-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-กาลครั้งนั้น ที่ไร่กล้อมแกล้ม ....
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - กาลครั้งนั้น ที่ไร่กล้อมแกล้ม ....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

กาลครั้งนั้น ที่ไร่กล้อมแกล้ม ....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/03/2017 6:19 am    ชื่อกระทู้: กาลครั้งนั้น ที่ไร่กล้อมแกล้ม .... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กาลครั้งนั้น ที่ไร่กล้อมแกล้ม ....



1.
(บน-ล่าง) ปลาทะเล 20 กก. + กากน้ำตาล 5 ล. + จุลินทรีย์สับปะรด 5 ล. + น้ำหมักรุ่นเก่า 5 ล.


ปุจฉา-วิสัชนา :
- หอยเชอรี่ 20 กก.+ กากน้ำตาล 20 กก. (1:1) + จุลินทรีย์ หมักในโอ่งทิ้งไว้
นานข้ามปี หอยเชอรี่ยังเป็นตัวเหมือนเดิม นั่นมัน "หอยแช่อิ่ม" โปรตีน-สารอาหาร
ต่างๆที่มีอยู่ในเนื้อหอยยังไม่ออกมา แล้วจะเป็นปุ๋ยได้ยังไง

- ผักผลไม้ 30 กก.+ กากน้ำตาล 10 กก. (3:1) + จุลินทรีย์ + น้ำ หมักในโอ่ง
1-3 เดือน ผักผลไม้ย่อยสลายดี แต่ได้ปุ๋ยหรือสารอาหารเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ใน
ผักผลไม้มีสารอาหารต้นทุนน้อยอยู่แล้ว ครั้นเติมน้ำเปล่าลงไปทำให้เจือจาง สาร
อาหารจึงน้อยลงไปอีก

- ในถังหมักมีกลิ่นเหม็นและมีหนอนเกิดขึ้น อาการเหม็นเกิดจากเชื้อแบคทีเรียประ
เภทเชื้อโรค เชื้อประเภทนี้เกิดในสิ่งที่เน่า เมื่อเกิดอาการเน่าก็จะเกิดหนอนตามมา
ในความเน่านี้จะมีปุ๋ยหรือสารอาหารพืชได้ยังไง




2.
ต่อคำถามที่ว่า... "ทำไมเลือกใช้ปลาทะเล ?"
คำตอบ คือ ..... "เมื่อต้องการทำปุ๋ย ก็ต้องเลือกวัสดุส่วนผสมที่มีปุ๋ยมากๆ มากทั้งชนิด และปริมาณ ....
ในปลาทะเลมีแม็กเนเซียม. แมงกานิส. สังกะสี. โซเดียม. โอเมก้า. ฟลาโวนอยด์. ควินนอยด์.
โพลิตินอล. อะมิโนโปรตีน. ซึ่งปุ๋ยหรือธาตุอาหารพวกนี้ไม่มีในปลาน้ำจืด ในหอยเชอรี่ ในผักผลไม้ ....
ส่วนปุ๋ยหรือธาตุอาหารตัวอื่นๆ ที่ปลาน้ำจืด หอยเชอรี่ ผักผลไม้ มี ในปลาทะเลก็มีด้วย ฉนี้แล้ว ปลาทะเล
มิเหนือกว่ารึ ?

เมื่อคิดจะทำปุ๋ย ก็ต้องเลือกวัสดุส่วนผสมที่มีปุ๋ยอยู่ในตัวมันเองมากๆ นอกจากนั้น กรรมวิธีหรือเทคนิคใน
การทำก็มีส่วนสำคัญ....ที่ทำๆกันแล้ว "ทั้งเหม็น ทั้งหนอน" น่ะ เชื้อโรคทั้งนั้น

ที่นี่ชื่นชมเกษตรกรที่ใฝ่รู้ อุตส่าห์ไปเรียน แต่ สงสัย + สงสัย คนสอนเอาอะไรไป
สอน อั้ยที่สอนให้เกษตรกรทำน่ะ "ปุ๋ย หรือ เชื้อโรค" กันแน่




3.
เริ่มจากปลาทะเลสดทั้งตัว 20 กก. ผ่านเครื่องปั่นโมลิเน็กซ์ยักษ์ 10 นาที ปลาทั้งตัวเหลวกลายเป็นน้ำวุ้น
กลิ่นคาวปลาฉุนกึก และจะคงกลิ่นนี้ตลอดไปจนกว่าจะเติมน้ำมะพร้าวเต็มถัง (การหมักขั้นที่ 2) แล้วหมัก
ในน้ำมะพร้าวต่อไปอีก 1-2 ปี จึงจะเติมปุ๋ยเคมี (ขั้นที่ 3) ก่อนใช้งานจริง

แต่ละขั้นตอน (ขั้นตอนที่ 1-2-3) ก็จะต้องตรวจสอบ สี-กลิ่น-กาก-ฝ้า-ฟอง ตลอดเวลาว่ายังคงสภาพ
ปกติ ที่สำคัญต้อง "ไม่เน่า-ไม่หนอน" อย่างเด็ดขาด

บนโต๊ะอาหารที่ไร่กล้อมแกล้มมีแมลงวันชุกชุม ต้องใช้กาวเหนียวดักจับประจำ แต่ในโรงปุ๋ยหมักชีวภาพระเบิด
เถิดเทิงที่อยู่ติดกันกัน กลับไม่มีแมลงวันเข้าไปแม้แต่ตัวเดียว ขนาดปลาทะเลสดๆ ซึ่งธรรมชาติของแมลงวัน
ชอบอยู่แล้ว ก็ไม่เข้าไปตอม สาเหตุเพราะ ในน้ำหมักที่หมักนานข้ามปีมีสาร "ท็อกซิก" เป็นสารพิษสำหรับ
แมลงทุกชนิดนั่นเอง

สังเกตุ : ในถังมีปลาทะเลสดๆ ทั้งที่ยังไม่ได้บด กับที่บดจนเหลวแล้ว ความสดของปลาทะเลไม่ดึงดูดความ
สนใจของแมลงวันเลยเชียวหรือ ? ถ้าแมลงวันจะตอม คงไม่มาตอมแค่ตัวเดียวหรอก ต้องมากันเป็นฝูงๆ
ตอมทั้งที่ตัวปลา ข้างถัง ปากถัง ยั้วเยี้ยไปหมด เมื่อมากันมากขนาดนั้น จะถ่ายรูปได้ยังไง โดยไม่ให้ติดแมลงวัน



หมายเหตุ :
สารอาหารหรือธาตุอาหารที่สามารถผ่านปากใบเข้าสู่ต้น หรือซึมผ่านรากเข้าสู่ต้นได้
ต้องมีขนาดเล็กกว่า "โมเลกุล" เช่น โปรตีนแตกตัวเป็นอะมิโนโปรตีน

(อะมิโนโปรตีนมีขนาดเล็กกว่าโปรตีน....และ ไนโตรเจนมีขนาดเล็กกว่าอะมิโน
โปรตีน หรือไนโตรเจน คือ หน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีน)

นั่นคือ วัสดุส่วนผสมทุกตัวที่นำมาทำ "ปุ๋ย" จำเป็นต้องผ่านกระบวนการย่อยสลาย
จนถึงระดับที่เล็กกว่าโมเลกุลเสียก่อน พืชจึงจะสามารถนำไปใช้ได้ และกระบวนการ
ย่อยสลายที่ดีที่สุด ต้องอาศัยพลังจากจุลินทรีย์ ภายใต้สภาพแวดล้อมและระยะ
เวลาที่เหมาะสม

กรณีนี้ หากปล่อยให้จุลินทรีย์ย่อยสลายปลาทั้งตัวตามธรรมชาติจนเหลวเป็นน้ำวุ้น
จะต้องใช้เวลาไม่น้อยว่า 3-6 เดือน หรืออาจเป็นปี ดังนั้น การบดละเอียดส่วนผสม
ให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะละเอียดได้ก่อนด้วยเครื่องทุ่นแรง จึงเท่ากับเป็นการย่นระยะ
เวลาในการหมักให้เร็วขึ้นนั่นเอง

ในกระบวนการหรือระบบของธรรมชาติ จุลินทรีย์ คือ ตัวทำหน้าที่ย่อยสลายโมเลกุล
ของวัสดุส่วนผสม (อินทรีย์วัตถุ) ทุกชนิด รวมทั้งปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดให้ทางดิน ให้มี
ขนาดเล็กจนพืชสามารถนำไปใช้ได้




4.
สมช.สายวิทยุ....คุณปู (เสื้อเหลือง) จากหนองหญ้าปล้อง เพชรบุรี กับสามี (นายดาบตำรวจ) จากนครสวรรค์





5.
น้ำหมักระเบิดเถิดเทิงในถัง 200 ล. ปกติจะเติมน้ำมะพร้าวจนเต็มถึงขอบปากถัง จากนั้นประมาณ 3 เดือน
ระดับน้ำมะพร้าวจะยุบลงจากปากถังประมาณ 1 ฝ่ามือ แสดงว่าส่วนที่เป็นน้ำในน้ำมะพร้าวระเหยหายไปใน
อากาศ แต่จะยังเหลือธาตุ (เอสโตรเจน ฟอสเฟต ไซโตไคนิน น้ำตาล) อาหารอยู่ เพราะธรรมชาติธาตุไม่มี
การระเหย ต้องเติมน้ำมะพร้าวใหม่จนเต็มถึงขอบปากถังเหมือนเดิม และต้องเติมทุกประมาณ 3 เดือน ซ้ำอย่าง
นี้ตลอด 2-3 ปี ก้อนสีชาวที่ลอยอยู่นั้นคือ จาวมะพร้าว ในจาวมะพร้าวมีจิ๊บเบอเรลลิน

ในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง ส่วนที่เป็นอินทรีย์ ได้แก่ ปลาทะเล. เลือด. ไข่. นม. ไขกระดูก. ขี้ค้างคาว. น้ำมะพร้าว.
ไม่มีการเติมน้ำเปล่าแม้แต่หยดเดียว หมักข้าม 1-2 ปี ได้สารอาหารเพียง 1-2-3% เท่านั้น (ผลการตรวจวิเคราะห์
จากกรมวิชาการเกษตร).....แล้วน้ำหมักที่ทำจากวัสดุส่วนผสมที่มีสารอาหารน้อยกว่า ทั้งชนิดและปริมาณ แถม
ยังใส่ "น้ำเปล่า" ลงไปอีก สารอาหารที่มีน้อยเป็นทุนเดิมอยู่แล้วต้องถูกเจือจางลง ฉนี้ จะเหลือสารอาหารซัก
กี่เปอร์เซ็นต์




ระยะเวลาในการหมัก :
หมักนาน 3 เดือน ได้ ธาตุหลัก
หมักนาน 6 เดือน ได้ ธาตุรอง
หมักนาน 9 เดือน ได้ ธาตุเสริม
หมักนาน 12 เดือน ได้ ฮอร์โมน



*****************************************************************



6.
(บน-ล่าง) ฮอร์โมนไข่ ขั้นที่ 1 .... ไข่สด + นมสด + กลูโคส + ยิสต์ + น้ำส้มสายชู 99.9% + อ๊อกซิเจน .... หมักนาน 7-10 วัน




********************************************************************




7.
จุลินทรีย์สับปะรด.....เปลือกสับปะรด + กากน้ำตาล + น้ำเปล่า + น้ำมะพร้าว....หมักนาน 7-10 วัน พร้อมใช้งาน

*************************************************************




8.
ปรุงยูเรก้า LOT ใหม่ตามออร์เดอร์ จำนวน 200 ล. .... ไม่มีใครที่ไหนในโลกนี้ บ้าบอกสูตรที่ตัวเองทำขาย
ให้แก่คนที่ไม่ได้ถามชื่อ จะมีก็แต่ตาคิมนี่แหละ ..... นี่ไง LEARNING BY DOING ไร่กล้อมแกล้มสอน
เรียนแบบนี้ ผิด/ถูก - ดี/ไม่ดี พิจารณาเอาเอง




9.
ทำแบบภูมิปัญญาบ้าน - มาตรฐานโรงงาน - มีหลักวิชาการรองรับยืนยัน....ใจเย็นๆ ทำช้าๆ ทีละขั้นตอนตามลำดับ ตรวจสอบ สี-กลิ่น-กาก-ฝ้า-ฟอง ทุกระยะ




10.
LOT นี้ห่างจาก LOT ที่แล้วไม่ถึงเดือน (ตรวจสอบในเว้บ) ก็แสดงว่ามีออร์เดอร์
เข้ามาประมาณเดือนละ 200 ล. ใครเคยสงสัยไหมว่า คนที่ซื้อไป เขาเอาไปเททิ้ง
หรือเปล่า.....

ใครก็ได้ ว่างๆ ซื้อปุ๋ยยี่ห้อที่มีขายตามท้องตลาด ตรวจสอบบริษัทผู้ผลิต
ถ้ามีเบอร์โทร ก็ลองโทรไป "ขอสูตร" เขาซิ เขาจะตอบคุณว่ายังไง




11.
เสร็จ UREGA แล้วปรุง BIOI ต่อ ..... อยากฝึกทำสูตรไหน บอกมา ยินดีสอนทุกสูตร ทุกพืช ทุกระยะ ทุกเรื่อง





12.
ปุ๋ยทำง่ายแต่ใช้ยาก เพราะปัจจัยพื้นฐานพืช (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/-ฤดู
กาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค-ประวัติ-ความสมบูรณ์ต้น) ไม่เหมือนกัน ทุกอย่าง
ทุกขั้นตอนต้อง "ปรับ" ให้เหมาะสม โดยมีพืชที่รับเป็นศูนย์กลาง

ปุ๋ยไม่ใช่ของวิเศษ ยี่ห้อนี้ไม่ดี งั้นถามหน่อย ยี่ห้อไหนดี รู้แล้วก็เปลี่ยนไปใช้ยี่ห้อ
อื่นซะก็สิ้นเรื่อง

สารอาหารที่พืชกินประกอบด้วย 14 ธาตุ, 3 ก๊าซ, 10 ฮอร์โมน, 2 วิตามิน, และ
100 อื่นๆ. เหมือนกันทั่วโลก ถ้าเอาสิ่งเหล่านี้มาผสมกันในอัตราส่วน และกรรมวิธี
ที่เหมาะสม สิ่งนั้นย่อมเรียกว่า "ปุ๋ย" เป็นธรรมดา

มือผสมปุ๋ยท่านหนึ่ง (ท่านสั่งห้ามเปิดเผยชื่อท่าน) ปัจจุบันอายุกว่า 80 แล้ว ปรุงปุ๋ย
น้ำชนิดให้ทางใบส่งอเมริกา 4-5 สูตร เฉลี่ยเดือนละกว่า 1,000 ล./สูตร โดยใช้
ส่วนผสมต่างๆที่มีจำหน่ายในเมืองไทยนี่แหละ แบบนี้บ่งบอกชัดว่า พืชทุกชนิดใน
โลกนี้กินสารอาหารตัวเดียวกันนั่นเอง



13.
ในประเทศไทย ไม่มีหลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก จากมหาลัย หรือสภานศึกษาใดสอนวิธีปรุงปุ๋ยพวกนี้เลย ปุ๋ยทุกตัว ทุกสูตร ทุกยี่ห้อ ในท้องตลาดเกิดจากฝีมือ "นักประสบการณ์" ทั้งสิ้น แม้แต่ในหลักสูตร "วิศวะเคมี" ก็สอนให้รู้เฉพาะธาตุอาหารแต่ละตัวเท่านั้น ไม่ได้สอนวิธีนำมาผสมกันจนเป็นปุ๋ยสูตรสำเร็จ
พร้อมใช้แต่อย่างใด



14.
อีก 2 อาทิตย์ (โดยประมาณ) ก็ต้องปรุง TAIPE ต่ออีกแล้ว


***************************************************************




15.
สปริงเกอร์ระบบเจ้าพระยา นั่งอยู่กับที่หน้าโซน กางร่ม อ่านหนังสือคู่สร้างคู่สม หรือเปิดโน้ตบุ๊ค เกษตรลุงคิม.คอม เลือกตามอัธยาศรัย.....

ต้องการให้โซนซ้าย เปิดวาวล์คู่ซ้าย ปิดวาวล์คู่ขวา
ต้องการให้โซนขวา เปิดวาวล์คู่ขวา ปิดวาวล์คู่ซ้าย

วาวล์แต่ละคู่หรือแต่ละโซน มีแยกสำหรับให้ทางรากหรือทางใบโดยเฉพาะ

ต้องการให้ทางราก "เปิดวาวล์ทางราก ปิดวาวล์ทางใบ"
ต้องการให้ทางใบ "เปิดวาวล์ทางใบ ปิดวาวล์ทางราก"

แม้แต่ให้ 2 ทางพร้อมกันเลยยังได้ ถ้า "แรงดัน-แรงอัด" น้ำพอ



16.
เยือนไร่กล้อมแกล้มแล้ว ไม่ทานข้าว-ไม่รับของฝาก ถือว่าไม่รักเรา .... ส่วนของฝากจาก สมช. ถ้ามาจากสวน สมช.เอง ยินดีมากๆ ๆๆ แล้วถ้าเป็นของฝากจาก สมช. แต่ซื้อมาจากตลาดละ (แฮ่ะ แฮ่ะ ซื้อเองก็ได้ .... วะ)



17.
(วันนี้ที่ ไร่กล้อมแกล้ม 6 ก.ค.)
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=16552&sid=ff12b911b55985f0d35bf35a6b7f74ac#16552



18. อ้างอิง :
http://www.gotoknow.org/blog/communication5/293899
ลำไยทรงฝาชี...



19.
คนสูงลำไยเตี้ย หรือ คนเตี้ยลำไยสูง ..... เถอะ หน่อยก็ชินไปเอง ไม่เกิน 3 เดือนข้างหน้า ลำไยต้องสูงกว่าคน หรือไม่ก็ คนเตี้ยกว่าลำไย อัตราสูงเตี้ยราว 1 ม.



20.
สปริงเกอร์ระบบ "หน้ามืด" เพราะวาวล์แยกให้ทางรากกับทางใบอยู่มี่โคนต้นแต่ละต้น ทุกต้น เมื่อต้องการให้ทางรากก็ "เปิดวาวล์ทางราก-ปิดวาวล์ทางใบ" และเมื่อต้องการให้ทางใบก็ "เปิดวาวล์ทางใบ-ปิดวาวล์ทางราก" ทำอย่างนี้ต่อทุกต้นที่ต้องการให้.....เรื่องของเรื่อง มีอยู่ว่า จะทำงานแต่ละคราวต้องเดินไปเปลี่ยนวาวล์ทุกวาวล์ ทุกต้น แบบเดิน 3 ก้าวก้ม - 3 ก้าวก้ม บางต้นก้มแล้วต้องมุดด้วย แล้วแบบนี้จะไม่หน้ามืดได้ไง ..... ว่ามั้ย



21. วิเคราะห์แผนการบริหาร....
1) ลำไยปี ออกดอกช่วงเดือน ธ.ค. วันนี้เดือน ก.ค. เริ่มบำรุงจาก ตัดแต่งกิ่ง - เรียกใบอ่อน - สะสมตาดอก - ปรับ ซี/เอ็น เรโช - เปิดตาดอก รวมระยะเวลา 5 เดือน น่าจะเพียงพอและทันฤดูกาล

2) ลำไยไม่มีฤดูกาล บังคับให้ออกดอกได้ด้วยโปแตสเซียม คลอเรต. อีก 3 เดือนข้างหน้า เมื่อบำรุงได้ใบเพสลาดแล้วราดสาร ก็จะออกดอกก่อนลำไยปี (ในฤดู) 1 เดือน เท่ากับมีผลผลิตให้เก็บก่อน 1 เดือน นั่นเอง

หมายเหตุ :
แผนการนี้ ปัจจัยธรรมช่าติต้อง O.K. นะ



22.
ธรรมชาติลำไยออกดอกที่ปลายกิ่งกระโดงนอกทรงพุ่ม มากกว่าปลายกิ่งชี้ข้าง โดยเฉพาะกิ่งชี้ขึ้นที่เหนือยอดทรงพุ่ม ออกดีที่สุด.....หลังตัดแต่งกิ่ง ปรับรูปทรง และขนาดทรงพุ่มครั้งนี้แล้ว เมื่อยอดแตกใหม่เป็นกิ่งสมบูรณ์ ต้องตัดแต่งอีกครั้ง โดยเลือกเก็บกิ่ง ณ ตำแหน่งเหมาะสมต่อการออดอกไว้ แต่ละกิ่งที่เลือกเก็บไว้ควรมีความห่างกัน เพื่อแบ่งสรรสารอาหาร แสงแดด และไม่เป็นแหล่งสะสมโรคแมลง ส่วนกิ่งที่ไม่เหมาะสมก็ให้ตัดทิ้งทั้งหมด


*********************************************************************




23.
(บน-ล่าง) "พริกขี้นก" บางคนเรียก "พริกกะเหรี่ยง" แต่พริกพันธุ์นี้ ที่นี่เรียก "พริกขี้นกกล้อมแกล้ม" เกิดจากนกกินพริกแล้วมาขี้ไว้ ด้วยความที่ทุกอย่าง (เมล็ดพันธุ์ การปลูก สภาพแวดล้อม) เป็นไปตามกระบวนการธรรมชาติบริสุทธิ์แท้ๆ ภายใต้เงื่อนไขความสมบูรณ์ของต้น ทำให้ได้ ความสมบูรณ์ของต้น ปริมาณ-คุณภาพ
ผลผลิต (ดก-เผ็ดจัด-กลิ่นดี) ไม่มีโรคแมลงใดมาวอแว เคยคิดอยุ่เหมือนกันว่า....

1) เจตนาปลูกโดยเลียนแบบธรรมชาติทุกอย่าง จะได้สภาพต้นอย่างนี้หรือไม่ ?
2) ปลูกพริกกะเหรี่ยวพันธุ์นี้ที่โคนต้นไม้ผลทุกต้น ทั้งไร่จะเกิดรายได้แค่ไหน ?


24.

***********************************************************************





25.
(บน-ล่าง) ห่อผลเมื่อผลโตได้ 50% นอกจากช่วยให้ผิวสวย คุณภาพดีแล้ว ยังช่วยป้องกัน "มด-เพลี้ยไฟ" เข้าทำลายผิวแล้ว ยังป้องกัน "นก" ชิงชิมก่อนได้อีกด้วย

ผลใดที่นกเจาะ แสดงว่าผลนั้นมีรสหวานแน่นอน ตำแหน่งผลที่นกเจาะมักอยู่นอกสายคนมองเห็นเสมอ เช่น เจาะด้านหลัง มีกิ่งบัง เจาะเป็นรูเล็กๆเท่าที่จงอยปากสามารถแทงเข้าไปได้เท่านั้น มองจากภายนอกยังเห็นเป็นรูปทรงผลเหมือนเดิมทุกอย่าง แต่พอเอามือจับเท่านั้นจึงรู้ว่ามีแต่เปลือก ส่วนเนื้อในถูกนกกินหมดแล้ว


26.
ลงทุนห่อผล คุ้มค่าเสมอ



27.
(บน-ล่าง) แก้วมังกรหน้าฝน รสชาดมักออกเปรี้ยว หรือไม่ก็จืดชืด กินไม่อร่อย ถึงขนาดหลายคนปฏิเสธแก้วมังกรไปเลย ทั้งๆที่เคยชอบกิน

แนวทางแก้ไข คือ ให้ ธาตุรอง. ธาตุเสริม. แคลเซียม โบรอน. ทุก 3 วัน จะช่วยให้รสชาดดีขึ้นถึงระดับหวานอมเปรี้ยวนิดๆ



28.
เคยนะ ปีที่แล้วแก้วมังกรดงนี้สมบูรณ์เต็มที่ บางกิ่งติดลูก 4 ลูกเรียงกันเลย บำรุงเต็ม
ที่ตามปกติก็ไซส์ใหญ่ได้ แถมคุณภาพเนื้อดีด้วย นั่นแสดงว่า ในแก้วมังกรไม่จำเป็น
ต้องตัดแต่งช่อผล ออกมาเท่าไร่ ติดกี่ผล เอาไว้ทั้งหมดได้เลย เสียดายปีนี้ไม่มีแก้ว
มังกรเป็นราวแบบนั้น ปีหน้าอาจจะมีโอกาสได้เห็นก็ได้



29.
(บน) ช่วงเป็นดอกให้จิ๊บเบอเรลลิน 1 รอบ
(ล่าง) ผลจากการให้จิบเบอเรลลินช่วงเป็นดอก เมื่อเป็นผล ทรงผลจะยาวกว่าปกติ


30.
เปลืองปุ๋ยน่ะเหรอ ? ไร่กล้อมแกล้มไม่รู้จัก ตวงปุ๋ยแบบ โอ้ก โอ้ก ไม่ใช่แบบ ซีซ๊. ทำเองได้ ใช้ไปเถอะ ไม่ต้องเกรงใจ




31.
อายุผลแก้วมังกรตั้งแต่ผสมติด (เช้ากลีบดอกเหี่ยว) ถึงเก็บเกี่ยว (แดง 2) ประมาณ 5 สัปดาห์ การบำรุงด้วยยูเรก้า (ขยายขนาด หยุดเมล็ด สร้างเนื้อ) ต้องให้ทุก 2-3 วัน สลับด้วยไบโออิ กับแคลเซียม โบรอน. อย่างละ 1 รอบ

ในยูเรก้า. ไบโออิ. แคลเซียม โบรอน. มีธาตุรอง/ธาตุเสริม เป็นส่วนผสมอยู่ด้วยแล้ว จึงเท่ากับเป็นการให้ธาตุรอง ธาตุเสริม ไปในตัว




32.
แก้วมังกรปีนี้ หลังจากรู้แน่ว่ากิ่งเกิดใหม่น้อยแน่ๆ จัดการบำรุงแบบสะสม "สังกะสี + โบรอน" ตลอดเวลา 3 เดือน หวังให้ธาตุอาหาร 2 ตัวนี้เป็นพื้นฐานความสมบูรณ์ต่อการออกดอก ผลออกมา คือ ไม่ผิดหวัง



33.
แก้วมังกรที่สมบูรณ์จะออกดอกติดผลได้ปีละ 3-4 รุ่น ว่ากันตั้งแต่ พ.ค.-มิ.ย. ไปจนถึง ก.ย.-ต.ค. ดังนั้นจึงควรต้องบำรุงด้วยสูตรสะสมตาดอก-เปิดตาดอก สูตรบำรุงต้น ป้องกันต้นโทรม และสูตรบำรุงผล ขยายขนาด ตั้งแต่มีดอกรุ่นแรกกระทั่งถึงเก็บเกี่ยวรุ่นสุดท้าย ซึ่งแก้วมังกรก็จะออกดอกติดผลตลอดช่วงที่ให้ผลผลิตได้


34.
เปลือกแก้วมังกร กินเนื้อแล้ว ตัดกลีบที่เหมือนเกร็ดทิ้ง หั่นเปลือกเป็นชิ้นๆ ขนาดพองาม ชุบแป้งโกกิทอด อร่อยมากๆ



ผลผลิตรุ่นแรกของปีนี้ (กินหมดแล้ว) รสหวานอมเปรี้ยวนี้ดๆ เรียกว่ารสจัดจ้าน ประมาณนั้น แกะเนื้อด้วยมือจะเห็นเนื้อเป็นก้อนวุ้น เปลือกบาง ร่อนไม่ติดเนื้อ คุณภาพระดับนี้เป็นผลมาจาก "ถึง" ธาตุรอง ธาตุเสริม นั่นเอง



35.
การบำรุงช่วงเดือน เม.ย.ตลอดเดือน ด้วยฮอร์โมนไข่ไทเป.อย่างเดียวล้วนๆ ทุก 5 วัน ในไทเป.มี 0-52-34 เท่ากับช่วยสะสมตาดอก กับ 13-0-46 เท่ากับช่วยเปิดตาดอก จากการสังเกตุพบว่า แก้วมังกรส่วนใหญ่ "ออกดอก-ติดผล" แบบคู่ ทั้งที่ปลายกิ่ง โคนกิ่ง


36.
จังหวะนี้ให้ เอ็นเอเอ.+ แตลเซียม โบรอน. ซัก 1 รอบ....เอ็นเอเอ.บำรุงเกสรช่วยให้ผสมติดดี ส่วนโบรอน.ช่วยบำรุงผลให้ใหญ่เมื่อเป็นผลแล้วได้



37.


38.
ตั้งแต่ดอกชุดแรกประจำปีออกมาราวช่วงเข้าพรรษา เริ่มบำรุงด้วยสูตร UN (ไทเป.เปิดตาดอก - ไบโออิ แก้ต้นโทรม - ยูเรก้า ขยายขนาดผล) ทุก 5 วัน



39.
อายุต้นขึ้นปีที่ 4 ให้ผลผลิตมาตั้งแต่ปีแรก สภาพต้นเมื่อ 3 ปีที่แล้วมีกิ่งเต็มจนล้น
หัวเสา น้ำหนักมากจนเสาล้ม....ลักษณะค้างหัวเสาให้กิ่งแก้วมังกรเกาะ เป็นแผ่น
คอนกรีตวงกลม (ของฟรี) มีรู 4 รู ขนาดเท่ากำปั้นมือสำหรับให้กิ่งแก้วมังกรแทง
เข้าไปเพียง 1 กิ่งเท่านั้น ขนาดรูถือว่าเล็กมาก ประกอบกับกิ่งส่วนใหญ่เริ่มแก่ เริ่ม
ให้ผลผลิตน้อย จึงตัดสินใจตัดกิ่งแบบชิดหัวเสา เพื่อเอาค้างอันเก่ารูเล็กออก แล้ว
เปลี่ยนค้างอันใหม่รูใหญ่กว่า ทำด้วยยางนอกรถมอเตอร์ไซด์ มีเหล็กเป็นกากะบาด
อยู่กลาง วางบนหัวเสาแทน

การตัดแต่งกิ่งแบบนี้ทำให้การแตกยอดหรือกิ่งใหม่ช้า และได้จำนวนน้อย รู้ทั้งรู้แต่
จำเป็นต้องทำ เพราะต้องการเปลี่ยนค้างหัวเสาใหม่ด้วย เชื่อว่าปีหน้าจำนวนกิ่งก็จะ
เต็มหัวเสาได้เหมือนเดิม

ปีนี้แม้จะมีกิ่งน้อย แต่ด้วยการบำรุงแบบสม่ำเสมอ ทำให้ทุกกิ่งออกดอกติดผลได้ดี
ทุกผลมีคุณภาพสูง ราคาหน้าสวน 30 บาท/กก. (2 ผล = 1.2 กก.)

คลิกไปดูสภาพต้นก่อนตัดแต่งกิ่ง ...
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=24



40.
(บน-ล่าง) ดอกแก้วมังกรบานพร้อมรับการผสมช่วงกลางคืน 18.00 - 21.00 แมลงที่จะช่วยผสมเกสรได้มีเพียงชันโรงที่ออกหากินตอนกลางคืนเท่านั้น แม้ไม่มีแมลงช่วยผสมเกสร แก้วมังกรจึงต้องผสมตัวเอง ซึ่งก็ประสบความสำเร็จกระทั่งเป็นผลให้คนกินได้


41.

***************************************************************





42.
ลิ้นจี่ "ค่อม" อายุต้น 4 ปี ต้นนี้ได้จากเพาะเมล็ด เคียงข้างต้นพันธุ์ดี ตั้งใจเอาไว้
เสริมรากให้ต้นพันธุ์ดี เนื่องจากสภาพ "ดินปราบเซียน" เหนียวจัด อินทรีย์วัตถุน้อย
น้ำไต้ดินตื้น อย่างที่บอก ดินบนไม่อุ้มน้ำ ระบบรากของลิ้นจี่สู้ไม่ไหว หลายต้นตาย
ไปแล้ว หลายต้นยืนยิ่งสูงแค่หัวเข่า โตไม่โต ตายไม่ตาย ต่างกับลิ้นจี่เพาะเมล็ด โต
เอาโตเอา วันนี้สูงเกือบ 5 ม. ลำต้นส่วนคอดินใหญ่เท่าน่องผู้ใหญ่



43.
ลิ้นจี่เพาะเมล็ด กับส้มโอขาวใหญ่กิ่งตอน อยู่ด้วยกัน ในหลุมเดียวกัน โตคู่กันได้ กะ
ว่าใครโตเลี้ยง ใครตายตัด ถ้าโตทั้งคู่เลี้ยงทั้งคู่ เชื่อว่า ส้มโอต้องออกลูกเป็นส้มโอ
ลิ้นจี่ก็ต้องออกลูกเป็นลิ้นจี่ กินได้ทั้งคู่.....ว่ามั้ย



44.
ต้นนี้ (ทั้ง 20 ต้นนั่นแหละ) อยู่ระหว่าง "รอวันเธอว่าง" เตรียมลุยตัดแต่งกิ่ง ปรับ
ขนาดทรงพุ่ม แล้วจะเข้าสู่ "8 ขั้นตอน บำรุงไม้ผล" ฟลุกๆ หนาวนี้มีดอก แล้งหน้า
มีลูกออกมาให้ชิมชมช้อป ดูซิว่า ลิ้นจี่เพาะเมล็ดกลายพันธุ์ จะกลายไปทางไหน ดี
หรือไม่ดีค่อยว่ากัน ถ้าไม่ดีก็จัดการเปลี่ยนสายพันธุ์ซะ เอาพันธุ์ดีมาเสียบ หรือ
ทาบ หรือเทียบ ย่อมได้




45.
ขาวใหญ่ต้นนี้ถูกกล้วย (ปลูกกล้วยเอาราก) ข่มแสงแดด จึงต้องทะลึ่งสูงเพื่อแย่ง
แสงแดด หลังจากเอากล้วยออกแล้ว อาการทะลึ่งสูงลดลงเปลี่ยนเป็นเริ่มออกข้างแล้ว



46.
ไร่กล้อมแกล้มโซน "ตามใจนายอำเภอ" ไม้อะไรก็ได้ลงหลุมเดียวกันไปเลยแต่ต้อง
เป็นแถวเป็นแนว อย่างหลุมนี้ "ส้มโอ + มังคุด + ลิ้นจี่ แถม + พริกขี้นกกล้อม
แกล้ม" วันนี้เขาอยู่ของเขาได้ อนาคตจะยังไงค่อยว่ากันใหม่........ตำรวจไม่จับ

ที่น่าจับตาดูอย่างมากก็เห็นจะเป็น "มังคุด" นี่แหละ เอ๊ะ ! หลงอยู่ได้ไง ก็รุ่นเดียว
กันเขาตายกันหมดแล้วนี่นา.......เอาวะ ดูต่อไป


47.



48.
อนาคต ซุ้มนี้น่าจะเก็บมังคุดไว้ต้นเดียว หะแรกลงมังคุดไว้ 20 ต้น วันนี้เหลือต้นนี้ให้
ดูต่างหน้าเพียงต้นเดียว ...... อั้ยนี่ มันแน่




49.
ลองกองต้นนี้ถ้าไม่ใช่เกิดอาการ "ขาดสังกะสี" อย่างรุนแรง (รู้เพราะเคยแก้อาการนี้
ด้วยสังกะสีมาก่อน) ก็คงเพราะรากลงไปใต้ดินลึกแล้วเจอน้ำ ยิ่งช่วงนี้หน้าฝนด้วย ทั้ง
น้ำบนดิน น้ำใต้ดิน บริบูรณ์

ไม่มีสารเคมียาฆ่าแมลง หรือสารสมุนไพรใดในโลกนี้สามารถช่วยให้ส่วนของพืชที่ถูก
ทำลายไปแล้ว เขียวดีคืนอย่างเดิมได้ ฉันใด ..... ส่วนของพืชที่เสียหาย เสียรูปทรง
เพราะขาดธาตุอาหาร รู้แล้วให้ธาตุอาหารเข้าไป ส่วนของพืชส่วนนั้นก็ไม่อาจดีคืน
เหมือนปกติได้ ฉันนั้น อย่างดีก็แค่ได้ส่วนใหม่เกิดใหม่ดีเท่านั้น

ในธรรมชาติไม่มีตัวเลขและไม่มีสูตรสำเร็จ นั่นคือ การให้ธาตุอาหารครั้งหนึ่ง สามารถ
อยู่ได้นานแค่ไหนไม่มีใครรู้ การที่จะรู้ได้ต้องเข้า LAB ทางแก้แบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน
คือ ให้น้อยแต่บ่อยครั้งเท่านั้น




50.
ฝรั่งแป้นสีทองดงนี้ วันนี้สั่งกวดขันถุงห่อเป็นพิเศษ ฝนตกถุงกระดาษอาจจะขาดหลุด
ลุ่ย จนเชื้อรากับแมลงวันทองเข้าไปได้ วิธีปฏิบัติ คือ สำรวจถุงห่อ ถ้าชำรุดให้แก้ไข
เปลี่ยนใหม่ ถ้าถุงไหนยังใช้การได้ก็ให้ใช้ต่อไป การตรวจถุงทุกครั้ง ให้เปิดก้นถุงทั้ง
ถุงเก่าและถุงเปลี่ยนใหม่ แล้วฉีดอัด "สารสกัดมังคุด" เข้าไปจนเปียกผล ส่วนแมลง
วันทองก็ต้องยังคงมาตรการ "กับดัก-กาวเหนียว-กลิ่นล่อ" ต่อไป




51.
ผลจากการ "บำรุงก่อนตัดแต่งกิ่ง" ทำให้การแตกใบอ่อนชุดใหม่พร้อมกันได้ทั้งต้น
ทุกปลายรอยตัดมียอดใหม่แตกออกมาพร้อมเพรียงกันดี บ่งบอกถึงความสมบูรณ์ของ
ต้นได้เป็นอย่างดี



52.
ธรรมชาติของมะม่วง ออกดอกติดผลจากยอดที่แตกใหม่ในปีการผลิตนั้นๆ เท่านั้น
เพราะฉนั้น หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตต้องตัดแต่งกิ่งแล้วบำรุงเรียกใบอ่อนชุดใหม่เป็น
ประจำทุกปีการผลิต



53.
หลังตัดแต่งกิ่งบำรุงเรียกอ่อนทางใบด้วย 25-5-5 + จิ๊บเบอเรลลิน คู่กับให้ทางราก
ด้วย 30-10-10 จะช่วยให้ได้ใบเกิดใหม่มีขนาดใหญ่ หนา หูใบอวบอ้วน ดีมากๆ



54.
ใบใหม่เริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้ บำรุงทางใบด้วย 0-39-39 หรือ 0-42-46 หรือ 0-52-34 + แคลเซียม โบรอน + อะมิโนโปรตีน จะช่วยเร่งใบอ่อนให้แก่เร็ว สีเขียวเข้ม เป็นมันวาว เนื้อใบหนาส่องแดดไม่ทะลุ เส้นใบนูนเด่นชัด โรคแมลงไม่รบกวน



55.
มะม่วงต้นที่สมบูรณ์จะแตกยอดใหม่ครั้งละ 3-5-7 ยอด/1 ปลายตัด เรียกว่า "ฉัตร"
ในจำนวนทั้งหมดนี้จะมีเพียง 2 ยอดด้านบนเท่านั้นที่ออกดอกติดผลได้ นั่นคือ ต้อง
ตัดแต่งรอบ 2 เลือกตัดกิ่งที่อยู่ ณ ตำแหน่งไม่เหมาะสมต่อการออกดอกทิ้งตั้งแต่แรก
ขณะที่ยังเป็นยอดอ่อน (ชาวบ้านเรียก ยอดผักหวาน) ด้วยการใช้มือสะกิดเบาๆก็หลุด



56.
พิจารณาตำแหน่งและรูปร่างของกิ่งว่า เมื่อกิ่งนั้นโตขึ้นจะเป็นกิ่งประเภทไหนระหว่าง
กิ่งกระโดง กิ่งคด กิ่งงอ กิ่งไขว้ กิ่งชี้เข้าใน กิ่งชี้ลง กิ่งด้านล่าง ซึ่งกิ่งประเภทนี้ควรตัดออกให้หมด นอกจากประหยัดน้ำเลี้ยงแล้ว ยังทำให้ทรงพุ่มไม่ทึบ จนเป็นแหล่ง
อาศัยของโรคและแมลงอีกด้วย



57.
มะม่วง "ใบมากลูกน้อย - ใบน้อยลูกมาก" พยายามทำภายในทรงพุ่มให้โปร่งด้วยการตัดกิ่งที่ไม่จำเป็นออก กระทั่งแสงแดดส่องเข้าไปถึงภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึง ในทรงพุ่มที่ร้อนมักไม่มีหนอน เพราะแม่ผีเสื้อไม่เข้าวางไข่ และการที่ทรงพุ่มโป่ง ลมพัดผ่านสะดวก ยังทำให้ในทรงพุ่มไม่อุ้มความชื้นจึงไม่เกิดโรค (รา แบคทีเรีย) ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย



58.
ในมะม่วงพันธุ์เบา เมื่อใบถึงระยะเพสลาด สามารถลงมือเปิดตาดอกได้เลย โดยไม่ต้องบำรุงสะสมตาดอก หรือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ถ้าต้นมีความสมบูรณ์สูง สภาพอากาศ
อำนวย ก็จะออกดอกเป็นชุดเดียวกันทั้งต้นได้ แต่ต้นไม่สมบูรณ์ก็จะออกแบบทะยอย
ออกตามกันมาเรื่อยๆ ไม่เป็นรุ่น



59.
ระยะใบอ่อน ศัตรูพืชได้แก่ เพลี้ยไฟ ไรแดง แอนแทร็คโนส (ใบจุด ขอบใบไหม้)
แมลงค่อมทอง ด้วงงวงกัดใบ ถ้าใบอ่อนชุดนี้ถูกทำลายไป ต้องเรียกใบอ่อนชุดใหม่
ซึ่งอาจใช้เวลานานถึง 3 เดือน ดังนั้นจึงต้องรักษาใบอ่อนที่ออกมาแล้วนี้เท่าชีวิต โดยการฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร หรือด้วยวิธีการอื่นใดที่มั่นใจว่าได้ผลที่สุด

- ป้องกันเพลี้ยไฟ ไรแดง ฉีดพ่นสารสกัดขมิ้นชัน ตอนเที่ยง
- ป้องกันแอนแทร็คโนส แมลงค่อมทอง ด้วงงวงกัดใบ ฉีดพ่นฟ้าทะลายโจร
บอระเพ็ด เปลือกมังคุด ตอนค่ำ




60.
มะม่วงดงนี้อายุต้น 4 ปี ได้ผลผลิตมาแล้วตั้งแต่อายุปลูกปีแรก เพิ่งตัดแต่งกิ่ง ปรับ
ขนาดทรงพุ่ม ปีนี้เป็นปีแรก สภาพต้นกลับไปเหมือนเดิมเมื่ออายุต้น 2 ปี แบบนี้น่า
จะทำต่อไปได้อีก 4-5 ปี สิริรวมอายุตั้งแต่เริ่มปลูก 10 ปี จากนั้นอาจจะ (เน้น
ย้ำ...อาจจะ) ตัดออกแบบ "ต้นเว้นต้น" ก็ทำได้



61.
(บน) หลังตัดแต่งกิ่ง ปรับขนาดทรงพุ่ม บำรุงเรียกใบอ่อน (บันทึกภาพ 18 ก.ค.)
(ล่าง) ก่อนการตัดแต่ง (บันทึกภาพ 20 มิ.ย.)
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2016&sid=f291d77cbd4a8f10cfbe75a612d6bcb7







62.
ปรับระดับสปริงเกอร์ เตรียมบำรุงเพื่อเอาผลผลิต่อไป




63.
ยอดพันธุ์ดีทำปากฉลาม เสียบเปลือกด้านข้างลำต้นตอ....



64.
ยอดพันธุ์ดีทำปากฉลาม เสียบเปลือกด้านข้างลำต้นตอ....




65.
ยอดพันธุ์ดีทำปากฉลาม เสียบเปลือกด้านข้างลำต้นตอ....




66.
ยอดพันธุ์ดี ทำเป็นลิ่ม เสียบบนตอที่ผ่าเป็นง่าม.....


67.
ยอดพันธุ์ดีทำปากฉลาม เสียบเปลือกด้านข้างลำต้นตอ....




68.
ยอดพันธุ์ดีทำปากฉลาม เสียบเปลือกด้านข้างลำต้นตอ....




69.
อุบัติเหตุทางธรรมชาติ :
มะม่วงต้นนี้ปลูกด้วยกิ่งทาบโดยมี "มะม่วงแก้ว" เป็นตอ ตอนที่อยู่ในถุง ทุกอย่างดู
ปกติ ครั้นเมื่อนำลงปลูก เลี้ยงไประยะหนึ่ง (นานเท่าไหร่ไม่ทราบ) ปรากฏว่า ส่วนที่
เป็นตอ คือ มะม่วงแก้วปฏิเสธส่งน้ำเลี้ยงให้กิ่งเขียวเสวยรจนา เป็นเหตุให้ส่วนที่เป็น
รจนาไม่ได้น้ำเลี้ยงจึงตายไป ในขณะที่ส่วนที่เป็นตอกลับเจริญเติบโตตามปกติหรือ
เร็วกว่าปกติด้วยซ้ำ สร้างต้นแตกยอดแตกกิ่งของตัวเองจนเป็นพุ่มใหญ่ สังเกตุลำต้น
ส่วนคอดิน ใหญ่ขนาดโคนขาผู้ใหญ่ ทั้งๆที่อายุต้นเพียงขึ้นปีที่ 4 หรือ 5 เท่านั้น

ความจริงปรากฏก็ต่อเมื่อ ตอมะม่วงแก้วต้นนี้ออกดอกติดผล โชว์ความเป็นมะม่วง
แก้วชัดเจน แบบนี้ไม่เลี้ยงแน่

หมายเหตุ :
ภาพบน ....... ผลจากการเรียกยอด ได้ยอดใหม่เกิดเป็นพุ่มใหญ่
ภาพล่าง ...... จำนวนยอดเกิดใหม่มากเกินจำเป็น ตัดออกแล้วเหลือเฉพาะยอดที่
จะใช้เปลี่ยนยอดเท่านั้น


70.
แนวทางแก้ไข คือ ตัดต้นจนเหลือแต่ตอ บำรุงสร้างยอดใหม่ แล้วเตรียมเปลี่ยน
ยอดใหม่เป็นพันธุ์ดีตามต้องการบนกิ่งของมะม่วงแก้วที่เกิดใหม่นี้ต่อไป




71.
ต้นพันธุ์ดี "ชะนี" ไม่ต้องขุดหลุมลึก ไม่ต้องถอดออกจากถุงให้รากกระทบ
กระเทือน เพียงตัดก้นถุงแล้วฝังถุงชำลงไปแค่ 1 ใน 4 ของความสูงถุงก็พอ เดี๋ยว
รากก็เจริญยาวออกไปเอง

ต้นพันธุ์ดี (ไม้ทุกชนิด) ที่ได้มาจากการทาบ ไม่มีรากแก้ว เพราะคนทาบตัดทิ้งไป
แล้ว ไม่งั้นตอจะลงถุงไม่ได้ เพราะฉนั้นเมื่อนำลงปลูก ไม้ที่ขยายพันธุ์แบบนี้จึงไม่มี
รากแก้ว หรือมีแต่รากฝอยเท่านั้น




72.
โอกาสพลาดหรือแผลไม่ติด คือ "น้ำเข้า" เพราะช่วงนี้เป็นหน้าฝน เคยมีนะ
บางคนลงทุนเอาร่มกางกันฝนให้เลย เพราะไม้ต้นนั้นมีเพียงต้นเดียว



73.
เทคนิคการทาบแบบนี้เรียกว่า "เทียบ" โดยเอาด้านข้างของทั้งสองต้นมาปะกบ
กัน เมื่อเยื่อเจริญของทั้งสองติดกันดีแล้ว ก็ตัดยอดต้นเพาะเมล็ดทิ้งไป ปล่อยให้ราก
หาอาหารส่งไปเลี้ยงต้นพันธุ์ดี (ชะนี) ที่เหลือยอดไว้ต่อไป



74.
การบำรุงกระท้อนตั้งแต่เริ่มออกดอก กระทั่งถึงเก็บเกี่ยว ต้อง "น้ำสม่ำเสมอ" จริงๆ โดยเฉพาะ 10-15 วันก่อนเก็บ
เกี่ยว ต้องน้ำโชกๆ เพราะถ้าช่วงผลแก่ใกล้เก็บไม่ถึงน้ำจะทำให้เนื้อแข็ง

ข้อเสียของการให้น้ำโชกก่อนเก็บเกี่ยว คือ เนื้อจะมีรสเปรี้ยว เพราะในน้ำมีไนโตรเจนสูง แนวทางแก้ไขคือ ให้ 13-13-21 ทางราก 1 รอบ ก่อนเก็บเกี่ยว 15-20 วัน กับให้ 0-21-74 ทางใบ ทุกวันเว้น 2 วัน สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 ครั้ง

แนวทางบำรุงนี้ นอกจากจะได้รสหวาน เนื้อนุ่มขนาดใช้ช้อนตักกินได้แล้ว เนื้อส่วนติดเปลือกก็จะเปรี้ยวน้อย หรือปอกเปลือกแบบไม่ต้องหนานักได้อีกด้วย

ระหว่างมีผลอยู่บนต้นบำรุงด้วย แม็กเนเซียม. สังกะสี คีเลต อะมิโน. และแคลเซียม โบรอน. อย่างสม่ำเสมอ นอกจากช่วยบำรุงต้นไม่ให้โทรม ทำให้คุณภาพของผลผลิตดีแล้ว ยังส่งผลไปถึงความพร้อมของต้นในการให้ผลผลิตรุ่นปีต่อไปอีกด้วย



75.
การห่อผลต้องทำแบบ "มือเบาที่สุด" พยายามอย่าให้ขั้วกระทบกระเทือน เพราะจะทำให้ผลหลุดร่วงได้ ก็ไม่ได้ร่วงเดี๋ยวนั้นแต่จะร่วงภายหลัง ร่วงอยู่ในถุงนั่นแหละ แม้แต่แคลเซียม โบรอน. ที่ว่าป้องกันผลแตกผลร่วงก็ช่วยไม่ได้ ผลผลิตรุ่นนี้เสียหายเพราะผลร่วงในถุงไม่ใช่น้อย เพราะบรรดาลูกๆ นศ.เขาฝึกฝีมือกัน



76.
กระท้อนเป็นผลไม้ประเภท "ไม่ห่อผล ไม่ได้กิน" แม้ไม่มีแมลงวันทองเล่นงาน
ก็กินไม่ได้เพราะเนื้อแข็ง ต้องเอาไปทำกระท้อนดองเท่านั้น....เทคนิคห่อผลด้วย
ใบตองแบบโบราณ เรียกว่า "กระโปรง" ปรากฏว่าไม่เวิร์ค เพราะผลขยายขนาดดัน
กระโปรงจนทะลุออกมาข้างนอก ป้องกันอะไรไม่ได้เลย ลงท้ายต้องหาถุงกระดาษ
แล้วก็ต้องเป็นกระดาษหนาถุงปูนซิเมนต์ด้วย สนนราคาใบละ 50 สต. มาใช้แทน




มาตรฐานสายพันธุ์ "อีล่า" ต้อง 1 (+) กก.เสมอ ผลงานของยูเรก้า (ทางใบ) ทุก
10-15 วัน กับระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (ทางราก) เดือนละครั้ง



77.
"สะเดาดำ" ผู้ให้มาบอกว่ามีดอกกินได้เหมือน "สะเดาขาว" ก็ยังไม่รู้เหมือนกันว่า
เหมือนยังไง แต่ที่แน่ๆ สะเดาดำต้นนี้ ใบดำทั้งต้น ดำมาตั้งแต่เกิด ต้นนี้ "ตอน" มา
จากต้แม่ในไร่กล้อมแกล้มนี่เอง.....ใครสนใจ อยากได้ ไปตอนเอาเอง (เผื่อด้วย)





78.
(บน-ล่าง) มะเดื่อฝรั่ง อาหารโปรดฟาห์โร แห่งอียิปต์ ต้นนี้สายพันธุ์ญี่ปุ่น รสหวาน
อ่อนๆ เมล็ดเล็กๆ เคี้ยวรวมกับเนื้อเสียงกร็อบแกร็บเหมือนเคี้ยวเมล็ดแก้วมังกร

อายุต้น 3 ปี เริ่มออกดอกติดผลตั้งแต่อายุต้นปีแรก แล้วก็ออกดอกติดผลตลอดปี
แบบไม่มีรุ่น ไม่มีฤดูกาล

คุณทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ นักเขียนเรื่องเกษตร บอกว่า ได้ต้นพันธุ์มาจากญี่ปุ่น ลงปลูก
ที่ จ.พิจิตร คนญี่ปุ่นเคยมาชิมแล้วบอกว่า อร่อยกว่าที่ปลูกในญี่ปุ่น




79.

80.
"เชอรี่ไทย" อายุต้น 6 เดือน บางต้นเริ่มโชว์ดอกให้เห็น......ที่นครสวรรค์ มีผู้ปลูกแปลงขนาดใหญ่ 20 ไร่ ได้ผลผลิตปีละหลายตัน ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ส่งขายยังตลาดไหน ใครจะนิยมกินอะไรมากมายปานนั้น



81.
(บน-ล่าง) "ท้อไทย" แต่ไทยไม่ท้อ เรียกเล่นๆว่า "ท้อสีทอง" เพราะผลสุกสีเหลืองทอง เนื้อก็สีเหลืองทอง
รสหวานอ่อนๆ ผลโตขนาดเท่ากำปั้นมือ อายุต้น 4 ปี ไม่เคยบำรุงใดๆทั้งสิ้น วันดีคืนดีเริ่มออกดอกมาให้เห็น


82.




83.
มดแดงแฝงพวงมะม่วง แสนเป็นห่วง โอ้เจ้ามดแดง จีบกันไปจีบกันมา อดยัดห่าทำตาแดงๆ ........ หน่วยพิฆาตหนอน




,
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©