี่ยง ต้องทำ 50 เปอร์เซ็นต์ ถ้ากรมอุตุนิยม บอกว่า น้ำจะท่วมบริเวณจุดไหน ก็ต้องบอกกล่าวทำความเข้าใจให้ประชาชนในพื้นที่นั้นรับทราบ

ระยะสั้น รัฐต้องจัดลำดับความสำคัญ ส่วนระยะยาว ถ้าจะจัดการเรื่องน้ำ เกษตรกรและผู้ใช้น้ำต้องปรับตัว ถ้าจะให้เกษตรกรปลูกข้าวแบบเดิม ต้องศึกษาดูว่า พื้นที่นาปี นาปรัง มีปริมาณกี่ล้านไร่ โดยพื้นที่ปลูกข้าวต้องมีผลผลิตเพียงพอต่อผู้บริโภคในประเทศและการส่งออก เกษตรกรเองก็ต้องปรับตัว รัฐก็ต้องสนับสนุนให้ปลูกข้าวพันธุ์ที่ใช้น้ำน้อย ตรงนี้สำคัญกว่าการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่และการดึงน้ำจากแหล่งอื่นมาใช้ เราต้องลดปริมาณการใช้น้ำ ทุกคนต้องกลับมาดูตัวเอง

ถ้าจะบอกว่า การให้ข้อมูลในเรื่องการจัดการน้ำไม่ชัดเจนจะได้ไหม ?

ใช่ เพราะบางพื้นที่เกษตรกรคิดว่า ข้าวที่ปลูกไว้ รอดตายแล้ว จริงๆ แล้วข้าวที่ปลูกและอยู่ใกล้ริมคลองชลประทานทุกเส้นทางรอดตาย คนที่ใช้น้ำต้นคลองจะมีน้ำใช้ แต่ต่ปลายคลองน้ำไปไม่ถึง ซึ่งเรื่องนี้หน่วยงานที่ผมทำงานอยู่ ก็ให้ข้อมูลประชาชน เป็นข้อมูลเปิดเผยอยู่แล้ว แต่อยู่ที่การวิเคราะห์ข้อมูล

ในปีนี้อาจารย์พยากรณ์เรื่องน้ำอย่างไร ?
อีกสามเดือนข้างหน้า จะมีน้ำเข้ามาประมาณ 1,800-3,600 ล้านลูกบาศก์เมตร จะมีน้ำต้นทุนอยู่ ณ วันที่ 1 พฤศิกายน 2558 น้ำที่เข้ามาน่าจะคล้ายๆ ปีที่แล้ว ซึ่งปริมาณน้ำเท่านี้ ปีหน้าต้องใช้อย่างระมัดระวังมาก เพราะช่วง 6 เดือนน้ำอุปโภคบริโภคอย่างเดียวก็ใช้ไปปริมาณ 1,200 ล้านลูกบาศก์เมตร พอถึงหน้าแล้ง ฝนไม่ตก จะบริหารจัดการยาก ซึ่งเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2559 เป็นช่วงที่แล้งจริงๆ โดยฝนจะหมดฤดูกาล 30 ตุลาคม นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนจะไม่มีปริมาณน้ำฝน แม้จะมี ก็ปริมาณน้อย จะแล้งไปถึงเดือนเมษายน 2559 น้ำอาจจะไม่เพียงพอต่อการทำนาปรัง แล้วรัฐจะมีแผนระยะสั้น กลาง และยาว อย่างไร หากเกษตรกรจะไม่ได้ทำนาปรังในปีหน้าอีก รัฐจะสร้างอาชีพอื่นๆ ให้เกษตรกรหรือจะสนับสนุนให้ปลูกพืชกินน้ำน้อยยังไงในช่วงแล้งปีหน้า รัฐต้องคิดแล้ว

แสดงว่า น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคในปีนี้ไม่น่าเป็นห่วง
ใช่ ในปีนี้น้ำสำหรับการอุปโภค บริโภค ไม่น่าเป็นห่วง เป็นธรรมดาของพื้นที่ลุ่มต่ำ ฝนตก น้ำก็ท่วมปกติ ปีนี้ผมไม่กังวลเรื่องน้ำท่วมใหญ่ จะมีน้ำท่วมเป็นจุดๆ ที่เป็นพื้นที่เสี่ยง ปีหน้าไม่แน่ น้ำท่วมใหญ่อาจจะมาก็ได้ ดูแนวโน้มแล้ว อาจต้องระวังตั้งแต่กลางปีหน้า

แต่สำหรับเกษตรกร ทั้งปีนี้และปีหน้า น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ปี2559 จะเริ่มมีปัญหาการใช้น้ำ ถ้าคนไทยไม่ประหยัดน้ำ อาจต้องสูบน้ำกร่อยเข้ามา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเรายังไม่อาจคาดการณ์ได้เต็มร้อย ต้องมีการบริหารความเสี่ยง ผมห่วงสถานการณ์ปีหน้า ผมกังวลว่า ถ้าเกษตรกรไม่ได้ทำสามนาคือ นาปรังปีที่แล้ว นาปีปีนี้ และนาปรัง ปี 59 ถ้าเกษตรกรไม่ได้ทำสามนา เป็นเวลาปีกว่าๆ แล้วเขาจะเอาเงินที่ไหนใช้

ปีหน้าอาจจะมีปัญหาน้ำท่วมใหญ่ ?
ถ้าถามว่าจะเหมือนน้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมาไหม บอกไม่ได้เลย ปลายปี 59 ต้องระมัดระวัง คนไทยต้องประหยัดน้ำแล้ว ไม่อย่างนั้นเดือนกุมภาพันธ์ ปีหน้าจะเจอวิกฤติ เพราะปริมาณน้ำน้อย เจอทั้งปัญหาการจัดการและปัญหาธรรมชาติ

ถ้าจะแก้ปัญหาแล้ง ต้องทำอย่างไร ?
รัฐบาลควรจะมีคณะทำงานที่ไม่ได้เป็นข้าราชการฝ่ายเดียว ควรมีคณะทำงานชุดหนึ่งเพื่อกลั่นกรองมาตรการต่างๆ ที่ฝ่ายข้าราชการเสนอมา แล้วพิจารณาว่า เหมาะสมไหม เหมือนต่างประเทศจะมีผู้เชี่ยวชาญชุดหนึ่งมากลั่นกรอง ประกาศเป็นมติ ครม.


http://www.bangkokbiznews.com/mobile/view/news/657833



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/05/2016 7:50 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ชาวนาอ่างทองปรับตัวสู้ภัยแล้ง หันปลูกพืชเกษตรระยะสั้น ใช้น้ำน้อยแทนข้าวเพื่อนำเงินมาเลี้ยงครอบครัว

ชาวนาในพื้นที่ ต.เทวราช อ.ไชโย จ.อ่างทอง ต้องดูแลแปลงผักแตงกวาอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้ผลผลิตมากพอที่จะนำไปจำหน่ายและหาเงินมาเลี้ยงชีพแทนการปลูกข้าว หลังน้ำในคลองชลประทานแห้งผากมากว่า 2 เดือน จากการงดจ่ายน้ำในภาคการเกษตรให้กับเกษตรกรในพื้นที่ ทำให้ชาวนาหลายรายต้องปรับเปลี่ยนอาชีพมาปลูกพืชระยะสั้นและใช้น้ำน้อยแทนข้าวเพื่อนำเงินมาเลี้ยงครอบครัว

นายไสว สิงห์ลอ อายุ 52 ปี เปิดเผยว่า เมื่อก่อนเคยทำนาเป็นอาชีพหลัก แต่หลังจากน้ำในคลองชลประทานแห้งทำให้ไม่สามารถปลูกข้าวได้ จึงไปเรียนรู้วิธีปลูกแตงกวาแบบน้ำหยดและนำมาปรับเปลี่ยนนาข้าวของตนมาปลูกแตงกวาที่ใช้น้ำน้อยกว่าข้าวแทนเพื่อเลี้ยงชีพ โดยใช้น้ำจากบ่อน้ำธรรมชาติ ซึ่งหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้อีกอาจจะไม่กลับไปทำนาอีก

สำหรับสถานการณ์ภัยแล้งในจังหวัดอ่างทอง แม้จะอยู่ในเขตชลประทาน เกือบ 100 % แต่หลังจากชลประทานหยุดการจ่ายน้ำเข้าระบบเพื่อการเกษตรทำให้หลายพื้นที่ประสบกับปัญหา โดยคาดว่าปีนี้อาจจะเลี้ยงยาวนานกว่าทุกปี ซึ่งทางจังหวัดอ่างทองได้จัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหาภัยแล้งเพื่อช่วยเหลือประชาชน

http://www.bangkokbiznews.com/mobile/view/news/628317
--------------------------------------------------------------------------------------


สู้ภัยแล้ง ! ชาวนาอุบลฯ หันปลูกแตงโม-แตงไทย พืชใช้น้ำน้อยแทนข้าว


ชาวนาอุบลราชธานี หันมาปลูกแตงโม-แตงไทย และพืชระยะสั้นอื่นๆแทนข้าว ช่วยกู้ภัยแล้ง เผย กำไรไร่ละ 5-6 พัน เลี้ยงครอบครัวในช่วงหน้าแล้งนี้ได้

เมื่อวันที่ 2 ก.พ.59 ผู้สื่อข่าวรายงาน ที่บ้านห้วยขะยุง ตำบลห้วยขะยุง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ชาวนาต่างเปลี่ยนพื้นนามาปลูกพืชระยะสั้นที่ใช้น้ำน้อยเพื่อสู้ภัยแล้ง ด้วยการปลูกแตงโม แตงไทย และฟักทอง และมีการขุดบ่อไว้กักเก็บน้ำเพื่อต่อท่อพีวีซี สูบน้ำเข้ามารดแปลงปลูกพืชแทนการรอน้ำจากชลประทานหรือน้ำฝน

นายถาวร ผาวันดี อายุ 49 ปี เกษตรบ้านห้วยขะยุง ตำบลห้วยขะยุง กล่าวว่า หลังจากที่ตนเกี่ยวข้าวในนาเสร็จแล้วทุกปี ตนจะใช้แปลงนาที่ว่างเว้นมาปลูกพืชทดแทนโดยการแบ่งพื้นที่ปลูกทั้งแตงโม แตงไทย และฟักทองไว้ขาย ซึ่งพืชเหล่านี้เป็นพืชใช้น้ำน้อย ไม่ต้องรดน้ำทุกวันก็สามารถเจริญเติบโตได้ อีกทั้งปลูกเพียง 45-60 วัน ก็สามารถเก็บผลผลิตออกขายสู่ตลาดได้แล้ว และส่วนใหญ่ตนจะเก็บขึ้นไปขายริมถนนทางหลวง 226 วารินชำราบ-ศรีสะเกษ เองทั้งในราคาขายปลีกและส่ง สามารถหารายได้ระหว่างรอทำนาช่วงหน้าฝนจุนเจือครอบครัวดีกว่าไปทำงานรับจ้าง ซึ่งได้กำไรประมาณไร่ละ 5,000-6,000 บาท

นอกจากนี้ในผืนนาของตนยังยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการขุดบ่อน้ำเพื่อกักเก็บน้ำในหน้าฝนไว้ใช้เองในช่วงหน้าแล้งด้วย ซึ่งหากถึงช่วงที่ต้องรดน้ำแปลงปลูกแตงโม แตงไทย และฟักทอง ตนก็จะน้ำเครื่องสูบน้ำต่อท่อเข้าไปในแปลงปลูกเพื่อรดน้ำเอง ไม่รอน้ำจากชลประทาน อีกทั้งพืชที่ตนปลูกก็ไม่ต้องการน้ำมาก ไม่ต้องรดน้ำทุกวันก็สามารถเจริญเติบโตได้ ตนจึงมีรายได้พอเลี้ยงครอบครัวให้อยู่รอดในช่วงหน้าแล้ง โดยไม่เดือดร้อนแต่อย่างใด นายถาวร กล่าว.

http://www.thairath.co.th/content/571709
----------------------------------------------------------------------------------------


พลิกผืนนาสู้วิกฤติแล้ง หันปลูกพืชใช้น้ำน้อยสร้างรายได้ดีกว่าปลูกข้าว


เกษตรกรฮึดพลิกผืนนาสู้ภัยแล้ง หันปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแทนทำนา เผยมีทั้งปลูกเมลอน ถั่วลิสงมะขามเทศ สร้างรายได้ดีกว่าตอนปลูกข้าวเป็นกอบเป็นกำ พร้อมเล็งทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แต่หวั่นหากไร้ทิศทางคนแห่ปลูกมาก ราคาจะร่วงตามผลผลิตที่มากขึ้น วอนรัฐหาตลาดรองรับ พร้อมส่งเสริมด้านวิชาการ

นายกรกฏ สาริกา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ตำบลบ้านกล้วย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เปิดเผยว่าจากปีที่ผ่านมาพื้นที่อำเภอบ้านหมี่ประสบภัยแล้ง ทำนาไม่ได้ผลเนื่องจากขาดแคลนน้ำ แม้ว่าพื้นที่ตำบลบ้านกล้วยจะอยู่ติดคลองชลประทานชัยนาท – ป่าสักก็ตาม แต่เมื่อระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลดลง ก็ทำให้ไม่มีน้ำในคลองชลประทานดังกล่าว ดังนั้นตนเองจึงได้หันมาลองปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยทดแทนการปลูกข้าวบนเนื้อที่กว่า 500 ไร่ โดยพืชที่ปลูกจะเป็นเมลอนและแคนตาลูป ลักษณะหมุนเวียนในพื้นที่ 10 ไร่ ซึ่งช่วงแรกก็ลองผิดลองถูก ได้ผลผลิตดีบ้างไม่ดีบ้าง พอทำมา 5-6 รุ่นจนเข้าสู่ช่วงปีที่ 2 ปรากฏว่าได้ผลดี และมีรายได้ที่แตกต่างจากการทำนามาก ผลผลิตเมื่อเทียบต่อไร่จะได้ผลตอบแทนหลักหมื่นบาท รวมถึงการใช้พื้นที่และใช้ระยะเวลาน้อยกว่า โดยเมล่อนจะใช้เวลาการปลูกจนถึงเก็บผลผลิตในเวลา 75 วัน ขณะที่ปลูกข้าวใช้เวลาถึง 120 วัน

“ตอนนี้กำลังเดินหน้าปลูกพืชใช้น้ำน้อยอย่างจริงจัง มีการทดลองปลูกบวบ และสร้างโรงเรือน เพื่อปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เพื่อรองรับตลาดผักที่เป็นวัตถุดิบให้กับสลัด รวมทั้งยังทดลองปลูกสตรอว์เบอร์รี่ ในพื้นที่ที่ยังเหลืออยู่อีกมากอีกด้วย โดยมีการรวมเป็นกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อปลูกพืชน้ำน้อย รวมทั้งในเร็วๆนี้ยังได้มีการปรับพื้นที่ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร”

นายกรกฏ กล่าวไปต่อว่า ในระยะนี้การปลูกพืชน้ำน้อยเช่นที่ตนเองปลูกอยู่ ก็อาจจะมีราคาดี แต่ในอนาคต หากไม่มีการวางแผนที่ดี เกษตรกรหันมาปลูกพืชประเภทนี้มากขึ้นแบบไร้ทิศทาง ก็อาจทำให้ราคาสินค้าตกลงได้ เพราะเมื่อสินค้ามากเกินความต้องการของผู้บริโภค ก็ทำให้ราคามันต่ำลง ทั้งนี้ภาครัฐเองต้องให้การสนับสนุนเกษตรกรอย่างจริงจัง ทั้งการหาตลาดภายในและภายนอกประเทศมารองรับสินค้าพืชผลทางเกษตรจากเกษตรกร ให้การสนับสนุนทางวิชาการและความรู้ในการพัฒนาพืชผลทางเกษตร ก็จะทำให้เกษตรกรลืมตาอ้าปากได้

นายสุรศักดิ์ เพ็งภาค นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ประศุก อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เปิดเผยว่า จากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกษตรกรหลีกเลี่ยงการปลูกข้าวนาปรัง ให้หันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยเช่นถั่วและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อต้องการให้เกิดการบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้งให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง ทาง อบต.ประศุก จึงได้จัดทำโครงการถั่วลิสงไร้น้ำ โดยสนับสนุนเกษตรกรกว่า 50 รายในพื้นที่ปลูกถั่วลิสงทดแทนในจำนวน 2,500 ไร่ เนื่องจากเป็นพืชที่จะใช้น้ำในการหล่อเลี้ยงลำต้นในช่วงแรก จากนั้นก็จะใช้น้ำน้อยมากในฤดูแล้ง สามารถทำให้เกษตรกรในตำบลมีรายได้เพิ่มจากการทำนาและมีผลกำไรกว่า 1 หมื่นบาทต่อไร่ ขณะที่การปลูกข้าวลงทุนสูงได้ผลกำไรเพียง 3-4 พันบาทต่อไร่เท่านั้น ประกอบกับถั่วลิสงดังกล่าว เกษตรกรยังสามารถนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆได้อีกด้วย

นายสมชัย หงส์สุวรรณ เกษตรกรในตำบลประศุก เปิดเผยว่า เดิมตนเองทำนา 2 ครั้งในรอบปี บางปีช่วงทำข้าวนาปรัง ก็พบปัญหาไม่มีน้ำทำนา ข้าวก็เสียหายทั้งที่กำลังเติบโต จนอบต.ประศุกได้จัดทำโครงการส่งเสริมให้เกษตรปลูกพืชน้ำน้อย ในช่วงฤดูแล้งที่ว่างเว้นจากการทำนา โดยส่งเสริมให้เกษตรปลูกถั่วลิสงไร้น้ำ เป็นถั่วลิสงที่ใช้น้ำในช่วงการเริ่มปลูกครั้งแรกเท่านั้น ซึ่งก็สามารถทำให้ตนเองมีรายได้เพิ่มขึ้นมากถึงไร่ละ 9 พัน - 1 หมื่นบาท และขณะนี้ถั่วที่เกษตรกรในตำบลประศุกปลูกนั้นได้ออกผลผลิตแล้ว แต่ยังมีปัญหาในเรื่องของตลาด ซึ่งอยากให้ภาครัฐมาช่วยหาตลาดรองรับเกษตรกรที่ปลูกถั่วลิสงดังกล่าวด้วย

ด้านนายสุทรี วรหาร เจ้าของสวนมะขามเทศเจนจิรา บ้านแฉ่ง ตำบลถนนโพธิ์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า ได้พลิกพื้นที่นากว่า 80 ไร่ ทำการทดลองปลูกพืชมาหลายชนิด ทั้งทุเรียน ลำไย เงาะ ลิ้นจี่ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากดินในพื้นที่อำเภอโนนไทยเค็ม และมีปัญหาเรื่องน้ำแล้ง กระทั่งเมื่อ 3 ปีที่แล้วจึงนำเอามะขามเทศมาทดลองปลูก แต่ไม่ได้ยกร่อง 6 เดือน มีผลผลิตออกมา แต่ฝักไม่โตมากนัก จึงทดลองปรับพื้นที่ด้วยการยกร่องพร้อมทำระบบน้ำหยดไว้ทุกแปลงปรากฏว่ามะขามเทศให้ผลผลิตดี ฟักใหญ่ รสชาติดีมาก วันนี้สวนเจนจิราเก็บผลผลิตมะขามเทศมากว่า 2 ปีแล้ว เฉลี่ยวันละกว่า 500 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 40-60 บาท สร้างรายได้กว่าปีละกว่า 2 ล้านบาท ใกล้คืนเงินทุนที่ลงไปแล้ว

สำหรับปีนี้ต้องยอมรับว่า เป็นปีที่แล้งที่สุด มีน้ำในบ่อที่กักเก็บไว้น้อย ประกอบกับอากาศร้อนส่งผลให้มะขามเทศออกน้อยกว่าทุกปีลดลงกว่าร้อยละ 50 คาดว่าจะมีผลผลิตออกมาประมาณ 250 กิโลกรัม ซึ่งตนไม่ขายผ่านพ่อค้าคนกลาง แต่จะนำไปขายที่ตลาดให้ลูกค้าโดยตรง เพื่อจะได้รู้ทิศทางของตลาดมะขามเทศ โดยคัดเกรดมีตั้งแต่ราคา 35-60 บาทต่อกิโลกรัม

ส่วนนางยุพวัลย์ ชมชื่นดี เกษตรอำเภอโนนไทย กล่าวว่า มะขามเทศเพชรโนนไทย สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันมีเกษตรกรที่ปลูกมะขามเทศจำนวนกว่า 100 ราย บนพื้นที่ประมาณ 750 ไร่ ในตำบลถนนโพธิ์ ตำบลมะค่า และตำบลโนนไทย สร้างรายได้ปีละกว่า 63 ล้านบาท

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,131 วันที่ 14 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

http://www.thansettakij.com/2016/02/15/31057
---------------------------------------------------------------------------------------


พลิกวิกฤตหยุดทำนา หันมาปลูกถั่วแระพืชใช้น้ำน้อยสู้ภัยแล้ง สร้างรายได้งาม


ภายหลังจากภัยแล้งขยายวงกว้าง น้ำต้นทุนเหลือน้อยใช้ได้เพียงอุปโภคและบริโภค รัฐบาลแนะนำเกษตรกรปลูกพืชน้ำน้อยสู้ภัยแล้ง สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว

นายประทิน สิงห์อุดร อายุ 52 ปี ชาวนา บ้านเลขที่ 78/11 หมู่ 4 ต.ศาลาแดง อ.เมือง จ.อ่างทอง ได้พลิกวิกฤตเป็นโอกาส หลังหยุดทำนาเช่าจำนวน 6 ไร่ หันมาปลูกถั่วแระพืชใช้น้ำน้อย ลงทุนต่ำใช้เวลาเพียง 70 วัน เก็บผลผลิตสร้างรายได้ร่วมแสน แถมให้ผู้สูงอายุ และผู้ว่างงานจากภัยแล้ง มีรายได้จากแรงงานเก็บถั่วแระอีกด้วย

นายประทิน เปิดเผยว่า ตนเองทำนาเช่าจำนวน 6 ไร่ หลังกระทบจากภัยแล้งจึงได้หันมาทดลองปลูกถั่วแระสร้างรายได้แทนการทำนา ตามนโยบายรัฐบาลที่ให้ปลูกพืชใช้น้ำน้อยสู้ภัยแล้ง โดยลงทุนค่าเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยชีวภาพ รวมถึงแรงงานชาวบ้าน เป็นเงินประมาณ 3 หมื่นบาท

โดยในช่วงแรก หลังจากไถและหว่านเมล็ดพันธุ์แล้ว นั้นต้องพยายามเฝ้าดูแลนกที่ลงมากินเมล็ดพันธุ์ ซึ่งหลังจากงอกแล้วขึ้นเป็นต้นก็เพียงรดน้ำดูแลใส่ปุ๋ยเท่านั้นก็เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แถมใช้น้ำน้อยกว่าการทำนาหลายเท่าตัว ซึ่งใช้เวลาเพียง 70 วันก็เก็บผลผลิตได้แล้ว ขายส่งตลาดในราคามัดละ 5 กิโลกรัม ราคา 60-70 บาท จำนวน 6 ไร่ ก็มีรายได้ถึง 60,000-70,000 บาทเลยทีเดียว

นอกจากนั้นยังได้ช่วยเหลือเพื่อนบ้านที่สูงอายุ และชาวบ้านที่ว่างงานจากภัยแล้งมาเป็นแรงงานในการเก็บและคัดเลือกถั่วแระในแปลงนา เป็นการสร้างรายได้อีกทางหนึ่งให้กับชาวบ้าน

ซึ่งการปลูกถั่วแระนั้นลงทุนต่ำ และใช้น้ำน้อยกว่าการทำนา การดูแลรักษาง่าย ขอแค่มีเพียงตลาดรับซื้อ และราคาที่มาตรฐาน ก็ทำให้เกษตรกรที่หันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อย เช่นการปลูกถั่วแระก็มีรายได้อย่างงาม ในการหาเลี้ยงครอบครัวสู้ภัยแล้งผ่านวิกฤตไปได้อย่างสบาย

http://www.khaosodonline.com/view_newsonline.php?newsid=1460103215
------------------------------------------------------------------------------------


แล้งหนัก ! ชาวนา จ.พะเยาหันปลูกแตงโม พืชใช้น้ำน้อย สร้างรายได้ดี


ชาวนาจังหวัดพะเยา หันปลูกแตงโมพืชใช้น้ำน้อยสร้างรายได้ หลังเคยทำนาปรังมาแทบทุกปี แต่ปีนี้ต้องประสบภาวะแล้งหนัก

วันนี้ (14 มี.ค.) นายหลั่น เครือสาร ชาวนาในพื้นที่หมู่ที่ 8 ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา พร้อมภรรยา ได้พาผู้สื่อข่าวเข้าชมสวนแตงโม จำนวนกว่า 6 ไร่ ที่ปลูกไว้และกำลังลังออกลูกเป้นจำนวนมาก หลังในพื้นที่ต้องประสบกับภาวะภัยแล้งอย่างรุนแรง จนแทบไม่มีน้ำในการทำการเกษตร ซึ่งทุกปีที่ผ่านมาในพื้นที่บริเวณนี้นับ 1 พันไร่ ได้มีการปลูกข้าวนาปรังมาอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยน้ำจากกว๊านพะเยา ผ่านลำน้ำแม่อิง แต่มาในปีนี้ไม่สามารถปลูกข้าวนาปรังได้เนื่องจากภาวะภัยแล้ง

นายหลั่น เปิดเผยว่า ตนเองต้องหันมาปลูกแตงโม เนื่องจากข้าวนาปรังไม่สามารถปลูกได้ อีกทั้งราคายังตกต่ำจนประสบกับภาวะขาดทุน นอกจากนี้ปัญหาเรื่องภัยแล้งปีนี้ถือว่ารุนแรงมาก น้ำที่เคยมีอยู่เต็มฝั่งในทุกปีที่ผ่านมากลับเกิดการแห้งขอดจนไม่สามารถทำนาปรังได้เหมือนเช่นเคย น้ำจากกว๊านพะเยาก็ไม่สามารถระบายลงสู่ลำน้ำอิงได้เนื่องจากมีปริมาณน้อย

จนตนเองต้องหันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย คือแตงโม ซึ่งเป็นพืชที่มีอายุประมาณ 70 วันก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ และคาดว่าน้ำที่มีอยู่จะเพียงพอหล่อเลี้ยงได้ ซึ่งตอนนี้ตนเองต้องดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้และคาดว่าน้ำที่เหลืออยู่น่าจะเพียงพอต่อการผลิตแตงโมในครั้งนี้

ขณะที่สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดพะเยา พบว่าแหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัดมีปริมาณที่น้อยมาก โดยเฉพาะกว๊านพะเยา ไม่สามารถระบายน้ำให้เกษตรกรทำการเกษตรทุกชนิดได้ ชาวบ้านต้องพึ่งพาแหล่งน้ำต้นทุนในพื้นที่ของตนเองทำการเกษตรที่ใช้น้ำน้อย

http://news.mthai.com/hot-news/economy-news/483813.html
--------------------------------------------------------------------------------------


แนะปลูกพืชสู้ภัยแล้ง สร้างรายได้ 4 หมื่นบาท/ไร่


อีสท์ เวสท์ ซีด ผู้ผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช แนะเกษตรกรเปลี่ยนมาปลูกพืชใช้น้ำน้อย 7 ชนิดในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากให้ผลผลิตเร็วและสร้างรายได้มากกว่า 4 หมื่นบาทต่อไร่ ภายใน 2 เดือน

นายวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ผู้จัดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืชคุณภาพ กล่าวว่า บริษัทได้ดำเนินโครงการ "ศรแดงพืชน้ำน้อย จากร้อยสู่ล้าน" พร้อมทั้งเตรียมเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ความรู้ด้านการปลูกและบริหารจัดการต้นทุน โดยสนับสนุนเกษตรกรทั่วประเทศที่มีอาชีพปลูกพืชไร่ใช้น้ำมาก อาทิ ข้าว ให้เปลี่ยนมาเพาะปลูกพืช 7 ชนิดที่ใช้น้ำน้อย ได้แก่ แตงกวา-แตงร้าน, ฟักทอง, แตงโม, ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดข้าวเหนียว, แฟง และถั่วฝักยาว

พืชทั้ง 7 ชนิด จะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า สามารถทดแทนการปลูกพืชไร่ชนิดเดิมได้ดีในภาวะน้ำแล้งในปีนี้(59) ดังนั้น ช่วง 3-4 เดือนข้างหน้า ก่อนฤดูฝนมาถึง พืชดังกล่าวจะสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้ 2-3 รอบ โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 4-5 พันบาท ระยะการปลูกรอบละ 60-65 วัน สร้างรายได้ 4 หมื่นบาท ใช้น้ำ 551 ลูกบาศก์เมตร และถั่วฝักยาว มีระยะการปลูกรอบละ 50-60 วัน หรือประมาณ 2 เดือน สร้างรายได้กว่า 5 หมื่นบาท ใช้น้ำประมาณ 459 ลูกบาศก์เมตร

ในขณะที่การปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย มีรอบการปลูก 270 -300 วัน สร้างรายได้ 15,000 บาท และใช้น้ำสูงกว่า 1,563 ลูกบาศก์เมตร และข้าว มีรอบการปลูก 100-120 วัน สร้างรายได้ 7,000 บาท ใช้น้ำกว่า 1,118 ล้านลูกบาศก์เมตร

นอกจากนี้ การใช้ระบบน้ำหยด ยังเป็นอีกทางเลือกในการปลูกพืชใช้น้ำน้อย ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมทำกันในภาวะขาดแคลนน้ำ โดยระบบนี้ ทำให้ดินมีความชื้นคงที่ในระดับที่พืชต้องการและเหมาะสม


http://news.voicetv.co.th/business/331848.html

--------------------------------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/05/2016 10:25 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
https://www.youtube.com/watch?v=q-Bv4eeyiyE
พิษณุโลก200159เจาะบ่อบาดาลกลางแม่น้ำยม
----------------------------------------------------------------------

https://www.youtube.com/watch?v=2eCG26R8Q60
ชาวนาลุ่มน้ำเจ้าพระยาทุ่มเงินขุดบ่อบาดาล หวังใช้น้ำรักษาพันธุ์ข้าว
----------------------------------------------------------------------

http://www.prdnorth.in.th/ct/news/viewnews.php?ID=160404094106
เจาะบาดาลในกลางทุ่งนา

-----------------------------------------------------------------------

https://www.youtube.com/watch?v=L38WB7V90qY
แม็คโครเล็กขุดบ่อบาดาล กำแพงเพชร

-----------------------------------------------------------------------

https://www.youtube.com/watch?v=-ii6SNHiGMw
เจาะบาดาลน้ำตื้นด้วยแบตตารี่ 24 VDC

------------------------------------------------------------------------

http://pantip.com/topic/30853850
หน่วยบาดาลจะให้จ่ายค่าใช้นํ้าย้อนหลังร่วมแสน

-----------------------------------------------------------------------

http://www.dgr.go.th/water/waterforlife1_1.htm
http://www.dgr.go.th/water/waterforlife1_1.htm
ขออณุญาตเจาะน้ำบาดาล....

-----------------------------------------------------------------------



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/05/2016 5:55 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/05/2016 6:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ชาวโพนพิสัย เฮ กรมชลประทานเดินเครื่องสูบน้ำจากแม่น้ำโขง ลงสู่ลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง ช่วยภัยแล้ง

กรมชลประทาน เดินเครื่องสูบน้ำจากแม่น้ำโขง เก็บกักน้ำไว้ในลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง บรรเทาปัญหาภัยแล้ง และสนับสนุนน้ำดิบผลิตประปา ในเขตอ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ตั้งเป้าสูบน้ำถึงเดือนพฤษภาคมนี้ คาดว่าจะมีปริมาณน้ำเก็บกักไว้ในลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง ไม่ต่ำกว่า 47 ล้านลูกบาศก์เมตร

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากสภาพปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น ในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง ในอ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำทั้งการอุปโภค บริโภค การผลิตประปา และการเกษตรกรรม นั้น กรมชลประทานได้เตรียมการแก้ไขปัญหา โดยการวางแนวทางการใช้น้ำจากน้ำที่จะระบายลงแม่น้ำโขงและรวมถึงน้ำในแม่น้ำโขงในช่วงฤดูแล้ง ด้วยการก่อสร้างสถานีสูบน้ำชั่วคราวสูบทอย 1 แห่ง เพื่อทำหน้าที่สูบน้ำจากบริเวณปากลำห้วยหลวง ซึ่งเป็นจุดที่น้ำจากแม่น้ำโขงไหลเข้ามาสู่ลำห้วย ก่อนนำน้ำมาเก็บกักไว้ด้านหน้าประตูระบายน้ำห้วยหลวง เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และการเกษตรยังชีพ

กรมชลประทาน ได้เริ่มสูบน้ำมาตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค. 59 เป็นต้นมา และจะไปสิ้นสุดการสูบน้ำในวันที่ 10 พ.ค. 59 ปัจจุบันสามารถสูบน้ำมาเก็บกักไว้ในบริเวณหน้าประตูระบายน้ำห้วยหลวง ได้มากกว่า 9.88 ล้านลูกบาศก์เมตรแล้ว โดยมีเป้าหมายที่จะเก็บกักน้ำไว้ในลำน้ำห้วยหลวงตอนล่าง ให้ได้มากกว่า 47 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งปริมาณน้ำนี้จะสามารถส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่ชลประทานในช่วงฤดูแล้งได้ประมาณ 12,000 ไร่ รวม 8 หมู่บ้าน 3 ตำบลของอ.โพนพิสัย และยังจะเป็นแหล่งน้ำสำหรับสนับสนุนการผลิตประปา เพื่อใช้อุปโภคบริโภคในพื้นที่ 7 หมู่บ้าน 2 ตำบล ของอ.โพนพิสัยอีกด้วย

ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความมั่งคงด้านการใช้น้ำและการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยในลุ่มน้ำห้วยหลวง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรมชลประทาน ได้วางแผนดำเนินการโครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง เพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำทั้งฤดูน้ำหลากและฤดูแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วย การก่อสร้างสถานีสูบน้ำบ้านแดนเมือง

เพื่อสูบน้ำจากลำห้วยหลวงระบายลงสู่แม่น้ำโขง ในช่วงฤดูน้ำหลาก และช่วงที่ขาดแคลนน้ำในฤดูฝน

เพื่อนำน้ำจากแม่น้ำโขงเข้ามายังลำห้วยหลวง สำหรับเสริมน้ำให้กับพื้นที่ชลประทาน การก่อสร้างพนังกั้นน้ำช่วงที่ตลิ่งต่ำตามแนวลำห้วยหลวง ความยาวรวม 47.02 กิโลเมตร

เพื่อป้องกันผลกระทบจากระดับน้ำที่สูงขึ้นในพื้นที่ลุ่มต่ำตามแนวเขตน้ำท่วม และช่วยควบคุมปริมาณน้ำและรับน้ำในช่วงน้ำหลาก ก่อนระบายลงสู่แม่น้ำโขงต่อไป การก่อสร้างอาคารบังคับน้ำตามลำน้ำห้วยหลวงและลำน้ำสาขา จำนวน 15 แห่ง

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำ และการก่อสร้างระบบส่งน้ำชลประทานขนาดกลาง ครอบคลุมพื้นที่ชลประทานกว่า 315,000 ไร่ สำหรับใช้กระจายน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรในเขตจังหวัดหนองคายและอุดรธานีด้วย

ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการเสนอกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เพื่ออนุมัติโครงการภายในปี 2559 นี้

สำหรับการแก้ไขปัญหาในระยะยาว อยู่ระหว่างการศึกษาการนำน้ำจากแม่น้ำโขง เพื่อสนับสนุนการเกษตรกรรมและอาจนำน้ำไปช่วยในลุ่มน้ำใกล้เคียง ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายมปี 2559 นี้ด้วย


เครดิต ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน
http://www.fm91bkk.com
---------------------------------------------------------------------

กรมชลฯ ส่งเครื่องสูบน้ำ 6 ตัวสูบน้ำห้วยหลวงอุดรฯ

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2559 ที่หมวดการขนส่งทางอากาศ กองบิน 23 อุดรธานี นายชยาวุธจันทรผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี พร้อมด้วยนายรักสกุล สุริโยเกษตรและสหกรณ์จังหวัด บินสำรวจสถานการณ์ภัยแล้ง และไฟป่า-หมอกควัน โดยเฮลิคอปเตอร์ ศูนย์ปฏิบัติการณ์ทำฝนหลวง โดยเริ่มทำการบินสำรวจจากประตูควบคุมน้ำห้วยหลวง ก่อนไหลลงแม่น้ำโขง อ.โพนพิสัย จ.หนองคายมาตามแนวลำน้ำห้วยหลวง จากกลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง จนถึงลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนบน ใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง

บริเวณประตูควบคุมน้ำห้วยหลวง กรมชลประทานได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ พลังงานไฟฟ้า2ชุดละ4เครื่องเพื่อสูบน้ำจากแม่น้ำโขง ข้ามประตูควบคุมน้ำเข้ามาในลำน้ำห้วยหลวง เพื่อส่งไปช่วยเหลือข้าวนาปรัง และการเกษตรอื่นๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง ซึ่งกรมชลประทานศึกษาออกแบบ โครงการพัฒนาการบริหารจัดการน้ำครอบคลุมพื้นที่ 36 ตำบล 8 อำเภอ จ.หนองคาย และอุดรธานี ระยะเวลา 6 ปี วงเงิน 22,000 ล้านบาท ซึ่งมีวาระภาคเอกชนจะเสนอ ในที่ประชุม กรอ.อีสานตอนบนที่ 1 วันที 18 มีนาคมนี้ที่ มรภ.อุดรธานี
นายชยาวุธ กล่าวว่า พื้นที่ลุ่มห้วยหลวงตอนล่างครอบคลุมพื้นที่ อ.สร้างคอม และ อ.พิบูลย์รักษ์ อ.บ้านดุง บางส่วน เกษตรกรสามารถทำนาปรังได้ เนื่องจากในพื้นที่ต่อเนื่องกับลุ่มน้ำตอนล่างมีสภาพอุดมสมบูรณ์ แต่ในส่วนลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนบน จนไปถึงพื้นที่ต้นน้ำเทือกเขาภูพานน้อย มีหลายพื้นที่มีน้ำน้อย บางแห่งแห้งขอดตื้นเขิน บางแห่งยังพบว่ามีหนองน้ำอยู่บ้าง

“การบริหารจัดการน้ำในทุกพื้นที่ ได้สั่งการให้ทุกอำเภอ ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่น่าเป็นห่วง เพราะยังอยู่ในช่วงของเอลนีโญ เก็บกักน้ำไว้ใช้ โดยใช้โครงการ 1 อำเภอ 88 ฝาย 88 พรรษา ขณะนี้ทั้งจังหวัดทำฝายกระสอบทรายไปได้ 1,020 แห่ง ทำให้มีน้ำเก็บกักเพิ่มนำไปใช้อุปโภค-บริโภค และปศุสัตว์ โดยมีบางท้องที่ให้จัดสร้างเป็นฝายถาวร นอกจากนี้ยังมีโครงการปิดทองหลังพระ เก็บกักน้ำในพื้นที่กระจายทั้งจังหวัด” นายชยาวุธ กล่าว

ส่วนสถานการณ์น้ำในโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยหลวง หรือ อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง ต.โคกสะอาด อ.เมือง แหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัด ล่าสุดปริมาณน้ำในอ่างเหลือ 22.5 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 16.5 ซึ่งปริมาณน้ำที่เหลืออยู่ ที่ทางการประปาส่วนภูมิภาคอุดรธานี จะต้องใช้น้ำที่เหลือ ทำน้ำประปาส่งในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

แต่เนื่องจากระดับน้ำที่ลดต่ำลงทุกวัน จากการนำน้ำดิบในอ่างห้วยหลวงไปผลิตประปา ทำให้ระดับน้ำในอ่างฯ ต่ำกว่าระดับน้ำในคลองที่ส่งไปยังสถานีสูบน้ำ น้ำที่จะไหลไปยังสถานีสูบน้ำ เพื่อส่งทำน้ำประปา น้ำไหลเข้าน้อยกว่าการสูบน้ำออก ทางการประปาส่วนภูมิภาคอุดรธานี จึงทำหนังสือ เพื่อขอให้ทางกรมชลประทาน ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยหลวง เพื่อให้เข้ามาสู่คลองส่งน้ำ เพื่อจะมีน้ำไหลมาสูบไปส่งทำน้ำประปาได้เพียงพอ ทางฝ่ายเครื่องจักรกลสูบน้ำ สำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทาน ได้ส่งเครื่องสูบน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 นิ้ว จำนวน 6 เครื่อง มาติดตั้งที่ปากคลองส่งน้ำไปยังสถานีสูบน้ำ โดยจะเริ่มเดินเครื่องสูบน้ำในวันที่ 14 มีนาคม นี้

จากการบินสำรวจ พบว่า สภาพแล้งได้กระจายตัว พื้นที่ใกล้ลำห้วยหลวง หรือใกล้กับหนองบึงขนาดใหญ่ เกษตรกรยังมีการทำนาปรัง เพาะปลูกพืชผักกันได้ ส่วนของการจัดการบริหารน้ำยังต้องดำเนินการจนกว่าถึงฤดูฝนจะต้องบูรณาการงบจากทุกภาคส่วน เพื่อจัดหาน้ำมาเก็บกักไว้ให้เพียงพอ ขณะนี้ จังหวัดอุดรธานี ยังไม่ได้มีการประกาศ พื้นที่ประสบภัยแล้ง


http://breakingnews.nationtv.tv/home/read.php?newsid=781037
-------------------------------------------------------------------------


แผนการผันน้ำโขงแก้ภัยแล้ง :


โครงการพัฒนาการใช้น้ำในลุ่มน้ำโขง ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ มีความน่าสนใจว่า จะใช้วิธีการใด ในการนำน้ำจาก แม่น้ำโขงมาแก้ปัญหาภัยแล้ง โดยเฉพาะที่วันนี้ อธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ติดตามโครงการพัฒนาห้วยหลวง ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการผันน้ำจากแม่น้ำโขง

โครงการพัฒนาการใช้ลุ่มน้ำโขง จะแบ่งเป็น 3 ระยะ โดยระยะเร่งด่วน คือ การสูบน้ำมายังประตูระบายน้ำห้วยหลวง เพื่อใช้ในหน้าแล้งปีนี้ ระยะที่สอง คือ การสร้างสถานีสูบน้ำบ้านแดนเมือง ตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ซึ่งจะสร้างอุโมงค์ลอดใต้ถนน ไปยังจุดส่งน้ำลงลำน้ำห้วยหลวง

โดยภายใน 2 ปีนี้ จะสร้างระบบส่งน้ำให้แล้วเสร็จ เชื่อมต่อน้ำจากแม่น้ำโขงได้ 80 กิโลเมตร ไปถึงลุ่มน้ำสงคราม อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี โดยเชื่อว่าจะเริ่มใช้ได้ในปี 2561 และคาดว่าจะใช้งบประมาณ ราว 18,000 ล้านบาท

ระยะที่ 3 จะศึกษาแนวทางส่งน้ำไปยังเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ภายใน 6 เดือน ซึ่งเบื้องต้น จะเชื่อมต่อการส่งน้ำจากลำน้ำห้วยหลวงไปยัง อ่างเก็บน้ำหนองหาน-กุมภวาปี และเขื่อนอุบลรัตน์ คาดว่าจะเริ่มทำได้ในปี 2560 แล้วเสร็จภายใน 4-5 ปี ใช้งบประมาณ ประมาณ 30,000 ล้านบาท โครงการนี้ จะเกิดประโยชน์ต่อพื้นที่เกษตรกรรม ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง กว่า 1.3 ล้านไร่


http://www.krobkruakao.com
http://www.krobkruakao.com

------------------------------------------------------------------------


นักวิชาการชี้ผันน้ำโขงไม่คุ้ม อบต.จ่ายค่าไฟสูบน้ำเข้านาเดือนละล้าน-เครือข่ายอีสานจวก 40 ปีรัฐจัดการน้ำ อีสานระบบนิเวศพัง

นักวิชาการชี้ผันน้ำโขงไม่คุ้ม อบต.อ่วมจ่ายค่าไฟสูบน้ำเข้านาเดือนละล้าน ‘หาญณรงค์ เยาวเลิศ’ ข้องใจตัวเลขชลประทาน ‘แสนไร่’ เครือข่ายอีสานแถลง 40 ปีรัฐจัดการน้ำอีสานระบบนิเวศพัง ด้านรัฐมนตรีเกษตรฯ ลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาภัยแล้งระยะเร่งด่วนในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยหลวง ตอนล่าง และติดตามโครงการใช้น้ำลุ่มน้ำโขง

14 ม.ค. 2559 จากกรณีเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2559 ที่ประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2559 หารือผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์น้ำ และการเตรียมการรับสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน อนุมัติหลักการผันน้ำเข้าลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อดูแลบริหารจัดการให้เพียงพอ โดยมีอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ อธิบดีกรมชลประทาน แถลงภายหลังการประชุมฯ

สันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี เปิดเผยว่า กรณีที่คณะกรรมการน้ำแห่งชาติ ได้เห็นชอบแนวทางการผันน้ำจากลุ่มน้ำโขงและสาละวินเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง ซึ่งระบุว่าจะเริ่มดำเนินการทันทีที่พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยหลวง โดยจะดำเนินการให้เสร็จภายใน 4 เดือน และมีโครงการอื่นๆ อาทิ โครงการพัฒนาการใช้น้ำโขง-ห้วยหลวง-ลุ่มน้ำสงครามนั้น ตนมีความเห็นว่าสำหรับในฤดูแล้ง โดยสภาพปัจจุบันน้ำในลำห้วยมีปริมาณน้อยแทบไม่มีอยู่แล้ว และยังมีโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าอีกหลายจุด ที่จะสูบน้ำเพื่อทำนาปรังตลอดลำห้วยหลวง ทั้งโครงการเดิม และโครงการใหม่ที่ถ่ายโอนมาให้องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แต่ปัญหาในพื้นที่ คือ ในลำห้วยไม่มีน้ำให้สูบ อบต.ก็สูบไม่ได้ เพราะมีการบุกรุกพื้นที่ชุมน้ำป่าบุ่งป่าทามเพื่อทำนาปรังกันแทบหมดแล้ว สภาพแบบนี้แทบทุกที่ รวมทั้งที่ลุ่มน้ำสงครามก็เช่นกัน

“แต่สิ่งที่เกิดขึ้น คือ บรรดา อบต.กำลังตกที่นั่งลำบากเนื่องจาก อบต.ต้องจ่ายเงินประมาณ 40-60 เปอร์เซนต์ของค่าไฟฟ้าในการสูบน้ำ ที่เหลือชาวบ้านจ่าย และต้องจ่ายค่าบำรุงรักษาด้วย ที่อบต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม มีสถานีสูบน้ำ 3 แห่ง ซึ่งโอนมาจากกรมชลประทาน มีการสูบน้ำตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 จนถึงเดือนมีนาคมนี้ คาดว่าจะได้พื้นที่นาปรัง 3,000ไร่ แต่ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเดือนละ 1 ล้านบาท ไม่รวมค่าบำรุงรักษาระบบ เฉลี่ยแล้วต้นทุนค่าน้ำต่อไร่ คือ 1,666 บาท” สันติภาพ ให้ข้อมูล

อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกล่าว กล่าวว่า ในส่วนนี้ หากแปลงเป็นเอกชนดำเนินการแทนและชาวบ้านต้องจ่ายทั้งหมด ต้นทุนค่าน้ำน่าจะแพงกว่านี้แน่นอน เนื่องจากเอกชนต้องคิดต้นทุนจากค่าไฟฟ้า ค่าดูแลรักษา ค่าก่อสร้าง และกำไร ซึ่งอาจทำให้ค่าน้ำแพงมากกว่าเท่าตัว ในกรณีปัจจุบันเป็นน้ำในลำห้วยที่ ไม่ได้เสียค่าไฟสูบขึ้นมาจากน้ำโขง แต่หากในอนาคตต้องรวมค่าไฟฟ้าที่สูบน้ำขึ้นมาจากแม่น้ำโขงอีก และสูบข้ามฝายต่างๆ มาเป็นช่วงๆ อีกตามแผนที่มีการศึกษาไว้นั้น จะยิ่งทำให้ค่าน้ำแพงเข้าไปใหญ่ ยิ่งอยู่ไกลก็ยิ่งแพง

อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกล่าวเพิ่มเติมว่า ตัวเลขเดิม ความคุ้มค่าอยู่ที่ 5.60 บาท/ลูกบาศก์เมตร ที่ไจก้า (JICA- องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น) ได้มาดูและศึกษาเมื่อปี 2553 แล้วบอกว่ามันไม่คุ้ม

“ไจก้าเลยไม่ให้เงินกู้ มันแพงและไม่คุ้มทุน แม้ว่าจะทำให้ค่าน้ำลดลงมาเหลือ 3 บาท ก็คิดว่ายังแพงอยู่ เพราะใช้น้ำ 1,500 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ ดังนั้นค่าน้ำในการทำนาจะอยู่ที่ประมาณ 4,500 บาท/ไร่ คำถามคือ ปลูกข้าวไร่หนึ่งมีกำไรสูงถึง 4.5 พันบาท หรือไม่ หากทำแบบนี้ชาวบ้านเจ๊งแน่ แต่ถ้ารัฐและอบต.ช่วยอุดหนุนให้ในช่วงแรก เพื่อให้ชาวบ้านสนับสนุนโครงการ แต่เมื่อทำไปสักระยะจึงโอนให้เอกชนมาบริหาร คราวนี้ บรรลัยแน่ ไม่มีปัญญาซื้อน้ำทำนาแน่นอน” สันติภาพ กล่าว

อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกล่าวเพิ่มเติมว่าตอนนี้อ่างเก็บน้ำห้วยหลวงมี พื้นที่ชลประทานฤดูแล้งเท่ากับ 0 ไร่

“เวลานี้มีน้ำเพียงพอที่จะทำประปาถึงเดือนพฤษภาคมหรือเปล่ายังต้องลุ้น เป็นแบบนี้มาหลายปีแล้ว ไม่เคยเกิน 60 เปอร์เซนต์ ของพื้นที่โครงการเลย ในรอบ 5 ปีมานี้ มีพื้นที่ชลประทาน 0 เปอร์เซนต์มา 2 ปีแล้ว”

หาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ กล่าวถึงข้อสังเกตุ ดังนี้
1. โครงการเป็นการสูบน้ำและประตูระบายน้ำ 4-5 แห่ง ซึ่งจะต้องมีสถานีสูบน้ำที่ใช้ไฟฟ้าเข้ามาพักเป็นช่วงๆ ก่อนที่น้ำจะลงแม่น้ำโขง คำถามคือเวลาต้องสูบน้ำใครจะจ่าย ใช้งบประมาณส่วนใด ต้นทุนที่เพิ่มมาเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณา เนื่องจากไม่ใช่เพียงการก่อสร้างโครงการแล้วจบ

2. ตัวเลขที่ภาครัฐระบุว่าจะสามารถเปิดพื้นที่ชลประทานในฤดูฝนได้ประมาณ 250,000 ไร่ และ ฤดุแล้งได้ 102,000 ไร่ จำเป็นที่ต้องร่วมกันตั้งคำถามว่า เป็นตัวเลขจริงหรือไม่ หลายคนสงสัยว่าตัวเลขนี้มาจากไหน หากคำนวณจากปริมาณน้ำที่จะสูบเข้ามาหรือกักเก็บเพียงร้อยกว่าล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี มันขัดกับตัวเลขพื้นที่ชลประทานเป็นแสนๆ ไร่ที่อ้างมา คำถามคือตัวเลขเหล่านี้สร้างขึ้นมาเพื่อสนับสนุนความคุ้มทุนของโครงการหรือไม่

ในวันเดียวกัน เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำอีสาน ได้ออกแถลงการณ์ต่อกรณีดังกล่าวโดยระบุว่ากิจกรรมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ลงมาพื้นที่พร้อมกับหน่วยงานงานที่เกี่ยวข้อง มีนัยยะแอบแฝงที่จะฟื้นโครงการโขง ชี มูล เดิม ซึ่งเป็นโครงการที่มักกล่าวอ้าวอ้างว่าอีสานแล้งซ้ำซาก กลายเป็นช่องทางของหน่วยงานรัฐในการนำเสนอโครงการ จัดการน้ำขนาดใหญ่ ในภาคอีสานตลอดมา อย่างเช่น “โครงการผันน้ำโขง-ชี-มูล”

“บทเรียนการจัดการน้ำด้วยโครงการขนาดใหญ่ในอีสานกว่า 40 ปี แทบจะเป็นบทสรุปความล้มเหลวในทุกโครงการ ได้แก่ โครงการโขง-ชี-มูล เขื่อนปากมูล โครงการชลประทานระบบท่อ โครงการน้ำแก้จน ฯลฯ ผลที่เกิดจากโครงการเหล่านี้ได้ทำให้ระบบนิเวศโดยเฉพาะการ ขุดลอกแหล่งน้ำสำคัญของอีสานพังพินาศไปมากกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ การแพร่กระจายของดินเค็ม การสูญเสียที่ดินทำกิน การสูญเสียพันธุ์ปลาและความหลากหลายทางชีวภาพ

ยังมีชาวบ้านอีกจำนวนมากที่ต้องประสบปัญหาและรอการแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้น จากโครงการเหล่านี้มามากกว่า 20 ปี และผ่านมาแล้วมากกว่า 10 รัฐบาล โครงการบางแห่งก็กลายเป็นอนุสาวรีย์แห่งความล้มเหลวประจานผลงานภาครัฐ

บทเรียนและงบประมาณรัฐหลายแสนล้านบาทเหล่านี้ไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างคุ้มค่า และสร้างปัญหามากมายในภายหลัง แต่ก็ไม่ได้ทบทวนแนวทางรูปแบบโครงการแต่อย่างใด กลับจะเดินหน้าพัฒนาโครงการใหม่ โดยละเลยกระบวนการและขั้นตอนที่ภาคประชาชนให้ความสำคัญและติดตามมาตลอด และยังวนเวียนซ้ำซากกับโครงการแบบเดิมๆ ที่เพิ่มขนาดใหญ่ขึ้น ใช้เงินมากขึ้น และสร้างผลกระทบมากขึ้น” แถลงการณ์ระบุ

แถลงการณ์ระบุอีกว่า เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำอีสาน ขอแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วย กับโครงการผันน้ำโขง-ชี-มูล เนื่องจากประชาชนทั้งภาคอีสาน ทุกอำเภอ ทุกจังหวัด ไม่ได้แสดงความคิดเห็นและเปิดให้มีการถกเถียงกันถึงความจำเป็นของโครงการ รวมทั้งให้โอกาสประชาชนได้เสนอทางเลือกอันหลากหลายในการจัดการน้ำ ที่สอดคล้องกับระบบนิเวศอีสานทั้งหมดที่ประกอบไปด้วย พื้นที่ทาม ทุ่ง โคก ภู ซึ่งมีลักษณะจำเพาะของแต่ละพื้นถิ่น และสามารถพัฒนารูปแบบที่หลากหลาย สอดคล้อง มีความยั่งยืนกว่า การบริหารจัดการง่ายกว่า โดยไม่จำเป็นที่จะต้องผันน้ำข้ามลุ่มน้ำ หรือใช้แม่น้ำระหว่างประเทศเลย

กรมชลประทานไม่ควรรวบรัดตัดตอนดำเนินโครงการ โดยไม่ฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่ของภาคอีสาน รัฐควรให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมที่แท้จริง ไม่ใช่เพียงแค่ทำไปตามรูปแบบขั้นตอนให้เสร็จๆ ไป ทั้งที่ได้กำหนดทุกอย่างเอาไว้แล้ว ประชาชนคนอีสานไม่ควรถูกบังคับให้ยอมรับการพัฒนาที่พวกเขาไม่ได้มีส่วนร่วม ในการกำหนด และนำความหายนะมาให้เหมือนเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา

“เครือข่ายลุ่มน้ำภาคอีสานยังสนับสนุนแนวทางและกระบวนการจัดการน้ำในรูป แบบของชุมชนที่เข้าถึงทรัพยากร อนุรักษ์ และฟื้นฟูระบบนิเวศในแต่ละท้องถิ่นนั้นๆ ตามสิทธิการจัดการทรัพยากรน้ำโดยไม่เบี่ยงเบนจากหลักการของการจัดการน้ำที่ เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ”แถลงการณ์ระบุ

ผู้สื่อข่ายวรายนงานว่า วันนี้ (14 ม.ค. 2559) พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินทางลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาฝายห้วยหลวง ตำบลวัดหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคายเพื่อตรวจติดตามการดำเนินงานพัฒนาการใช้น้ำลุ่มน้ำโขง เพื่อการชลประทานครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรมกว่า 9 หมื่นไร่ จากนั้นเดินทางไปตรวจเยี่ยมหน่วยบริหารจัดการประมงน้ำจืดและทำพิธีปล่อยปลาในเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น


http://www.citizenthaipbs.net/node/7541

--------------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©