-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ24MAY *สารสมุนไพร (63), กระท้อน
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ24MAY *สารสมุนไพร (63), กระท้อน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ24MAY *สารสมุนไพร (63), กระท้อน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 24/05/2016 3:28 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ24MAY *สารสมุนไพร (63), กระท้อน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 24 MAY

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)


----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

------------------------------------------------------------------------


สมุนไพร (63)

การทำ .... สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช

ตำรับที่ 7.3

ตัวยา : พันงูเขียวทั้ง 5 น้ำตาลทรายแดง
วิธีปรุงยา : นำมาต้มรวมกัน
วิธีใช้ :
1. กรอกให้ วัว-ควาย ร่วมกับให้กินเจตมูลเพลิงแดง กิน 3-4 วัน จะหาย
2. ถ้าเป็นน้อย ให้พันงูเขียว กินสดจะหาย
สรรพคุณ : รักษาเต้านมอักเสบ
หมายเหตุ : พันงูเขียว มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่า มีสารออกฤทธิ์ที่มีผลต่อการต้านเชื้อแบคทีเรีย และเร่งให้กล้ามเนื้อคลายตัวได้ดี

(สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)

ตำรับที่ 7.4
ตัวยา : หัวไพล น้ำอุ่น
วิธีปรุงยา : นำหัวไพลมาตำละเอียด ห่อผ้าขาวบาง แช่น้ำอุ่น
วิธีใช้ : นำมาปะคบเต้านมที่อักเสบ
สรรพคุณ : ลดการบวม เต้านมอักเสบ

เขียนโดย มนัส ชุมทอง
------------------------------------------------------------------------

การนำสมุนไพรมาใช้เลี้ยงสัตว์ :
การทำสมุนไพรต่างๆ มาใช้ประโยชน์ ปัจจุบันการใช้สมุนไพรเพื่อการป้องกันกำจัดหนอน แมลง โรคพืชต่างๆ สามารถผลิตสมุน ไพรที่มีอยู่หลากหลายในประเทศไทย นำมาใช้แทนสารเคมีได้ โดยการเตรียมสมุนไพรด้วยวิธีสับสมุนไพรให้ละเอียด แล้วแช่น้ำ 1-2 วัน หรือแช่ด้วยแอลกอฮอล์ น้ำส้มสายชู หรือการกลั่น

วิธีการกลั่นสมุนไพรของจีนโบราณเป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดี แต่มีความยุ่งยากซับซ้อน อุปกรณ์เครื่องมือราคาแพง สมุนไพรที่ได้จากการหกลั่นมีความเข้มข้นมาก

จากการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทย ได้คิดค้นวิธีที่จะนำสมุนไพรมาใช้โดยการใช้หม้อต้ม ชนิดควบคุมอุณหภูมิ และเมื่อนำสมุนไพรที่ได้จากการต้มไปทดสอบ ผลที่ได้สมุนไพรมีความเข้มข้นและมีคุณภาพสูง ใช้ได้ผลดีมาก เป็นวิธีการที่ควบคุมอุณหภูมิ ใช้ง่าย เหมาะที่เกษตรกรจะรวมกลุ่มกันผลิตใช้ เนื่องจาก....
1. ต้นทุนต่ำ ทำง่าย ไม่ยุ่งยาก
2. ปริมาณสารสมุนไพรเข้มข้น
3. มีประสิทธิภาพในการใช้งาน
4. ควบคุมปริมาณการใช้ได้ง่าย
5. สามารถรักษาคุณภาพการผลิตแต่ละครั้งได้มาตรฐานเดียวกัน

ขั้นตอนการต้มสมุนไพร :
1. ย่อยสมุนไพรเป็นชิ้นเล็กๆ ไม้เนื้อแข็งต้องสับให้ชิ้นเล็กมาก
2. นำสมุนไพรที่ย่อยใส่หม้อต้ม เติมน้ำให้ท่วมสมุนไพร
3. นำขึ้นตั้งไฟ คอยสังเกตอย่าให้น้ำในภาชนะเดือด เมื่อเดือดให้ลดความร้อนลง
4. เมื่ออุณหภูมิลดลงก็ให้เร่งไฟ ให้ควบคุมอุณหภูมิอยู่ที่ไม่เกิน 90 องศา ซ.
5. ใช้เวลาในการต้มนาน 10-12 ชั่วโมง จึงจะได้น้ำสมุนไพรที่มีความเข้มข้น
6. ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วจึงกรอง ส่วนที่เป็นน้ำใสตักใส่แกลลอนไว้ใช้ หรือจำหน่ายต่อไป
-----------------------------------------------------------------------


จาก : (083) 729-16xx
ข้อความ : กระท้อนสวนเก่า ซื้อต่อเขามา อายุหลายสิบปี ให้ผลผลิตหมดแล้ว ปีที่แล้วติดผลไม่ดกอย่างสวนอื่น รสไม่ดี เนื้อแข็ง เหนียว ลูกเล็ก ปีนี้มีลูกแต่ก็ยังดกน้อยกว่าบ้านอื่น อยากปรึกษาผู้พันว่า เราต้องบำรุงอย่างไรบ้าง .... ชาวสวนมือใหม่
ตอบ :
- รายละเอียดในคำถามน้อยมากๆ ๆๆ ๆๆ นี่ถ้าเป็นหมอคงวินิจฉัยโรคแล้วสั่งยาไม่ได้หรอกนะ .... ใน “ความไม่รู้” ของเกษตรกร

* ตั้งคำถามไม่เป็น
* คิดว่า ทุกคำถามหรือทุกปัญหามีคำตอบที่เรียกว่า “สูตรสำเร็จ” นำไปใช้ได้ทันที

* ไม่รู้ ไม่คิดว่า ผลมาจากเหตุ .... กระท้อนที่ได้ คือ ผล การปฏิบัติที่ผ่านมา คือ เหตุ ....กระท้อนเขา กระท้อนเรา อยู่บนพื้นฐานความ “เป็นเหตุเป็นผล” ทั้งนั้น

* กระท้อนออกตลาดพร้อม ทุเรียน เงาะ มังคุด .... สู้เขาไหวเหรอ ?
* กระท้อนนอกฤดู (ออกล่า หลังทุเรียน เงาะ มังคุด) พอสู้ได้ แต่ต้อง ซูพรียม พรีเมี่ยม เกรด เอ. จัมโบ้ โกอินเตอร์ ขึ้นห้าง

* ทุกรายละเอียด เขียนไว้ในเน็ต เกษตรลุงคิมดอทคอม. ในหนังสือ “ไม้ผลแนวหน้า” ว่าตั้งแต่ มะ ก.ไก่ ถึง มะ ฮ.นกฮูก .... อ่านแล้วทำตามนั้น ทุกขั้นตอนทุกระยะ เอาน่า ซัก 2-3 รุน เดี๋ยวก็เป็นเอง .... อ่าน 1 ครั้ง ดีกว่า ฟัง 100 ครั้ง ว่ามั้ย ก็เพราะไม่ชอบอ่าน ชอบแต่ฟังนี่แหละ อะไรๆ มันถึงได้ ขาดๆ เกินๆ ยังไงล่ะ

*** รู้อะไร รู้กระจ่าง แต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยว ชาญเถิด จะเกิดผล (สุนทรภู่) .... รู้กระท้อน รู้หลายอย่าง อย่าอย่างเดียว แต่ให้เชี่ยว ชาญเถิด จะเกิดผล
---------------------------------------------------------------------

เกร็ดความรู้เรื่องกระท้อน :
* แต่ละช่วงของการพัฒนาทั้งต้นและผล ต้องการน้ำค่อนข้ามากและสม่ำเสมอ แต่ช่วง ปรับ ซี/เอ็น เรโช ถึง ก่อนเปิดตาดอก ต้องการน้ำน้อย ดังนั้น การเตรียมพื้นที่ปลูกจะต้องสามารถควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นให้ได้อย่างแท้จริง

* ธรรมชาติกระท้อนมักออกดอกแล้วติดผลเล็กครั้งละจำนวนมาก จากนั้นจะสลัดผลเล็กทิ้งเองจนเหลือไม่มาก แก้ไขโดยบำรุงต้นให้สมบูรณ์จริงๆ ด้วยวิธีให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องนานหลายๆปี กับทั้งให้ฮอร์โมนบำรุงดอก. บำรุงผลเล็ก. อย่างถูกต้องตรงตามจังหวะ และเมื่อผลโตขึ้นการซอยผลออกบ้างเท่าที่จำเป็น

* เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์ ซึ่งเกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกัน เมื่อพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

* ขั้นตอนการปรับ ซี/เอ็น เรโช.โดยการงดน้ำนั้น แม้จะได้เตรียมความสมบูรณ์ของต้นไว้พร้อมก่อนแล้ว ถ้ามาตรการควบคุมปริมาณน้ำ (งดน้ำ) จนทำให้ใบแก่โคนกิ่งสลดจนแห้งแล้วร่วงไม่ได้ก็จะทำให้เปิดตาดอกไม่ออก หรือเปิดตาดอกแล้วออกมาเป็นใบอ่อนแทนได้

* การห่อผลมีความจำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากช่วยป้องกันแมลงวันทองแล้วยังช่วยทำให้ผิวสวย ผิวเป็นกำมะหยี่ดี และเนื้อในดีอีกด้วย

- เริ่มห่อผลเมื่อผลอายุ 50-55 วัน หรือขนาดมะนาว หรือผลเริ่มเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นเหลืองอ่อน และเก็บเกี่ยวได้หลังจากห่อผล 1 เดือน หรือเมื่ออายุผลได้ 5-6 เดือนหลังออกดอก

- สังเกตลักษณะผลแก่ได้จากเส้นบนผิวผลจากขั้วผลถึงก้นผล ถ้าเส้นยังนูนเด่นชัดแสดงว่ายังแก่ไม่จัด ถ้าเส้นหายไปหรือเรียบเนียนกับผิวผลแสดงว่าผลแก่จัดแล้ว หรือสังเกตที่สีเปลือกผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำหมาก

- การห่อด้วยถุงพลาสติกจะทำให้ผลเสียหายเพราะระบายความชื้นไม่ดี ควรห่อด้วยกระดาษถุงปูนซีเมนต์เท่านั้น วัสดุห่อผลดีที่สุด คือ ใบตองแห้ง เรียกว่า กระโปรง แต่เนื่องจากมีราคาแพงและจัดทำยากจึงไม่ได้รับความนิยม

- การห่อผลด้วยกระโปรงใบตองชั้นในก่อนแล้วห่อทับซ้อนด้วยถุงกระดาษปูนซิเมนต์อีกชั้นหนึ่งจะทำให้คุณภาพผลดีกว่าการห่อแบบชั้นเดียว

- ห่อผลต้องทำด้วยความประณีต มือเบาๆ ถ้าทำแรงมือหนักจนขั้วได้รับความกระทบกระ เทือน ผลจะไม่ร่วงเดี๋ยวนั้นแต่จะร่วงหลังจากห่อผลแล้ว 7-10 วัน

- ควรเลือกใช้ถุงห่อขนาดใหญ่ๆ เพื่อให้อากาศภายในถุงถ่ายเทสะดวก โดยเฉพาะผลกระท้อนที่ติดเป็นพวงจะต้องใช้ถุงห่อขนาดใหญ่พิเศษ

- ผลที่ไม่ได้ห่อ คุณภาพผลนอกจากเนื้อจะแข็งกระด้าง ปุยน้อยแล้ว ผิวเปลือกก็ไม่เป็นกำมะหยี่อีกด้วย ผลแบบนี้เหมาะสำหรับทำกระท้อนดอง

* เป็นผลไม้ที่ไม่ต้องบ่มหลังเก็บเกี่ยว คุณภาพของผลแก่จัด (ผลสุก) ขณะอยู่บนต้นเป็นเช่นไรเมื่อเก็บลงมาแล้วก็คงเป็นเช่นนั้น ผลที่ครบอายุเก็บเกี่ยวแล้วหากปล่อยทิ้งคาต้นนานหลายวันเกินไปคุณภาพจะด้อยลง ดังนั้นจึงให้เก็บเกี่ยวกระท้อน ณ วันที่ครบอายุผลพอดีรับประทาน

* กระท้อนก็เหมือนกับผลไม้อื่นอีกหลายชนิด หลังจากเก็บลงมาจากต้นแล้วปล่อยทิ้งไว้เพื่อให้ลืมต้น สัก 2-3 วันจะทำให้มีรสชาติหวานขึ้น เก็บในอุณหภูมิปกติอยู่ได้นาน 5-7วัน หรือเก็บในอุณหภูมิ 15-17 องศาอยู่ได้นาน 20 วัน

* ความดกและคุณภาพของผลด้านขนาด รูปทรง สีผิว ความนุ่มหนาของเนื้อและปุย ความเล็กของเมล็ด กลิ่นและความหวาน ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ที่ได้รับจากการบำรุงมากกว่าคุณลักษณะของสายพันธุ์

* สายพันธุ์ผลใหญ่แม้จะได้รับการปฏิบัติบำรุงไม่เต็มที่ ผลที่ออกมากก็ยังใหญ่หรืออาจย่อมลงมาเล็กน้อยแต่จะไม่ดก ส่วนสายพันธุ์ผลเล็กแม้จะได้รับการปฏิบัติบำรุงดีเพียงใด ผลที่ออกมาก็ยังเป็นผลขนาดเล็ก หรืออาจใหญ่กว่าปกติเล็กน้อยแต่การติดผลจะดกขึ้น

* ผลไม้ทั่วไปช่วงผลแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวต้องงดน้ำ เพื่อให้เนื้อแห้งกรอบ กรณีของกระท้อนไม่ต้องงดน้ำแต่กลับต้องให้น้ำสม่ำเสมอ เพื่อให้เนื้อฉ่ำนิ่มจนใช้ช้อนตักรับประทานได้ ถ้างดให้น้ำช่วงผลแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวเนื้อแข็ง ไม่เหมาะสำหรับรับประทานผลสด แต่ดีสำหรับทำกระท้อนแปรรูป

* ออกดอกติดผลจากกิ่งอายุข้ามปี การตัดแต่งกิ่งหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตควรตัดเฉพาะกิ่งที่มีผลผลิตแล้วบำรุงสร้างยอดขึ้นมาใหม่สำหรับใช้เป็นกิ่งให้ออกดอกติดผลในปีต่อไป ส่วนกิ่งที่ปีนี้ยังไม่ออกดอกติดผลไม่ต้องตัดแต่ให้บำรุงต่อไปเลย เมื่อได้รับการบำรุงต่อก็จะออกดอกติดผลได้ในฤดูกาลถัดไป

* เนื่องจากผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก เมื่อลมพัดจะทำให้ผลแกว่งไปมาแล้วไปกระทบกับกิ่งข้างๆ ทำให้ผลเสียหาย แก้ไขด้วยการปลูกไม้บังลม

* ขนาดลำต้นใหญ่ความสูงมากๆ ทรงพุ่มกว้าง ให้ทำค้างไม้แบบถาวรเป็นคอกสี่เหลี่ยมล้อมรอบต้น จัดให้มีไม้พาดเป็นทางเดินภายในทรงพุ่มสูง 1-2-3 ชั้นตามความเหมาะสมจะช่วยให้การเข้าปฏิบัติงานในทรงพุ่ม เช่น การตัดแต่งกิ่ง ห่อผล ทำได้สะดวกยิ่งขึ้น

* หลังจากต้นเป็นสาวพร้อมให้ผลผลิตแล้วให้บำรุงแบบทำให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องทั้งปีและหลายๆปีติดต่อกัน โดยฝังซากสัตว์ (หอยเชอรี่ หัว/พุงปลา ซี่โครงไก่) ที่ชายพุ่ม 4-5 หลุม/ต้น (ทรงพุ่ม 5 ม.) ปีละครั้ง และปีรุ่งขึ้นให้ฝังระหว่างหลุมของปีที่แล้ว

* ติดตั้งระบบสปริงเกอร์ในใจกลางทรงพุ่มและเหนือทรงพุ่ม เป็นการเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานฉีดพ่นทางใบได้ดีกว่าเครื่องมือฉีดพ่นทุกประเภท

* ค่อนข้างอ่อนแอต่อปุ๋ยน้ำชีวภาพที่มีกากน้ำตาลเป็นส่วนผสมทุกชนิด ทั้งๆที่ใช้ในอัตราเข้มข้นเท่ากับไม้ผลอื่นๆ ดังนั้น ถ้าจะใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพฉีดพ่นทางใบจะต้องใช้ในอัตราน้อยกว่าไม้ผลอื่นๆ 1 เท่าตัวเสมอ

* การปลูกกล้วยลงในแปลงปลูกก่อนเพื่อเตรียมให้เป็นไม้พี่เลี้ยง เมื่อกล้วยยืนต้นได้แล้วจึงลงต้นกล้ากระท้อนพร้อมกับทำบังร่มเงาช่วยอีกชั้นหนึ่งจะช่วยให้ต้นกล้ายืนต้นได้เร็ว สมบูรณ์แข็งแรง

* การพูนโคนต้นด้วยอินทรียวัตถุปีละ 1-2 ครั้งจะช่วยให้ต้นแตกรากใหม่ดี และต้นที่ได้รับการเสริมราก 1-2รากนอกจากจะช่วยให้ต้นมีรากหาอาหารมากขึ้นแล้วยังช่วยให้ต้นอายุยืนนานขึ้นอีกด้วย

* อายุต้น 3-4 ปีขึ้นไป หรือได้ความสูง 3-5 ม. แล้ว ให้ตัดยอดประธาน (ผ่ากบาล) เพื่อควบคุมขนาดความสูง จากนั้นจึงตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมขนาดความกว้างทรงพุ่มต่อไป

* การตัดแต่งกิ่งให้เหลือกิ่งกระจายรอบทรงพุ่มเสมอกันจนแสงแดดส่องทั่วภายในทรงพุ่มจะช่วยให้กิ่งภายในทรงพุ่มออกดอกติดผลแล้วพัฒนาผลจนมีคุณภาพดีได้

* ใบกระท้อนแก่ตากแห้งบดละเอียดใช้ผสมพริกป่นเพื่อลดความเผ็ดของพริกลง และเพิ่มสีพริกให้จัดขึ้นได้ ทำให้การปลูกกระท้อนเพื่อขายใบกลายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่งที่น่าพิจารณา

------------------------------------------------------------------------

การบำรุงกระท้อน :
ระยะผลเล็ก :
ระยะผลกลาง :
ระยะผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว :


-------------------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©