-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 22 JUL * ยาฆ่าหญ้า ปีศาจเงียบ, ทุเรียน 4
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 22 JUL * ยาฆ่าหญ้า ปีศาจเงียบ, ทุเรียน 4
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 22 JUL * ยาฆ่าหญ้า ปีศาจเงียบ, ทุเรียน 4

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/07/2016 11:41 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 22 JUL * ยาฆ่าหญ้า ปีศาจเงียบ, ทุเรียน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 22 JUL

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)


----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

------------------------------------------------------------------------


เล่าสู่ฟัง เรื่องยาฆ่าแมลง 25 :

ยาฆ่าหญ้า ปีศาจเงียบ ทำร้ายผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม :
โดย Supang Chatuchinda


ผัดผักมื้อนี้ อาจมียาฆ่าหญ้าเป็นของแถม :


ปัจจุบันสารเคมี ทั้งยาฆ่าหญ้าและยาฆ่าแมลงได้เข้ามาเป็นส่วนสำคัญของการทำเกษตรกรรมส่วนใหญ่ โดยเฉพาะยาฆ่าหญ้า เช่น ไกลโฟเซต ซึ่งสิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือสารเคมีที่มีพิษต่อสุขภาพร่างกายมนุษย์นี้ มีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งล่าสุดองค์การสหประชาชาติได้ระบุว่าไกลโฟเซตอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ ดังนั้น ทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคอย่างเราๆ ควรทำความรู้จักกับอันตรายของสารชนิดนี้ให้มากขึ้น และศึกษาวิธีที่จะหลีกเลี่ยงมัน เพื่อที่เราจะมีพืชผักบริโภคได้อย่างปลอดภัยและยั่งยืน โดยที่ไม่ทำร้ายสุขภาพของคุณ เกษตรกร และสิ่งแวดล้อม

ไกลโฟเซต
ที่บริษัทเมล็ดพันธุ์ยักษ์ใหญ่ และเป็นบริษัทสารเคมีการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในโลก ไกลโฟเซต อยู่ในหมวดของ “ยาฆ่าหญ้า” โดยมีฤทธิ์ดูดซึมและเข้าไปทำลายบริเวณรากของศัตรูพืช เกษตรกรจะใช้สารนี้ฉีดพ่นฆ่าหญ้าในไร่ก่อนที่จะลงมือปลูกผัก เช่น กะเพรา หรือโหระพา เป็นต้น เนื่องจากไกลโฟเซตมีฤทธิ์ฆ่าหญ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว จึงทำให้เป็นที่นิยมในหมู่เกษตรกร

ไกลโฟเซต
เป็นสารกำจัดศัตรูพืชที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยสูงสุดเป็นอันดับ 1 ในปี 2557 สารชนิดนี้สามารถปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำได้ หมายความว่าไม่ใช่เพียงเกษตรกรเท่านั้นที่เสี่ยงต่อการรับสารพิษชนิดนี้ คนทั่วไปอย่างเราก็ตกอยู่ในความเสี่ยงเช่นกัน แต่ปัจจุบันยังมีความเข้าใจผิดคิดว่า ไกลโฟเซตปลอดภัย สามารถใช้ได้โดยที่ไม่มีผลกระทบอะไร

ดังนั้นเรามาปรับทัศนคติกันดีกว่ากับ 4 เหตุผล ที่เราควรหยุดใช้สาร ไกลโฟเซต ในการเกษตรกรรม
1. ผู้บริโภคและเกษตรกรตกอยู่ในอันตราย :
ไกลโฟเซต
คือ ภัยเงียบคุกคามผู้บริโภคอาหาร หากรับประทานอาหารที่มีสารชนิดนี้ปนเปื้อนเข้าไป โดยเฉพาะผู้หญิงจะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น เพราะหากได้รับสารพิษชนิดนี้ในปริมาณที่มากหรือสะสมอยู่ในร่างกาย โดยคณะวิจัยขององค์การสหประชา ชาติ (UN) ได้เปิดเผยผลการวิจัยว่า ไกลโฟเซต เป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็ง นอกจากนี้ไกลโฟเซต จะเข้าไปยับยั้งการทำงานของต่อมไร้ท่อ และรบกวนการทำงานของยีนที่ควบคุมการสร้างเอสโตรเจน

จากการศึกษาด้านพิษวิทยาทำให้เราทราบว่าสารกำจัดวัชพืชที่มี ไกลโฟเซต เป็นองค์ประกอบหลักสามารถทำลายดีเอ็นเอ ทำให้เกิดการกลายพันธุ์และเป็นอันตรายต่อเซลล์สืบพันธุ์อีกด้วย

ในประเทศไทยมีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมีทางการเกษตรสูงขึ้น นอกจากนี้ เมื่อตรวจปัสสาวะในเด็กก็ยังพบว่าปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในปัสสาวะของเด็กที่มีผู้ปกครองเป็นเกษตรกรสูงกว่าเด็ก ๆ ที่มีผู้ปกครองประกอบอาชีพอื่น [วารสารเกษตรพระจอมเกล้า]

2. ทำร้ายแมลงที่เป็นประโยชน์ ปลาในแหล่งน้ำได้รับผลกระทบ :

สวนผักเพียงแค่ 1 สวนมีสัตว์และแมลงอยู่ในระบบห่วงโซ่อาหารมากมายจนนับไม่ถ้วนไม่ว่าจะเป็นไส้เดือนดิน แมลงที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ไปจนถึงนก แต่ไกลโฟเซตมีฤทธิ์ทำให้แมลงที่เป็นประโยชน์ต่อพืชและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำตาย กบบางชนิดเกือบสูญพันธุ์ เมื่อผู้ถูกล่าลดจำนวนลง ก็ส่งผลกระทบต่อผู้ล่าเป็นทอด ๆ ต่อกันไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ ไกลโฟเซตยังมีผลกระทบต่อสัตว์น้ำเช่น ปลา เพราะเมื่อปลาได้รับสารเคมีชนิดนี้เข้าไปจะมีผลกระทบต่อการว่ายน้ำ ความเสียหายของเหงือก และโครงสร้างตับที่เปลี่ยนไป แม้แต่ผักที่ปลูกก็ได้รับผลกระทบจากสารเคมีนี้อีกด้วย

3. สิ่งแวดล้อมถูกปนเปื้อน แต่ศัตรูพืชกลายเป็น Super Weed
ไกลโฟเซต
สามารถปนเปื้อนลงสู่ ดิน น้ำ และแหล่งน้ำใต้ดิน โดยเฉพาะดิน ที่สารเคมีดังกล่าวจับได้แน่นกับอนุภาคดิน ผลคือ ไกลโฟเซตอยู่ในดินได้นานกว่า 170 วันหรือเป็นเวลากว่า 5 เดือน และมีโอกาสปนเปื้อนออกสู่สิ่งแวดล้อมสูง

ทั้งนี้ การใช้ไกลโฟเซตกลับนำไปสู่ปัญหาใหม่ในการกำจัดวัชพืช ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เกิดปัญหา “Super Weed” หรือซูเปอร์วัชพืชขึ้นจากการใช้ยาฆ่าหญ้าอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องจากวัชพืชเหล่านี้สามารถปรับตัวให้ต้านทานต่อไกลโฟเซตได้ การกำจัดวัชพืชจึงกลายเป็นเรื่องยาก เกษตรกรจึงต้องกำจัดด้วยการพลิกหน้าดินซึ่งจะส่งผลเสียต่อคุณภาพดินในระยะยาวทำให้ปริมาณผลผลิตลดลงเรื่อย ๆ สำหรับในบ้านเราปัญหาดินเสื่อมสภาพนั้นเชื่อมโยงกับการย้ายที่ทำการเกษตร หรือแม้แต่บุกรุกป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอยนี่เป็นเพียงผลกระทบของสารเคมีชนิดเดียวเท่านั้น ยังมีสารเคมีกำจัดพืชและแมลงอีกมากมายที่เราไม่ได้กล่าวถึง ยกตัวอย่างเช่น พาราควอท คลอไพริฟอส หรือสารเมทโทรมิล เป็นต้น

4. ไกลโฟเซตและผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร

สำหรับผู้บริโภคอย่างเรา ๆ แล้วควรทำความรู้จักกับความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งนิยามโดยสรุปของความมั่นคงทางอาหารโดย องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ว่า “ความมั่นคงทางอาหารจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อประชาชนสามารถเข้าถึงอาหาร หรือมีฐานะทางเศรษฐกิจที่จะเข้าถึงอาหารได้ตลอดเวลา โดยอาหารดังกล่าวมีคุณค่าทางโภชนาการ ปลอดภัยและมีปริมาณที่เพียงพอในการตอบสนองต่อความต้องการด้านโภชนาการและความนิยมในการบริโภค เพื่อการดำเนินชีวิตที่มีสุขภาพแข็งแรงและกระปรี้กระเปร่า”

เกษตรกรและผู้บริโภคทั่วไปควรได้รับความคุ้มครองจากการปนเปื้อนของสารพิษในอาหารมากกว่านี้ เพราะไม่ว่าจะเป็นไกลโฟเซตหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืชชนิดใดก็ตามแต่ หากปนเปื้อนในอาหารแล้ว ต่างก็มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารทั้งสิ้น

ทางออกปลอดสารเคมี

เรายังมีทางที่จะหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนในอาหารได้ สำหรับผู้บริโภคปลายทางแบบเราแล้ว คำตอบง่าย ๆ ที่จะรักษาสุขภาพร่างกายของเราไว้นั่นก็คือ ‘สนับสนุนอาหารที่มาจาก การเกษตรเชิงนิเวศ หรือ Ecological Farming’ ซึ่งเกษตรนิเวศนี้ก็คือระบบการบริหารทรัพยากร เพื่อทำการผลิตทางการเกษตรที่ตอบสนองต่อความจำเป็นและต้องการของมนุษย์ และในขณะเดียวกันก็ธำรงรักษาและฟื้นฟูคุณภาพของสิ่งแวดล้อม ตลอดจนช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ หากท่านไม่คุ้นเคยกับชื่อการเกษตรเชิงนิเวศให้นึกถึง การเกษตรแบบผสมผสานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นการปลูกพืชตามฤดูกาล และมีวิธีการกำจัดวัชพืชแบบธรรมชาติ ด้วยหลักการ ป่า 5 ระดับ ซึ่งการเกษตรในลักษณะนี้จะช่วยให้ทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคห่างไกลจากสารเคมีมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศให้คงอยู่

ความจริงแล้ว ในภูมิปัญญาดั้งเดิมของการทำเกษตรกรรมของไทยก็มีวิธีกำจัดวัชพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว เช่น การเลี้ยงห่านเพื่อกินหญ้า หรือการเลี้ยงไก่เพื่อกินแมลงที่เป็นศัตรูพืช เราไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสารเคมีที่เต็มไปด้วยพิษต่อสุขภาพร่างกายและสิ่งแวดล้อมเลย นอกจากจะทำให้เกษตรกรปลอดภัยจากสารพิษที่ตกค้างอยู่ในร่างกายแล้ว ผู้บริโภคก็ได้รับความปลอดภัยจากการรับประทานผักที่ปลอดสารพิษ และยังมั่นใจได้อีกว่า เราไม่ได้บริโภคอาหารบนความเสี่ยงของเกษตรกรอีกด้วย
http://www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/53150/

------------------------------------------------------------------------

ทุเรียน 4

สายตรง :
(093) 774-28xx
สรุป : ทุเรียนชุมพร แก่ครบอายุแล้วยังอ่อน ผ่าดู 10 ลูก อ่อนทุกลูก แน่ใจว่าครบอายุเพราะเขียนป้ายติดไว้ อยากรู้ว่า แก้ไขอย่างไร ปีหน้าฟ้าใหม่เอาใหม่ ....
ตอบ :
บางปัญหาแก้ ณ เวลาที่เกิดปัญหา เช่น ปุ๋ย ยึดหลักสมการปุ๋ย ....
บางปัญหา ต้องแก้ล่วงหน้า เช่น น้ำจากฝน ต้องทำแปลงสะเด็ดน้ำ คือ มีร่องระบายน
ทั้ง 2 วิธีแก้ปัญหา ยากที่ใจ ปัญหาทุเรียน เกิดมาตั้งแต่มีทุเรียนต้นแรกในโลก เป็นเรื่องของธรรมชาติ แต่คนไม่ยอมรับ เพราะคิดว่า เอาชนะธรรมชาติได้

งานนี้ คิดใหม่ทำใหม่ คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ตามบัญญัติเกษตร 10 ประการ จะดีมั้ย ?
1. ล้างความคิดเดิม ........ (เปิดใจยอมรับความจริง .... อะไร ใช่/ไม่ใช่ ดี/ไม่ดี ถูก/ผิด)
2. หาความรู้ ............... (ทำตามโผ เรียนรู้จากประสบการณ์ .... ก. ทำกับมือ)
3. ถามใจตัวเอง ............ (เอาไหม ? ได้ไหม ? เพราะอะไร ?)
4. ต้นทุน .................. (ลงทุนแล้วไม่ได้ทุนคืน ลงทุนแล้วได้กำไร)
5. ตลาด ................... (ตลาดนัดจร แหล่งท่องเที่ยว ส่งเอเย่นต์)
6. วิธีทำ ................... (แม่นสูตร แม่นหลักการ มีหลักวิชาการรองรับ)
7. ระดับสินค้า .............. (ซูพรีม, พรีเมียม, เกรด เอ. จัมโบ้)
8. ปริมาณ ................. (มากเท่า หรือมากกว่า ที่ธรรมชาติให้)
9. รวมกลุ่ม ................ (ทำเกษตรพันธะสัญญา หรือ ข้อตกลงกับผู้รับซื้อ)
10. รวบรวมข้อมูล ......... (ปัญหา-ความสำเร็จ-ความล้มเหลว-ตลาด-อื่นๆ)


------------------------------------------------------------------------------------------


11. ระยะผลแก่ ก่อนเก็บเกี่ยว :
ช่วงฝนชุก :
ทางใบ :

- ธรรมชาติทุเรียนผลแก่เจอฝน ผลจะหยุดแก่แล้วกลายเป็นอ่อนทันที เพราะฉะนั้น อย่าเพิ่งเก็บ แต่บำรุงเร่งหวานต่อไปจนกว่าจะหมดฝน

ทุเรียนผลแก่แล้วหยุดแก่กลายเป็นผลอ่อน .... อาการ : เปลือกหนา เนื้อเป็นเต่าเผา ไส้ล้ม สีไม่ออก กลิ่นไม่ออก ผลแตกและผลร่วง สาเหตุเป็นเพราะต้นได้รับไนโตรเจนจากน้ำฝนมากเกินไป

- ให้ไบโออิ 0-21-74 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
- ให้เฉพาะช่วงฝนตกชุก หลังหมดฝนแล้วให้อีก 1 ครั้ง จากนั้นกลับเข้าสู่ขั้นตอนบำรุงเร่งหวาน หรือบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว ปกติ
ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น ทำร่องระบายน้ำป้องน้ำขังค้างโคนต้น
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดบริเวณทรงพุ่ม
- ให้น้ำเพื่อละลายแล้วงดให้น้ำเด็ดขาด
หมายเหตุ :
- บำรุงเร่งหวานจนหมดฝน หมดฝนแล้ว 10-15 วัน สุ่มเก็บมาผ่าพิสูจน์ก่อนว่าสามารถเก็บ ได้/ไม่ได้ ถ้าพร้อมเก็บได้ให้เก็บ ถ้าเก็บไม่ได้ให้บำรุงต่อแล้วสุ่มเก็บมาพิสูจน์ใหม่ทุก 7 วัน

- การให้ทางใบด้วย 16-8-24 นอกจากช่วยปรับปรุงคุณภาพผลแล้วยังช่วยบำรุงขยายขนาดผลให้มีขนาดใหญ่ขึ้นได้อีกด้วย ส่วนการให้ทางใบด้วย 0-21-74 ช่วยปรับปรุงคุณภาพผลอย่างเดียวโดยไม่ช่วยขยายขนาดผล หรือหยุดขยายขนาดผล

- ติดตามข่าวอากาศ ช่วงที่มีฝนตกชุก ให้ฉีดพ่นทันทีเมื่อฝนหยุดตกใบแห้งโดยไม่จำกัดเวลา หรือฉีดพ่นก่อนฝนตก 30 นาที โดยไม่จำกัดเวลาอีกเช่นกัน

- ถ้าฝนตกนานเป็นเดือนหรือหลายเดือนจนไม่อาจงดน้ำได้ ระหว่างนี้ผลทุเรียนจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ด้วยสูตรบำรุงผล บางครั้งขนาดผลใหญ่เกินเป็นทุเรียนรับประทานผลสุก กรณีนี้แก้ไขด้วยการจำหน่ายทุเรียนดิบสำหรับทำทุเรียนทอดกรอบหรือทำแป้งทุเรียนหรือปล่อยให้แก่จัดจำหน่ายทุเรียนสุกสำหรับทำทุเรียนกวนก็ได้ .... ทุเรียนผลยักษ์เมื่อสุกให้แกะเนื้อใส่กล่องโฟมจำหน่ายก็ได้

- ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวแล้วมีฝนมักเกิดอาการไส้ซึม แก้ไขด้วยการให้ทางใบด้วยธาตุรอง/ธาตุเสริม สม่ำเสมอ ทั้งนี้ควรให้ตั้งแต่ยังไม่มีฝนซึ่งจะได้ผลดีกว่าให้หลังจากมีฝนแล้ว

- วิธีเก็บเกี่ยวทุเรียนของชาวสวนทุเรียนเมืองนนทบุรี (จ.ส.อ.สมพงษ์ สกุลดิษฐ์ อดีตพลขับรถ จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ / บางกรวย) ไม่ใช้วิธีนับอายุผล เพราะรู้ว่าเอาแน่นอนไม่ได้ เนื่องจากน้ำใต้ดินโคนต้นหรืออาจจะมีฝนตก แต่ใช้วิธีปล่อยให้ผลใดผลหนึ่งร่วงจากต้นลงมาเองก่อน 1 ผล แล้วเก็บผลร่วงนั้นมาผ่าดูภายในก็จะเห็นชัดว่าทุเรียนแก่สมควรเก็บเกี่ยวได้หรือยัง เมื่อเห็นว่าแก่จัดเก็บเกี่ยวได้แล้วจะลงมือเก็บผลที่เป็นรุ่นเดียวกันนั้นก่อน จากนั้นอีก 7 วันจะลงมือเก็บรุ่นสอง และรุ่นสามไปเรื่อยๆ แต่ละรุ่นห่างกัน 5-7 วัน จนกระทั่งหมดทั้งต้น


ช่วงฝนแล้ง :
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ 0-21-74 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- เปิดหรือไม่เปิดหน้าดินโคนต้นและนำอินทรีย์วัตถุออกหรือไม่ต้องนำออกก็ได้
- ให้ 13-13-21 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง. 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น รดน้ำพอละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด
หมายเหตุ :
- สุ่มเก็บมาผ่าพิสูจน์ก่อน
- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 13-13-21 จะทำให้ต้นโทรม หลังเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายไปจากต้นแล้วต้องเร่งบำรุงเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาทันที

- บำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอด้วยการทำให้มีสารอาหารกิตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆ ปี ส่งผลให้ทุเรียนออกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีฤดูกาลได้ ดังนั้นการบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 จะไม่ทำให้ต้นโทรม หลังเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายจากต้นไปแล้วเข้าสู่ขั้นตอนบำรุงต้น “สะสมอาหาร” และ “ปรับ ซี/เอ็น เรโช” จากนั้นให้สำรวจความพร้อมของต้นถ้าต้นสมบูรณ์ดีพร้อมก็ลงมือ “เปิดตาดอก” ต่อได้เลย กิ่งที่ยังไม่ออกดอกในรุ่นปีที่ผ่านมาสามารถออกดอกได้ถ้าสภาพอากาศไม่เลวร้ายจนเกินไปนักและดอกที่ออกมาก็สามารถพัฒนาให้เป็นผลได้เช่นกัน การบำรุงแบบต่อเนื่องนี้จะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อต้นมีความสมบูรณ์แข็งแรงอย่างแท้จริง โดยเฉพาะต้นสาวที่ให้ผลผลิตน้อยทั้งๆที่บำรุงอย่างดีจะสามารถทำได้ง่าย

---------------------------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©