-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 11 JUL *สมุนไพร (89), ไคติน ไคโตซาน
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 11 JUL *สมุนไพร (89), ไคติน ไคโตซาน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 11 JUL *สมุนไพร (89), ไคติน ไคโตซาน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 12/07/2016 10:09 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 11 JUL *สมุนไพร (89), ไคติน ไคโตซาน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 11 JUL

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)


----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

------------------------------------------------------------------------



เล่าสู่ฟัง เรื่องยาฆ่าแมลง 17 :

ธนาคารไม่ปล่อยกู้ เพราะสารเคมี :


กว่าทศวรรษ จำ พ.ศ.ไมได้ แต่จำได้แม่นไม่เคยลืมว่า รายการสีสันชีวิตไทย ตรงนี้มี BIOKING เป็นสปอนเซอร์ ได้ไปร่วมออกงานที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายไต้กรอบของงานสัมมนา “ส้มสีทองแห่งล้านนา” เพื่อพัฒนาเกษตรกรชาวสวนส้มกุน ย่านเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง รวมแล้วกว่า 3,000 คน

งานนี้เริ่มด้วย นักวิชาการด้านไม้ผลโดยเฉพาะ จากมหาลัยเชียงใหม่ โหมโรงส้มโชกุนดีอย่างนั้นดีอย่างนี้ ปลูกแล้วรวย รวย รวย เป็นส้มเปลือกล่อนสายพันธุ์เดียวที่ผลเป็นสีเหลืองทอง เป็นโหงวเฮ้งแห่งโชคลาภ ปลูกแล้วจะสร้างรายได้ให้แก่เจ้าของสวน แรงงานลูกจ้างมีรายได้แน่นอน เศรษฐกิจท้องถิ่นทุกวงการดีไปถึงระดับชาติ ทุกอย่างดีทั้งนั้น ฟังแล้วเคลิ้ม ราวกับว่าเป็นผลไม้วิเศษ .... นักวิชาการจบแล้ว ต่อด้วยเกษตรกรเจ้าของสวน

รายแรก
.... ทำสวนโชกุน อยู่เชียงใหม่ สาธยายถึงรายได้ที่คาดว่า (เน้นย้ำ....คาดว่า) จะได้ เป็นตัวเลขหลักล้าน กว่า 10 ล้าน แต่วันนี้รายได้นี้ยังลอยอยู่ในอากาศ ไม่สามารถจับมาไว้ในกำมือได้ เนื่องจาก “ไม่มีทุน” ที่ต้องจ่าย ค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง ค่าแรงงาน เพราะธนาคารไม่ยอมปล่อยเงินกู้.....ฯลฯ

รายที่สอง
.... ทำสวนโชกุน อยู่เชียงราย วันนี้รวมกลุ่มมาได้ 10 แปลง รวมเนื้อที่กว่า 1,000 ไร่ ผลผลิตโชกุนส่งเข้าตลาด จีน พม่า ไม่ได้ เพราะส้มโชกุนของจีน พม่า ราคาถูกกว่าของไทย โชกุนเชียงรายจึงต้องส่งกรุงเทพตลาดเดียว ปัญหาวันนี้คือ “ไม่มีทุน” ที่ต้องจ่าย ค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง ค่าแรงงาน เพราะธนาคารไม่ยอมปล่อยเงินกู้ .... ฯลฯ

รายที่สาม
.... ทำสวนโชกุน อยู่ลำพูน ส่งตลาดที่หนองคาย ขายปลีก กก.ละ 22 บาท โดนโชกุนจากฝั่งลาวเข้ามาตีตลาด ขาย กก.ละ 14 บาท ส้มจากลำพูนขายต่ำกว่านี้ไม่ได้เพราะต้นทุนอยู่ที่ กก.ละ 18 บาท จึงอยากให้รัฐบาลห้ามนำเข้าส้มโชกุนจากประเทศลาว ....ฯลฯ

รายที่สี่
.... ทำสวนโชกุน อยู่ลำปาง ต้องส่งตลาดกรุงเทพ ต้องเสียค่าขนส่งแพง ปัญหาวันนี้เหมือนที่เชียงราย คือ “ไม่มีทุน” ที่ต้องจ่าย ค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง ค่าแรงงาน เพราะธนาคารไม่ยอมปล่อยเงินกู้ ....ฯลฯ

รายที่ห้า
.... ทำสวนโชกุน อยู่เชียงใหม่ รวมกลุ่มทำ รวมเนื้อที่กว่า 1,000 ไร่ ทุกสวนกู้เงินสหกรณ์ กู้เงิน ธ.ก.ส. จนเต็มเพดานกู้แล้ว วันนี้ “ไม่มีทุน” ที่ต้องจ่าย ค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่า
แมลง ค่าแรงงาน เพราะธนาคารไม่ยอมปล่อยเงินกู้ ....ฯลฯ

รายที่หก
......... เพราะธนาคารไม่ยอมให้เงินกู้ ............ฯลฯ
รายที่สิบ ......... เพราะธนาคารไม่ให้เครดิตเงินกู้ .........ฯลฯ
รายที่สิบห้า .... เพราะธนาคารไม่ผ่อนระเบียบเงินกู้ ....ฯลฯ

เจ้าของสวนโชกุนทุกราย พบกับปัญหาเดียวกัน .... เพราะธนาคารไม่ยอมให้กู้

บัดดลนั้น ชายหนุ่ม นั่งอยู่แถวท้ายสุดของห้องประชุม ลุกขึ้นเดินผ่ากลางห้องประชุม ตรงขึ้นเวที ด้วยบุคลิกที่ไม่ใช่ชาวสวน แล้วเขาเป็นใคร .... ?

“สวัสดีครับ ท่านผู้จัดการสวนส้ม ทุกๆท่าน .... ผม ในนามของกลุ่มธนาคารพานิช 12 สาขา เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ขอชี้แจงต่อท่านผู้จัดการสวนส้มทุกท่านด้วยความจริงใจว่า .... (เว้นวรรค อึดใจใหญ่ๆ) ทุกท่านมีความสามารถในการผลิตส้มเป็นอย่างมาก ยอมรับจริงๆ ท่านมีฝีมือบำรุงส้มจนได้ผลผลิตอย่างที่เห็นๆ แต่น่าเสียดายที่ท่านไม่มีแผนการบริหารต้นทุนเลย การที่ผลผลิตของท่านขายแล้วได้ต่ำกว่าทุน นั่นคือขาดทุน นั่นคือความผิดพลาดที่แท้จริงที่ไม่อาจะปฏิเสธ .... อาชีพของธนาคาร คือ ปล่อยเงินกู้เพื่อเอาดอกเบี้ย ดอกเบี้ยคือรายรับของธนาคาร เราต้องการให้ท่านมาเป็นลูกค้าของธนาคารเป็นอย่างมาก แต่เมื่อเราพิจารณาแผนการบริหารต้นทุนอย่างละเอียดแล้ว ขอบอกว่า เงินกู้ที่ออกไปนั้นต้องสูญเปล่าแน่ ตัวอย่างหนึ่งก็คือ สหกรณ์ ธ.ก.ส. เป็นกรณีศึกษาที่ดีที่สุด .... สุดท้ายนี้ ผมขอยืนยันว่า ธนาคารทุกสาขา ยินดีปล่อยเงินกู้ แต่มีข้อแม้ว่า ผู้กู้ต้องมี แผนการบริหารต้นทุน ที่ดี และชัดเจนกว่านี้....”

ผู้แทนธนาคารเดินลงจากเวที ย้อนกลับมาที่นั่งเดิม โดยไม่มีเสียงปรบมือแม้แต่แปะเดียว สักครู่ผู้แทนธนาคารทั้งหมดก็ลุกออกไปจากห้องประชุม

บรรยากาศในห้องประชุมต่อจากนั้น อื้ออึงด้วยเสียงคนเป็นร้อยๆ สับสนจนฟังกันไม่รู้เรื่อง เจ้าของสวนหลายคน กับนักวิชาการ เริ่มเดินออกจากห้องประชุม ไม่นานความเงียบก็เข้าครอบคลุมห้องประชุม นั่นคือ “ปิดประชุม ....”
---------------------------------------------------------------------


สมุนไพร (89) :

การทำสารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืชและสัตว์เลี้ยง :

สมุนไพรไล่แมลงศัตรูพืช :

การใช้สมุนไพรไล่แมลงศัตรูพืช ได้รับการพิสูจน์และยอมรับกันทั่วไปแล้วว่า เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดแมลงโรคพืช โดยเฉพาะสำหรับการปลูกพืชผักและผลไม้
ไม่แพ้การใช้สารเคมี แต่มีข้อดีกว่าหลายอย่าง คือ มีราคาถูก ปลอดภัย ต่อเกษตรกรผู้ใช้ ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิต จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมทั้งไม่เป็นอันตรายต่อแมลงที่เป็นประโยชน์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในแปลงพืชผักไม่ตกค้างในดินและสภาพแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม การใช้สมุนไพรไล่แมลงศัตรูพืชมิได้เป็นวิธีการสำเร็จรูปเหมือนกับการใช้สารเคมี การใช้สมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืช ควรทำควบคู่ไปกับวิธีธรรมชาติหรือวิธีทางเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างสมดุลทางธรรมชาติ ให้เกิดขึ้นในแปลงพืชผักผลไม้

วิธีทางเกษตรอินทรีย์ เพื่อป้องกันโรคและแมลง ได้แก่ :

1. การเตรียมดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยชีวภาพ
2. การเลือกใช้พันธุ์ที่ทนทานต่อโรคและแมลง
3. ปลูกพืชให้ตรงกับฤดูกาลที่เหมาะสม
4. การปลูกพืชหลายชนิดในแปลงเดียวกัน แบบผสมผสานและปลูกพืชหมุนเวียน

การปลูกและปฏิบัติเหล่านี้ จะช่วยให้พืชผักมีสุขภาพแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคและแมลง ป้องกันการระบาดของแมลงศัตรูพืช

สมุนไพรไล่แมลง สูตรรวมเอนกประสงค์ :

สะเดา ตะไคร้หอม (ตะไคร้บ้านก็ได้) ใบสะเดาหรือเมล็ดสะเดาก็ได้
ส่วนผสม :
ใบสะเดาหรือเมล็ดสะเดา 1 ก.ก.
หัวข่า 1 ก.ก.
ตะไคร้หอม 1 ก.ก.
วิธีทำ :
สับส่วนผสมแต่ละอย่างให้เป็นชิ้น ขนาด 3.5 เซนติเมตร หรือตำรวมกันให้ละเอียด เติมน้ำ 20 ลิตร หมัก 3 คืน กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ใช้
วิธีใช้ :
นำน้ำสมุนไพรที่หมักได้ 1 ลิตร ผสมน้ำ 10 ลิตร พ่นพืชผักผลไม้
ประโยชน์ :
ใช้ป้องกัน ผีเสื้อกะหล่ำ หนอนคืบ เพลี้ยอ่อน แมลงในยุ้งฉาง

สูตรใช้อย่างเดียวเอนกประสงค์ :
“สาบเสือ”
ส่วนผสม :

ต้นสาบเสือและใบสด 1 กก. (หนึ่งกิโลกรัม) นำมาสับเป็นชิ้นขนาด 3.5 เซนติเมตร ผสมน้ำ 3 ลิตร หมักไว้ 1 คืน กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ใช้
วิธีใช้
นำน้ำที่หมักได้ 1 ลิตร ผสมน้ำ 5 ลิตร ฉีดพ่นพืชผักทุก ๆ 5-7 วัน ในช่วงเวลาเย็น
ประโยชน์
ใช้ใส่และกำจัดแมลงพวก เพลี้ยกระโดด, เพลี้ยจักจั่น, เพลี้ยหอย, เพลี้ยไฟ, หนอนกระทู้, หนอนใยผัก

“ดาวเรือง”
ส่วนผสม :

ดาวเรืองทั้งต้น ใบ ดอก 0.5 ก.ก. (ครึ่งกิโลกรัม) นำมาตำหรือปั่นให้ละเอียด ผสมน้ำ 3 ลิตร หมักไว้ 1 คืน นำมากรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ใช้
วิธีใช้ :
นำน้ำหมักดาวเรือง 5 ช้อนแกงผสมน้ำ 5 ลิตร และน้ำสบู่ หรือยาสระผม 1 ช้อนแกง ผสมด้วย เพื่อช่วยให้เป็นสารจับใบ ฉีดพ่นพืชผัก ผลไม้
ประโยชน์ :
ใช้ป้องกันเพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว แมลงวันผลไม้ หนอนใยผัก หนอนผีเสื้อหัวกะโหลก หนอนกะหล่ำปลี

“บอระเพ็ด”

ใช้เถาบอระเพ็ดแก่ ๆ ทั้งใบ 1 ก.ก. สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาด 3-5 เซนติเมตร ผสมน้ำ 4 ลิตร หมักไว้ 1 คืน กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ใช้
วิธีใช้ :
นำน้ำหมักบอระเพ็ดที่กรองแล้ว 1 ลิตร ผสมน้ำ 5 ลิตร ฉีดพ่นพืชผัก
ประโยชน์ :
ใช้ไล่และกำจัด เพลี้ยกระโดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น หนอนกอ โรคยอดเหี่ยว โรคข้าวลีบ
----------------------------------------------------------------------

จาก : (082) 701-36xx
ข้อความ : ผู้พันครับ ขอข้อมูลที่เป็นวิชาการแท้ๆ เรื่องไคโตซานด้วยครับ รู้ไว้คุยกับคนขี้โม้ ข้อมูลเดิมที่มีก็ได้มาจากผู้พัน แต่เป็นข้อมูลประเภทภูมิปัญญาพื้นบ้าน พูดแล้วไม่ขลังครับ ... ขอบคุณครับ จาก อส.ปภอ. (อาสาสมัคร ป้องกันภัยทางอากาศ) รุ่น 3
ตอบ : O.K.
- ไคโตซาน ซื้อตรงจากชมรมสีสันชีวิตไทย ลิตรละเรือนร้อย ....ไคโตซาน ไดเร็คเซลล ลิตรละเรือนพัน .... ทั้งๆที่ ผลิตมาจากโรงงานเดียวกัน ต้นทุนมาเท่ากัน แต่ขายต่างกันราวฟ้ากับดิน หรือตีนกับมือ

- ข้อมูลเรื่อง ไคติน ไคโตซาน ในเน็ต มีเยอะมาก ๆๆ ๆๆ เท่าที่เห็น ราวๆ 20 เว้บ เลยต้องเลือกเว้บที่ให้คำตอบตรงคำถามที่สุดมาบอกกล่าวกัน .... นี่แหละ ประโยชน์จากการอ่าน

- ไคโตซานที่ทำมาจากสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น เปลือกกุ้ง เปลือกกั้ง เปลือกปู เปลือกหอยเชอรี่ ลิ้นทะเล พูดถึงวัสดุที่ใช้ทำ = ถูกต้อง แต่วิธีทำ = ไม่ไม่ถูกต้อง วิธีทำที่ทำๆกันนั้น ได้แค่โปรตีนซากสัตว์ธรรมดาเท่านั้น ยังไม่ถึงขั้น “ไคติน” ด้วยซ้ำ .... ที่ทำๆกันคือ โขลกวัสดุ ใส่กาก น้ำตาล ใส่จุลินทรีย์ พด. หมักไว้ 7วัน 1เดือน ข้ามเดือน ใช้งานได้ .... โถ นี่มันแค่ปุ๋ยอินทรีย์ซากสัตว์ธรรมดาๆ เท่านั้น

*** ยังไงๆ ก็ขอชมเชยคนส่งเสริมไว้ก่อน แม้ไม่ถึงขั้น ไคติน-ไคโตซาน เป็นแค่ปุ๋ยอินทรีย์ ก็ยังเป็นประโยชน์ต่อพืชอยู่ดี

- การทำไคโตซานน่ะ ทำครั้งแรกจะได้ “ไคติน หรือ ไคติเนส” สารตัวนี้มีสายโมเลกุลยาว ยาวมากๆ พืชเอาไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ ต้องปรับต่อให้เป็น “ไคโตซาน” สายโมเลกุลสั้นหรือโมเลกุลเดี่ยว ผ่านปากใบพืชได้

- หน่วยงานสายวิชาการเรื่อง ไคติน-ไคโตซาน ที่น่าเชื่อถือที่สุด คือ สถาบันเทคโนโลยี ชื่อทางการว่าไง จำได้ได้ แต่จำได้อยู่ที่ “บางมด” ที่นั่นพัฒนาไปถึงขั้น “ใช้กับคน” แล้วด้วยซ้ำ ที่น่าชมเชยคือ ญี่ปุ่นเข้าขอมาถ่ายทอดเทคโนโลยีตัวนี้ ญี่ปุ่นเอาไปใช้กับคน เพราะคุ้มค่ากว่าใช้กับสัตว์หรือพืช .... ประมาณนี้นี่แหละ

*** เอ้า งานนี้ จัดให้ ....

ไคโตซาน ในด้านการเกษตร :

เนื่องจาก “ไคติน และ ไคโตซาน” มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ไนโตรเจนจะถูกปลดปล่อยออกมาจากโมเลกุลอย่างช้าๆ รวมทั้งช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศและดิน จึงใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ

นอกจากนี้ยัง ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของพืช และกระตุ้นการนำแร่ธาตุไปใช้ ผลคือสามารถเพิ่มผลผลิตและคุณภาพการผลิตได้ ทำให้เกษตรกรมีต้นทุนลดลง เนื่องจากลดการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง

สำหรับในด้านการเกษตรนั้น ไคโตซานเป็นสิ่งที่ขึ้นชื่อว่าเป็น ฮอร์โมนพืชที่ดีที่สุด สามารถที่จะเพิ่มผลผลิตของ พืชสวน พืชไร่ และปศุสัตว์ เช่น เร่งการเจริญเติบโตของ สัตว์ พืช ผัก ต่างๆ และนอกจากนี้ ไคโตซานยังสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติได้อีกด้วย ดังนั้นจึงนับได้ว่า เป็นสารสกัดที่มาจากธรรมชาติอย่างแท้จริง การทำการเกษตรอินทรีย์จึงนิยมกันมากในการหันมาให้ความ สำคัญกับสารไคโตซานตัวนี้

ไคโตซานในรูปแบบน้ำเป็นฮอร์โมนพืช ที่ถูกนำมาใช้ในการ เกษตร
.... ข้อดี คือ

ไคโตซาน : ช่วยให้พืชสวน พืชไร่ นาข้าว ไม้ดอก ไม้ประดับ มีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น
ไคโตซาน : ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง และการเจริญเติบโตให้แก่ต้น พืช ผัก ผลไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ
ไคโตซาน : ช่วยป้องกันการเกิดโรค ซึ่งเกิดมาจากเชื้อจุลินทรีย์ในดิน สามารถไปกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานให้แก่เมล็ดพืช ที่จะนำไปเพาะขยายพันธุ์ทำให้มีอัตราการขยายพันธุ์ที่เพิ่มขึ้น

ไคโตซาน : เป็นสารปรับสภาพดินและน้ำ
ไคโตซาน : เป็นตัวช่วยให้พืชกินอาหาร กินปุ๋ยได้ดี ช่วยเร่งราก เร่งใบ เร่งลำต้น เร่งดอก เร่งผล ทำให้พืชและสัตว์โตเร็ว และแข็งแรง

ไคโตซาน : สร้างความต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืชได้ดี
ไคโตซาน : ทำให้ผลผลิตสูงขึ้น มีคุณภาพดี ปลอดสารพิษ และรักษาสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์

การประยุกต์ใช้ไคตินและไคโตซานค่อนข้างจะหลากหลาย อันเนื่องมาจากสมบัติจำเพาะที่โดดเด่น คือ มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ มีความเป็นประจุบวก สามารถขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์มและเม็ดบีด ดังนั้น ไคตินและไคโตซาน จึงถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรมต่างๆ

ไคโตซาน : เร่งอัตราการเจริญเติบโต
ไคโตซาน : ลดเวลาการเพาะปลูกลงและทำให้เกิดผลผลิตได้เร็วกว่าปกติ
ไคโตซาน : สร้างความแข็งแรงของพืช ในการต้านลมและสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น ทำให้รากงอกเร็วขึ้น มีจำนวนมาก สามารถยึดเกาะดินได้

ไคโตซาน : ทำให้การงอกเมล็ดเร็วขึ้น และควบคุมวัชพืช
ไคโตซาน : ทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้นต่อพืชที่ปลูก
ไคโตซาน : ใช้สำหรับปรุบปรุงดิน เพิ่มธาตุอาหารในดิน ปรับปรุงดินเค็ม ปรับปรุงดินที่เป็นกรดเป็นด่าง
ไคโตซาน : ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยลงมากกว่า 50 %
ไคโตซาน : เคลือบเมล็ดพันธุ์พืช ป้องกันโรค แมลง การเน่าเสียจากจุลินทรีย์ และยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ การใช้อนุพันธ์ไคตินและไคโตซานอย่างถูกต้องนำมาเคลือบเมล็ด แสดงผลต่ออัตราการงอกที่สูงขึ้น เวลาการงอกเร็วขึ้น เนื่องจากอนุพันธ์ ไคตินและไคโตซานช่วยให้เกิดการป้องกันศัตรูพืชบางชนิดได้

ไคโตซาน : ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช ทำหน้าที่เป็น ฮอร์โมนพืชกระตุ้นการเกิดราก
ไคโตซาน : ช่วยพัฒนาระบบรากให้มีภูมิต้านทานโรค Root lodging ลดการเกิดปัญหากับโรคที่เกิดจากสารจำพวก Root-rotting โดยสารอนุพันธ์ของ

ไคโตซาน : ช่วยให้เชื้อราและแบคทีเรียบางชนิด ผลิตเอนไซม์ เพื่อย่อยสลายผนังเซลของเชื้อราโรคพืช ทำให้โอกาสที่จะมารบกวนหรือกระทำต่อรากน้อยลง

ไคโตซาน ใช้เป็นปุ๋ยธรรมชาติ เนื่องจากโดยธรรมชาติอนุพันธ์
ไคโตซาน : มี ไนโตรเจน ประมาณ 7-10% จะถูกปลดปล่อยออกจากโมเลกุลอย่างช้าๆด้วยเอนไซม์ที่สิ่งมีชีวิต ผลิตขึ้นรวมทั้งอนุพันธ์

ไคโตซาน : เป็นตัวตรึงไนโตรเจน ไม่ว่าจากอากาศหรือจากดิน ในกรณีของเห็ดนั้น อนุพันธ์
ไคโตซาน : เป็นตัวตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2 Fixation)
ไคโตซาน : เคลือบผลิตผลทางการเกษตร นับเป็นสิ่งที่ดีที่มีการเริ่มนำเอาอนุพันธ์ไคโตซานมาใช้ในการยืดอายุการเก็บผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งมีหลักและเหตุผลจากอนุพันธ์ไคติน ที่ส่งผลดังกล่าวคือ เป็นสารป้องกันการเกิดเชื้อราที่ผิว อัตราการสูญเสียน้ำลดลง ช่วยลดการหายใจและการผลิตก๊าซเอธิลีน ทำให้บรรยากาศภายในมีการเปลี่ยนแปลงผิวและสีช้าลง ดังนั้นในการที่จะใช้อนุพันธ์

ไคโตซาน : ให้เหมาะสมควรดำเนินการใช้ก่อนการเก็บผลผลิต

ไคโตซาน ต่อต้านเชื้อรา แมลง และสร้างภูมิต้านทานโรค :
ไคโตซานมีผลต่อการต้านทานและกำจัดเชื้อรา และแบคทีเรียบางประเภทได้หลายชนิด เช่น ไทรโคเดอร์มา ไฟทอปธอรา แอนแทรคโนส เมลาโนส โรครากเน่า-โคนเน่า ราน้ำค้าง ราขาว โรคแคงคอร์ โรคใบติด โรคใบจุดโรคใบสีส้มในนาข้าว และอื่นๆ ซึ่งเกิดจากโครงสร้างทางประจุและสร้างเอนไซม์ซึ่งทำให้ย่อยสลายทำลายเชื้อรา-โรคพืชได้อย่างดี พบว่าไคโตซานสามารถเข้าสู่เซลล์เชื้อรา ทำให้เกิดการยับยั้งการสร้าง และสะสมของ RNA จึงทำให้เชื้อราถูกยับยั้งการเจริญ เติบโต แต่ในเชื้อราบางประเภทและแบคทีเรียบางชนิดที่มีประโยชน์จะมีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วเมื่อใช้อนุพันธ์ไคตินและไคโตซาน เช่น ในการใช้กับเห็ด ทั้งนี้ยังช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค โดยไคโตซานจะไปกระตุ้น DNA ในนิวเคลียสพืชในการสร้าง Gene ซึ่งควบคุมระบบภูมิคุ้มกันโรค และมีผลต่อการสร้างสารลิกนิน (Lignin) ในพืช ซึ่งจะพบเห็นด้วยตาเปล่าจาก Wax ที่เคลือบบนใบของพืช

ไคติน และ ไคโตซาน คืออะไร ?

ในปี ค.ศ. 1811 Henri Bracannot ค้นพบสาร ไคติน ครั้งแรกในเห็ด ต่อมาปี ค.ศ. 1823 Odier เรียก โพลิเมอร์ (polymer) ชนิดนี้ว่า “ไคติน” คำว่า ไคติน มาจากคำว่า “Chiton” ในภาษากรีกมีความหมายว่า เกราะหุ้ม และค้นพบสารไคโตซาน ในปี ค.ศ. 1859 โดย Rouget จากการต้มสาร ไคติน กับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น (Shahidi et al., 1999)

ไคโตซาน (Chitosan) เป็นอนุพันธ์ (derivative) ชนิดหนึ่งของ ไคติน ที่ได้จากการทำปฏิกิริยาดีอะซิทิเลชัน (deacetylation) ของไคตินในสารละลายด่างเข้มข้น สารไคติน และไคโตซานเป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติ สามารถแตกสลายได้ทางชีวภาพ (biodegradable) ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เกิดการแพ้ ไม่ไวไฟ และไม่เป็นพิษ (non–phytotoxic)

แหล่งวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตสาร ไคติน และสารไคโตซาน ในปัจจุบัน ได้แก่ เปลือกกุ้ง กระดองปู และ แกนปลาหมึก ซึ่งเป็นของเสียจากอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง เปลือกกุ้งและกระดองปูมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ไคติน (20-30%) โปรตีน (30-40%) และแคลเซียมคาร์บอเนต (30-50%) โดยสารไคตินและไคโตซาน มีลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาการนำเส้นใยของเชื้อรามาผลิตสารไคติน และไคโตซานอีกด้วย (Chandrkrachang, 2002)

โครงสร้างทางเคมีของสาร ไคติน และไคโตซาน :

สารไคติน (chitin) เป็นพวกโพลิแซคคาไรด์ (polysaccharide) และเป็น โพลิเมอร์ชีวภาพ (biopolymers) มีมากในโลกเป็นอันดับสองรองจากเซลลูโลส (cellulose) มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายเซลลูโลส แตกต่างกันที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 2 ของสารไคตินจะมีหมู่ acetamide group (NH-CO-CH3) เกาะอยู่ แต่เซลลูโลสจะเป็นหมู่ Hydroxyl group (-OH) ชื่อทางเคมีของสาร ไคติน คือ poly ?-(1-4)-2-acetamido-2-deoxy-D-glucose ส่วนไคโตซาน (chitosan) คือสารไคตินในรูปที่มีปริมาณหมู่อะซิทิลต่ำ ที่เกิดจากปฏิกิริยาการกำจัดหมู่อะซิทิล (degree of deacetylation, DD) ของสาร ไคติน ด้วยด่างเข้มข้น เมื่อมีการกำจัดหมู่อะซิทิลประมาณ 60% จะสามารถละลายในกรดเจือจางได้ การกำจัดหมู่อะซิทิลจะใช้วิธีทางเคมี ทำให้โครงสร้างทางเคมีของสารไคตินเปลี่ยนไป โดยหมู่อะเซทาไมด์ (NH-CO-CH3) เปลี่ยนเป็นหมู่อะมิโน (-NH2) ที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 2 ดังนั้น สารไคโตซาน คือ โพลิเมอร์ของ D-glucosamine (2-amino-deoxy-D-glucose)

ไคโตซาน คือ สารธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีในสัตว์กระดองแข็งและขาเป็นปล้อง เช่น เปลือกกุ้ง กั้ง และกระดองปู ซึ่งเมื่อนำมาสกัดแยกเอาแคลเซียม โปรตีน และแร่ธาตุที่ไม่ต้องการออกไป ก็จะได้สารสำคัญที่มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายเซลลูโลส เรียกว่า “ไคติน”(chi-tin) และเมื่อนำไคตินผ่านกระบวนการอีกครั้ง ก็จะได้สารที่เรียกว่า” ไคโตซาน ”

ไคโตซาน (chitosan) เป็นสารธรรมชาติที่รู้จักกันมานานกว่า 100 ปีแล้ว แต่ไม่ได้มีการศึกษาเพื่อนำมาใช้ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2518 ได้มีการรวมตัวกันของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เพื่อศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของสารไคโตซานตัวนี้ ซึ่งคุณสมบัติพื้นฐานของไคโตซานที่นักวิยาศาสตร์ต่างศึกษาออกมาได้ผลตรงกันคือ ไคโตซานเป็นสารที่มีประจุบวก จึงสามารถดักจับไขมันต่างๆที่เป็นประจุลบได้ โดยมีการทดลองใช้สารไคโตซานครั้งแรกในการบำบัดน้ำเสียแบบชีวภาพที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งหลังจากนั้นไคโตซานก็ได้เข้าไปมีบทบาทในวงการอุตสาหกรรมหลายสาขา

ไคติน และไคโตซาน เป็นอนุพันธ์ของคาร์โบไฮเดรต เป็น พอลิเมอร์ธรรมชาติ ที่ประกอบ ด้วยคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมหลายประการ เช่น สามารถแตกสลายได้ทางชีวภาพ การตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันต่ำ ไม่ก่อให้เกิดการอักเสบ ไม่เป็นพิษ และไม่ก่อให้ เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โครงสร้างของไคติน และไคโตซาน ประกอบด้วยไนโตรเจน ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้พืชดึงดูดแร่ธาตุอื่นไปใช้ และยังช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของพืช นอกจากนี้ไคติน และไคโตซานยังสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศและดิน จึงสามารถนำไปใช้ทำเป็นปุ๋ยชีวภาพได้ ปัจจุบันมีการนำไคติน และไคโตซานมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะเกษตรอินทรีย์ และพบว่าไคโตซานสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตและทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดีขึ้น ทำให้ ต้นทุนการผลิตลดลง เนื่องจากลดการใช้ปุ๋ยเคมี และ ยาฆ่าแมลง

ไคโตซาน เป็นการการประยุกต์ใช้ของเกษตรกรที่ต้องการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต
http://www.fulllifes.com/?mod=knowledge

------------------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©