-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ข้าวพันธุ์ต้านทาน...ประสบการณ์ตรง
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข้าวพันธุ์ต้านทาน...ประสบการณ์ตรง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข้าวพันธุ์ต้านทาน...ประสบการณ์ตรง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 16/03/2010 2:51 pm    ชื่อกระทู้: ข้าวพันธุ์ต้านทาน...ประสบการณ์ตรง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พันธุ์ข้าวต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นแมลงศัตรูข้าวที่มักระบาดในช่วงที่อากาศร้อนและความชื้นค่อนข้างสูง
ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงทั้งในเขตนาชลประทานภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ในปี พ.ศ.
2533 มีการระบาดรุนแรงในพื้นที่นาภาคกลาง ผลผลิตลดลง 1.5-1.8 ล้านตันข้าวเปลือก คิด
เป็นมูลค่าในขณะนั้นประมาณ 5,000 - 6,000 ล้านบาท และเมื่อต้นปี พ.ศ. 2551 พบการแพร่
ระบาดรุนแรงใน อ.สามโก้ จ.อ่างทอง มีพื้นที่นาเสียหาย 100% เกือบ 1,000 ไร่ และพบการ
ระบาดกว่า 70-80% ของพื้นที่การเกษตร ทั้งหมด 40,000 ไร่

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีปากแทงดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบและคอรวงต้นข้าว ตัวเต็มวัยสีน้ำตาล
ทำลายต้นข้าวในทุกระยะการเจริญเติบโต โดยเฉพาะแปลงนาที่ปลูกข้าวติดต่อกันนานโดยไม่เว้น
ช่วงพักมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชผิดประเภทในนาข้าว ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดมาก
ขึ้น เนื่องจากแมลงตัวห้ำศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลถูกทำลาย ในขณะที่เพลี้ยปรับตัว
ได้ ต้นข้าวที่ถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายจะเหี่ยวแห้งเป็นสีน้ำตาลแก่ในระยะกล้า ต้นข้าวที่
ออกรวงมีเมล็ดไม่สมบูรณ์และมีน้ำหนักเบา นอกจากทำลายต้นข้าวโดยตรงแล้ว เพลี้ยกระโดดสี
น้ำตาลยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโรคใบหงิก ทำให้ใบข้าวหงิกไม่สามารถออกรวงได้

การปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นวิธีที่ดีในการควบคุมประชากรเพลี้ยกระโดดสี
น้ำตาลให้ลดลง อย่างไรตาม เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ทำให้พันธุ์ข้าวที่พัฒนา
มีความต้านทานระยะสั้น นักวิจัยจึงต้องพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ถึงแม้ว่าในเขตนาน้ำฝน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังไม่เป็นปัญหาหลัก แต่
จากข้อมูลหลายปีที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีเพิ่มมากขึ้น และจะ
กลายเป็นปัญหาที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่ง

ในการปลูกข้าวนาน้ำฝน และจากการที่ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข 6 เป็นข้าวสายพันธุ์ดีที่
ปลูกในเขตนาน้ำฝน และไม่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ศูนย์พันธุวิศวกรรมและ
เทคโนโลยี ชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โดยหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ซึ่ง
เป็นหน่วย ปฏิบัติการวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และไบโอเทค ได้ร่วมมือกับ
กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ
พันธุ์ กข 6 ให้ ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

คณะนักวิจัยทำการรวบรวมและศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการสืบหาพันธุกรรมข้าวที่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และใช้
เทคโนโลยี ดีเอ็นเอ ในการสืบหาตำแหน่งของยีน เพื่อนำมาใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ข้าวต้านทาน
ซึ่งคณะนักวิจัยพบว่า ข้าวสายพันธุ์จากประเทศศรีลังกาและอินเดีย มีความต้านทานต่อเพลี้ย
กระโดดสีน้ำตาลในประเทศไทยจึงเป็นแหล่งพันธุกรรมของความต้านทานที่ดี และเมื่อสืบหายีน
ควบคุมลักษณะความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในข้าวทั้งสองพันธุ์ พบว่า พันธุ์ข้าวจากศรี
ลังกามียีนต้านทานอยู่บนโครโมโซมที่ 6 และ 12 ส่วนพันธุ์ข้าวจากอินเดียมียีนต้านทานอยู่บน
โครโมโซมที่ 6 จึงพัฒนาโมเลกุลเครื่องหมาย ดีเอ็นเอ ที่ มีความแม่นยำ สำหรับช่วยในการคัด
เลือกความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจากพันธุ์ข้าวทั้งสองพันธุ์

คณะนักวิจัยได้ปรับปรุงข้าวสายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ให้ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยใช้
พันธุ์ข้าวจากศรีลังกาและอินเดีย ผสมกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และใช้เครื่องหมายโมเลกุล
ในการติดตามและคัดเลือกต้นข้าวขาวดอกมะลิที่มียีนต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ปัจจุบัน
พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ใหม่ที่มียีนต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอยู่ในระหว่างการปลูกคัดเลือก
ลักษณะทางการเกษตร และทดสอบด้านผลผลิตและการปรับตัวในแปลงเกษตรกร สำหรับการ
ปรับปรุงพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ กข 6 ให้ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ปัจจุบันอยู่ในกระบวนการคัด
เลือกและทดสอบความต้านทาน

นอกจากนี้ คณะนักวิจัยยังปรับปรุงข้าวสายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ให้ต้านทานเพลี้ยกระโดดสี
น้ำตาล ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และทนน้ำท่วมฉับพลัน และได้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่มี
ลักษณะต้านทานทั้งสามรวมอยู่ด้วยกัน และอยู่ในระหว่างการปลูกคัดเลือกลักษณะทางการ
เกษตร และทดสอบด้านผลผลิตและการปรับตัวในแปลงเกษตรกร


ผลงานเด่น่นไบโอเทค :
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/04/2010 5:43 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 21/03/2010 7:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพลี้ยกระโดดนาข้าว ... ประสบการณ์ตรง :

สัจจะธรรรม :
ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มีโรคและแมลงศัตรูพืชประจำตัว และไม่มีพืชพันธุ์ต้านทานใดในโลกนี้สามารถทนทานต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืชได้ร้อยเปอร์เซ็นต์

หลักการและเหตุผล :
1... เพลี้ยกระโดดนาข้าว คือ แมลงศัตรูพืชชนิดหนึ่งที่มีความต้องการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อการดำรงชีวิต ....... สภาพแวดล้อมสำหรับแมลงศัตรูพืชเบื้องต้นประกอบด้วย อุณหภูมิ. อาหาร. แหล่งขยายพันธุ์. ฯลฯ

2... ในพืชที่สมบูรณ์แข็งแรงย่อมมีภูมิต้านทานในตัวเองตามธรรมชาติ บรรดาแมลงศัตรูพืชมักไม่ชอบเข้าทำลาย และแมลงศัตรูพืชชอบเข้าหาพืชที่อ่อนแอมากกว่าเข้าทำลายพืชที่สมบูรณ์แข็งแรง พร้อมกันนั้นในพืชที่อ่อนแอเมื่อแมลงศัตรูพืชเข้าไปอาศัยแล้วจะขยายพันธุ์ได้ดีและเร็วกว่าในพืชที่สมบูรณ์แข็งแรง

3.... เพลี้ยกระโดดนาข้าว คือ แมลงปากกัดปากดูด ใช้ปากเจาะส่วนของต้นข้าวแล้วดูดกินน้ำเลี้ยง หากสภาพโครงสร้างหรือสรีระของต้นข้าวมีความแข็งแกร่ง อันเนื่องมาจากความสมบูรณ์จะทำให้เพลี้ยกระโดดไม่สามารถเจาะส่วนของลำต้นข้าวเพื่อดูดกินน้ำเลี้ยงได้ เพลี้ยกระโดดก็จะไม่สนใจเจาะกินน้ำเลี้ยงในข้าวต้นนั้นอีก

แนวทางปฏิบัติ :
1.... เพลี้ยกระโดดนาข้าวชอบความชื้นในอากาศสูง ๆ โดยเฉพาะไอระเหยจากน้ำในแปลง ให้สูบน้ำออกจากนาเหลือเพียงติดผิวพื้นหน้าดิน การเตรียมดินแบบไถกลบตอซัง เศษตอซังจะช่วยอุ้มน้ำไว้ได้นานนับเดือน ดังนั้นการสูบน้ำออกจากหน้าดิน ปล่อยไว้จนหน้าดินแตกระแหงเหมือนตาตะโก้ ต้นข้าวก็จะยังสามารถยืนต้นอยู่ได้โดยไม่ชงักการเจริญเติบโต (นาข้าวไต้หวัน - ญี่ปุ่น มีน้ำหล่อผิวหน้าดินเล็กน้อย) แต่กลับแตกกอได้ดียิ่งขึ้น

2.... งดการใส่ UREA เด็ดขาด แล้วใส่ 16-8-8 เสริมด้วย Mg. Zn. Ca. Br. สม่าเสมอ หากใส่ UREA จะทำให้ต้นข้าวเขียวอวบ เป็นการล่อให้เพลั้ยกระโดดเขาหามากยิ่งขึ้น

3.... ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรรวมมิตร" ทุก 5-7 วัน ล่วงหน้าก่อนเกิดการระบาด และฉีดพ่นทุก 2-3 วัน หรือวันเว้นวัน หรือวันต่อวัน ระหว่างการระบาดอย่างรุนแรงในแปลงรอบข้าง....สารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรนอกจากมีกลิ่นที่เพลี้ยกระโดดไม่ชอบแล้ว ยังเป็นพิษอีกด้วย โดยสัญชาติญานของสิ่งมีชีวิตย่อมจะไม่เข้าไกล้หรือหลีกหนีเสมอ.....ตรงกันข้าม หากบริเวณใดที่สภาพแวดล้อมดี มีอาหาร และแหล่งขยายพันธุ์ โดยสัญชาติญานเพลี้ยกระโดดก็จะเข้าไปอาศัยเป็นธรรมดา

4.... เตรียมดิน (เทือก) ด้วยอินทรีย์วัตถุปรับปรุงบำรุงดิน (ไถกลบตอซัง. ยิบซั่ม. กระดูกป่น. น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง.) จากรุ่นต่อรุ่นให้เกิด "ประวัติดิน" แบบสะสม

6.... ทำนาดำแทนนาหว่าน เพื่อให้แสงแดดส่องทั่วถึง และเพื่อป้องกันต้นข้าวขึ้นเบียดกันจนเกิดความชื้นสูงในแปลงเป็นแหล่งอาศัยและขยายพันธุ์อย่างดีของเพลี้ยกระโดด

7.... บำรุงต้นข้าวตามระยะพัฒนาการ (ประณีต) ทางใบด้วยสารอาหารที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก -ธาตุรอง - ธาตุเสริม - ฮอร์โมน และอื่นๆ ครบสูตร ตามความเหมาะสม

หมายเหตุ :
ด้วยหลักการดังกล่าว มีเกษตรกรนาข้าวหลายรายสามารถรักษาต้นข้าวให้รอดพ้นจากเพลี้ยกระโดด ท่ามกลางแปลงรอบข้าง (ใช้แต่สารเคมี) ที่ประสบความเสียหายจนต้องไถทิ้งมาแล้ว


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©