-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ไดโลไมต์ ปูนมาร์ล ปูนขาว ยิบซั่ม
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ไดโลไมต์ ปูนมาร์ล ปูนขาว ยิบซั่ม
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ไดโลไมต์ ปูนมาร์ล ปูนขาว ยิบซั่ม

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Pitipol
เว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์


เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009
ตอบ: 332
ที่อยู่: 114/2 ม.11 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง

ตอบตอบ: 10/03/2010 12:35 am    ชื่อกระทู้: ไดโลไมต์ ปูนมาร์ล ปูนขาว ยิบซั่ม ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


ไดโลไมต์ (Dolomite)
เป็นปูนที่มีสารประกอบของคาร์บอเนต เช่นเพียวกับหินปูนแคลเซียม
คาร์บอเนต (CaCo3) ซึ่งได้จากภูเขาหินปูนที่มีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย โดโลไมต์มีสูตรทาง
เคมีว่า แมกนีเซียมแคลเซียมคาร์บอเนต MgCo3CaCo3 เมื่อบริสุทธิ์จะมีแมกนีเซียม 13.5%
(แมกนีเซียมออกไซต์ 21.7%) และแคลเซียมออกไซต์ 30.2%


โดโลไมต์สามารถนำไปผลิตเป็นสารอื่น ๆ ได้ดังนี้
โดโลไมติกไลม์ (Dolomiticlime) เมื่อเรานำโดโลไมต์ไปผ่านกระบวนการแคลซิเนชั่น
(Calcination)ที่อุณหภูมิ 900-100 C แล้วละก็ คุณผู้ฟังจะได้ โดโลไมติกไลม์ ซึ่งมีสูตรทาง
เคมีคือแมกนีเซียมออกไซด์ MgO.Cao และถ้าใช้อุณหภูมิเพียง 550-600 C และพ่นด้วย
Supperheatedsteam แล้วแมกนีเซียมคาร์บอเนตจะเปลี่ยนเป็นแมกนีเซียมออกไซด์ ส่วน
แคลเซียมคาร์บอเนตไม่สลายตัว จึงได้แมกนีเซียมออกไซด์แคลเซียมคาร์บอเน MgO.
CaCo3 ซึ่งสลายในดินและเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ง่ายกว่าโดโลไมต์อีกด้วย

แมกนีเซียม-แคลเซียม-แอมโมเนียมไนเตรท ผลิตได้จากปฎิกิริยาระหว่างโดโลไมต์บด
กับแอมโมเนียมไนเตรท ดังนั้นปุ๋ยที่จะได้ คือ แมกนีเซียม-แคลเซียม-แอมโม
เนียมไนเตรท ซึ่งเก็บรักษาง่ายและไม่เสี่ยงต่อการระเบิดเหมือนแอมโมเนียมไนเตรท

เบสิก สแลค (Basic Slag) เบสิกสแลค จัดเป็นปุ๋ยฟอสเฟตที่ได้รับจากวัสดุอันเป็นผล
พลอยได้จากอุตสาหกรรมถลุงแร่ เหล็ก จากสินแร่ที่มีฟอสฟอรัสเป็นสิ่งเจือปน วิธีการแยกสิ่งเจือ
ปนนี้ทำได้โดยหลอมสินแร่เหล็กกับถ่านเค้ก และโดโลไมต์บดในเตาเผาที่มีอุณหภูมิประมาณ
1,900 C เบสิก สแลคจะเบากว่าเนื้อเหล็กที่หลอม ดังนั้นเบสิกสแลคจึงลอยอยู่บนผิวและถ่าย
ออกได้หลังจากปล่อยไว้ให้เย็นลงในอากาศจึงเทลงในน้ำ เบสิก สแลคก็จะแตกออกเป็นเม็ด
เล็ก ๆ ปริมาณของแมกนีเซียในปุ๋ยที่เป็นประโยชน์ต่อพืชจะใกล้เคียงกับการใช้โดโลไมต์

เนื่องจากโดโลไมต์เป็นปูนคาร์บอเนตชนิดหนึ่ง จึงสามารถใส่ลงดินเปรี้ยวเพื่อแก้ไขความเป็นกรด
หรือปรับพีเอช (pH) ของดินให้เหมาะสมได้ นอกเหนือจากการใส่ปูนขาว ปูนมาร์ล หรือเปลือก
หอยเผา ซึ่งสามารถจะแก้ไขความเป็นกรดของดินได้เช่นเดียวกัน

นอกจากนี้การที่โดโลไมต์เป็นองค์ประกอบของแคลเซียมและแมกนีเซียม ดังนั้นการใส่โดโลไมต์
ลงในดินจึงเท่ากับเป็นการเพิ่มธาตุอาหารรองให้แก่พืชได้อีกด้วย ด้วยเหตุนี้เอง จึงจัดได้ว่า
โดโลไมต์เป็นปุ๋ยแมกนีเซียมและแคลเซียมที่ราคาถูกและหาได้ง่าย ประโยชน์ของโดโลไมต์ยังมี
อีกหลายอย่าง เช่น ใช้ลดฤทธิ์กรดและปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของปุ๋ยผสม
นอกจากนี้ยังใช้แทนสารตัวเติมหรือใช้แทนสารที่เราเรียกว่า ฟิลเลอร์ (filler) ในกระบวนการ
ผลิตปุ๋ยเคมีได้อีกด้วย



ที่มา: http://bangkok-guide.z-xxl.com/?p=7620
-------------------------------------------------------------------------------------

ผมเอาปุ๋ย 21-7-14 ทางดินยี่ห้อ 4 กิโลกรัม มาละลายน้ำในกระป๋องพลาสติก ผิวน้ำจะเต็มไป
ด้วยสีฟ้าจากเม็ดปุ๋ย กลิ่นคล้ายดินน้ำมัน น้ำที่ละลายจะเป็นสีขาวขุ่น จุ่มแล้วคนๆ จะรู้สึกเย็นมากๆ
ข้างล่างจะเต็มไปด้วยเม็ดฟิลเลอร์กลมขนาดเท่ากับยังไม่ละลายน้ำ จึงลองเทน้ำด้านบนออก แล้ว
ใส่น้ำเปล่าเข้าไป ทำ 3 ครั้ง ฟิลเลอร์เม็ดกลมๆ จะเหลือเป็นเม็ดละเอียดเหมือนทรายประมาณ 2-
3 ขีด แต่ใส่น้ำเปล่าเข้าไปอีกกี่ครั้ง มันก็จะไม่ละลายอีกแล้ว

อยากจะรู้ว่าฟิลเลอร์นี้เป็นโดโลไมต์ไหมครับ เพราะที่ข้างกระสอบปุ๋ยเขียนส่วนประกอบว่ามี แม็ก
นีเซียม 1.0% แคลเซียม 3.0% มันเป็นอัตราส่วน 1:3 เหมือนของโดโลไมต์เลย

_________________
เกษตรกรฝึกหัด
โอ ระยองครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ MSN
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/03/2010 6:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

TO โอ.....

ตามหา หินภูเขาไฟ. เพอร์ไรซ์. มอลท์. และอื่นๆ เอามาให้พวกเราได้รู้อีกนะ


ลุงคิมครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/03/2010 4:30 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Biot_11
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/02/2010
ตอบ: 38

ตอบตอบ: 10/03/2010 12:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โดโลไมติกไลม์ (Dolomiticlime) เมื่อเรานำโดโลไมต์ไปผ่านกระบวนการแคลซิเนชั่น
(Calcination)ที่อุณหภูมิ 900-100 C
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Pitipol
เว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์


เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009
ตอบ: 332
ที่อยู่: 114/2 ม.11 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง

ตอบตอบ: 10/03/2010 9:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำพูด:
โดโลไมติกไลม์ (Dolomiticlime) เมื่อเรานำโดโลไมต์ไปผ่านกระบวนการแคลซิเนชั่น (Calcination)ที่อุณหภูมิ 900-100 C




Dolomitic Lime

Introduction

Dolomitic quicklime is the name given to the quicklime formed from calcining a natural dolomitic limestone that contains nearly an equal molar weight percentage of calcium oxide to magnesium oxide. Ideally, this quicklime would contain 56% calcium oxide, 40% magnesium oxide, and 4% other major lime impurities such as iron oxide, aluminum oxide, silicon dioxide, and sulfur.

Process
The production of high calcium quicklime (magnesium oxide) requires a large amount of heat, which is generated in the kiln environment. The quarried and sized high magnesium limestone travels through a rotary kiln and is subjected to these high temperatures where the calcium carbonate begins to dissociate with the resultant formation of magnesium oxide. The minimum temperature for the dissociation of calcium carbonate is 1648 oF (898 oC). For practical production purposes, however, the kiln temperature range is from an initial temperture of about 1750 oF (954 oC) to a final temperature of about 1950 oF (1066 oC). These temperatures can vary dependent upon the nature of the limestone being calcined.

"Dolomitic" Limestone Calcination:

CaCO3 • MgCO3 + Heat ---> CaO • MgO + 2CO2

Contant____Percentage
MgO________35%
CaO________55%
SiO2________2%
R2O3_______2%
_________________
เกษตรกรฝึกหัด
โอ ระยองครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ MSN
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/03/2010 10:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปูนมาร์ล ปูนขาว ยิบซั่ม : ถั่วลิสง

หลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการเกษตร วิชาเอกพืชศาสตร์
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
วิชา 1212 780 สัมมนา 1

ปีการศึกษา 2546

เรื่อง แหล่งแคลเซียมที่เหมาะสมสำหรับการผลิตถั่วลิสงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นักศึกษา นางสาวโสภิตา คำหาญ (sopita@agri.ubu.ac.th)

ที่ปรึกษา รศ.ดร.กิตติ วงส์พิเชษฐ


บทคัดย่อ
ดินที่ใช้ปลูกถั่วลิสงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์
ต่ำ หรือขาดธาตุอาหารที่จำเป็น โดยเฉพาะธาตุแคลเซียม ซึ่งมีความจำเป็นต่อการสร้างฝักและการ
ติดเมล็ดของถั่วลิสง ในกรณีที่ดินขาดแคลเซียม เกษตรกรอาจใช้ ยิปซัม ปูนขาว ปูนมาร์ล และปูน
โดโลไมท์ เพื่อเพิ่มธาตุแคลเซียมในดิน อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่า แหล่งของ
แคลเซียมชนิดใดเหมาะสมต่อการผลิตถั่วลิสงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การนำเสนอในครั้งนี้
จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอวัสดุปรับปรุงดินที่เป็นแหล่งแคลเซียมสี่ชนิด คือ ยิปซัม ปูนขาว ปูน
มาร์ล และปูนโดโลไมท์ และหาชนิดวัสดุที่เหมาะสมต่อการผลิตถั่วลิสงในภาคตะวันออกเฉียง
เหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรรายย่อย โดยได้นำเสนอถึงบทบาทและความสำคัญของ
แคลเซียม คุณสมบัติ ราคา การให้ผลผลิต ต้นทุนการผลผลิต และความยากง่ายในการปฏิบัติงาน
จากการศึกษาพบว่า ปูนขาวเป็นแหล่งของแคลเซียมที่เหมาะสมต่อการผลิตถั่วลิสงในพื้นที่ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด คือ ปูนขาวจะให้ทั้งธาตุแคลเซียม และเพิ่ม pH ในดินให้สูงขึ้น ซึ่ง
จะช่วยให้ถั่วลิสงดูดใช้แคลเซียมได้ดีขึ้น และการใช้ปูนขาวในอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ได้ผล
ผลิตฝักแห้ง 241 กิโลกรัมต่อไร่ และการใส่ปูนขาวยังมีต้นทุนต่ำสุดคือ 0.74 บาทต่อกิโลกรัม
ฝักแห้ง นอกจากนี้ปูนขาวยังเป็นวัสดุปรับปรุงดินที่หาซื้อได้ทั่วไป

คำสำคัญ: แหล่งแคลเซียม, ถั่วลิสง, ผลผลิตฝัก, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

1. คำนำ
ถั่วลิสง (Arachis hypogaea L.) เป็นพืชตระกูลถั่วอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมนำมาบริโภค มี
การปลูกถั่วลิสงกันแพร่หลายมากถึง 61 จังหวัดในประเทศไทย โดยปลูกมากที่สุดในภาคเหนือ
รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ตามลำดับ สำหรับภาคตะวันออก
เฉียงเหนือมีเนื้อที่ปลูกถั่วลิสงในปีเพาะปลูก 2544-2545 ประมาณ 184,700 ไร่ มีปริมาณผล
ผลิตฝักประมาณ 43,900 ตัน จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ปลูกถั่วลิสงมาก ได้แก่
กาฬสินธุ์ ศรีษะเกษ นครราชสีมา บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ขอนแก่น สกลนคร และอุดรธานี (สำนัก
งานเศรษฐกิจการเกษตร, 2545)

การผลิตถั่วลิสงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักประสบปัญหาภัยธรรมชาติ โรคและแมลงเข้า
ทำลาย มีสารอะฟลาทอกซินปนเปื้อน และการขาดธาตุอาหารที่จำเป็น (ทักษิณา, 2534) โดย
เฉพาะการขาดธาตุแคลเซียมซึ่งเป็นธาตุอาหารรองที่สำคัญต่อการสร้างฝัก และการติดเมล็ดของ
ถั่วลิสง ที่สำคัญ ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ใช้ปลูกถั่วลิสงส่วนมากเป็นดินปนทราย ถึงแม้ว่า
การปลูกถั่วลิสงในดินปนทรายทำให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตฝัก แต่ในดินชนิดดังกล่าวมักมี
สภาพเป็นกรด และมีสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ (สนั่น, 2533) ทำให้ได้ผลผลิตฝักไม่
เป็นที่พอใจมากนัก

นอกจากนี้ ดินที่ปลูกถั่วลิสงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักมีปริมาณแคลเซียมต่ำกว่าค่าวิกฤตที่
อยู่ในช่วงระหว่าง 120-320 ppm ตัวอย่างเช่น ดินชุดต่างๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ดิน
ชุดยโสธร น้ำพอง สตึก เพ็ญ อุบล โคราช และวาริน มีปริมาณแคลเซียมในดินระดับชั้นไถพรวนต่ำ
มากอยู่ในช่วงเพียง 6-114 ppm (Adams and Hartzog, 1980; Daughtry and Cox,
1974; Vibulsukh et al.,1987; Walker et al., 1979 ทั้งหมดอ้างโดย สุเธียร, 2537 )

แนวทางในการแก้ไขปัญหาดินที่ขาดแคลเซียมอาจทำได้โดยการเพิ่มปริมาณแคลเซียมในดินให้
สูงขึ้น ด้วยการใส่วัสดุปรับปรุงดินที่เป็นแหล่งของแคลเซียม เช่น ยิปซัม ปูนขาว ปูนมาร์ล และโด
โลไมท์ เติมลงไปในดิน นอกจากเป็นการเพิ่มธาตุแคลเซียมแล้ว ยังเป็นการปรับสภาพ pH ของ
ดินให้สูงขึ้น ทำให้การดูดใช้ธาตุอาหารอื่นๆในดินเกิดประโยชน์ต่อพืชมากขึ้นด้วย

การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอชนิดของวัสดุปรับปรุงดินที่เป็นแหล่งของ
แคลเซียมสี่ชนิด คือ ยิปซัม ปูนขาว ปูนมาร์ล และโดโลไมท์ และศึกษาชนิดวัสดุที่เหมาะสมต่อ
การผลิตถั่วลิสงสำหรับเกษตรกรรายย่อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


2. รูปของแคลซียม
ในบรรดาแหล่งของแคลเซียมที่เป็นวัสดุปรับปรุงดินทั้งสี่ชนิดคือ ยิปซัม ปูนขาว ปูนมาร์ล และปูน
โดโลไมท์ มียิปซัมเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ไม่ใช่สารประกอบพวกปูน ยิปซัมที่ใช้ทางการเกษตร
ได้มาจากธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากการตกตะกอนของทะเลเก่า ในประเทศไทยพบมากในบริเวนพื้นที่
จังหวัดพิจิตร นครสวรรค์ และพื้นที่ภาคใต้ เป็นแร่ยิปซัมที่มีความบริสุทธิ์ 96-98% ประกอบด้วย
ธาตุแคลเซียม 23% และกำมะถันที่อยู่ในรูปของซัลเฟต 17% ดังนั้น การใช้ยิปซัมจึงเป็นการ
เพิ่มธาตุกำมะถันลงไปในดินด้วยปูนขาวอยู่ในกลุ่มปูนไฮดรอกไซด์ ได้จากการนำหินปูนมาเผาให้
เป็นออกไซด์ เมื่อเย็นตัวลงแล้วพรมน้ำให้ชุ่ม ออกไซด์จะทำปฏิกิริยากับน้ำทำให้แตกออกกลาย
เป็นผงละเอียด ปูนขาวมีความบริสุทธิ์ประมาณ 95-96% ส่วนปูนมาร์ลและปูนโดโลไมท์ จัดอยู่
ในกลุ่มของปูนคาร์บอเนต ปูนมาร์ลได้จากหินดินมาร์ล พบมากบริเวณภาคกลางตอนใต้ของ
ประเทศไทย ซึ่งปูนมาร์ลที่พบตามธรรมชาติมีลักษณะร่วนซุย ส่วนปูนโดโลไมท์นั้นได้จากการนำ
หินปูนที่มีแมกนีเซียมเป็นส่วนประกอบมาบด มีความบริสุทธิ์อยู่ระหว่าง 50-90% เช่นเดียวกันกับ
ยิปซัม กล่าวคือ เมื่อใช้ปูนโดโลไมท์ ก็เป็นการเพิ่มธาตุแมกนีเซียมลงไปในดินด้วยเช่นกัน

2.1 รูปของแคลเซียมในดิน แคลเซียมที่อยู่ในดินอยู่ในรูปของส่วนประกอบของหินและแร่
แคลเซียมที่เป็นส่วนประกอบของหิน เช่น หินบะซอลท์ หินปูน และหินอ่อน ส่วนแคลเซียมที่เป็น
องค์ประกอบของแร่ในรูป แร่แคลไซต์ แร่ไพรอกซีน แร่แอมพิโบล แร่อะปาไทต์ และแร่ยิปซัม
แคลเซียมเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ก็ต่อเมื่อหินและแร่สลายตัวผุพังและปลดปล่อย
แคลเซียมออกสู่สารละลายดิน เมื่อปลดปล่อยออกมาแล้วแคลเซียมจะถูกดูดยึดไว้ที่ผิว
ของอนุภาคดิน (soil colloids) และอยู่ในรูปของเกลือแคลเซียมอิสระ เช่น แคลเซียม
คาร์บอเนต (CaCO3) และแคลเซียมซัลเฟต (CaSO4) เมื่อมีความชื้นเหมาะสม เกลือเหล่านี้
จะละลายน้ำ และแตกตัวให้แคลเซียมไอออนที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวก (Ca2+) ซึ่งพืชสามารถดูด
ไปใช้ได้


สมการการแตกตัวของแคลเซียมเป็นดังนี้

แคลเซียมคาร์บอเนต
CaCO3(s) Ca2+(aq) + CO32-

แคลเซียมซัลเฟต
CaSO4(s) Ca2+(aq) + SO42-(s)


2.2 รูปของแคลเซียมในพืช แคลเซียมในพืชมีสองรูปแบบคือ แคลเซียมไอออน (Ca2+) ที่ถูก
ดูดยึดให้ติดกับอนุมูลต่างๆ และแคลเซียมที่อยู่ในรูปของสารประกอบ เช่น แคลเซียมออกซา
เลท (CaC2O4.H2O) แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) และแคลเซียมฟอสเฟต (CaPO4)
ซึ่งสารประกอบเหล่านี้ถูกเก็บสะสมไว้ในแวคิวโอล (vacuole) ที่อยู่ในเซลล์ แคลเซียมไอออน
จะมีปริมาณมากในผนังเซลล์ เมื่อเทียบกับธาตุอาหารตัวอื่นๆ โดยความเข้มข้นของแคลเซียม
ไอออนจะมีมากในบริเวณมิดเดิลลาเมลลา (middle lamalla) และผิวด้านนอกของเยื่อหุ้ม
เซลล์ (plasma membrane) ทั้งสองส่วนนี้มีหน้าที่ควบคุมความสามารถในการให้สารผ่านเข้า
ออกเยื่อหุ้มเซลล์ และทำให้เยื่อหุ้มเซลล์มีความแข็งแรง (Marschner, 1997) ดังนั้น ถ้าพืช
ขาดแคลเซียมจะทำให้เยื่อหุ้มเซลล์เสียหาย และในกรณีที่ขาดอย่างรุนแรงจะทำให้เยื่อหุ้มเซลล์
ขาดได้ ( Mengel and Kirkby, 1982)


3. บทบาทและความสำคัญของแคลเซียม
แคลเซียมเป็นธาตุอาหารรองที่มีความสำคัญต่อการติดฝักและการสร้างเมล็ดถั่วลิสง เนื่องจากมี
ความจำเป็นมากต่อการพัฒนาของไซโกท (zygote) การสร้างฝัก และการติดเมล็ด
(Yoshitaka, 1979; Rachie and Roberts, 1974 อ้างโดยสุทธิพงศ์, 2532) ดังนั้น เมื่อ
ถั่วลิสงขาดแคลเซียมจึงมีผลทำให้เมล็ดลีบหรือเมล็ดไม่เต็มฝัก ในกรณีที่รุนแรงจะทำให้ฝักไม่มี
เมล็ด เป็นผลให้เปอร์เซ็นต์การกระเทาะเมล็ดต่ำ (Skelton and Shear, 1971) การขาด
แคลเซียมจะเห็นได้ชัดเจนในระยะเก็บเกี่ยว ถ้าผ่าดูภายในเมล็ดจะพบว่ายอดอ่อนของเอมบริโอมี
สีดำ ซึ่งมีผลทำให้คุณภาพของเมล็ดในด้านการงอกต่ำ (สุทธิพงศ์, 2532; Cox et al.,
1982) ซึ่งลักษณะยอดอ่อนของเอมบริโอมีสีดำนั้น เนื่องจากระบบท่อลำเลียงบริเวณฐานของ
ยอดอ่อนถูกทำลาย ยอดอ่อนจึงไม่ได้รับน้ำและอาหาร ทำให้เนื้อเยื่อตาย เปลี่ยนเป็นสีดำหรือสี
น้ำตาลเข้ม และเนื้อเยื่อที่ขาดแคลเซียมจะมีการสร้างสารประกอบโพลีฟีนอลให้เป็นสารประกอบ
เมลานินซึ่งมีสีน้ำตาล นอกจากนี้ยังพบว่า ในการปลูกถั่วลิสงที่มีการให้แคลเซียมอย่างเพียงพอจะ
ช่วยลดปริมาณเมล็ดขนาดเล็ก (ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 0.5 เซนติเมตร) และเพิ่มปริมาณ
เมล็ดขนาดปานกลางและเมล็ดขนาดใหญ่ (เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-0.8 และมากกว่า 0.8
เซนติเมตร) และยังพบว่าการใส่แคลเซียมทำให้สัดส่วนของจำนวนเมล็ดขนาดใหญ่ต่อจำนวน
เมล็ดขนาดเล็กของถั่วลิสงพันธุ์ไทนาน 9 สูงขึ้นจาก 5: 1 เป็น 11: 1 มีความงอกเพิ่มขึ้นจาก
78% เป็น 91% และมีเปอร์เซ็นต์การกระเทาะเมล็ดสูงขึ้นจาก 72% เป็น 77% (สุทธิพงศ์,
2532; สุวพันธ์ และคณะ, 2531; Harris and Brolmann, 1966; Mengel and
Kirkby, 1982)


4. การดูดและการลำเลียงแคลเซียม
ถั่วลิสงสามารถดูดและลำเลียงแคลเซียมในรูปแคลเซียมไอออน (Ca2+) เข้าไปได้สองทางคือ
ทางราก และทางฝัก (Slack and Morrill, 1972; Rachie and Roberts, 1974) ถั่วลิสง
ดูดแคลเซียมที่ใช้ในการเจริญเติบโตของส่วนที่อยู่เหนือดินผ่านทางราก ส่วนแคลเซียมที่ใช้ใน
การพัฒนาฝักและเมล็ดถั่วลิสง จะดูดโดยผ่านทางฝักโดยตรงจากดิน (Bledsoe et al., 1949)
ซึ่งลักษณะของการลำเลียงแคลเซียมมีดังนี้

4.1 การดูดแคลเซียมไอออนโดยผ่านทางราก แคลเซียมไอออนจะถูกดูดเข้าสู่ปลายรากถั่วลิสง
โดยเคลื่อนที่ไปตามแอโพพลาสต์ (apoplast) ผ่านชั้นคอร์เทคช์ (cortex) เข้าสู่เนื้อเยื่อชั้นใน
สุด (endodermis) ที่ยังไม่สร้างแถบคาสพาเรียน (Casparian strip) เข้าสู่ท่อลำเลียงน้ำ
โดยขบวนการที่ไม่ใช้พลังงาน (passive) การเคลื่อนที่ของแคลเซียมไอออนในท่อลำเลียงน้ำสู่
ส่วนบนของพืชจะอาศัยไปกับน้ำ โดยอาศัยแรงดึงดูดจากกระแสการคายน้ำของใบเป็นส่วนใหญ่
ซึ่งปริมาณการดูดแคลเซียมขึ้นอยู่กับการคายน้ำ ความเข้มข้นของแคลเซียมไอออนในสารละลาย
ดิน และปริมาณการดูดน้ำของพืช (Mengel and Kirkby, 1982)

4.2 การดูดแคลเซียมไอออนโดยผ่านทางฝัก ฝักถั่วลิสงจะดูดแคลเซียมมากตั้งแต่ช่วงลงเข็ม
(peg) จนถึงช่วงที่เมล็ดขยายตัวเต็มฝัก เมื่อเมล็ดเริ่มแก่พร้อมเก็บเกี่ยว ฝักจะดูดแคลเซียมได้
น้อยลง ฝักจะมีประสิทธิภาพการดูดแคลเซียมต่ำกว่าราก เนื่องจากการลำเลียงแคลเซียมไอออน
อาศัยแรงดึงดูดจากกระแสการคายน้ำเป็นส่วนใหญ่ และปริมาณน้ำจากฝักที่จะสามารถเคลื่อนที่สู่
ส่วนบนของต้นถั่วลิสงมีปริมาณน้อย ดังนั้น แรงดึงจากกระแสการคายน้ำจึงมีน้อยกว่า ส่งผลให้
ปริมาณแคลเซียมในฝักถั่วมีปริมาณน้อยกว่าในส่วนของลำต้นและใบ (Wiersum, 1951;
Wolt and Adams, 1979)


5. วัสดุปรับปรุงดินที่เป็นแหล่งของแคลเซียม
วัสดุปรับปรุงดินที่เป็นแหล่งของแคลเซียมที่ใช้กันในประเทศไทยในปัจจุบันคือ ยิปซัม ปูนขาว ปูน
มาร์ล และโดโลไมท์ ซึ่งวัสดุดังกล่าวมีคุณสมบัติแตกต่างกัน (ตารางที่ 1)

5.1 ยิปซัมหรือแคลเซียมซัลเฟต ยิปซัมมีคุณสมบัติเป็นกลาง เมื่อใส่ลงไปในดินจะไม่ปรับสภาพ
pH ของดินให้เพิ่มขึ้น ยิปซัมแตกตัวแล้วได้แคลเซียมไอออน (Ca2+) และอนุมูลของซัลเฟต
(SO42-) (Chris, 2002) ยิปซัมเหมาะที่จะใช้กับดินเค็มและดินด่างที่มี pH สูงถึง 9(สรสิทธิ์,
2527) ยิปซัมเป็นสารประกอบแคลซียมที่เป็นเกลือของกรดแก่ ดังนั้น เมื่อใส่ลงไปในดินที่เป็น
กรด จะไม่มีสมบัติเป็นด่าง ดังจะเห็นได้จากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นดังสมการ

จะเห็นว่า H+ จากไมเซลล์เคลย์ซึ่งเป็นตัวควบคุมระดับ pH ของดิน เมื่อทำปฏิกิริยาแลกเปลี่ยน
กับ Ca++ จะไม่สูญหายไป เพียงแต่ออกมาอยู่กับสารละลายดินเท่านั้น ดังนั้น การใส่ยิปซัมลง
ไปในดินมากๆ แทนที่จะเป็นการเพิ่ม pH ให้กับดิน แต่กลับทำให้ pH ของดินลดลงได้ ดังนั้น การ
ใช้ยิปซัมสำหรับการผลิตถั่วลิสงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเป็นทั้งวัสดุปรับปรุงดินที่ให้
ทั้งแคลเซียมและกำมะถัน และแคลเซียมที่อยู่ในรูปของยิปซัมยังเป็นแคลเซียมที่สามารถละลาย
น้ำได้ง่าย ทำให้ถั่วลิสงสามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้เร็ว และการใช้ยิปซัมจะเหมาะสมอย่างยิ่ง
หากพบว่าถั่งลิสงมีอาการขาดแคลเซียมในระยะการเจริญเติบโตทางสืบพันธุ์ (reproductive
phase) การใช้แคลเซียมในระยะดังกล่าวจะเป็นการเหมาะสมมาก เนื่องจากเป็นการเพิ่มปริมาณ
แคลเซียมให้กับต้นถั่วโดยตรง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็วด้วย

อย่างไรก็ตาม การใช้ยิปซัมจะไม่เหมาะสม หากจะนำมาใช้เพื่อปรับระดับ pH ของดินให้สูงขึ้น
เนื่องจากยิปซัมไม่มีคุณสมบัติในการปรับระดับ pH ได้แต่อย่างใด และหากใช้ในปริมาณมาก
เกินความจำเป็นอาจจะส่งผลให้ระดับ pH ของดินนั้นลดลงด้วย นอกจากนี้ยิปซัมยังมีราคาสูงถึง
3,000 บาท/ตัน ซึ่งสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับแหล่งแคลเซียมชนิดอื่น (ตารางที่ 1) ดังนั้น หาก
จะเลือกใช้ยิปซัมเป็นแหล่งแคลเซียมเพื่อใช้ในการผลิตถั่วลิสง ควรคำนึงถึงต้นทุนในการผลิตด้วย

5.2 ปูนขาวหรือแคลเซียมไฮดรอกไซด์ ปูนขาวเมื่อใส่ลงไปในดินที่เป็นกรด จะทำปฏิกิริยากับ
H+ ที่ถูกดูดซับอยู่ที่อนุภาคของคอลลอยด์ดินได้โดยตรง

เมื่อใส่ปูนขาวลงไปในดินที่มีสภาพเป็นกรด ปูนขาวสามารถลดความเป็นกรดของดินลงได้ เนื่อง
จากปูนขาวมีคุณสมบัติในการปรับสภาพ pH ของดินให้เพิ่มขึ้น ซึ่งปูนขาวมีเปอร์เซ็นต์ความ
สามารถในการปรับสภาพความเป็นกรดของดินสูงถึง 110-135 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักของ
แคลเซียมคาร์บอเนต การใช้ปูนขาวสำหรับการผลิตถั่วลิสงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเป็น
วัสดุปรับปรุงดินที่ให้ทั้งแคลเซียม อีกทั้งยังเป็นการช่วยปรับระดับ pH ของดินให้สูงขึ้นอย่างรวด
เร็ว ถ้าปลูกถั่วลิสงในดินที่มี pH ต่ำกว่า 5.4 การหว่านปูนขาวก่อนปลูกสองสัปดาห์จะช่วยลดความ
เป็นกรดของดินลงได้ (ทักษิณา, 2536) นอกจากนี้ ปูนขาวยังเป็นแหล่งแคลเซียมที่มีราคาต่ำ
กว่ายิปซัม คือมีราคาเพียง 1,800 บาท/ตัน ถ้าหากมีการใช้ในอัตราเท่ากัน ปูนขาวจะใช้ต้นทุน
การผลิตในส่วนของวัสดุปรับปรุงดินที่ต่ำกว่ายิปซัม ดังนั้น ปูนขาวจึงเป็นแหล่งแคลเซียมที่เหมาะ
สมสำหรับใช้ในการผลิตถั่วลิสงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีสภาพเป็นกรด เนื่องจาก
ปูนขาวจะช่วยปรับระดับ pH ให้สูงขึ้นนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ควรใช้ปูนขาวอย่างระมัดระวัง เนื่องจากปูนขาวมีความสามารถในการปรับสภาพความ
เป็นกรดของดินสูง หากสัมผัสต้นพืชโดยตรงอาจจะเป็นอันตรายต่อต้นพืชได้ เพราะฉะนั้น หาก
ต้องการเพิ่มปริมาณแคลเซียมให้แก่ถั่วลิสงในระยะการเจริญเติบโตทางสืบพันธุ์ก็สามารถทำได้
แต่ต้องให้อย่างระมัดระวังอย่าหว่านให้โดนส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นพืช และผู้ใช้ควรสวมถุงมือยาง
และหาผ้าปิดจมูกให้มิดชิด เพราะปูนขาวมีคุณสมบัติการกัดกร่อนเมื่อถูกความชื้น จึงอาจก่อให้
เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง และเยื่อบุจมูกได้

5.3 ปูนมาร์ลหรือแคลเซียมคาร์บอเนต การใส่ปูนมาร์ลลงไปในดินจะทำปฏิกิริยากับ H+ ที่ถูกดูด
ซับอยู่ที่อนุภาคของคอลลอยด์ดินได้โดยตรง

ปูนมาร์ลจึงเป็นวัสดุปรับปรุงดินที่ให้ทั้งแคลเซียม และช่วยปรับระดับ pH ของดินให้สูงขึ้นอย่าง
ช้าๆ นอกจากนี้ ปูนมาร์ลยังเป็นแหล่งแคลเซียมที่มีราคาถูกกว่ายิปซัมและปูนขาว โดยมีราคาเพียง
500 บาท/ตัน ถ้าหากมีการใช้ในอัตราเท่ากัน ปูนมาร์ลจะใช้ต้นทุนการผลิตในส่วนของวัสดุปรับ
ปรุงดินที่ต่ำกว่ายิปซัมและปูนขาว ดังนั้น ปูนมาร์ลจึงเป็นแหล่งแคลเซียมที่เหมาะสม เพื่อใช้
สำหรับผลิตถั่วลิสงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีสภาพเป็นกรด ซึ่งปูนมาร์ลจะช่วยปรับ
ระดับ pH ให้สูงขึ้นอย่างช้าๆ ถึงแม้ว่าจะใส่ในปริมาณมาก โอกาสที่จะเป็นอันตรายต่อต้นพืชก็มี
น้อยมาก อีกทั้งการใช้ปูนมาร์ลในปริมาณที่มาก หากย่อยสลายไม่หมด ยังเป็นประโยชน์ต่อพืช
ชนิดอื่นที่จะปลูกต่อไป

อย่างไรก็ตาม ปูนมาร์ลเมื่อได้รับความชื้นจะจับตัวกันเป็นก้อนง่ายมาก จึงทำให้ไม่สะดวกในการ
ปฏิบัติงาน

5.4 ปูนโดโลไมท์หรือแคลเซียมแมกนีเซียมคาร์บอเนต ได้จากการนำหินปูนที่มีองค์ประกอบ
ของ CaMg(CO3)2 มาบดละเอียด ปูนกลุ่มนี้เมื่อละลายน้ำจะให้ธาตุแมกนีเซียมออกมาด้วย
เนื่องจากเป็นปูนกลุ่มเดียวกันกับปูนมาร์ล จึงมีคุณสมบัติต่างๆคล้ายกัน จะต่างกันคือ ปูนมาร์ลนั้น
เมื่อได้รับความชื้นจะจับตัวกันง่ายกว่าปูนโดโลไมท์ ดังนั้น การใช้ปูนโดโลไมท์สำหรับการผลิตถั่ว
ลิสงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเป็นวัสดุปรับปรุงดินที่ให้ทั้งแคลเซียมและแมกนีเซียม อีกทั้ง
ยังเป็นการช่วยปรับระดับ pH ของดินให้สูงขึ้นอย่างช้าๆ


6. ปัจจัยสำหรับพิจารณาในการเลือกใช้แหล่งแคลเซียมที่เหมาะสมต่อการผลิตถั่วลิสงในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ

6.1 ชนิดและคุณสมบัติของดิน ดินที่ใช้ปลูกถั่วลิสงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นดิน
ปนทราย

ในการผลิตถั่วลิสงในพื้นที่ที่เป็นดินทราย ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวมักขาดธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการ
เจริญเติบโตของพืช โดยปกติแล้ว ดินจะมีไอออนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ชนิดต่างๆที่มีปฏิกิริยา
เป็นด่าง เช่น แคลเซียม ซึ่งดูดซับอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อเป็นดินทรายซึ่ง
มีคุณสมบัติที่ไม่อุ้มน้ำ เมื่อถูกชะล้างเป็นระยะเวลานานๆ ธาตุอาหารต่างๆก็จะถูกชะล้างออกไป ทำ
ให้ดินดังกล่าวขาดแคลเซียมหรือมีปริมาณแคลเซียมที่ไม่เพียงพอ และยังทำให้ดินมีสภาพเป็น
กรดด้วย นั่นคือ เมื่อไอออนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ของแคลเซียมที่ถูกดูดซับที่ผิวของอนุภาค
ดิน จะถูกไล่ที่โดย H+ ทำให้ H+ ถูกดูดซับไว้ที่ผิวของอนุภาคดินแทน เมื่อ H+ ถูกดูดซับที่ผิว
ของอนุภาคดินไว้มากๆ ก็จะทำให้ดินดังกล่าวมีสภาพเป็นกรดหรือมีระดับ pH ต่ำนั่นเอง

เมื่อ pH ต่ำ ในดินปนทรายจึงมักมีปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของต้นถั่ว และ
ในการผลิตถั่วลิสงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ถั่วลิสงมักแสดงอาการขาดแคลเซียม ซึ่ง
สังเกตได้จากเมล็ดเจริญเติบโตไม่เต็มฝักหรือเมล็ดลีบ อันเป็นอาการขาดแคลเซียมที่สำคัญของ
ถั่วลิสง ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการขาดแคลเซียมของถั่วลิสงที่ปลูกในพื้นที่ดังกล่าว เกษตรกร
สามารถเพิ่มปริมาณแคลเซียมจากวัสดุปรับปรุงดินชนิดต่างๆ ได้แก่ ยิปซัม ปูนขาว ปูนมาร์ล และ
ปูนโดโลไมท์ เป็นต้น

ในการเลือกแหล่งแคลเซียมชนิดใดนั้น ควรคำนึงถึงคุณสมบัติหรือความสามารถในการปรับระดับ
pH ของดิน และการเพิ่มปริมาณแคลเซียมในดิน หากก่อนการปลูกถั่วลิสง ดินมีสภาพเป็นกรด
และมีปริมาณแคลเซียมต่ำกว่าค่าวิกฤต คือ 120-320 ppm การใช้วัสดุปรับปรุงดินที่เป็นวัสดุปูน
ทุกชนิด จะช่วยปรับระดับ pH และปริมาณแคลเซียมให้เพิ่มขึ้น และระดับ pH ที่เหมาะสมอยู่
ระหว่าง 5.5-8.5 ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะสมต่อการดูดใช้แคลเซียมของถั่วลิสงด้วย ส่วนการใช้ยิปซัม
จะไม่ปรับระดับ pH แต่จะเพิ่มปริมาณแคลเซียมได้

ถ้าหากก่อนการปลูกถั่วลิสงดินมีปริมาณแคลเซียมสูงหรือมีเพียงพอต่อความต้องการอยู่แล้ว การ
เพิ่มปริมาณแคลเซียมจากแหล่งต่างๆทั้งสี่ชนิดไม่จำเป็น เนื่องจากภายในดินปลูกมีปริมาณ
แคลเซียมที่เพียงพออยู่แล้ว หากมีการใส่จะเป็นการสิ้นเปลืองเวลา และเสียค่าใช้จ่าย เป็นต้น

ดังนั้น ในการผลิตถั่วลิสงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนการปลูกถั่วลิสงจึงควรเพิ่มปริมาณ
แคลเซียมในดินจากแหล่งแคลเซียมทั้งสี่ชนิดเสียก่อน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสภาพดินในพื้นที่
ดังกล่าวมีระดับ pH ต่ำ การเลือกใช้แหล่งแคลเซียมจึงควรเลือกใช้ชนิดที่เป็นวัสดุปูนคือ ปูนขาว
ปูนมาร์ล และปูนโดโลไมท์ เพราะจะช่วยปรับระดับ pH ให้สูงขึ้นได้ด้วย

เมื่อใส่แหล่งแคลเซียมทั้งสี่ชนิดในอัตราที่แตกต่างกัน พบว่ายิปซัมและปูนขาวให้ผลผลิตที่คุ้มค่า
มากที่สุด คือใส่ในอัตรา 50 และ 100 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ จะได้ผลผลิตฝัก 197 และ
241 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาถึงต้นทุนสัมพัทธ์ พบว่า ปูนขาวมีต้นทุนสัมพัทธ์ต่ำที่สุด รองลงมาคือ ยิปซัม ปูนมาร์ล
และปูนโดโลไมท์ ตามลำดับ โดยมีค่าเท่ากับ 180, 183, 241 และ304 บาทต่อไร่ ตามลำดับ

6.4 ความยากง่ายในการปฏิบัติงานและการเก็บรักษา
ในทางปฏิบัติ นอกจากเกษตรกรต้องการวัสดุปรับปรุงดินที่เป็นแหล่งแคลเซียม ที่ให้ทั้งธาตุ
แคลเซียม และต้องปรับระดับ pH ให้เพิ่มขึ้นแล้ว วัสดุดังกล่าวจะต้องหาง่าย ใช้สะดวกในการ
ปฏิบัติงานด้วย ถึงแม้ว่าวัสดุปรับปรุงดินทั้งสี่ชนิดมีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการผลิตถั่วลิสง หากหา
ซื้อได้ยาก ไม่มีจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด วัสดุดังกล่าวจะไม่เหมาะสำหรับเกษตรกรรายย่อยใน
ภูมิภาคนี้อย่างแน่นอน



สรุป
วัสดุปรับปรุงดินทั้งสี่ชนิด คือ ยิปซัม ปูนขาว ปูนมาร์ล และปูนโดโลไมท์ ชนิดที่เหมาะสมต่อการ
ผลิตถั่วลิสงสำหรับเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ ปูนขาว เนื่องจากเป็น
แหล่งที่ให้แคลเซียม และสามารถปรับระดับ pH ของดินให้เพิ่มขึ้น ซึ่งเหมาะสมต่อสภาพพื้นที่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เป็นดินปนทราย ซึ่งมักขาดแคลเซียม และดินมีสภาพเป็นกรด และ
นอกจากนี้ การใช้ปูนขาวยังเป็นการใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำสุด และยังให้ผลผลิตสูงสุดด้วย


เอกสารอ้างอิง
จำลอง กกรัมย์ และบุญเกื้อ ภูศรี. 1997. ผลของการขาดแคลเซียมและธาตุอาหารเสริมต่อการ
เกิดเมล็ดลีบของถั่วลิสงในพื้นที่จังหวัดยโสธร. Thai Agricultural Research Journal. 3
(15): 225-231.
ทวีลักษณ์ อ้นองอาจ และ สอิ้ง จักษุศิลา. 2543. เกณฑ์กำหนดมาตรฐานของหินปูน โดโลไมท์
และปูนไลม์. วาร

สารดินและปุ๋ย. 22: 134-144 หน้า.

ทักษิณา ศันสยะวิชัย. 2534. การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตถั่วลิสง. เอกสารประกอบการฝึก
อบรม วันที่ 4-8 มีนาคม 2534 ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น จ. ขอนแก่น.

ทักษิณา ศันสยะชัย. 2537. การทดสอบการใช้แคลเซียมเพื่อเพิ่มผลผลิตถั่วลิสงในดินทราย.
รายงายการสัมมนาถั่วลิสงแห่งชาติครั้งที่ 12. จังหวัดอุดรธานี. 25-27 ตุลาคม 2537. หน้า
137-138.

ธนากร พันธนียา. วัสดุปูน. http://www.Nicaonline. Com/new. 47.
Htm#513/7/43.

ศรีสุดา ทิพยรักษ์, ทักษิณา ศันสยะวิชัย, ดิเรก นรานาฏกร และประหยัด พลโลก. 2536. การ
ศึกษาแหล่งแคลเซียมเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสง. รายงานผลงานวิจัยถั่วลิสง
ปี 2536. หน้า 121-125.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2545. สถิติการเกษตรของประเทศ
ไทย ปีเพาะปลูก 2544/2545. http://oae-go.th/Statistic/yearbook/2001-
02/19/9/03.

สนั่น จอกลอย. 2533. ถั่วลิสง (Groundnut) เอกสารประกอบคำบรรยายวิชาพืชน้ำมัน. ภาค
วิชาพืชศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สรสิทธิ์ วัชโรทยาน. 2527. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สรสิทธิ์ วัชโรทยาน. 2530. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุเธียร นามวงค์. 2537. อิทธิพลของแคลเซียมต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพของ
เมล็ดถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 60-3 และพันธุ์ไทนาน 9. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหา
บัณฑิต สาขาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุทธิพงศ์ เปรื่องค้า. 2532. อิทธิพลของแคลเซียมและโบรอนต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและ
คุณภาพของเมล็ดถั่วลิสงไทนาน-9. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น.

สุวพันธ์ รัตนรัตน์, กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ, สุพิน สุวรรณ, ปราโมทย์ ไตรเพียร, สุภาพร รัตน
รัตน์ และแสงจันทร์ ศรีสายเชื้อ. 2536. การศึกษาชนิดและอัตราของวัสดุปรับปรุงดินที่ให้
แคลเซียมสำหรับถั่วลิสงที่ปลูกในดินร่วนทรายชุดโคราชและสันป่าตอง. รายงานการสัมมนาถั่ว
ลิสงแห่งชาติครั้งที่ 11. 17-21 พฤษภาคม 2536. ระนอง. หน้า 379-390.

สุวพันธ์ รัตนรัตน์, กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ, อุทัย อารมณ์รัตน์, สุพิณ สุวรรณ, สุภาพร รัตนรัตน์
และธนีนาฎ สมบัติสิริ. 2531. ผลของแคลเซียมต่อผลผลิตและคุณภาพของถั่วลิสง. รายงานผล
การวิจัยดินและปุ๋ย พืชไร่ ประจำปี 2531. กลุ่มงานวิจัยดินและปุ๋ยพืชไร่ กองปฐพี.

สุวพันธ์ รัตนรัตน์, วิทยา มาสร้างสรรค์, ประสาร พรมสูงวงศ์, ปรีดา พากเพียร และสำเนา เพชร
ฉวี. 2529. ผลของธาตุรองและธาตุปริมาณน้อยต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของถั่วลิสงที่
ปลูกในดินเหนียวสีแดง. รายงานการสัมมนาถั่วลิสง ครั้งที่ 5. 19-21 มีนาคม 2529. เชียงใหม่.
หน้า 382-385.

ห้างหุ้นส่วนจำกัด โกวิทปูนขาว. http://www. kokpip.com/kasat.html. 15 กันยายน
2546.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/03/2010 10:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปูนขาว Natural lime stone

เป็น Limestone ชนิด agricultural lime เป็นที่มีองค์ประกอบเป็น Calcium carbonate
ใช้เป็น Active antacid ingredient ในการแก้สภาพดิน ( Soil Stabilization ) เช่น pH
ของดินให้สูงขึ้น เพิ่มปริมาณแคลเซียมในดินให้สูงขึ้น

ปูนขาว Chemical lime
ปูนขาวชนิดนี้เป็น Industrial lime ซึ่งเกิดจากการนำหินปูน ( Calcium carbonate ) มา
เผาที่ความร้อนสูงถึง 600 - 900 องศาเซลเซียสขึ้นไปเพื่อไล่ Carbondioxide ออกไป
กลายเป็น Calcium Oxide เพื่อให้ผู้ใช้นำไปผสมนำเอง หรืออาจผสมสำเร็จโดยเมื่อได้ที่
แล้วจะมีการพรมน้ำลงไปตามส่วนเพื่อให้เกิดเป็น Calcium hydrooxide ขึ้นมาก็ได้เพื่อ
สะดวกในการนำไปใช้ สำหรับงาน Wastewater Residuals หรือ Architectural
hydrated lime ใช้ในการก่อสร้าง แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ตามองค์ประกอบ คือ ปูนสุก
Calcium Oxide อาทิเช่น Quicklimes , Blended Quicklimes , Lime putty ,
Burnt lime , plaster lime ................ ฯลฯ

ปูนขาว Calcium hydrooxide อาทิเช่น พวก , Hydrated limes , Lime Slurry ,
Lime Stucco ..... ฯลฯ

แต่ก็มีเกษตรกรและนักวิชาการทางเกษตรบางท่าน นำมาดัดแปลงเพื่อมาใช้กับงานด้านการ
เกษตรเพื่อความรวดเร็วในการปรับสภาพ pH ของดิน แต่ต้องระวังในการใช้ เพราะผลการทดลอง
พบว่า ใส่ปูนขาวในอัตรา 10 % ของปริมาณน้ำพบว่าจะทำให้พีเอชของน้ำกลั่นเพิ่มจาก 7 เป็น
10 - 11 และปฎิกริยาของปูนชนิดนี้ จะค่อนข้างรุนแรง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของค่าความ
เป็นกรด- ด่าง(พีเอช)ค่อนข้างเร็วและมีค่าสูง

ขอเพิ่มให้อีกนิดครับ เรื่องการปรับ pH ในดิน

Hydrogen positive ion ในรูปแบบของ Micelle structure ( a strongly
polar "head" and a non-polar hydrocarbon chain "tail". ) เป็นตัวควบคุมระดับ
pH ของดิน เมื่อทำปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนกับ Ca++ บรรดาแหล่งของแคลเซียมที่เป็นวัสดุปรับ
ปรุงดินทั้งสี่ชนิด คือ ยิปซัม ( CaSO4.2H2O )

ยิปซัมที่ใช้ทางการเกษตรได้มาจากธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากการตกตะกอนของทะเลเก่า ในประเทศ
ไทยพบมากในบริเวนพื้นที่จังหวัดพิจิตร นครสวรรค์ และพื้นที่ภาคใต้ เป็นแร่ยิปซัมที่มีความ
บริสุทธิ์ 96-98% ประกอบด้วยธาตุแคลเซียม 23% และกำมะถันที่อยู่ในรูปของซัลเฟต 17%
ดังนั้น การใช้ยิปซัมจึงเป็นการเพิ่มธาตุกำมะถันลงไปในดินด้วย ยิปซัมมีคุณสมบัติเป็นกลาง เมื่อ
ใส่ลงไปในดินจะไม่ปรับสภาพ pH ของดินให้เพิ่มขึ้น ราคาเฉลี่ย 3,000 บาท/ตัน ปูนขาว Ca
(OH)2 อยู่ในกลุ่มปูนไฮดรอกไซด์ ได้จากการนำหินปูนมาเผาให้เป็นออกไซด์ เมื่อเย็นตัวลง
แล้วพรมน้ำให้ชุ่ม ออกไซด์จะทำปฏิกิริยากับน้ำทำให้แตกออกกลายเป็นผงละเอียด ปูนขาวมี
ความบริสุทธิ์ประมาณ 95-96% ปูนขาวมีเปอร์เซ็นต์ความสามารถในการปรับสภาพความเป็น
กรดของดินสูงถึง 110-135 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักของแคลเซียมคาร์บอเนต ปรับระดับ pH
ของดินให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็วๆ ข้อควรระมัดระวังในการใช้ เนื่องจากปูนขาวมีความสามารถในการ
ปรับสภาพความเป็นกรดของดินสูง หากสัมผัสต้นพืชโดยตรงอาจจะเป็นอันตรายต่อต้นพืชได้ และ
มีคุณสมบัติการกัดกร่อนเมื่อถูกความชื้น จึงอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง และเยื่อบุ
จมูกได้ ราคาเฉลี่ย 1,800 บาท/ตัน

ปูนมาร์ล CaCO3 อยู่ในกลุ่มของปูนคาร์บอเนต ที่ได้มาจากหินดินมาร์ล พบมากบริเวณภาค
กลางตอนใต้ของประเทศไทย ซึ่งปูนมาร์ลที่พบตามธรรมชาติมีลักษณะร่วนซุย มีความบริสุทธิ์อยู่
ระหว่าง 50-90% มีกลไกการทำงานเหมือนกลุ่มปูนขาวเพียงแต่ปรับระดับ pH ของดินให้สูงขึ้น
อย่างช้าๆ แต่ผลข้างเคียงน้อยกว่า ถึงแม้ว่าจะใส่ในปริมาณมาก โอกาสที่จะเป็นอันตรายต่อต้นพืชก็
มีน้อยมาก อีกทั้งการใช้ปูนมาร์ลในปริมาณที่มาก หากย่อยสลายไม่หมด ยังเป็นประโยชน์ต่อพืช
ชนิดอื่นที่จะปลูกต่อไป แต่ก็มีข้อเสียที่เมื่อได้รับความชื้นจะจับตัวกันเป็นก้อนง่ายมาก จึงทำให้ไม่
สะดวกในการปฏิบัติงาน ราคาเฉลี่ย 500 บาท/ตัน

ปูนโดโลไมท CaMg(CO3)2 อยู่ในกลุ่มของปูนคาร์บอเนต ได้จากการนำหินปูนที่มี
แมกนีเซียมเป็นส่วนประกอบมาบด มีความบริสุทธิ์อยู่ระหว่าง 50-90% เช่นเดียวกันกับปูนมา
ร์ล กล่าวคือ เมื่อใช้ปูนโดโลไมท์ปรับปรุงดินก็จะให้แคลเซียมอีกทั้งยังเป็นการช่วยปรับระดับ
pH ของดินให้สูงขึ้นอย่างช้าๆและยังเพิ่มธาตุแมกนีเซียมลงไปในดินด้วยเช่นกัน ราคาเฉลี่ย
1,100 บาท/ตัน

เมื่อพิจารณาถึงต้นทุนสัมพัทธ์ พบว่า ปูนขาวมีต้นทุนสัมพัทธ์ต่ำที่สุด รองลงมาคือ ยิปซัม ปูนมาร์ล
และปูนโดโลไมท์ ตามลำดับ โดยมีค่าเท่ากับ 180, 183, 241 และ304 บาทต่อไร่ ตามลำดับ

จากคุณ : วเนจรป่าคอนกรีต - [ 27 ต.ค. 48 19:19:18 ]
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/03/2010 11:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผลของปุ๋ย มูลไก่ ยิบซั่ม และปุ๋ยเคมีที่มีต่อผลผลิตหัวสดและ
ปริมาณแป้งของมันสำปะหลัง
ที่ปลูกในดินชุด วาริน และมาบบอน
Effects of Chicken Manure, Gypsum and Chemical Fertilizer on Root Yield
and Starch Content of Cassava Planted on Warin and Mab Bon Soil Series

ประภาส ช่างเหล็ก1 วิจารณ์ วิชชุกิจ2 ปิยะ ดวงพัตรา3 เอ็จ สโรบล2 ปิยะ กิตติภาดากุล4
สุเมศ ทับเงิน5 นพศูล สมุทรทอง5 รุ่งโรจน์ จิตรีวรรณ1 และ สุรชัย เนื่องสิทธิ์ 6

1 สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

2 ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

3 องค์กรเครือข่ายมหาวิทยาลัยไทย ด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาการใช้ที่ดิน และการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

4 ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

5 สถานีวิจัยเขาหินซ้อน สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

6 ศูนย์วิจัยและพัฒนามันสำปะหลัง จ.นครราชสีมา มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศ
ไทย กรุงเทพมหานคร โทร. 0-2579-7906


ดินที่ปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทยส่วนใหญ่ มีสมบัติโดยทั่วไปคือ เป็นดินที่มีความอุดม
สมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ อุ้มน้ำและดูดยึดปุ๋ยได้น้อย และมีความอ่อนไหวต่อการเกิดการชะล้างพัง
ทะลายของดินได้ง่าย จึงทำให้ดินเหล่านี้ไม่เหมาะกับการปลูกพืชไร่เศรษฐกิจอื่น ๆ สำหรับกลุ่มชุด
ดินที่ 35 ซึ่งได้แก่ ดินชุดวาริน และดินชุดมาบบอน กรมพัฒนาที่ดิน ได้รายงานไว้ว่า เป็นกลุ่มชุด
ดินที่มีลักษณะเป็นดินร่วนทราย มีการระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ ค่าความ
เป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 4.5-5.5 และมีการอุ้มน้ำได้ไม่มากนัก กลุ่มชุดดินนี้มีการปลูก
มันสำปะหลังมานาน มีปัญหาสำคัญทางด้านสมบัติทางกายภาพที่พบคือ ผิวหน้าดินอาจเกิดการ
แข็งตัวแน่นทึบเวลาเมื่อดินแห้งตัวลงในขณะที่ฝนทิ้งช่วง และเมื่อฝนตกหรือมีการให้น้ำ น้ำซึมลง
ใต้ผิวดินได้น้อย วิธีการแก้ไขดินที่มีปัญหาด้านสมบัติทางกายภาพคือแนะนำให้มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์
หรือสารปรับปรุงดินในรูปสารอนินทรีย์ หรือสารอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสารอินทรีย์ธรรมชาติ
สารอินทรีย์ที่ได้จากผลพลอยได้ทางการเกษตร หรือผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรม ควบคู่
กับการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งยิปซั่ม (gypsum) จะมีประโยชน์ในการช่วยลดปัญหาการเกิดแผ่นแข็งบน
ผิวดิน และช่วยทำให้ดินมีการแทรกซึมน้ำดีขึ้น ดังนั้นจึงศึกษาผลของการใช้ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์
(มูลไก่) และปุ๋ยเคมี เพื่อปรับปรุงดินให้มีสมบัติทางกายภาพและทางเคมีที่เหมาะสมในการให้ผล
ผลิตหัวสดและปริมาณแป้งในหัวสดของมันสำปะหลัง โดยวางแผนการทดลองแบบ Split-plot
in RCB มี 4 ซ้ำ ปัจจัยหลัก (main plot) ได้แก่ พันธุ์มันสำปะหลัง ซึ่งในดินชุดวารินใช้มัน
สำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 และพันธุ์ระยอง 72 ปลูกในแปลงทดลองของศูนย์วิจัยและพัฒนามัน
สำปะหลัง ต.ห้วยบง อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ในเดือน มิถุนายน 2545 และในดินชุดมาบ
บอน ใช้มันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 และพันธุ์ระยอง 5 ปลูกในแปลงทดลองของสถานีวิจัยเขาหิน
ซ้อน ต.เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ในเดือนกรกฎาคม 2545 ส่วนปัจจัยรอง
(sub-plot) ได้แก่ ตำรับทดลอง 14 ตำรับ ได้แก่ การไม่ใส่ปุ๋ยมูลไก่ ยิบซั่ม และปุ๋ยเคมี และ
การใส่ปุ๋ยมูลไก่ (อัตรา 1 ตันต่อไร่) หรือปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว (สูตร 15-15-15 อัตรา 50
กิโลกรัมต่อไร่) การใส่ปุ๋ยมูลไก่ร่วมกับปุ๋ยเคมี การใส่ยิบซั่ม 5 อัตรา (50 100 150 250 และ
500 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับปุ๋ยเคมี และการใส่ปุ๋ยมูลไก่ ร่วมกับยิบซั่ม 5 อัตรา และปุ๋ยเคมี ขุด
เก็บเกี่ยวเมื่อมันสำปะหลังอายุครบ 12 เดือน ผลการทดลองพบว่า ในดินชุดวาริน การใส่ปุ๋ยมูล
ไก่ ยิบซั่มที่อัตราต่าง ๆ และปุ๋ยเคมี ไม่มีผลทำให้ผลผลิตหัวสด ปริมาณแป้งในหัวสด และน้ำหนัก
ต้นและใบสดของมันสำปะหลังแตกต่างกัน แต่มีแนวโน้มทำให้ผลผลิตหัวสดเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 2
ถึง 17 ของการไม่ใส่ปุ๋ยมูลไก่ ยิบซั่มและปุ๋ยเคมี) ซึ่งการใส่ยิบซั่มอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วม
กับปุ๋ยเคมีอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ มันสำปะหลังให้ผลผลิตหัวสดสูงสุด 6,471 กิโลกรัมต่อไร่
ส่วนดินชุดมาบบอน การใส่ปุ๋ยมูลไก่ ยิบซั่มที่อัตราต่าง ๆ และปุ๋ยเคมี มีผลทำให้ผลผลิตหัวสด
และน้ำหนักต้นและใบสดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 31-74 และ 7-46 ของการไม่ใส่ปุ๋ยมูลไก่ ยิบซั่ม และ
ปุ๋ยเคมี ตามลำดับ ซึ่งการใส่ปุ๋ยมูลไก่ 1 ตันต่อไร่ ร่วมกับยิบซั่ม 500 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยเคมี
50 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตหัวสดสูงสุด 8,836 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนปริมาณแป้งในหัวสดไม่
แตกต่างกัน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©